17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต
หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า
“มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”
————
"ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"
ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด
เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน
สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่
1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489
ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้
แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น
บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย
ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”
................
2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต
ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ
แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น
ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”
..................
3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”
----------
ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม
จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)
………
ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย
—————-
ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:
“๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา
น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ
น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต
ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)
มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”
(นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)
------------
จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ
แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”
……….
ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย
จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ
ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต
หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า
“มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”
————
"ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"
ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด
เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน
สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่
1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489
ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้
แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น
บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย
ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”
................
2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต
ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ
แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น
ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”
..................
3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”
----------
ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม
จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)
………
ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย
—————-
ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:
“๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา
น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ
น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต
ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)
มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”
(นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)
------------
จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ
แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”
……….
ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย
จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ
ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต
หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า
“มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”
————
"ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"
ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด
เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน
สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่
1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489
ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้
แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น
บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย
ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”
................
2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต
ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ
แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น
ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”
..................
3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:
“หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด
เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้
‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)
และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”
----------
ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม
จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)
………
ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย
—————-
ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:
“๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา
น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ
น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต
ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)
มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”
(นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)
------------
จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ
แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ
ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”
……….
ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย
จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ
ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
