• 6G ตัวเปลี่ยนเกมและวิถีสงครามโลกยุคใหม่
    .
    หัวเว่ยกำลังสร้างนวัตกรรม 6G และเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หลังจากต้องเผชิญกับความมืดมน ความไม่แน่นอน และความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน แต่ก็ได้พบกับปาฏิหาริย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของเมิ่ง หว่านโจว ลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง CEO ของหัวเว่ย ที่หลายปีก่อนเธอถูกจับเป็นตัวประกันที่แคนาดา ในสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา
    .
    หัวเว่ยจะเป็นบริษัทแรกในโลกนี้ที่นำ 6G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ผมเคยพูดไว้แล้วในรายการตอน213เมื่อ29ตุลาคม2566 เกือบสองปีแล้วที่ผมวิเคราะห์ว่าเรื่อง Super Network 6G อนาคตโลกในมือจีน วันนี้หัวเว่ยประกาศว่าระบบการสื่อสารแบบ 6G จะมีการเปิดใช้เชิงพาณิชย์ ภายในปี 2573 อีกห้าปีข้างหน้า เร็วมาก ชีวิตประจำวันของคนเราจะเปลี่ยนไปโดย 6G ของหัวเว่ย ซึ่งได้รวมการสื่อสารภาคพื้นดิน อวกาศ ดาวเทียม และทะเล เข้าด้วยกัน นำไปใช้ในอุปกรณ์อย่างเช่น IoT: Internet of Things ใช้ในอุตสาหกรรมการขับขี่ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โรงงานที่เป็น Smart Factory และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    .
    ขณะนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติใช้คลื่นความถี่ 6 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อรองรับไว้แล้ว และจะปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารไปอีกขั้น เพราะ 6G มีความเร็วกว่า 5G ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ถึง 100 เท่า ปานสายฟ้าแลบและใช้พลังงานน้อยกว่าแบตเตอรีน้อยกว่า 5G ถึง 10 เท่า ทำให้หัวเว่ยเป็นผู้นำการพัฒนา 6G ทิ้งห่างประเทศตะวันตกอย่างยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น
    .
    หัวเว่ยมีสิทธิบัตรทาง 6G มากที่สุดในโลกถึง 12,700 ฉบับหรือประมาณ 35% ของทั่วโลก พิสูจน์ให้เห็นถึงความรุนแรงของสงคราม 6G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความสำเร็จของหัวเว่ยคือชัยชนะของนวัตกรรม หรือเป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกา และชาติตะวันตก ที่ตั้งใจจะบดขยี้หัวเว่ยให้จมดิน
    .
    ดังนั้น 6G กับแสนยานุภาพทางการทหารจีนที่จีนพุ่งเป้านำเทคโนโลยี 6G ไปใช้ในการทหารก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากสำหรับกองทัพแล้ว ประสิทธิภาพมีความสำคัญ และนี่คือสมรภูมิการแข่งขันที่มีความสำคัญ สมรภูมิการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอาวุธและสนามรบด้านแสนยานุภาพของการทหารอีกด้วย
    .
    รายงานล่าสุดจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อปลายปี 2567 ที่ผ่านมา ระบุว่า จีนตอนนี้มีสถานีฐาน 5G 4.1 ล้านแห่งแล้ว สถานี 5G 4 ล้านกว่าแห่ง เป้าหมายต่อไปใน 2 ปีข้างหน้า 2570 ผู้ใช้เครือข่ายไร้สายในประเทศจีน ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่า 85% จะต้องเข้าถึงโครงข่าย 5G อีกสามปีข้างหน้านั่นเองและก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิด 6G
    .
    จาก 5G ไปถึง 6G เทคโนโลยีที่เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันทางอวกาศระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียต แต่เป้าหมายในการแข่งขันนั้นไม่ใช่เรื่องการลงจอดบนดวงจันทร์อีกต่อไป แต่มันเป็นเรื่องการสร้างรากฐานของการเชื่อมต่อสำหรับทศวรรษหน้าที่กำลังจะมาถึง
    .
    จะเห็นได้ว่าการแข่งขันเพื่อ 6G ของหัวเว่ยนั้น มีความหมายมากกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ต แต่ยังเกี่ยวกับการที่ประเทศจีนกำลังจะเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และสารสนเทศในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่กำหนดนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งจีน อเมริกา และยุโรป กำลังแข่งขันกันเพื่อครองความได้เปรียบบนพื้นที่โลกดิจิทัลในอนาคต เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของเกมเทคโนโลยีอันเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะนำพาประเทศนั้นๆ สังคมนั้นๆ ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองระยะยาว
    6G ตัวเปลี่ยนเกมและวิถีสงครามโลกยุคใหม่ . หัวเว่ยกำลังสร้างนวัตกรรม 6G และเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หลังจากต้องเผชิญกับความมืดมน ความไม่แน่นอน และความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน แต่ก็ได้พบกับปาฏิหาริย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของเมิ่ง หว่านโจว ลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง CEO ของหัวเว่ย ที่หลายปีก่อนเธอถูกจับเป็นตัวประกันที่แคนาดา ในสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา . หัวเว่ยจะเป็นบริษัทแรกในโลกนี้ที่นำ 6G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ผมเคยพูดไว้แล้วในรายการตอน213เมื่อ29ตุลาคม2566 เกือบสองปีแล้วที่ผมวิเคราะห์ว่าเรื่อง Super Network 6G อนาคตโลกในมือจีน วันนี้หัวเว่ยประกาศว่าระบบการสื่อสารแบบ 6G จะมีการเปิดใช้เชิงพาณิชย์ ภายในปี 2573 อีกห้าปีข้างหน้า เร็วมาก ชีวิตประจำวันของคนเราจะเปลี่ยนไปโดย 6G ของหัวเว่ย ซึ่งได้รวมการสื่อสารภาคพื้นดิน อวกาศ ดาวเทียม และทะเล เข้าด้วยกัน นำไปใช้ในอุปกรณ์อย่างเช่น IoT: Internet of Things ใช้ในอุตสาหกรรมการขับขี่ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โรงงานที่เป็น Smart Factory และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง . ขณะนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติใช้คลื่นความถี่ 6 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อรองรับไว้แล้ว และจะปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารไปอีกขั้น เพราะ 6G มีความเร็วกว่า 5G ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ถึง 100 เท่า ปานสายฟ้าแลบและใช้พลังงานน้อยกว่าแบตเตอรีน้อยกว่า 5G ถึง 10 เท่า ทำให้หัวเว่ยเป็นผู้นำการพัฒนา 6G ทิ้งห่างประเทศตะวันตกอย่างยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น . หัวเว่ยมีสิทธิบัตรทาง 6G มากที่สุดในโลกถึง 12,700 ฉบับหรือประมาณ 35% ของทั่วโลก พิสูจน์ให้เห็นถึงความรุนแรงของสงคราม 6G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความสำเร็จของหัวเว่ยคือชัยชนะของนวัตกรรม หรือเป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกา และชาติตะวันตก ที่ตั้งใจจะบดขยี้หัวเว่ยให้จมดิน . ดังนั้น 6G กับแสนยานุภาพทางการทหารจีนที่จีนพุ่งเป้านำเทคโนโลยี 6G ไปใช้ในการทหารก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากสำหรับกองทัพแล้ว ประสิทธิภาพมีความสำคัญ และนี่คือสมรภูมิการแข่งขันที่มีความสำคัญ สมรภูมิการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอาวุธและสนามรบด้านแสนยานุภาพของการทหารอีกด้วย . รายงานล่าสุดจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อปลายปี 2567 ที่ผ่านมา ระบุว่า จีนตอนนี้มีสถานีฐาน 5G 4.1 ล้านแห่งแล้ว สถานี 5G 4 ล้านกว่าแห่ง เป้าหมายต่อไปใน 2 ปีข้างหน้า 2570 ผู้ใช้เครือข่ายไร้สายในประเทศจีน ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่า 85% จะต้องเข้าถึงโครงข่าย 5G อีกสามปีข้างหน้านั่นเองและก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิด 6G . จาก 5G ไปถึง 6G เทคโนโลยีที่เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันทางอวกาศระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียต แต่เป้าหมายในการแข่งขันนั้นไม่ใช่เรื่องการลงจอดบนดวงจันทร์อีกต่อไป แต่มันเป็นเรื่องการสร้างรากฐานของการเชื่อมต่อสำหรับทศวรรษหน้าที่กำลังจะมาถึง . จะเห็นได้ว่าการแข่งขันเพื่อ 6G ของหัวเว่ยนั้น มีความหมายมากกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ต แต่ยังเกี่ยวกับการที่ประเทศจีนกำลังจะเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และสารสนเทศในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่กำหนดนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งจีน อเมริกา และยุโรป กำลังแข่งขันกันเพื่อครองความได้เปรียบบนพื้นที่โลกดิจิทัลในอนาคต เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของเกมเทคโนโลยีอันเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะนำพาประเทศนั้นๆ สังคมนั้นๆ ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองระยะยาว
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 101 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข
    เหรียญเทพเจ้ากวนอู เนื้อกะไหล่ทอง ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข //เทพเจ้ากวนอู หรือ กวนกง หนึ่งในเทพจีนที่ผู้คนนิยมบูชา // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย มีความซื่อสัตย์ต่อกันก็จักช่วยบรรเทาการทรยศ หักหลัง หรือโดนโกงได้ ส่งผลดีในด้านการงาน การแข่งขันด้านธุรกิจ ทำให้มีอำนาจเหนือศัตรูของผู้บูชาในทุก ๆด้าน ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัยและความสำเร็จ >>

