• นโยบายบ่อนกาสิโนไม่มีพรรคใดหาเสียง จึงไม่มีสิทธิโหวตรับในสภา !!สมัยเกิดทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เมื่อปีพ.ศ.2542 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนยื่นกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ รัฐมนตรีอ้างว่าเงินที่ไม่สามารถระบุที่มาของเงินนั้นได้มาจากการเล่นการพนันจากบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ไม่รับฟังข้อต่อสู้ดังกล่าวจึงมีการไต่สวนจนพบว่ามีเงินที่รับสินบนด้วยการทำนิติกรรมอำพรางที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนจากบริษัทยาเพื่อจัดซื้อยาราคาแพง และได้ส่งฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และรัฐมนตรีถูกพิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน 233.87 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีถูกตัดสินจำคุก15ปีจากการรับสินบนหากร่างพ.ร.บ การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ …. ถูกรับรองผ่านเป็นกฎหมายโดยมีการสอดไส้บ่อนกาสิโนไว้ในพรบ.ฉบับนี้ตามที่รัฐบาลต้องการ ต่อจากนี้เป็นต้นไป การฟอกเงินจากสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหลาย ทั้งการรับสินบน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด เงินจากการทำผิดกฎหมาย และการปล้นในรูปแบบต่างๆจะถูกอ้างว่าได้มาจากบ่อนกาสิโน เงินใต้ดินทั้งหลายจะถูกฟอกขาวโดยบ่อนกาสิโน สิ่งนี้คือสิ่งที่นักการเมืองต้องการ ใช่หรือไม่ ?! พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนมาเป็นผู้แทนในรัฐสภา ต้องรับผิดชอบต่อการหาเสียงซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ว่าจะทำอะไรให้ประชาชนถ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนประชาชน หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวงหรือ“รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”เป็น“รัฐบาลที่มีอำนาจที่จำกัด”(Limited Government)และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของประชาชนที่เลือกรัฐบาลขึ้นมา กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจความเป็นผู้แทนจำกัดอยู่เฉพาะการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชนไว้เท่านั้น ดังนั้นการคัดค้านบ่อนกาสิโนของประชาชน นักการเมืองต้องฟัง !!ในเมื่อพรรคการเมืองทั้งหลายที่อยู่ร่วมเป็นรัฐบาลผสม ไม่เคยหาเสียงเรื่องบ่อนกาสิโน จึงไม่มีสิทธิฮั้วกันโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนหากพรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ตนไม่ได้หาเสียงไว้ ก็เท่ากับท่านใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ประชาชนมอบหมายให้ และเป็นการทำลายสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนอย่างร้ายแรง อันอาจถึงขั้นที่รัฐบาลกลายเป็นกบฎต่อความไว้วางใจ และต่อสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนเสียเอง และประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรง(Direct Democrcy)ขับไล่รัฐบาลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้นได้การที่ประชาชนแม้ไม่เห็นด้วยกับการนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล แต่เพราะเป็นการหาเสียงของรัฐบาล ประชาชนจึงกล้ำกลืนความไม่พอใจ ความกังวลใจว่าประเทศจะเสียหายเพราะนโยบายแจกเงินเช่นนั้น แต่บ่อนกาสิโนไม่ใช่การหาเสียงของพรรคใด พวกท่านจึงไม่มีสิทธิลักไก่ผลักดันผ่านร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนดังกล่าว โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านต่อต้านที่ดังกึกก้องมาจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยในขณะนี้จงอย่าคิดว่าเมื่อได้อำนาจที่ประชาชนมอบให้ผ่านการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลก็จะทำอะไรก็ได้ ที่นอกเหนือจากการหาเสียง ประชาชนเลือกผู้แทน ไม่ใช่เลือกโจรมาปล้นบ้านตัวเอง ใช่หรือไม่?รัฐบาลและรัฐสภามีเครื่องมือในการทำประชามติ ถ้ารัฐบาลทนรอถึงการเลือกตั้งสมัยหน้าไม่ได้ ก็จงใช้เครื่องมือประชามติถามประชาชนทั้งประเทศเรื่องบ่อนกาสิโนว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำหรือไม่ ?ประธานรัฐสภาเป็นเสาหลัก 1 ในอำนาจ 3 ที่ประชาชนมอบให้ และหวังให้เสาหลักเป็นหลักที่ปักมั่นไม่คลอนแคลน เป็นอิสระ และทำตามสัญญาประชาคมในการไม่เปิดประตูให้กับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ประชาชนคัดค้าน ถ้าท่านยอมให้ร่างกฎหมายเข้าสู่สายพานการออกกฎหมายของรัฐสภา ก็ไม่ต่างกับการออกกฎหมายให้การปล้นอนาคตประเทศ ปล้นอนาคตลูกหลานไทยเป็นการปล้นที่ถูกกฎหมาย ใช่หรือไม่?ขอให้จดจำร่างพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย ว่ามีการลักหลับผ่านกฎหมายช่วงตี3-ตี4 ตรงตามฤกษ์โจรปล้น ว่ามีผลเป็นอย่างไร บ่อนกาสิโนก็อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความปั่นป่วนและอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นได้อีกจากการฉวยโอกาส ดังที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆจากการลุกขึ้นต่อต้านของประชาชน ใช่หรือไม่รสนา โตสิตระกูล3 เมษายน 2568#คัดค้านกาสิโน
    นโยบายบ่อนกาสิโนไม่มีพรรคใดหาเสียง จึงไม่มีสิทธิโหวตรับในสภา !!สมัยเกิดทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เมื่อปีพ.ศ.2542 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนยื่นกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ รัฐมนตรีอ้างว่าเงินที่ไม่สามารถระบุที่มาของเงินนั้นได้มาจากการเล่นการพนันจากบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ไม่รับฟังข้อต่อสู้ดังกล่าวจึงมีการไต่สวนจนพบว่ามีเงินที่รับสินบนด้วยการทำนิติกรรมอำพรางที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนจากบริษัทยาเพื่อจัดซื้อยาราคาแพง และได้ส่งฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และรัฐมนตรีถูกพิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน 233.87 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีถูกตัดสินจำคุก15ปีจากการรับสินบนหากร่างพ.ร.บ การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ …. ถูกรับรองผ่านเป็นกฎหมายโดยมีการสอดไส้บ่อนกาสิโนไว้ในพรบ.ฉบับนี้ตามที่รัฐบาลต้องการ ต่อจากนี้เป็นต้นไป การฟอกเงินจากสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหลาย ทั้งการรับสินบน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด เงินจากการทำผิดกฎหมาย และการปล้นในรูปแบบต่างๆจะถูกอ้างว่าได้มาจากบ่อนกาสิโน เงินใต้ดินทั้งหลายจะถูกฟอกขาวโดยบ่อนกาสิโน สิ่งนี้คือสิ่งที่นักการเมืองต้องการ ใช่หรือไม่ ?! พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนมาเป็นผู้แทนในรัฐสภา ต้องรับผิดชอบต่อการหาเสียงซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ว่าจะทำอะไรให้ประชาชนถ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนประชาชน หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวงหรือ“รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”เป็น“รัฐบาลที่มีอำนาจที่จำกัด”(Limited Government)และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของประชาชนที่เลือกรัฐบาลขึ้นมา กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจความเป็นผู้แทนจำกัดอยู่เฉพาะการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชนไว้เท่านั้น ดังนั้นการคัดค้านบ่อนกาสิโนของประชาชน นักการเมืองต้องฟัง !!ในเมื่อพรรคการเมืองทั้งหลายที่อยู่ร่วมเป็นรัฐบาลผสม ไม่เคยหาเสียงเรื่องบ่อนกาสิโน จึงไม่มีสิทธิฮั้วกันโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนหากพรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ตนไม่ได้หาเสียงไว้ ก็เท่ากับท่านใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ประชาชนมอบหมายให้ และเป็นการทำลายสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนอย่างร้ายแรง อันอาจถึงขั้นที่รัฐบาลกลายเป็นกบฎต่อความไว้วางใจ และต่อสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนเสียเอง และประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรง(Direct Democrcy)ขับไล่รัฐบาลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้นได้การที่ประชาชนแม้ไม่เห็นด้วยกับการนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล แต่เพราะเป็นการหาเสียงของรัฐบาล ประชาชนจึงกล้ำกลืนความไม่พอใจ ความกังวลใจว่าประเทศจะเสียหายเพราะนโยบายแจกเงินเช่นนั้น แต่บ่อนกาสิโนไม่ใช่การหาเสียงของพรรคใด พวกท่านจึงไม่มีสิทธิลักไก่ผลักดันผ่านร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนดังกล่าว โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านต่อต้านที่ดังกึกก้องมาจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยในขณะนี้จงอย่าคิดว่าเมื่อได้อำนาจที่ประชาชนมอบให้ผ่านการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลก็จะทำอะไรก็ได้ ที่นอกเหนือจากการหาเสียง ประชาชนเลือกผู้แทน ไม่ใช่เลือกโจรมาปล้นบ้านตัวเอง ใช่หรือไม่?รัฐบาลและรัฐสภามีเครื่องมือในการทำประชามติ ถ้ารัฐบาลทนรอถึงการเลือกตั้งสมัยหน้าไม่ได้ ก็จงใช้เครื่องมือประชามติถามประชาชนทั้งประเทศเรื่องบ่อนกาสิโนว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำหรือไม่ ?ประธานรัฐสภาเป็นเสาหลัก 1 ในอำนาจ 3 ที่ประชาชนมอบให้ และหวังให้เสาหลักเป็นหลักที่ปักมั่นไม่คลอนแคลน เป็นอิสระ และทำตามสัญญาประชาคมในการไม่เปิดประตูให้กับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ประชาชนคัดค้าน ถ้าท่านยอมให้ร่างกฎหมายเข้าสู่สายพานการออกกฎหมายของรัฐสภา ก็ไม่ต่างกับการออกกฎหมายให้การปล้นอนาคตประเทศ ปล้นอนาคตลูกหลานไทยเป็นการปล้นที่ถูกกฎหมาย ใช่หรือไม่?ขอให้จดจำร่างพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย ว่ามีการลักหลับผ่านกฎหมายช่วงตี3-ตี4 ตรงตามฤกษ์โจรปล้น ว่ามีผลเป็นอย่างไร บ่อนกาสิโนก็อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความปั่นป่วนและอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นได้อีกจากการฉวยโอกาส ดังที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆจากการลุกขึ้นต่อต้านของประชาชน ใช่หรือไม่รสนา โตสิตระกูล3 เมษายน 2568#คัดค้านกาสิโน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยื่นสอบจริยธรรมนายกฯ ดันร่างกฎหมายกาสิโน ส.ว.ขยับตัวต้านแรง
    .
    เครือข่ายภาคประชาชน 100 องค์กร ร่วมยื่นหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร คัดค้านร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจร หวั่นเปิดทางให้กาสิโนกระทบเศรษฐกิจและสังคม ด้านนักวิชาการเตือนไทยยังไม่พร้อม ขณะที่ ส.ว. ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย แนะรัฐบาลศึกษาผลกระทบให้รอบด้านก่อนเสนอ และทำประชามติถามประชาชนก่อนตัดสินใจ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031696
    ยื่นสอบจริยธรรมนายกฯ ดันร่างกฎหมายกาสิโน ส.ว.ขยับตัวต้านแรง . เครือข่ายภาคประชาชน 100 องค์กร ร่วมยื่นหนังสือถึงสภาผู้แทนราษฎร คัดค้านร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจร หวั่นเปิดทางให้กาสิโนกระทบเศรษฐกิจและสังคม ด้านนักวิชาการเตือนไทยยังไม่พร้อม ขณะที่ ส.ว. ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย แนะรัฐบาลศึกษาผลกระทบให้รอบด้านก่อนเสนอ และทำประชามติถามประชาชนก่อนตัดสินใจ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031696
    Like
    Love
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเมืองไทยมีความซับซ้อนและมีปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปัญหาหลักๆ และแนวทางการแก้ไขอาจรวมถึง以下几个方面:

    ### 1. **ปัญหาความแตกแยกและความขัดแย้งทางการเมือง**
    - **สาเหตุ**: ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เช่น คณะรัฐประหาร ประชาชน และพรรคการเมือง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ส่งเสริม **การเจรจาและปรองดอง** ระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกัน
    - ลดการใช้อำนาจรัฐเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม
    - สร้างกลไกแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นกลาง เช่น คณะกรรมการอิสระ

    ### 2. **ระบบเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์**
    - **สาเหตุ**: ระบบเลือกตั้งอาจไม่สะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริง เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ปรับปรุง **ระบบเลือกตั้ง** ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น เช่น ใช้ระบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional: MMP)
    - เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีส่วนร่วมในสภา
    - ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีและกลไกตรวจสอบ

    ### 3. **ปัญหาอำนาจนอกระบบ (อำนาจนอกการเมือง)**
    - **สาเหตุ**: การแทรกแซงทางการเมืองโดยสถาบันอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - เสริมสร้าง **หลักนิติธรรม** และลดบทบาทของอำนาจนอกระบบในการเมือง
    - ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้กองทัพและองค์กรอิสระอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน

    ### 4. **การทุจริตและระบบอุปถัมภ์**
    - **สาเหตุ**: การคอร์รัปชันในวงราชการและระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้การเมืองไทยไม่โปร่งใส
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - เสริมสร้าง **กลไกตรวจสอบ** เช่น ปรับปรุงสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.)
    - เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data) เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้
    - ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันตั้งแต่ระดับการศึกษา

    ### 5. **การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง**
    - **สาเหตุ**: อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และรัฐบาลกลาง ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - **กระจายอำนาจการปกครอง** ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น
    - ให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีและบริหารงบประมาณเอง

    ### 6. **ปัญหาการเซ็นเซอร์และเสรีภาพสื่อ**
    - **สาเหตุ**: การควบคุมสื่อโดยรัฐ และการใช้กฎหมายเช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อจำกัดเสรีภาพ
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อ
    - ส่งเสริมสื่ออิสระและปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ

    ### 7. **การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม**
    - **สาเหตุ**: กระบวนการยุติธรรมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ปรับปรุงระบบตุลาการให้เป็นอิสระและเป็นกลาง
    - ตรวจสอบการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม

    ### 8. **การมีส่วนร่วมของประชาชน**
    - **แนวทางแก้ไข**:
    - ส่งเสริม **ประชาธิปไตยทางตรง** เช่น การลงประชามติในประเด็นสำคัญ
    - ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน (E-Participation)

    ### **สรุป**
    การเมืองไทยต้องการการปฏิรูปหลายด้าน ทั้งระบบเลือกตั้ง การลดอำนาจนอกระบบ การต่อต้านคอร์รัปชัน การกระจายอำนาจ และการส่งเสริมเสรีภาพ หากแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การเมืองไทยมีความมั่นคงและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

    คุณคิดว่าประเด็นไหนสำคัญที่สุดหรือควรเริ่มแก้ไขก่อน?
    การเมืองไทยมีความซับซ้อนและมีปัญหาหลายด้านที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปัญหาหลักๆ และแนวทางการแก้ไขอาจรวมถึง以下几个方面: ### 1. **ปัญหาความแตกแยกและความขัดแย้งทางการเมือง** - **สาเหตุ**: ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เช่น คณะรัฐประหาร ประชาชน และพรรคการเมือง - **แนวทางแก้ไข**: - ส่งเสริม **การเจรจาและปรองดอง** ระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกัน - ลดการใช้อำนาจรัฐเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม - สร้างกลไกแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นกลาง เช่น คณะกรรมการอิสระ ### 2. **ระบบเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์** - **สาเหตุ**: ระบบเลือกตั้งอาจไม่สะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริง เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่ - **แนวทางแก้ไข**: - ปรับปรุง **ระบบเลือกตั้ง** ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น เช่น ใช้ระบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportional: MMP) - เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีส่วนร่วมในสภา - ป้องกันการทุจริตเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีและกลไกตรวจสอบ ### 3. **ปัญหาอำนาจนอกระบบ (อำนาจนอกการเมือง)** - **สาเหตุ**: การแทรกแซงทางการเมืองโดยสถาบันอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง - **แนวทางแก้ไข**: - เสริมสร้าง **หลักนิติธรรม** และลดบทบาทของอำนาจนอกระบบในการเมือง - ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้กองทัพและองค์กรอิสระอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ### 4. **การทุจริตและระบบอุปถัมภ์** - **สาเหตุ**: การคอร์รัปชันในวงราชการและระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้การเมืองไทยไม่โปร่งใส - **แนวทางแก้ไข**: - เสริมสร้าง **กลไกตรวจสอบ** เช่น ปรับปรุงสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) - เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data) เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ - ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันตั้งแต่ระดับการศึกษา ### 5. **การกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง** - **สาเหตุ**: อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ และรัฐบาลกลาง ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ - **แนวทางแก้ไข**: - **กระจายอำนาจการปกครอง** ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น - ให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีและบริหารงบประมาณเอง ### 6. **ปัญหาการเซ็นเซอร์และเสรีภาพสื่อ** - **สาเหตุ**: การควบคุมสื่อโดยรัฐ และการใช้กฎหมายเช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อจำกัดเสรีภาพ - **แนวทางแก้ไข**: - ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อ - ส่งเสริมสื่ออิสระและปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ ### 7. **การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม** - **สาเหตุ**: กระบวนการยุติธรรมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง - **แนวทางแก้ไข**: - ปรับปรุงระบบตุลาการให้เป็นอิสระและเป็นกลาง - ตรวจสอบการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ### 8. **การมีส่วนร่วมของประชาชน** - **แนวทางแก้ไข**: - ส่งเสริม **ประชาธิปไตยทางตรง** เช่น การลงประชามติในประเด็นสำคัญ - ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน (E-Participation) ### **สรุป** การเมืองไทยต้องการการปฏิรูปหลายด้าน ทั้งระบบเลือกตั้ง การลดอำนาจนอกระบบ การต่อต้านคอร์รัปชัน การกระจายอำนาจ และการส่งเสริมเสรีภาพ หากแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การเมืองไทยมีความมั่นคงและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คุณคิดว่าประเด็นไหนสำคัญที่สุดหรือควรเริ่มแก้ไขก่อน?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 356 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ชูศักดิ์” ซัด “ฝ่ายค้าน” อย่ามโน “ดีลปีศาจ” ย้ำรัฐบาลจริงใจแก้ รธน. – รอศาลวินิจฉัยเรื่องประชามติกี่ครั้ง
    https://www.thai-tai.tv/news/17825/
    “ชูศักดิ์” ซัด “ฝ่ายค้าน” อย่ามโน “ดีลปีศาจ” ย้ำรัฐบาลจริงใจแก้ รธน. – รอศาลวินิจฉัยเรื่องประชามติกี่ครั้ง https://www.thai-tai.tv/news/17825/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทูตสหรัฐฯ ชี้ปัญหา 'ช้างในห้อง' ของการเจรจาสันติภาพคือการยกดินแดนยูเครนให้รัสเซีย

    ทูตพิเศษสหรัฐฯ Steve Witkoff เผยว่าอุปสรรคใหญ่สุดในการแก้ไขสงครามยูเครนคือสถานะของไครเมียและสี่ภูมิภาคที่รัสเซียยึดครอง โดยเรียกประเด็นนี้ว่า "ช้างในห้อง" ของการเจรจาสันติภาพ

    ในการให้สัมภาษณ์กับ Tucker Carlson Witkoff อ้างว่าการลงประชามติในภูมิภาค Donetsk, Luhansk, Zaporizhzhia และ Kherson แสดงว่าประชาชนต้องการอยู่ภายใต้รัสเซีย

    "รัสเซียควบคุมดินแดนเหล่านี้อยู่แล้วตามข้อเท็จจริง คำถามคือ
    โลกจะยอมรับหรือไม่ว่านั่นเป็นดินแดนรัสเซีย?
    Zelensky จะอยู่รอดทางการเมืองหรือไม่ถ้ายอมรับ?
    นี่คือประเด็นสำคัญในความขัดแย้ง" Witkoff กล่าว

    ขณะที่ Zelensky ยืนยันว่า "เราไม่ยอมรับดินแดนยูเครนที่ถูกยึดครองเป็นของรัสเซีย"

    ทูตพิเศษยังเปิดเผยว่า Vladimir Putin สั่งวาดภาพเหมือนอันงดงามของประธานาธิบดี Donald Trump โดยศิลปินชั้นนำของรัสเซีย ซึ่ง Witkoff นำกลับไปให้ประธานาธิบดี และเล่าว่า Putin ยังสวดมนต์เพื่อ Trump หลังถูกลอบสังหาร
    "ไม่ใช่เพราะเขา...อาจกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เพราะ พวกเขาเป็นเพื่อนกัน" ซึ่ง Trump ก็ "ซาบซึ้งใจอย่างชัดเจน" กับการแสดงออกของ Putin

    Witkoff ประทับใจในความ "สุภาพ" และ "สติปัญญา" ของ Putin
    โดยเสริมว่าการแก้ไขสงครามอาจนำไปสู่ความร่วมมือทั้งด้านพลังงานในอาร์กติก การแบ่งปันเส้นทางทะเล และการส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเข้ายุโรปร่วมกัน
    ทูตสหรัฐฯ ชี้ปัญหา 'ช้างในห้อง' ของการเจรจาสันติภาพคือการยกดินแดนยูเครนให้รัสเซีย ทูตพิเศษสหรัฐฯ Steve Witkoff เผยว่าอุปสรรคใหญ่สุดในการแก้ไขสงครามยูเครนคือสถานะของไครเมียและสี่ภูมิภาคที่รัสเซียยึดครอง โดยเรียกประเด็นนี้ว่า "ช้างในห้อง" ของการเจรจาสันติภาพ ในการให้สัมภาษณ์กับ Tucker Carlson Witkoff อ้างว่าการลงประชามติในภูมิภาค Donetsk, Luhansk, Zaporizhzhia และ Kherson แสดงว่าประชาชนต้องการอยู่ภายใต้รัสเซีย "รัสเซียควบคุมดินแดนเหล่านี้อยู่แล้วตามข้อเท็จจริง คำถามคือ โลกจะยอมรับหรือไม่ว่านั่นเป็นดินแดนรัสเซีย? Zelensky จะอยู่รอดทางการเมืองหรือไม่ถ้ายอมรับ? นี่คือประเด็นสำคัญในความขัดแย้ง" Witkoff กล่าว ขณะที่ Zelensky ยืนยันว่า "เราไม่ยอมรับดินแดนยูเครนที่ถูกยึดครองเป็นของรัสเซีย" ทูตพิเศษยังเปิดเผยว่า Vladimir Putin สั่งวาดภาพเหมือนอันงดงามของประธานาธิบดี Donald Trump โดยศิลปินชั้นนำของรัสเซีย ซึ่ง Witkoff นำกลับไปให้ประธานาธิบดี และเล่าว่า Putin ยังสวดมนต์เพื่อ Trump หลังถูกลอบสังหาร "ไม่ใช่เพราะเขา...อาจกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เพราะ พวกเขาเป็นเพื่อนกัน" ซึ่ง Trump ก็ "ซาบซึ้งใจอย่างชัดเจน" กับการแสดงออกของ Putin Witkoff ประทับใจในความ "สุภาพ" และ "สติปัญญา" ของ Putin โดยเสริมว่าการแก้ไขสงครามอาจนำไปสู่ความร่วมมือทั้งด้านพลังงานในอาร์กติก การแบ่งปันเส้นทางทะเล และการส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเข้ายุโรปร่วมกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 433 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปธ.สภาฯ บรรจุญัตติด่วน ประชุมรัฐสภา 17 มี.ค.นี้ ขอมติส่งศาลฯ วินิจฉัย อำนาจและหน้าที่ การเดินหน้าแก้ รธน.มาตรา 256 และ เพิ่มหมวดจัดทำฉบับใหม่ โดยที่ยังไม่ได้จัดทำประชามติถามประชาชน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000024436
    ปธ.สภาฯ บรรจุญัตติด่วน ประชุมรัฐสภา 17 มี.ค.นี้ ขอมติส่งศาลฯ วินิจฉัย อำนาจและหน้าที่ การเดินหน้าแก้ รธน.มาตรา 256 และ เพิ่มหมวดจัดทำฉบับใหม่ โดยที่ยังไม่ได้จัดทำประชามติถามประชาชน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000024436
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1267 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## ท่าทีที่น่ากังวล ของ สส. ผู้ทรงเกียรติ ##
    ..
    ..
    นายคนนี้ คือ สส. พรรคสีสัม ใครเลือกมา ได้โปรด ติดตามผลงานของท่านด้วย...!!!
    .
    นายคนนี้คือ นาย รอมฎอน ปันจอร์ สส. ที่อยู่ทางภาคใต้ ของ พรรคประชาชน
    .
    ไม่ว่าจะกี่ครั้งที่เกิดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเหตุก่อขึ้นโดย กลุ่มก่อการร้ายภาคใต้...
    .
    สส. พรรคสีส้ม รายนี้ ไม่เคยตำหนิผู้ก่อการร้าย ที่ใช้ความรุนแรงเลย...
    .
    อย่างเดียวที่เขาพูดคือ ตำหนิ รัฐไทย ว่า เจ้าหน้าที่ไทยมีปัญหา กดขี่ ข่มขู่ ไม่จริงใจในการแสวงหาสันติภาพ...!!!
    .
    ให้ยกเลิก กฎอัยการศึก ให้ยกเลิก ศอ.บต.
    .
    จริงหรือไม่ หลายครั้ง สส.ท่านนี้ ไปงานสัมนา มากกว่า 1 ครั้ง และ พูด ชวัดเชวียน ไปมา ในทำนอง ประกาศอิสรภาพ เอกราช ประชามติ ปกครองตัวเอง
    .
    โดยครั้งหนึ่ง งานเสวนาที่ท่านเป็นแขกรับเชิญ ท่าน อาจะเป็น นกรู้ หรือ อย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านไม่มา...
    .
    แต่ในงานนั้นมีการ "จัดการจำลอง" การ "ทำประชามติ แบ่งแยกดินแดน" ให้ รัฐปาตานี ปกครองตัวเอง (ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของรัฐทางภาคใต้)
    .
    ซึ่ง รัฐปาตานี นี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงกลุ่มคนผลักดันขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
    .
    ถึงขั้น คนอีกกลุ่ม เอาไปทำบอร์ดเกม เนื้อหาระบุว่า รัฐไทยกระทำการเหี้ยมโหด โหดร้ายทารุณ ต่อ ชาวปาตานี
    .
    ปาตานี ในที่นี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึง จังหวัดปัตตานี นะครับ เขาหมายรวม ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ ของ จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน รวมทั้งตอนเหนือของมาเลเซียในบางยุคสมัย ด้วย (นี่คือชุดข้อมูลของพวกเขา)
    .
    ซึ่งหลายครั้ง คุณ พวกคุณ คณะก้าวหน้า ธนาธร ช่อ ปิยะบุตร รวมไปถึง นักการเมืองอีกพรรคหนึ่ง เวลาไปเสวนา ก็จะพูดไปในทำนองนี้ รัฐไทยกดขี่ สร้างความเจ็บปวดให้ ใช่หรือไม่...???
    .
    คลิป มันมีนะครับ สมัยนี้เขาเรียก Digital Footprint พวกคุณหนีความจริงไม่พ้นหรอก
    .
    พวกเราประชาชนตาดำๆ ตัวจริงเสียงจริง ที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ต้องช่วยกัน สอดส่องพฤติกรรม ของ สส. ที่พวกคุณเลือกเข้ามาด้วยนะครับ ว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง...???
    .
    ลึกๆแล้วพวกเขาคิดอะไร ต้องการอะไรกันแน่...???
    .
    ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ผมไม่สบายใจกับท่าที ของ สส. ผู้ทรงเกียรติหลายท่าน รวมไปถึง อดีต สส.เอย NGO เอย มานานพอสมควรแล้วครับ
    .
    แล้วจริงหรือไม่ ที่พรรคก้าวไกล เคยเสนอแก้รัฐนูญ นอกจากหมวด 2 ที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว...
    .
    พรรคก้าวไกล ยังเคยเสนอแก้รัฐนูญ หมวด 1 อีกด้วย
    .
    หากผมจำไม่ผิด รัฐธรรมนูญ หมวด 1 ระบุว่า
    .
    มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
    .
    มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
    .
    ผมถาม ใน 3 มาตรานี้ พวกคุณต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อไหน...???
    .
    ผมจำชื่อไม่ได้ แต่มีอาจารย์คนหนึ่งเคยพูดว่า เรื่อง "มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้" ไว้ว่า...
    .
    "มันต้องแบ่งได้"
    .
    ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ท่านนั้นคนเดียวก็ได้...
    .
    แต่ผมเห็น หลายๆท่าน หลายๆกระบวนการ บอกตามตรงในฐานะ "พลเมืองไทย" ผมกังวลต่อท่าทีของหลายๆท่านมากนะครับ...
    .
    สงสารตัวเอง สงสารลูกหลาน...
    .
    และ ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า คนที่ยังไม่รู้พฤติกรรมแปลกๆพวกนี้ ยังมีอีกเยอะครับ...
    ## ท่าทีที่น่ากังวล ของ สส. ผู้ทรงเกียรติ ## .. .. นายคนนี้ คือ สส. พรรคสีสัม ใครเลือกมา ได้โปรด ติดตามผลงานของท่านด้วย...!!! . นายคนนี้คือ นาย รอมฎอน ปันจอร์ สส. ที่อยู่ทางภาคใต้ ของ พรรคประชาชน . ไม่ว่าจะกี่ครั้งที่เกิดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเหตุก่อขึ้นโดย กลุ่มก่อการร้ายภาคใต้... . สส. พรรคสีส้ม รายนี้ ไม่เคยตำหนิผู้ก่อการร้าย ที่ใช้ความรุนแรงเลย... . อย่างเดียวที่เขาพูดคือ ตำหนิ รัฐไทย ว่า เจ้าหน้าที่ไทยมีปัญหา กดขี่ ข่มขู่ ไม่จริงใจในการแสวงหาสันติภาพ...!!! . ให้ยกเลิก กฎอัยการศึก ให้ยกเลิก ศอ.บต. . จริงหรือไม่ หลายครั้ง สส.ท่านนี้ ไปงานสัมนา มากกว่า 1 ครั้ง และ พูด ชวัดเชวียน ไปมา ในทำนอง ประกาศอิสรภาพ เอกราช ประชามติ ปกครองตัวเอง . โดยครั้งหนึ่ง งานเสวนาที่ท่านเป็นแขกรับเชิญ ท่าน อาจะเป็น นกรู้ หรือ อย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านไม่มา... . แต่ในงานนั้นมีการ "จัดการจำลอง" การ "ทำประชามติ แบ่งแยกดินแดน" ให้ รัฐปาตานี ปกครองตัวเอง (ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของรัฐทางภาคใต้) . ซึ่ง รัฐปาตานี นี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงกลุ่มคนผลักดันขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง . ถึงขั้น คนอีกกลุ่ม เอาไปทำบอร์ดเกม เนื้อหาระบุว่า รัฐไทยกระทำการเหี้ยมโหด โหดร้ายทารุณ ต่อ ชาวปาตานี . ปาตานี ในที่นี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึง จังหวัดปัตตานี นะครับ เขาหมายรวม ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ ของ จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน รวมทั้งตอนเหนือของมาเลเซียในบางยุคสมัย ด้วย (นี่คือชุดข้อมูลของพวกเขา) . ซึ่งหลายครั้ง คุณ พวกคุณ คณะก้าวหน้า ธนาธร ช่อ ปิยะบุตร รวมไปถึง นักการเมืองอีกพรรคหนึ่ง เวลาไปเสวนา ก็จะพูดไปในทำนองนี้ รัฐไทยกดขี่ สร้างความเจ็บปวดให้ ใช่หรือไม่...??? . คลิป มันมีนะครับ สมัยนี้เขาเรียก Digital Footprint พวกคุณหนีความจริงไม่พ้นหรอก . พวกเราประชาชนตาดำๆ ตัวจริงเสียงจริง ที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ต้องช่วยกัน สอดส่องพฤติกรรม ของ สส. ที่พวกคุณเลือกเข้ามาด้วยนะครับ ว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง...??? . ลึกๆแล้วพวกเขาคิดอะไร ต้องการอะไรกันแน่...??? . ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ผมไม่สบายใจกับท่าที ของ สส. ผู้ทรงเกียรติหลายท่าน รวมไปถึง อดีต สส.เอย NGO เอย มานานพอสมควรแล้วครับ . แล้วจริงหรือไม่ ที่พรรคก้าวไกล เคยเสนอแก้รัฐนูญ นอกจากหมวด 2 ที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว... . พรรคก้าวไกล ยังเคยเสนอแก้รัฐนูญ หมวด 1 อีกด้วย . หากผมจำไม่ผิด รัฐธรรมนูญ หมวด 1 ระบุว่า . มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ . มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ . ผมถาม ใน 3 มาตรานี้ พวกคุณต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อไหน...??? . ผมจำชื่อไม่ได้ แต่มีอาจารย์คนหนึ่งเคยพูดว่า เรื่อง "มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้" ไว้ว่า... . "มันต้องแบ่งได้" . ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ท่านนั้นคนเดียวก็ได้... . แต่ผมเห็น หลายๆท่าน หลายๆกระบวนการ บอกตามตรงในฐานะ "พลเมืองไทย" ผมกังวลต่อท่าทีของหลายๆท่านมากนะครับ... . สงสารตัวเอง สงสารลูกหลาน... . และ ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า คนที่ยังไม่รู้พฤติกรรมแปลกๆพวกนี้ ยังมีอีกเยอะครับ...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 640 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประชาชนชาวเนปาลหลายแสนคน (บางแหล่งข่าวระบุมากกว่าล้านคน) มารวมตัวกันเพื่อต้อนรับ "สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรา พีระ พิกรม ชาห์ เทวะ" กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเนปาล หลังจากสถาบันกษัตริย์ถูกยุบในปีพ.ศ. 2551 (2008) ขณะพระองค์เสด็จกลับกรุงกาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] เมืองหลวงของเนปาล ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพยายามเรียกร้องให้เนปาลฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์มานานหลายปี

    ผู้ชุมนุมที่มาต้อนรับฯรายหนึ่งบอกว่า เค้าเป็นผู้ที่เคยร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านพระองค์เมื่อปี 2006 แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจต้องการให้มีสถาบันฯ ต้องการให้พระองค์กลับมาครองราช เพราะนักการเมืองคอร์รัปชั่นกันอย่างเลวร้าย เหล่าผู้มีอำนาจไม่ทำอะไรให้ประเทศเลย

    ตอนนั้นที่เค้าออกมาชุมนุมประท้วงไม่เอาสถาบันกษัตริย์เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้ประเทศดีขึ้น แต่เค้าคิดผิด ประเทศย่ำแย่หนักกว่าเดิม ตอนนี้เลยเปลี่ยนใจอยากให้ฟื้นฟูสถาบันฯ

    ในปีพ.ศ. 2551 สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเนปาล ได้มีมติยกเลิกการปกครองระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นการสิ้นสุดระบอบการปกครองของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศกว่า 240 ปี และราชวงศ์ชาห์ซึ่งปกครองแผ่นดินนี้เกือบ 500 ปี
    .
    ก่อนการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์เนปาล:
    สรุปคร่าวๆมาจาก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
    https://www.posttoday.com/columnist/639757
    หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ของราชวงศ์เนปาลในปี 2001 ส่งผลให้พระมหากษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะและสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์

    ต่อมาเจ้าชายชญาเนนทร พระอนุชาของพระมหากษัตริย์พิเรนทราพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง โดยที่กษัตริย์ชญาเนนทรพยายามปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยอ้างสาเหตุจากการทุจริตคอรัปชั่น และการบริหารเทศที่ล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งหลาย

    ในปี 2002 กษัตริย์ชญาเนนทรทรงประกาศยุบสภา แต่การเมืองที่วุ่นวาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ จนที่สุดพระองค์ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจากพรรคการเมืองต่างๆ

    ในปี 2006 กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองรวมตัวกันต่อต้านการปกครองของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร จนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจสถาบันกษัตริย์

    ในที่สุดพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร ทรงยอมให้อำนาจบริหารแก่พรรคการเมืองเพื่อกลับคืนสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง และพรรคการเมืองต่างเรียกร้องให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อกำหนดบทบาทในการเมืองของพระมหากษัตริย์

    10 มิถุนายน ค.ศ. 2006 รัฐสภาเนปาลได้ยกเลิกอำนาจที่สำคัญๆของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ทำให้บทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทำงานร่วมกับรัฐสภาได้สิ้นสุดลง (King in Parliament) และลดทอนพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตรายาง แต่ให้พระองค์ยังทรงทำหน้าที่ประมุขของรัฐในการต้อนรับอาคันตุกะและทูตานุทูตต่อไปได้ และรัฐสภาได้โอนอำนาจที่พระมหากษัตริย์เคยมีไปที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาตลอด 239 ปีมีอันต้องสิ้นสุดลง

    23 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่านของเนปาลได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทรที่สืบจากพระเชษฐาของพระองค์ให้เป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งพระราชวัง (Narayanhiti Palace) แต่ไม่ได้ยึดทรัพย์สินที่กษัตริย์ชญาเนนทรครอบครองก่อนขึ้นครองราชย์

    24 ธันวาคม ค.ศ. 2007 รัฐสภารักษาการได้ลงมติว่า อาจจะมีการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยุติลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพกับพวกกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้คือร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนเนปาลให้เป็นสาธารณรัฐนั่นเอง

    28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศอย่างเป็นทางการว่าในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป และเนปาลจะเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐ การตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่มีการทำประชามติ กษัตริย์ชญาเนนทรยอมรับการตัดสินดังกล่าว และขอให้รัฐบาลจัดที่พักอาศัยให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลได้จัดให้พระองค์พำนักอยู่ที่วังแห่งหนึ่ง (Nirmal Niwas Palace)

    ประชาชนชาวเนปาลหลายแสนคน (บางแหล่งข่าวระบุมากกว่าล้านคน) มารวมตัวกันเพื่อต้อนรับ "สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรา พีระ พิกรม ชาห์ เทวะ" กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเนปาล หลังจากสถาบันกษัตริย์ถูกยุบในปีพ.ศ. 2551 (2008) ขณะพระองค์เสด็จกลับกรุงกาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] เมืองหลวงของเนปาล ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพยายามเรียกร้องให้เนปาลฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์มานานหลายปี ผู้ชุมนุมที่มาต้อนรับฯรายหนึ่งบอกว่า เค้าเป็นผู้ที่เคยร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านพระองค์เมื่อปี 2006 แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจต้องการให้มีสถาบันฯ ต้องการให้พระองค์กลับมาครองราช เพราะนักการเมืองคอร์รัปชั่นกันอย่างเลวร้าย เหล่าผู้มีอำนาจไม่ทำอะไรให้ประเทศเลย ตอนนั้นที่เค้าออกมาชุมนุมประท้วงไม่เอาสถาบันกษัตริย์เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้ประเทศดีขึ้น แต่เค้าคิดผิด ประเทศย่ำแย่หนักกว่าเดิม ตอนนี้เลยเปลี่ยนใจอยากให้ฟื้นฟูสถาบันฯ ในปีพ.ศ. 2551 สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเนปาล ได้มีมติยกเลิกการปกครองระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นการสิ้นสุดระบอบการปกครองของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศกว่า 240 ปี และราชวงศ์ชาห์ซึ่งปกครองแผ่นดินนี้เกือบ 500 ปี . ก่อนการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์เนปาล: สรุปคร่าวๆมาจาก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร https://www.posttoday.com/columnist/639757 หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ของราชวงศ์เนปาลในปี 2001 ส่งผลให้พระมหากษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะและสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์ ต่อมาเจ้าชายชญาเนนทร พระอนุชาของพระมหากษัตริย์พิเรนทราพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง โดยที่กษัตริย์ชญาเนนทรพยายามปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยอ้างสาเหตุจากการทุจริตคอรัปชั่น และการบริหารเทศที่ล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งหลาย ในปี 2002 กษัตริย์ชญาเนนทรทรงประกาศยุบสภา แต่การเมืองที่วุ่นวาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ จนที่สุดพระองค์ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจากพรรคการเมืองต่างๆ ในปี 2006 กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองรวมตัวกันต่อต้านการปกครองของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร จนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจสถาบันกษัตริย์ ในที่สุดพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร ทรงยอมให้อำนาจบริหารแก่พรรคการเมืองเพื่อกลับคืนสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง และพรรคการเมืองต่างเรียกร้องให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อกำหนดบทบาทในการเมืองของพระมหากษัตริย์ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2006 รัฐสภาเนปาลได้ยกเลิกอำนาจที่สำคัญๆของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ทำให้บทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทำงานร่วมกับรัฐสภาได้สิ้นสุดลง (King in Parliament) และลดทอนพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตรายาง แต่ให้พระองค์ยังทรงทำหน้าที่ประมุขของรัฐในการต้อนรับอาคันตุกะและทูตานุทูตต่อไปได้ และรัฐสภาได้โอนอำนาจที่พระมหากษัตริย์เคยมีไปที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาตลอด 239 ปีมีอันต้องสิ้นสุดลง 23 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่านของเนปาลได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทรที่สืบจากพระเชษฐาของพระองค์ให้เป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งพระราชวัง (Narayanhiti Palace) แต่ไม่ได้ยึดทรัพย์สินที่กษัตริย์ชญาเนนทรครอบครองก่อนขึ้นครองราชย์ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2007 รัฐสภารักษาการได้ลงมติว่า อาจจะมีการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยุติลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพกับพวกกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้คือร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนเนปาลให้เป็นสาธารณรัฐนั่นเอง 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศอย่างเป็นทางการว่าในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป และเนปาลจะเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐ การตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่มีการทำประชามติ กษัตริย์ชญาเนนทรยอมรับการตัดสินดังกล่าว และขอให้รัฐบาลจัดที่พักอาศัยให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลได้จัดให้พระองค์พำนักอยู่ที่วังแห่งหนึ่ง (Nirmal Niwas Palace)
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 525 มุมมอง 0 รีวิว
  • 1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก

    ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน

    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย

    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)

    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้

    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่

    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว

    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ

    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ

    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ

    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง

    ที่มา ไทยโพสต์
    1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง ที่มา ไทยโพสต์
    Like
    Love
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 765 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครือข่ายประชาสังคมภาคใต้ ปลุกพลัง “ไม่เอากาสิโน”ลั่น ถ้ารบ.เดินหน้า คือการประกาศหายนะ พร้อมเดินหน้าล่ารายชื่อทำประชามติ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000020180

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เครือข่ายประชาสังคมภาคใต้ ปลุกพลัง “ไม่เอากาสิโน”ลั่น ถ้ารบ.เดินหน้า คือการประกาศหายนะ พร้อมเดินหน้าล่ารายชื่อทำประชามติ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000020180 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    21
    0 ความคิดเห็น 4 การแบ่งปัน 1149 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
    .
    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน
    .
    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย
    .
    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    .
    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)
    .
    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้
    .
    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    .
    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่
    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว
    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ
    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ
    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ
    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง
    .
    ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ

    1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/
    2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/
    .
    Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ . ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน . 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย . 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ . 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) . 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ . 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ . 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง . ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ 1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/ 2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/ . Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    THESTANDARD.CO
    จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง
    การสงครามผสมผสาน การสงครามผสมผสาน หรือ Hybrid Warfare เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ (Conventional Warfare)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 710 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้
    .
    เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย
    .
    ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต"
    .
    เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา
    .
    ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
    .
    ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน
    .
    ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป
    .
    ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ"
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2"
    .
    อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด"
    .
    ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ
    .
    สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้ . เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย . ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต" . เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา . ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ . ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก . ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน . ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป . ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ" . ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป . ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2" . อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด" . ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ . สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1693 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง
    .
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที
    ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ
    .
    ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา
    .
    ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8)
    .
    ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้
    .
    ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้
    ..............
    Sondhi X
    อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง . การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ . ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา . ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8) . ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้ . ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้ .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2472 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ควรเข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย สืบเนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองของเกาะและประชากรอินูอิตของรัสเซีย มีความเกี่ยวดองกันทางภาษาพูด จากคำชี้แนะของวิตาลี มีโลนอฟ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแดนหมีขาวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์
    .
    ความเห็นล่าสุดของเขามีขึ้นตามหลังถ้อยแถลงอันเป็นที่ถกเถียงเป็นชุดๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับแผนผนวกกรีนแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา แม้มีเสียงปฏิเสธอย่างหนักแน่นจากผู้นำฝักใฝ่เอกราชของเกาะและเดนมาร์ก
    .
    "เราได้ยินถ้อยแถลงต่างๆ จากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าแคนาดา ในข้อเท็จจริงคือ เป็นมลรัฐที่ยากจนที่สุดในอเมริกา ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง แต่ตัวอเมริกาเองก็อยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากการปกครองของโจ ไบเดน" มิโลนอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Gazeta สื่อมวลชนรัสเซียเมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.)
    .
    "สถานการณ์เช่นนี้ รัสเซียจึงอยู่ในฐานะรัฐปกติเพียงรัฐเดียว ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะสนับสนุนชนพื้นเมืองชาวกรีนแลนด์ ผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับประชากรอินูอิตของรัสเซีย ทั้ง 2 กลุ่มพูดภาษาพื้นเมืองในภาษาเดียวกัน" เขากล่าวอ้าง
    .
    มิโลนอฟ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้สนับสนุนตัวยง "ค่านิยมรัสเซียดั้งเดิม" และส่งสียงคัดค้านในสิ่งที่เขาเรียกว่าความเสื่อมทรามของตะวันตก ในนั้นรวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ LGBT และอุดมการณ์ที่ไม่ต้องการมีลูก บ่อยครั้งเขาตกเป็นข่าวพาดหัวในแนวคิดอันเป็นที่ถกเถียงต่างๆ อย่างเช่นเรียกร้องให้ปิดเซ็กซ์ชอปทั้งหมดในรัสเซีย และเอาเซ็กซ์ทอยส์ที่ยึดมาเหล่านั้นไปทิ้งบอมบ์ใส่ยูเครน
    .
    จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่าราว 70% ของพลเมืองราว 60,000 คนของกรีนแลนด์ พูดภาษากรีนแลนดิก "ภาษาเอสกิโม-อะลิวต์" ซึ่งแตกออกมาเป็นภาษาอินูอิต ขณะที่นักภาษาศาสตร์ ณ ศูนย์ภาษาแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เน้นว่าภาษากรีนแลนกิด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับภาษายูปิก ที่ใช้พูดกันในไซบีเรีย
    .
    "กรีนแลนด์อาจกลายมาเป็นดินแดนใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนกรีนแลนดิก" มิโลนอฟเสนอ พร้อมอ้างว่าดินแดนแห่งนี้ต้องการแรงสนับสนุนและการปกป้องจากรัสเซีย หลังถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ภายใต้บังเหียนของเดนมาร์ก "ผู้รุกราน"
    .
    ทั้งนี้ กรีนแลนด์ อดีตอาณานิคมของเดนมาร์ก ได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 ขณะที่ มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีของเกาะแห่งนี้ เน้นย้ำเมื่อช่วงกลางเดือนว่า เกาะกำลังเสาะหาความเป็นเอกราช และอยู่ระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ แต่ไม่ได้ให้กรอบเวลาอย่างเจาะจง
    .
    "กรีนแลนด์มีไว้สำหรับประชาชนชาวกรีนแลนดิก เราไม่ต้องการเป็นคนเดนมาร์ก เราไม่อยากเป็นคนอเมริกา" เอเกเด ตอบโต้ความเคลื่อนไหวของทรัมป์ก่อนหน้านั้น ที่เสนอซื้อหรือผนวกเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009490
    ..............
    Sondhi X
    กรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ควรเข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย สืบเนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองของเกาะและประชากรอินูอิตของรัสเซีย มีความเกี่ยวดองกันทางภาษาพูด จากคำชี้แนะของวิตาลี มีโลนอฟ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแดนหมีขาวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ . ความเห็นล่าสุดของเขามีขึ้นตามหลังถ้อยแถลงอันเป็นที่ถกเถียงเป็นชุดๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับแผนผนวกกรีนแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา แม้มีเสียงปฏิเสธอย่างหนักแน่นจากผู้นำฝักใฝ่เอกราชของเกาะและเดนมาร์ก . "เราได้ยินถ้อยแถลงต่างๆ จากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าแคนาดา ในข้อเท็จจริงคือ เป็นมลรัฐที่ยากจนที่สุดในอเมริกา ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง แต่ตัวอเมริกาเองก็อยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากการปกครองของโจ ไบเดน" มิโลนอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Gazeta สื่อมวลชนรัสเซียเมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.) . "สถานการณ์เช่นนี้ รัสเซียจึงอยู่ในฐานะรัฐปกติเพียงรัฐเดียว ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะสนับสนุนชนพื้นเมืองชาวกรีนแลนด์ ผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับประชากรอินูอิตของรัสเซีย ทั้ง 2 กลุ่มพูดภาษาพื้นเมืองในภาษาเดียวกัน" เขากล่าวอ้าง . มิโลนอฟ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้สนับสนุนตัวยง "ค่านิยมรัสเซียดั้งเดิม" และส่งสียงคัดค้านในสิ่งที่เขาเรียกว่าความเสื่อมทรามของตะวันตก ในนั้นรวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ LGBT และอุดมการณ์ที่ไม่ต้องการมีลูก บ่อยครั้งเขาตกเป็นข่าวพาดหัวในแนวคิดอันเป็นที่ถกเถียงต่างๆ อย่างเช่นเรียกร้องให้ปิดเซ็กซ์ชอปทั้งหมดในรัสเซีย และเอาเซ็กซ์ทอยส์ที่ยึดมาเหล่านั้นไปทิ้งบอมบ์ใส่ยูเครน . จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่าราว 70% ของพลเมืองราว 60,000 คนของกรีนแลนด์ พูดภาษากรีนแลนดิก "ภาษาเอสกิโม-อะลิวต์" ซึ่งแตกออกมาเป็นภาษาอินูอิต ขณะที่นักภาษาศาสตร์ ณ ศูนย์ภาษาแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เน้นว่าภาษากรีนแลนกิด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับภาษายูปิก ที่ใช้พูดกันในไซบีเรีย . "กรีนแลนด์อาจกลายมาเป็นดินแดนใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนกรีนแลนดิก" มิโลนอฟเสนอ พร้อมอ้างว่าดินแดนแห่งนี้ต้องการแรงสนับสนุนและการปกป้องจากรัสเซีย หลังถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ภายใต้บังเหียนของเดนมาร์ก "ผู้รุกราน" . ทั้งนี้ กรีนแลนด์ อดีตอาณานิคมของเดนมาร์ก ได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 ขณะที่ มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีของเกาะแห่งนี้ เน้นย้ำเมื่อช่วงกลางเดือนว่า เกาะกำลังเสาะหาความเป็นเอกราช และอยู่ระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ แต่ไม่ได้ให้กรอบเวลาอย่างเจาะจง . "กรีนแลนด์มีไว้สำหรับประชาชนชาวกรีนแลนดิก เราไม่ต้องการเป็นคนเดนมาร์ก เราไม่อยากเป็นคนอเมริกา" เอเกเด ตอบโต้ความเคลื่อนไหวของทรัมป์ก่อนหน้านั้น ที่เสนอซื้อหรือผนวกเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009490 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2255 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง
    .
    แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท"
    .
    การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
    .
    "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม
    .
    ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต
    .
    ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก
    .
    โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ
    .
    เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง
    .
    สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง . แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท" . การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา . "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม . ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว . ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต . ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ . ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก . โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ . เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง . สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2355 มุมมอง 0 รีวิว
  • การปฏิเสธเสียงประชามติ เรื่องกาสิโน มีเพียงเหตุผลเดียว คือ การไร้ซึ่งความกล้าหาญในทางการเมือง

    #กาสิโน #อยากเปิดกาสิโน #ทักษิณ #ไม่กล้าทำประชามติ #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    การปฏิเสธเสียงประชามติ เรื่องกาสิโน มีเพียงเหตุผลเดียว คือ การไร้ซึ่งความกล้าหาญในทางการเมือง #กาสิโน #อยากเปิดกาสิโน #ทักษิณ #ไม่กล้าทำประชามติ #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    Love
    Haha
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1711 มุมมอง 36 0 รีวิว
  • ♣ น้องรักทักษิณ ขออย่าค้าน เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ยิ่งทำล่าช้า และไม่จำเป็นต้องทำประชามติอีก เพราะการแถลงนโยบายต่อสภา ถือว่าได้มติจากประชาชนมาแล้ว
    #7ดอกจิก
    ♣ น้องรักทักษิณ ขออย่าค้าน เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ยิ่งทำล่าช้า และไม่จำเป็นต้องทำประชามติอีก เพราะการแถลงนโยบายต่อสภา ถือว่าได้มติจากประชาชนมาแล้ว #7ดอกจิก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17/1/68

    https://thaipublica.org
    Integrated Resort ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons
    กาสิโนซีรีส์ตอนที่แล้ว(จากบ่อน 1.0 ถึงกาสิโน 5.0) ได้พูดถึงวิวัฒนาการของบ่อนพนันในบ้านเรา

    จากยุค 1.0 "ยุคบ่อนบ้าน" ที่มีมาแต่อดีตกาล

    มายุค 2.0 "ยุคบ่อนเบี้ย" ที่ยาวนานจากสมัยอยุธยาจนถึงรัตน โกสินทร์ตอนต้นมาถึงยุค

    3.0 "ยุคของการปิดบ่อน" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ที่ต้องใช้เวลานานร่วม 30 ปีกว่าจะปิดบ่อนเบี้ยได้ทั่วราชอาณาจักร

    และมาถึงยุค 4.0 "ยุคของกาสิโนโดยรัฐบาล" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร ในปี พ.ศ.2475 ที่นำมาสู่การออกพ.ร.บ.การพนันในปี พ.ศ.2478 และนำมาสู่การทดลองเปิดกาสิโน 11 แห่งทั่วประเทศในปี 2481 ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จ แต่กลับมาเปิดจริงจังในอีก 7 ปีต่อมาในปี 2488
    ที่ปราณบุรี ที่เปิดได้เพียง 82 วันก็ต้องปิดตัวลง เพราะ "เอาไม่อยู่"กับปัญหาสังคมที่เกิดตามมา

    ก้าวสู่ยุค 5.0 "ยุคกาสิโนโดยกลุ่มทุน" กรณีศึกษาที่ทั่วโลกยอมรับมากที่สุด คือ "สิงคโปร์" มีเรื่องเล่าพาดพิงถึงชีวิตของบุคคล 2 คน คนแรกคือ "ลีกวนยู" แห่งสิงคโปร์ คนที่สอง คือ "สแตนลีย์ โฮ" แห่งมาเก้า คนหนึ่งคือผู้นำประเทศ คนหนึ่งคือเจ้าพ่อกาสิโน คนหนึ่งปฏิเสธกาสิโน คนหนึ่งร่ำรวยเพราะกาสิโน ทั้งคู่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่างกันเพียง 2 ปีสแตนลีย์ โฮ เกิดก่อนเมื่อปี พ.ศ.2464 ที่ฮ่องกงในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกจากภาวะสงครามโลกทำให้ครอบครัวเขาได้รับผลกระทบ โฮไม่ทันได้เรียนจบมหาวิทยาลัยก็ต้องเลิกเรียน ชีวิตต้องระหกระเหิน จนต้องลี้ภัยมาทำมาค้าขายอยู่ที่มาเก้า
    อายุ 27 ปี โฮได้แต่งงานกับลูกสาวของทนายความใหญ่ในมาเก้าที่มีสายสัมพันธ์กับเจ้าอาณานิคมโปรตุเกส

    10 ปีต่อมาพ่อตาได้ใช้เส้นสายช่วยให้โฮได้สัมปาทานกาสิโนในมาเก้า เป็นสัมปทานผูกขาดที่ยาวนานถึง 40 ปี สแตนลีย์ โฮ จึงเป็นเจ้าพ่อกาสิโนในมาเก้ามาจนถึงปี 2002 จนหมดอายุสัมปทาน เขาเป็นเจ้าของกาสิโนถึง 19 แห่ง

    การได้รับสัมปทานคือจุดสำคัญที่ทำให้โฮกลายเป็นมหาเศรษฐีขึ้นมา
    จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ โฮกล่าวว่า "ผมไม่เล่นพนัน" และเตือนด้วยว่า "อย่าหวังรวยจากการพนัน มันเป็นแค่เกมเท่านั้น"
    โฮจึงเหมือนคนปลูกผักที่ไม่กินผักที่ตัวเองปลูก เพราะรู้ดีว่ามันมีสารพิษ

    ด้วยความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจกาสิโน ทำให้โฮมองหาลู่ทางขยายอาณาจักรธุรกิจของตนเอง และพบที่หนึ่งที่น่าสนใจ เป็นประเทศเกิดใหม่ที่เพิ่งได้รับเอกราชและกำลังสร้างชาติ นั่นคือ สิงค โปร์ ที่มีผู้นำชื่อ "ลึกวนยู"

    วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรท์ เขียนถึงเรื่องราวการสร้างชาติสิงคโปร์ของลึกวนยูในหนังสือ "สร้างชาติจากศูนย์" ว่า ปี พ.ศ.2508 เกาะสิงคโปร์ถูกมาเลเซียปฏิเสธ "ไม่ให้ไปต่อ" ไม่รับสิงคโปร์เป็นรัฐหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียอีกต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ลีกวน ยู ที่ขณะนั้นอยู่ในวัยเพียง 35 ปี และเพิ่งชนะเลือกตั้งได้เป็นผู้บริหารรัฐสิงคโปร์ได้เพียง 2 ปีคาดไม่ถึงว่าจะถูกมาเลเซียตัดขาด เป็นเอกราชที่ไม่ได้ปรารถนา

    เพราะสิงคโปร์เป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ เป็นเพียงเมืองท่าที่เต็มไปด้วยชาวจีนอพยพกับยุงณ เวลานั้น ลีกวนยู กล่าวว่า "สิงคโปร์ไม่ควรจะดำรงอยู่ เราไม่มีฐาน ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเงินทุน ไม่มีวัตถุดิบอะไรเลยที่จะสร้างประเทศ" สิงคโปร์มีแต่ความเป็นเมืองท่าและมีคน
    ในอดีตสมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษ สิงคโปร์เต็มไปด้วยชาวจีนอพยพ และแน่นอนเต็มไปด้วยการเล่นพนัน 3 ปีหลังจากเป็นเอกราช ลีกวนยูประกาศให้การพนันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
    วินทร์ เรียววาริณ เล่าว่า "ลีกวนยูมองเห็นหายนะของการพนันมาตั้งแต่เด็ก พ่อของเขาติดพนัน และขอเครื่องทองของแม่ไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน ลีกวนยูจึงไม่เคยเล่นการพนัน และต่อต้านเรื่องนี้"

    ลีกวนยู จึงปฏิเสธข้อเสนอขอสร้างกาสิโนในสิงคโปร์ของสแตนลีย์ โฮ อย่างไม่สนใจใยดี และประกาศว่า "ขอสร้างชาติด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และจะไม่ขอพึ่งเงินจากการพนัน"

    สิงคโปร์เองในสมัยนั้นน่าจะไม่ต่างจากมาเก๊า ตรงที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นเมืองท่า หรืออาจจะไม่ต่างจากสปป.ลาวหรือกัมพูชา ที่บอบซ้ำกับสงครามคอมมิวนิสต์
    เพียงแต่ ลีกวนยู ไม่เลือกง้อเงินพนัน ขณะที่ผู้ปกครองมาเก้า ลาว และกัมพูชาคิดต่างออกไป ลีกวนยู ตั้งใจจะทำให้สิงคโปร์เป็น "First World Oasis" เป็นจุดแวะพักจุดแรกของชาวตะวันตกที่เดินทางมาทวีปเอเซียไม่น่าเชื่อว่า เพียง 8 ปีหลังจากได้รับเอกราชที่คาดไม่ถึง ลีกวนยู และชาวสิงคโปร์ทำงานอย่างหนัก เพื่อพัฒนาตัวเองเป็นเมืองท่าปลอดภาษี เป็นศูนย์กลางการบินและการเดินเรือ เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า และเป็นศูนย์กลางการเงิน

    ความสำเร็จของสิงคโปร์ นอกจากการทำงานหนักแล้วก็คือ

    * การมุ่งสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดี เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน

    * การบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาด ไม่มีสองมาตรฐาน

    * การปราบคอรัปชั้นอย่างจริงจัง

    * และการให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาคน" เพราะทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียวที่สิงคโปร์มีคือ "คน"การพยายามสร้างตัวเองให้เป็น "First World Oasis" ทำให้สิงคโปร์พยายามสร้างจุดดึงดูด นักท่องเที่ยวด้วย

    * โปรเจคมากมาย ถมทะเลเพื่อสร้างสนามบิน ถมทะเลเพื่อสร้างอ่าว ปลูกต้นไม้ทั้งเกาะให้เป็น "อุทยานนคร" และสร้างเมืองให้สะอาดและปลอดภัย สิงคโปร์จึงเต็มไปด้วย "ข้อห้ามและค่าปรับ" จนถูกกระแนะกระแหนว่า "Singapore is Fine country"

    จวบจนปลายทศวรรษ 1990 เมื่อทำทุกอย่างจนแทบไม่เหลืออะไรให้ทำอีกแล้ว จนประเทศมีระบบที่มีประสิทธิภาพและสะอาดมากจนเป็น ที่เลื่องลือ สิงคโปร์จึงยอมรับข้อเสนอเรื่องการเปิด "Integrated Resort" หรือรีสอร์ตแบบบูรณาการที่รวมเอากิจการหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยกัน รวมทั้งกาสิโน
    แต่นั่นไม่ใช่ในสมัยของลีกวนยู เป็นยุคของผู้นำรุ่นที่ 3 ที่มีชื่อว่า "ลีเซียนลุง" บุตรชายของเขาเอง ซึ่งลึกวนยู ก็ยังคงไม่เห็นด้วยกับการหวังเงินจากการพนันเช่นเคย

    สิ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลีกวนยู ยอมให้ลูกชายที่เป็นนายกรัฐมนตรีเปิดกาสิโน คือ งานวิจัยเพราะใช่ว่าชาวสิงคโปร์ทั้งหมดจะเห็นด้วยกับโปรเจคนี้ ถึงขนาดฝ่ายคัดค้านกดดันให้ ลีเซียนลุง จัดทำประชามติ แต่เขาปฏิเสธ ด้วย

    ข่าวจากทั่วทุกสารทิศทั่วโลกต่างรายงานถึงผลกระทบจากการมีกาสิโน
    ที่สหรัฐอเมริกา การเปิดกาสิโนมากมายที่เมืองแอตแลนติกซิตี้ มลรัฐนิวเจอร์ชีย์ ตามรอยของลาสเวกัส ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปีเดียว และ

    ปัจจุบันกาสิโนหลายแห่งทะยอยปิดตัวลง
    ที่มาเก้า เมื่อมีการเปิดกาสิโนเพิ่มขึ้นจาก 19 แห่งในยุคสแตนลีย์ โฮ ขยายเป็น 35 แห่งในยุคหลัง กาสิโนนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาประชากรแออัด ปัญหาจราจร มลพิษทางอากาศ เงินเฟ้อพุ่ง ค่าครองชีพและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้น ยังก่อให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในสังคมตามมา สำนักงานตำรวจของมาเก้า เปิดเผยว่าอาชญากรรมเกี่ยวกับการพนัน เพิ่มขึ้นถึง 37.8% ในช่วงเวลาเพียง 3ปี

    ที่สปป.ลาว รัฐบาลมีกฎหมายห้ามไม่ให้คนลาวเข้าเล่นการพนันในกาสิโนเด็ดขาด แต่การบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ ทำให้กาสิโนตามตะเข็บชายแดนรอบประเทศกลายเป็นสถานที่คุ้นเคยของประชาชนลาว ที่ "คิงส์โรมัน" สถานกาสิโนชื่อดัง พบว่านักพนันกว่า 60% ที่เข้าไปเล่นเป็นนักพนันชาวลาว

    เช่นเดียวกับที่กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้คนกัมพูชาเข้ากาสิโน แต่พบว่าคนกัมพูชา ในท้องถิ่นที่กาสิโนตั้งอยู่ต่างกรูกันเข้าไปเล่น
    นี่คือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ กับมาเก๊า สปป.ลาว กัมพูชา รวมถึงสหรัฐอเมริกา

    กาสิโนในยุค 5.0 จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารประเทศว่า จะสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กับความสงบสุขทางสังคมได้อย่างไร?
    17/1/68 https://thaipublica.org Integrated Resort ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons กาสิโนซีรีส์ตอนที่แล้ว(จากบ่อน 1.0 ถึงกาสิโน 5.0) ได้พูดถึงวิวัฒนาการของบ่อนพนันในบ้านเรา จากยุค 1.0 "ยุคบ่อนบ้าน" ที่มีมาแต่อดีตกาล มายุค 2.0 "ยุคบ่อนเบี้ย" ที่ยาวนานจากสมัยอยุธยาจนถึงรัตน โกสินทร์ตอนต้นมาถึงยุค 3.0 "ยุคของการปิดบ่อน" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ที่ต้องใช้เวลานานร่วม 30 ปีกว่าจะปิดบ่อนเบี้ยได้ทั่วราชอาณาจักร และมาถึงยุค 4.0 "ยุคของกาสิโนโดยรัฐบาล" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร ในปี พ.ศ.2475 ที่นำมาสู่การออกพ.ร.บ.การพนันในปี พ.ศ.2478 และนำมาสู่การทดลองเปิดกาสิโน 11 แห่งทั่วประเทศในปี 2481 ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จ แต่กลับมาเปิดจริงจังในอีก 7 ปีต่อมาในปี 2488 ที่ปราณบุรี ที่เปิดได้เพียง 82 วันก็ต้องปิดตัวลง เพราะ "เอาไม่อยู่"กับปัญหาสังคมที่เกิดตามมา ก้าวสู่ยุค 5.0 "ยุคกาสิโนโดยกลุ่มทุน" กรณีศึกษาที่ทั่วโลกยอมรับมากที่สุด คือ "สิงคโปร์" มีเรื่องเล่าพาดพิงถึงชีวิตของบุคคล 2 คน คนแรกคือ "ลีกวนยู" แห่งสิงคโปร์ คนที่สอง คือ "สแตนลีย์ โฮ" แห่งมาเก้า คนหนึ่งคือผู้นำประเทศ คนหนึ่งคือเจ้าพ่อกาสิโน คนหนึ่งปฏิเสธกาสิโน คนหนึ่งร่ำรวยเพราะกาสิโน ทั้งคู่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่างกันเพียง 2 ปีสแตนลีย์ โฮ เกิดก่อนเมื่อปี พ.ศ.2464 ที่ฮ่องกงในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกจากภาวะสงครามโลกทำให้ครอบครัวเขาได้รับผลกระทบ โฮไม่ทันได้เรียนจบมหาวิทยาลัยก็ต้องเลิกเรียน ชีวิตต้องระหกระเหิน จนต้องลี้ภัยมาทำมาค้าขายอยู่ที่มาเก้า อายุ 27 ปี โฮได้แต่งงานกับลูกสาวของทนายความใหญ่ในมาเก้าที่มีสายสัมพันธ์กับเจ้าอาณานิคมโปรตุเกส 10 ปีต่อมาพ่อตาได้ใช้เส้นสายช่วยให้โฮได้สัมปาทานกาสิโนในมาเก้า เป็นสัมปทานผูกขาดที่ยาวนานถึง 40 ปี สแตนลีย์ โฮ จึงเป็นเจ้าพ่อกาสิโนในมาเก้ามาจนถึงปี 2002 จนหมดอายุสัมปทาน เขาเป็นเจ้าของกาสิโนถึง 19 แห่ง การได้รับสัมปทานคือจุดสำคัญที่ทำให้โฮกลายเป็นมหาเศรษฐีขึ้นมา จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ โฮกล่าวว่า "ผมไม่เล่นพนัน" และเตือนด้วยว่า "อย่าหวังรวยจากการพนัน มันเป็นแค่เกมเท่านั้น" โฮจึงเหมือนคนปลูกผักที่ไม่กินผักที่ตัวเองปลูก เพราะรู้ดีว่ามันมีสารพิษ ด้วยความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจกาสิโน ทำให้โฮมองหาลู่ทางขยายอาณาจักรธุรกิจของตนเอง และพบที่หนึ่งที่น่าสนใจ เป็นประเทศเกิดใหม่ที่เพิ่งได้รับเอกราชและกำลังสร้างชาติ นั่นคือ สิงค โปร์ ที่มีผู้นำชื่อ "ลึกวนยู" วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรท์ เขียนถึงเรื่องราวการสร้างชาติสิงคโปร์ของลึกวนยูในหนังสือ "สร้างชาติจากศูนย์" ว่า ปี พ.ศ.2508 เกาะสิงคโปร์ถูกมาเลเซียปฏิเสธ "ไม่ให้ไปต่อ" ไม่รับสิงคโปร์เป็นรัฐหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียอีกต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ลีกวน ยู ที่ขณะนั้นอยู่ในวัยเพียง 35 ปี และเพิ่งชนะเลือกตั้งได้เป็นผู้บริหารรัฐสิงคโปร์ได้เพียง 2 ปีคาดไม่ถึงว่าจะถูกมาเลเซียตัดขาด เป็นเอกราชที่ไม่ได้ปรารถนา เพราะสิงคโปร์เป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ เป็นเพียงเมืองท่าที่เต็มไปด้วยชาวจีนอพยพกับยุงณ เวลานั้น ลีกวนยู กล่าวว่า "สิงคโปร์ไม่ควรจะดำรงอยู่ เราไม่มีฐาน ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเงินทุน ไม่มีวัตถุดิบอะไรเลยที่จะสร้างประเทศ" สิงคโปร์มีแต่ความเป็นเมืองท่าและมีคน ในอดีตสมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษ สิงคโปร์เต็มไปด้วยชาวจีนอพยพ และแน่นอนเต็มไปด้วยการเล่นพนัน 3 ปีหลังจากเป็นเอกราช ลีกวนยูประกาศให้การพนันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย วินทร์ เรียววาริณ เล่าว่า "ลีกวนยูมองเห็นหายนะของการพนันมาตั้งแต่เด็ก พ่อของเขาติดพนัน และขอเครื่องทองของแม่ไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน ลีกวนยูจึงไม่เคยเล่นการพนัน และต่อต้านเรื่องนี้" ลีกวนยู จึงปฏิเสธข้อเสนอขอสร้างกาสิโนในสิงคโปร์ของสแตนลีย์ โฮ อย่างไม่สนใจใยดี และประกาศว่า "ขอสร้างชาติด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และจะไม่ขอพึ่งเงินจากการพนัน" สิงคโปร์เองในสมัยนั้นน่าจะไม่ต่างจากมาเก๊า ตรงที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นเมืองท่า หรืออาจจะไม่ต่างจากสปป.ลาวหรือกัมพูชา ที่บอบซ้ำกับสงครามคอมมิวนิสต์ เพียงแต่ ลีกวนยู ไม่เลือกง้อเงินพนัน ขณะที่ผู้ปกครองมาเก้า ลาว และกัมพูชาคิดต่างออกไป ลีกวนยู ตั้งใจจะทำให้สิงคโปร์เป็น "First World Oasis" เป็นจุดแวะพักจุดแรกของชาวตะวันตกที่เดินทางมาทวีปเอเซียไม่น่าเชื่อว่า เพียง 8 ปีหลังจากได้รับเอกราชที่คาดไม่ถึง ลีกวนยู และชาวสิงคโปร์ทำงานอย่างหนัก เพื่อพัฒนาตัวเองเป็นเมืองท่าปลอดภาษี เป็นศูนย์กลางการบินและการเดินเรือ เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า และเป็นศูนย์กลางการเงิน ความสำเร็จของสิงคโปร์ นอกจากการทำงานหนักแล้วก็คือ * การมุ่งสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดี เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน * การบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาด ไม่มีสองมาตรฐาน * การปราบคอรัปชั้นอย่างจริงจัง * และการให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาคน" เพราะทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียวที่สิงคโปร์มีคือ "คน"การพยายามสร้างตัวเองให้เป็น "First World Oasis" ทำให้สิงคโปร์พยายามสร้างจุดดึงดูด นักท่องเที่ยวด้วย * โปรเจคมากมาย ถมทะเลเพื่อสร้างสนามบิน ถมทะเลเพื่อสร้างอ่าว ปลูกต้นไม้ทั้งเกาะให้เป็น "อุทยานนคร" และสร้างเมืองให้สะอาดและปลอดภัย สิงคโปร์จึงเต็มไปด้วย "ข้อห้ามและค่าปรับ" จนถูกกระแนะกระแหนว่า "Singapore is Fine country" จวบจนปลายทศวรรษ 1990 เมื่อทำทุกอย่างจนแทบไม่เหลืออะไรให้ทำอีกแล้ว จนประเทศมีระบบที่มีประสิทธิภาพและสะอาดมากจนเป็น ที่เลื่องลือ สิงคโปร์จึงยอมรับข้อเสนอเรื่องการเปิด "Integrated Resort" หรือรีสอร์ตแบบบูรณาการที่รวมเอากิจการหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยกัน รวมทั้งกาสิโน แต่นั่นไม่ใช่ในสมัยของลีกวนยู เป็นยุคของผู้นำรุ่นที่ 3 ที่มีชื่อว่า "ลีเซียนลุง" บุตรชายของเขาเอง ซึ่งลึกวนยู ก็ยังคงไม่เห็นด้วยกับการหวังเงินจากการพนันเช่นเคย สิ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลีกวนยู ยอมให้ลูกชายที่เป็นนายกรัฐมนตรีเปิดกาสิโน คือ งานวิจัยเพราะใช่ว่าชาวสิงคโปร์ทั้งหมดจะเห็นด้วยกับโปรเจคนี้ ถึงขนาดฝ่ายคัดค้านกดดันให้ ลีเซียนลุง จัดทำประชามติ แต่เขาปฏิเสธ ด้วย ข่าวจากทั่วทุกสารทิศทั่วโลกต่างรายงานถึงผลกระทบจากการมีกาสิโน ที่สหรัฐอเมริกา การเปิดกาสิโนมากมายที่เมืองแอตแลนติกซิตี้ มลรัฐนิวเจอร์ชีย์ ตามรอยของลาสเวกัส ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปีเดียว และ ปัจจุบันกาสิโนหลายแห่งทะยอยปิดตัวลง ที่มาเก้า เมื่อมีการเปิดกาสิโนเพิ่มขึ้นจาก 19 แห่งในยุคสแตนลีย์ โฮ ขยายเป็น 35 แห่งในยุคหลัง กาสิโนนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาประชากรแออัด ปัญหาจราจร มลพิษทางอากาศ เงินเฟ้อพุ่ง ค่าครองชีพและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้น ยังก่อให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยในสังคมตามมา สำนักงานตำรวจของมาเก้า เปิดเผยว่าอาชญากรรมเกี่ยวกับการพนัน เพิ่มขึ้นถึง 37.8% ในช่วงเวลาเพียง 3ปี ที่สปป.ลาว รัฐบาลมีกฎหมายห้ามไม่ให้คนลาวเข้าเล่นการพนันในกาสิโนเด็ดขาด แต่การบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ ทำให้กาสิโนตามตะเข็บชายแดนรอบประเทศกลายเป็นสถานที่คุ้นเคยของประชาชนลาว ที่ "คิงส์โรมัน" สถานกาสิโนชื่อดัง พบว่านักพนันกว่า 60% ที่เข้าไปเล่นเป็นนักพนันชาวลาว เช่นเดียวกับที่กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้คนกัมพูชาเข้ากาสิโน แต่พบว่าคนกัมพูชา ในท้องถิ่นที่กาสิโนตั้งอยู่ต่างกรูกันเข้าไปเล่น นี่คือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ กับมาเก๊า สปป.ลาว กัมพูชา รวมถึงสหรัฐอเมริกา กาสิโนในยุค 5.0 จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารประเทศว่า จะสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กับความสงบสุขทางสังคมได้อย่างไร?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1242 มุมมอง 0 รีวิว
  • พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด
    .
    ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ
    .
    ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ
    .
    เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ
    .
    ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284
    ..............
    Sondhi X
    พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด . ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ . ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง" . กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ . เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้" . กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ . ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1791 มุมมอง 0 รีวิว
  • เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน
    .
    วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน
    .
    "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ
    .
    วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว"
    .
    ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย
    .
    สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา
    .
    ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ
    .
    เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512
    ..............
    Sondhi X
    เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน . วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน . "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ . วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว" . ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย . สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา . ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ . เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1340 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปธ.วิปรัฐบาล ยืนยันร่างพท.พรุ่งนี้ยื่นเงื่อนไขไม่แตะต้องหมวด 1-2 ยังไม่มั่นใจเสียงสว.สนับสนุน บอกไม่ตั้งป้อมรบกับใคร คาดมีการทำประชามติ 2 ครั้ง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000001865

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ปธ.วิปรัฐบาล ยืนยันร่างพท.พรุ่งนี้ยื่นเงื่อนไขไม่แตะต้องหมวด 1-2 ยังไม่มั่นใจเสียงสว.สนับสนุน บอกไม่ตั้งป้อมรบกับใคร คาดมีการทำประชามติ 2 ครั้ง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000001865 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    9
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1361 มุมมอง 0 รีวิว
  • อยากเขี่ยทิ้งแทบขาดใจ แต่ทำได้แค่ยิ้มสยาม
    เรื่องการยุบสภา สถานการณ์ตอนนี้ ทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคประชาชนไม่มีใครพร้อมลงสนามเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล เพราะเรตติ้งไม่ค่อยดี ผลงานยังไม่มีเป็นชิ้นเป็นอัน
    ที่สําคัญพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะปลดล็อกมรดกเผด็จการสร้างกติกาที่ตัวเองได้เปรียบและเปลี่ยนมาเป็นคนกําหนดเกมบ้าง ซึ่งดูแล้วก็คงไม่ยากเพราะกระดูกก้อนโตชิ้นสําคัญ ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายค้านแต่อยู่ที่ฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย กองกําลังสีน้ําเงินที่สวมบท ภูมิใจขวางอยู่
    พรรคภูมิใจไทยไม่ได้หวงมรดก คสช แต่บ้านใหญ่บุรีรัมย์อ่านขาดว่าถ้าปล่อยให้ทําประชามติกันง่ายง่ายปูทางให้พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญสําเร็จ พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์เต็มเต็มพรรคเดียวแน่นอนและที่อาจจะเป็นของร้อนบั่นทอนอายุรัฐบาลได้ก็คือสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทักษิณกลับมาเล่นการเมืองได้อีกครั้ง จับอาการที่ แม้วเดินสายไฮปาร์ค ดูออกว่าคันไม้คันมืออยากจะลงสนามเองเพราะมันคล่องตัวกว่าการให้คนอื่นเป็น
    ถ้ามีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จริง โดยมีปมร้อนร้อนดังกล่าว จะกลายเป็นการหาเงื่อนไขให้ฝ่ายต้านระดมคนออกมาบนท้องถนนอีกครั้ง แต่ค่ายสีน้ําเงินยังต้องการเสวยสุขอยู่ในอํานาจ ฉะนั้นอะไรที่มันร้อนมันเสี่ยง ก็สวมบทภูมิใจขวางแบบเนียนเนียนทุกเรื่อง
    ขณะที่พรรคเพื่อไทยและนายใหญ่ ต่อให้จะอึดอัดกับบทบาทของพรรคภูมิใจไทยแค่ไหน ก็ยากที่จะเขี่ยทิ้งเหมือนในสิ่งที่ใจต้องการได้ สมการการเมืองในวันนี้ไม่มีทางเลือกให้พรรคเพื่อไทยมากนัก ถ้าไม่เอาพรรคภูมิใจไทย ไม่เอารวมไทยสร้างชาติ
    พรรคเพื่อไทยจะไปหาเสียงส.ส.ในสภามาจากไหน ในเมื่อไฟท์บังคับมาแล้วว่าจับกับใครก็ได้ แต่ห้ามจับกับพรรคประชาชนเด็ดขาด แค่สมการนี้ก็จบเห่
    ถึงอย่างไรก็ต้องอดทนอดกลั้นอยู่กันไปแบบตบหัวลูบหลังแบบนี้กันไปเรื่อยเรื่อยสิ่งที่พรรคเพื่อไทยทํากับพรรคภูมิใจไทยได้มากที่สุด มีแค่เพียงบีบ กดดันบั่นทอนอํานาจต่อรองไม่ให้สวมบทภูมิใจขวางได้มากนัก เช่นเดียวกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่แม้หัวหน้าพรรคจะทําตัวเป็นเอกเทศหลายเรื่องก็ขวางแบบเนียนเนียนตามประสาพรรคอนุรักษ์นิยมจ๋า แต่จะเขี่ยทิ้ง ก็ยากเพราะเป็นองคาพยพสําคัญที่ทําให้การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยสําเร็จ การไปเขี่ยทิ้งก็เท่ากับเปิดศึกกับผู้คุมดุลอํานาจในประเทศตอนนี้
    ติดตามข่าวซีฟๆแบบนี้ได้ที่
    #คิงส์โพธิ์ดำ
    อยากเขี่ยทิ้งแทบขาดใจ แต่ทำได้แค่ยิ้มสยาม เรื่องการยุบสภา สถานการณ์ตอนนี้ ทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคประชาชนไม่มีใครพร้อมลงสนามเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล เพราะเรตติ้งไม่ค่อยดี ผลงานยังไม่มีเป็นชิ้นเป็นอัน ที่สําคัญพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะปลดล็อกมรดกเผด็จการสร้างกติกาที่ตัวเองได้เปรียบและเปลี่ยนมาเป็นคนกําหนดเกมบ้าง ซึ่งดูแล้วก็คงไม่ยากเพราะกระดูกก้อนโตชิ้นสําคัญ ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายค้านแต่อยู่ที่ฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย กองกําลังสีน้ําเงินที่สวมบท ภูมิใจขวางอยู่ พรรคภูมิใจไทยไม่ได้หวงมรดก คสช แต่บ้านใหญ่บุรีรัมย์อ่านขาดว่าถ้าปล่อยให้ทําประชามติกันง่ายง่ายปูทางให้พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญสําเร็จ พรรคเพื่อไทยได้ประโยชน์เต็มเต็มพรรคเดียวแน่นอนและที่อาจจะเป็นของร้อนบั่นทอนอายุรัฐบาลได้ก็คือสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทักษิณกลับมาเล่นการเมืองได้อีกครั้ง จับอาการที่ แม้วเดินสายไฮปาร์ค ดูออกว่าคันไม้คันมืออยากจะลงสนามเองเพราะมันคล่องตัวกว่าการให้คนอื่นเป็น ถ้ามีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จริง โดยมีปมร้อนร้อนดังกล่าว จะกลายเป็นการหาเงื่อนไขให้ฝ่ายต้านระดมคนออกมาบนท้องถนนอีกครั้ง แต่ค่ายสีน้ําเงินยังต้องการเสวยสุขอยู่ในอํานาจ ฉะนั้นอะไรที่มันร้อนมันเสี่ยง ก็สวมบทภูมิใจขวางแบบเนียนเนียนทุกเรื่อง ขณะที่พรรคเพื่อไทยและนายใหญ่ ต่อให้จะอึดอัดกับบทบาทของพรรคภูมิใจไทยแค่ไหน ก็ยากที่จะเขี่ยทิ้งเหมือนในสิ่งที่ใจต้องการได้ สมการการเมืองในวันนี้ไม่มีทางเลือกให้พรรคเพื่อไทยมากนัก ถ้าไม่เอาพรรคภูมิใจไทย ไม่เอารวมไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อไทยจะไปหาเสียงส.ส.ในสภามาจากไหน ในเมื่อไฟท์บังคับมาแล้วว่าจับกับใครก็ได้ แต่ห้ามจับกับพรรคประชาชนเด็ดขาด แค่สมการนี้ก็จบเห่ ถึงอย่างไรก็ต้องอดทนอดกลั้นอยู่กันไปแบบตบหัวลูบหลังแบบนี้กันไปเรื่อยเรื่อยสิ่งที่พรรคเพื่อไทยทํากับพรรคภูมิใจไทยได้มากที่สุด มีแค่เพียงบีบ กดดันบั่นทอนอํานาจต่อรองไม่ให้สวมบทภูมิใจขวางได้มากนัก เช่นเดียวกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่แม้หัวหน้าพรรคจะทําตัวเป็นเอกเทศหลายเรื่องก็ขวางแบบเนียนเนียนตามประสาพรรคอนุรักษ์นิยมจ๋า แต่จะเขี่ยทิ้ง ก็ยากเพราะเป็นองคาพยพสําคัญที่ทําให้การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยสําเร็จ การไปเขี่ยทิ้งก็เท่ากับเปิดศึกกับผู้คุมดุลอํานาจในประเทศตอนนี้ ติดตามข่าวซีฟๆแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 767 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น

    วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ

    มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359

    #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น • วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ • มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359 • #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    MGRONLINE.COM
    เปิดร่างแก้ รธน.ฉบับพรรคส้ม อ้างล้างมรดก คสช. รื้อหมวด 1 หมวด 2 ตั้ง สสร.200 คน นักการเมืองโดนแบนสมัครได้
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร. 200 คน ให้สิทธิ “นักการเมือง” ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัครสสร.ได้ ขีดเส้นทำรธน.ใ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 566 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่
    .
    สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี
    .
    วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้
    .
    “สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน"
    .
    ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ
    .
    "วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์"
    .
    กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง
    .
    นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก"
    นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว
    .
    นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง"
    “ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน
    .
    นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง”
    การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา
    .
    "ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น
    .
    "ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน”
    .
    - “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก
    .
    - “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง
    .
    “วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป
    .
    “เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน
    .
    คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา”
    .
    ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป
    ...............
    Sondhi X
    "เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่ . สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี . วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้ . “สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน" . ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ . "วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์" . กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง . นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก" นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว . นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง" “ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน . นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง” การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา . "ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น . "ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน” . - “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก . - “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง . “วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป . “เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน . คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา” . ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป ............... Sondhi X
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2493 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”, ฉายานายกฯ “แพทองโพย“ 7 รมต.ติดโผ ”บิ๊กอ้วน,อนุทิน,ทวี“ - พ่วง3รมต.โลกลืม
    .
    เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาล โดยปราศจากอคติส่วนตัว ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล จึงมีมติร่วมกันตั้งฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และวาทะแห่งปี ประจำปี 2567 ดังนี้
    .
    ฉายารัฐบาล รัฐบาล“พ่อ“เลี้ยง
    ด้วยความเป็น “พ่อ” ของหัวหน้ารัฐบาล ยี่ห้อ "ทักษิณ ชินวัตร" ขึ้นชื่อดีกรีความรักลูกไม่น้อยหน้าใคร ทั้งปกป้อง เลี้ยงดู อุ้มชู ปูทาง จนได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศ เป็นลูกไม้หล่นใต้ต้น ที่มี DNA
    เดียวกันเป๊ะ จนไม่พ้นเสียงครหา รัฐบาลนี้ "พ่อคิด ลูกทำ"
    และไม่ใช่แค่การเลี้ยงดูลูกในสนามการเมืองเท่านั้น ยังลามไปถึงวาทะเลี้ยง "มาม่า" พรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จนสะเทือนเลื่อนลั่น สะท้อนบทแบ็กอัพที่ไม่ใช่เลี้ยงลูกตัวเองเท่านั้น แต่เลี้ยงรัฐบาลให้เดินอยู่ในรอยด้วย
    .
    1.น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
    ฉายา แพทองโพย
    ล้อมาจากชื่อของนายกฯ
    “แพทองธาร” กับประเด็นดรามา "ไอแพด" คู่ใจ โพยยุคไอที ถือติดมือได้ทุกที่ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว พกโพยเครื่องเดียวอ่าน จด โหลดข้อมูลเสร็จสรรพ จนเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมเมื่อยกขึ้นอ่าน ระหว่างพบผู้นำ แขกต่างชาติ กลายเป็นประเด็นตอบโต้เผ็ดร้อนกับชาวเน็ต และตอกย้ำแบบโนสนโนแคร์ด้วยภาพชูไอแพดคู่ใจ ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือแม้แต่ยกไอแพด ขึ้นอ่านแถลงข่าวการระบายน้ำภาคเหนือ ลงสู่แม่น้ำโขง จนถูกวิจารณ์ยกใหญ่
    .
    2.นายภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​ และ​รมว.กลาโหม
    ฉายา สหายใหญ่ใส่บู๊ต
    รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ติดโผได้รับฉายาไม่ไม่ขาด
    “สหายใหญ่” ในเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 วันนั้น สู่ "บิ๊กอ้วน" แห่งกองทัพไทยในวันนี้ ปรับโฉมกุนซือการเมือง มายกมือตะเบ๊ะ เสื้อตึงเป๊ะ ใส่
    "ท็อปบูต"นั่งเก้าอี้กลาโหม จากที่เคยอยู่กันคนละฝั่ง วันนี้ต้องคุมบังเหียนมาทำงานร่วมกับเหล่าทหาร ส่งท้ายปีจับมือท็อปบู้ตพากันลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม และยังต้องรับบทหนัก ถึงหนักมาก คอยระวังหลังให้กับ "นายกฯอิ๊งค์" อีกด้วย
    .
    3.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย
    ฉายา ภูมิใจขวาง
    นอกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ยังสวมหมวกหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ทำงาน 3 เดือนใน “รัฐบาลแพทองธาร” สร้างสีสันจากบุคลิกและสไตล์การพูดหยิกแกมหยอก พร้อมสโลแกนขอทำงานไม่ขัดแย้งใคร แต่นับจากลงเรือร่วมรัฐบาล มียกมือค้านทั้งร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ของสส.พรรคแกนนำ ล่าสุดโหวตสวนร่างพ.ร.บ.ประชามติ เห็นต่างจาก
    พรรครัฐบาล ต้องจับตาบทบาทจากนี้“รมต.หนู“จะปล่อยของ โชว์ลีลา สร้างผลงาน ให้ประทับใจอย่างไร
    .
    4. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน
    ฉายา พีระพัง
    พังอุดมการณ์จากพรรคขั้วตรงข้าม “ชินวัตร“ ตกลงปลงใจมาจับมือร่วมรัฐบาล “นายกฯอิ๊งค์“คว้าเก้าอี้รัฐมนตรีคุมกระทรวงใหญ่ ถูกคาดหวังจะมาแก้ปมเรื่องพลังงาน ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำมันถูกลง เจ้าตัวยังหมายมั่นปั้นมือประกาศแก้กฎหมายรื้อโครงสร้างภาษีน้ำมัน จนเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน หรือจะซุ่มทำเงียบๆ งานนี้สังคมช่วยลุ้นจะทำได้ทันรัฐบาลนี้ หรือจะพังพับไปก่อน
    ด้านงานการเมืองยุค “หัวหน้าพี“คุมบังเหียน “รวมไทยสร้างชาติ”ดูยิ่งโลว์โปรไฟล์ จัดกิจกรรมพรรคได้เงียบกริบตามสไตล์ จนเกิดกระแสข่าวรอยร้าวภายใน ถูกจับจ้องถึงสัมพันธภาพกับลูกพรรค จะกอดคอรักกันนานแค่ไหน
    .
    5.พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง​รมว.ยุติธรรม
    ฉายา ทวีไอพี
    ล็อกเป้าคุมเก้าอี้กระทรวงยุติธรรม เรียกได้ว่าเลื่อยขาเก้าอี้ไม่มีสั่น ไม่บอกก็รู้ว่า “นายใหญ่” ไว้ใจแค่ไหน นับตั้งแต่ภารกิจพานายใหญ่กลับบ้าน ถึงอีพี 2 ส่งนายใหญ่ขึ้น “ชั้น 14” ครองเตียง “วีไอพี” แทนนอนเรือนจำถึงได้พักโทษ ทำให้สังคมมองว่าเป็นนักโทษวีไอพี
    ต่อเนื่องที่เร่งออกระเบียบคุมตัวนอกเรือนจำ เสียงลือ
    แซ่ดเตรียมปูทางสำหรับ “วีไอพีหญิง“ตามรอยพี่ชายหรือไม่ เมื่อเดินงานเข้าตา พ.ต.อ.ทวี น่าจะถือบัตรวีไอพี ยึดเก้าอี้รัฐมนตรี ไปอีกยาว
    .
    6.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ฉายา ประชาธิเป๋
    แปะยี่ห้อ “ประชาธิปัตย์” รั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประกาศพาค่ายสะตอกลับมายิ่งใหญ่ ไปๆมาๆ พลิกหนีบทฝ่ายค้าน ไม่ติดอดีต ไม่ฟาดฟันทางการเมือง กลืนอุดมการณ์คู่ปรับนับทศวรรษกับ “เพื่อไทย” กระโดดมาร่วมรัฐบาล เดินเป๋จากเส้นทางอุดมการณ์กว่า 70 ปี จนได้ตั๋วคุมงานกระทรวงใหญ่ แต่ผลงาน ได้เห็นเค้าแค่ลางๆยังไม่ชัดเจน
    .
    7.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม
    ฉายา รวม(เพื่อ)ไทยอ้างชาติ
    เรื่องจริงหรือฝัน ทำบรรดาแม่ยก แทบไม่เชื่อสายตา ว่า "ขิง เอกนัฏ" คีย์แมนรทสช.ต้องยอมทำเพื่อชาติ ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย เคลียร์ประเด็นคุณสมบัติคนเคยมีคดี ก่อนนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแบบใสๆ ภายใต้การนำของ"คนชินวัตร“ลั่นในใจไม่ลบ ไม่เคยลืมอดีต ก่อนยก
    วาทะเด็ด “ต้องทำงานโดยคิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก ถ้าคิดถึงบ้านเมือง ก็ทำงานร่วมกันได้” ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง เร่งโชว์ผลงานเดินเครื่องกวาดล้างโรงงานเถื่อน สารเคมีอันตราย ให้เข้าตาประชาชน
    .
    8.น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ฉายา จิราพอ(ล)
    จาก สส.รุ่นใหม่ดาวเด่นในสภา พูดจาฉะฉาน ถูกคาดหวังจะเฉิดฉายเมื่อนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ช่วยปรับโฉมงานของรัฐบาล เพราะคุมทั้งสื่อรัฐ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ. )แต่งานกลับเดินไปเนิบๆ
    สังคมมาถึงบางอ้อว่ารมต.น้ำ นั่งคุมสคบ.จากคดีดัง “ดิไอคอน กรุ๊ป”และ “บอสพอล” ถึงได้จังหวะโชว์ผลงาน ทั้งที่ขึ้นชั้นรมต.มาตั้งแต่ปลายรัฐบาลเศรษฐา จนถูกตั้งคำถามเรื่องการทำงาน ขึ้นปีใหม่จะเร่งเครื่องไปต่อ หรือพอใจจะทำงานเงียบๆ แบบสโลไลฟ์
    .
    กลุ่ม “รมต.โลกลืม”
    นายสุชาติ ชมกลิ่นรมช.พาณิชย์
    พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ
    นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช. พาณิชย์
    ทั้ง3คน มีบทบาท ได้คุมกระทรวงเกรดเอ ทั้งเรื่องการค้าและการศึกษา ผ่านเก้าอี้รมต.ที่เป็นประตูปูทาง
    สร้างงานให้โดดเด่นได้ แต่ผลงาน3 เดือนในรัฐบาล กลับไม่เปรี้ยงแต่เงียบกริบ จนประชาชนเรียกหาให้สตาร์ทเครื่อง ตีปี๊บผลงาน รับศักราชใหม่ สลัดครหารัฐมนตรีโลกลืม
    .
    วาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”
    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการลงพื้นติดตามการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำท่วม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 ซึ่งถูกตั้งคำถามจากสังคม เปรียบเทียบการลงพื้นที่เพื่อฟื้นฟูภาคเหนือของนายกฯแต่อาจละเลยพี่น้องภาคใต้ ที่ถูกน้ำท่วม
    นายกฯชี้แจงย้ำหนักแน่น ไม่ได้ละเลยคนใต้ ด้วยประโยคว่า “โอ้ คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้นะคะ”ยืนยันคำตอบจากใจ ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับประชาชนภาคใด เพราะเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ
    .
    คำตอบของนายกฯยังไม่ใช่เหตุผลที่ตรงใจชาวโซเชียล จึงไม่วายถูกตั้งข้อสงสัยว่าเหตุที่ไม่ลงใต้ เพราะภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ไร้ที่นั่งสส.มานาน ถึงกับถามย้ำๆขอฟังชัดๆ จะลงใต้เมื่อไหร่ กระทั่งนายกฯกลับจากเยือนประเทศมาเลเซีย ช่วงฝนเทภาคใต้รอบสอง จึงเปลี่ยนใจ บินลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 17 ธ.ค.2567 จากที่ตั้งใจจะลงไปในช่วงการฟื้นฟู
    .
    ขึ้นศักราชใหม่ หัวหน้ารัฐบาลประกาศ “โอกาสไทย ทำได้จริง” เป็นคำมั่นที่ประชาชน รอติดตาม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000122816
    ..............
    Sondhi X
    สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”, ฉายานายกฯ “แพทองโพย“ 7 รมต.ติดโผ ”บิ๊กอ้วน,อนุทิน,ทวี“ - พ่วง3รมต.โลกลืม . เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาล โดยปราศจากอคติส่วนตัว ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล จึงมีมติร่วมกันตั้งฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และวาทะแห่งปี ประจำปี 2567 ดังนี้ . ฉายารัฐบาล รัฐบาล“พ่อ“เลี้ยง ด้วยความเป็น “พ่อ” ของหัวหน้ารัฐบาล ยี่ห้อ "ทักษิณ ชินวัตร" ขึ้นชื่อดีกรีความรักลูกไม่น้อยหน้าใคร ทั้งปกป้อง เลี้ยงดู อุ้มชู ปูทาง จนได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศ เป็นลูกไม้หล่นใต้ต้น ที่มี DNA เดียวกันเป๊ะ จนไม่พ้นเสียงครหา รัฐบาลนี้ "พ่อคิด ลูกทำ" และไม่ใช่แค่การเลี้ยงดูลูกในสนามการเมืองเท่านั้น ยังลามไปถึงวาทะเลี้ยง "มาม่า" พรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จนสะเทือนเลื่อนลั่น สะท้อนบทแบ็กอัพที่ไม่ใช่เลี้ยงลูกตัวเองเท่านั้น แต่เลี้ยงรัฐบาลให้เดินอยู่ในรอยด้วย . 1.น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ฉายา แพทองโพย ล้อมาจากชื่อของนายกฯ “แพทองธาร” กับประเด็นดรามา "ไอแพด" คู่ใจ โพยยุคไอที ถือติดมือได้ทุกที่ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว พกโพยเครื่องเดียวอ่าน จด โหลดข้อมูลเสร็จสรรพ จนเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมเมื่อยกขึ้นอ่าน ระหว่างพบผู้นำ แขกต่างชาติ กลายเป็นประเด็นตอบโต้เผ็ดร้อนกับชาวเน็ต และตอกย้ำแบบโนสนโนแคร์ด้วยภาพชูไอแพดคู่ใจ ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือแม้แต่ยกไอแพด ขึ้นอ่านแถลงข่าวการระบายน้ำภาคเหนือ ลงสู่แม่น้ำโขง จนถูกวิจารณ์ยกใหญ่ . 2.นายภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​ และ​รมว.กลาโหม ฉายา สหายใหญ่ใส่บู๊ต รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ติดโผได้รับฉายาไม่ไม่ขาด “สหายใหญ่” ในเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 วันนั้น สู่ "บิ๊กอ้วน" แห่งกองทัพไทยในวันนี้ ปรับโฉมกุนซือการเมือง มายกมือตะเบ๊ะ เสื้อตึงเป๊ะ ใส่ "ท็อปบูต"นั่งเก้าอี้กลาโหม จากที่เคยอยู่กันคนละฝั่ง วันนี้ต้องคุมบังเหียนมาทำงานร่วมกับเหล่าทหาร ส่งท้ายปีจับมือท็อปบู้ตพากันลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม และยังต้องรับบทหนัก ถึงหนักมาก คอยระวังหลังให้กับ "นายกฯอิ๊งค์" อีกด้วย . 3.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ฉายา ภูมิใจขวาง นอกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ยังสวมหมวกหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ทำงาน 3 เดือนใน “รัฐบาลแพทองธาร” สร้างสีสันจากบุคลิกและสไตล์การพูดหยิกแกมหยอก พร้อมสโลแกนขอทำงานไม่ขัดแย้งใคร แต่นับจากลงเรือร่วมรัฐบาล มียกมือค้านทั้งร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ของสส.พรรคแกนนำ ล่าสุดโหวตสวนร่างพ.ร.บ.ประชามติ เห็นต่างจาก พรรครัฐบาล ต้องจับตาบทบาทจากนี้“รมต.หนู“จะปล่อยของ โชว์ลีลา สร้างผลงาน ให้ประทับใจอย่างไร . 4. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ฉายา พีระพัง พังอุดมการณ์จากพรรคขั้วตรงข้าม “ชินวัตร“ ตกลงปลงใจมาจับมือร่วมรัฐบาล “นายกฯอิ๊งค์“คว้าเก้าอี้รัฐมนตรีคุมกระทรวงใหญ่ ถูกคาดหวังจะมาแก้ปมเรื่องพลังงาน ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำมันถูกลง เจ้าตัวยังหมายมั่นปั้นมือประกาศแก้กฎหมายรื้อโครงสร้างภาษีน้ำมัน จนเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน หรือจะซุ่มทำเงียบๆ งานนี้สังคมช่วยลุ้นจะทำได้ทันรัฐบาลนี้ หรือจะพังพับไปก่อน ด้านงานการเมืองยุค “หัวหน้าพี“คุมบังเหียน “รวมไทยสร้างชาติ”ดูยิ่งโลว์โปรไฟล์ จัดกิจกรรมพรรคได้เงียบกริบตามสไตล์ จนเกิดกระแสข่าวรอยร้าวภายใน ถูกจับจ้องถึงสัมพันธภาพกับลูกพรรค จะกอดคอรักกันนานแค่ไหน . 5.พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง​รมว.ยุติธรรม ฉายา ทวีไอพี ล็อกเป้าคุมเก้าอี้กระทรวงยุติธรรม เรียกได้ว่าเลื่อยขาเก้าอี้ไม่มีสั่น ไม่บอกก็รู้ว่า “นายใหญ่” ไว้ใจแค่ไหน นับตั้งแต่ภารกิจพานายใหญ่กลับบ้าน ถึงอีพี 2 ส่งนายใหญ่ขึ้น “ชั้น 14” ครองเตียง “วีไอพี” แทนนอนเรือนจำถึงได้พักโทษ ทำให้สังคมมองว่าเป็นนักโทษวีไอพี ต่อเนื่องที่เร่งออกระเบียบคุมตัวนอกเรือนจำ เสียงลือ แซ่ดเตรียมปูทางสำหรับ “วีไอพีหญิง“ตามรอยพี่ชายหรือไม่ เมื่อเดินงานเข้าตา พ.ต.อ.ทวี น่าจะถือบัตรวีไอพี ยึดเก้าอี้รัฐมนตรี ไปอีกยาว . 6.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉายา ประชาธิเป๋ แปะยี่ห้อ “ประชาธิปัตย์” รั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประกาศพาค่ายสะตอกลับมายิ่งใหญ่ ไปๆมาๆ พลิกหนีบทฝ่ายค้าน ไม่ติดอดีต ไม่ฟาดฟันทางการเมือง กลืนอุดมการณ์คู่ปรับนับทศวรรษกับ “เพื่อไทย” กระโดดมาร่วมรัฐบาล เดินเป๋จากเส้นทางอุดมการณ์กว่า 70 ปี จนได้ตั๋วคุมงานกระทรวงใหญ่ แต่ผลงาน ได้เห็นเค้าแค่ลางๆยังไม่ชัดเจน . 7.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ฉายา รวม(เพื่อ)ไทยอ้างชาติ เรื่องจริงหรือฝัน ทำบรรดาแม่ยก แทบไม่เชื่อสายตา ว่า "ขิง เอกนัฏ" คีย์แมนรทสช.ต้องยอมทำเพื่อชาติ ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย เคลียร์ประเด็นคุณสมบัติคนเคยมีคดี ก่อนนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแบบใสๆ ภายใต้การนำของ"คนชินวัตร“ลั่นในใจไม่ลบ ไม่เคยลืมอดีต ก่อนยก วาทะเด็ด “ต้องทำงานโดยคิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก ถ้าคิดถึงบ้านเมือง ก็ทำงานร่วมกันได้” ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง เร่งโชว์ผลงานเดินเครื่องกวาดล้างโรงงานเถื่อน สารเคมีอันตราย ให้เข้าตาประชาชน . 8.น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฉายา จิราพอ(ล) จาก สส.รุ่นใหม่ดาวเด่นในสภา พูดจาฉะฉาน ถูกคาดหวังจะเฉิดฉายเมื่อนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ช่วยปรับโฉมงานของรัฐบาล เพราะคุมทั้งสื่อรัฐ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ. )แต่งานกลับเดินไปเนิบๆ สังคมมาถึงบางอ้อว่ารมต.น้ำ นั่งคุมสคบ.จากคดีดัง “ดิไอคอน กรุ๊ป”และ “บอสพอล” ถึงได้จังหวะโชว์ผลงาน ทั้งที่ขึ้นชั้นรมต.มาตั้งแต่ปลายรัฐบาลเศรษฐา จนถูกตั้งคำถามเรื่องการทำงาน ขึ้นปีใหม่จะเร่งเครื่องไปต่อ หรือพอใจจะทำงานเงียบๆ แบบสโลไลฟ์ . กลุ่ม “รมต.โลกลืม” นายสุชาติ ชมกลิ่นรมช.พาณิชย์ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช. พาณิชย์ ทั้ง3คน มีบทบาท ได้คุมกระทรวงเกรดเอ ทั้งเรื่องการค้าและการศึกษา ผ่านเก้าอี้รมต.ที่เป็นประตูปูทาง สร้างงานให้โดดเด่นได้ แต่ผลงาน3 เดือนในรัฐบาล กลับไม่เปรี้ยงแต่เงียบกริบ จนประชาชนเรียกหาให้สตาร์ทเครื่อง ตีปี๊บผลงาน รับศักราชใหม่ สลัดครหารัฐมนตรีโลกลืม . วาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้” น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการลงพื้นติดตามการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำท่วม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 ซึ่งถูกตั้งคำถามจากสังคม เปรียบเทียบการลงพื้นที่เพื่อฟื้นฟูภาคเหนือของนายกฯแต่อาจละเลยพี่น้องภาคใต้ ที่ถูกน้ำท่วม นายกฯชี้แจงย้ำหนักแน่น ไม่ได้ละเลยคนใต้ ด้วยประโยคว่า “โอ้ คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้นะคะ”ยืนยันคำตอบจากใจ ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับประชาชนภาคใด เพราะเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ . คำตอบของนายกฯยังไม่ใช่เหตุผลที่ตรงใจชาวโซเชียล จึงไม่วายถูกตั้งข้อสงสัยว่าเหตุที่ไม่ลงใต้ เพราะภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ไร้ที่นั่งสส.มานาน ถึงกับถามย้ำๆขอฟังชัดๆ จะลงใต้เมื่อไหร่ กระทั่งนายกฯกลับจากเยือนประเทศมาเลเซีย ช่วงฝนเทภาคใต้รอบสอง จึงเปลี่ยนใจ บินลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 17 ธ.ค.2567 จากที่ตั้งใจจะลงไปในช่วงการฟื้นฟู . ขึ้นศักราชใหม่ หัวหน้ารัฐบาลประกาศ “โอกาสไทย ทำได้จริง” เป็นคำมั่นที่ประชาชน รอติดตาม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000122816 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    8
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2333 มุมมอง 1 รีวิว
Pages Boosts