• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 317 Views 0 Reviews
  • สหประชาชาติระบุว่าแผ่นดินไหวรุนแรงที่ถล่มพม่าเมื่อเดือนก่อนได้ทำให้ผู้คนหลายหมื่นชีวิตต้องไร้ที่อยู่อาศัย และยังทำให้ประเทศที่เผชิญกับความขัดแย้งแห่งนี้ต้องกำจัดซากปรักหักพังจำนวนมากอย่างเร่งด่วน

    “มีซากปรักหักพังที่จะต้องถูกกำจัดในพม่าอย่างน้อย 2.5 ล้านตัน หรือประมาณ 125,000 คันรถบรรทุก” โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ระบุในคำแถลง

    ผู้แทน UNDP ประจำพม่ากล่าวว่าการวิเคราะห์ของ UNDP ที่บูรณาการข้อมูลดาวเทียมขั้นสูงร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นภาพที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง

    หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 3,600 คน เมืองมัณฑะเลย์และสะกาย ทางภาคกลางของประเทศยังคงได้รับความเสียหาย ขณะที่ประชาชนมากกว่า 60,000 คน ต้องแออัดอยู่ในสถานที่อพยพชั่วคราว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035772

    #MGROnline #สหประชาชาติ
    สหประชาชาติระบุว่าแผ่นดินไหวรุนแรงที่ถล่มพม่าเมื่อเดือนก่อนได้ทำให้ผู้คนหลายหมื่นชีวิตต้องไร้ที่อยู่อาศัย และยังทำให้ประเทศที่เผชิญกับความขัดแย้งแห่งนี้ต้องกำจัดซากปรักหักพังจำนวนมากอย่างเร่งด่วน • “มีซากปรักหักพังที่จะต้องถูกกำจัดในพม่าอย่างน้อย 2.5 ล้านตัน หรือประมาณ 125,000 คันรถบรรทุก” โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ระบุในคำแถลง • ผู้แทน UNDP ประจำพม่ากล่าวว่าการวิเคราะห์ของ UNDP ที่บูรณาการข้อมูลดาวเทียมขั้นสูงร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นภาพที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง • หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 3,600 คน เมืองมัณฑะเลย์และสะกาย ทางภาคกลางของประเทศยังคงได้รับความเสียหาย ขณะที่ประชาชนมากกว่า 60,000 คน ต้องแออัดอยู่ในสถานที่อพยพชั่วคราว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035772 • #MGROnline #สหประชาชาติ
    0 Comments 0 Shares 177 Views 0 Reviews
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 341 Views 0 Reviews
  • เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ

    แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง

    ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283

    #MGROnline #แผ่นดินไหว
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ • แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง • ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283 • #MGROnline #แผ่นดินไหว
    0 Comments 0 Shares 206 Views 0 Reviews
  • “เหล็กที่นำมาใช้ก่อสร้าง 2 ขนาด ไม่ได้มาตรฐาน”

    การตรวจประสิทธิภาพของเหล็กจากซากอาคาร คือหนึ่งในกระบวนการค้นหาสาเหตุการถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานครที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึงประมาณ 1,100 กิโลเมตร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000031614

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    “เหล็กที่นำมาใช้ก่อสร้าง 2 ขนาด ไม่ได้มาตรฐาน” • การตรวจประสิทธิภาพของเหล็กจากซากอาคาร คือหนึ่งในกระบวนการค้นหาสาเหตุการถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานครที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึงประมาณ 1,100 กิโลเมตร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000031614 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    0 Comments 0 Shares 204 Views 0 Reviews
  • ตามหาความจริง ตึกถล่มจตุจักร

    แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร บริเวณเมืองลอยกอ ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. สั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล หนึ่งในนั้นคือโครงการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ สูง 30 ชั้น บนถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร พังถล่มลงมา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.มีผู้เสียชีวิตที่เกิดเหตุ 11 ราย เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย บาดเจ็บ 18 ราย สูญหายอีกจำนวนมาก

    สังคมตั้งข้อสงสัยไปที่การก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,136 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ส่วนผู้ควบคุมงานก่อสร้างคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด งบประมาณ 74.653 ล้านบาท

    มีการตรวจสอบบริษัทผู้รับจ้างอย่างไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบความผิดปกติตรงที่เมื่อปี 2567 ได้โพสต์ภาพและข่าวการเฉลิมฉลองปิดงานก่อสร้างชั้นดาดฟ้า ในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัทฯ นำเสนอว่าใช้ระบบโครงสร้างแบบแกนกลางรับแรง และพื้นไร้คาน พอเกิดเหตุได้ลบบทความทิ้ง ไม่นับรวมการตรวจสอบที่ตั้งบริษัท พบว่าเป็นตึกแถวธรรมดาในซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ

    ขณะที่ สตง.เจ้าของโครงการ ชี้แจงว่าได้ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ยืนยีนว่ากระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการแก้แบบโครงสร้างให้เล็กลงเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะออกแบบให้เสาสี่เหลี่ยมด้านหน้าอาคารสูงสามชั้นมีขนาด 1.40 x 1.40 เมตร ส่วนชั้น 29 ถึงดาดฟ้า เป็นเสากลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร เพื่อรองรับหลังคาตึก เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ไม่มีการแก้ไข

    กระทรวงอุตสาหกรรมได้เก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่ามีเหล็กบางส่วนไม่ได้มาตรฐานมาจากบริษัทที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สั่งปิดไปเมื่อเดือน ธ.ค.2567 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่ได้ตามมาตรฐาน

    ถึงบัดนี้นอกจากความรับผิดชอบของผู้รับจ้างแล้ว การค้นหาความจริงถึงสาเหตุตึกถล่มมาจากภัยธรรมชาติหรือการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานยังคงดำเนินต่อไป ตามที่ รมว.มหาดไทยตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีวิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธาน ซึ่งให้เวลาสืบสวนภายใน 7 วัน

    #Newskit
    ตามหาความจริง ตึกถล่มจตุจักร แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร บริเวณเมืองลอยกอ ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 13.20 น. ของวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. สั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล หนึ่งในนั้นคือโครงการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ สูง 30 ชั้น บนถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร พังถล่มลงมา ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.มีผู้เสียชีวิตที่เกิดเหตุ 11 ราย เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย บาดเจ็บ 18 ราย สูญหายอีกจำนวนมาก สังคมตั้งข้อสงสัยไปที่การก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 2,136 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ส่วนผู้ควบคุมงานก่อสร้างคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด งบประมาณ 74.653 ล้านบาท มีการตรวจสอบบริษัทผู้รับจ้างอย่างไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบความผิดปกติตรงที่เมื่อปี 2567 ได้โพสต์ภาพและข่าวการเฉลิมฉลองปิดงานก่อสร้างชั้นดาดฟ้า ในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัทฯ นำเสนอว่าใช้ระบบโครงสร้างแบบแกนกลางรับแรง และพื้นไร้คาน พอเกิดเหตุได้ลบบทความทิ้ง ไม่นับรวมการตรวจสอบที่ตั้งบริษัท พบว่าเป็นตึกแถวธรรมดาในซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ขณะที่ สตง.เจ้าของโครงการ ชี้แจงว่าได้ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งตรวจสอบสาเหตุที่เกิดขึ้น ยืนยีนว่ากระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการแก้แบบโครงสร้างให้เล็กลงเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะออกแบบให้เสาสี่เหลี่ยมด้านหน้าอาคารสูงสามชั้นมีขนาด 1.40 x 1.40 เมตร ส่วนชั้น 29 ถึงดาดฟ้า เป็นเสากลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร เพื่อรองรับหลังคาตึก เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ไม่มีการแก้ไข กระทรวงอุตสาหกรรมได้เก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่ามีเหล็กบางส่วนไม่ได้มาตรฐานมาจากบริษัทที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สั่งปิดไปเมื่อเดือน ธ.ค.2567 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่ได้ตามมาตรฐาน ถึงบัดนี้นอกจากความรับผิดชอบของผู้รับจ้างแล้ว การค้นหาความจริงถึงสาเหตุตึกถล่มมาจากภัยธรรมชาติหรือการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานยังคงดำเนินต่อไป ตามที่ รมว.มหาดไทยตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีวิศวกรใหญ่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธาน ซึ่งให้เวลาสืบสวนภายใน 7 วัน #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 492 Views 0 Reviews
  • สถานทูตจีนยืนยันพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ในการสืบสวนเหตุอาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง พังถล่มลงมาสืบเนื่องจากแผ่นดินไหว ที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ในขณะที่ตึกแห่งนี้ดำเนินการก่อสร้างโดยกิจกรรมร่วมค้าระหว่างบริษัทไทยและบริษัทจีน

    เพจเฟซบุ๊กของสถานทูตจีนประเทศไทย โพสต์ข้อความระบุว่าเมื่อวันอาทิตย์(30มี.ค.) เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยแผ่นดินไหวของจีน ได้เข้าพบนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในเขตจตุจักร พังถล่มลงมา จากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ของพม่า เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์(28มี.ค.)

    สัญญาโครงการก่อสร้างนี้ถูกมอบให้แก่ กิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ของจีน ที่ชนะการประกวดราคาด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท แต่งบบานปลายไปเกือบ 1,000 ล้านบาท ตามรายงานของ baohaiduong

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000030452

    #MGROnline #สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน #สตง.#แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    สถานทูตจีนยืนยันพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ในการสืบสวนเหตุอาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง พังถล่มลงมาสืบเนื่องจากแผ่นดินไหว ที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ในขณะที่ตึกแห่งนี้ดำเนินการก่อสร้างโดยกิจกรรมร่วมค้าระหว่างบริษัทไทยและบริษัทจีน • เพจเฟซบุ๊กของสถานทูตจีนประเทศไทย โพสต์ข้อความระบุว่าเมื่อวันอาทิตย์(30มี.ค.) เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยแผ่นดินไหวของจีน ได้เข้าพบนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น • การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในเขตจตุจักร พังถล่มลงมา จากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ของพม่า เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์(28มี.ค.) • สัญญาโครงการก่อสร้างนี้ถูกมอบให้แก่ กิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ของจีน ที่ชนะการประกวดราคาด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท แต่งบบานปลายไปเกือบ 1,000 ล้านบาท ตามรายงานของ baohaiduong • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000030452 • #MGROnline #สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน #สตง.#แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 520 Views 0 Reviews
  • สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) คาดการณ์ว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมาวันนี้ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 10,000-100,000 ราย และจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาทั้งนี้ ดร.โรเจอร์ มัสซัน กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีต และอยู่บนขนาดและที่ตั้งของเมียนมา และความพร้อมโดยรวมในการรับมือแผ่นดินไหวดร.มัสซันกล่าวว่า การที่แผ่นดินไหวดังกล่าวมีความลึกเพียง 6.2 ไมล์ ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวไม่มีการกระจายตัวเมื่อเดินทางจากศูนย์กลางขึ้นสู่พื้นดิน ส่งผลให้อาคารต่าง ๆ ได้รับแรงกระทบอย่างเต็มที่นอกจากนี้ การที่อาคารบ้านเรือนของเมียนมาไม่ได้สร้างขึ้นมาให้รองรับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเท่ากับในวันนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวว่า มีผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันนี้อย่างน้อย 144 ราย และบาดเจ็บ 730 ราย"เราคาดว่าจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก" พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ของเมียนมาUSGS รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 แมกนิจูดใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมาในวันนี้ และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อก 6.4 แมกนิจูดเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึกเพียง 10 กิโลเมตร และใกล้กับรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง และทอดยาวผ่านตอนกลางของเมียนมานอกจากนี้ แผ่นดินไหวดังกล่าวยังรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพฯ เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีนรัฐบาลทหารของเมียนมาได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในวันนี้ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนัก และคาดว่าจะมีผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก"เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" พลตรีซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลเมียนมา กล่าวต่อผู้สื่อข่าว AFPพลตรีซอ มิน ตุนกล่าวเสริมว่า เมียนมาต้องการได้รับการบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่บาดเจ็บซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ และสะกายทั้งนี้ การเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทหารของเมียนมาแทบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่รุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตสะกาย มัณฑะเลย์ เนปืดอว์ พะโค มะเกวย์ และรัฐฉานโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ อินโฟเควสต์
    สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) คาดการณ์ว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมาวันนี้ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 10,000-100,000 ราย และจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาทั้งนี้ ดร.โรเจอร์ มัสซัน กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีต และอยู่บนขนาดและที่ตั้งของเมียนมา และความพร้อมโดยรวมในการรับมือแผ่นดินไหวดร.มัสซันกล่าวว่า การที่แผ่นดินไหวดังกล่าวมีความลึกเพียง 6.2 ไมล์ ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวไม่มีการกระจายตัวเมื่อเดินทางจากศูนย์กลางขึ้นสู่พื้นดิน ส่งผลให้อาคารต่าง ๆ ได้รับแรงกระทบอย่างเต็มที่นอกจากนี้ การที่อาคารบ้านเรือนของเมียนมาไม่ได้สร้างขึ้นมาให้รองรับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเท่ากับในวันนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวว่า มีผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันนี้อย่างน้อย 144 ราย และบาดเจ็บ 730 ราย"เราคาดว่าจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก" พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ของเมียนมาUSGS รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 แมกนิจูดใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมาในวันนี้ และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อก 6.4 แมกนิจูดเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึกเพียง 10 กิโลเมตร และใกล้กับรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง และทอดยาวผ่านตอนกลางของเมียนมานอกจากนี้ แผ่นดินไหวดังกล่าวยังรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพฯ เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีนรัฐบาลทหารของเมียนมาได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในวันนี้ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนัก และคาดว่าจะมีผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก"เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" พลตรีซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลเมียนมา กล่าวต่อผู้สื่อข่าว AFPพลตรีซอ มิน ตุนกล่าวเสริมว่า เมียนมาต้องการได้รับการบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่บาดเจ็บซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ และสะกายทั้งนี้ การเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทหารของเมียนมาแทบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่รุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตสะกาย มัณฑะเลย์ เนปืดอว์ พะโค มะเกวย์ และรัฐฉานโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ อินโฟเควสต์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 398 Views 0 Reviews
  • #อาฟเตอร์ช็อก ต่อเนื่องเกือบ 54 ครั้ง ล่าสุด 23.46 น. ขนาด 4.9

    อัปเดตอาฟเตอร์ช็อก เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา
    ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1
    ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5
    ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0
    ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2
    ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9
    ครั้งที่ 6 เวลา 14.50 น. ขนาด 3.5
    ครั้งที่ 7 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7
    ครั้งที่ 8 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0
    ครั้งที่ 9 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7
    ครั้งที่ 10 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8
    ครั้งที่ 11 เวลา 16.06 น. ขนาด 4.2
    ครั้งที่ 12 เวลา 16.11 น. ขนาด 3.8
    ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
    ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
    ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
    ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1
    ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1
    ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0
    ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0
    ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3
    ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7
    ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2
    ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9
    ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1
    ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4
    ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9
    ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5
    ครั้งที่ 28 เวลา 19.33 น. ขนาด 4.0
    ครั้งที่ 29 เวลา 19.36 น. ขนาด 3.8
    ครั้งที่ 30 เวลา 19.51 น. ขนาด 4.0
    ครั้งที่ 31 เวลา 19.52 น. ขนาด 4.6
    ครั้งที่ 32 เวลา 20.11 น. ขนาด 2.7
    ครั้งที่ 33 เวลา 20.17 น. ขนาด 2.5
    ครั้งที่ 34 เวลา 20.18 น. ขนาด 3.4
    ครั้งที่ 35 เวลา 20.26 น. ขนาด 2.8
    ครั้งที่ 36 เวลา 20.49 น. ขนาด 2.6
    ครั้งที่ 37 เวลา 20.56 น. ขนาด 3.1
    ครั้งที่ 38 เวลา 21.11 น. ขนาด 2.8
    ครั้งที่ 39 เวลา 21.20 น. ขนาด 2.7
    ครั้งที่ 40 เวลา 21.24 น. ขนาด 2.4
    ครั้งที่ 41 เวลา 21.29 น. ขนาด 2.1
    ครั้งที่ 42 เวลา 21.36 น. ขนาด 2.3
    ครั้งที่ 43 เวลา 21.43 น. ขนาด 2.2
    ครั้งที่ 44 เวลา 21.49 น. ขนาด 4.4

    ข้อมูลจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา earthquake.tmd.go.th
    เวลา 21.58 น.
    #อาฟเตอร์ช็อก ต่อเนื่องเกือบ 54 ครั้ง ล่าสุด 23.46 น. ขนาด 4.9 อัปเดตอาฟเตอร์ช็อก เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1 ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5 ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0 ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2 ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9 ครั้งที่ 6 เวลา 14.50 น. ขนาด 3.5 ครั้งที่ 7 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7 ครั้งที่ 8 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0 ครั้งที่ 9 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7 ครั้งที่ 10 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8 ครั้งที่ 11 เวลา 16.06 น. ขนาด 4.2 ครั้งที่ 12 เวลา 16.11 น. ขนาด 3.8 ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3 ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5 ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9 ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1 ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1 ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0 ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0 ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3 ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7 ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2 ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9 ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1 ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4 ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9 ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5 ครั้งที่ 28 เวลา 19.33 น. ขนาด 4.0 ครั้งที่ 29 เวลา 19.36 น. ขนาด 3.8 ครั้งที่ 30 เวลา 19.51 น. ขนาด 4.0 ครั้งที่ 31 เวลา 19.52 น. ขนาด 4.6 ครั้งที่ 32 เวลา 20.11 น. ขนาด 2.7 ครั้งที่ 33 เวลา 20.17 น. ขนาด 2.5 ครั้งที่ 34 เวลา 20.18 น. ขนาด 3.4 ครั้งที่ 35 เวลา 20.26 น. ขนาด 2.8 ครั้งที่ 36 เวลา 20.49 น. ขนาด 2.6 ครั้งที่ 37 เวลา 20.56 น. ขนาด 3.1 ครั้งที่ 38 เวลา 21.11 น. ขนาด 2.8 ครั้งที่ 39 เวลา 21.20 น. ขนาด 2.7 ครั้งที่ 40 เวลา 21.24 น. ขนาด 2.4 ครั้งที่ 41 เวลา 21.29 น. ขนาด 2.1 ครั้งที่ 42 เวลา 21.36 น. ขนาด 2.3 ครั้งที่ 43 เวลา 21.43 น. ขนาด 2.2 ครั้งที่ 44 เวลา 21.49 น. ขนาด 4.4 ข้อมูลจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา earthquake.tmd.go.th เวลา 21.58 น.
    0 Comments 0 Shares 190 Views 0 Reviews
  • แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault)

    สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน

    รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    Like
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 299 Views 0 Reviews
  • เหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงบ่าย ประเทศเมียนมา ทำให้เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของเมียนมา มีทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยว ต่างแสดงความตกใจ และออกจากอาคารลงมาบนถนน โดยมีฝุ่นควัน และซากปรักหักพังให้เห็นอยู่ลิบๆ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029624
    เหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงบ่าย ประเทศเมียนมา ทำให้เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของเมียนมา มีทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยว ต่างแสดงความตกใจ และออกจากอาคารลงมาบนถนน โดยมีฝุ่นควัน และซากปรักหักพังให้เห็นอยู่ลิบๆ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029624
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 566 Views 0 Reviews
  • ภาพความเสียหายบางส่วนของเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
    ภาพความเสียหายบางส่วนของเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 132 Views 0 Reviews
  • 5/
    ด่วน!!
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม.
    ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ

    เครดิตวิดีโอ "เปาบุ้นจุ้น"

    https://web.facebook.com/share/v/1GyEErbPh2/
    5/ ด่วน!! เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ เครดิตวิดีโอ "เปาบุ้นจุ้น" https://web.facebook.com/share/v/1GyEErbPh2/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 294 Views 31 0 Reviews
  • 4/
    ด่วน!!
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม.
    ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ

    เครดิตวิดีโอ "ออยศรีและผองเผือก"
    https://web.facebook.com/share/v/14x8WFQWYf/
    4/ ด่วน!! เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ เครดิตวิดีโอ "ออยศรีและผองเผือก" https://web.facebook.com/share/v/14x8WFQWYf/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 294 Views 24 0 Reviews
  • 3/
    ด่วน!!
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม.
    ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ
    .
    เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ"
    https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    3/ ด่วน!! เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ . เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ" https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 289 Views 32 0 Reviews
  • 2/
    ด่วน!!
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม.
    ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ
    .
    เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ"
    https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    2/ ด่วน!! เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ . เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ" https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 283 Views 29 0 Reviews
  • 1/
    ด่วน!!
    เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม.
    ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ
    .
    เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ"
    https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    1/ ด่วน!! เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดการณ์ว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา 7.7 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ภาพเหตุการณ์ตึกที่จตุจักร ถล่ม รถไฟฟ้า BTS MRT งดให้บริการ . เครดิตวิดีโอ "คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ" https://web.facebook.com/share/v/15W6D3B668/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 230 Views 0 Reviews
  • กองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าควบคุมพื้นที่ได้ไม่ถึงครึ่งของประเทศหลังจากพ่ายแพ้ในสนามรบหลายครั้งในปี 2567 รวมถึงสูญเสียกองบัญชาการในรัฐชาน และรัฐยะไข่ กลุ่มติดอาวุธระบุ

    ในเดือน มิ.ย. พันธมิตรสามภราดรภาพของกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ได้กลับมาเปิดฉากโจมตีในรัฐชาน และภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ยึดเมืองล่าเสี้ยวที่มีประชากร 130,000 คน ที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริหารของภูมิภาค และประตูสู่จีนไว้ได้

    สมาชิกอีกกลุ่มของพันธมิตรสามภราดรภาพคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ยังได้เข้ายึดเมืองสำคัญของรัฐชานอย่างเมืองหนองเขียว และเมืองจ๊อกแม รวมถึงเมืองโมกก ที่เป็นเมืองทำเหมืองอัญมณี ในภาคมัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้กัน

    ชัยชนะในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ทำให้รัฐบาลทหารเกือบไม่มีดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองในรัฐชาน พื้นที่สำคัญสำหรับการค้าชายแดนกับจีน

    “การบริหารของรัฐบาลทหารสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงที่นี่” ชาวเมืองกุตก่าย เมืองในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐชาน ที่เป็นจุดสำคัญของการโจมตีทางอากาศของรัฐบาลทหารในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000694

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    กองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าควบคุมพื้นที่ได้ไม่ถึงครึ่งของประเทศหลังจากพ่ายแพ้ในสนามรบหลายครั้งในปี 2567 รวมถึงสูญเสียกองบัญชาการในรัฐชาน และรัฐยะไข่ กลุ่มติดอาวุธระบุ • ในเดือน มิ.ย. พันธมิตรสามภราดรภาพของกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ได้กลับมาเปิดฉากโจมตีในรัฐชาน และภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า ยึดเมืองล่าเสี้ยวที่มีประชากร 130,000 คน ที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริหารของภูมิภาค และประตูสู่จีนไว้ได้ • สมาชิกอีกกลุ่มของพันธมิตรสามภราดรภาพคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ยังได้เข้ายึดเมืองสำคัญของรัฐชานอย่างเมืองหนองเขียว และเมืองจ๊อกแม รวมถึงเมืองโมกก ที่เป็นเมืองทำเหมืองอัญมณี ในภาคมัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้กัน • ชัยชนะในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ทำให้รัฐบาลทหารเกือบไม่มีดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองในรัฐชาน พื้นที่สำคัญสำหรับการค้าชายแดนกับจีน • “การบริหารของรัฐบาลทหารสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงที่นี่” ชาวเมืองกุตก่าย เมืองในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐชาน ที่เป็นจุดสำคัญของการโจมตีทางอากาศของรัฐบาลทหารในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา กล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000694 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 520 Views 0 Reviews
  • ชมภาพชาวพม่านับหมื่นออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะ 3 เมืองหลัก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปีดอ

    ช่วงค่ำวานนี้ (31 ธ.ค.) เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่า โดยเฉพาะในกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ ต่างมีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมเคานต์ดาวน์กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

    โดยผู้ว่าการกรุงย่างกุ้งได้มีการยกเว้นประกาศห้ามคนออกจากบ้านยามค่ำคืนเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเลยเที่ยงคืนของวันที่ 1 มกราคม ในหลายจุดของเมืองมีการจัดซุ้มไฟ ประดับไฟน้ำพุ เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาถ่ายภาพ มีการแสดงบนบนเวทีโดยนักร้องชื่อดังและตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ และหลายพื้นที่มีการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ในเวลา 24.00 น.

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000106

    #MGROnline #เคานต์ดาวน์ #ส่งท้ายปีเก่า #ต้อนรับปีใหม่ #ย่างกุ้ง #มัณฑะเลย์ #เนปีดอ
    ชมภาพชาวพม่านับหมื่นออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะ 3 เมืองหลัก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปีดอ • ช่วงค่ำวานนี้ (31 ธ.ค.) เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่า โดยเฉพาะในกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ ต่างมีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมเคานต์ดาวน์กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง • โดยผู้ว่าการกรุงย่างกุ้งได้มีการยกเว้นประกาศห้ามคนออกจากบ้านยามค่ำคืนเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเลยเที่ยงคืนของวันที่ 1 มกราคม ในหลายจุดของเมืองมีการจัดซุ้มไฟ ประดับไฟน้ำพุ เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาถ่ายภาพ มีการแสดงบนบนเวทีโดยนักร้องชื่อดังและตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ และหลายพื้นที่มีการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ในเวลา 24.00 น. • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000106 • #MGROnline #เคานต์ดาวน์ #ส่งท้ายปีเก่า #ต้อนรับปีใหม่ #ย่างกุ้ง #มัณฑะเลย์ #เนปีดอ
    0 Comments 0 Shares 662 Views 0 Reviews

  • *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว*
    โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย

    จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน

    จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก

    สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา

    อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต

    สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย

    มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า”

    พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว

    สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า

    เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ

    นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ

    ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน

    พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค

    ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย

    ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ

    รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว

    หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน

    กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ

    พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ

    ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

    โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย

    ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ

    อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว* โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า” พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    0 Comments 0 Shares 738 Views 0 Reviews