    ** “เทพเจ้ากวนอู” ถือเป็นเทพเจ้าศาสนาเต๋า ทั้งยังเป็นเทพที่มีลักษณ์พิเศษเพราะเทพเจ้ากวนอูยังเป็นเทพเจ้าในศาสนาพุทธอีก เนื่องจากในสมัยสามก๊ก กวนอูเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความกล้าหาญและเก่งในการทำสงคราม คนจีนจึงยกกวนอูเป็นเทพเจ้าหลังจากเสียชีวิตไป ผู้ศรัทธาคิดว่าเทพเจ้ากวนอูสามารถคุ้มครองชีวิตประชาชนในหลายๆด้าน เช่น การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย รวมถึงให้สุขภาพแข็งแรง >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข เหรียญเทพเจ้ากวนอู เนื้อกะไหล่ทอง ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข //เทพเจ้ากวนอู หรือ กวนกง หนึ่งในเทพจีนที่ผู้คนนิยมบูชา // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย มีความซื่อสัตย์ต่อกันก็จักช่วยบรรเทาการทรยศ หักหลัง หรือโดนโกงได้ ส่งผลดีในด้านการงาน การแข่งขันด้านธุรกิจ ทำให้มีอำนาจเหนือศัตรูของผู้บูชาในทุก ๆด้าน ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัยและความสำเร็จ >> ** “เทพเจ้ากวนอู” ถือเป็นเทพเจ้าศาสนาเต๋า ทั้งยังเป็นเทพที่มีลักษณ์พิเศษเพราะเทพเจ้ากวนอูยังเป็นเทพเจ้าในศาสนาพุทธอีก เนื่องจากในสมัยสามก๊ก กวนอูเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความกล้าหาญและเก่งในการทำสงคราม คนจีนจึงยกกวนอูเป็นเทพเจ้าหลังจากเสียชีวิตไป ผู้ศรัทธาคิดว่าเทพเจ้ากวนอูสามารถคุ้มครองชีวิตประชาชนในหลายๆด้าน เช่น การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย รวมถึงให้สุขภาพแข็งแรง >> ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • คีธ เคลล็อกก์ (Keith Kellogg) ผู้แทนพิเศษของทรัมป์ประจำยูเครนกล่าวในการประชุมด้านความมั่นคงที่เมืองมิวนิก "Munich Security Conference"(MSC) ระบุอย่างชัดเจนว่ายุโรปจะไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

    - ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างแน่นอน แต่ยูเครนยังสามารถมีส่วนร่วมได้

    - เคลล็อกก์ต้องการให้ยุโรปมีส่วนร่วมเพียงแค่การเสนอแนะแนวทาง ให้ข้อคิดเห็น ดีกว่าจะมาส่งเสียงร้องโวยวายว่าตัวเองจะได้เข้าร่วมโต๊ะเจรจาหรือไม่หรือไม่ได้เข้าร่วม

    - นอกจากนี้เคลล็อกก์ยังแนะนำให้ยุโรปเอาเวลาไปคิดหาทางเพิ่มงบประมาณด้านการทหารของตัวเองจะดีกว่า
    สหรัฐมีเป้าหมายสูงสุดคือยุติสงครามโดยเร็วที่สุด การเจรจาจะไม่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือน สหรัฐต้องการใช้เวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์

    - ในการเจรจาข้อตกลงที่ผ่านมา การมีหลายประเทศเข้าร่วมมากเกินไปส่งผลเสียมากกว่า เคลล็อกก์ยกตัวอย่างข้อตกลงมินสค์ว่า ล้มเหลว เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากเข้าร่วม ทำให้การดำเนินกระบวนการสันติภาพเป็นไปได้ยากในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

    - เคลล็อกก์ยังโจมตีไบเดนว่า การปล่อยปละละเลยและความอ่อนแอของเขา ทำให้รัสเซีย-จีน-อิหร่าน-เกาหลีเหนือ แข็งแกร่งขึ้นมากในเวลาไม่กี่ปี

    - สหรัฐจะช่วยยูเครนต่อไป แต่เพื่อการฟื้นฟู โดยมีเงื่อนไขว่าสงครามจะต้องหยุดลงทันทีก่อน
    คีธ เคลล็อกก์ (Keith Kellogg) ผู้แทนพิเศษของทรัมป์ประจำยูเครนกล่าวในการประชุมด้านความมั่นคงที่เมืองมิวนิก "Munich Security Conference"(MSC) ระบุอย่างชัดเจนว่ายุโรปจะไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย - ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างแน่นอน แต่ยูเครนยังสามารถมีส่วนร่วมได้ - เคลล็อกก์ต้องการให้ยุโรปมีส่วนร่วมเพียงแค่การเสนอแนะแนวทาง ให้ข้อคิดเห็น ดีกว่าจะมาส่งเสียงร้องโวยวายว่าตัวเองจะได้เข้าร่วมโต๊ะเจรจาหรือไม่หรือไม่ได้เข้าร่วม - นอกจากนี้เคลล็อกก์ยังแนะนำให้ยุโรปเอาเวลาไปคิดหาทางเพิ่มงบประมาณด้านการทหารของตัวเองจะดีกว่า สหรัฐมีเป้าหมายสูงสุดคือยุติสงครามโดยเร็วที่สุด การเจรจาจะไม่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือน สหรัฐต้องการใช้เวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ - ในการเจรจาข้อตกลงที่ผ่านมา การมีหลายประเทศเข้าร่วมมากเกินไปส่งผลเสียมากกว่า เคลล็อกก์ยกตัวอย่างข้อตกลงมินสค์ว่า ล้มเหลว เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากเข้าร่วม ทำให้การดำเนินกระบวนการสันติภาพเป็นไปได้ยากในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง - เคลล็อกก์ยังโจมตีไบเดนว่า การปล่อยปละละเลยและความอ่อนแอของเขา ทำให้รัสเซีย-จีน-อิหร่าน-เกาหลีเหนือ แข็งแกร่งขึ้นมากในเวลาไม่กี่ปี - สหรัฐจะช่วยยูเครนต่อไป แต่เพื่อการฟื้นฟู โดยมีเงื่อนไขว่าสงครามจะต้องหยุดลงทันทีก่อน
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 122 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมืองนิโคลาเยฟ ในยูเครน

    หญิงสูงอายุรายหนึ่งจุดชนวนระเบิดในถุงที่ข้างในใส่ระเบิดแสวงเครื่องไว้ต่อหน้ากลุ่มเจ้าหน้าที่ยูเครนที่ทำหน้าที่บังคับชายชาวยูเครนเข้าสู่แนวหน้า

    ต่อมาทราบว่าหญิงรายนี้ต้องสูญเสียลูกชายและสามีของเธอไปในสงคราม หลังจากถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า

