• น้องการ์ตูน เหยื่ออยุติธรรม

    การเสียชีวิตอย่างสงบของ น.ส.ภิญญารัศมี (นราศิริ) ศักดิ์สิทธิพันธ์ หรือน้องการ์ตูน อายุ 16 ปี เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. หลังได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง รักษาตัวด้วยร่างกายไม่สมบูรณ์ เจ็บปวดอย่างทรมานเมื่ออายุ 5 ขวบ ยาวนานกว่า 11 ปี น้องการ์ตูนเป็นเหยื่อรถกระบะแต่งซิ่ง เมาแล้วขับพุ่งชนร้านสเต็กลุงใหญ่ ขณะนั้นตั้งอยู่ปากซอยเอกชัย 119 ถนนเอกชัย แขวงและเขตบางบอน กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 19 ก.ย. 2557 เป็นเหตุให้นายภาณุทัต ศักดิ์สิทธิพันธ์ อายุ 42 ปี บิดาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    แม้ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาเมื่อปี 2558 จำคุก น.ส.น้ำผึ้ง ใจเสงี่ยม เป็นเวลา 1 ปีโดยไม่รอลงอาญา และสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ครอบครัวน้องการ์ตูน 6.3 ล้านบาท แต่ น.ส.น้ำผึ้งใช้วิธี "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น น้ำทิพย์ ชื่นชัยแสงสุริยา และ วรรณธนันท์ ผิวเกลี้ยง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย แถมโอนทรัพย์สินเพื่อหลบเลี่ยง ขณะที่แม่น้องการ์ตูนยังต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายดูแลน้องการ์ตูนที่สูงกว่า 20 ล้านบาท ขณะที่น้องการ์ตูนมีปัญหากระดูกสันหลังคดจากการติดเตียงตั้งแต่อายุ 5 ขวบ มีผลกับการหายใจ กระทั่งเดือน เม.ย.2568 มีอาการปอดบวมอย่างหนัก สุดท้ายแม่ตัดสินใจปล่อยน้องการ์ตูนไปอย่างสงบ

    นางศรัญญา ชำนิ อายุ 45 ปี แม่น้องการ์ตูน กล่าวว่า น้องการ์ตูนเสียชีวิตโดยไม่ทันได้บอกลา บอกลูกว่าเหนื่อยมามากพอแล้ว หลับให้สบายไม่ต้องทรมานแล้ว ไม่ต้องห่วงแม่ ห่วงยาย ห่วงตา ให้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์กับคุณพ่อ โดยที่น้องการ์ตูนเสียชีวิตโดยตาไม่หลับ ยืนยันว่าจะสู้คดีต่อไป เพราะไม่เคยได้รับคำขอโทษจากฝ่ายคู่กรณีอย่างจริงใจ และที่ผ่านมาได้รับเงินค่าซ่อมแซมร้านเพียง 40,000 บาทเท่านั้น และไม่มีหน่วยงานใดช่วยเหลือบังคับคดีหรือช่วยสืบทรัพย์ให้อย่างจริงจัง

    แม่น้องการ์ตูน กล่าวว่า ตอนนี้ไม่มีน้องการ์ตูนที่ต้องดูแลแล้ว ฉะนั้นไม่มีอะไรจะเสีย จะเดินหน้าทำทุกวิถีทาง สู้ให้ถึงที่สุด จะพยายามปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย เป็นการเริ่มต้นต่อสู้ครั้งใหม่ จะทำให้คู่กรณีรู้สึกเหมือนตกนรก เหมือนเช่นครอบครัวตนเองให้น้องการ์ตูนอยู่บนสวรรค์ แต่แม่จะขอยืนหยัดต่อสู้เอง ให้เป็นกรณีตัวอย่างเหมือนกับผู้เสียหายรายอื่นที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับตนเอง หวังว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นบ้าง ไม่ใช่มีแต่เรื่องแย่ๆ เพียงอย่างเดียว

    คดีน้องการ์ตูน สะท้อนให้เห็นถึงช่องโหว่ของกระบวนการยุติธรรมไทย ในการดำเนินคดีข้อหาเมาแล้วขับ ที่ยังมีช่องให้หลบเลี่ยงความรับผิดชอบได้ แม้ศาลจะพิพากษาชนะคดี แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ สุดท้ายภาระตกอยู่กับฝ่ายผู้เสียหายทั้งหมด

    #Newskit
    น้องการ์ตูน เหยื่ออยุติธรรม การเสียชีวิตอย่างสงบของ น.ส.ภิญญารัศมี (นราศิริ) ศักดิ์สิทธิพันธ์ หรือน้องการ์ตูน อายุ 16 ปี เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. หลังได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง รักษาตัวด้วยร่างกายไม่สมบูรณ์ เจ็บปวดอย่างทรมานเมื่ออายุ 5 ขวบ ยาวนานกว่า 11 ปี น้องการ์ตูนเป็นเหยื่อรถกระบะแต่งซิ่ง เมาแล้วขับพุ่งชนร้านสเต็กลุงใหญ่ ขณะนั้นตั้งอยู่ปากซอยเอกชัย 119 ถนนเอกชัย แขวงและเขตบางบอน กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 19 ก.ย. 2557 เป็นเหตุให้นายภาณุทัต ศักดิ์สิทธิพันธ์ อายุ 42 ปี บิดาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ แม้ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาเมื่อปี 2558 จำคุก น.ส.น้ำผึ้ง ใจเสงี่ยม เป็นเวลา 1 ปีโดยไม่รอลงอาญา และสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ครอบครัวน้องการ์ตูน 6.3 ล้านบาท แต่ น.ส.น้ำผึ้งใช้วิธี "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น น้ำทิพย์ ชื่นชัยแสงสุริยา และ วรรณธนันท์ ผิวเกลี้ยง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย แถมโอนทรัพย์สินเพื่อหลบเลี่ยง ขณะที่แม่น้องการ์ตูนยังต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายดูแลน้องการ์ตูนที่สูงกว่า 20 ล้านบาท ขณะที่น้องการ์ตูนมีปัญหากระดูกสันหลังคดจากการติดเตียงตั้งแต่อายุ 5 ขวบ มีผลกับการหายใจ กระทั่งเดือน เม.ย.2568 มีอาการปอดบวมอย่างหนัก สุดท้ายแม่ตัดสินใจปล่อยน้องการ์ตูนไปอย่างสงบ นางศรัญญา ชำนิ อายุ 45 ปี แม่น้องการ์ตูน กล่าวว่า น้องการ์ตูนเสียชีวิตโดยไม่ทันได้บอกลา บอกลูกว่าเหนื่อยมามากพอแล้ว หลับให้สบายไม่ต้องทรมานแล้ว ไม่ต้องห่วงแม่ ห่วงยาย ห่วงตา ให้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์กับคุณพ่อ โดยที่น้องการ์ตูนเสียชีวิตโดยตาไม่หลับ ยืนยันว่าจะสู้คดีต่อไป เพราะไม่เคยได้รับคำขอโทษจากฝ่ายคู่กรณีอย่างจริงใจ และที่ผ่านมาได้รับเงินค่าซ่อมแซมร้านเพียง 40,000 บาทเท่านั้น และไม่มีหน่วยงานใดช่วยเหลือบังคับคดีหรือช่วยสืบทรัพย์ให้อย่างจริงจัง แม่น้องการ์ตูน กล่าวว่า ตอนนี้ไม่มีน้องการ์ตูนที่ต้องดูแลแล้ว ฉะนั้นไม่มีอะไรจะเสีย จะเดินหน้าทำทุกวิถีทาง สู้ให้ถึงที่สุด จะพยายามปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย เป็นการเริ่มต้นต่อสู้ครั้งใหม่ จะทำให้คู่กรณีรู้สึกเหมือนตกนรก เหมือนเช่นครอบครัวตนเองให้น้องการ์ตูนอยู่บนสวรรค์ แต่แม่จะขอยืนหยัดต่อสู้เอง ให้เป็นกรณีตัวอย่างเหมือนกับผู้เสียหายรายอื่นที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับตนเอง หวังว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นบ้าง ไม่ใช่มีแต่เรื่องแย่ๆ เพียงอย่างเดียว คดีน้องการ์ตูน สะท้อนให้เห็นถึงช่องโหว่ของกระบวนการยุติธรรมไทย ในการดำเนินคดีข้อหาเมาแล้วขับ ที่ยังมีช่องให้หลบเลี่ยงความรับผิดชอบได้ แม้ศาลจะพิพากษาชนะคดี แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ สุดท้ายภาระตกอยู่กับฝ่ายผู้เสียหายทั้งหมด #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 305 Views 0 Reviews
  • เพียงแค่ใจเรารักกัน
    คำร้อง : ธนา ชัยวรภัทร์
    ทำนอง : พนเทพ สุวรรณะบุณย์
    เรียบเรียงดนตรี : สุริยา พึ่งธงไทย
    .
    เพียงแค่ใจเรารักกัน คำร้อง : ธนา ชัยวรภัทร์ ทำนอง : พนเทพ สุวรรณะบุณย์ เรียบเรียงดนตรี : สุริยา พึ่งธงไทย .
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 245 Views 14 0 Reviews
  • 258 ปี สิ้น “ขุนหลวงขี้เรื้อน” จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชบัลลังก์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และชะตากรรมที่โลกไม่ลืม

    เส้นทางชีวิตของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับบทสรุปแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้ที่ถูกเรียกขานว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน”

    ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก การสิ้นสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผ่านพระเจ้าเอกทัศ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม “ขุนหลวงขี้เรื้อน” กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับเรื่องราวชีวิตที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โรคร้าย และโศกนาฏกรรมแห่งชาติ

    ประวัติศาสตร์ไม่เคยหลับใหล 258 ปี ผ่านไป นับแต่วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่สอง ชาติไทยได้สูญเสียสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ นั่นคือเอกราชแห่งแผ่นดิน และราชวงศ์ที่ปกครองสืบเนื่อง มายาวนานกว่า 400 ปี

    หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในห้วงเวลานี้คือ “พระเจ้าเอกทัศ” หรือที่ราษฎรทั่วไปเรียกว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” ชื่อที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวด เย้ยหยัน และประวัติศาสตร์ที่แสนซับซ้อน ของกษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้สิ้นราชย์ ในห้วงยามแห่งความล่มสลายของชาติ

    กษัตริย์ที่ราชบัลลังก์ไม่เคยพร้อมให้ครอง "พระเจ้าเอกทัศ" หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงมีพระนามหลากหลาย ทั้ง "พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์" และ "ขุนหลวงขี้เรื้อน" ซึ่งเป็นคำเรียกขานโดยราษฎร เนื่องจากพระองค์มีอาการประชวร ด้วยโรคผิวหนัง ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคเรื้อน หรือกลากเกลื้อนเรื้อรัง

    จุดเริ่มต้นของการขึ้นครองราชย์ หลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชทายาทที่เหมาะสมตามสายพระโลหิตคือ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” แต่ด้วยแรงปรารถนาจะขึ้นครองราชย์อย่างแรงกล้า เจ้าฟ้าเอกทัศซึ่งเป็นเชษฐา ได้เสด็จกลับจากการผนวช และปรี่ขึ้นประทับบนพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ดั่งการตีตราจองราชบัลลังก์ ไว้ด้วยพระองค์เอง

    เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงสละราชสมบัติให้ หลังครองราชย์เพียง 10 วัน แล้วเสด็จออกผนวชเป็น “ขุนหลวงหาวัด” หวังหลีกเร้นจากวังวนอำนาจ

    สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของขุนหลวงขี้เรื้อน

    หลักฐานไทย บันทึกของฝ่ายไทยกล่าวว่า พระองค์หนีภัยสงครามไปหลบซ่อนที่บ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส และสิ้นพระชนม์เพราะอดพระกระยาหารนานเกิน 10 วัน

    พงศาวดารพม่า กล่าวว่าพระองค์ถูกยิงเสียชีวิต ขณะหลบหนีระหว่างกรุงแตก บริเวณประตูท้ายวัง

    คำให้การของฝรั่ง "แอนโทนี โกยาตัน" บันทึกว่า พระเจ้าเอกทัศถูกปลงพระชนม์โดยชาวสยาม หรืออาจทรงวางยาพิษพระองค์เอง

    พระศพและพิธีพระเพลิง นายทองสุกนำพระบรมศพ ไปฝังที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ก่อนจะถูกอัญเชิญถวายพระเพลิง ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    ขุนหลวงหาวัด กับขุนหลวงขี้เรื้อน

