ปัตตานี - ญาติผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบร่วมกับเครือข่ายอ่านแถงการณ์ 20 ปีตากใบ ชี้ไม่พอใจ-หมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องยูเอ็น-ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงใหม่

วานนี้ (25 ต.ค.) เวลา 17.00 น. ที่ Patani Art Space อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ก่อนที่คดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จะหมดอายุความ ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์พร้อมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ร่วมจัดงาน เช่น สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ รำลึก 20 ปี ตากใบ

ad

แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “คดีตากใบ: การสร้างความยุติธรรมและความรับผิดชอบร่วมกัน” โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่อประชาชนผู้ชุมนุมอย่างสันติที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คืออาชญากรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและไม่มีผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว

“เป็นเวลา 20 ปีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม แต่ผู้บงการกลับลอยนวลพ้นผิด ทำให้พี่น้องและญาติผู้สูญเสีย รวมถึงประชาชน ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ มีความไม่พอใจและหมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม”

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์จากเหตุการณ์ที่ตากใบ ในวาระครบรอบ 20 ปี แถลงการณ์ฉบับในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่คดีความหมดอายุ จึงมีข้อเรียกร้องสำคัญดังนี้

1.ให้รัฐบาลสอบสวนเหตุการณ์ในระดับนานาชาติ โดยร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบ หรือขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) เข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเข้าข่ายกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุโดยรัฐในเหตุการณ์ตากใบ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

2.ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยลงนาม โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนการจัดตั้งกลไกเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิและความเป็นธรรมในกรณีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และให้ผู้มีอำนาจรัฐตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงใหม่ โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง

3.ให้รัฐบาลประณามการลอยนวลของผู้กระทำความผิด (Impunity) รัฐบาลควรเน้นย้ำให้เห็นว่าความล้มเหลวในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในระดับชาติ เป็นตัวอย่างของการลอยนวลของผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความเป็นธรรมในระดับสากล ต้องให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย

“เราขอยืนยันข้อเรียกร้องเหล่านี้ ด้วยเจตจำนงที่มุ่งมั่นและเปิดกว้างต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลและผู้บริหารข้าราชการในพื้นที่ โดยเรามีความเชื่อมั่นว่า การแสวงหาความยุติธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่เพียงเรื่องของการลงโทษผู้กระทำผิด แต่คือการสร้างระบบที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ

“เราขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง พร้อมทั้งสร้างความเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในพื้นที่ภาคใต้ ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและ ความเท่าเทียมของทุกฝ่าย”

#MGROnline #ตากใบ
ปัตตานี - ญาติผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบร่วมกับเครือข่ายอ่านแถงการณ์ 20 ปีตากใบ ชี้ไม่พอใจ-หมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม เรียกร้องยูเอ็น-ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงใหม่ วานนี้ (25 ต.ค.) เวลา 17.00 น. ที่ Patani Art Space อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ก่อนที่คดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จะหมดอายุความ ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์พร้อมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ร่วมจัดงาน เช่น สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ รำลึก 20 ปี ตากใบ ad แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า “คดีตากใบ: การสร้างความยุติธรรมและความรับผิดชอบร่วมกัน” โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่อประชาชนผู้ชุมนุมอย่างสันติที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คืออาชญากรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและไม่มีผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว “เป็นเวลา 20 ปีที่ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม แต่ผู้บงการกลับลอยนวลพ้นผิด ทำให้พี่น้องและญาติผู้สูญเสีย รวมถึงประชาชน ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ มีความไม่พอใจและหมดศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม” ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์จากเหตุการณ์ที่ตากใบ ในวาระครบรอบ 20 ปี แถลงการณ์ฉบับในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่คดีความหมดอายุ จึงมีข้อเรียกร้องสำคัญดังนี้ 1.ให้รัฐบาลสอบสวนเหตุการณ์ในระดับนานาชาติ โดยร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบ หรือขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) เข้ามามีส่วนในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเข้าข่ายกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุโดยรัฐในเหตุการณ์ตากใบ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 2.ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยลงนาม โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนการจัดตั้งกลไกเพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิและความเป็นธรรมในกรณีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และให้ผู้มีอำนาจรัฐตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงใหม่ โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานี้ต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง 3.ให้รัฐบาลประณามการลอยนวลของผู้กระทำความผิด (Impunity) รัฐบาลควรเน้นย้ำให้เห็นว่าความล้มเหลวในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในระดับชาติ เป็นตัวอย่างของการลอยนวลของผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความเป็นธรรมในระดับสากล ต้องให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย “เราขอยืนยันข้อเรียกร้องเหล่านี้ ด้วยเจตจำนงที่มุ่งมั่นและเปิดกว้างต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลและผู้บริหารข้าราชการในพื้นที่ โดยเรามีความเชื่อมั่นว่า การแสวงหาความยุติธรรมในกรณีนี้ ไม่ใช่เพียงเรื่องของการลงโทษผู้กระทำผิด แต่คือการสร้างระบบที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ “เราขอเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง พร้อมทั้งสร้างความเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในพื้นที่ภาคใต้ ที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและ ความเท่าเทียมของทุกฝ่าย” #MGROnline #ตากใบ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว