• 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ อนาคตตัวเองยังไม่รู้ เสรือกดูอนาคตคนอื่น มีนาคม65 หมอช่อฟันธง รัสเซียแพ้สงครามย่อยยับ ตอนนั้นก้าวไกลยังไม่ถูกยุบ แทนที่จะดูอนาคตตัวเอง 555
    #7ดอกจิก
    ♣ อนาคตตัวเองยังไม่รู้ เสรือกดูอนาคตคนอื่น มีนาคม65 หมอช่อฟันธง รัสเซียแพ้สงครามย่อยยับ ตอนนั้นก้าวไกลยังไม่ถูกยุบ แทนที่จะดูอนาคตตัวเอง 555 #7ดอกจิก
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 94 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกี่ยวกับคะแนนนิยม 57% ที่เซเลนสกีใช้ตอบโต้ทรัมป์ เป็นผลสำรวจที่จัดทำขึ้นโดย สถาบันสังคมวิทยานานาชาติ Kyiv หรือ KIIS ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก USAID และสำหรับการทำโพลครั้งนี้ เป็นดารจัดทำขึ้นโดย อันตอน ฮรูเชตสกี (Anton Hrushetskyi) ซึ่งเป็นชาวยูเครนที่มีแนวคิดคลั่งชาติอย่างมาก จึงเป็นไปได้สูงว่าผลสำรวจดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ


    ทางด้าน อีลอน มัสก์ ได้โพสต์ข้อความว่า :
    "น่าเสียดายที่ CommunityNotes ถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลและสื่อกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ
    เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ มันควรจะเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า โพลที่ควบคุมโดยเซเลนสกีเกี่ยวกับคะแนนนิยมของตัวเองนั้นไม่น่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง!!

    ถ้าเซเลนสกีได้รับความรักจากประชาชนยูเครนจริง เขาคงจัดการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เขารู้ดีว่าเขาจะแพ้อย่างย่อยยับ แม้จะเข้ายึดการควบคุมสื่อทั้งหมดของยูเครนไปแล้วก็ตาม ดังนั้นเขาจึงยกเลิกการเลือกตั้ง

    ความจริงก็คือ ประชาชนยูเครนรังเกียจเขา และนั่นคือเหตุผลที่เขาปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง ผมท้าให้เซเลนสกีจัดการเลือกตั้งเพื่อพิสูจน์สิ่งนี้ แต่เขาจะไม่ทำ

    ประธานาธิบดีทรัมป์คิดถูกที่ไม่สนใจเขา และหาทางยุติสงครามโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบคอร์รัปชันขนาดมหึมาที่แสวงหาผลประโยชน์จากศพของทหารยูเครน"


    ข้อกล่าวอ้างว่าเซเลนสกีมีคะแนนนิยม 57% มาจากสถาบันสังคมวิทยานานาชาติ Kyiv (KIIS) ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก USAID สำหรับการทำโพล นอกจากนี้ สถาบันนี้ยังดำเนินการโดย อันตอน ฮรูเชตสกี (Anton Hrushetskyi) ซึ่งเป็นชาวยูเครนที่มีแนวคิดคลั่งชาติอย่างมาก จึงเป็นไปได้สูงว่าผลสำรวจดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ
    เกี่ยวกับคะแนนนิยม 57% ที่เซเลนสกีใช้ตอบโต้ทรัมป์ เป็นผลสำรวจที่จัดทำขึ้นโดย สถาบันสังคมวิทยานานาชาติ Kyiv หรือ KIIS ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก USAID และสำหรับการทำโพลครั้งนี้ เป็นดารจัดทำขึ้นโดย อันตอน ฮรูเชตสกี (Anton Hrushetskyi) ซึ่งเป็นชาวยูเครนที่มีแนวคิดคลั่งชาติอย่างมาก จึงเป็นไปได้สูงว่าผลสำรวจดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ ทางด้าน อีลอน มัสก์ ได้โพสต์ข้อความว่า : "น่าเสียดายที่ CommunityNotes ถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลและสื่อกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ มันควรจะเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า โพลที่ควบคุมโดยเซเลนสกีเกี่ยวกับคะแนนนิยมของตัวเองนั้นไม่น่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง!! ถ้าเซเลนสกีได้รับความรักจากประชาชนยูเครนจริง เขาคงจัดการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เขารู้ดีว่าเขาจะแพ้อย่างย่อยยับ แม้จะเข้ายึดการควบคุมสื่อทั้งหมดของยูเครนไปแล้วก็ตาม ดังนั้นเขาจึงยกเลิกการเลือกตั้ง ความจริงก็คือ ประชาชนยูเครนรังเกียจเขา และนั่นคือเหตุผลที่เขาปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง ผมท้าให้เซเลนสกีจัดการเลือกตั้งเพื่อพิสูจน์สิ่งนี้ แต่เขาจะไม่ทำ ประธานาธิบดีทรัมป์คิดถูกที่ไม่สนใจเขา และหาทางยุติสงครามโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบคอร์รัปชันขนาดมหึมาที่แสวงหาผลประโยชน์จากศพของทหารยูเครน" ข้อกล่าวอ้างว่าเซเลนสกีมีคะแนนนิยม 57% มาจากสถาบันสังคมวิทยานานาชาติ Kyiv (KIIS) ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก USAID สำหรับการทำโพล นอกจากนี้ สถาบันนี้ยังดำเนินการโดย อันตอน ฮรูเชตสกี (Anton Hrushetskyi) ซึ่งเป็นชาวยูเครนที่มีแนวคิดคลั่งชาติอย่างมาก จึงเป็นไปได้สูงว่าผลสำรวจดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 135 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำรวจไซเบอร์ เช็กบิลสนธิญาณ

    ปฏิบัติการสายฟ้าแลบที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนาย ตรวจค้นบ้านในชุมชนเล็กๆ บนถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ก่อนควบคุมตัว น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยานที่ บก.สอท. เมืองทองธานี และตรวจยึดโทรศัพท์มือถือไปด้วย เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. กำลังเป็นที่วิจารณ์ว่า เล่นใหญ่เกินไปหรือไม่?