    "พระเจ้าอุทุมพร" กษัตริย์ผู้สละบัลลังก์เพื่อความสงบ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท แต่เลือกสละราชสมบัติ เพื่อความสงบภายใน พระองค์จึงกลายเป็น "ขุนหลวงหาวัด" ผู้ปลีกวิเวกที่พระตำหนักคำหยาด จังหวัดอ่างทอง

    "พระเจ้าเอกทัศ" กษัตริย์ผู้ไม่ยอมเสียราชบัลลังก์ ตรงกันข้าม พระเจ้าเอกทัศมีความกระหายอำนาจ แม้จะมีข้อจำกัดจากพระวรกาย ทรงใช้บัลลังก์เป็นตราจองอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อบ้านเมือง

    "ขุนหลวงขี้เรื้อน" เป็นโรคเรื้อนจริงหรือแค่คำเล่าลือ?

    หลักฐานจากตะวันตก ฝรั่งเศส "สังฆราชปีแยร์ บรีโกต์" ระบุว่า พระองค์มีอาการของโรคเรื้อน และไม่ทรงปรากฏพระวรกายต่อผู้ใด ส่วนดัตช์รายงานของ "นิโกลาส บัง" ใช้คำว่า "ลาซารัส" อันเป็นคำเปรียบเทียบถึงโรคเรื้อน

    แต่...โรคเรื้อนห้ามบวช! พระวินัยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนห้ามบวช ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลที่ว่า พระเจ้าเอกทัศเคยออกผนวช จึงอาจหมายถึงโรคผิวหนังอื่น ที่คล้ายคลึงกัน เช่น กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง

    ความขัดแย้งในแผ่นดิน การแตกความสามัคคีในยุคปลายอยุธยา ขุนนางฉ้อฉล ข่มเหงประชาชน พระเจ้าเอกทัศไม่แสดงพระองค์แก่ประชาชน ฝ่ายในมีอำนาจครอบงำการเมือง ราษฎรถูกรีดไถ จนหมดศรัทธา

    ถึงแม้จะมีหลักฐาน ที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระองค์ ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แต่ภาพรวมกลับเป็นลบ ต่อสายตาประวัติศาสตร์

    คำให้การจากผู้ถูกกวาดต้อน มุมมองที่แตกต่าง ใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" พระเจ้าเอกทัศกลับถูกยกย่องว่า

    “...ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง”

    คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ยังเสริมว่า พระองค์มีศีลธรรม ทศพิธราชธรรม และทำนุบำรุงบ้านเมือง พัฒนามาตราฐานตวงวัด และยกเลิกภาษี 3 ปี

    จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง และบทเรียนจากความล่มสลาย พระเจ้าเอกทัศถูกมองว่า เป็นต้นเหตุการเสียกรุง ทั้งจากราษฎรไทยในสมัยธนบุรี ไปจนถึงกษัตริย์ยุคต่อมา เช่น รัชกาลที่ 5 ที่ทรงกลัวจะถูกกล่าวขานในแบบเดียวกัน

    ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่แค่การจดจำบุคคล แต่เป็นกระจกสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคที่ความมั่นคง พังทลายด้วยความทะยานอยากของอำนาจ

    กษัตริย์ผู้ถูกลืม หรือถูกจำในมุมผิด? “ขุนหลวงขี้เรื้อน” อาจเป็นเพียงนามที่ประชาชนผู้สิ้นศรัทธา ใช้เรียกผู้มีอำนาจที่ไร้ความสามารถ แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระเจ้าเอกทัศอาจเป็นเพียงเหยื่อของช่วงเวลา แรงกดดัน และความไม่พร้อมของแผ่นดิน

    เรื่องราวของพระองค์ จึงไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของความพ่ายแพ้ แต่คือบทเรียนของการเมืองไทย ที่วนเวียนไม่รู้จบ

