สตง.มาแปลกบี้ EXIM BANK สอบจ่ายเงินแม่บ้าน-คนขับรถ
องค์กรที่ถูกสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใส หลังโครงการอาคารสำนักงานถล่ม คนงานเสียชีวิตเกือบ 100 ศพ เฉกเช่นสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังส่งหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ขอตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคดีตึก สตง.ถล่มไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดเกิดเรื่องวุ่นวายกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) เมื่อ สตง. สั่งให้เอ็กซิมแบงก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แก่พนักงาน 22 คน (ไม่รวมกรรมการผู้จัดการใหญ่) กรณีจ่ายเงินช่วยเหลือรายเดือนให้กับบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ประกอบด้วย ผู้จัดการสาขาสำนักงานใหญ่ สาขาทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด รวม 9 แห่ง และพนักงานธุรการที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องมาจากในอดีต ธนาคารฯ มีการจ้างพนักงานภายนอก หรือเอาต์ซอร์ส (Outsource) บางกลุ่ม เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานเดินเอกสารภายในสำนักงาน พนักงานรับ-ส่งเอกสาร และพนักงานขับรถ ผ่านทางบริษัทภายนอก แต่ทางธนาคารฯ ในยุคนั้นมีความเห็นใจว่า พนักงานกลุ่มนี้ได้เงินค่าตอบแทนน้อย หากจะจ่ายผ่านบริษัทฯ จะไม่ถึงมือพนักงาน ทำให้ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ ได้มีการอนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานกลุ่มนี้โดยตรงมาตั้งแต่ปี 2537 เดือนละประมาณ 800 ถึง 1,500 บาท โดยทางธนาคารฯ จะออกคำสั่งให้ผู้จัดการธนาคารแต่ละสาขาดำเนินการจ่ายเงินก้อนนี้มาทุกปี และมีการทำเช่นนี้เป็นธรรมเนียมเรื่อยมา
ผ่านมาเกือบ 30 ปี เมื่อปี 2567 สตง. ตรวจสอบบัญชีเอ็กซิมแบงก์ ก่อนระบุว่าการจ่ายเงินบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลัง และสั่งการให้ธนาคารฯ เอาผิดทางวินัยกลุ่มพนักงาน 22 คน ทั้งที่ทั้งหมดทำตามบันทึกภายในที่อนุมัติโดยกรรมการผู้จัดการในอดีต และทำกันมานาน แม้ว่าเอ็กซิมแบงก์จะทำหนังสือชี้แจง แต่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. สตง. สั่งการให้ธนาคารฯ ต้องเอาผิดพนักงานกลุ่มดังกล่าวทั้งหมด ภายใน 30 วัน อ้างว่าทำให้รัฐเสียหาย 2.87 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นจะเสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ลงโทษทางปกครอง ทำให้ธนาคารฯ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และให้พนักงานกลุ่มดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นเวลากระชั้นชิด ขณะนี้พนักงานทั้งหมดได้ทำหนังสือขอขยายเวลาชี้แจง รวมถึงขอความเป็นธรรมแล้ว
#Newskit
องค์กรที่ถูกสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใส หลังโครงการอาคารสำนักงานถล่ม คนงานเสียชีวิตเกือบ 100 ศพ เฉกเช่นสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังส่งหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ขอตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคดีตึก สตง.ถล่มไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดเกิดเรื่องวุ่นวายกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) เมื่อ สตง. สั่งให้เอ็กซิมแบงก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แก่พนักงาน 22 คน (ไม่รวมกรรมการผู้จัดการใหญ่) กรณีจ่ายเงินช่วยเหลือรายเดือนให้กับบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ประกอบด้วย ผู้จัดการสาขาสำนักงานใหญ่ สาขาทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด รวม 9 แห่ง และพนักงานธุรการที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องมาจากในอดีต ธนาคารฯ มีการจ้างพนักงานภายนอก หรือเอาต์ซอร์ส (Outsource) บางกลุ่ม เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานเดินเอกสารภายในสำนักงาน พนักงานรับ-ส่งเอกสาร และพนักงานขับรถ ผ่านทางบริษัทภายนอก แต่ทางธนาคารฯ ในยุคนั้นมีความเห็นใจว่า พนักงานกลุ่มนี้ได้เงินค่าตอบแทนน้อย หากจะจ่ายผ่านบริษัทฯ จะไม่ถึงมือพนักงาน ทำให้ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ ได้มีการอนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานกลุ่มนี้โดยตรงมาตั้งแต่ปี 2537 เดือนละประมาณ 800 ถึง 1,500 บาท โดยทางธนาคารฯ จะออกคำสั่งให้ผู้จัดการธนาคารแต่ละสาขาดำเนินการจ่ายเงินก้อนนี้มาทุกปี และมีการทำเช่นนี้เป็นธรรมเนียมเรื่อยมา
