• แม้งานจะยุ่งแค่ไหน...ชีวิตก็ยัง #EESY เพราะไม่ busy!
    3 ตัวช่วยคู่ครัว ที่แม่บ้านยุคใหม่ต้องมี

    EESY CLEAN ขจัดคราบมัน – คราบแน่นแค่ไหน ก็ออกง่ายในพริบตา
    🍽 EESY CLEAN ล้างจาน – ล้างสะอาด ไม่ต้องเปลืองแรง
    ไบโอแซน ทีพีไอ – จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์

    ครบจบเรื่องครัว ชีวิตดีแบบ EESY ทุกวัน!

    #EESYCLEAN #EESYไม่Busy #ของมันต้องมี #ของใช้ในบ้าน #แม่บ้านยุคใหม่ #เคล็ดลับแม่บ้าน #ครัวสะอาด #ล้างจานง่าย #ขจัดคราบมัน #บำบัดน้ำเสีย #ไบโอแซน #ของดีบอกต่อ #รีวิวของใช้ในบ้าน #TPIผลิตภัณฑ์
    #แม่บ้านTikTok #TidyTok #ทำความสะอาดบ้าน #ชีวิตง่ายขึ้น #ชีวิตEESYทุกวัน
    💥แม้งานจะยุ่งแค่ไหน...ชีวิตก็ยัง #EESY เพราะไม่ busy! 3 ตัวช่วยคู่ครัว ที่แม่บ้านยุคใหม่ต้องมี👇 🧼 EESY CLEAN ขจัดคราบมัน – คราบแน่นแค่ไหน ก็ออกง่ายในพริบตา 🍽 EESY CLEAN ล้างจาน – ล้างสะอาด ไม่ต้องเปลืองแรง 🚿 ไบโอแซน ทีพีไอ – จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ✨ ครบจบเรื่องครัว ชีวิตดีแบบ EESY ทุกวัน! #EESYCLEAN #EESYไม่Busy #ของมันต้องมี #ของใช้ในบ้าน #แม่บ้านยุคใหม่ #เคล็ดลับแม่บ้าน #ครัวสะอาด #ล้างจานง่าย #ขจัดคราบมัน #บำบัดน้ำเสีย #ไบโอแซน #ของดีบอกต่อ #รีวิวของใช้ในบ้าน #TPIผลิตภัณฑ์ #แม่บ้านTikTok #TidyTok #ทำความสะอาดบ้าน #ชีวิตง่ายขึ้น #ชีวิตEESYทุกวัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 284 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทความเก่าขอนำมาโพสอีกครั้ง
    ----------------------------
    สงครามน้ำจะมาถึงในไม่ช้า
    นี่เป็นคำพยากรณ์...
    .
    อันที่จริงผมพูดเรื่องนี้มานานแล้วตั้งแต่ราวปี 2003 ผมเคยพยายามที่จะทำโครงการหนึ่งชื่อ Voices of Asia รวมทั้งเคยหาข้อมูลเพื่อทำสารคดีเรื่องแม่น้ำ.. มันไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำ แต่ยังคงเป็นสิ่งที่วนเวียนหลอกหลอนอยู่ในความคิดผมเสมอมา ความกังวลนี้มาจากการได้อ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาวิกฤติน้ำในเอธิโอเปียในช่วงเวลานั้น
    .
    แม่น้ำไนล์ เป็นที่รู้ดีมานานแล้วว่า คือกระแสโลหิตที่หล่อเลี้ยงแอฟริกาตอนบน และมันไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการเลย นับแต่ซาฮาร่าโบราณที่เคยอุดมสมบูรณ์ในยุคโบราณได้แปรเปลี่ยนเป็นทะเลทราย และบรรพบุรุษของโฮโมเซเปี้ยนส์เริ่มอพยพหนีออกมาจากที่นั่น.. ซาฮาร่าแห้งแล้งลงเรื่อยๆ ผ่านเวลาแสนปีจนถึงปัจจุบัน.. ยิ่งเมื่อภาวะวิกฤติโลกร้อนและอุณหภูมิโลกและอากาศเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ มันก็ยิ่งเหือดแห้งลงกว่าเดิม และยิ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น..
    .
    ต้นกำเนิดของแม่น้ำสายนี้อยู่ในเอธิโอเปีย. ประเทศอันแสนยากจน พวกเขาส่วนใหญ่ยากจนแสนเข็ญจริงๆ และแม้ว่าแม่น้ำนี้จะกำเนิดจากดินแดนแห่งนี้ แต่พวกเขาในพื้นที่ห่างไกลกลับยากลำบากและขาดแคลนน้ำที่จะนำมาเป็นปัจจัยพื้นฐานเพื่อเอาชีวิตรอด นั่นคือใช้ในการทำเกษตรกรรม. พวกเขาคงจะมีโอกาสรอดมากขึ้น ถ้าเพียงพวกเขาจะทำเขื่อนเพื่อที่จะกักและชะลอน้ำไว้บ้างสำหรับการเพาะปลูกเท่าที่จำเป็น แต่การทำเช่นนั้น.. สร้างความวิตกว่าน้ำจะยิ่งไม่เพียงพอแก่ประเทศอื่นที่ใช้แม่น้ำนี้ร่วมกัน เช่น อียิปต์ และ ซูดาน.. สองประเทศนี้มีแสนยานุภาพ มีขีปนาวุธ และเครื่องบินรบทันสมัยอย่างเอฟสิบหก ทันทีที่เอธิโอเปียสร้างเขื่อน มันจะถูกยิงถล่มเป็นผุยผง.. ประชาชนเอธิโอเปียไม่อาจทำอย่างไรได้ นอกจากจ้องมองแม่น้ำของพวกเขาด้วยความสิ้นหวังและล้มลงตายกับพื้นดิน.
    .
    เหตุการณ์แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นที่อื่นอีก อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว
    และมันอาจเกิดขึ้นกับเรา คุณและผม... สักวันหนึ่ง
    .
    คนไทยอย่างเราอาจมองเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องไกลตัว เราใช้น้ำอย่างสบายใจและฟุ่มเฟือย เราเดินเข้าห้าง เข้ามินิมาร์ตที่มีน้ำดื่มบรรจุขวดมากมายเรียงรายเต็มหิ้งให้เลือก จนเราอาจลืมข้อเท็จจริงและเผลอคิดไปได้ว่า น้ำนี้จะไม่มีวันหมด และมันจะรอเราอยู่บนหิ้งนั้นชั่วนิรันดร์.. นั่นเป็นความคิดที่โง่เขลาสิ้นดีและไม่เป็นความจริง.
    .
    วันนึง ..จะไม่มีน้ำแม้สักครึ่งขวดเหลืออยู่บนหิ้งพวกนั้น และวันนั้นอาจมาถึงในไม่ช้า
    .
    สมัยเด็ก ผมโตมาบนถนนพระอาทิตย์และถนนพระสุเมรุ บ้านพ่ออยู่ติดแม่น้ำหน้าท่าพระอาทิตย์ ส่วนบ้านแม่อยู่ตรอกวัดสังเวช อยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเลย. ยุคนั้น ที่บ้านแม่ตักน้ำจากแม่น้ำแล้วกวนด้วยสารส้มใช้เป็นประจำ นำมาต้ม แล้วใช้ปรุงอาหารได้.. น้ำดื่มคือน้ำฝนที่รองใส่โอ่ง..
    .
    ทุกวันนี้เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนอาจจะยังคงสะอาดพอควร แต่ตอนกลางนั้นมีการปนเปื้อนอยู่หลายจุดตลอดเส้นทาง.. ไม่ต้องพูดถึงแม่น้ำตอนล่าง ที่ไหลผ่านเมืองใหญ่อย่างอยุธยาและกรุงเทพเลย พวกมันล้วนอุดมด้วยสารพิษอย่างเช่น ปรอท โลหะหนัก และสารเคมีสารพัด เช่น แคดเมี่ยม ฯลฯ พวกมันถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่เรียงรายตามริมแม่น้ำ ผสมโรงด้วยขยะพิษที่ประชาชนปล่อยลงไป ทั้งจากเคมีที่ใช้ประจำวันและยาฆ่าแมลง จากวัตถุมีพิษอื่นๆ เช่น อุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์ แบตเตอรี่ ฯลฯ
    .
    ขณะที่ทุกคนต่างใช้ชีวิตอย่างเคยชินกับสิ่งเหล่านี้และไม่สนใจเพิกเฉยปัญหาของมัน หายนะกำลังคืบคลานอย่างช้าๆ มาสู่เราโดยไม่รู้ตัว.. ในภาวะปกตินี้ บ้านเมืองที่มีระบบรองรับ ก็ขับเคลื่อนหน่วยงานกลไกของมันไปตามสถานะที่ยังคงเลื่อนไหลไปได้ตามสภาพที่มี คนทั่วไปนั้นไม่ได้สนใจจะไปรับรู้ว่า กลไกเหล่านั้นขับเคลื่อนได้ดีแค่ไหน? ปลอดภัยแค่ไหน? ได้มาตรฐานแค่ไหน?.. พวกเขาสนใจแค่เรื่องตัวเองและคงคิดแค่ว่า "มีใครสักคนที่รับผิดชอบสิ่งเหล่านี้อยู่ และไม่ใช่ภาระที่ฉันจะเอามาใส่ใจ.." คงมีใครกำลังดูแลมันอยู่และมันก็คงดำเนินไปได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร "ตลอดไป"..
    .
    งั้นสินะ? โอ้.. ฉันมีการประปานครหลวง กองบำบัดน้ำเสีย กระทรวงสาธารณะสุข กรมประมง เทศบาลเมือง การท่า.. ฯลฯ พวกเขาคงทำทุกอย่างได้ราบรื่นไม่มีปัญหา คนทั้งหลายไม่สำเหนียกว่า จักรเฟืองพวกนี้มีวันหยุดชะงักได้ และเมื่อวันนึงเกิดหายนะภัยพิบัติสักอย่างขึ้น เช่น สงครามโลก ภัยจากอวกาศภายนอกอย่างอุกกาบาต แผ่นดินไหวรุนแรง ซุปเปอร์อีรัพชั่น สภาพอากาศวิกฤติ ยุคน้ำแข็ง.. ฯ ระบบที่ขับเคลื่อนไปทั้งหมดนี้ อาจล่มสลายได้ในชั่วข้ามคืน และเมื่อมันเกิดขึ้น คำถามง่ายๆ ที่สุดที่ไม่มีใครคิดอย่างเช่น.. จะยังจะมีน้ำบรรจุขวดอยู่บนหิ้งในห้างร้านอยู่ไหม? อาจตามมาด้วยคำตอบที่แย่เกินกว่าจะยอมรับ.
    .
    กรณีนี้ ถ้าเราไม่มีน้ำดื่มให้ซื้อหาอีกต่อไป ถามว่าเราจะทำอย่างไร? จะดื่มน้ำจากแม่น้ำลำคลองอย่างที่คนโบราณเคยทำได้ไหม? ทำไม่ได้แน่นอน ถ้ามันเป็นพิษ.. เว้นแต่คนจะหมดสิ้นหนทางและความตายเป็นการปลดปล่อยจากความทุกข์ยาก.. ยิ่งเมื่อระบบเมืองและรัฐที่ขับเคลื่อนชาติต้องล่มสลายเพราะหายนะที่กล่าวไป จะเอางบประมาณ จะเอาอุปกรณ์ จะเอาวัตถุดิบ จะเอาเทคโนโลยี่ที่ไหนกัน มาเยียวยาแม่น้ำให้กลับมาดีดังเดิมและสามารถใช้กินใช้ดื่มได้อีก? ถ้าเราไม่แก้ไขเสียแต่ตอนนี้ จนกระทั่งเราไปถึงจุดนั้น แม่น้ำก็จะไม่สามารถกู้คืนได้อีกเลย.
    .
    ครั้งหนึ่ง แม่น้ำโวลกาในรัสเซียนั้น เคยวิกฤติถึงขั้นอันตรายจนกินใช้ไม่ได้เลยอย่างสิ้นเชิง ปลาในแม่น้ำเต็มไปด้วยพิษ แต่ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน แม้ใช้เวลานับสิบปีในการพยายามกู้แม่น้ำสายนี้ ในที่สุดแม่น้ำนี้ก็กลับมาดีจนใช้ได้ในที่สุด แม้มันจะไม่ดีพอที่จะดื่มมันได้ก็ตามในตอนนี้..
    .
    แน่นอนว่า แม่น้ำเจ้าพระยานั้นยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น และมันเป็นไปได้อย่างแน่นอน ที่จะฟื้นคืนชีวิตแก่มันอย่างสมบูรณ์ หากเราจะถือว่านี่คือวาระแห่งชาติ และร่วมมือกันฟื้นฟูอย่างจริงจัง
    .
    แม่น้ำเจ้าพระยานั้น มีต้นกำเนิดจากป่าต้นน้ำทางภาคเหนือสี่แห่ง ซึ่งคือหัวใจที่ให้ชีวิตแก่แควทั้งสี่ คือ ปิง วัง ยม และ น่าน.. นี่นับเป็นความโชคดีของคนไทยเหลือคณานับ ที่ต้นแม่น้ำสายใหญ่นี้อยู่ในประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในประเทศอื่น. นี่เป็นทรัพยากรเลอค่าที่สุด ที่จะพยุงชีวิตให้แก่ชาตินี้ แม้แต่คนโง่ที่สุดก็ควรจะเห็นความสำคัญในจุดนี้ได้. การฟื้นฟูแม่น้ำต้องเริ่มจากป่าต้นน้ำของมัน จะต้องไม่มีการทำลายอีก จะต้องฟื้นฟูป่าเหล่านี้ให้กลับมา จากนั้นฟื้นฟูแม่น้ำแควทั้งสี่ เชื่อมไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จนจรดเจ้าพระยาตอนล่าง.
    .
    นี่แหละคือชีพจรชีวิตของสยามประเทศ นี่คือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ หากวันนึงหายนะน้ำเกิดขึ้นและนำไปสู่จุดที่กลายเป็นสงครามแย่งชิงน้ำ ดังนั้นฟื้นฟูมันเสียตั้งแต่บัดนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป!
    .
    หากคุณติดตามข่าว พระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ฯ ท่านทรงไล่ฟื้นฟูคลองในกรุงเทพไล่เรียงไปทีละสาย หลายสายบัดนี้ได้กลับมาสะอาดดังเดิม หากแม่น้ำฟื้นคืนชีวิต คลองทั้งหลายเหล่านี้จะยิ่งหล่อเลี้ยงไปยังแขนงน้อยใหญ่ให้แก่เมือง
    .
    ลองดูภาพแผนที่ เมื่อเราพิจารณาดูแผนที่ที่เห็นอยู่นี้ซึ่งแสดงแม่น้ำสายใหญ่ๆ ในเอเชีย มันต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้นน้ำอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมดนั้นล้วนมีต้นกำเนิดอยู่ในทิเบต แม่น้ำทั้งหมดนี้คือสายโลหิตที่เลี้ยงเอเชีย มันไม่ได้มีความสำคัญแค่เป็นจุดกำเนิดวัฒนธรรมอันเก่าแก่ลึกล้ำ มันเป็นหัวใจที่หล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน และมันยังเป็นปัจจัยสำคัญหลายอย่างโดยเฉพาะทางภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคงของภูมิภาค.
    .
    นี่คือเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมจีนจึงต้องปกป้องให้ทิเบตสุดชีวิต
    นี่เป็นอาณาเขตที่อ่อนไหวและหวงแหนยิ่งของจีน. เพราะอะไร?
    .
    ดินแดนนี้เป็นดังเขตกันชนที่ต้องเฝ้าระวังการรุกล้ำครอบงำจากโลกฝั่งตะวันตก ที่อาจแทรกทะลุผ่านเอเชียกลางเข้ามาได้. ดินแดนเปราะบางบางส่วนที่เป็นประตูเข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้ ถูกแทรกแซงครอบงำจากตะวันตกไปบ้างแล้ว เช่น อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน... มหาอำนาจตะวันตกนั้นมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีอิทธิพลเหนือทิเบตให้ได้ ด้วยกลยุทธมากมายหลายอย่าง แม้กระทั่งด้วยวิธีการใช้พรอพพาแกนดามากมาย เช่น ฟรีทิเบต เป็นต้น. แม้เราจะเคารพรักองค์ดาไลลามะและเห็นใจพุทธศาสนิกชน ประชากรชาวทิเบตเพียงใด แต่เราก็จำเป็นต้องไตร่ตรองในความเปราะบางของสถานะการณ์เช่นนี้อย่างระมัดระวัง. จีนนั้นมีเหตุผลเช่นไร ในการที่จะปกป้องพื้นที่นี้เอาไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนอย่างสุดกำลังความสามารถ เราสามารถพิจารณาได้จากแผนที่ที่เห็น..
    .
    หากมหาอำนาจตะวันตกใดก็ตามเข้ามายึดครองควบคุมทิเบต ไม่เพียงแค่จีนเท่านั้นที่จะเส่ียงต่อความมั่นคง.. แต่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า และบางส่วนของอินเดีย อาจตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ยากลำบากได้. ใครครอบครองทิเบต ผู้นั้นกุมชะตาเอเชีย เท่าที่ผ่านมานับพันปี แม้มีความไม่น่ายินดีกับการจัดการทรัพยากรต้นน้ำของจีนนัก แต่จีนก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ชั่วร้ายที่จะฉกฉวยประโยชน์จากสายเลือดใหญ่เหล่านี้แต่เพียงฝ่ายเดียว พวกเรายังอยู่ร่วมกันมาได้นับพันปี แต่เราไม่อาจคาดการได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากมหาอำนาจอื่น เข้ามามีอำนาจในการควบคุมแม่น้ำสายใหญ่เหล่านี้.
    .
    แน่นอนว่า เวลาเปลี่ยน ปัจจัยเปลี่ยน.. ทั้งมนุษย์ ทั้งปัจจัยทางธรรมชาติ ทั้งสถานะการณ์โลกและนอกโลก.. เราไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราได้แต่ตัดสินใจจากพื้นฐานที่เป็นประสบการณ์ของเราจากประวัติศาสตร์และบทเรียนที่ผ่านมา
    .
    พระพุทธองค์ตรัสว่า สังขารนั้นไม่เที่ยง ย่อมเสื่อมไปตามเหตุและปัจจัย
    มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    จงมีสติปัญญาที่จะพิจารณาวิเคราะห์และแยกแยะสิ่งต่างๆ ให้ถี่ถ้วนและพร้อมที่จะตัดสินใจ แก้ไขมันอย่างทันท่วงที โดยเลือกทางเลือกที่ถูกต้องที่สุด
    .
    ด้วยความปรารถนาดีและห่วงใยทุกท่าน
    - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา -
    .
    อัพเดทข้อมูลในปี 2566
    --------------------------
    - แม่น้ำโวลก้าในเวลานี้มีสภาพที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม โลหะหนักเป็นพิษลดสู่ปริมาณที่ต่ำลงอย่างมีนัยยะ
