• มีหรือแค่...โอ้อวด? 🤔 สำรวจพฤติกรรม "อวดเก่ง อวดรวย อวดสุข" ที่อาจทำให้เสียโอกาส พลาดการเติบโต

    จิตวิทยาความอยากอวดในยุคโซเชียล ทั้งอวดเก่ง อวดรวย อวดสุข มันคือความภูมิใจ หรือแค่สร้างภาพ? แล้วจะเติบโตโดยไม่ต้องโชว์ยังไง?

    จะพาสำรวจพฤติกรรมการโอ้อวด ในสังคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอวดเก่ง อวดรวย หรืออวดความสุข พร้อมแนะแนวทางการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องใช้การโชว์เป็นเครื่องมือ

    🌐 โลกยุคแชร์ได้ในพริบตา ในโลกที่โซเชียลมีเดีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เราทุกคนต่างก็มี “เวที” เป็นของตัวเอง ✨ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ใครๆ ก็สามารถโพสต์ แชร์ และบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ได้แบบเรียลไทม์

    แต่เคยสงสัยไหมว่า...
    ทำไมบางโพสต์ถึงรู้สึกเหมือนเป็น "การโชว์"?
    ทำไมบางคนดูเหมือนต้อง “ยืนยัน” ตัวเองตลอดเวลา?

    อวดว่าเก่ง
    อวดว่าได้เงิน
    อวดว่าแฮปปี้สุดๆ 🏆💰😊

    แล้วสิ่งเหล่านี้สะท้อน "ตัวตนจริง" หรือเป็นแค่ "ภาพที่สร้างขึ้น"? จะพาเจาะลึกเรื่องราวเหล่านี้ พร้อมเสนอแนวทางใหม่ ในการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องโชว์ให้ใครเห็น 💡

    🌱 ความแตกต่างระหว่าง "ความภูมิใจที่แท้จริง" กับ "การโอ้อวด" 🌟 ก่อนที่เราจะลงลึก สำคัญมากที่เราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่า...

    ความภูมิใจที่แท้จริง = ความรู้สึกดีในสิ่งที่เราสร้างขึ้น ด้วยความพยายาม

    การโอ้อวด = การแสดงออกเพื่อให้คนอื่นเห็นและยอมรับ แม้บางครั้งจะไม่ได้มาจากความจริงภายใน

    ความภูมิใจคือ การ "รู้ว่าเราทำได้"

    การอวดคือ การ "อยากให้คนอื่นรู้ว่าเราทำได้" 😌✨

    ลองถามตัวเอง...

    🔍 ฉันโพสต์สิ่งนี้ เพราะภูมิใจในตัวเอง หรือเพราะอยากให้คนอื่นชื่นชม? คำตอบนั้น จะบอกได้เลยว่า เรากำลัง “เติบโต” หรือแค่ “แสดงตัวตน”

    พฤติกรรม “อวดเก่ง” 😎 ที่ต้องบอกว่าเราเก่ง? เพราะ...

    ความต้องการการยอมรับ มนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการพื้นฐานคือ “การได้รับการยอมรับ” จากสังคม 🧠 ในยุคที่ใครๆ ก็แชร์ได้ การโพสต์ความสำเร็จ กลายเป็นเครื่องมือเรียกร้องความสนใจ ได้ง่ายที่สุด

    แต่คำถามคือ... ❓ ถ้าเราเก่งจริง เราต้องบอกทุกคนตลอดเวลาหรือเปล่า?

    อวดเก่ง = หยุดพัฒนา คนที่มัวแต่ “อวดว่าเก่ง” มักจะลืมไปว่า “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” เพราะพอได้รับคำชมแล้ว อาจทำให้รู้สึกว่า "เราดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาอีก" 😵‍💫

    สัญญาณที่ควรเช็กตัวเอง โพสต์ความสำเร็จ บ่อยกว่าความพยายามหรือเปล่า? เวลาคุยกับคนอื่น มักจะเน้นว่า “เราทำอะไรได้ดี” มากกว่าการ “เรียนรู้จากคนอื่น” หรือไม่?