    ว่ากันว่าตำรวจไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผู้ก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย และเจ้าของสำนักข่าวเดอะครีติก ที่เป็นสื่อมวลชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างถึงกรณีที่นายทักษิณมอบหมายให้นายวิญญัติ ชาติมนตรี แจ้งความในข้อหาหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีวีดีโอคลิป "ทักษิณผู้นำเลวสุดในโลก มอนเตฯ ริบสัญชาติเพราะโกง" ทำให้นายทักษิณได้รับความเสียหาย และกรณีที่ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวเดอะรีพอตเตอร์ (The Reporter) ถูกกล่าวหาด้วยข้อความบิดเบือน ต่อว่า ให้ร้าย แต่ตนเองยังอยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จะเดินทางเข้าแจ้งความ

    แม้ว่าสำนักข่าวเดอะครีติก ที่ผลิตรายการลงในช่องยูทูบ "สถาบันทิศทางไทย" มีผู้ติดตาม 479,000 ราย จะเป็นที่วิจารณ์ถึงการนำเสนอข่าวอย่างไร มีผู้ที่ถูกพาดพิงไม่พอใจหรือไม่ก็เป็นสิทธิที่จะดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่คำถามที่ตามมาก็คือ “ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม” จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเล่นใหญ่เล่นโต เอาตำรวจนับสิบบุกบ้านในชุมชนเล็กๆ แต่เช้าตรู่ ที่คนในบ้านอยู่กันสามคนพ่อแม่ลูก เพียงเพื่อนำตัวไปเป็นพยาน ราวกับเป็นอาชญากรสงคราม นับว่ายังดีที่พ่อของพยานซึ่งมีโรคประจำตัวเข้าโรงพยาบาล หากอยู่ในเหตุการณ์น่าเป็นห่วงว่าจะบานปลายขนาดไหน และการที่ตำรวจไซเบอร์ทำแบบนี้เพื่อเอาใจใคร?

    น.ส.บุญระดม จิตรดอน ผู้สื่อข่าวการเมืองและนักจัดรายการวิทยุ โพสต์เฟซบุ๊กว่า เศร้าใจที่ต้องทำถึงขนาดนี้ อาชญากรร้ายแรงก็ไม่ใช่ โจรก็ไม่ใช่ แล้วเขาคิดว่ากำลังบุกจับใคร จากนี้ตนจะเป็นรายต่อไปไหม ที่ตำรวจยกกำลังมาบุกจับถึงบ้าน ขนาดพยานยังเอาตำรวจบุกไปเป็นสิบ แล้วถ้าเป็นจำเลยจะขนาดไหน ที่สำคัญเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากที่นายทักษิณได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งความเมื่อคืนก่อนหน้านี้เอง ตำรวจทำงานได้รวดเร็วมาก ผิดขั้นตอนและกฎระเบียบหรือไม่ตำรวจคงทราบดี

    "นายทักษิณได้เริ่มจุดพลุประกาศศึกกับฝ่ายตรงข้ามแล้ว เตรียมตัวกันให้ดี" น.ส.บุญระดม ระบุ

    #Newskit
    ตำรวจไซเบอร์ เช็กบิลสนธิญาณ ปฏิบัติการสายฟ้าแลบที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนาย ตรวจค้นบ้านในชุมชนเล็กๆ บนถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ก่อนควบคุมตัว น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยานที่ บก.สอท. เมืองทองธานี และตรวจยึดโทรศัพท์มือถือไปด้วย เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. กำลังเป็นที่วิจารณ์ว่า เล่นใหญ่เกินไปหรือไม่? ว่ากันว่าตำรวจไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผู้ก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย และเจ้าของสำนักข่าวเดอะครีติก ที่เป็นสื่อมวลชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างถึงกรณีที่นายทักษิณมอบหมายให้นายวิญญัติ ชาติมนตรี แจ้งความในข้อหาหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีวีดีโอคลิป "ทักษิณผู้นำเลวสุดในโลก มอนเตฯ ริบสัญชาติเพราะโกง" ทำให้นายทักษิณได้รับความเสียหาย และกรณีที่ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวเดอะรีพอตเตอร์ (The Reporter) ถูกกล่าวหาด้วยข้อความบิดเบือน ต่อว่า ให้ร้าย แต่ตนเองยังอยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จะเดินทางเข้าแจ้งความ แม้ว่าสำนักข่าวเดอะครีติก ที่ผลิตรายการลงในช่องยูทูบ "สถาบันทิศทางไทย" มีผู้ติดตาม 479,000 ราย จะเป็นที่วิจารณ์ถึงการนำเสนอข่าวอย่างไร มีผู้ที่ถูกพาดพิงไม่พอใจหรือไม่ก็เป็นสิทธิที่จะดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่คำถามที่ตามมาก็คือ “ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม” จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเล่นใหญ่เล่นโต เอาตำรวจนับสิบบุกบ้านในชุมชนเล็กๆ แต่เช้าตรู่ ที่คนในบ้านอยู่กันสามคนพ่อแม่ลูก เพียงเพื่อนำตัวไปเป็นพยาน ราวกับเป็นอาชญากรสงคราม นับว่ายังดีที่พ่อของพยานซึ่งมีโรคประจำตัวเข้าโรงพยาบาล หากอยู่ในเหตุการณ์น่าเป็นห่วงว่าจะบานปลายขนาดไหน และการที่ตำรวจไซเบอร์ทำแบบนี้เพื่อเอาใจใคร? น.ส.บุญระดม จิตรดอน ผู้สื่อข่าวการเมืองและนักจัดรายการวิทยุ โพสต์เฟซบุ๊กว่า เศร้าใจที่ต้องทำถึงขนาดนี้ อาชญากรร้ายแรงก็ไม่ใช่ โจรก็ไม่ใช่ แล้วเขาคิดว่ากำลังบุกจับใคร จากนี้ตนจะเป็นรายต่อไปไหม ที่ตำรวจยกกำลังมาบุกจับถึงบ้าน ขนาดพยานยังเอาตำรวจบุกไปเป็นสิบ แล้วถ้าเป็นจำเลยจะขนาดไหน ที่สำคัญเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากที่นายทักษิณได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งความเมื่อคืนก่อนหน้านี้เอง ตำรวจทำงานได้รวดเร็วมาก ผิดขั้นตอนและกฎระเบียบหรือไม่ตำรวจคงทราบดี "นายทักษิณได้เริ่มจุดพลุประกาศศึกกับฝ่ายตรงข้ามแล้ว เตรียมตัวกันให้ดี" น.ส.บุญระดม ระบุ #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า

    “EUROPE'S WORST NIGHTMARE”
    “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป”

    พร้อมบทความที่นำเสนอว่า

    “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก

    ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป

    นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน

    ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ

    โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่

    “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า “EUROPE'S WORST NIGHTMARE” “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป” พร้อมบทความที่นำเสนอว่า “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่ “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 86 มุมมอง 0 รีวิว
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 156 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมัครสอบ อปท. 2568 ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการท้องถิ่น

    📢 ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)! กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ผ่านระบบออนไลน์ 🖥️

    การสอบครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญ สำหรับผู้ที่สนใจทำงาน ในหน่วยงานท้องถิ่นทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดังนั้นผู้สมัคร ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด ให้ครบถ้วนก่อนทำการสมัคร ✍️

    🔎 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ อปท. 2568
    การสมัครสอบแข่งขันครั้งนี้ มีกฎเกณฑ์และคุณสมบัติ ที่ต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด มาดูกันว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่

    ✅ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
    - มีสัญชาติไทย 🇹🇭
    - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่สมัครสอบ
    - ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 🏥
    - ไม่เป็นผู้ต้องหาคดีอาญา หรือถูกตัดสิทธิ์สอบราชการมาก่อน
    - ต้องจบการศึกษาภายในวันปิดรับสมัคร 28 มีนาคม 2568 🎓

    🚨 ข้อกำหนดพิเศษ
    - ผู้สมัครจะต้องสอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 10 ข้อจาก 20 ข้อ ✨
    - บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านมีอายุ 2 ปี และสามารถขยายได้ไม่เกิน 30 วัน

    📌 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
    การสอบ อปท. 2568 แบ่งออกเป็น 10 กลุ่มภาค/เขต ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละกลุ่มภาค จะมีตำแหน่งที่เปิดรับแตกต่างกันไป

    🔸 กลุ่มภาคที่เปิดรับสมัคร
    ภาคเหนือ เขต 1 เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, และลำพูน
    ภาคเหนือ เขต 2 กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
    ภาคกลาง เขต 1 ชัยนาท, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี และอ่างทอง
    ภาคกลาง เขต 2 จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, สมุทรปราการ และสระแก้ว
    ภาคกลาง เขต 3 กาญจนบุรี, นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์ , เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และมหาสารคาม
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 นครพนม, บึงกาฬ, เลย, สกลนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุดรธานี
    ภาคใต้ เขต 1 กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, พังงา , ภูเก็ต, ระนอง และสุราษฎร์ธานี
    ภาคใต้ เขต 2 ตรัง, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, ยะลา, สงขลา และสตูล

    📋 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
    🔹 ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปริญาญาตรี 4 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 16,560 บาท ปริญญาตรี 5 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 17,380 บาท

    🔹 ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ปวช. เงินเดือนเริ่มต้น 10,340 บาท ปวท. เงินเดือนเริ่มต้น 11,960 บาท ปวส. เงินเดือนเริ่มต้น 12,730 บาท เช่น เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานทะเบียน เจ้าพนักงานการคลัง เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าพนักงานการเกษตร เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สัตวแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ นายช่างโยธา นายช่างเขียนแบบ นายช่างสำรวจ นายช่างผังเมือง นายช่างเครื่องกล นายช่างไฟฟ้า เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานเทศกิจ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ

    🔹 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 16,600 บาท เช่น นักจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทะเบียนและบัตร นิคิกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการคลัง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักประชาสัมพันธ์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว นักวิชาการเกษตร นักวิชาการสวนสาธารณะ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นายสัตวแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์ สถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิทศวกรสุขาภิบาล นักจัดการงานช่าง นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาชุมชน บรรณารักษ์ นักสันทนาการ นักพัฒนาการกีฬา นักจัดการงานเทศกิจ นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ

    📖 รายละเอียดการสอบ อปท. 2568
    การสอบแข่งขัน จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก ได้แก่
    📝 ภาค ก ความรู้ทั่วไป 100 คะแนน
    - ความสามารถด้านการวิเคราะห์ และสรุปเหตุผล 30 คะแนน
    - ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และกฎหมายท้องถิ่น 30 คะแนน
    - ความสามารถด้านภาษาไทย 20 คะแนน
    - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 20 คะแนน ต้องผ่านอย่างน้อย 10 ข้อจาก 20 ข้อ!

