• วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย

    ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก”
    - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย

    บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล)

    ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป)

    วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย

    แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร?

    Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง

    ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860
    https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx
    https://baike.baidu.com/item/诗经/168138
    https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214

    #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก” - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป) วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร? Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์ ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860 https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx https://baike.baidu.com/item/诗经/168138 https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214 #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ

    ความมีอยู่ว่า
    ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
    - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)

    บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน

    ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ

    แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี

    เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน

    ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย

    บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
    https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
    https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
    https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
    https://www.sohu.com/a/249005081_100234890

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ ความมีอยู่ว่า ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ... - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย) กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่) บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551 https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545 https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00 https://www.sohu.com/a/249005081_100234890 #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    《我就是这般女子》在哪儿可以看?一周更新几集?-趣历史网
    关晓彤和侯明昊主演的《我就是这般女子》追剧日历出炉,自1月18日正式开播到2月15日大结局,见证班婳
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 317 มุมมอง 0 รีวิว