    - พื้นที่ในเอเชียกลางที่เคยถูกแทรกแซงครอบงำจากอิทธิพลตะวันตก เช่นอัฟกานิสถานและปากีสถาน กำลังเป็นอิสระและฟื้นฟูโดยความช่วยเหลือของจีนและรัสเซีย เส้นทางลำเลียงยาเสพติดของซีไอเอในเอเชียกลางถูกกำจัด และเอเชียกลางทั้งหมดผนึกเป็นส่วนเดียวกับพันธมิตรรัสเซีย-จีน เดินหน้าไปสู่ความเจริญของโครงการ One Belt One Road นั่นหมายความว่าแหล่งน้ำในทิเบตในเวลานี้ ได้รอดพ้นจากความเสี่ยงในการเข้าแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกแล้ว และมันจะกลายเป็นพื้นที่ที่จะได้รับการดูแลรักษาอย่างเอาใจใส่
    - เอธิโอเปีย เข้าร่วมสมาขิก BRICS นั่นหมายความว่า ในที่สุดชาติที่น่าสงสารนี้จะได้ลืมตาอ้าปากเสียที และจีนกำลังเข้าช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับชาติอื่นๆ ในแอฟริกา หลังจากหลายปีแห่งความทุกข์ทรมานจากการถูกเอาเปรียบขูดรีดทรัพยากรโดยมหาทุนตะวันตก
    --------------------------
    บทความเก่าขอนำมาโพสอีกครั้ง ---------------------------- สงครามน้ำจะมาถึงในไม่ช้า นี่เป็นคำพยากรณ์... . อันที่จริงผมพูดเรื่องนี้มานานแล้วตั้งแต่ราวปี 2003 ผมเคยพยายามที่จะทำโครงการหนึ่งชื่อ Voices of Asia รวมทั้งเคยหาข้อมูลเพื่อทำสารคดีเรื่องแม่น้ำ.. มันไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำ แต่ยังคงเป็นสิ่งที่วนเวียนหลอกหลอนอยู่ในความคิดผมเสมอมา ความกังวลนี้มาจากการได้อ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาวิกฤติน้ำในเอธิโอเปียในช่วงเวลานั้น . แม่น้ำไนล์ เป็นที่รู้ดีมานานแล้วว่า คือกระแสโลหิตที่หล่อเลี้ยงแอฟริกาตอนบน และมันไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการเลย นับแต่ซาฮาร่าโบราณที่เคยอุดมสมบูรณ์ในยุคโบราณได้แปรเปลี่ยนเป็นทะเลทราย และบรรพบุรุษของโฮโมเซเปี้ยนส์เริ่มอพยพหนีออกมาจากที่นั่น.. ซาฮาร่าแห้งแล้งลงเรื่อยๆ ผ่านเวลาแสนปีจนถึงปัจจุบัน.. ยิ่งเมื่อภาวะวิกฤติโลกร้อนและอุณหภูมิโลกและอากาศเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ มันก็ยิ่งเหือดแห้งลงกว่าเดิม และยิ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น.. . ต้นกำเนิดของแม่น้ำสายนี้อยู่ในเอธิโอเปีย. ประเทศอันแสนยากจน พวกเขาส่วนใหญ่ยากจนแสนเข็ญจริงๆ และแม้ว่าแม่น้ำนี้จะกำเนิดจากดินแดนแห่งนี้ แต่พวกเขาในพื้นที่ห่างไกลกลับยากลำบากและขาดแคลนน้ำที่จะนำมาเป็นปัจจัยพื้นฐานเพื่อเอาชีวิตรอด นั่นคือใช้ในการทำเกษตรกรรม. พวกเขาคงจะมีโอกาสรอดมากขึ้น ถ้าเพียงพวกเขาจะทำเขื่อนเพื่อที่จะกักและชะลอน้ำไว้บ้างสำหรับการเพาะปลูกเท่าที่จำเป็น แต่การทำเช่นนั้น.. สร้างความวิตกว่าน้ำจะยิ่งไม่เพียงพอแก่ประเทศอื่นที่ใช้แม่น้ำนี้ร่วมกัน เช่น อียิปต์ และ ซูดาน.. สองประเทศนี้มีแสนยานุภาพ มีขีปนาวุธ และเครื่องบินรบทันสมัยอย่างเอฟสิบหก ทันทีที่เอธิโอเปียสร้างเขื่อน มันจะถูกยิงถล่มเป็นผุยผง.. ประชาชนเอธิโอเปียไม่อาจทำอย่างไรได้ นอกจากจ้องมองแม่น้ำของพวกเขาด้วยความสิ้นหวังและล้มลงตายกับพื้นดิน. . เหตุการณ์แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นที่อื่นอีก อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว และมันอาจเกิดขึ้นกับเรา คุณและผม... สักวันหนึ่ง . คนไทยอย่างเราอาจมองเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องไกลตัว เราใช้น้ำอย่างสบายใจและฟุ่มเฟือย เราเดินเข้าห้าง เข้ามินิมาร์ตที่มีน้ำดื่มบรรจุขวดมากมายเรียงรายเต็มหิ้งให้เลือก จนเราอาจลืมข้อเท็จจริงและเผลอคิดไปได้ว่า น้ำนี้จะไม่มีวันหมด และมันจะรอเราอยู่บนหิ้งนั้นชั่วนิรันดร์.. นั่นเป็นความคิดที่โง่เขลาสิ้นดีและไม่เป็นความจริง. . วันนึง ..จะไม่มีน้ำแม้สักครึ่งขวดเหลืออยู่บนหิ้งพวกนั้น และวันนั้นอาจมาถึงในไม่ช้า . สมัยเด็ก ผมโตมาบนถนนพระอาทิตย์และถนนพระสุเมรุ บ้านพ่ออยู่ติดแม่น้ำหน้าท่าพระอาทิตย์ ส่วนบ้านแม่อยู่ตรอกวัดสังเวช อยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเลย. ยุคนั้น ที่บ้านแม่ตักน้ำจากแม่น้ำแล้วกวนด้วยสารส้มใช้เป็นประจำ นำมาต้ม แล้วใช้ปรุงอาหารได้.. น้ำดื่มคือน้ำฝนที่รองใส่โอ่ง.. . ทุกวันนี้เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนอาจจะยังคงสะอาดพอควร แต่ตอนกลางนั้นมีการปนเปื้อนอยู่หลายจุดตลอดเส้นทาง.. ไม่ต้องพูดถึงแม่น้ำตอนล่าง ที่ไหลผ่านเมืองใหญ่อย่างอยุธยาและกรุงเทพเลย พวกมันล้วนอุดมด้วยสารพิษอย่างเช่น ปรอท โลหะหนัก และสารเคมีสารพัด เช่น แคดเมี่ยม ฯลฯ พวกมันถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่เรียงรายตามริมแม่น้ำ ผสมโรงด้วยขยะพิษที่ประชาชนปล่อยลงไป ทั้งจากเคมีที่ใช้ประจำวันและยาฆ่าแมลง จากวัตถุมีพิษอื่นๆ เช่น อุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์ แบตเตอรี่ ฯลฯ . ขณะที่ทุกคนต่างใช้ชีวิตอย่างเคยชินกับสิ่งเหล่านี้และไม่สนใจเพิกเฉยปัญหาของมัน หายนะกำลังคืบคลานอย่างช้าๆ มาสู่เราโดยไม่รู้ตัว.. ในภาวะปกตินี้ บ้านเมืองที่มีระบบรองรับ ก็ขับเคลื่อนหน่วยงานกลไกของมันไปตามสถานะที่ยังคงเลื่อนไหลไปได้ตามสภาพที่มี คนทั่วไปนั้นไม่ได้สนใจจะไปรับรู้ว่า กลไกเหล่านั้นขับเคลื่อนได้ดีแค่ไหน? ปลอดภัยแค่ไหน? ได้มาตรฐานแค่ไหน?.. พวกเขาสนใจแค่เรื่องตัวเองและคงคิดแค่ว่า "มีใครสักคนที่รับผิดชอบสิ่งเหล่านี้อยู่ และไม่ใช่ภาระที่ฉันจะเอามาใส่ใจ.." คงมีใครกำลังดูแลมันอยู่และมันก็คงดำเนินไปได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร "ตลอดไป".. . งั้นสินะ? โอ้.. ฉันมีการประปานครหลวง กองบำบัดน้ำเสีย กระทรวงสาธารณะสุข กรมประมง เทศบาลเมือง การท่า.. ฯลฯ พวกเขาคงทำทุกอย่างได้ราบรื่นไม่มีปัญหา คนทั้งหลายไม่สำเหนียกว่า จักรเฟืองพวกนี้มีวันหยุดชะงักได้ และเมื่อวันนึงเกิดหายนะภัยพิบัติสักอย่างขึ้น เช่น สงครามโลก ภัยจากอวกาศภายนอกอย่างอุกกาบาต แผ่นดินไหวรุนแรง ซุปเปอร์อีรัพชั่น สภาพอากาศวิกฤติ ยุคน้ำแข็ง.. ฯ ระบบที่ขับเคลื่อนไปทั้งหมดนี้ อาจล่มสลายได้ในชั่วข้ามคืน และเมื่อมันเกิดขึ้น คำถามง่ายๆ ที่สุดที่ไม่มีใครคิดอย่างเช่น.. จะยังจะมีน้ำบรรจุขวดอยู่บนหิ้งในห้างร้านอยู่ไหม? อาจตามมาด้วยคำตอบที่แย่เกินกว่าจะยอมรับ. . กรณีนี้ ถ้าเราไม่มีน้ำดื่มให้ซื้อหาอีกต่อไป ถามว่าเราจะทำอย่างไร? จะดื่มน้ำจากแม่น้ำลำคลองอย่างที่คนโบราณเคยทำได้ไหม? ทำไม่ได้แน่นอน ถ้ามันเป็นพิษ.. เว้นแต่คนจะหมดสิ้นหนทางและความตายเป็นการปลดปล่อยจากความทุกข์ยาก.. ยิ่งเมื่อระบบเมืองและรัฐที่ขับเคลื่อนชาติต้องล่มสลายเพราะหายนะที่กล่าวไป จะเอางบประมาณ จะเอาอุปกรณ์ จะเอาวัตถุดิบ จะเอาเทคโนโลยี่ที่ไหนกัน มาเยียวยาแม่น้ำให้กลับมาดีดังเดิมและสามารถใช้กินใช้ดื่มได้อีก? ถ้าเราไม่แก้ไขเสียแต่ตอนนี้ จนกระทั่งเราไปถึงจุดนั้น แม่น้ำก็จะไม่สามารถกู้คืนได้อีกเลย. . ครั้งหนึ่ง แม่น้ำโวลกาในรัสเซียนั้น เคยวิกฤติถึงขั้นอันตรายจนกินใช้ไม่ได้เลยอย่างสิ้นเชิง ปลาในแม่น้ำเต็มไปด้วยพิษ แต่ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน แม้ใช้เวลานับสิบปีในการพยายามกู้แม่น้ำสายนี้ ในที่สุดแม่น้ำนี้ก็กลับมาดีจนใช้ได้ในที่สุด แม้มันจะไม่ดีพอที่จะดื่มมันได้ก็ตามในตอนนี้.. . แน่นอนว่า แม่น้ำเจ้าพระยานั้นยังไม่เลวร้ายขนาดนั้น และมันเป็นไปได้อย่างแน่นอน ที่จะฟื้นคืนชีวิตแก่มันอย่างสมบูรณ์ หากเราจะถือว่านี่คือวาระแห่งชาติ และร่วมมือกันฟื้นฟูอย่างจริงจัง . แม่น้ำเจ้าพระยานั้น มีต้นกำเนิดจากป่าต้นน้ำทางภาคเหนือสี่แห่ง ซึ่งคือหัวใจที่ให้ชีวิตแก่แควทั้งสี่ คือ ปิง วัง ยม และ น่าน.. นี่นับเป็นความโชคดีของคนไทยเหลือคณานับ ที่ต้นแม่น้ำสายใหญ่นี้อยู่ในประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในประเทศอื่น. นี่เป็นทรัพยากรเลอค่าที่สุด ที่จะพยุงชีวิตให้แก่ชาตินี้ แม้แต่คนโง่ที่สุดก็ควรจะเห็นความสำคัญในจุดนี้ได้. การฟื้นฟูแม่น้ำต้องเริ่มจากป่าต้นน้ำของมัน จะต้องไม่มีการทำลายอีก จะต้องฟื้นฟูป่าเหล่านี้ให้กลับมา จากนั้นฟื้นฟูแม่น้ำแควทั้งสี่ เชื่อมไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จนจรดเจ้าพระยาตอนล่าง. . นี่แหละคือชีพจรชีวิตของสยามประเทศ นี่คือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ หากวันนึงหายนะน้ำเกิดขึ้นและนำไปสู่จุดที่กลายเป็นสงครามแย่งชิงน้ำ ดังนั้นฟื้นฟูมันเสียตั้งแต่บัดนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป! . หากคุณติดตามข่าว พระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ฯ ท่านทรงไล่ฟื้นฟูคลองในกรุงเทพไล่เรียงไปทีละสาย หลายสายบัดนี้ได้กลับมาสะอาดดังเดิม หากแม่น้ำฟื้นคืนชีวิต คลองทั้งหลายเหล่านี้จะยิ่งหล่อเลี้ยงไปยังแขนงน้อยใหญ่ให้แก่เมือง . ลองดูภาพแผนที่ เมื่อเราพิจารณาดูแผนที่ที่เห็นอยู่นี้ซึ่งแสดงแม่น้ำสายใหญ่ๆ ในเอเชีย มันต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้นน้ำอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมดนั้นล้วนมีต้นกำเนิดอยู่ในทิเบต แม่น้ำทั้งหมดนี้คือสายโลหิตที่เลี้ยงเอเชีย มันไม่ได้มีความสำคัญแค่เป็นจุดกำเนิดวัฒนธรรมอันเก่าแก่ลึกล้ำ มันเป็นหัวใจที่หล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน และมันยังเป็นปัจจัยสำคัญหลายอย่างโดยเฉพาะทางภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคงของภูมิภาค. . นี่คือเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมจีนจึงต้องปกป้องให้ทิเบตสุดชีวิต นี่เป็นอาณาเขตที่อ่อนไหวและหวงแหนยิ่งของจีน. เพราะอะไร? . ดินแดนนี้เป็นดังเขตกันชนที่ต้องเฝ้าระวังการรุกล้ำครอบงำจากโลกฝั่งตะวันตก ที่อาจแทรกทะลุผ่านเอเชียกลางเข้ามาได้. ดินแดนเปราะบางบางส่วนที่เป็นประตูเข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้ ถูกแทรกแซงครอบงำจากตะวันตกไปบ้างแล้ว เช่น อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน... มหาอำนาจตะวันตกนั้นมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีอิทธิพลเหนือทิเบตให้ได้ ด้วยกลยุทธมากมายหลายอย่าง แม้กระทั่งด้วยวิธีการใช้พรอพพาแกนดามากมาย เช่น ฟรีทิเบต เป็นต้น. แม้เราจะเคารพรักองค์ดาไลลามะและเห็นใจพุทธศาสนิกชน ประชากรชาวทิเบตเพียงใด แต่เราก็จำเป็นต้องไตร่ตรองในความเปราะบางของสถานะการณ์เช่นนี้อย่างระมัดระวัง. จีนนั้นมีเหตุผลเช่นไร ในการที่จะปกป้องพื้นที่นี้เอาไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนอย่างสุดกำลังความสามารถ เราสามารถพิจารณาได้จากแผนที่ที่เห็น.. . หากมหาอำนาจตะวันตกใดก็ตามเข้ามายึดครองควบคุมทิเบต ไม่เพียงแค่จีนเท่านั้นที่จะเส่ียงต่อความมั่นคง.. แต่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า และบางส่วนของอินเดีย อาจตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ยากลำบากได้. ใครครอบครองทิเบต ผู้นั้นกุมชะตาเอเชีย เท่าที่ผ่านมานับพันปี แม้มีความไม่น่ายินดีกับการจัดการทรัพยากรต้นน้ำของจีนนัก แต่จีนก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ชั่วร้ายที่จะฉกฉวยประโยชน์จากสายเลือดใหญ่เหล่านี้แต่เพียงฝ่ายเดียว พวกเรายังอยู่ร่วมกันมาได้นับพันปี แต่เราไม่อาจคาดการได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากมหาอำนาจอื่น เข้ามามีอำนาจในการควบคุมแม่น้ำสายใหญ่เหล่านี้. . แน่นอนว่า เวลาเปลี่ยน ปัจจัยเปลี่ยน.. ทั้งมนุษย์ ทั้งปัจจัยทางธรรมชาติ ทั้งสถานะการณ์โลกและนอกโลก.. เราไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราได้แต่ตัดสินใจจากพื้นฐานที่เป็นประสบการณ์ของเราจากประวัติศาสตร์และบทเรียนที่ผ่านมา . พระพุทธองค์ตรัสว่า สังขารนั้นไม่เที่ยง ย่อมเสื่อมไปตามเหตุและปัจจัย มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จงมีสติปัญญาที่จะพิจารณาวิเคราะห์และแยกแยะสิ่งต่างๆ ให้ถี่ถ้วนและพร้อมที่จะตัดสินใจ แก้ไขมันอย่างทันท่วงที โดยเลือกทางเลือกที่ถูกต้องที่สุด . ด้วยความปรารถนาดีและห่วงใยทุกท่าน - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - . อัพเดทข้อมูลในปี 2566 -------------------------- - แม่น้ำโวลก้าในเวลานี้มีสภาพที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม โลหะหนักเป็นพิษลดสู่ปริมาณที่ต่ำลงอย่างมีนัยยะ - พื้นที่ในเอเชียกลางที่เคยถูกแทรกแซงครอบงำจากอิทธิพลตะวันตก เช่นอัฟกานิสถานและปากีสถาน กำลังเป็นอิสระและฟื้นฟูโดยความช่วยเหลือของจีนและรัสเซีย เส้นทางลำเลียงยาเสพติดของซีไอเอในเอเชียกลางถูกกำจัด และเอเชียกลางทั้งหมดผนึกเป็นส่วนเดียวกับพันธมิตรรัสเซีย-จีน เดินหน้าไปสู่ความเจริญของโครงการ One Belt One Road นั่นหมายความว่าแหล่งน้ำในทิเบตในเวลานี้ ได้รอดพ้นจากความเสี่ยงในการเข้าแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกแล้ว และมันจะกลายเป็นพื้นที่ที่จะได้รับการดูแลรักษาอย่างเอาใจใส่ - เอธิโอเปีย เข้าร่วมสมาขิก BRICS นั่นหมายความว่า ในที่สุดชาติที่น่าสงสารนี้จะได้ลืมตาอ้าปากเสียที และจีนกำลังเข้าช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับชาติอื่นๆ ในแอฟริกา หลังจากหลายปีแห่งความทุกข์ทรมานจากการถูกเอาเปรียบขูดรีดทรัพยากรโดยมหาทุนตะวันตก --------------------------
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 715 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5)
    .................
    มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด
    .................
    สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี

    สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป
    .................
    แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ

    ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น

    ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก

    2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก

    3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

    4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก

    5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

    6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ
    คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่

    .................
    เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี

    1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย
    2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ
    3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน
    4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
    5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย
    6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ

    สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ

    เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)”
    .................

    ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย

    น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา

    ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย

    เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก
    .................

    มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน

    การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป

    แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5) ................. มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด ................. สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป ................. แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก 2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก 3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก 5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง 6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่ ................. เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี 1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย 2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ 3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน 4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน 5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย 6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)” ................. ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก ................. มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1025 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ได้พัฒนา เทคโนโลยีกรองน้ำแบบใหม่ ที่สามารถกำจัดสารเคมีตกค้างที่เรียกว่า PFAS ซึ่งเป็นสารที่มีความทนทานสูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เทคโนโลยีนี้ใช้ กราฟีนออกไซด์ ร่วมกับ เบต้าไซโคลเด็กซ์ทริน ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลที่สามารถดักจับสารเคมีได้

    การใช้กราฟีนออกไซด์ร่วมกับเบต้าไซโคลเด็กซ์ทริน
    - กราฟีนออกไซด์ถูกพัฒนาให้มีโครงสร้างนาโนที่สามารถดักจับสาร PFAS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    - เบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินทำหน้าที่เป็น กรงโมเลกุล ที่ช่วยกักเก็บสารเคมีอันตราย

    ประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีตกค้าง
    - สามารถกำจัด PFAS ขนาดเล็ก ที่มักเล็ดลอดผ่านระบบกรองทั่วไป
    - เทคโนโลยีนี้ช่วยให้กระบวนการกรองน้ำมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง

    การนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม
    - ใช้เทคนิค Shear Alignment Printing เพื่อผลิตแผ่นกรองขนาดใหญ่
    - สามารถนำไปใช้ใน โรงงานบำบัดน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม และระบบกรองน้ำประปา

    ความร่วมมือในการพัฒนา
    - โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Monash University, Clean TeQ Water และ NematiQ
    - มีเป้าหมายพัฒนา ระบบกรองน้ำที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับสารปนเปื้อนชนิดต่างๆ

    ข้อควรระวังและประเด็นที่ต้องติดตาม
    ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    - แม้เทคโนโลยีนี้จะช่วยกำจัดสารเคมีตกค้าง แต่ต้องมีการศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศเพิ่มเติม
    - การกำจัด PFAS ที่ถูกดักจับต้องใช้กระบวนการที่ปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนซ้ำ

    ความท้าทายในการนำไปใช้จริง
    - แม้จะมีศักยภาพสูง แต่ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่า สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม
    - อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงในการติดตั้งระบบกรองน้ำแบบใหม่นี้ในระดับอุตสาหกรรม

    แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีกรองน้ำ
    - นักวิจัยกำลังพัฒนา ระบบกรองน้ำที่สามารถกำจัดสารปนเปื้อนอื่นๆ เช่น ยา, สารกำจัดศัตรูพืช และโลหะหนัก
    - อาจมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ใน ระบบกรองน้ำสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำสะอาด

    https://www.techspot.com/news/107545-breakthrough-water-filter-eliminates-forever-chemicals-using-modified.html
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ได้พัฒนา เทคโนโลยีกรองน้ำแบบใหม่ ที่สามารถกำจัดสารเคมีตกค้างที่เรียกว่า PFAS ซึ่งเป็นสารที่มีความทนทานสูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เทคโนโลยีนี้ใช้ กราฟีนออกไซด์ ร่วมกับ เบต้าไซโคลเด็กซ์ทริน ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลที่สามารถดักจับสารเคมีได้ ✅ การใช้กราฟีนออกไซด์ร่วมกับเบต้าไซโคลเด็กซ์ทริน - กราฟีนออกไซด์ถูกพัฒนาให้มีโครงสร้างนาโนที่สามารถดักจับสาร PFAS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เบต้าไซโคลเด็กซ์ทรินทำหน้าที่เป็น กรงโมเลกุล ที่ช่วยกักเก็บสารเคมีอันตราย ✅ ประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีตกค้าง - สามารถกำจัด PFAS ขนาดเล็ก ที่มักเล็ดลอดผ่านระบบกรองทั่วไป - เทคโนโลยีนี้ช่วยให้กระบวนการกรองน้ำมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ✅ การนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม - ใช้เทคนิค Shear Alignment Printing เพื่อผลิตแผ่นกรองขนาดใหญ่ - สามารถนำไปใช้ใน โรงงานบำบัดน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม และระบบกรองน้ำประปา ✅ ความร่วมมือในการพัฒนา - โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Monash University, Clean TeQ Water และ NematiQ - มีเป้าหมายพัฒนา ระบบกรองน้ำที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับสารปนเปื้อนชนิดต่างๆ ⚠️ ข้อควรระวังและประเด็นที่ต้องติดตาม ℹ️ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - แม้เทคโนโลยีนี้จะช่วยกำจัดสารเคมีตกค้าง แต่ต้องมีการศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศเพิ่มเติม - การกำจัด PFAS ที่ถูกดักจับต้องใช้กระบวนการที่ปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนซ้ำ ℹ️ ความท้าทายในการนำไปใช้จริง - แม้จะมีศักยภาพสูง แต่ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่า สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม - อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงในการติดตั้งระบบกรองน้ำแบบใหม่นี้ในระดับอุตสาหกรรม ℹ️ แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีกรองน้ำ - นักวิจัยกำลังพัฒนา ระบบกรองน้ำที่สามารถกำจัดสารปนเปื้อนอื่นๆ เช่น ยา, สารกำจัดศัตรูพืช และโลหะหนัก - อาจมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ใน ระบบกรองน้ำสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำสะอาด https://www.techspot.com/news/107545-breakthrough-water-filter-eliminates-forever-chemicals-using-modified.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Breakthrough water filter eliminates forever chemicals using modified graphene oxide
    Researchers at Monash University have introduced a new water filtration technology that could shift the fight against PFAS – chemicals known for their environmental persistence and health...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 322 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ในออสเตรเลียได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยกำจัดสารเคมี PFAS หรือที่เรียกว่า "สารเคมีตลอดกาล" ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่:
    - ทีมวิจัยได้ออกแบบเมมเบรนกราฟีนที่สามารถกรองสาร PFAS ออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดสาร PFAS ได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับเมมเบรนแบบเดิมที่กำจัดได้เพียง 35%.
    - เมมเบรนนี้ใช้ความสัมพันธ์ทางเคมีเฉพาะเพื่อจับสาร PFAS แม้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และยังคงรักษาการไหลของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

    ความสำคัญของ PFAS:
    - PFAS เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอน-ฟลูออรีนที่แข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้สารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในน้ำใต้ดินและส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น การพัฒนาที่ผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก และมะเร็ง.
    - สาร PFAS ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกระบวนการผลิตชิป เช่น การใช้ในของเหลว photoresist และก๊าซในห้องแกะสลัก.

    การนำเทคโนโลยีไปใช้ในอนาคต:
    - Monash University มีความร่วมมือกับ NematiQ ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการผลิตกราฟีน เพื่อช่วยนำเมมเบรนนี้เข้าสู่ตลาดในระดับใหญ่.
    - เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานและการจัดการน้ำจากหลุมฝังกลบ

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/manufacturing/researchers-make-breakthrough-in-cleaning-up-the-forever-chemicals-used-in-chip-manufacturing
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ในออสเตรเลียได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยกำจัดสารเคมี PFAS หรือที่เรียกว่า "สารเคมีตลอดกาล" ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ✅ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่: - ทีมวิจัยได้ออกแบบเมมเบรนกราฟีนที่สามารถกรองสาร PFAS ออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดสาร PFAS ได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับเมมเบรนแบบเดิมที่กำจัดได้เพียง 35%. - เมมเบรนนี้ใช้ความสัมพันธ์ทางเคมีเฉพาะเพื่อจับสาร PFAS แม้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และยังคงรักษาการไหลของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ✅ ความสำคัญของ PFAS: - PFAS เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอน-ฟลูออรีนที่แข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้สารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในน้ำใต้ดินและส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น การพัฒนาที่ผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก และมะเร็ง. - สาร PFAS ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกระบวนการผลิตชิป เช่น การใช้ในของเหลว photoresist และก๊าซในห้องแกะสลัก. ✅ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในอนาคต: - Monash University มีความร่วมมือกับ NematiQ ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการผลิตกราฟีน เพื่อช่วยนำเมมเบรนนี้เข้าสู่ตลาดในระดับใหญ่. - เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานและการจัดการน้ำจากหลุมฝังกลบ https://www.tomshardware.com/tech-industry/manufacturing/researchers-make-breakthrough-in-cleaning-up-the-forever-chemicals-used-in-chip-manufacturing
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    Researchers make breakthrough in cleaning up the 'forever chemicals' used in chip manufacturing
    The semiconductor industry is among the worst offenders in PFAS use and pollution.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 0 รีวิว
  • พบศพคนงานนอนตายปริศนาคาบ่อบำบัดน้ำเสียโรงงานปลาร้า พื้นที่หล่มสัก 5 ศพ 4 ศพแรก คว่ำหน้าจมน้ำเรียงกัน อีกศพนอนหงายพาดบนถังปลาร้าเก่า เบื้องต้นคาดขาดอากาศหายใจ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000118363

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    พบศพคนงานนอนตายปริศนาคาบ่อบำบัดน้ำเสียโรงงานปลาร้า พื้นที่หล่มสัก 5 ศพ 4 ศพแรก คว่ำหน้าจมน้ำเรียงกัน อีกศพนอนหงายพาดบนถังปลาร้าเก่า เบื้องต้นคาดขาดอากาศหายใจ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000118363 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Sad
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1140 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล รธน.ตีตกคำร้อง "วัฒนา อัศวเหม" ขอวินิจฉัยองค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านอ้างตัดสินไม่ชอบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000104557

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ศาล รธน.ตีตกคำร้อง "วัฒนา อัศวเหม" ขอวินิจฉัยองค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านอ้างตัดสินไม่ชอบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000104557 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    14
    0 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 3298 มุมมอง 1 รีวิว
  • มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์ ประกอบด้วย

    1. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ์ อัยการอาวุโส เป็นประธานกรรมการ
    2.พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
    3. นายนิรันต์ ยั่งยืน รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นกรรมการ
    4.นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.จิราพร สินธุไพร) เป็นกรรมการ
    5. พ.ต.ต.จตุพล บงกชมาศ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการ
    6. นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นกรรมการ
    7. นายปวริศ ผุดผ่อง คณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
    8 นายวิสุทธิ์ ฉัตรานุฉัตร ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการ

    โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
    ข้อ 1.ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญผู้บริหาร พนักงานเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน
    คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้ข้อเท็จจริงและมีอำนาจ
    เรียกเอกสารใด ๆ จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานใด ๆ เพื่อประกอบ
    การพิจารณา และให้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะต่อรองนายกรัฐมนตรี
    (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง ในกรณีจำเป็นรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง)
    อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควร
    ข้อ 2.คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมทั้งผู้ช่วยเลขานุการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อพิจารณาศึกษาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้

    ข้อ 3.ให้คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักนายกรัฐมนตรี
    ข้อ 4 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายชาติพงษ์ จีระพันธุ ถูกตั้งขึ้นมาเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เคยเป็นอดีตรองอัยการสูงสุด มีชื่อเสียงเรื่องปราบการทุจริตคอร์รัปชัน มีประสบการณ์มากมาย เคยเป็นรองอธิบดีอัยการคดีพิเศษ ,เเละอธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าคณะทำงานที่คุมคดีสำคัญของสำนักงานคดีพิเศษหลายคดี ,คดีนิติบุคคล ฟิลิป มอร์ริส นำเข้าบุหรี่โดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ซึ่งขณะนี้มีกรณีพิพาท ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์ ในเรื่องนี้ที่องค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ,คดีทุจริตสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งเกี่ยวพันถึงคดีทุจริตฟอกเงินเครือข่ายวัดธรรมกาย ,คดีธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ กลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร ,คดีทุจริตการฟอกเงินในโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ,เคยเป็นกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายเนตร นาคสุข อดีตรองอัยการสูงสุด กรณีสั่งไม่ฟ้องคดีลูกนักธุรกิจชื่อดังขับรถชนคนตาย

    ล่าสุดช่วงที่ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีเคย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีการเข้าค้นบ้านพักอดีตรองผบ.ตร.ด้วย

    #Thaitimes
    มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์ ประกอบด้วย 1. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ์ อัยการอาวุโส เป็นประธานกรรมการ 2.พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ 3. นายนิรันต์ ยั่งยืน รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นกรรมการ 4.นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.จิราพร สินธุไพร) เป็นกรรมการ 5. พ.ต.ต.จตุพล บงกชมาศ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการ 6. นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นกรรมการ 7. นายปวริศ ผุดผ่อง คณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 8 นายวิสุทธิ์ ฉัตรานุฉัตร ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการ โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ ข้อ 1.ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญผู้บริหาร พนักงานเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้ข้อเท็จจริงและมีอำนาจ เรียกเอกสารใด ๆ จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานใด ๆ เพื่อประกอบ การพิจารณา และให้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง ในกรณีจำเป็นรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควร ข้อ 2.คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมทั้งผู้ช่วยเลขานุการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อพิจารณาศึกษาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ ข้อ 3.ให้คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ 4 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายชาติพงษ์ จีระพันธุ ถูกตั้งขึ้นมาเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เคยเป็นอดีตรองอัยการสูงสุด มีชื่อเสียงเรื่องปราบการทุจริตคอร์รัปชัน มีประสบการณ์มากมาย เคยเป็นรองอธิบดีอัยการคดีพิเศษ ,เเละอธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าคณะทำงานที่คุมคดีสำคัญของสำนักงานคดีพิเศษหลายคดี ,คดีนิติบุคคล ฟิลิป มอร์ริส นำเข้าบุหรี่โดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ซึ่งขณะนี้มีกรณีพิพาท ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์ ในเรื่องนี้ที่องค์การการค้าโลก หรือดับเบิลยูทีโอ,คดีทุจริตสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งเกี่ยวพันถึงคดีทุจริตฟอกเงินเครือข่ายวัดธรรมกาย ,คดีธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ กลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร ,คดีทุจริตการฟอกเงินในโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ,เคยเป็นกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายเนตร นาคสุข อดีตรองอัยการสูงสุด กรณีสั่งไม่ฟ้องคดีลูกนักธุรกิจชื่อดังขับรถชนคนตาย ล่าสุดช่วงที่ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีเคย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีการเข้าค้นบ้านพักอดีตรองผบ.ตร.ด้วย #Thaitimes
    สำนักนายกฯ ตั้ง ‘ชาติพงษ์’ อดีตรอง อสส.นั่ง ปธ.สอบข้อเท็จจริงคดี ‘ดิไอคอน’ จ่ายส่วยเทวดาเป็นค่าคุ้มครอง มีอำนาจเรียกสอบ-เอกสาร จาก สคบ.หน่วยงานเกี่ยวข้อง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000099909

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 716 มุมมอง 0 รีวิว
  • ใครพอจะอธิบายเรื่อง"haarp...ได้บ้างไหมคะอยากได้ความรู้เรื่องนี้คะเคยคุยเรื่องนี้กับอ.สมเกียรติ โอสถสภา ในเพจfb"ตอนท่านยังไม่เสียเรื่องการทำฝนเทียมตอนนั้น""เขาขาดน้ำแต่ไปบำบัดน้ำเสียจากน้ำที่ใช้แล้ว ห้องน้ำอื่นๆฯลฯเคยถามอาจารย์ว่าทำไมเขาไม่ทำฝนเทียมให้"ปชช.ใช้แบบพ่อหลวง ร.๙เรา'อาจารย์บอกว่า#"เขาทำไว้ใช้ในสงคราม กราบขอความรู้จากท่านอาจารย์ทุกท่านด้วยนะคะ
    ใครพอจะอธิบายเรื่อง"haarp...ได้บ้างไหมคะอยากได้ความรู้เรื่องนี้คะเคยคุยเรื่องนี้กับอ.สมเกียรติ โอสถสภา ในเพจfb"ตอนท่านยังไม่เสียเรื่องการทำฝนเทียมตอนนั้น"🦅"เขาขาดน้ำแต่ไปบำบัดน้ำเสียจากน้ำที่ใช้แล้ว ห้องน้ำอื่นๆฯลฯเคยถามอาจารย์ว่าทำไมเขาไม่ทำฝนเทียมให้"ปชช.ใช้แบบพ่อหลวง ร.๙เรา'อาจารย์บอกว่า#🦅"เขาทำไว้ใช้ในสงคราม กราบขอความรู้จากท่านอาจารย์ทุกท่านด้วยนะคะ🔆🙇‍♀️
    Like
    Sad
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวปลอมมาเลเซีย มีถ้ำใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์

    การค้นหาร่างของนางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ประสบอุบัติเหตุตกลงไปในหลุมที่ยุบตัวลงมา บริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ หลังจากประสบเหตุเมื่อเวลา 08.44 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

    สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซียรายงานว่า ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ (26 ส.ค.) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงของบริษัท อินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) ล้างเศษหินที่ห่างจากท่อระบายน้ำหน้าหอพักยากิน (Wisma Yakin) ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ตรวจสอบว่ามีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่บนเศษหินหรือไม่ นอกจากนี้ บริษัท IWK ยังได้ล้างท่อระบายน้ำทั้งหมดตามแนวท่อระบายน้ำ และตรวจสอบโรงบำบัดน้ำเสียที่ย่านพันตายดาลัม แต่ไม่พบเบาะแสใดๆ

    ด้านศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DBKL) ได้ร่วมมือกับนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประเมินสถานการณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบอีก

    นางซาลิฮา มุสตาฟา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของเขตปกครองกลางมาเลเซีย กล่าวว่า ได้พูดคุยกับนายไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชารีฟ นายกเทศมนตรีกรุงกัวลาลัมเปอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุแนวทางดำเนินการและยุทธศาสตร์ระยะยาวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

    โดยอาจเป็นไปได้ที่จะทบทวนนโยบายการวางผังเมืองในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หลุมยุบอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฝ่ายดินแดนสหพันธ์และกรุงกัวลาลัมเปอร์จะเสริมขั้นตอนปฎิบัติงาน โดยต้องส่งผลการศึกษาด้านธรณีเทคนิคจากวิศวกรในระหว่างยื่นขออนุมัติการวางผังเมือง

    พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานงานกับนายบีเอ็น เรดดี้ ข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำมาเลเซีย รายงานความคืบหน้าปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัยนักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียอย่างต่อเนื่อง โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ สิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ เหตุการณ์ล่าสุดเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาและปรับปรุงวิธีการเฝ้าระวังและตอยสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

    ด้านกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ขยายวีซ่าให้กับสมาชิกในครอบครัวของนางวิชัยลักษณี 4 คน พร้อมกันนี้ ยังมีตัวแทนของนายอาห์หมัด ซาฮิด ฮามิดิ รองนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวที่จุดเกิดเหตุ พร้อมมอบความช่วยเหลือและแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ผลจากเหตุการณ์หลุมยุบที่เกิดขึ้น บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์บทความที่อ้างว่ามาจาก ดร.ซาราห์ จามาล จากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา (UM) อ้างว่ามี “ถ้ำร้างขนาดใหญ่” อยู่ใต้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ทำให้ภาควิชาธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยมาลายา ปฎิเสธรายงานดังกล่าว โดยระบุว่าไม่มีนักธรณีวิทยาคนดังกล่าวทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย

    รศ.ดร.เมียร์ ฮาคิฟ อามีร์ ฮัสซัน หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา ยืนยันว่าไม่มีนักธรณีวิทยาชื่อซาราห์ จามาล คนใดที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการธรณีวิทยามาเลเซีย เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้อิงตามข้อเท็จจริงและเป็นเท็จ ภาควิชากำลังใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์หลุมยุบที่ถนนมัสยิดอินเดีย เนื่องจากการค้นหาผู้สูญหายและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินต่อไป

    #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    ข่าวปลอมมาเลเซีย มีถ้ำใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์ การค้นหาร่างของนางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ประสบอุบัติเหตุตกลงไปในหลุมที่ยุบตัวลงมา บริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ หลังจากประสบเหตุเมื่อเวลา 08.44 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซียรายงานว่า ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ (26 ส.ค.) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงของบริษัท อินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) ล้างเศษหินที่ห่างจากท่อระบายน้ำหน้าหอพักยากิน (Wisma Yakin) ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ตรวจสอบว่ามีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่บนเศษหินหรือไม่ นอกจากนี้ บริษัท IWK ยังได้ล้างท่อระบายน้ำทั้งหมดตามแนวท่อระบายน้ำ และตรวจสอบโรงบำบัดน้ำเสียที่ย่านพันตายดาลัม แต่ไม่พบเบาะแสใดๆ ด้านศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DBKL) ได้ร่วมมือกับนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประเมินสถานการณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบอีก นางซาลิฮา มุสตาฟา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของเขตปกครองกลางมาเลเซีย กล่าวว่า ได้พูดคุยกับนายไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชารีฟ นายกเทศมนตรีกรุงกัวลาลัมเปอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุแนวทางดำเนินการและยุทธศาสตร์ระยะยาวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจเป็นไปได้ที่จะทบทวนนโยบายการวางผังเมืองในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หลุมยุบอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฝ่ายดินแดนสหพันธ์และกรุงกัวลาลัมเปอร์จะเสริมขั้นตอนปฎิบัติงาน โดยต้องส่งผลการศึกษาด้านธรณีเทคนิคจากวิศวกรในระหว่างยื่นขออนุมัติการวางผังเมือง พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานงานกับนายบีเอ็น เรดดี้ ข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำมาเลเซีย รายงานความคืบหน้าปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัยนักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียอย่างต่อเนื่อง โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ สิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ เหตุการณ์ล่าสุดเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาและปรับปรุงวิธีการเฝ้าระวังและตอยสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ด้านกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ขยายวีซ่าให้กับสมาชิกในครอบครัวของนางวิชัยลักษณี 4 คน พร้อมกันนี้ ยังมีตัวแทนของนายอาห์หมัด ซาฮิด ฮามิดิ รองนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวที่จุดเกิดเหตุ พร้อมมอบความช่วยเหลือและแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลจากเหตุการณ์หลุมยุบที่เกิดขึ้น บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์บทความที่อ้างว่ามาจาก ดร.ซาราห์ จามาล จากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา (UM) อ้างว่ามี “ถ้ำร้างขนาดใหญ่” อยู่ใต้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ทำให้ภาควิชาธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยมาลายา ปฎิเสธรายงานดังกล่าว โดยระบุว่าไม่มีนักธรณีวิทยาคนดังกล่าวทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย รศ.ดร.เมียร์ ฮาคิฟ อามีร์ ฮัสซัน หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา ยืนยันว่าไม่มีนักธรณีวิทยาชื่อซาราห์ จามาล คนใดที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการธรณีวิทยามาเลเซีย เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้อิงตามข้อเท็จจริงและเป็นเท็จ ภาควิชากำลังใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์หลุมยุบที่ถนนมัสยิดอินเดีย เนื่องจากการค้นหาผู้สูญหายและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินต่อไป #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1140 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง

    โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

    ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ

    สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว

    ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด

    เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้

    ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม

    จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" Choawalit Chotwattanaphong ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย

    โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang)

    ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า

    อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย

    จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว

    เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

    ที่มา : Choawalit Chotwattanaphong https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf

    [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html

    #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1351 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอลลดปริมาณน้ำในฉนวนกาซาลง 94 เปอร์เซ็นต์ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนและการระบาดของโรคร้าย
    รายงานฉบับใหม่ของ Oxfam ระบุว่าเอลลดปริมาณน้ำที่มีอยู่ในกาซาลงร้อยละ 94 "ก่อให้เกิดหายนะด้านสุขภาพที่ร้ายแรง"
    “การตัดแหล่งน้ำภายนอกของเอล การทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการจัดการน้ำ และการขัดขวางความช่วยเหลือโดยเจตนา ทำให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในฉนวนกาซาลดลงร้อยละ 94 เหลือ 4.74 ลิตร ต่อวันต่อคน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณขั้นต่ำที่แนะนำในกรณีฉุกเฉินเพียงหนึ่งในสาม และน้อยกว่าการกดชักโครกเพียงครั้งเดียว”
    สัปดาห์นี้ ทางการเมืองเดียร์เอลบาลาห์คาดการณ์ว่า “ถนนต่างๆ จะเต็มไปด้วยน้ำเสีย” และ “โรคภัยจะแพร่กระจาย” เนื่องจากทางการได้ปิดเครื่องสูบน้ำเสียและสถานีบำบัดน้ำเสียหลังจากน้ำมันหมด
    แพทย์ระบุว่าโรคเรื้อน ผื่นผิวหนัง และเหากำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว หน่วยงานของสหประชาชาติได้เตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าโรคอหิวาตกโรคและโรคร้ายแรงอื่นๆ อาจกลายเป็นโรคระบาด
    “พวกเราไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลากลางคืนเพราะกลิ่นน้ำเสีย ลูกๆ ของฉันไม่สามารถนอนหลับได้เพราะพวกเขามักจะป่วยด้วยสิ่งที่แพร่กระจายมาจากขยะอยู่เสมอ”
    มูฮัมหมัด อัล-คาห์โลต จากสภากาชาดปาเลสกล่าวเสริมว่า “พวกเรากำลังหายใจไม่ออกเพราะกลิ่นขยะ ควัน และความร้อน”
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    เอลลดปริมาณน้ำในฉนวนกาซาลง 94 เปอร์เซ็นต์ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนและการระบาดของโรคร้าย รายงานฉบับใหม่ของ Oxfam ระบุว่าเอลลดปริมาณน้ำที่มีอยู่ในกาซาลงร้อยละ 94 "ก่อให้เกิดหายนะด้านสุขภาพที่ร้ายแรง" “การตัดแหล่งน้ำภายนอกของเอล การทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการจัดการน้ำ และการขัดขวางความช่วยเหลือโดยเจตนา ทำให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในฉนวนกาซาลดลงร้อยละ 94 เหลือ 4.74 ลิตร ต่อวันต่อคน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณขั้นต่ำที่แนะนำในกรณีฉุกเฉินเพียงหนึ่งในสาม และน้อยกว่าการกดชักโครกเพียงครั้งเดียว” สัปดาห์นี้ ทางการเมืองเดียร์เอลบาลาห์คาดการณ์ว่า “ถนนต่างๆ จะเต็มไปด้วยน้ำเสีย” และ “โรคภัยจะแพร่กระจาย” เนื่องจากทางการได้ปิดเครื่องสูบน้ำเสียและสถานีบำบัดน้ำเสียหลังจากน้ำมันหมด แพทย์ระบุว่าโรคเรื้อน ผื่นผิวหนัง และเหากำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว หน่วยงานของสหประชาชาติได้เตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าโรคอหิวาตกโรคและโรคร้ายแรงอื่นๆ อาจกลายเป็นโรคระบาด “พวกเราไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลากลางคืนเพราะกลิ่นน้ำเสีย ลูกๆ ของฉันไม่สามารถนอนหลับได้เพราะพวกเขามักจะป่วยด้วยสิ่งที่แพร่กระจายมาจากขยะอยู่เสมอ” มูฮัมหมัด อัล-คาห์โลต จากสภากาชาดปาเลสกล่าวเสริมว่า “พวกเรากำลังหายใจไม่ออกเพราะกลิ่นขยะ ควัน และความร้อน” . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    Sad
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 519 มุมมอง 0 รีวิว