    📚 ภาค ข ความรู้เฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน
    -เป็นข้อสอบเกี่ยวกับความรู้ ที่ใช้เฉพาะในตำแหน่งที่สมัคร

    🗣️ ภาค ค สัมภาษณ์ 100 คะแนน
    เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความสามารถในการสื่อสาร

    📝 วิธีสมัครสอบ อปท. 2568
    🔹 สมัครผ่านทางออนไลน์ 📱 ที่เว็บไซต์:
    ➡️ https://dla-local2568.thaijobjob.com
    📅 เปิดรับสมัครตั้งแต่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ตลอด 24 ชั่วโมง

    🗂️ เอกสารที่ต้องใช้สมัคร
    ✅ รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 📸
    ✅ สำเนาบัตรประชาชน 🆔
    ✅ สำเนาทะเบียนบ้าน 🏠
    ✅ สำเนาวุฒิการศึกษา Transcript 🎓
    ✅ สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับบางตำแหน่ง
    ✅ เอกสารทางทหาร สด.8 หรือ สด.9 🪖

    📌 อัปโหลดไฟล์ PDF เท่านั้น! ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 1 MB

    💰 ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ
    - ค่าธรรมเนียมสอบ 400 บาท
    - ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าบริการ 30 บาท
    📌 รวมทั้งสิ้น 430 บาท ไม่สามารถขอคืนเงินได้

    📍 ช่องทางชำระเงิน:
    - เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 🏦
    - แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือ เป๋าตัง 📲
    - ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
    🛑 ชำระเงินภายในวันที่ 7 - 29 มีนาคม 2568 เท่านั้น!

    📢 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
    📆 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และ ข พร้อมวัน-เวลา-สถานที่สอบ ได้ที่
    📌 เว็บไซต์ https://dla-local2568.thaijobjob.com

    🔑 เคล็ดลับเตรียมสอบ อปท. ให้สอบผ่าน!
    🔥 ศึกษาหลักสูตรการสอบ ให้ครบถ้วน
    📖 อ่านแนวข้อสอบ และทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    🔥 ฝึกทำข้อสอบเก่า
    🔍 ฝึกทำข้อสอบปีที่ผ่านมา เพื่อจับแนวทางที่ออกบ่อย

    🔥 ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่อง
    ✅ ท่องศัพท์
    ✅ ฝึกทำข้อสอบแกรมม่า
    ✅ อ่านบทความภาษาอังกฤษ

    🔥 จัดตารางอ่านหนังสือ
    🗓️ แบ่งเวลาอ่านหนังสือทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง

    🔥 พักผ่อนให้เพียงพอ
    😴 นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงก่อนสอบ

    🔚 📍 การสอบ อปท. 2568 เป็นโอกาสดี สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าพลาด! สมัครสอบได้ระหว่าง 7 - 28 มีนาคม 2568 ทางออนไลน์เท่านั้น 🚀

    📌 ติดตามข่าวสาร และอัปเดตข้อมูลการสอบได้ที่
    🔗 https://dla-local2568.thaijobjob.com

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 202022 ก.พ. 2568

    📢 #สอบอปท2568 #สมัครสอบราชการ #งานราชการ #สอบท้องถิ่น #เตรียมสอบอปท #DLA #สมัครสอบออนไลน์ #งานข้าราชการ #สอบราชการ2025 #สอบภาษาอังกฤษอปท
    สมัครสอบ อปท. 2568 ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการท้องถิ่น 📢 ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)! กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ผ่านระบบออนไลน์ 🖥️ การสอบครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญ สำหรับผู้ที่สนใจทำงาน ในหน่วยงานท้องถิ่นทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดังนั้นผู้สมัคร ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด ให้ครบถ้วนก่อนทำการสมัคร ✍️ 🔎 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ อปท. 2568 การสมัครสอบแข่งขันครั้งนี้ มีกฎเกณฑ์และคุณสมบัติ ที่ต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด มาดูกันว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ ✅ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร - มีสัญชาติไทย 🇹🇭 - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่สมัครสอบ - ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 🏥 - ไม่เป็นผู้ต้องหาคดีอาญา หรือถูกตัดสิทธิ์สอบราชการมาก่อน - ต้องจบการศึกษาภายในวันปิดรับสมัคร 28 มีนาคม 2568 🎓 🚨 ข้อกำหนดพิเศษ - ผู้สมัครจะต้องสอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 10 ข้อจาก 20 ข้อ ✨ - บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านมีอายุ 2 ปี และสามารถขยายได้ไม่เกิน 30 วัน 📌 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร การสอบ อปท. 2568 แบ่งออกเป็น 10 กลุ่มภาค/เขต ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละกลุ่มภาค จะมีตำแหน่งที่เปิดรับแตกต่างกันไป 🔸 กลุ่มภาคที่เปิดรับสมัคร ภาคเหนือ เขต 1 เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, และลำพูน ภาคเหนือ เขต 2 กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง เขต 1 ชัยนาท, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี และอ่างทอง ภาคกลาง เขต 2 จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, สมุทรปราการ และสระแก้ว ภาคกลาง เขต 3 กาญจนบุรี, นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์ , เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 นครพนม, บึงกาฬ, เลย, สกลนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุดรธานี ภาคใต้ เขต 1 กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, พังงา , ภูเก็ต, ระนอง และสุราษฎร์ธานี ภาคใต้ เขต 2 ตรัง, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, ยะลา, สงขลา และสตูล 📋 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร 🔹 ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปริญาญาตรี 4 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 16,560 บาท ปริญญาตรี 5 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 17,380 บาท 🔹 ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ปวช. เงินเดือนเริ่มต้น 10,340 บาท ปวท. เงินเดือนเริ่มต้น 11,960 บาท ปวส. เงินเดือนเริ่มต้น 12,730 บาท เช่น เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานทะเบียน เจ้าพนักงานการคลัง เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าพนักงานการเกษตร เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สัตวแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ นายช่างโยธา นายช่างเขียนแบบ นายช่างสำรวจ นายช่างผังเมือง นายช่างเครื่องกล นายช่างไฟฟ้า เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานเทศกิจ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ 🔹 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 16,600 บาท เช่น นักจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทะเบียนและบัตร นิคิกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการคลัง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักประชาสัมพันธ์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว นักวิชาการเกษตร นักวิชาการสวนสาธารณะ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นายสัตวแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์ สถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิทศวกรสุขาภิบาล นักจัดการงานช่าง นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาชุมชน บรรณารักษ์ นักสันทนาการ นักพัฒนาการกีฬา นักจัดการงานเทศกิจ นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ 📖 รายละเอียดการสอบ อปท. 2568 การสอบแข่งขัน จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก ได้แก่ 📝 ภาค ก ความรู้ทั่วไป 100 คะแนน - ความสามารถด้านการวิเคราะห์ และสรุปเหตุผล 30 คะแนน - ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และกฎหมายท้องถิ่น 30 คะแนน - ความสามารถด้านภาษาไทย 20 คะแนน - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 20 คะแนน ต้องผ่านอย่างน้อย 10 ข้อจาก 20 ข้อ! 📚 ภาค ข ความรู้เฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน -เป็นข้อสอบเกี่ยวกับความรู้ ที่ใช้เฉพาะในตำแหน่งที่สมัคร 🗣️ ภาค ค สัมภาษณ์ 100 คะแนน เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความสามารถในการสื่อสาร 📝 วิธีสมัครสอบ อปท. 2568 🔹 สมัครผ่านทางออนไลน์ 📱 ที่เว็บไซต์: ➡️ https://dla-local2568.thaijobjob.com 📅 เปิดรับสมัครตั้งแต่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ตลอด 24 ชั่วโมง 🗂️ เอกสารที่ต้องใช้สมัคร ✅ รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 📸 ✅ สำเนาบัตรประชาชน 🆔 ✅ สำเนาทะเบียนบ้าน 🏠 ✅ สำเนาวุฒิการศึกษา Transcript 🎓 ✅ สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับบางตำแหน่ง ✅ เอกสารทางทหาร สด.8 หรือ สด.9 🪖 📌 อัปโหลดไฟล์ PDF เท่านั้น! ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 1 MB 💰 ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ - ค่าธรรมเนียมสอบ 400 บาท - ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าบริการ 30 บาท 📌 รวมทั้งสิ้น 430 บาท ไม่สามารถขอคืนเงินได้ 📍 ช่องทางชำระเงิน: - เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 🏦 - แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือ เป๋าตัง 📲 - ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย 🛑 ชำระเงินภายในวันที่ 7 - 29 มีนาคม 2568 เท่านั้น! 📢 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 📆 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และ ข พร้อมวัน-เวลา-สถานที่สอบ ได้ที่ 📌 เว็บไซต์ https://dla-local2568.thaijobjob.com 🔑 เคล็ดลับเตรียมสอบ อปท. ให้สอบผ่าน! 🔥 ศึกษาหลักสูตรการสอบ ให้ครบถ้วน 📖 อ่านแนวข้อสอบ และทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 🔥 ฝึกทำข้อสอบเก่า 🔍 ฝึกทำข้อสอบปีที่ผ่านมา เพื่อจับแนวทางที่ออกบ่อย 🔥 ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่อง ✅ ท่องศัพท์ ✅ ฝึกทำข้อสอบแกรมม่า ✅ อ่านบทความภาษาอังกฤษ 🔥 จัดตารางอ่านหนังสือ 🗓️ แบ่งเวลาอ่านหนังสือทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง 🔥 พักผ่อนให้เพียงพอ 😴 นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงก่อนสอบ 🔚 📍 การสอบ อปท. 2568 เป็นโอกาสดี สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าพลาด! สมัครสอบได้ระหว่าง 7 - 28 มีนาคม 2568 ทางออนไลน์เท่านั้น 🚀 📌 ติดตามข่าวสาร และอัปเดตข้อมูลการสอบได้ที่ 🔗 https://dla-local2568.thaijobjob.com ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 202022 ก.พ. 2568 📢 #สอบอปท2568 #สมัครสอบราชการ #งานราชการ #สอบท้องถิ่น #เตรียมสอบอปท #DLA #สมัครสอบออนไลน์ #งานข้าราชการ #สอบราชการ2025 #สอบภาษาอังกฤษอปท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 156 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิ่งที่ทรัมป์กล่าวหาว่ายูเครนว่าเป็น "ผู้เริ่มต้นสงคราม" มันคือความจริง เพียงแต่ติ่งยูเครนทั่วโลก ไม่ยอมรับรู้ หรืออยากจดจำแค่ปี 2022 เท่านั้น

    ในความเป็นจริง เหตุการณ์มันเริ่มต้นจริงจังมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งติ่งยูเครนทั่วโลกไม่อยากจดจำมัน และพยายามลบมันออกไปจากความทรงจำของตัวเอง

    นี่คือรายงานของ CNN เกี่ยวกับการโจมตี "ดอนบาส" ของกองทัพยูเครนในปี 2014 ซึ่งเป็นสิ่งที่รัสเซียไม่สามารถทนดูให้มีการทำลายผู้คนชาวรัสเซียได้อีกต่อไป
    สิ่งที่ทรัมป์กล่าวหาว่ายูเครนว่าเป็น "ผู้เริ่มต้นสงคราม" มันคือความจริง เพียงแต่ติ่งยูเครนทั่วโลก ไม่ยอมรับรู้ หรืออยากจดจำแค่ปี 2022 เท่านั้น ในความเป็นจริง เหตุการณ์มันเริ่มต้นจริงจังมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งติ่งยูเครนทั่วโลกไม่อยากจดจำมัน และพยายามลบมันออกไปจากความทรงจำของตัวเอง นี่คือรายงานของ CNN เกี่ยวกับการโจมตี "ดอนบาส" ของกองทัพยูเครนในปี 2014 ซึ่งเป็นสิ่งที่รัสเซียไม่สามารถทนดูให้มีการทำลายผู้คนชาวรัสเซียได้อีกต่อไป
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 19 0 รีวิว
  • ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น

    วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่

    นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน

    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ หนึ่งในทีมงานที่ร่วมเจรจากับรัสเซียในซาอุฯ ออกมากล่าวสนับสนุนทรัมป์ หลังจากพวกวิจารณ์เซเลนสกีไปอย่างเผ็ดร้อน โดยระบุว่า ทรัมป์ไม่ได้พสดพิงไปถึงประชาชนชาวยูเครน ทรัมป์วิจารณ์ไปที่ตัวตนของเซเลนสกีเท่านั้น วอลซ์ยังตั้งคำถามไปถึงเซเลนสกีว่า ทำไมเซเลนสกีจึงไม่พยายามยุติสงครามนี้เพื่อทำให้ประเทศกลับมาดีกว่าเดิม และลองถามตัวเองดูว่าสถานะของยูเครนตอนนี้ในสนามรบดีขึ้นบ้างหรือไม่ นอกจากนี้วอลซ์ยังต้องการให้ มาครงและสตาร์เมอร์ สองผู้นำจากฝรั่งเศสและอังกฤษ มาเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 226 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • เซเลนสกีโวย โดนัลด์ ทรัมป์ พูดไม่จริง กล่าวหายูเครนเริ่มสงครามกับรัสเซีย
    https://www.thai-tai.tv/news/17256/
    เซเลนสกีโวย โดนัลด์ ทรัมป์ พูดไม่จริง กล่าวหายูเครนเริ่มสงครามกับรัสเซีย https://www.thai-tai.tv/news/17256/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 32 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐเล็งถอนทหารออกจากยุโรปตะวันออก

    มีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังเจรจาเรื่องการถอนทหารจากประเทศสมาชิก NATO ที่เข้าร่วมหลังปี 1990 ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ ประเทศบอลติก โรมาเนีย และอื่นๆ

    ณ ปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ มีทหารมากกว่า 100,000 นายในยุโรป โดยมีทหารประจำการอยู่ในโปแลนด์ 10,500 นาย ทหารประจำการในลิทัวเนีย 4,000 นาย ทหารประจำการในฮังการี 3,300 นาย และทหารประจำการในบัลแกเรีย 900 นาย
    การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจทำให้ยุโรปตะวันออกเปิดรับอิทธิพลของรัสเซียในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาสงครามยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่

    มีรายงานว่ามีเพียงฐานทัพสหรัฐฯ ในเยอรมนีและสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
    สหรัฐเล็งถอนทหารออกจากยุโรปตะวันออก มีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังเจรจาเรื่องการถอนทหารจากประเทศสมาชิก NATO ที่เข้าร่วมหลังปี 1990 ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ ประเทศบอลติก โรมาเนีย และอื่นๆ ณ ปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ มีทหารมากกว่า 100,000 นายในยุโรป โดยมีทหารประจำการอยู่ในโปแลนด์ 10,500 นาย ทหารประจำการในลิทัวเนีย 4,000 นาย ทหารประจำการในฮังการี 3,300 นาย และทหารประจำการในบัลแกเรีย 900 นาย การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจทำให้ยุโรปตะวันออกเปิดรับอิทธิพลของรัสเซียในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาสงครามยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ มีรายงานว่ามีเพียงฐานทัพสหรัฐฯ ในเยอรมนีและสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1039 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์

    เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง

    แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น"

    คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว

    "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social
    "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์
    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ

    "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ

    "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน"

