• สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง

    เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา

    สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก

    ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1

    #Newskit
    สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1 #Newskit
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 552 มุมมอง 0 รีวิว
  • 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
    เราเคยสังเกตุกันไหมว่า จากประวัติศาสตร์มา
    ยุคที่เราพัฒนานำหน้าชาติไหนๆ
    คือ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช
    พอหลังคณะราษฏรปฎิวัติปล้นพระราชอำนาจ
    เราถูกหลายประเทศแซงหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

    ยุคเราเด็ก... ยุค 80,90มา เราเกิดทัน เราเห็น
    หลายอย่าง ร.9 ทรงทำเพื่อชาติประชาชน
    ได้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นประโยชน์
    ต่อประชาชนจนโลกยกย่องยอมรับ ซึ่งมาจาก
    พระราชกรณียกิจ โครงการพระราชดำริมากมาย
    ส่งผลดีต่อชาติประชาชนจนทุกวันนี้

    ถ้าเราไม่มืดบอกใช้สติปัญญาจนขาดจิตสำนึก
    เราจะรู้ว่าใครรักประเทศชาติประชาชนแท้จริง
    อย่าคลั่งจนหลงนักการเมืองพรรคการเมือง
    ประเภทการตลาดแชร์ลูกโซ่กันเลย หลอกลวง

    สำหรับเรา นักการน้อยมากที่จะเสียสละทำ
    เพื่อชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ยิ่งปัจจุบัน
    นักการเมืองที่มาจากพ่อค้านักธุรกิจนายทุน
    ยิ่งแทบไม่มีเลยที่จะทำเพื่อชาวบ้านและ
    บ้านเมืองจริงๆ ส่วนมากจะเข้ามาเพื่ออยากได้
    อำนาจเพื่อต่อยอดผลประโยชน์ของตนและ
    พวกพ้องเป็นหลักมาก่อนประชาชนและ
    บ้านเมืองเสมอ.. อย่าด้อมนักการเมืองจนสิ้นคิดฮะ

    ระบอบไหนไม่สำคัญเท่า ระบอบที่ทำเพื่อ
    ชาติประชาชนจริงๆ หาใช่แค่วาทกรรมสวยหรู

    เรามาคลั่งชาติ รักชาติ เพื่อผลประโยชน์
    ชาติประชาชนที่แท้จริง อย่างมีจริยธรรมคุณธรรม
    กันดีกว่าเยอะเลยฮะครับ

    เลิฟ ยู.. ชาติ ศาสน์ กษัติรย์
    มุมิมุมิ.. จุฟๆ
    10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ เราเคยสังเกตุกันไหมว่า จากประวัติศาสตร์มา ยุคที่เราพัฒนานำหน้าชาติไหนๆ คือ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช พอหลังคณะราษฏรปฎิวัติปล้นพระราชอำนาจ เราถูกหลายประเทศแซงหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ยุคเราเด็ก... ยุค 80,90มา เราเกิดทัน เราเห็น หลายอย่าง ร.9 ทรงทำเพื่อชาติประชาชน ได้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ ต่อประชาชนจนโลกยกย่องยอมรับ ซึ่งมาจาก พระราชกรณียกิจ โครงการพระราชดำริมากมาย ส่งผลดีต่อชาติประชาชนจนทุกวันนี้ ถ้าเราไม่มืดบอกใช้สติปัญญาจนขาดจิตสำนึก เราจะรู้ว่าใครรักประเทศชาติประชาชนแท้จริง อย่าคลั่งจนหลงนักการเมืองพรรคการเมือง ประเภทการตลาดแชร์ลูกโซ่กันเลย หลอกลวง สำหรับเรา นักการน้อยมากที่จะเสียสละทำ เพื่อชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ยิ่งปัจจุบัน นักการเมืองที่มาจากพ่อค้านักธุรกิจนายทุน ยิ่งแทบไม่มีเลยที่จะทำเพื่อชาวบ้านและ บ้านเมืองจริงๆ ส่วนมากจะเข้ามาเพื่ออยากได้ อำนาจเพื่อต่อยอดผลประโยชน์ของตนและ พวกพ้องเป็นหลักมาก่อนประชาชนและ บ้านเมืองเสมอ.. อย่าด้อมนักการเมืองจนสิ้นคิดฮะ ระบอบไหนไม่สำคัญเท่า ระบอบที่ทำเพื่อ ชาติประชาชนจริงๆ หาใช่แค่วาทกรรมสวยหรู เรามาคลั่งชาติ รักชาติ เพื่อผลประโยชน์ ชาติประชาชนที่แท้จริง อย่างมีจริยธรรมคุณธรรม กันดีกว่าเยอะเลยฮะครับ เลิฟ ยู.. ชาติ ศาสน์ กษัติรย์ มุมิมุมิ.. จุฟๆ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 390 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 874 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 782 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธรักษางามตาท้าแดดฝน
    มิจำนนอดทนฝืนยืนหยัดสู้
    แดดแผดเผาเท่าใดใครย่อมรู้
    รวมเป็นหมู่ผู้ไม่แพ้แลตะลึง

    ภาพแปลงดอกพุทธรักษา ถ่ายไว้ประมาณ 8 ปีที่แล้ว ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ท่ายาง เพชรบุรี

    #พุทธรักษา
    #ดอกไม้
    #thaitimes
    #บทกวี
    #กลอน
    #ชั่งหัวมัน
    #เพชรบุรี
    #โครงการพระราชดำริ
    พุทธรักษางามตาท้าแดดฝน มิจำนนอดทนฝืนยืนหยัดสู้ แดดแผดเผาเท่าใดใครย่อมรู้ รวมเป็นหมู่ผู้ไม่แพ้แลตะลึง ภาพแปลงดอกพุทธรักษา ถ่ายไว้ประมาณ 8 ปีที่แล้ว ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ท่ายาง เพชรบุรี #พุทธรักษา #ดอกไม้ #thaitimes #บทกวี #กลอน #ชั่งหัวมัน #เพชรบุรี #โครงการพระราชดำริ
    Like
    Love
    Yay
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1291 มุมมอง 1 รีวิว
  • ภาพนี้ถ่ายไว้น่าจะสัก 8 ปีแล้วครับ ที่โครงการชั่งหัวมันในพระราชดำริ ท่ายาง เพชรบุรี

    จุดที่เป็นทางเดินยาวที่สร้างด้วยไม้ ภายใต้ร่มเงาแวดล้อมของป่าโกงกาง ที่ยื่นยาวออกไปจนสุดที่ชายขอบอันเป็นจุดบรรจบระหว่างพื้นดินเลนกับน้ำทะเล


    #ป่าชายเลน
    #ต้นโกงกาง
    #อุโมงค์ต้นไม้
    #เพชรบุรี
    #โครงการพระราชดำริ
    #ชั่งหัวมัน
    #thaitimes
    ภาพนี้ถ่ายไว้น่าจะสัก 8 ปีแล้วครับ ที่โครงการชั่งหัวมันในพระราชดำริ ท่ายาง เพชรบุรี จุดที่เป็นทางเดินยาวที่สร้างด้วยไม้ ภายใต้ร่มเงาแวดล้อมของป่าโกงกาง ที่ยื่นยาวออกไปจนสุดที่ชายขอบอันเป็นจุดบรรจบระหว่างพื้นดินเลนกับน้ำทะเล #ป่าชายเลน #ต้นโกงกาง #อุโมงค์ต้นไม้ #เพชรบุรี #โครงการพระราชดำริ #ชั่งหัวมัน #thaitimes
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1339 มุมมอง 0 รีวิว