ผ่านมาเกือบ 30 ปี เมื่อปี 2567 สตง. ตรวจสอบบัญชีเอ็กซิมแบงก์ ก่อนระบุว่าการจ่ายเงินบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลัง และสั่งการให้ธนาคารฯ เอาผิดทางวินัยกลุ่มพนักงาน 22 คน ทั้งที่ทั้งหมดทำตามบันทึกภายในที่อนุมัติโดยกรรมการผู้จัดการในอดีต และทำกันมานาน แม้ว่าเอ็กซิมแบงก์จะทำหนังสือชี้แจง แต่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. สตง. สั่งการให้ธนาคารฯ ต้องเอาผิดพนักงานกลุ่มดังกล่าวทั้งหมด ภายใน 30 วัน อ้างว่าทำให้รัฐเสียหาย 2.87 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นจะเสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ลงโทษทางปกครอง ทำให้ธนาคารฯ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และให้พนักงานกลุ่มดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นเวลากระชั้นชิด ขณะนี้พนักงานทั้งหมดได้ทำหนังสือขอขยายเวลาชี้แจง รวมถึงขอความเป็นธรรมแล้ว
#Newskit
สตง.มาแปลกบี้ EXIM BANK สอบจ่ายเงินแม่บ้าน-คนขับรถ
องค์กรที่ถูกสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใส หลังโครงการอาคารสำนักงานถล่ม คนงานเสียชีวิตเกือบ 100 ศพ เฉกเช่นสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หลังส่งหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ขอตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคดีตึก สตง.ถล่มไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดเกิดเรื่องวุ่นวายกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) เมื่อ สตง. สั่งให้เอ็กซิมแบงก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด แก่พนักงาน 22 คน (ไม่รวมกรรมการผู้จัดการใหญ่) กรณีจ่ายเงินช่วยเหลือรายเดือนให้กับบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ประกอบด้วย ผู้จัดการสาขาสำนักงานใหญ่ สาขาทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด รวม 9 แห่ง และพนักงานธุรการที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องมาจากในอดีต ธนาคารฯ มีการจ้างพนักงานภายนอก หรือเอาต์ซอร์ส (Outsource) บางกลุ่ม เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานเดินเอกสารภายในสำนักงาน พนักงานรับ-ส่งเอกสาร และพนักงานขับรถ ผ่านทางบริษัทภายนอก แต่ทางธนาคารฯ ในยุคนั้นมีความเห็นใจว่า พนักงานกลุ่มนี้ได้เงินค่าตอบแทนน้อย หากจะจ่ายผ่านบริษัทฯ จะไม่ถึงมือพนักงาน ทำให้ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ ได้มีการอนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่พนักงานกลุ่มนี้โดยตรงมาตั้งแต่ปี 2537 เดือนละประมาณ 800 ถึง 1,500 บาท โดยทางธนาคารฯ จะออกคำสั่งให้ผู้จัดการธนาคารแต่ละสาขาดำเนินการจ่ายเงินก้อนนี้มาทุกปี และมีการทำเช่นนี้เป็นธรรมเนียมเรื่อยมา
ผ่านมาเกือบ 30 ปี เมื่อปี 2567 สตง. ตรวจสอบบัญชีเอ็กซิมแบงก์ ก่อนระบุว่าการจ่ายเงินบุคคลที่มิใช่พนักงานของเอ็กซิมแบงก์ ในปีงบประมาณ 2565 ไม่เป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลัง และสั่งการให้ธนาคารฯ เอาผิดทางวินัยกลุ่มพนักงาน 22 คน ทั้งที่ทั้งหมดทำตามบันทึกภายในที่อนุมัติโดยกรรมการผู้จัดการในอดีต และทำกันมานาน แม้ว่าเอ็กซิมแบงก์จะทำหนังสือชี้แจง แต่เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. สตง. สั่งการให้ธนาคารฯ ต้องเอาผิดพนักงานกลุ่มดังกล่าวทั้งหมด ภายใน 30 วัน อ้างว่าทำให้รัฐเสียหาย 2.87 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นจะเสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ลงโทษทางปกครอง ทำให้ธนาคารฯ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และให้พนักงานกลุ่มดังกล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นเวลากระชั้นชิด ขณะนี้พนักงานทั้งหมดได้ทำหนังสือขอขยายเวลาชี้แจง รวมถึงขอความเป็นธรรมแล้ว
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
15 มุมมอง
0 รีวิว