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

    เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO

    https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์ เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น" คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 135 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elon Musk อัด Volodymyr Zelenskyy ผู้นำยูเครนแบบจุกๆ สามดอกเน้นๆ
    .
    ผู้ใช้รายหนึ่งบนแพลตฟอร์ม X เขียนว่า "Zelenskyy ไม่ต้องการสันติภาพ เขาต้องการเงินและอำนาจ"
    ซึ่ง Musk ตอบกลับด้วยอีโมจิ "100" เพื่อแสดงถึงความเห็นด้วย
    .
    ต่อมาเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของประธานาธิบดี Zelenskyy ยูเครนว่าคะแนนความนิยมของเขาอยู่ที่ 57%
    Musk โพสต์ข้อความตอบกลับว่า "ถ้าอย่างนั้น เขาคงดีใจกับความคิดที่จะมีการเลือกตั้ง ถ้าเขาเป็นที่นิยมขนาดนั้น!"
    .
    ปิดท้ายด้วยการตอบกลับข้อความความของ Rapid Response 47 ที่ว่า
    "ในอเมริกา เราจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 4 ปี แม้แต่ในยามสงคราม
    เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามกลางเมือง
    เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
    ก่อนที่ประธานาธิบดี Zelenskyy จะมาสั่งสอนประธานาธิบดีอเมริกันอีก เขาควรจัดการเลือกตั้งด้วย"
    Musk สนับสนุนว่า "Zelenskyy ไม่สามารถอ้างว่าเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนยูเครนได้ ถ้าไม่ฟื้นฟูเสรีภาพสื่อและยังคงยกเลิกการเลือกตั้ง!"
    พรุ่งนี้ถ้า Elon Musk จะเดินไปปิด Starlink ของยูเครนก็คงไม่แปลกใจแล้วล่ะ
    Elon Musk อัด Volodymyr Zelenskyy ผู้นำยูเครนแบบจุกๆ สามดอกเน้นๆ . ผู้ใช้รายหนึ่งบนแพลตฟอร์ม X เขียนว่า "Zelenskyy ไม่ต้องการสันติภาพ เขาต้องการเงินและอำนาจ" ซึ่ง Musk ตอบกลับด้วยอีโมจิ "100" เพื่อแสดงถึงความเห็นด้วย . ต่อมาเขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของประธานาธิบดี Zelenskyy ยูเครนว่าคะแนนความนิยมของเขาอยู่ที่ 57% Musk โพสต์ข้อความตอบกลับว่า "ถ้าอย่างนั้น เขาคงดีใจกับความคิดที่จะมีการเลือกตั้ง ถ้าเขาเป็นที่นิยมขนาดนั้น!" . ปิดท้ายด้วยการตอบกลับข้อความความของ Rapid Response 47 ที่ว่า "ในอเมริกา เราจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 4 ปี แม้แต่ในยามสงคราม เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามกลางเมือง เราจัดการเลือกตั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่ประธานาธิบดี Zelenskyy จะมาสั่งสอนประธานาธิบดีอเมริกันอีก เขาควรจัดการเลือกตั้งด้วย" Musk สนับสนุนว่า "Zelenskyy ไม่สามารถอ้างว่าเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนยูเครนได้ ถ้าไม่ฟื้นฟูเสรีภาพสื่อและยังคงยกเลิกการเลือกตั้ง!" พรุ่งนี้ถ้า Elon Musk จะเดินไปปิด Starlink ของยูเครนก็คงไม่แปลกใจแล้วล่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1055 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิวเยอรมันอพยพมาปาเลสไตน์หลังสงครามโลก เขียนข้อความบนฝืนผ้ายักษ์ขอความเห็นใจว่า เยอรมันทำลายครอบครัว และบ้านเรือนของเรา อย่าทำลายความหวังของเรา
    ยิวเยอรมันอพยพมาปาเลสไตน์หลังสงครามโลก เขียนข้อความบนฝืนผ้ายักษ์ขอความเห็นใจว่า เยอรมันทำลายครอบครัว และบ้านเรือนของเรา อย่าทำลายความหวังของเรา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์โพสต์ถึงเซเลนสกีแรงมาก!!!

    ▪️ ทรัมป์เรียกเซเลนสกีว่า “ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในฐานะนักแสดงตลก” ไม่มีความสามารถแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนได้ แต่สหรัฐก็ยังให้เงินเขา

    ▪️ ทรัมป์ยังเรียกเซเลนสกีว่า “เผด็จการที่ไม่เอาการเลือกตั้ง” และกล่าวหาว่าเซเลนสกีปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง

    ▪️ ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าหากไม่มีสหรัฐเข้าช่วย เซเลนสกี “จะไม่มีวัน” ได้เจรจาสันติภาพกับรัสเซียอย่างแน่นอน

    ▪️ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่า เป็นฝ่ายลากสหรัฐเข้าสู่สงครามที่ “ไม่มีทางชนะได้”

    ▪️ เซเลนสกีทำตามที่ไบเดนมอบบทบาทให้ทุกอย่าง และปัจจุบันปฏิเสธที่จะลงแข่งขันการเลือกตั้งเนื่องจากคะแนนนิยมต่ำ

    ▪️ และยังโจมตีเซเลนสกีว่าต้องการดำเนินความขัดแย้งกับรัสเซียต่อไปเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน

    ทรัมป์เน้นย้ำว่า ไม่สนใจว่าเซเลนสกีจะตัดสินใจเรื่องเจรจาอย่างไร แต่รัฐบาลของเขาจะดำเนินการต่อไปจนกว่าการ “เจรจาจะประสบความสำเร็จ” กับรัสเซียในการยุติความขัดแย้งในยูเครน

    ทรัมป์โพสต์ถึงเซเลนสกีแรงมาก!!! ▪️ ทรัมป์เรียกเซเลนสกีว่า “ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในฐานะนักแสดงตลก” ไม่มีความสามารถแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนได้ แต่สหรัฐก็ยังให้เงินเขา ▪️ ทรัมป์ยังเรียกเซเลนสกีว่า “เผด็จการที่ไม่เอาการเลือกตั้ง” และกล่าวหาว่าเซเลนสกีปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้ง ▪️ ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าหากไม่มีสหรัฐเข้าช่วย เซเลนสกี “จะไม่มีวัน” ได้เจรจาสันติภาพกับรัสเซียอย่างแน่นอน ▪️ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่า เป็นฝ่ายลากสหรัฐเข้าสู่สงครามที่ “ไม่มีทางชนะได้” ▪️ เซเลนสกีทำตามที่ไบเดนมอบบทบาทให้ทุกอย่าง และปัจจุบันปฏิเสธที่จะลงแข่งขันการเลือกตั้งเนื่องจากคะแนนนิยมต่ำ ▪️ และยังโจมตีเซเลนสกีว่าต้องการดำเนินความขัดแย้งกับรัสเซียต่อไปเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน ทรัมป์เน้นย้ำว่า ไม่สนใจว่าเซเลนสกีจะตัดสินใจเรื่องเจรจาอย่างไร แต่รัฐบาลของเขาจะดำเนินการต่อไปจนกว่าการ “เจรจาจะประสบความสำเร็จ” กับรัสเซียในการยุติความขัดแย้งในยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สหรัฐใช้คำพูดสวยหรู เกี่ยวกับความต้องการกลับมาติดต่อทางการทูตกับรัสเซียอีกครั้ง นี่อาจจะเป็นเพียงแผนการซื้อเวลาเท่านั้น!

    ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เคยใช้คำพูดสวยหรูเช่นเดียวกับที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ คนปัจจุบันของสหรัฐเพิ่งใช้ไปเมื่อวานนี้กับ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียคนเดิม

    เป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐไม่มีอาวุธ หรือกระสุนจะส่งให้ยูเครน เห็นได้จากอาวุธที่รัสเซียยึดได้ จะเป็นอาวุธที่ผลิตใหม่ทั้งสิ้นในช่วงหลัง ไม่ได้ใช้จากคลังอาวุธเหมือนช่วงต้นสงคราม

    นอกจากนั้นยังมีการกดดันให้ยุโรปขยายเงินทุนเกี่ยวการด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5% ของ GDP จากเดิม 2% บ่งบอกว่าสหรัฐเข้าตาจนแล้วจริงๆ

    เบื้องหลัง สหรัฐอาจกำลังพยายามเร่งอย่างสุดความสามารถที่จะผลิตอาวุธใหม่อีกครั้ง เนื่องจากต้องการเปิดฉากสงครามตัวแทนกับศัตรู เช่น จีน และอิหร่าน หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตาม
    ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สหรัฐใช้คำพูดสวยหรู เกี่ยวกับความต้องการกลับมาติดต่อทางการทูตกับรัสเซียอีกครั้ง นี่อาจจะเป็นเพียงแผนการซื้อเวลาเท่านั้น! ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เคยใช้คำพูดสวยหรูเช่นเดียวกับที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ คนปัจจุบันของสหรัฐเพิ่งใช้ไปเมื่อวานนี้กับ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียคนเดิม เป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐไม่มีอาวุธ หรือกระสุนจะส่งให้ยูเครน เห็นได้จากอาวุธที่รัสเซียยึดได้ จะเป็นอาวุธที่ผลิตใหม่ทั้งสิ้นในช่วงหลัง ไม่ได้ใช้จากคลังอาวุธเหมือนช่วงต้นสงคราม นอกจากนั้นยังมีการกดดันให้ยุโรปขยายเงินทุนเกี่ยวการด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5% ของ GDP จากเดิม 2% บ่งบอกว่าสหรัฐเข้าตาจนแล้วจริงๆ เบื้องหลัง สหรัฐอาจกำลังพยายามเร่งอย่างสุดความสามารถที่จะผลิตอาวุธใหม่อีกครั้ง เนื่องจากต้องการเปิดฉากสงครามตัวแทนกับศัตรู เช่น จีน และอิหร่าน หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตาม
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 186 มุมมอง 0 รีวิว
  • Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง

    ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว

    นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย

    ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้

    "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ

    ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Trump แถลงผลการเจรจากับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกดดันให้ยูเครนจัดการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่ายูเครนจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แม้ว่าเซเลนสกีจะมีคะแนนนิยมเหลือเพียง 4% พร้อมกับวิจารณ์ว่ายูเครนไม่ควรเริ่มสงครามตั้งแต่แรก และควรทำ “ข้อตกลง” กับรัสเซียให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มการบุกเมื่อปี 2022 แล้ว นอกจากนี้ ทรัมป์ยังแสดงความ "ไม่พอใจอย่างมาก" ต่อการกระทำของไบเดน ที่สนบัสนุนยูเครน โดยยืนยันอีกครั้งว่าหากเขาเป็นประธานาธิบดีตอนนั้น สงครามจะ "ไม่เกิดขึ้น" และสามารถ "ช่วยชีวิตคนนับล้าน" และยังป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 ไว้อีกด้วย ทรัมป์ยังวิจารณ์สหภาพยุโรปที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อยุติสงครามและทำข้อตกลงสันติภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะช่วยรักษาดินแดนยูเครนและชีวิตผู้คนไว้ได้ "ที่ผ่านมา 3 ปี พวกคุณอยู่ไหน? ไม่จำเป็นต้องเริ่มเรื่องนี้ เลยเวลาทำข้อตกลงมานานแล้ว" ทรัมป์ฝากคำถามไปถึงประเทศที่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมเจรจาที่ซาอุฯ ทรัมป์ยังทวงเงินความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเซเลนสกี ว่าความช่วยเหลือจากอเมริกากว่า 350,000 ล้านดอลลาร์ตอนนี้มันไปอยู่ที่ไหน "เงินทั้งหมดอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ ยูเครนจะต้องจ่ายหรือต้องหาให้เจอว่าเงินไปไหน"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 212 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • 37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428

    📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

    สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู

    🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯
    ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่

    - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว
    - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง

    ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง

    🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ
    "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

    ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว

    ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌
    ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน
    กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530
    กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด

    ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531
    กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี
    แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก

    🕊️ เจรจาหยุดยิง
    💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน

    🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

    ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

    📉 ผลกระทบจากสงคราม
    💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
    - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย
    - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย

    💰 งบประมาณทางทหาร
    ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท

    🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว
    การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน

    🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่

    แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568

    🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428 📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู 🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯 ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่ - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง 🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌 ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ 🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530 กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531 กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก 🕊️ เจรจาหยุดยิง 💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน 🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร 📉 ผลกระทบจากสงคราม 💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย 💰 งบประมาณทางทหาร ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท 🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน 🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568 🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 141 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1216 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1222 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน
    .
    บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
    .
    พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ
    .
    พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก”
    .
    แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป”
    .
    ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี
    .
    แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม
    .
    คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา
    .
    “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น”
    .
    อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363
    ..............
    Sondhi X
    เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน . บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก . พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ . พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก” . แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป” . ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี . แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม . คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา . “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น” . อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1164 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts