• วันนี่เราจะพามาดูวิธีทำลูกชิ้นปลาอินทรีย์#ep1
    #ปลาทะเล #ของกิน #ขายของออนไลน์ #อาหารแปรรูป #วิธีทำ
    วันนี่เราจะพามาดูวิธีทำลูกชิ้นปลาอินทรีย์#ep1 #ปลาทะเล #ของกิน #ขายของออนไลน์ #อาหารแปรรูป #วิธีทำ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 15 มุมมอง 29 0 รีวิว
  • แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล

    ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร 🥰

    ความเป็นมา🤠
    กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย
    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550
    อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก

    โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน
    หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์

    เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน

    #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร 🥰 ความเป็นมา🤠 กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 429 มุมมอง 0 รีวิว
  • CPF มาช้ายังดีกว่าไม่มา

    การแถลงข่าวของนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ (CPF) กรณีปลาหมอคางดำ ถือเป็นการออกมาให้ข่าวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวจากนักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้รับผิดชอบกรณีการแพร่ระบาดของเอเลียนสปีชีส์ ที่ส่งผลกระทบยาวนานกว่า 14 ปี

    ซีพีเอฟยอมรับว่าที่ชี้แจงล่าช้า เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว จึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นระบบ พบว่ามีการใช้ภาพและข้อมูลอันเป็นเท็จ 3 ภาพ อยู่ในระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ได้แก่ ภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นสภาพบ่อดินของฟาร์มยี่สาร จ.สมุทรสงคราม ยืนยันว่าไม่ใช่ และไม่มีการเลี้ยงปลาหมอคางดำต่อเนื่อง

    ยืนยันว่าหลังยุติการวิจัยในเดือน ม.ค. 2554 ได้ทำลายลูกปลาทิ้งทั้งหมด ไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับปลานี้อีกเลย

    ภาพต่อมา กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ และนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร ยืนยันว่าไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำอย่างที่กล่าวอ้าง และภาพสุดท้าย เป็นการระบุผังของฟาร์มเป็นสีต่างๆ ชี้แจงว่าบ่อหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนอีกบ่อหนึ่งเป็นบ่อปรับปรุงปลาทับทิม ปลานิล และปลาทะเล

    "บริษัทฯ เห็นควรด้วยว่าเราควรมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางสังคมเพิ่มเติมในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลายบริษัทที่บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ มีกิจกรรมค้าขายปลาตัวนี้ในช่วงที่ผ่านมา ขอให้สังคมให้ความเป็นธรรม น่าจะมีการเสาะหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย" คำกล่าวของผู้บริหารซีพีเอฟต่อเรื่องดังกล่าว

    กรณีปลาหมอคางดำถูกหยิบยกขึ้นเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เมื่อประมงจังหวัดสงขลาขอความร่วมมือประชาชนแจ้งเบาะแสปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่ ขณะที่กรมประมงรายงานการแพร่ระบาดพบว่ามี 13 จังหวัด กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้ซีพีเอฟรับผิดชอบเรื่องนี้ โดยอ้างถึงรายงานจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

    เวลาผ่านไปกลับพบความจริงอีกด้านหนึ่ง เช่น มีผู้ลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่กลับโทษผู้ที่ขออนุญาตภาครัฐอย่างถูกต้องฝ่ายเดียว หรือการเปิดเผยบริษัทเอกชน 11 แห่ง ที่ขออนุญาตส่งออกปลาหมอคางดำ 17 ประเทศ รวมกว่า 230,000 ตัว ทั้งที่ห้ามนำเข้า แต่อธิบดีกรมประมงระบุว่าเจ้าหน้าที่ชิปปิ้งที่ส่งออกกรอกข้อมูลผิด เป็นปลาหมอเทศข้างลาย

    เมื่อซีพีเอฟยืนยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย จึงต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรมทั้งสองฝ่ายว่า กรณีที่เกิดขึ้นความจริงเป็นอย่างไร เพื่อให้สังคมสิ้นข้อสงสัย แม้ภาพลักษณ์ของบริษัทใหญ่ และการชี้แจงที่ล่าช้า จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจก็ตาม

    #Newskit #CPF #ปลาหมอคางดำ
    CPF มาช้ายังดีกว่าไม่มา การแถลงข่าวของนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ (CPF) กรณีปลาหมอคางดำ ถือเป็นการออกมาให้ข่าวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวจากนักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้รับผิดชอบกรณีการแพร่ระบาดของเอเลียนสปีชีส์ ที่ส่งผลกระทบยาวนานกว่า 14 ปี ซีพีเอฟยอมรับว่าที่ชี้แจงล่าช้า เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว จึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นระบบ พบว่ามีการใช้ภาพและข้อมูลอันเป็นเท็จ 3 ภาพ อยู่ในระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ได้แก่ ภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นสภาพบ่อดินของฟาร์มยี่สาร จ.สมุทรสงคราม ยืนยันว่าไม่ใช่ และไม่มีการเลี้ยงปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ยืนยันว่าหลังยุติการวิจัยในเดือน ม.ค. 2554 ได้ทำลายลูกปลาทิ้งทั้งหมด ไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับปลานี้อีกเลย ภาพต่อมา กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ และนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร ยืนยันว่าไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำอย่างที่กล่าวอ้าง และภาพสุดท้าย เป็นการระบุผังของฟาร์มเป็นสีต่างๆ ชี้แจงว่าบ่อหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนอีกบ่อหนึ่งเป็นบ่อปรับปรุงปลาทับทิม ปลานิล และปลาทะเล "บริษัทฯ เห็นควรด้วยว่าเราควรมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางสังคมเพิ่มเติมในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลายบริษัทที่บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ มีกิจกรรมค้าขายปลาตัวนี้ในช่วงที่ผ่านมา ขอให้สังคมให้ความเป็นธรรม น่าจะมีการเสาะหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย" คำกล่าวของผู้บริหารซีพีเอฟต่อเรื่องดังกล่าว กรณีปลาหมอคางดำถูกหยิบยกขึ้นเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เมื่อประมงจังหวัดสงขลาขอความร่วมมือประชาชนแจ้งเบาะแสปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่ ขณะที่กรมประมงรายงานการแพร่ระบาดพบว่ามี 13 จังหวัด กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้ซีพีเอฟรับผิดชอบเรื่องนี้ โดยอ้างถึงรายงานจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เวลาผ่านไปกลับพบความจริงอีกด้านหนึ่ง เช่น มีผู้ลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่กลับโทษผู้ที่ขออนุญาตภาครัฐอย่างถูกต้องฝ่ายเดียว หรือการเปิดเผยบริษัทเอกชน 11 แห่ง ที่ขออนุญาตส่งออกปลาหมอคางดำ 17 ประเทศ รวมกว่า 230,000 ตัว ทั้งที่ห้ามนำเข้า แต่อธิบดีกรมประมงระบุว่าเจ้าหน้าที่ชิปปิ้งที่ส่งออกกรอกข้อมูลผิด เป็นปลาหมอเทศข้างลาย เมื่อซีพีเอฟยืนยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย จึงต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรมทั้งสองฝ่ายว่า กรณีที่เกิดขึ้นความจริงเป็นอย่างไร เพื่อให้สังคมสิ้นข้อสงสัย แม้ภาพลักษณ์ของบริษัทใหญ่ และการชี้แจงที่ล่าช้า จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจก็ตาม #Newskit #CPF #ปลาหมอคางดำ
    Like
    Wow
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 596 มุมมอง 0 รีวิว
  • #คางดำเอเลี่ยนตัวจริง
    น้ำจืด,น้ำเค็ม,น้ำเสียอยู่ได้
    โตไว แดรกเก่งสัดๆ
    ว่ายอ้อมทะเลไประยอง
    นึกภาพดู ปลาชาวประมงทั้งบ่อไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว
    แม่มแดรกเกลี้ยง
    น้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม แม่มอย่างชอบ
    22 วันวางไข่จำนวนมหาศาล
    เป็นปลาชนิดเดียวที่ว่ายจากน้ำจืดเมื่อแดรกไม่เหลือไปน้ำเค็ม
    แล้วว่ายอ้อมไประยอง น้ำทะเลนะ
    และเริ่มรุมแดรกปลาทะเล สัตว์ทะเล
    ชาวประมงค์ทำไง เหวี่ยงแหไปเจอแต่ไอ่คางดำ
    มันต้องเป็นวาระแห่งชาติแล้ว ชาวไทยช่วยกันแดรกมันคืน
    ไม่งั้น สัตว์น้ำจืด สัตว์ทะเล จะเหลือชื่อแค่ ไอ่คางดำ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คางดำเอเลี่ยนตัวจริง น้ำจืด,น้ำเค็ม,น้ำเสียอยู่ได้ โตไว แดรกเก่งสัดๆ ว่ายอ้อมทะเลไประยอง นึกภาพดู ปลาชาวประมงทั้งบ่อไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว แม่มแดรกเกลี้ยง น้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม แม่มอย่างชอบ 22 วันวางไข่จำนวนมหาศาล เป็นปลาชนิดเดียวที่ว่ายจากน้ำจืดเมื่อแดรกไม่เหลือไปน้ำเค็ม แล้วว่ายอ้อมไประยอง น้ำทะเลนะ และเริ่มรุมแดรกปลาทะเล สัตว์ทะเล ชาวประมงค์ทำไง เหวี่ยงแหไปเจอแต่ไอ่คางดำ มันต้องเป็นวาระแห่งชาติแล้ว ชาวไทยช่วยกันแดรกมันคืน ไม่งั้น สัตว์น้ำจืด สัตว์ทะเล จะเหลือชื่อแค่ ไอ่คางดำ #คิงส์โพธิ์แดง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว