• น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 871 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ
    .
    สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย
    .
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว
    .
    ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง
    .
    ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
    .
    “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย
    .............
    Sondhi X
    ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ . สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย . ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว . ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง . ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ . “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย ............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1039 มุมมอง 0 รีวิว

  • "พิพัฒน์" ยอมรับ "ภูมิใจไทย" อยากครองภาคใต้เพิ่ม! (29/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ภูมิใจไทย #เลือกตั้ง #พื้นที่ภาคใต้
    "พิพัฒน์" ยอมรับ "ภูมิใจไทย" อยากครองภาคใต้เพิ่ม! (29/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ภูมิใจไทย #เลือกตั้ง #พื้นที่ภาคใต้
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1243 มุมมอง 73 0 รีวิว
  • บึ้มขวางกวนอิมเทพา ทำลายพหุวัฒนธรรม

    6 โมงเช้า วันที่ 20 พ.ย. คนร้ายลอบวางระเบิดใส่แคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม บ้านปากบางสะกอม หมู่ 1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ต่อมาเวลา 10.30 น และ 10.40 น. เกิดระเบิดลูกที่ 3 และลูกที่4 บริเวณเส้นทางเข้าที่เกิดเหตุห่างจากที่เกิดเหตุจุดแรกประมาณ 400 เมตร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบจดหมายพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นภาษาไทยและเมียนมา ระบุว่า "ถ้าใครที่ทำงานในโครงการนี้ที่นี่และในสามจังหวัดชายแดนใต้ เราขอเตือนจงหยุด ไม่งั้นเราจะไม่รับรองชีวิตของท่าน"

    พ.อ.ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. แถลงว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุพยายามทำลายรูปเคารพทางศาสนา ซึ่งเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของความเป็นพหุวัฒนธรรม พยายามสร้างสังคมเชิงเดี่ยวที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและหลักของศาสนาอันดีงาม เชื่อว่าพยายามหยิบความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นปัญหาขัดแย้งในพื้นที่ แต่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แกนนำคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อ้างว่าไม่ใช่การวางระเบิดแบบปกติ ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่พยายามคัดค้านการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เพราะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิคมฯ แต่ก็แผ่วลง และเห็นว่าเป็นสิทธิ์ของนายทุน กระทั่งเริ่มลงเสาขนาดใหญ่ในพื้นที่

    เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และครอบครัว ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกเจดีย์สัมฤทธิ์ผลคุ้มลูกกันภัย ณ สถานที่ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เมื่อวันที่ 14 พ.ย. หรือ 6 วันก่อนเกิดเหตุ โดยมี พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย และได้เชิญพระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส แสดงธรรมเทศนา โดยยืนยันว่าจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ เพราะบรรยากาศโดยรอบสวยงามตามธรรมชาติ หาดสวย ทะเลน้ำใส มีเสน่ห์เฉพาะตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

    สำหรับโครงการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 โดยบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดิน 65 ไร่ เพื่อก่อสร้าง เช่นเดียวกับเจ้าแม่กวนอิมในต่างประเทศ แต่ต่อมาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลานำชาวมุสลิมกว่า 4,000 คน ละหมาดฮายัตเพื่อคัดค้านการก่อสร้าง อ้างว่ามีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะอยู่เบื้องหลัง และอ้างว่าล้อมรอบด้วยชุมชนชาวมุสลิม ทั้งที่ความจริงที่ดินอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ต สวนยางพารา และสวนมะพร้าวเท่านั้น

    #Newskit #เจ้าแม่กวนอิม #เทพา
    บึ้มขวางกวนอิมเทพา ทำลายพหุวัฒนธรรม 6 โมงเช้า วันที่ 20 พ.ย. คนร้ายลอบวางระเบิดใส่แคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม บ้านปากบางสะกอม หมู่ 1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ต่อมาเวลา 10.30 น และ 10.40 น. เกิดระเบิดลูกที่ 3 และลูกที่4 บริเวณเส้นทางเข้าที่เกิดเหตุห่างจากที่เกิดเหตุจุดแรกประมาณ 400 เมตร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบจดหมายพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นภาษาไทยและเมียนมา ระบุว่า "ถ้าใครที่ทำงานในโครงการนี้ที่นี่และในสามจังหวัดชายแดนใต้ เราขอเตือนจงหยุด ไม่งั้นเราจะไม่รับรองชีวิตของท่าน" พ.อ.ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. แถลงว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุพยายามทำลายรูปเคารพทางศาสนา ซึ่งเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของความเป็นพหุวัฒนธรรม พยายามสร้างสังคมเชิงเดี่ยวที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและหลักของศาสนาอันดีงาม เชื่อว่าพยายามหยิบความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นปัญหาขัดแย้งในพื้นที่ แต่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แกนนำคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อ้างว่าไม่ใช่การวางระเบิดแบบปกติ ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่พยายามคัดค้านการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เพราะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิคมฯ แต่ก็แผ่วลง และเห็นว่าเป็นสิทธิ์ของนายทุน กระทั่งเริ่มลงเสาขนาดใหญ่ในพื้นที่ เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และครอบครัว ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกเจดีย์สัมฤทธิ์ผลคุ้มลูกกันภัย ณ สถานที่ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เมื่อวันที่ 14 พ.ย. หรือ 6 วันก่อนเกิดเหตุ โดยมี พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย และได้เชิญพระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส แสดงธรรมเทศนา โดยยืนยันว่าจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ เพราะบรรยากาศโดยรอบสวยงามตามธรรมชาติ หาดสวย ทะเลน้ำใส มีเสน่ห์เฉพาะตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ สำหรับโครงการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 โดยบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดิน 65 ไร่ เพื่อก่อสร้าง เช่นเดียวกับเจ้าแม่กวนอิมในต่างประเทศ แต่ต่อมาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลานำชาวมุสลิมกว่า 4,000 คน ละหมาดฮายัตเพื่อคัดค้านการก่อสร้าง อ้างว่ามีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะอยู่เบื้องหลัง และอ้างว่าล้อมรอบด้วยชุมชนชาวมุสลิม ทั้งที่ความจริงที่ดินอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ต สวนยางพารา และสวนมะพร้าวเท่านั้น #Newskit #เจ้าแม่กวนอิม #เทพา
    Like
    Sad
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1046 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปัตตานี - ญาติผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบร่วมกับเครือข่ายอ่านแถงการณ์ 20 ปีตากใบ ชี้ไม่พอใจ-หมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องยูเอ็น-ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงใหม่

    วานนี้ (25 ต.ค.) เวลา 17.00 น. ที่ Patani Art Space อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ก่อนที่คดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จะหมดอายุความ ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์พร้อมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ร่วมจัดงาน เช่น สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ รำลึก 20 ปี ตากใบ

    ad

    แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “คดีตากใบ: การสร้างความยุติธรรมและความรับผิดชอบร่วมกัน” โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่อประชาชนผู้ชุมนุมอย่างสันติที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คืออาชญากรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและไม่มีผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว

    “เป็นเวลา 20 ปีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม แต่ผู้บงการกลับลอยนวลพ้นผิด ทำให้พี่น้องและญาติผู้สูญเสีย รวมถึงประชาชน ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ มีความไม่พอใจและหมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม”

    ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์จากเหตุการณ์ที่ตากใบ ในวาระครบรอบ 20 ปี แถลงการณ์ฉบับในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่คดีความหมดอายุ จึงมีข้อเรียกร้องสำคัญดังนี้

    1.ให้รัฐบาลสอบสวนเหตุการณ์ในระดับนานาชาติ โดยร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบ หรือขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) เข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเข้าข่ายกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุโดยรัฐในเหตุการณ์ตากใบ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

    2.ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยลงนาม โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนการจัดตั้งกลไกเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิและความเป็นธรรมในกรณีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และให้ผู้มีอำนาจรัฐตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงใหม่ โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง

    3.ให้รัฐบาลประณามการลอยนวลของผู้กระทำความผิด (Impunity) รัฐบาลควรเน้นย้ำให้เห็นว่าความล้มเหลวในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในระดับชาติ เป็นตัวอย่างของการลอยนวลของผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความเป็นธรรมในระดับสากล ต้องให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย

    “เราขอยืนยันข้อเรียกร้องเหล่านี้ ด้วยเจตจำนงที่มุ่งมั่นและเปิดกว้างต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลและผู้บริหารข้าราชการในพื้นที่ โดยเรามีความเชื่อมั่นว่า การแสวงหาความยุติธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่เพียงเรื่องของการลงโทษผู้กระทำผิด แต่คือการสร้างระบบที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ

    “เราขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง พร้อมทั้งสร้างความเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในพื้นที่ภาคใต้ ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและ ความเท่าเทียมของทุกฝ่าย”

    #MGROnline #ตากใบ
    ปัตตานี - ญาติผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบร่วมกับเครือข่ายอ่านแถงการณ์ 20 ปีตากใบ ชี้ไม่พอใจ-หมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องยูเอ็น-ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงใหม่ วานนี้ (25 ต.ค.) เวลา 17.00 น. ที่ Patani Art Space อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ก่อนที่คดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จะหมดอายุความ ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์พร้อมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ร่วมจัดงาน เช่น สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ รำลึก 20 ปี ตากใบ ad แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “คดีตากใบ: การสร้างความยุติธรรมและความรับผิดชอบร่วมกัน” โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่อประชาชนผู้ชุมนุมอย่างสันติที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คืออาชญากรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและไม่มีผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว “เป็นเวลา 20 ปีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม แต่ผู้บงการกลับลอยนวลพ้นผิด ทำให้พี่น้องและญาติผู้สูญเสีย รวมถึงประชาชน ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ มีความไม่พอใจและหมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม” ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์จากเหตุการณ์ที่ตากใบ ในวาระครบรอบ 20 ปี แถลงการณ์ฉบับในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่คดีความหมดอายุ จึงมีข้อเรียกร้องสำคัญดังนี้ 1.ให้รัฐบาลสอบสวนเหตุการณ์ในระดับนานาชาติ โดยร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบ หรือขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) เข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเข้าข่ายกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุโดยรัฐในเหตุการณ์ตากใบ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 2.ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยลงนาม โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนการจัดตั้งกลไกเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิและความเป็นธรรมในกรณีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และให้ผู้มีอำนาจรัฐตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงใหม่ โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง 3.ให้รัฐบาลประณามการลอยนวลของผู้กระทำความผิด (Impunity) รัฐบาลควรเน้นย้ำให้เห็นว่าความล้มเหลวในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในระดับชาติ เป็นตัวอย่างของการลอยนวลของผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความเป็นธรรมในระดับสากล ต้องให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย “เราขอยืนยันข้อเรียกร้องเหล่านี้ ด้วยเจตจำนงที่มุ่งมั่นและเปิดกว้างต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลและผู้บริหารข้าราชการในพื้นที่ โดยเรามีความเชื่อมั่นว่า การแสวงหาความยุติธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่เพียงเรื่องของการลงโทษผู้กระทำผิด แต่คือการสร้างระบบที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ “เราขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง พร้อมทั้งสร้างความเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในพื้นที่ภาคใต้ ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและ ความเท่าเทียมของทุกฝ่าย” #MGROnline #ตากใบ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดีตากใบ เกิดรุ่นพ่อ จ่ายรุ่นอา อวสานรุ่นลูก

    25 ต.ค. 2567 เป็นวันสุดท้ายที่คดีสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส หากไม่สามารถนำตัวจำเลยขึ้นสู่ศาลจังหวัดนราธิวาส จะหมดอายุความ 20 ปี ในคดีที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส.ก่อนหน้านี้

    ส่วนข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.ขยายอายุความ ในที่สุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในนามรัฐบาล แสดงความเสียใจและให้คำตอบว่าทำไม่ได้ เพราะถามกฤษฎีกาแล้วไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก

    นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น อ้างว่าเป็นไปตามหลักการ ไม่ถือว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ และกล่าวว่า "ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น" ต่อมาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป

    มีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ เพราะผู้ต้องหาทั้ง 7 คนอายุมาก 74-75 ปี บางคนสุขภาพไม่ดี คาดว่าต่อสู้คดียาวนานอย่างน้อย 5-10 ปี ประการต่อมา หากคดีตากใบเดินหน้าต่อ จะมีผลไปถึงการจ่ายเงินเยียวยาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี และคดีต้องถึงที่สุดเท่านั้น อาจมีนักร้องไปยื่นสอยรัฐมนตรีบางคน เช่น พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม หรือดำเนินคดีอาญา ครม.ยุคยิ่งลักษณ์

    นอกนั้นมองไปไกลว่า จำเลยอาจซัดทอดไปยังผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ซึ่งนายทักษิณเคยย้าย พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แทน

    #Newskit #คดีตากใบ
    คดีตากใบ เกิดรุ่นพ่อ จ่ายรุ่นอา อวสานรุ่นลูก 25 ต.ค. 2567 เป็นวันสุดท้ายที่คดีสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส หากไม่สามารถนำตัวจำเลยขึ้นสู่ศาลจังหวัดนราธิวาส จะหมดอายุความ 20 ปี ในคดีที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส.ก่อนหน้านี้ ส่วนข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.ขยายอายุความ ในที่สุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในนามรัฐบาล แสดงความเสียใจและให้คำตอบว่าทำไม่ได้ เพราะถามกฤษฎีกาแล้วไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น อ้างว่าเป็นไปตามหลักการ ไม่ถือว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ และกล่าวว่า "ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น" ต่อมาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป มีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ เพราะผู้ต้องหาทั้ง 7 คนอายุมาก 74-75 ปี บางคนสุขภาพไม่ดี คาดว่าต่อสู้คดียาวนานอย่างน้อย 5-10 ปี ประการต่อมา หากคดีตากใบเดินหน้าต่อ จะมีผลไปถึงการจ่ายเงินเยียวยาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี และคดีต้องถึงที่สุดเท่านั้น อาจมีนักร้องไปยื่นสอยรัฐมนตรีบางคน เช่น พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม หรือดำเนินคดีอาญา ครม.ยุคยิ่งลักษณ์ นอกนั้นมองไปไกลว่า จำเลยอาจซัดทอดไปยังผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ซึ่งนายทักษิณเคยย้าย พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แทน #Newskit #คดีตากใบ
    Like
    Haha
    Angry
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 872 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักข่าวอิศรารายงานจาก VOA สื่อสหรัฐฯเผยเรือนจำระนองปล่อยตัวนักโทษเมียนมากลับไปถูกเกณฑ์ทหารนับร้อยทุกเดือน ขณะสภาทหารเมียนมาโต้ข่าวยืนยันไม่มีนโยบายบังคับเกณฑ์ทหารชาวเมียนมากลับจากประเทศไทย

    11 สิงหาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวอ้างอิงสำนักข่าววอยซ์ออฟอเมริกาเกี่ยวกับกรณีที่นักโทษถูกปล่อยตัวจากเรือนจำใน จ.ระนอง และถูกส่งตัวกลับไปยังภูมิภาคเกาะสอง ประเทศเมียนมา พบว่าบุคคลเหล่านี้ถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารทันทีเมื่อถึงประเทศบ้านเกิด

    นักโทษเหล่านี้ถูกระบุว่าถูกจับตัวมาจากหลายพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวที่ จ.ระนอง ถูกควบคุมตัวและถูกส่งตัวกลับไปยัง เมืองตะนาวศรี ภูมิภาคเกาะสองเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่นาย U Moe Wai ผู้รับผิดชอบศูนย์ทรัพยากรแรงงานข้ามชาติ (MWRC) ซึ่งเป็นสังกัดของมูลนิธิของมูลนิธิการศึกษาและพัฒนาของเกาะสองกล่าวว่ามีส่วนเมียนมามากกว่า 100 คน ที่ถูกส่งตัวกลับ

    “มีชาวเมียนมาเป็นจำนวน 135 คน 39 คนเป็นเด็กผู้หญิง ทั้งหมดถูกจับมาจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย หลายคนเพิ่งมาถึงใหม่ บางคนมีนายจ้างและสถานที่พักอาศัยแตกต่างกันออกไป” นาย U Moe Wai กล่าวและกล่าวต่อไปว่านักโทษเหล่านี้มาจากหลายพื้นที่ในเมียนมาด้วยกันอาทิ รัฐยะไข่ รัฐมอน เมืองตะนาวศรี,พะโค,ทวาย และย่างกุ้ง

    นาย U Moe Wai กล่าวว่าสืบเนื่องจากว่ามีข่าวว่าสภาทหารเมียนมาได้เกณฑ์ทหารจากบุคคลที่กลับมาจากประเทศไทย โดยเฉพาะกับนักโทษที่ชดใช้โทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตัวเขาจึงได้สอบถามไปยังบุคคลที่ถูกจับว่าพวกเขาถูกจับแค่เพียงครั้งเดียว ตอนที่อยู่ที่เมืองตะนาวศรีใช่หรือไม่ พวกเขาจึงได้เล่าเรื่องที่ว่านี้

    มีรายงานว่ามีชาวเมียนมาอย่างน้อย 100 คนถูกส่งตัวกลับในทุกเดือน ในหลายเรือนจำของไทยเต็มไปด้วยนักโทษชาวเมียนมา และก็มีกรณีประท้วงในเรือนจำใน จ.ระนอง เกี่ยวกับกรณีการส่งตัวกลับ เนื่องจากว่าการส่งตัวกลับนั้นต้องขึ้นอยู่กับจำนวนที่ทางเมียนมาสามารถจะรับไหวด้วย ซึ่งมีกรณีที่ทางเมียนมารับไม่ไหวแล้วส่งตัวกลับมายังประเทศไทย

    ขณะที่ทางสภาทหารเมียนมาออกมาตอบโต้แล้วโดยระบุว่าข่าวเรื่องการบังคับเกณฑ์ทหารกับชาวเมียนมาที่กลับมาจากประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

    เรียบเรียงจาก:https://burmese.voanews.com/a/7736903.html

    ที่มา : สำนักข่าวอิศรา

    #Thaitimes
    สำนักข่าวอิศรารายงานจาก VOA สื่อสหรัฐฯเผยเรือนจำระนองปล่อยตัวนักโทษเมียนมากลับไปถูกเกณฑ์ทหารนับร้อยทุกเดือน ขณะสภาทหารเมียนมาโต้ข่าวยืนยันไม่มีนโยบายบังคับเกณฑ์ทหารชาวเมียนมากลับจากประเทศไทย 11 สิงหาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวอ้างอิงสำนักข่าววอยซ์ออฟอเมริกาเกี่ยวกับกรณีที่นักโทษถูกปล่อยตัวจากเรือนจำใน จ.ระนอง และถูกส่งตัวกลับไปยังภูมิภาคเกาะสอง ประเทศเมียนมา พบว่าบุคคลเหล่านี้ถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารทันทีเมื่อถึงประเทศบ้านเกิด นักโทษเหล่านี้ถูกระบุว่าถูกจับตัวมาจากหลายพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวที่ จ.ระนอง ถูกควบคุมตัวและถูกส่งตัวกลับไปยัง เมืองตะนาวศรี ภูมิภาคเกาะสองเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่นาย U Moe Wai ผู้รับผิดชอบศูนย์ทรัพยากรแรงงานข้ามชาติ (MWRC) ซึ่งเป็นสังกัดของมูลนิธิของมูลนิธิการศึกษาและพัฒนาของเกาะสองกล่าวว่ามีส่วนเมียนมามากกว่า 100 คน ที่ถูกส่งตัวกลับ “มีชาวเมียนมาเป็นจำนวน 135 คน 39 คนเป็นเด็กผู้หญิง ทั้งหมดถูกจับมาจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย หลายคนเพิ่งมาถึงใหม่ บางคนมีนายจ้างและสถานที่พักอาศัยแตกต่างกันออกไป” นาย U Moe Wai กล่าวและกล่าวต่อไปว่านักโทษเหล่านี้มาจากหลายพื้นที่ในเมียนมาด้วยกันอาทิ รัฐยะไข่ รัฐมอน เมืองตะนาวศรี,พะโค,ทวาย และย่างกุ้ง นาย U Moe Wai กล่าวว่าสืบเนื่องจากว่ามีข่าวว่าสภาทหารเมียนมาได้เกณฑ์ทหารจากบุคคลที่กลับมาจากประเทศไทย โดยเฉพาะกับนักโทษที่ชดใช้โทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตัวเขาจึงได้สอบถามไปยังบุคคลที่ถูกจับว่าพวกเขาถูกจับแค่เพียงครั้งเดียว ตอนที่อยู่ที่เมืองตะนาวศรีใช่หรือไม่ พวกเขาจึงได้เล่าเรื่องที่ว่านี้ มีรายงานว่ามีชาวเมียนมาอย่างน้อย 100 คนถูกส่งตัวกลับในทุกเดือน ในหลายเรือนจำของไทยเต็มไปด้วยนักโทษชาวเมียนมา และก็มีกรณีประท้วงในเรือนจำใน จ.ระนอง เกี่ยวกับกรณีการส่งตัวกลับ เนื่องจากว่าการส่งตัวกลับนั้นต้องขึ้นอยู่กับจำนวนที่ทางเมียนมาสามารถจะรับไหวด้วย ซึ่งมีกรณีที่ทางเมียนมารับไม่ไหวแล้วส่งตัวกลับมายังประเทศไทย ขณะที่ทางสภาทหารเมียนมาออกมาตอบโต้แล้วโดยระบุว่าข่าวเรื่องการบังคับเกณฑ์ทหารกับชาวเมียนมาที่กลับมาจากประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องจริง เรียบเรียงจาก:https://burmese.voanews.com/a/7736903.html ที่มา : สำนักข่าวอิศรา #Thaitimes
    BURMESE.VOANEWS.COM
    ထိုင်းကပြန်ပို့တဲ့ လွတ်ရက်စေ့ မြန်မာတွေ စစ်မှုထမ်းခိုင်းမှာ စိုးရိမ်
    ထိုင်းနိုင်ငံထဲမှာလွတ်ရက်စေ့တဲ့ အကျဉ်းသားတွေကို ရနောင်း လူဝင်မှုကြီးကြပ်ရေး အချုပ်ကနေ မြန်မာနိုင်ငံဘက် တနင်္သာရီတိုင်း၊ ကော့သောင်းမြို့ကို ဩဂုတ်လ ၇ရက်နေ့က နေရပ်ပြန်ပို့ခဲ့ပါတယ်။ နေရာပြန်ပို့ခံရသူတချို့ဟာ သူ့နေရပ်ကိုပြန်ရောက်တဲ့အခါမှာတော့ စစ်မှုထမ်းဆင့်ခေါ်တာတွေကို ကြုံကြရတယ်လို့လည်း ဆိုပါတယ်။
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 443 มุมมอง 0 รีวิว
  • 31 กรกฏาคม 2567-อิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่ต่อสู้กับอิสราเอลมาเป็นเวลา 9 เดือนในฉนวนกาซ่า ถูกสังหารในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน
    ข้อมูลดังกล่าวมาจากแถลงการณ์ของกลุ่มฮามาส และกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านในวันพุธ ตามการรายงานของรอยเตอร์และเอพี

    แม้ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ แต่ในแถลงการณ์ของฮามาส ระบุว่าฮานิเยห์ถูกสังหารใน “การบุกโจมตีอย่างชั่วร้ายของไซออนิสต์ ในที่พำนักของเขาในเตหะราน”

    ทางการอิหร่านยังไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการเสียชีวิตของฮานิเยห์ ที่เดินทางไปยังเตหะรานเพื่อร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของมาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ด้านกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านระบุว่ากำลังสืบสวนเรื่องนี้

    สงครามในกาซ่าเริ่มต้นขึ้นจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสเข้าใส่พื้นที่ภาคใต้ของอิสราเอลและทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 1,200 คน ทั้งยังทำให้มีผู้ถูกจับไปเป็นตัวประกันกว่า 250 คน ตามข้อมูลของทางการอิสราเอล ขณะที่ การโจมตีโต้กลับของกองทัพเทลอาวีฟเข้าใส่ฉนวนกาซ่าทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 39,300 คนแล้ว อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขกาซา

    https://sondhitalk.com/detail/9670000065416

    #Thaitimes
    31 กรกฏาคม 2567-อิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่ต่อสู้กับอิสราเอลมาเป็นเวลา 9 เดือนในฉนวนกาซ่า ถูกสังหารในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน ข้อมูลดังกล่าวมาจากแถลงการณ์ของกลุ่มฮามาส และกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านในวันพุธ ตามการรายงานของรอยเตอร์และเอพี แม้ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ แต่ในแถลงการณ์ของฮามาส ระบุว่าฮานิเยห์ถูกสังหารใน “การบุกโจมตีอย่างชั่วร้ายของไซออนิสต์ ในที่พำนักของเขาในเตหะราน” ทางการอิหร่านยังไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการเสียชีวิตของฮานิเยห์ ที่เดินทางไปยังเตหะรานเพื่อร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของมาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ด้านกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านระบุว่ากำลังสืบสวนเรื่องนี้ สงครามในกาซ่าเริ่มต้นขึ้นจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสเข้าใส่พื้นที่ภาคใต้ของอิสราเอลและทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 1,200 คน ทั้งยังทำให้มีผู้ถูกจับไปเป็นตัวประกันกว่า 250 คน ตามข้อมูลของทางการอิสราเอล ขณะที่ การโจมตีโต้กลับของกองทัพเทลอาวีฟเข้าใส่ฉนวนกาซ่าทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 39,300 คนแล้ว อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขกาซา https://sondhitalk.com/detail/9670000065416 #Thaitimes
    SONDHITALK.COM
    ด่วน! อิสราเอลลอบสังหาร "ผู้นำฮามาส" ในอิหร่าน
    วันนี้ (31 ก.ค.) มีรายงานระบุว่า นายอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่ต่อสู้กับอิสราเอลมาเป็นเวลา 9 เดือนในฉนวนกาซ่า ถูกสังหารในกรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่าน โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากแถลงการณ์ของกลุ่มฮามาส และกองกำลังพิท
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 537 มุมมอง 0 รีวิว