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171927 เม.ย. 2568

    #ขุนหลวงขี้เรื้อน #กรุงศรีอยุธยา #ประวัติศาสตร์ไทย #พระเจ้าเอกทัศ #ราชวงศ์บ้านพลูหลวง #ขุนหลวงหาวัด #คำให้การชาวกรุงเก่า #กษัตริย์ไทย #โบราณสถาน #พระตำหนักคำหยาด
    258 ปี สิ้น “ขุนหลวงขี้เรื้อน” จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง 👑 ราชบัลลังก์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และชะตากรรมที่โลกไม่ลืม เส้นทางชีวิตของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับบทสรุปแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้ที่ถูกเรียกขานว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” 📜 ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก การสิ้นสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผ่านพระเจ้าเอกทัศ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม “ขุนหลวงขี้เรื้อน” กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับเรื่องราวชีวิตที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โรคร้าย และโศกนาฏกรรมแห่งชาติ 🇹🇭📖 🕰️ ประวัติศาสตร์ไม่เคยหลับใหล 🕰️ 258 ปี ผ่านไป นับแต่วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่สอง ชาติไทยได้สูญเสียสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ นั่นคือเอกราชแห่งแผ่นดิน และราชวงศ์ที่ปกครองสืบเนื่อง มายาวนานกว่า 400 ปี หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในห้วงเวลานี้คือ “พระเจ้าเอกทัศ” หรือที่ราษฎรทั่วไปเรียกว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” ชื่อที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวด เย้ยหยัน และประวัติศาสตร์ที่แสนซับซ้อน ของกษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้สิ้นราชย์ ในห้วงยามแห่งความล่มสลายของชาติ 💔 👑กษัตริย์ที่ราชบัลลังก์ไม่เคยพร้อมให้ครอง "พระเจ้าเอกทัศ" หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงมีพระนามหลากหลาย ทั้ง "พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์" และ "ขุนหลวงขี้เรื้อน" ซึ่งเป็นคำเรียกขานโดยราษฎร เนื่องจากพระองค์มีอาการประชวร ด้วยโรคผิวหนัง ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคเรื้อน หรือกลากเกลื้อนเรื้อรัง 🩺 จุดเริ่มต้นของการขึ้นครองราชย์ หลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชทายาทที่เหมาะสมตามสายพระโลหิตคือ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” แต่ด้วยแรงปรารถนาจะขึ้นครองราชย์อย่างแรงกล้า เจ้าฟ้าเอกทัศซึ่งเป็นเชษฐา ได้เสด็จกลับจากการผนวช และปรี่ขึ้นประทับบนพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ดั่งการตีตราจองราชบัลลังก์ ไว้ด้วยพระองค์เอง 🤴 เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงสละราชสมบัติให้ หลังครองราชย์เพียง 10 วัน แล้วเสด็จออกผนวชเป็น “ขุนหลวงหาวัด” หวังหลีกเร้นจากวังวนอำนาจ 👣 สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของขุนหลวงขี้เรื้อน ☠️ หลักฐานไทย บันทึกของฝ่ายไทยกล่าวว่า พระองค์หนีภัยสงครามไปหลบซ่อนที่บ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส และสิ้นพระชนม์เพราะอดพระกระยาหารนานเกิน 10 วัน พงศาวดารพม่า 🐘 กล่าวว่าพระองค์ถูกยิงเสียชีวิต ขณะหลบหนีระหว่างกรุงแตก บริเวณประตูท้ายวัง คำให้การของฝรั่ง "แอนโทนี โกยาตัน" บันทึกว่า พระเจ้าเอกทัศถูกปลงพระชนม์โดยชาวสยาม หรืออาจทรงวางยาพิษพระองค์เอง 🧪 พระศพและพิธีพระเพลิง นายทองสุกนำพระบรมศพ ไปฝังที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ก่อนจะถูกอัญเชิญถวายพระเพลิง ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 😇 ขุนหลวงหาวัด กับขุนหลวงขี้เรื้อน 😈 "พระเจ้าอุทุมพร" กษัตริย์ผู้สละบัลลังก์เพื่อความสงบ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท แต่เลือกสละราชสมบัติ เพื่อความสงบภายใน พระองค์จึงกลายเป็น "ขุนหลวงหาวัด" ผู้ปลีกวิเวกที่พระตำหนักคำหยาด จังหวัดอ่างทอง 🏯 "พระเจ้าเอกทัศ" กษัตริย์ผู้ไม่ยอมเสียราชบัลลังก์ ตรงกันข้าม พระเจ้าเอกทัศมีความกระหายอำนาจ แม้จะมีข้อจำกัดจากพระวรกาย ทรงใช้บัลลังก์เป็นตราจองอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อบ้านเมือง "ขุนหลวงขี้เรื้อน" เป็นโรคเรื้อนจริงหรือแค่คำเล่าลือ? 🧬 หลักฐานจากตะวันตก ฝรั่งเศส "สังฆราชปีแยร์ บรีโกต์" ระบุว่า พระองค์มีอาการของโรคเรื้อน และไม่ทรงปรากฏพระวรกายต่อผู้ใด ส่วนดัตช์รายงานของ "นิโกลาส บัง" ใช้คำว่า "ลาซารัส" อันเป็นคำเปรียบเทียบถึงโรคเรื้อน แต่...โรคเรื้อนห้ามบวช! พระวินัยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนห้ามบวช ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลที่ว่า พระเจ้าเอกทัศเคยออกผนวช จึงอาจหมายถึงโรคผิวหนังอื่น ที่คล้ายคลึงกัน เช่น กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง 😕 ความขัดแย้งในแผ่นดิน การแตกความสามัคคีในยุคปลายอยุธยา ⚔️ ขุนนางฉ้อฉล ข่มเหงประชาชน พระเจ้าเอกทัศไม่แสดงพระองค์แก่ประชาชน ฝ่ายในมีอำนาจครอบงำการเมือง ราษฎรถูกรีดไถ จนหมดศรัทธา ถึงแม้จะมีหลักฐาน ที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระองค์ ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แต่ภาพรวมกลับเป็นลบ ต่อสายตาประวัติศาสตร์ 📖 คำให้การจากผู้ถูกกวาดต้อน มุมมองที่แตกต่าง ใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" พระเจ้าเอกทัศกลับถูกยกย่องว่า “...ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง” คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ยังเสริมว่า พระองค์มีศีลธรรม ทศพิธราชธรรม และทำนุบำรุงบ้านเมือง พัฒนามาตราฐานตวงวัด และยกเลิกภาษี 3 ปี 🎯 🏚️ จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง และบทเรียนจากความล่มสลาย พระเจ้าเอกทัศถูกมองว่า เป็นต้นเหตุการเสียกรุง ทั้งจากราษฎรไทยในสมัยธนบุรี ไปจนถึงกษัตริย์ยุคต่อมา เช่น รัชกาลที่ 5 ที่ทรงกลัวจะถูกกล่าวขานในแบบเดียวกัน ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่แค่การจดจำบุคคล แต่เป็นกระจกสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคที่ความมั่นคง พังทลายด้วยความทะยานอยากของอำนาจ ⚖️ 🕯️ กษัตริย์ผู้ถูกลืม หรือถูกจำในมุมผิด? “ขุนหลวงขี้เรื้อน” อาจเป็นเพียงนามที่ประชาชนผู้สิ้นศรัทธา ใช้เรียกผู้มีอำนาจที่ไร้ความสามารถ แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระเจ้าเอกทัศอาจเป็นเพียงเหยื่อของช่วงเวลา แรงกดดัน และความไม่พร้อมของแผ่นดิน เรื่องราวของพระองค์ จึงไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของความพ่ายแพ้ แต่คือบทเรียนของการเมืองไทย ที่วนเวียนไม่รู้จบ 🌪️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171927 เม.ย. 2568 📢 #ขุนหลวงขี้เรื้อน #กรุงศรีอยุธยา #ประวัติศาสตร์ไทย #พระเจ้าเอกทัศ #ราชวงศ์บ้านพลูหลวง #ขุนหลวงหาวัด #คำให้การชาวกรุงเก่า #กษัตริย์ไทย #โบราณสถาน #พระตำหนักคำหยาด
    0 Comments 0 Shares 927 Views 0 Reviews
  • กรมคุมประพฤติ เผย สถิติคดีช่วงสงกรานต์วันที่สอง "เมาแล้วขับ" 982 คดี "ขับเสพ" 55 คดี รวม 1,037 คดี ติด EM จำนวน 6 ราย