    มีรายงานเจ้าหน้าที่ 1 รายเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอีก 6 ราย บางคนมีอาการสาหัส
    เมืองนิโคลาเยฟ ในยูเครน หญิงสูงอายุรายหนึ่งจุดชนวนระเบิดในถุงที่ข้างในใส่ระเบิดแสวงเครื่องไว้ต่อหน้ากลุ่มเจ้าหน้าที่ยูเครนที่ทำหน้าที่บังคับชายชาวยูเครนเข้าสู่แนวหน้า ต่อมาทราบว่าหญิงรายนี้ต้องสูญเสียลูกชายและสามีของเธอไปในสงคราม หลังจากถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า มีรายงานเจ้าหน้าที่ 1 รายเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอีก 6 ราย บางคนมีอาการสาหัส
    Sad
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 263 มุมมอง 19 0 รีวิว
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 72 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น
    .
    เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง"
    .
    ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป
    .
    "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป"
    .
    เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ"
    .
    เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน
    .
    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน"
    .
    ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา
    .
    จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน
    .
    ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้
    .
    ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ
    .
    เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป"
    .
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321
    ..................
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น . เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง" . ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป . "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป" . เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ" . เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน . อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน" . ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา . จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน . ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้ . ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ . เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป" . อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 632 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด
    .
    ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน
    .
    ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา
    .
    การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น
    .
    ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว
    .
    ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน
    .
    หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง
    .
    คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง
    .
    เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้
    .
    คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319
    ..................
    Sondhi X
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด . ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน . ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง . ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา . การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น . ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว . ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน . หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี . อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง . คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง . เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้ . คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 644 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกียืนยันยังไม่มีจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลานี้ โดยเขาอ้างว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย

    เขายังโจมตีผู้ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในยูเครนว่า "ควรย้ายที่อยู่ไปประเทศอื่น หรือเปลี่ยนสัญชาติไปซะ

    “เราต้องการความสามัคคีในช่วงสงคราม หากชาวยูเครนบางคนไม่ชอบที่ไม่มีการเลือกตั้ง พวกเขาสามารถเลือกสัญชาติอื่นได้” เซเลนสกี้กล่าว

    เซเลนสกี้ซึ่งหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2024
    เซเลนสกียืนยันยังไม่มีจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลานี้ โดยเขาอ้างว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย เขายังโจมตีผู้ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในยูเครนว่า "ควรย้ายที่อยู่ไปประเทศอื่น หรือเปลี่ยนสัญชาติไปซะ “เราต้องการความสามัคคีในช่วงสงคราม หากชาวยูเครนบางคนไม่ชอบที่ไม่มีการเลือกตั้ง พวกเขาสามารถเลือกสัญชาติอื่นได้” เซเลนสกี้กล่าว เซเลนสกี้ซึ่งหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2024
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 213 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังร่วมกับประเทศยุโรปอื่นๆ กำลังวางแผนร่วมมือกันส่งทหารเข้าไปในยูเครนหลังสงครามสิ้นสุดลง
    - AP รายงาน
    อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังร่วมกับประเทศยุโรปอื่นๆ กำลังวางแผนร่วมมือกันส่งทหารเข้าไปในยูเครนหลังสงครามสิ้นสุดลง - AP รายงาน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว

    🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ

    เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว

    แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น

    รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก

    โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด

    🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย

    ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT

    เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง

    ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ

    และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า

    🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้

    กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่

    กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่

    ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ

    👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์

    แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์

    รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย.

    ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง

    น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23

    👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง

    ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20%

    ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ

    รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้

    จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ

    ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา

    ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด

    🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์

    แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย

    รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend

    เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง

    🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน

    คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ

    ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง

    รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน

    ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี

    🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที

    ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้

    ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
    ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว 🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด 🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า 🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้ กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่ กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่ ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ 👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์ รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย. ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23 👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20% ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้ จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย 👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด 🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง 🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี 🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้ ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 134 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีประกาศว่าเขาจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆที่เกิดขึ้นในมิวนิก ที่มีเพียงรัสเซียและสหรัฐโดยไม่มียูเครนเข้าร่วม และจะไม่ลงนามอะไรทั้งสิ้นซึ่งจะทำให้สหรัฐมีสิทธิ์ครอบครองทรัพยากรของยูเครนมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์

    เขายังกล่าวอีกว่า จะไม่ยอมเจรจากับรัสเซียหากคนนั้นไม่ใช่ปูติน ต้องเป็นปูตินคนเดียวเท่านั้น ซึ่งจะร่วมกับทรัมป์และยุโรปแล้วเท่านั้น ในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม
    เซเลนสกีประกาศว่าเขาจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆที่เกิดขึ้นในมิวนิก ที่มีเพียงรัสเซียและสหรัฐโดยไม่มียูเครนเข้าร่วม และจะไม่ลงนามอะไรทั้งสิ้นซึ่งจะทำให้สหรัฐมีสิทธิ์ครอบครองทรัพยากรของยูเครนมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เขายังกล่าวอีกว่า จะไม่ยอมเจรจากับรัสเซียหากคนนั้นไม่ใช่ปูติน ต้องเป็นปูตินคนเดียวเท่านั้น ซึ่งจะร่วมกับทรัมป์และยุโรปแล้วเท่านั้น ในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 228 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • ตั้ง ‘War’room รับมือ Trade‘War’ : [Biz Talk]

    ประเทศไทย ต้องรีบตั้ง ‘วอร์รูม รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0’ เพื่อลดผลกระทบจาก‘สงครามการค้า’ที่เปิดฉากขึ้นแล้ว /สภาผู้ส่งออก มองไตรมาสแรกปีนี้ ยังไม่น่าห่วง แต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป ส่งออกไทยมีความเสี่ยงสูง คาดไทย โดนสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าแน่หลัง เม.ย.68 !?
    ตั้ง ‘War’room รับมือ Trade‘War’ : [Biz Talk] ประเทศไทย ต้องรีบตั้ง ‘วอร์รูม รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0’ เพื่อลดผลกระทบจาก‘สงครามการค้า’ที่เปิดฉากขึ้นแล้ว /สภาผู้ส่งออก มองไตรมาสแรกปีนี้ ยังไม่น่าห่วง แต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป ส่งออกไทยมีความเสี่ยงสูง คาดไทย โดนสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าแน่หลัง เม.ย.68 !?
    Like
    Angry
    Love
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 763 มุมมอง 35 0 รีวิว
  • JD Vance รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิเสธข่าวในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลของสหรัฐฯ ที่อ้างคำพูดของเขาว่าอาจส่งกองทหารสหรัฐฯ ไปยังยูเครน หากรัสเซียไม่เห็นด้วยกับแผนสันติภาพ

    "ประธานาธิบดีทรัมป์คือนักเจรจาตัวจริง และจะนำสันติภาพมาสู่ภูมิภาคด้วยการยุติสงครามในยูเครน ตามที่เราพูดเสมอ ไม่ควรส่งทหารอเมริกันไปเสี่ยงอันตรายในที่ที่ไม่ได้ส่งเสริมผลประโยชน์และความมั่นคงของอเมริกา สงครามนี้เป็นเรื่องระหว่างรัสเซียกับยูเครน" Vance กล่าว พร้อมโพสต์ข้อความซ้ำจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่กล่าวหาว่าวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานคำพูดของเขาไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง

    "การที่ WSJ บิดเบือนคำพูดของผมในลักษณะนี้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เมื่อพิจารณาว่าพวกเขาใช้เวลาหลายปีในการผลักดันให้ลูกชายลูกสาวชาวอเมริกันในเครื่องแบบต้องไปประจำการในต่างประเทศโดยไม่จำเป็น"

    .

    การรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของแวนซ์โดย WSJ ทำให้รัฐบาลรัสเซียออกมาตอบโต้ทันที โดยเรียกร้องให้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารสหรัฐเข้าสู่ยูเครน
    JD Vance รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิเสธข่าวในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลของสหรัฐฯ ที่อ้างคำพูดของเขาว่าอาจส่งกองทหารสหรัฐฯ ไปยังยูเครน หากรัสเซียไม่เห็นด้วยกับแผนสันติภาพ "ประธานาธิบดีทรัมป์คือนักเจรจาตัวจริง และจะนำสันติภาพมาสู่ภูมิภาคด้วยการยุติสงครามในยูเครน ตามที่เราพูดเสมอ ไม่ควรส่งทหารอเมริกันไปเสี่ยงอันตรายในที่ที่ไม่ได้ส่งเสริมผลประโยชน์และความมั่นคงของอเมริกา สงครามนี้เป็นเรื่องระหว่างรัสเซียกับยูเครน" Vance กล่าว พร้อมโพสต์ข้อความซ้ำจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่กล่าวหาว่าวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานคำพูดของเขาไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง "การที่ WSJ บิดเบือนคำพูดของผมในลักษณะนี้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เมื่อพิจารณาว่าพวกเขาใช้เวลาหลายปีในการผลักดันให้ลูกชายลูกสาวชาวอเมริกันในเครื่องแบบต้องไปประจำการในต่างประเทศโดยไม่จำเป็น" . การรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของแวนซ์โดย WSJ ทำให้รัฐบาลรัสเซียออกมาตอบโต้ทันที โดยเรียกร้องให้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารสหรัฐเข้าสู่ยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาษากายของเซเลนสกีแสดงการต่อต้านอย่างชัดเจน เมื่อ เจดี แวนซ์ รองปธน.สหรัฐกล่าวชัดเจนว่า สหรัฐต้องการให้สงครามยุติลง
    ภาษากายของเซเลนสกีแสดงการต่อต้านอย่างชัดเจน เมื่อ เจดี แวนซ์ รองปธน.สหรัฐกล่าวชัดเจนว่า สหรัฐต้องการให้สงครามยุติลง
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 12 0 รีวิว

  • ประธานาธิบดี สีจิ้นผิงจะจัดประชุมสัมมนาสุดยอดผู้นำเทคโนโลยีของจีน งานนี้เชิญแจ๊ก หม่ากลับคืนเวที ถือเป็นกลยุทธ์การระดมความรู้และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทนำการพัฒนาจีนเป็นผู้นำโลกยุคใหม่

    แหล่งข่าวเผยว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เตรียมจัดการประชุมสัมมนาเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นภาคเอกชนในสัปดาห์หน้า โดยมีผู้นำธุรกิจของประเทศเข้าร่วมด้วย รวมถึงแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งร่วมของบริษัทอาลีบาบา

    ที่ผ่านมา สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แทบไม่เคยจัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับภาคเอกชนเลย และงานดังกล่าวตอกย้ำความท้าทายมากมายที่บริษัทจีนต้องเผชิญ ตั้งแต่ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นกับสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไปจนถึงการเติบโตที่ชะงักงันของเศรษฐกิจภายในประเทศ

    ผู้ประกอบการจำนวนมากจะเป็นผู้ประกอบการจากภาคเทคโนโลยี และคาดว่าสี จิ้นผิง จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ขยายธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ท่ามกลางสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น แหล่งข่าว 2 รายระบุ

    การประชุมสัมมนาครั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีขึ้นในวันจันทร์หน้า แหล่งข่าวระบุ ข่าวการประชุมดังกล่าวรายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์เป็นครั้งแรก
    โพนี่ หม่า ซีอีโอของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Tencent มีกำหนดที่จะเข้าร่วม แหล่งข่าวสองรายระบุว่า เล่ย จุน ซีอีโอของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Xiaomi รวมถึงหวัง ซิงซิง ผู้ก่อตั้งบริษัทหุ่นยนต์ Yushu Technology ก็มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมเช่นกัน แหล่งข่าวหนึ่งกล่าว

    นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ Huawei Technologies ยังคาดว่าจะเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เหลียง เหวินเฟิง ผู้ก่อตั้ง DeepSeek จะเข้าร่วมด้วย เพราะบริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับโลกเทคโนโลยีด้วยโมเดลที่บริษัทอ้างว่าพัฒนาขึ้นด้วยต้นทุนเพียงเศษเสี้ยวเดียวของคู่แข่งจากตะวันตก

    สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ติดต่อกับบุคคลสำคัญทั้ง 5 รายที่ทราบเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดขอสงวนนามเนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับสื่อ 

    สำนักงานข้อมูลของคณะรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่ตอบคำถามสื่อในนามของผู้นำประเทศ ไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในทันที

    อาลีบาบา เทนเซนต์ เสี่ยวหมี่ หัวเว่ย ยู่ชู่ และดีพซีค ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้

    ปรากฏว่าหุ้นที่จดทะเบียนในฮ่องกงของอาลีบาบา เทนเซนต์ และเสี่ยวหมี่ พุ่งขึ้นต่อเนื่องในการซื้อขายช่วงบ่ายตามข่าว โดยเสี่ยวหมี่ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้น 7% นอกจากนี้ เทนเซนต์ยังปิดตลาดสูงขึ้น 7% ในขณะที่อาลีบาบาปิดตลาดที่ระดับ 6%

    ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น
    สีจิ้นผิงเป็นประธานการประชุมสัมมนาระดับสูงสำหรับภาคเอกชนเป็นครั้งแรกในช่วงปลายปี 2561 ซึ่งเป็นเวลา 6 ปีหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่ง ในเวลานั้น เขาให้คำมั่นว่าจะลดหย่อนภาษีและสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกัน พร้อมทั้งยืนยันว่าบริษัทเอกชนจะสามารถเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงินได้

    การเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่วางแผนไว้ของแจ็ค หม่า มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่ครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเสียงโด่งดังได้ถอนตัวออกจากชีวิตสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่ Ant บริษัทฟินเทคของเขาถูกทางการสั่งระงับการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรกในปี 2020 ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดจากคำปราศรัยของเขาในปีนั้นที่วิจารณ์ระบบการกำกับดูแลของจีน

    อาณาจักรธุรกิจของเขาและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กว้างขึ้นก็ตกเป็นเป้าหมายของการปราบปรามทางการ โดยช่วงเวลาที่เขาอยู่ห่างจากจุดสนใจเป็นสัญลักษณ์ของการพลิกผันของโชคชะตาสำหรับภาคเอกชนของจีน

    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สีได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของจีนในการบรรลุ "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" โดยกล่าวว่าบริษัทเอกชนควร "ร่ำรวยและเปี่ยมด้วยความรัก" เช่นเดียวกับ "รักชาติ" และแบ่งปันผลจากการเติบโตของตนกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

    คำพูดของเขาถูกมองว่าเป็นการขัดขวางความเกินพอดีในอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง และทำหน้าที่เป็นเบรกในการลงทุนที่มีความเสี่ยง

    การเข้าร่วมของผู้ก่อตั้ง DeepSeek อย่าง Liang จะช่วยเสริมสถานะใหม่ที่เพิ่งค้นพบของบริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้ให้กลายเป็นผู้พลิกผันครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม AI ระดับโลก เมื่อเดือนที่แล้ว เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสัมมนาแบบปิดที่จัดโดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เชียง

    ประธานาธิบดีสีเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จีนต้องบรรลุความพอเพียงในตัวเองในด้านเซมิคอนดักเตอร์มาเป็นเวลานาน และต้องการให้ประเทศใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ

    แต่ความพยายามของจีนถูกขัดขวางโดยมาตรการควบคุมการส่งออกชิปที่บังคับใช้โดยวอชิงตัน ซึ่งกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้เซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางทหาร

    ที่มา Xi to chair symposium attended by Jack Ma and other Chinese business leaders, sources say - https://www.reuters.com/world/china/xi-chair-symposium-attended-by-jack-ma-other-chinese-business-leaders-sources-2025-02-14/
    ประธานาธิบดี สีจิ้นผิงจะจัดประชุมสัมมนาสุดยอดผู้นำเทคโนโลยีของจีน งานนี้เชิญแจ๊ก หม่ากลับคืนเวที ถือเป็นกลยุทธ์การระดมความรู้และความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทนำการพัฒนาจีนเป็นผู้นำโลกยุคใหม่ แหล่งข่าวเผยว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เตรียมจัดการประชุมสัมมนาเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นภาคเอกชนในสัปดาห์หน้า โดยมีผู้นำธุรกิจของประเทศเข้าร่วมด้วย รวมถึงแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งร่วมของบริษัทอาลีบาบา ที่ผ่านมา สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แทบไม่เคยจัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับภาคเอกชนเลย และงานดังกล่าวตอกย้ำความท้าทายมากมายที่บริษัทจีนต้องเผชิญ ตั้งแต่ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นกับสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไปจนถึงการเติบโตที่ชะงักงันของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้ประกอบการจำนวนมากจะเป็นผู้ประกอบการจากภาคเทคโนโลยี และคาดว่าสี จิ้นผิง จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ขยายธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ท่ามกลางสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น แหล่งข่าว 2 รายระบุ การประชุมสัมมนาครั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะมีขึ้นในวันจันทร์หน้า แหล่งข่าวระบุ ข่าวการประชุมดังกล่าวรายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์เป็นครั้งแรก โพนี่ หม่า ซีอีโอของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Tencent มีกำหนดที่จะเข้าร่วม แหล่งข่าวสองรายระบุว่า เล่ย จุน ซีอีโอของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Xiaomi รวมถึงหวัง ซิงซิง ผู้ก่อตั้งบริษัทหุ่นยนต์ Yushu Technology ก็มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมเช่นกัน แหล่งข่าวหนึ่งกล่าว นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ Huawei Technologies ยังคาดว่าจะเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เหลียง เหวินเฟิง ผู้ก่อตั้ง DeepSeek จะเข้าร่วมด้วย เพราะบริษัทสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับโลกเทคโนโลยีด้วยโมเดลที่บริษัทอ้างว่าพัฒนาขึ้นด้วยต้นทุนเพียงเศษเสี้ยวเดียวของคู่แข่งจากตะวันตก สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ติดต่อกับบุคคลสำคัญทั้ง 5 รายที่ทราบเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดขอสงวนนามเนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับสื่อ  สำนักงานข้อมูลของคณะรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่ตอบคำถามสื่อในนามของผู้นำประเทศ ไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในทันที อาลีบาบา เทนเซนต์ เสี่ยวหมี่ หัวเว่ย ยู่ชู่ และดีพซีค ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ปรากฏว่าหุ้นที่จดทะเบียนในฮ่องกงของอาลีบาบา เทนเซนต์ และเสี่ยวหมี่ พุ่งขึ้นต่อเนื่องในการซื้อขายช่วงบ่ายตามข่าว โดยเสี่ยวหมี่ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้น 7% นอกจากนี้ เทนเซนต์ยังปิดตลาดสูงขึ้น 7% ในขณะที่อาลีบาบาปิดตลาดที่ระดับ 6% ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น สีจิ้นผิงเป็นประธานการประชุมสัมมนาระดับสูงสำหรับภาคเอกชนเป็นครั้งแรกในช่วงปลายปี 2561 ซึ่งเป็นเวลา 6 ปีหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่ง ในเวลานั้น เขาให้คำมั่นว่าจะลดหย่อนภาษีและสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกัน พร้อมทั้งยืนยันว่าบริษัทเอกชนจะสามารถเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงินได้ การเข้าร่วมการประชุมสัมมนาที่วางแผนไว้ของแจ็ค หม่า มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่ครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเสียงโด่งดังได้ถอนตัวออกจากชีวิตสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่ Ant บริษัทฟินเทคของเขาถูกทางการสั่งระงับการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรกในปี 2020 ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดจากคำปราศรัยของเขาในปีนั้นที่วิจารณ์ระบบการกำกับดูแลของจีน อาณาจักรธุรกิจของเขาและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กว้างขึ้นก็ตกเป็นเป้าหมายของการปราบปรามทางการ โดยช่วงเวลาที่เขาอยู่ห่างจากจุดสนใจเป็นสัญลักษณ์ของการพลิกผันของโชคชะตาสำหรับภาคเอกชนของจีน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สีได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของจีนในการบรรลุ "ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" โดยกล่าวว่าบริษัทเอกชนควร "ร่ำรวยและเปี่ยมด้วยความรัก" เช่นเดียวกับ "รักชาติ" และแบ่งปันผลจากการเติบโตของตนกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น คำพูดของเขาถูกมองว่าเป็นการขัดขวางความเกินพอดีในอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง และทำหน้าที่เป็นเบรกในการลงทุนที่มีความเสี่ยง การเข้าร่วมของผู้ก่อตั้ง DeepSeek อย่าง Liang จะช่วยเสริมสถานะใหม่ที่เพิ่งค้นพบของบริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้ให้กลายเป็นผู้พลิกผันครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม AI ระดับโลก เมื่อเดือนที่แล้ว เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสัมมนาแบบปิดที่จัดโดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เชียง ประธานาธิบดีสีเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จีนต้องบรรลุความพอเพียงในตัวเองในด้านเซมิคอนดักเตอร์มาเป็นเวลานาน และต้องการให้ประเทศใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ความพยายามของจีนถูกขัดขวางโดยมาตรการควบคุมการส่งออกชิปที่บังคับใช้โดยวอชิงตัน ซึ่งกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้เซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางทหาร ที่มา Xi to chair symposium attended by Jack Ma and other Chinese business leaders, sources say - https://www.reuters.com/world/china/xi-chair-symposium-attended-by-jack-ma-other-chinese-business-leaders-sources-2025-02-14/
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกคนต่างก็มี
    สงครามส่วนตัว
    ที่ต้องสะสางกันทั้งนั้น

    จากหนังสือ |แมวยิ้มง่ายใช่ว่าแตกสลายไม่เป็น
    บทสนทนาว่าด้วยรอยขีดข่วนของยุคสมัย

    #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน
    #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก
    #แมวยิ้มง่ายใช่ว่าแตกสลายไม่เป็น
    ทุกคนต่างก็มี สงครามส่วนตัว ที่ต้องสะสางกันทั้งนั้น จากหนังสือ |แมวยิ้มง่ายใช่ว่าแตกสลายไม่เป็น บทสนทนาว่าด้วยรอยขีดข่วนของยุคสมัย #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #ทัศนคติ #Thaitimes #ความคิดเชิงบวก #แมวยิ้มง่ายใช่ว่าแตกสลายไม่เป็น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 119 มุมมอง 0 รีวิว
  • "อยากให้ทรัมป์มาเปิดโปงสื่อในไทยมั่งจัง" 😂😂😂

    ทรัมป์ยังคงทำสงครามกับสื่อต่อไป ครั้งนี้เป็นคิวของรอยเตอร์

    โดยระบว่า รอยเตอร์ได้รับเงินจากกลาโหมสหรัฐมากถึง 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 300 ล้านบาท
    "อยากให้ทรัมป์มาเปิดโปงสื่อในไทยมั่งจัง" 😂😂😂 ทรัมป์ยังคงทำสงครามกับสื่อต่อไป ครั้งนี้เป็นคิวของรอยเตอร์ โดยระบว่า รอยเตอร์ได้รับเงินจากกลาโหมสหรัฐมากถึง 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 300 ล้านบาท
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 191 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨พระสิบสองราศี ปีมะเส็ง
    #หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2484 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสร้างวัตถุมงคลมากที่สุดก่อนสงครามอินโดจีนเพื่อแจกทหารหาญและประชาชนที่มาทำบุญที่วัด พุทธลักษณะเป็นพระพุทธนั่งสมาธิใต้ฐานเป็นงูเล็ก สำหรับพุทธคุณท่านว่าเด่นด้านปลอดภัยแคล้วคลาด ตลอดจนเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้มีราศีเกิดตามพิมพ์นั้นๆดีนักแล
    ✨พระสิบสองราศี ปีมะเส็ง #หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2484 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสร้างวัตถุมงคลมากที่สุดก่อนสงครามอินโดจีนเพื่อแจกทหารหาญและประชาชนที่มาทำบุญที่วัด พุทธลักษณะเป็นพระพุทธนั่งสมาธิใต้ฐานเป็นงูเล็ก สำหรับพุทธคุณท่านว่าเด่นด้านปลอดภัยแคล้วคลาด ตลอดจนเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้มีราศีเกิดตามพิมพ์นั้นๆดีนักแล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • 122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี

    📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น

    ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436)

    อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌

    🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹
    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก

    💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้

    🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง

    อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย

    🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน
    📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ

    📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112
    ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส
    ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา
    ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส

    🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น

    🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม
    หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส

    📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน

    🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้
    ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส
    ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส
    ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก

    🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450
    4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน

    นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้

    🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า
    ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน
    ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช
    ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต

    🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น

    🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย
    🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭

    📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568

    #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี 📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌 🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก 💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้ 🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย 🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน 📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ 📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112 ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส 🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น 🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส 📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน 🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้ ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก 🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450 4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้ 🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต 🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น 🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย 🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭 📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568 #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 152 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐอเมริกา ดินแดนประชาธิปไตย ยังคงเป็นเครื่องจักรผลิตสงคราม สร้างความขัดแย้งบนโลกนี้ต่อไป

    ถ้าทรัมป์เป็นผู้นำไทย บรรดาผู้คลั่งประชาธิปไตยในไทยทั้งหลายคงบอกว่า "ผิดที่รัฐธรรมนูญ" ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญทำให้การเลือกตั้งบิดเบี้ยว เลือกคนผิดมาเป็นผู้นำ
    สหรัฐอเมริกา ดินแดนประชาธิปไตย ยังคงเป็นเครื่องจักรผลิตสงคราม สร้างความขัดแย้งบนโลกนี้ต่อไป ถ้าทรัมป์เป็นผู้นำไทย บรรดาผู้คลั่งประชาธิปไตยในไทยทั้งหลายคงบอกว่า "ผิดที่รัฐธรรมนูญ" ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญทำให้การเลือกตั้งบิดเบี้ยว เลือกคนผิดมาเป็นผู้นำ
    สหรัฐฯมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนโฟกัสด้านการทหาร ให้ความสำคัญลำดับต้นๆต่อการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก เช่นเดียวกับการป้องกันมาตุภูมิ จากคำประกาศกร้าวของ พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน)
    .
    ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมสนับสนุนยูเครน ของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมนาโตและบรรดาชาตินอกสมาชิกนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งหมาดๆ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของวอชิงตัน และเรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเข้ารับหน้าที่เป็นผู้นำในด้านความมั่นคงของตนเอง
    .
    เฮกเซธ เน้นย้ำว่า "ข้อเท็จจริงทางยุทธศาสตร์" บีบให้วอชิงตัน ต้องหันไปมุ่งเน้นคุ้มกันชายแดนของตนเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากปักกิ่ง "สหรัฐฯต้องเผชิญกับภัยคุกคามสืบเนื่อง ที่มีต่อมาตุภูมิของเรา" เขากล่าว พร้อมบอกว่า "เราต้อง และเรากำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชายแดนของเรา"
    .
    รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ จีน คือภัยคุกคามสำคัญที่สุด โดยให้คำจำกัดความปักกิ่งว่าเป็น "คู่แข่งที่ทัดเทียม" ทั้งในแง่ศักยภาพและความตั้งใจคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
    .
    "สหรัฐฯให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการป้องปรามสงครามกับจีนในแปซิฟิก ตะหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลน และต้องเลือกทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับประกันว่าการป้องปรามนั้นจะไม่ล้มเหลว" เฮกเซธระบุ
    .
    ความเป็นคู่อริทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ชาติต่างยกระดับการปรากฏตัวทางทหารและเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก ในขณะที่สหรัฐฯส่งเสียงเตือนซ้ำๆในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวเสริมกำลังทหารและความทะเยอทะยานในระดับภูมิภาคของจีน
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำจุดยืนดังกล่าวเช่นกัน ประกาศกร้าวว่าการตอบโต้จีน จะเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัย 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขากล่าวหาพรรคคอมมิวนิสต์จีน "โกหก หลอกลวง เจาะระบบและขโมยข้อมูล เปิดทางสู่สถานะมหาอำนาจโลก โดยที่เราต้องเป็นฝ่ายชดใช้"
    .
    รูบิโอ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆนานาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาตให้ห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆโยกย้ายไปยังจีน เตือนว่ามันทำให้การผลิตของอเมริกาตกอยู่ในความอ่อนแอ นอกจากนี้แล้วเขายังเรียกร้องให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าเดิม ในการจำกัดอิทธิพลของปักกิ่งในอินโด-แปซิฟิก และที่อื่นๆ
    .
    ปักกิ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวมาตลอดต่อข้อกล่าวหานี้ พร้อมชี้ว่าสหรัฐฯคือขุมกำลังหลักที่บ่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมของจีนประณามความพยายามของวอชิงตัน ในการยกระดับปรากฏตัวทางทหารในอินโด-แปซิฟิก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวาง ในความพยายาม "ควบคุมจีน" และปั้นแต่งเรื่องเล่า "ภัยคุกคามจากจีน" แบบเลยเถิด
    .
    นอกจากนี้แล้ว จีน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ต่อกรณีกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับไต้หวัน เน้นย้ำว่าพวกเขามองว่าเกาะปกครองตนเองแห่งนี้เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของประเทศ ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปักกิ่ง ประณามวอชิงตัน ต่อการขายอาวุธต่างๆนานาให้ไทเป กล่าวหาว่าอเมริกาปลุกปั่นสถานการณ์ความตึงเครียด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014311
    ..............
    Sondhi X
    Like
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน:

    - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson)

    - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด

    - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

    - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา

    - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย

    - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

    - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ

    - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น"



    ข่าวอื่นๆ:
    - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง

    - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด

    - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ

    - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้)

    - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด

    - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน: - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson) - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น" ข่าวอื่นๆ: - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้) - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 201 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนโฟกัสด้านการทหาร ให้ความสำคัญลำดับต้นๆต่อการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก เช่นเดียวกับการป้องกันมาตุภูมิ จากคำประกาศกร้าวของ พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน)
    .
    ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมสนับสนุนยูเครน ของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมนาโตและบรรดาชาตินอกสมาชิกนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งหมาดๆ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของวอชิงตัน และเรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเข้ารับหน้าที่เป็นผู้นำในด้านความมั่นคงของตนเอง
    .
    เฮกเซธ เน้นย้ำว่า "ข้อเท็จจริงทางยุทธศาสตร์" บีบให้วอชิงตัน ต้องหันไปมุ่งเน้นคุ้มกันชายแดนของตนเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากปักกิ่ง "สหรัฐฯต้องเผชิญกับภัยคุกคามสืบเนื่อง ที่มีต่อมาตุภูมิของเรา" เขากล่าว พร้อมบอกว่า "เราต้อง และเรากำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชายแดนของเรา"
    .
    รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ จีน คือภัยคุกคามสำคัญที่สุด โดยให้คำจำกัดความปักกิ่งว่าเป็น "คู่แข่งที่ทัดเทียม" ทั้งในแง่ศักยภาพและความตั้งใจคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
    .
    "สหรัฐฯให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการป้องปรามสงครามกับจีนในแปซิฟิก ตะหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลน และต้องเลือกทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับประกันว่าการป้องปรามนั้นจะไม่ล้มเหลว" เฮกเซธระบุ
    .
    ความเป็นคู่อริทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ชาติต่างยกระดับการปรากฏตัวทางทหารและเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก ในขณะที่สหรัฐฯส่งเสียงเตือนซ้ำๆในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวเสริมกำลังทหารและความทะเยอทะยานในระดับภูมิภาคของจีน
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำจุดยืนดังกล่าวเช่นกัน ประกาศกร้าวว่าการตอบโต้จีน จะเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัย 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขากล่าวหาพรรคคอมมิวนิสต์จีน "โกหก หลอกลวง เจาะระบบและขโมยข้อมูล เปิดทางสู่สถานะมหาอำนาจโลก โดยที่เราต้องเป็นฝ่ายชดใช้"
    .
    รูบิโอ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆนานาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาตให้ห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆโยกย้ายไปยังจีน เตือนว่ามันทำให้การผลิตของอเมริกาตกอยู่ในความอ่อนแอ นอกจากนี้แล้วเขายังเรียกร้องให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าเดิม ในการจำกัดอิทธิพลของปักกิ่งในอินโด-แปซิฟิก และที่อื่นๆ
    .
    ปักกิ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวมาตลอดต่อข้อกล่าวหานี้ พร้อมชี้ว่าสหรัฐฯคือขุมกำลังหลักที่บ่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมของจีนประณามความพยายามของวอชิงตัน ในการยกระดับปรากฏตัวทางทหารในอินโด-แปซิฟิก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวาง ในความพยายาม "ควบคุมจีน" และปั้นแต่งเรื่องเล่า "ภัยคุกคามจากจีน" แบบเลยเถิด
    .
    นอกจากนี้แล้ว จีน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ต่อกรณีกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับไต้หวัน เน้นย้ำว่าพวกเขามองว่าเกาะปกครองตนเองแห่งนี้เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของประเทศ ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปักกิ่ง ประณามวอชิงตัน ต่อการขายอาวุธต่างๆนานาให้ไทเป กล่าวหาว่าอเมริกาปลุกปั่นสถานการณ์ความตึงเครียด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014311
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนโฟกัสด้านการทหาร ให้ความสำคัญลำดับต้นๆต่อการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก เช่นเดียวกับการป้องกันมาตุภูมิ จากคำประกาศกร้าวของ พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน) . ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมสนับสนุนยูเครน ของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมนาโตและบรรดาชาตินอกสมาชิกนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งหมาดๆ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของวอชิงตัน และเรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเข้ารับหน้าที่เป็นผู้นำในด้านความมั่นคงของตนเอง . เฮกเซธ เน้นย้ำว่า "ข้อเท็จจริงทางยุทธศาสตร์" บีบให้วอชิงตัน ต้องหันไปมุ่งเน้นคุ้มกันชายแดนของตนเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากปักกิ่ง "สหรัฐฯต้องเผชิญกับภัยคุกคามสืบเนื่อง ที่มีต่อมาตุภูมิของเรา" เขากล่าว พร้อมบอกว่า "เราต้อง และเรากำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชายแดนของเรา" . รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ จีน คือภัยคุกคามสำคัญที่สุด โดยให้คำจำกัดความปักกิ่งว่าเป็น "คู่แข่งที่ทัดเทียม" ทั้งในแง่ศักยภาพและความตั้งใจคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก . "สหรัฐฯให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการป้องปรามสงครามกับจีนในแปซิฟิก ตะหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลน และต้องเลือกทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับประกันว่าการป้องปรามนั้นจะไม่ล้มเหลว" เฮกเซธระบุ . ความเป็นคู่อริทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ชาติต่างยกระดับการปรากฏตัวทางทหารและเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก ในขณะที่สหรัฐฯส่งเสียงเตือนซ้ำๆในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวเสริมกำลังทหารและความทะเยอทะยานในระดับภูมิภาคของจีน . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำจุดยืนดังกล่าวเช่นกัน ประกาศกร้าวว่าการตอบโต้จีน จะเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัย 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขากล่าวหาพรรคคอมมิวนิสต์จีน "โกหก หลอกลวง เจาะระบบและขโมยข้อมูล เปิดทางสู่สถานะมหาอำนาจโลก โดยที่เราต้องเป็นฝ่ายชดใช้" . รูบิโอ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆนานาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาตให้ห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆโยกย้ายไปยังจีน เตือนว่ามันทำให้การผลิตของอเมริกาตกอยู่ในความอ่อนแอ นอกจากนี้แล้วเขายังเรียกร้องให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าเดิม ในการจำกัดอิทธิพลของปักกิ่งในอินโด-แปซิฟิก และที่อื่นๆ . ปักกิ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวมาตลอดต่อข้อกล่าวหานี้ พร้อมชี้ว่าสหรัฐฯคือขุมกำลังหลักที่บ่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมของจีนประณามความพยายามของวอชิงตัน ในการยกระดับปรากฏตัวทางทหารในอินโด-แปซิฟิก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวาง ในความพยายาม "ควบคุมจีน" และปั้นแต่งเรื่องเล่า "ภัยคุกคามจากจีน" แบบเลยเถิด . นอกจากนี้แล้ว จีน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ต่อกรณีกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับไต้หวัน เน้นย้ำว่าพวกเขามองว่าเกาะปกครองตนเองแห่งนี้เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของประเทศ ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปักกิ่ง ประณามวอชิงตัน ต่อการขายอาวุธต่างๆนานาให้ไทเป กล่าวหาว่าอเมริกาปลุกปั่นสถานการณ์ความตึงเครียด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014311 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Angry
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1815 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียยื่นข้อเสนอเปิดสายการผลิต Sukhoi Su-57 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สเตลธ์รุ่นทันสมัยที่สุดของแดนหมีขาวในแดนภารตะ เพื่อส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงการกระชับสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่าง 2 มหาอำนาจ
    .
    ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัสเซียถือเป็นซัปพลายเออร์อาวุธหลักของอินเดียซึ่งเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และเครื่องบินขับไล่จากแดนหมีขาวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในฝูงบินกองทัพอากาศอินเดีย ทว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ความสามารถในการส่งออกอาวุธของรัสเซียลดลงไปมากจากผลของสงครามในยูเครน ซึ่งทำให้อินเดียต้องหันไปพึ่งตะวันตกมากขึ้น
    .
    โฆษก Rosoboronexport ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธของรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจเริ่มได้ภายในปีนี้ หากรัฐบาลอินเดียรับข้อเสนอของมอสโก
    .
    กระทรวงกลาโหมอินเดียยังไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมอาวุธรัสเซียและเจ้าหน้าที่อินเดียคนหนึ่งระบุว่า รัสเซียได้ยื่นข้อเสนอแบบไม่เป็นทางการระหว่างพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย และผู้แทนจากบริษัท Hindustan Aeronautics ซึ่งเป็นบริษัทด้านอวกาศและการป้องกันประเทศที่รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าของ
    .
    กองทัพอากาศอินเดียกำลังพยายามหาวิธีเติมเต็มฝูงบินขับไล่ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 31 ฝูงบิน จากเป้าหมาย 42 ฝูงบิน ในขณะที่มหาอำนาจคู่แข่งอย่าง “จีน” มีการเพิ่มจำนวนฝูงบินทหารอย่างต่อเนื่อง
    .
    โฆษก Rosoboronexport ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในงานแสดงการบิน Aero India ที่เมืองบังกาลอร์ว่า การเปิดสายผลิตเครื่องบินรบในอินเดียโดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตจะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการแซงก์ชันรัสเซียของตะวันตก
    .
    เขายังบอกด้วยว่า ในการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจจะใช้วิธีปรับปรุงสายการผลิต Sukhoi Su-30 ที่มีอยู่แล้วในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอินเดียมีเครื่องบินรบรุ่นนี้ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 260 ลำ
    .
    ทั้ง Su-57 และเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ของค่ายล็อกฮีดมาร์ตินจากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ต่างถูกนำมาแสดงในงาน Aero India ด้วยกันทั้งคู่
    .
    แม้จะได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพพอฟัดพอเหวี่ยงกับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ทว่า Su-57 ก็เคยประสบปัญหาล่าช้าในช่วงของการพัฒนา และเคยเกิดอุบัติเหตุตกเมื่อปี 2019
    .
    ตามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินขับไล่ Su-57 เริ่มเดินสายการผลิตแบบต่อเนื่อง (serial production) เมื่อปี 2022
    .
    ปีที่แล้วรัสเซียได้ส่ง Su-57 ไปเข้าร่วมในงานแสดงการบินที่เมืองจูไห่ของจีน ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวในต่างแดนครั้งแรก และยังเป็นการประกาศความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียให้ชาติตะวันตกได้เห็นกลายๆ ด้วย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014303
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียยื่นข้อเสนอเปิดสายการผลิต Sukhoi Su-57 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สเตลธ์รุ่นทันสมัยที่สุดของแดนหมีขาวในแดนภารตะ เพื่อส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงการกระชับสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่าง 2 มหาอำนาจ . ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัสเซียถือเป็นซัปพลายเออร์อาวุธหลักของอินเดียซึ่งเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และเครื่องบินขับไล่จากแดนหมีขาวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในฝูงบินกองทัพอากาศอินเดีย ทว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ความสามารถในการส่งออกอาวุธของรัสเซียลดลงไปมากจากผลของสงครามในยูเครน ซึ่งทำให้อินเดียต้องหันไปพึ่งตะวันตกมากขึ้น . โฆษก Rosoboronexport ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธของรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจเริ่มได้ภายในปีนี้ หากรัฐบาลอินเดียรับข้อเสนอของมอสโก . กระทรวงกลาโหมอินเดียยังไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมอาวุธรัสเซียและเจ้าหน้าที่อินเดียคนหนึ่งระบุว่า รัสเซียได้ยื่นข้อเสนอแบบไม่เป็นทางการระหว่างพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย และผู้แทนจากบริษัท Hindustan Aeronautics ซึ่งเป็นบริษัทด้านอวกาศและการป้องกันประเทศที่รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าของ . กองทัพอากาศอินเดียกำลังพยายามหาวิธีเติมเต็มฝูงบินขับไล่ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 31 ฝูงบิน จากเป้าหมาย 42 ฝูงบิน ในขณะที่มหาอำนาจคู่แข่งอย่าง “จีน” มีการเพิ่มจำนวนฝูงบินทหารอย่างต่อเนื่อง . โฆษก Rosoboronexport ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในงานแสดงการบิน Aero India ที่เมืองบังกาลอร์ว่า การเปิดสายผลิตเครื่องบินรบในอินเดียโดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตจะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการแซงก์ชันรัสเซียของตะวันตก . เขายังบอกด้วยว่า ในการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจจะใช้วิธีปรับปรุงสายการผลิต Sukhoi Su-30 ที่มีอยู่แล้วในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอินเดียมีเครื่องบินรบรุ่นนี้ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 260 ลำ . ทั้ง Su-57 และเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ของค่ายล็อกฮีดมาร์ตินจากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ต่างถูกนำมาแสดงในงาน Aero India ด้วยกันทั้งคู่ . แม้จะได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพพอฟัดพอเหวี่ยงกับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ทว่า Su-57 ก็เคยประสบปัญหาล่าช้าในช่วงของการพัฒนา และเคยเกิดอุบัติเหตุตกเมื่อปี 2019 . ตามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินขับไล่ Su-57 เริ่มเดินสายการผลิตแบบต่อเนื่อง (serial production) เมื่อปี 2022 . ปีที่แล้วรัสเซียได้ส่ง Su-57 ไปเข้าร่วมในงานแสดงการบินที่เมืองจูไห่ของจีน ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวในต่างแดนครั้งแรก และยังเป็นการประกาศความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียให้ชาติตะวันตกได้เห็นกลายๆ ด้วย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014303 .............. Sondhi X
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1663 มุมมอง 0 รีวิว
  • รู้ไหมว่าบริษัทที่เป็นผู้ชนะในสงคราม AI ที่แท้จริงไม่ใช่ OpenAI, Meta, Google หรือแม้แต่ DeepSeek? บริษัทที่ทำเงินจาก AI ได้มหาศาลแต่แทบไม่มีคนพูดถึงกลับเป็น Reddit!

    เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? การที่ AI ต้องการข้อมูลที่มาจากการสนทนาจริง ๆ ของมนุษย์เพื่อฝึกฝนตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และ Reddit มีชุดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกที่มีการสนทนาจริง ๆ ของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อ AI ต้องการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ Reddit จึงกลายเป็นแหล่งที่มีค่ามาก

    ในเดือนพฤษภาคม 2024 Reddit ได้เซ็นสัญญาขายสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลให้กับ OpenAI ซึ่งทำให้บริษัทมีรายได้ไตรมาสแรกที่มีกำไรในไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ด้วยการเติบโตของรายได้ถึง 68% โดยมีรายได้ 348.4 ล้านดอลลาร์และมีกำไรสุทธิ 29.9 ล้านดอลลาร์ ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ Reddit เพิ่มขึ้นถึง 236%

    การเติบโตของรายได้นี้มาจากการโฆษณาและการให้สิทธิ์การใช้ข้อมูล AI ที่จ่ายราคาแพงเพื่อใช้ข้อมูลของ Reddit อย่างไม่ต้องสงสัย นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ Reddit กลายเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่

    โดยที่แพลตฟอร์ม Reddit มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนที่มีการใช้งานจริงจาก 430 ล้านคนในปี 2019 เป็น 1.21 พันล้านคนในปลายปี 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเชื่อมต่อมนุษย์ที่แท้จริงและไม่ถูกบังคับโดยอัลกอริทึม

    https://www.zdnet.com/article/the-billion-dollar-ai-company-no-one-is-talking-about-why-you-should-care/
    รู้ไหมว่าบริษัทที่เป็นผู้ชนะในสงคราม AI ที่แท้จริงไม่ใช่ OpenAI, Meta, Google หรือแม้แต่ DeepSeek? บริษัทที่ทำเงินจาก AI ได้มหาศาลแต่แทบไม่มีคนพูดถึงกลับเป็น Reddit! เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? การที่ AI ต้องการข้อมูลที่มาจากการสนทนาจริง ๆ ของมนุษย์เพื่อฝึกฝนตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และ Reddit มีชุดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกที่มีการสนทนาจริง ๆ ของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อ AI ต้องการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ Reddit จึงกลายเป็นแหล่งที่มีค่ามาก ในเดือนพฤษภาคม 2024 Reddit ได้เซ็นสัญญาขายสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลให้กับ OpenAI ซึ่งทำให้บริษัทมีรายได้ไตรมาสแรกที่มีกำไรในไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ด้วยการเติบโตของรายได้ถึง 68% โดยมีรายได้ 348.4 ล้านดอลลาร์และมีกำไรสุทธิ 29.9 ล้านดอลลาร์ ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ Reddit เพิ่มขึ้นถึง 236% การเติบโตของรายได้นี้มาจากการโฆษณาและการให้สิทธิ์การใช้ข้อมูล AI ที่จ่ายราคาแพงเพื่อใช้ข้อมูลของ Reddit อย่างไม่ต้องสงสัย นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ Reddit กลายเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ โดยที่แพลตฟอร์ม Reddit มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและจำนวนผู้ใช้งานรายเดือนที่มีการใช้งานจริงจาก 430 ล้านคนในปี 2019 เป็น 1.21 พันล้านคนในปลายปี 2024 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเชื่อมต่อมนุษย์ที่แท้จริงและไม่ถูกบังคับโดยอัลกอริทึม https://www.zdnet.com/article/the-billion-dollar-ai-company-no-one-is-talking-about-why-you-should-care/
    WWW.ZDNET.COM
    The billion-dollar AI company no one is talking about - and why you should care
    While AI giants burn cash, one company quietly makes billions without the hype. Here's why every business should take note.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 55 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘ทีมไทยแลนด์’ สู้ ‘สงครามการค้า : [Biz Talk]
    รัฐบาล ควรดึงเอกชน ร่วม‘ทีมไทยแลนด์’ วางแผน แก้เกม เจรจาต่อรองการค้าไทย-สหรัฐ เหตุไทย สุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มต่อไป ที่จะถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น ตามนโยบายทรัมป์ 2.0 มองระยะสั้น เป็นโอกาสดีต่อสินค้าไทยและอาเซียน ที่จะเข้าไปแข่งขันชิงตลาดในสหรัฐฯ หลังจากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก มีต้นทุนสูงขึ้น
    ‘ทีมไทยแลนด์’ สู้ ‘สงครามการค้า : [Biz Talk] รัฐบาล ควรดึงเอกชน ร่วม‘ทีมไทยแลนด์’ วางแผน แก้เกม เจรจาต่อรองการค้าไทย-สหรัฐ เหตุไทย สุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มต่อไป ที่จะถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น ตามนโยบายทรัมป์ 2.0 มองระยะสั้น เป็นโอกาสดีต่อสินค้าไทยและอาเซียน ที่จะเข้าไปแข่งขันชิงตลาดในสหรัฐฯ หลังจากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก มีต้นทุนสูงขึ้น
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 597 มุมมอง 27 0 รีวิว
Pages Boosts