    💬 หากคำตอบคือ "ใช่"... บางทีเรากำลังหลงอยู่กับภาพของตัวเอง

    พฤติกรรม “อวดรวย” 💸 ความมั่งคั่งที่แท้จริง ต้องโชว์หรือไม่?

    ความรวยที่แท้จริง "เงียบ" เสมอ จากงานวิจัยของ "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" พบว่า คนที่มีความมั่นคงทางการเงิน มักไม่รู้สึกต้องโชว์ เพราะพวกเขา “ไม่ได้ต้องการพิสูจน์อะไรให้ใครเห็น” 💼

    ✅ รวยจริง = มั่นใจ
    ❌ อวดรวย = แสวงหาการยอมรับ

    การอวดมักมาจาก “ความขาด” หลายครั้งที่การอวดเรื่องเงินทอง มาจาก "ความรู้สึกไม่เพียงพอ" ภายในใจ 🥺 คนที่เคยลำบาก อาจรู้สึกต้องโชว์ว่าตัวเอง "มีแล้ว" คนที่ยังกลัวความจน มักจะแสดงออกเพื่อปกปิดความกลัว

    พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ อวดของแบรนด์เนม แต่มีหนี้บัตรเครดิต 😬 โชว์ไลฟ์สไตล์หรู แต่ไม่มีการลงทุนในความรู้ หรือสุขภาพของตัวเอง

    พฤติกรรม “อวดสุข” 😊🌈 มีความสุขจริง หรือแค่ต้องการให้คนอื่นอิจฉา?

    ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องโชว์ คนที่มีความสุขจริง มักอยู่กับตัวเองหรือคนที่รัก ไม่รู้สึกจำเป็นต้องแชร์ทุกโมเมนต์ เพราะเขาไม่ต้องการการยืนยันจากคนอื่น 💖

    เมื่อ “อวดสุข” = “ฉันเหนือกว่า” โพสต์อาหารดี วิวสวย หรือชีวิตคู่สุดโรแมนติกตลอดเวลา... บางครั้งอาจกลายเป็นการแข่งขันทางอารมณ์ ที่หลอกตัวเองว่า “ฉันชนะแล้ว”

    🚨 นั่นคือกับดักของการเปรียบเทียบ!

    🚪 การ “อวด” ทำให้เสียโอกาส ❌ ไม่มีเวลาเรียนรู้ การมัวแต่สร้างภาพ ทำให้ไม่มีเวลา “เรียนรู้จริง” เพราะใช้พลังไปกับ การทำให้คนอื่นเชื่อว่าเราเก่ง เรารวย เรามีความสุข 😓

    ติดกับดักคำชม เมื่อเราต้องการคำชมมากเกินไป เราจะเริ่ม “ทำทุกอย่างเพื่อให้คนชอบ” แทนที่จะ “ทำในสิ่งที่เรารัก”

    เครียดจากการเปรียบเทียบ เมื่อเราอยากชนะจากการเปรียบเทียบ มันสร้างความกดดันให้เราต้อง “ดูดีกว่า” อยู่เสมอ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก 😵‍💫

    จะเติบโตได้ยังไง โดยไม่ต้องโชว์? 🌿🚀

    ✅ ฟกัสที่ “การเติบโต” ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์” ถามตัวเองบ่อยๆ ว่า... สิ่งที่ฉันทำวันนี้ มันช่วยให้ฉันดีขึ้นจริงไหม? หรือแค่ทำเพื่อให้คนอื่นเห็น?

    ✅ สื่อสารแบบ “ภูมิใจ” ไม่ใช่ “โอ้อวด” ความภูมิใจคือ การแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อ “สร้างแรงบันดาลใจ” ไม่ใช่เพื่อ “ข่มคนอื่น” 🗣️

    ✅ มีความสุขแบบไม่ต้องโชว์ ลองอยู่กับตัวเอง ใช้เวลากับสิ่งเล็กๆ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร หรือเดินเล่น โดยไม่ต้องถ่ายรูปแชร์ทุกครั้ง 🍃📚

    ✅ เปลี่ยนคำถามในใจ จาก “คนอื่นจะคิดยังไง?” 👉 เป็น “สิ่งนี้ทำให้ฉันเติบโตไหม?” หรือ “สิ่งนี้สะท้อนตัวตนของฉันจริงหรือเปล่า?”

    🧘‍♂️ ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างภาพได้ คนที่ “เงียบแต่ลึก” กลับน่าสนใจกว่า

    จงเป็นคนที่ มี มากกว่าคนที่ต้อง โชว์ว่ามี เพราะสุดท้าย... ความสุขจริง ไม่ได้อยู่ที่สายตาคนอื่น แต่มันอยู่ที่ใจของเราเอง 💖

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231249 เม.ย. 2568

    📲 #อวดเก่ง #อวดรวย #อวดสุข #ภูมิใจไม่อวด #เติบโตจากภายใน #ไม่ต้องโชว์ก็สุขได้ #สุขแบบเงียบๆ #ชีวิตเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง #แค่มีไม่ต้องโชว์ #จิตวิทยาโซเชียล
    มีหรือแค่...โอ้อวด? 🤔 สำรวจพฤติกรรม "อวดเก่ง อวดรวย อวดสุข" ที่อาจทำให้เสียโอกาส พลาดการเติบโต จิตวิทยาความอยากอวดในยุคโซเชียล ทั้งอวดเก่ง อวดรวย อวดสุข มันคือความภูมิใจ หรือแค่สร้างภาพ? แล้วจะเติบโตโดยไม่ต้องโชว์ยังไง? จะพาสำรวจพฤติกรรมการโอ้อวด ในสังคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอวดเก่ง อวดรวย หรืออวดความสุข พร้อมแนะแนวทางการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องใช้การโชว์เป็นเครื่องมือ 🌐 โลกยุคแชร์ได้ในพริบตา ในโลกที่โซเชียลมีเดีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เราทุกคนต่างก็มี “เวที” เป็นของตัวเอง ✨ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ใครๆ ก็สามารถโพสต์ แชร์ และบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ได้แบบเรียลไทม์ แต่เคยสงสัยไหมว่า... ทำไมบางโพสต์ถึงรู้สึกเหมือนเป็น "การโชว์"? ทำไมบางคนดูเหมือนต้อง “ยืนยัน” ตัวเองตลอดเวลา? อวดว่าเก่ง อวดว่าได้เงิน อวดว่าแฮปปี้สุดๆ 🏆💰😊 แล้วสิ่งเหล่านี้สะท้อน "ตัวตนจริง" หรือเป็นแค่ "ภาพที่สร้างขึ้น"? จะพาเจาะลึกเรื่องราวเหล่านี้ พร้อมเสนอแนวทางใหม่ ในการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องโชว์ให้ใครเห็น 💡 🌱 ความแตกต่างระหว่าง "ความภูมิใจที่แท้จริง" กับ "การโอ้อวด" 🌟 ก่อนที่เราจะลงลึก สำคัญมากที่เราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่า... ความภูมิใจที่แท้จริง = ความรู้สึกดีในสิ่งที่เราสร้างขึ้น ด้วยความพยายาม การโอ้อวด = การแสดงออกเพื่อให้คนอื่นเห็นและยอมรับ แม้บางครั้งจะไม่ได้มาจากความจริงภายใน ความภูมิใจคือ การ "รู้ว่าเราทำได้" การอวดคือ การ "อยากให้คนอื่นรู้ว่าเราทำได้" 😌✨ ลองถามตัวเอง... 🔍 ฉันโพสต์สิ่งนี้ เพราะภูมิใจในตัวเอง หรือเพราะอยากให้คนอื่นชื่นชม? คำตอบนั้น จะบอกได้เลยว่า เรากำลัง “เติบโต” หรือแค่ “แสดงตัวตน” พฤติกรรม “อวดเก่ง” 😎 ที่ต้องบอกว่าเราเก่ง? เพราะ... ความต้องการการยอมรับ มนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการพื้นฐานคือ “การได้รับการยอมรับ” จากสังคม 🧠 ในยุคที่ใครๆ ก็แชร์ได้ การโพสต์ความสำเร็จ กลายเป็นเครื่องมือเรียกร้องความสนใจ ได้ง่ายที่สุด แต่คำถามคือ... ❓ ถ้าเราเก่งจริง เราต้องบอกทุกคนตลอดเวลาหรือเปล่า? อวดเก่ง = หยุดพัฒนา คนที่มัวแต่ “อวดว่าเก่ง” มักจะลืมไปว่า “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” เพราะพอได้รับคำชมแล้ว อาจทำให้รู้สึกว่า "เราดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาอีก" 😵‍💫 สัญญาณที่ควรเช็กตัวเอง โพสต์ความสำเร็จ บ่อยกว่าความพยายามหรือเปล่า? เวลาคุยกับคนอื่น มักจะเน้นว่า “เราทำอะไรได้ดี” มากกว่าการ “เรียนรู้จากคนอื่น” หรือไม่? 💬 หากคำตอบคือ "ใช่"... บางทีเรากำลังหลงอยู่กับภาพของตัวเอง พฤติกรรม “อวดรวย” 💸 ความมั่งคั่งที่แท้จริง ต้องโชว์หรือไม่? ความรวยที่แท้จริง "เงียบ" เสมอ จากงานวิจัยของ "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" พบว่า คนที่มีความมั่นคงทางการเงิน มักไม่รู้สึกต้องโชว์ เพราะพวกเขา “ไม่ได้ต้องการพิสูจน์อะไรให้ใครเห็น” 💼 ✅ รวยจริง = มั่นใจ ❌ อวดรวย = แสวงหาการยอมรับ การอวดมักมาจาก “ความขาด” หลายครั้งที่การอวดเรื่องเงินทอง มาจาก "ความรู้สึกไม่เพียงพอ" ภายในใจ 🥺 คนที่เคยลำบาก อาจรู้สึกต้องโชว์ว่าตัวเอง "มีแล้ว" คนที่ยังกลัวความจน มักจะแสดงออกเพื่อปกปิดความกลัว พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ อวดของแบรนด์เนม แต่มีหนี้บัตรเครดิต 😬 โชว์ไลฟ์สไตล์หรู แต่ไม่มีการลงทุนในความรู้ หรือสุขภาพของตัวเอง พฤติกรรม “อวดสุข” 😊🌈 มีความสุขจริง หรือแค่ต้องการให้คนอื่นอิจฉา? ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องโชว์ คนที่มีความสุขจริง มักอยู่กับตัวเองหรือคนที่รัก ไม่รู้สึกจำเป็นต้องแชร์ทุกโมเมนต์ เพราะเขาไม่ต้องการการยืนยันจากคนอื่น 💖 เมื่อ “อวดสุข” = “ฉันเหนือกว่า” โพสต์อาหารดี วิวสวย หรือชีวิตคู่สุดโรแมนติกตลอดเวลา... บางครั้งอาจกลายเป็นการแข่งขันทางอารมณ์ ที่หลอกตัวเองว่า “ฉันชนะแล้ว” 🚨 นั่นคือกับดักของการเปรียบเทียบ! 🚪 การ “อวด” ทำให้เสียโอกาส ❌ ไม่มีเวลาเรียนรู้ การมัวแต่สร้างภาพ ทำให้ไม่มีเวลา “เรียนรู้จริง” เพราะใช้พลังไปกับ การทำให้คนอื่นเชื่อว่าเราเก่ง เรารวย เรามีความสุข 😓 ติดกับดักคำชม เมื่อเราต้องการคำชมมากเกินไป เราจะเริ่ม “ทำทุกอย่างเพื่อให้คนชอบ” แทนที่จะ “ทำในสิ่งที่เรารัก” เครียดจากการเปรียบเทียบ เมื่อเราอยากชนะจากการเปรียบเทียบ มันสร้างความกดดันให้เราต้อง “ดูดีกว่า” อยู่เสมอ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก 😵‍💫 จะเติบโตได้ยังไง โดยไม่ต้องโชว์? 🌿🚀 ✅ ฟกัสที่ “การเติบโต” ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์” ถามตัวเองบ่อยๆ ว่า... สิ่งที่ฉันทำวันนี้ มันช่วยให้ฉันดีขึ้นจริงไหม? หรือแค่ทำเพื่อให้คนอื่นเห็น? ✅ สื่อสารแบบ “ภูมิใจ” ไม่ใช่ “โอ้อวด” ความภูมิใจคือ การแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อ “สร้างแรงบันดาลใจ” ไม่ใช่เพื่อ “ข่มคนอื่น” 🗣️ ✅ มีความสุขแบบไม่ต้องโชว์ ลองอยู่กับตัวเอง ใช้เวลากับสิ่งเล็กๆ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร หรือเดินเล่น โดยไม่ต้องถ่ายรูปแชร์ทุกครั้ง 🍃📚 ✅ เปลี่ยนคำถามในใจ จาก “คนอื่นจะคิดยังไง?” 👉 เป็น “สิ่งนี้ทำให้ฉันเติบโตไหม?” หรือ “สิ่งนี้สะท้อนตัวตนของฉันจริงหรือเปล่า?” 🧘‍♂️ ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างภาพได้ คนที่ “เงียบแต่ลึก” กลับน่าสนใจกว่า จงเป็นคนที่ มี มากกว่าคนที่ต้อง โชว์ว่ามี เพราะสุดท้าย... ความสุขจริง ไม่ได้อยู่ที่สายตาคนอื่น แต่มันอยู่ที่ใจของเราเอง 💖 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231249 เม.ย. 2568 📲 #อวดเก่ง #อวดรวย #อวดสุข #ภูมิใจไม่อวด #เติบโตจากภายใน #ไม่ต้องโชว์ก็สุขได้ #สุขแบบเงียบๆ #ชีวิตเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง #แค่มีไม่ต้องโชว์ #จิตวิทยาโซเชียล
    0 Comments 0 Shares 369 Views 0 Reviews
  • รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน
    .
    การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย
    .
    บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ
    .
    สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง
    .
    การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว
    .
    อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
    .
    สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน
    .
    สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย
    .
    ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน
    .
    ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว
    .
    กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
    (1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน
    (2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ
    (3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม
    (4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้
    .
    การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
    รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน . การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย . บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ . สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง . การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว . อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว . สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน . สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย . ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน . ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว . กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน (2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ (3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม (4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้ . การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
    0 Comments 0 Shares 437 Views 0 Reviews
  • รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน
    .
    สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล
    .
    มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้
    .
    การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู
    .
    นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้
    .
    รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม
    .
    เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น
    .
    การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้
    .
    (1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ
    (2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน
    (3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
    .
    ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท)
    .
    เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
    รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน . สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล . มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้ . การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู . นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้ . รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม . เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น . การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้ . (1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ (2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน (3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี . ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท) . เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
    0 Comments 0 Shares 446 Views 0 Reviews
  • วิธีหยุดจ่ายขั้นต่ำหนี้บัตรเครดิต
    วิธีหยุดจ่ายขั้นต่ำหนี้บัตรเครดิต
    0 Comments 0 Shares 352 Views 2 0 Reviews
  • ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน

    น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน

    ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น

    ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568

    อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ

    เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ

    สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล

    #Newskit
    ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568 อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล #Newskit
    0 Comments 0 Shares 1117 Views 0 Reviews
  • ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

    การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

    ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

    ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

    แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

    เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

    สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

    ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

    ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

    แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

    เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

    #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 1135 Views 0 Reviews