    วันนี้ (13 เม.ย.) พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยถึงสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำวันที่ 12 เม.ย.68 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของมาตรการควบคุมเข้มข้น พบว่ามีคดีเข้าสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 1,037 คดี และศาลสั่งติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) จำนวน 6 ราย โดยแยกเป็น ขับรถขณะเมาสุรา จำนวน 982 คดี คิดเป็นร้อยละ 94.70 ติดอุปกรณ์ EM 3 ราย และ ขับเสพ จำนวน 55 คดี คิดเป็นร้อยละ 5.30 ติดอุปกรณ์ EM 3 ราย เพื่อการเฝ้าระวังพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 15-30 วัน

    พ.ต.ต.สุริยา เผยว่า ขณะที่ยอดคดีสะสมตลอด 2 วัน (11–12 เม.ย.68) รวมทั้งสิ้น 1,363 คดี ติดอุปกรณ์ EM จำนวนรวม 15 ราย แบ่งเป็น ขับรถขณะเมาสุรา จำนวน 1,258 คดี คิดเป็นร้อยละ 92.30 ติด EM 4 ราย , ขับรถประมาท จำนวน 3 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.22 และ ขับเสพ จำนวน 102 คดี คิดเป็นร้อยละ 7.48 ติด EM 11 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับวันเดียวกันของปี 2567 ซึ่งมีคดีขับรถขณะเมาสุราจำนวน 1,131 คดี พบว่าในปี 2568 มีจำนวน 982 คดี ลดลง 149 คดี ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.สมุทรปราการ จำนวน 123 คดี 2.กรุงเทพมหานคร จำนวน 115 คดี และ 3.นนทบุรี จำนวน 110 คดี

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000035207

    #MGROnline #กรมคุมประพฤติ #สงกรานต์ #เมาแล้วขับ
    กรมคุมประพฤติ เผย สถิติคดีช่วงสงกรานต์วันที่สอง "เมาแล้วขับ" 982 คดี "ขับเสพ" 55 คดี รวม 1,037 คดี ติด EM จำนวน 6 ราย • วันนี้ (13 เม.ย.) พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยถึงสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำวันที่ 12 เม.ย.68 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของมาตรการควบคุมเข้มข้น พบว่ามีคดีเข้าสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 1,037 คดี และศาลสั่งติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) จำนวน 6 ราย โดยแยกเป็น ขับรถขณะเมาสุรา จำนวน 982 คดี คิดเป็นร้อยละ 94.70 ติดอุปกรณ์ EM 3 ราย และ ขับเสพ จำนวน 55 คดี คิดเป็นร้อยละ 5.30 ติดอุปกรณ์ EM 3 ราย เพื่อการเฝ้าระวังพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 15-30 วัน • พ.ต.ต.สุริยา เผยว่า ขณะที่ยอดคดีสะสมตลอด 2 วัน (11–12 เม.ย.68) รวมทั้งสิ้น 1,363 คดี ติดอุปกรณ์ EM จำนวนรวม 15 ราย แบ่งเป็น ขับรถขณะเมาสุรา จำนวน 1,258 คดี คิดเป็นร้อยละ 92.30 ติด EM 4 ราย , ขับรถประมาท จำนวน 3 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.22 และ ขับเสพ จำนวน 102 คดี คิดเป็นร้อยละ 7.48 ติด EM 11 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับวันเดียวกันของปี 2567 ซึ่งมีคดีขับรถขณะเมาสุราจำนวน 1,131 คดี พบว่าในปี 2568 มีจำนวน 982 คดี ลดลง 149 คดี ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.สมุทรปราการ จำนวน 123 คดี 2.กรุงเทพมหานคร จำนวน 115 คดี และ 3.นนทบุรี จำนวน 110 คดี • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000035207 • #MGROnline #กรมคุมประพฤติ #สงกรานต์ #เมาแล้วขับ
    0 Comments 0 Shares 469 Views 0 Reviews
  • 243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา

    เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย

    "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่?

    243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง

    ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์

    "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี

    จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง

    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน

    หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี”

    พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม

    ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ

    ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก

    ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา

    รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

    จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด

    ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325

    พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี

    แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน...

    พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน

    1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ

    2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี

    3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย”

    4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย

    เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น”

    จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ

    ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

    พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ

    มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน

    วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน

    ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่?

    พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย”

    มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์

    จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก

    แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568

    #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา 📌 เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย ✨ 🔥 "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่? 243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง 😢 ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์ 👑 "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี 🌊 จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี 🐎 พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน ✨ หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี” 🏰 🌟 พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม 🎨📚 🔸 ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ 🔸 ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก 🔸 ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา 🔸 รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 💖 ⚔️ จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325 👑 🕯️ พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน... 📚 พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน 1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ 2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี 3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย” 4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย 🕵️‍♂️ เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น” 🔍 จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ 🇹🇭 🧠 ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓ พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ 🤔 ❓ มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน 📜 วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่? 😢 🛕 พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย” 🙏 มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์ 🧾 จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568 📱 #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    0 Comments 0 Shares 1086 Views 0 Reviews
  • อธิบดีกรมคุมประพฤติ อวยพรเดินทางปลอดภัย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 คดีเมาขับถูกจับ 233 คดี คุมประพฤติยอดสะสม 5 วัน 4,020 คดี

    วันนี้ (1 ม.ค.) พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีคุมประพฤติช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568 โดยในวันที่ 31 ธ.ค.67 มีคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติรวมทั้งสิ้น 225 คดี โดยเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา 223 คดี และคดีขับเสพ 2 คดี ทั้งนี้ สรุปยอดสะสม 5 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด (วันที่ 27-31 ธ.ค.67) มีคดีคุมประพฤติรวม 4,020 คดี จำแนกดังนี้ คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,884 คดี (ร้อยละ 96.62) , คดีขับเสพ 132 คดี (ร้อยละ 3.28) และ คดีขับรถประมาท 4 คดี (ร้อยละ 0.10) ส่วนจังหวัดที่มียอดสะสมคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เชียงใหม่ (397 คดี) กรุงเทพมหานคร (294 คดี) และ สมุทรปราการ (258 คดี)

    พ.ต.ต.สุริยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ กรมคุมประพฤติขอส่งความสุขให้กับประชาชน ด้วยความห่วงใย สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยการผสานกำลังสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ อาสาสมัครคุมประพฤติ ผู้ถูกคุมประพฤติ และภาคีเครือข่าย ได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้นบริเวณทางสายรองที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ รวม 106 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 393 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/crime/detail/9680000000082

    #MGROnline #กรมคุมประพฤติ
    อธิบดีกรมคุมประพฤติ อวยพรเดินทางปลอดภัย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 คดีเมาขับถูกจับ 233 คดี คุมประพฤติยอดสะสม 5 วัน 4,020 คดี • วันนี้ (1 ม.ค.) พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีคุมประพฤติช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568 โดยในวันที่ 31 ธ.ค.67 มีคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติรวมทั้งสิ้น 225 คดี โดยเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา 223 คดี และคดีขับเสพ 2 คดี ทั้งนี้ สรุปยอดสะสม 5 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด (วันที่ 27-31 ธ.ค.67) มีคดีคุมประพฤติรวม 4,020 คดี จำแนกดังนี้ คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,884 คดี (ร้อยละ 96.62) , คดีขับเสพ 132 คดี (ร้อยละ 3.28) และ คดีขับรถประมาท 4 คดี (ร้อยละ 0.10) ส่วนจังหวัดที่มียอดสะสมคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เชียงใหม่ (397 คดี) กรุงเทพมหานคร (294 คดี) และ สมุทรปราการ (258 คดี) • พ.ต.ต.สุริยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ กรมคุมประพฤติขอส่งความสุขให้กับประชาชน ด้วยความห่วงใย สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยการผสานกำลังสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ อาสาสมัครคุมประพฤติ ผู้ถูกคุมประพฤติ และภาคีเครือข่าย ได้สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้นบริเวณทางสายรองที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ รวม 106 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 393 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000000082 • #MGROnline #กรมคุมประพฤติ
    0 Comments 0 Shares 760 Views 0 Reviews
  • SUBARU ประกาศยุติ
    SUZUKI ประกาศละ
    เมื่อไหร่
    SURIYA จะหยุดถลุงเงิน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #สุริยา
    #เมื่อไหร่
    SUBARU ประกาศยุติ SUZUKI ประกาศละ เมื่อไหร่ SURIYA จะหยุดถลุงเงิน #คิงส์โพธิ์แดง #สุริยา #เมื่อไหร่
    0 Comments 0 Shares 470 Views 0 Reviews