• ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา สรุปสาระสำคัญของศาสตราจารย์เจฟฟรี่ แซคส์ จากการสืบสวนรวบรวม 4.5 ปี และได้ความจริงที่ต้องเปิดเผยจากพระราชบัญญัติความโปร่งใสของข้อมูล • ไวรัสโควิดสร้างโดยมนุษย์ • หลักฐานต่างๆให้เห็นว่าโรคระบาดเกิดจากการหลุดรั่ว 99% • ไวรัสสร้างจาก นักวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยnorth Carolina • ทุนจากกระทรวงกลาโหม DARPA ต้นตอคือ เฟาซี • โครงการ DEFUSE ต้องการสร้างไวรัสที่ร้ายแรงที่สุดและไปพ่นใส่ค้างคาวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ติดเชื้อเสมือนกลายเป็นวัคซีนจะได้ทำให้ค้างคาวไม่เกิดติดเชื้อนี้ต่อ!!! • ทดสอบในสหรัฐเองพบว่าไวรัสที่สร้างขึ้น ติดค้างคาวในสหรัฐได้ แต่จุดประสงค์คือการนำไปใช้ในค้างคาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ส่งไวรัสนี้ ไปที่สถาบันวิจัยไวรัสอู๋ฮั่นทางเมล์!!!!! • เพื่อให้ไปทดสอบกับค้างคาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • พบว่าค้างคาวเอเชีย"ไม่ติดเชื้อนี้" • แต่ในที่สุดไวรัสหลุดออกและระบาดไปทั่วโลก คนตายตามบันทึกอย่างน้อย 8,000,000 คนแต่อาจถึง 20,000,000 คน • ไวรัสสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ปราดเปรื่อง • เมื่อเกิดเรื่อง มีการปกปิดทันที จากเฟาซี และ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่มีส่วนได้ส่วนเสียการได้รับทุน และออกบทความในวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำว่าเกิดจากธรรมชาติ และป้ายสีข้อมูลอื่นว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด และ พ่วงด้วยกันเซ็นเซอร์ข้อมูล • โศกนาฏกรรมนี้สอนให้รู้ว่า ยังไม่มีระบบควบคุมการกระทำของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นไปได้อย่างไรที่หน่วยงาน องค์กรวิทยาศาสตร์ชั้นนำมีความคิดเช่นนี้ปล่อยให้เกิดการกระทำ ให้ทุนมหาศาลและไม่คิดถึงความเสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนความเลวร้าย จากนักวิทยาศาสตร์ปราดเปรื่องวิปริต สร้างไวรัสโควิดhttps://youtu.be/afK0mGXDF4o
    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา สรุปสาระสำคัญของศาสตราจารย์เจฟฟรี่ แซคส์ จากการสืบสวนรวบรวม 4.5 ปี และได้ความจริงที่ต้องเปิดเผยจากพระราชบัญญัติความโปร่งใสของข้อมูล • ไวรัสโควิดสร้างโดยมนุษย์ • หลักฐานต่างๆให้เห็นว่าโรคระบาดเกิดจากการหลุดรั่ว 99% • ไวรัสสร้างจาก นักวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยnorth Carolina • ทุนจากกระทรวงกลาโหม DARPA ต้นตอคือ เฟาซี • โครงการ DEFUSE ต้องการสร้างไวรัสที่ร้ายแรงที่สุดและไปพ่นใส่ค้างคาวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ติดเชื้อเสมือนกลายเป็นวัคซีนจะได้ทำให้ค้างคาวไม่เกิดติดเชื้อนี้ต่อ!!! • ทดสอบในสหรัฐเองพบว่าไวรัสที่สร้างขึ้น ติดค้างคาวในสหรัฐได้ แต่จุดประสงค์คือการนำไปใช้ในค้างคาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ส่งไวรัสนี้ ไปที่สถาบันวิจัยไวรัสอู๋ฮั่นทางเมล์!!!!! • เพื่อให้ไปทดสอบกับค้างคาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • พบว่าค้างคาวเอเชีย"ไม่ติดเชื้อนี้" • แต่ในที่สุดไวรัสหลุดออกและระบาดไปทั่วโลก คนตายตามบันทึกอย่างน้อย 8,000,000 คนแต่อาจถึง 20,000,000 คน • ไวรัสสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ปราดเปรื่อง • เมื่อเกิดเรื่อง มีการปกปิดทันที จากเฟาซี และ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่มีส่วนได้ส่วนเสียการได้รับทุน และออกบทความในวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำว่าเกิดจากธรรมชาติ และป้ายสีข้อมูลอื่นว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด และ พ่วงด้วยกันเซ็นเซอร์ข้อมูล • โศกนาฏกรรมนี้สอนให้รู้ว่า ยังไม่มีระบบควบคุมการกระทำของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นไปได้อย่างไรที่หน่วยงาน องค์กรวิทยาศาสตร์ชั้นนำมีความคิดเช่นนี้ปล่อยให้เกิดการกระทำ ให้ทุนมหาศาลและไม่คิดถึงความเสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนความเลวร้าย จากนักวิทยาศาสตร์ปราดเปรื่องวิปริต สร้างไวรัสโควิดhttps://youtu.be/afK0mGXDF4o
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 78 มุมมอง 0 รีวิว
  • Thaipublica’s Pick: กองทัพเรืออินโดนีเซีย ยึดเรือติดธงชาติไทยลักลอบขนยาบ้าและโคเคน มูลค่า 426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ.กองทัพเรืออินโดนีเซีย ยึดเรือลักลอบขนยาบ้าและโคเคนเกือบ 2 ตันมูลค่า 425 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกชายฝั่งเกาะสุมาตราในสัปดาห์นี้ พร้อมจับกุมชาวไทย 1 รายและชาวเมียนมา 4 รายที่พบอยู่บนเรือ กองทัพเรือระบุเมื่อวันศุกร์ (16 พฤษภาคม 2568).เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมเรือลำดังกล่าวหลังจากปิดไฟและเร่งความเร็วเพื่อพยายามหลบหนีออกจากน่านน้ำอินโดนีเซียในภูมิภาคตันจุง บาไล การิมัน (Tanjung Balai Karimun) ของ หมู่เกาะรีเยา (Riau Island) กองทัพเรือระบุ.เจ้าหน้าที่ยึดกระสอบสีเหลืองและสีขาวได้เกือบ 100 กระสอบ ภายในบรรจุโคเคนประมาณ 1.2 ตัน และยาบ้า 705 กิโลกรัม มูลค่า 7 ล้านล้านรูเปียะฮ์ (425.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โฆษกกองทัพเรือ ไอ มาดิ วิระ ฮาดี อาร์ซันตา วาร์ธานา(I Made Wira Hady Arsanta Wardhana) กล่าวในแถลงการณ์.อินโดนีเซียมีกฎหมายปราบปรามยาเสพติดที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และการค้ายาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต.กองทัพเรือระบุว่า เรือลำดังกล่าวซึ่งติดธงชาติไทย ถูกนำไปยังฐานทัพเรือในตันจุง บาไล การิมุน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของลูกเรือ นอกจากสัญชาติของพวกเขา.เจ้าหน้าที่ยังคงสืบสวนต่อไปว่ายาเสพติดเหล่านี้มาจากไหน และเรือกำลังมุ่งหน้าไปที่ใด เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ ซึ่งใช้ชื่อเพียงว่านายฟาวซี กล่าวในการแถลงข่าว.การจับกุมยาเสพติดครั้งนี้ถือเป็นการจับกุมครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประเทศ.สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) ระบุในรายงานปี 2567 ว่า เมื่อปี 2566 มีการจับกุมยาบ้าได้มากถึง 190 ตัน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกลุ่มอาชญากรใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอในการลักลอบขนยาเสพติด โดยส่วนใหญ่ผ่านอ่าวไทย.สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่ติดกับบางส่วนของไทยและลาว มีประวัติศาสตร์ในด้านการผลิตยาเสพติดมายาวนาน โดยส่วนใหญ่ใช้โดยกลุ่มอาชญากรในเอเชียที่จำหน่ายยาเสพติดไปไกลถึงญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์.ในปี 2565 พบโคเคน 179 กิโลกรัม (395 ปอนด์) ในน่านน้ำใกล้ท่าเรือเมอระก์บนเกาะชวา ซึ่งถือเป็นการยึดโคเคนครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศในเวลานั้น UNODC ระบุในรายงานโคเคนระดับโลกประจำปี 2566.(1 เหรียญสหรัฐ = 16,435.0000 รูเปียะฮ์).เรื่อง : https://www.yahoo.com/news/indonesia-seizes-ship-carrying-methamphetamine-094840017.html.#เรือติดธงชาติไทยขนยาเสพติด #อินโดนีเซีย ที่มา : Thaipublicahttps://www.facebook.com/share/p/1C6nV7Umiv/?mibextid=wwXIfr
    Thaipublica’s Pick: กองทัพเรืออินโดนีเซีย ยึดเรือติดธงชาติไทยลักลอบขนยาบ้าและโคเคน มูลค่า 426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ.กองทัพเรืออินโดนีเซีย ยึดเรือลักลอบขนยาบ้าและโคเคนเกือบ 2 ตันมูลค่า 425 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกชายฝั่งเกาะสุมาตราในสัปดาห์นี้ พร้อมจับกุมชาวไทย 1 รายและชาวเมียนมา 4 รายที่พบอยู่บนเรือ กองทัพเรือระบุเมื่อวันศุกร์ (16 พฤษภาคม 2568).เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมเรือลำดังกล่าวหลังจากปิดไฟและเร่งความเร็วเพื่อพยายามหลบหนีออกจากน่านน้ำอินโดนีเซียในภูมิภาคตันจุง บาไล การิมัน (Tanjung Balai Karimun) ของ หมู่เกาะรีเยา (Riau Island) กองทัพเรือระบุ.เจ้าหน้าที่ยึดกระสอบสีเหลืองและสีขาวได้เกือบ 100 กระสอบ ภายในบรรจุโคเคนประมาณ 1.2 ตัน และยาบ้า 705 กิโลกรัม มูลค่า 7 ล้านล้านรูเปียะฮ์ (425.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โฆษกกองทัพเรือ ไอ มาดิ วิระ ฮาดี อาร์ซันตา วาร์ธานา(I Made Wira Hady Arsanta Wardhana) กล่าวในแถลงการณ์.อินโดนีเซียมีกฎหมายปราบปรามยาเสพติดที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และการค้ายาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต.กองทัพเรือระบุว่า เรือลำดังกล่าวซึ่งติดธงชาติไทย ถูกนำไปยังฐานทัพเรือในตันจุง บาไล การิมุน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของลูกเรือ นอกจากสัญชาติของพวกเขา.เจ้าหน้าที่ยังคงสืบสวนต่อไปว่ายาเสพติดเหล่านี้มาจากไหน และเรือกำลังมุ่งหน้าไปที่ใด เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ ซึ่งใช้ชื่อเพียงว่านายฟาวซี กล่าวในการแถลงข่าว.การจับกุมยาเสพติดครั้งนี้ถือเป็นการจับกุมครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประเทศ.สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) ระบุในรายงานปี 2567 ว่า เมื่อปี 2566 มีการจับกุมยาบ้าได้มากถึง 190 ตัน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกลุ่มอาชญากรใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอในการลักลอบขนยาเสพติด โดยส่วนใหญ่ผ่านอ่าวไทย.สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่ติดกับบางส่วนของไทยและลาว มีประวัติศาสตร์ในด้านการผลิตยาเสพติดมายาวนาน โดยส่วนใหญ่ใช้โดยกลุ่มอาชญากรในเอเชียที่จำหน่ายยาเสพติดไปไกลถึงญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์.ในปี 2565 พบโคเคน 179 กิโลกรัม (395 ปอนด์) ในน่านน้ำใกล้ท่าเรือเมอระก์บนเกาะชวา ซึ่งถือเป็นการยึดโคเคนครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศในเวลานั้น UNODC ระบุในรายงานโคเคนระดับโลกประจำปี 2566.(1 เหรียญสหรัฐ = 16,435.0000 รูเปียะฮ์).เรื่อง : https://www.yahoo.com/news/indonesia-seizes-ship-carrying-methamphetamine-094840017.html.#เรือติดธงชาติไทยขนยาเสพติด #อินโดนีเซีย ที่มา : Thaipublicahttps://www.facebook.com/share/p/1C6nV7Umiv/?mibextid=wwXIfr
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 127 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประตูเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

    เดือนนี้ ปัญหาเก่าเก็บจะคลี่คลาย แต่ความลับในเรื่องชู้สาวที่ปกปิดจะถูกเปิดเผยให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป การเจรจาสิ่งใหม่ๆจะได้พบในสิ่งที่ดี จะได้เกิดแนวความคิดใหม่ๆสร้างสรรค์ให้กับองค์กรจึงก่อเกิดผลประโยชน์ ติดตามมา ธุรกิจส่งออก ร้านอาหาร งานบริการ งานติดต่อประสานงาน ควรหากิจกรรมต่างๆหรือประชุมเพื่อ ระดมสมองแสดงความคิดเห็นจะมีชื่อเสียง แต่ค้าเหล็กโลหะ อาวุธสงคราม หม้อต้มไฟฟ้า หรือถังแก๊ส ระวังจะเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้อย่างรุนแรง หากเดินทางจะมีโชคลาภได้รับข่าวจากแดนไกล เพื่อนใหม่ๆจะเข้า มาเยี่ยมเยือน ระวังจะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เสียเลือดเสียเนื้อจากโลหะของมีคม
    ___________________________________
    FengshuiBizDesigner
    ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้

    🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG
    ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง)
    .
    .
    #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร
    #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    ประตูเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เดือนนี้ ปัญหาเก่าเก็บจะคลี่คลาย แต่ความลับในเรื่องชู้สาวที่ปกปิดจะถูกเปิดเผยให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป การเจรจาสิ่งใหม่ๆจะได้พบในสิ่งที่ดี จะได้เกิดแนวความคิดใหม่ๆสร้างสรรค์ให้กับองค์กรจึงก่อเกิดผลประโยชน์ ติดตามมา ธุรกิจส่งออก ร้านอาหาร งานบริการ งานติดต่อประสานงาน ควรหากิจกรรมต่างๆหรือประชุมเพื่อ ระดมสมองแสดงความคิดเห็นจะมีชื่อเสียง แต่ค้าเหล็กโลหะ อาวุธสงคราม หม้อต้มไฟฟ้า หรือถังแก๊ส ระวังจะเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้อย่างรุนแรง หากเดินทางจะมีโชคลาภได้รับข่าวจากแดนไกล เพื่อนใหม่ๆจะเข้า มาเยี่ยมเยือน ระวังจะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เสียเลือดเสียเนื้อจากโลหะของมีคม ___________________________________ FengshuiBizDesigner ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้ 🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง) . . #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ปัตตานีไม่ใช่ดินแดนที่ถูกยึด”
    เปิดหลักฐานสยามและอังกฤษที่ยืนยันอธิปไตยของไทย

    #อัษฎางค์ยมนาค

    การเมืองของประวัติศาสตร์ และมายาคติแห่งการ “สูญเสียดินแดน”

    เมื่อ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตผู้นำผู้ทรงอิทธิพลของมาเลเซีย โพสต์ข้อความเรียกร้องความเห็นใจต่อ “การสูญเสียดินแดนของชาวมลายู” โดยมีนัยว่าพรมแดนปัจจุบันของมาเลเซียถูกจำกัด เพราะดินแดนบางส่วนตกเป็นของประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย วาทกรรมนี้จึงถูกปล่อยออกมาในลักษณะที่ปลุกอารมณ์ผู้คน และสร้างภาพลวงตาว่าชาวมลายูเคยถูก “ยึดครอง”

    แต่หากไม่ใช้ปัญญาแยกแยะระหว่างวาทกรรมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของ “มายาคติแห่งการถูกกดขี่” ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับแนวคิดแบ่งแยกดินแดนที่ยังคุกรุ่น

    ประเทศไทยไม่เคย “ยึด” ดินแดนจากมาเลเซีย เพราะ “มาเลเซีย” ยังไม่ปรากฏในฐานะรัฐชาติในช่วงเวลานั้น ดินแดนที่เรียกว่า มลายา หรือ คาบสมุทรมลายู ในอดีต ประกอบด้วยรัฐสุลต่านอิสระหลายแห่ง รวมถึง ปัตตานี ซึ่งยอมรับอธิปไตยของสยามในฐานะ “รัฐบรรณาการ” มาตั้งแต่สมัยอยุธยา

    ในบรรดาหัวเมืองมลายูที่เคยขึ้นกับไทย ได้แก่ ไทรบุรี กะลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งอังกฤษเองก็รับรองอย่างเป็นทางการใน “สัญญาเบอร์นี” (พ.ศ. 2369) ว่าเมืองเหล่านี้เป็นดินแดนภายใต้อำนาจของกรุงเทพฯ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อจักรวรรดิอังกฤษขยายอิทธิพลในภูมิภาค หลังชัยชนะเหนือจีนและพม่า ไทยซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคม จึงต้องยอมแลกดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาเอกราชโดยรวม

    ผลก็คือ ไทยต้องเสีย ไทรบุรี กะลันตัน และตรังกานู ไปให้อังกฤษ ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ ปัตตานี ยังคงอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยจนถึงปัจจุบัน

    เพื่อคลี่คลายความเข้าใจผิด และตั้งหลักให้กับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บทความนี้จึงขอนำเสนอหลักฐานจาก พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมอ้างอิงเอกสารของอังกฤษ เพื่อให้ข้อเท็จจริงได้ยืนเคียงข้างวาทกรรมร่วมสมัยอย่างมีศักดิ์ศรี

    อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่
    www.atsadang.com/?p=5503
    #อัษฎางค์ดอทคอม
    “ปัตตานีไม่ใช่ดินแดนที่ถูกยึด” เปิดหลักฐานสยามและอังกฤษที่ยืนยันอธิปไตยของไทย #อัษฎางค์ยมนาค การเมืองของประวัติศาสตร์ และมายาคติแห่งการ “สูญเสียดินแดน” เมื่อ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตผู้นำผู้ทรงอิทธิพลของมาเลเซีย โพสต์ข้อความเรียกร้องความเห็นใจต่อ “การสูญเสียดินแดนของชาวมลายู” โดยมีนัยว่าพรมแดนปัจจุบันของมาเลเซียถูกจำกัด เพราะดินแดนบางส่วนตกเป็นของประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย วาทกรรมนี้จึงถูกปล่อยออกมาในลักษณะที่ปลุกอารมณ์ผู้คน และสร้างภาพลวงตาว่าชาวมลายูเคยถูก “ยึดครอง” แต่หากไม่ใช้ปัญญาแยกแยะระหว่างวาทกรรมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของ “มายาคติแห่งการถูกกดขี่” ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับแนวคิดแบ่งแยกดินแดนที่ยังคุกรุ่น ประเทศไทยไม่เคย “ยึด” ดินแดนจากมาเลเซีย เพราะ “มาเลเซีย” ยังไม่ปรากฏในฐานะรัฐชาติในช่วงเวลานั้น ดินแดนที่เรียกว่า มลายา หรือ คาบสมุทรมลายู ในอดีต ประกอบด้วยรัฐสุลต่านอิสระหลายแห่ง รวมถึง ปัตตานี ซึ่งยอมรับอธิปไตยของสยามในฐานะ “รัฐบรรณาการ” มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในบรรดาหัวเมืองมลายูที่เคยขึ้นกับไทย ได้แก่ ไทรบุรี กะลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งอังกฤษเองก็รับรองอย่างเป็นทางการใน “สัญญาเบอร์นี” (พ.ศ. 2369) ว่าเมืองเหล่านี้เป็นดินแดนภายใต้อำนาจของกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อจักรวรรดิอังกฤษขยายอิทธิพลในภูมิภาค หลังชัยชนะเหนือจีนและพม่า ไทยซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคม จึงต้องยอมแลกดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาเอกราชโดยรวม ผลก็คือ ไทยต้องเสีย ไทรบุรี กะลันตัน และตรังกานู ไปให้อังกฤษ ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ ปัตตานี ยังคงอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยจนถึงปัจจุบัน เพื่อคลี่คลายความเข้าใจผิด และตั้งหลักให้กับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บทความนี้จึงขอนำเสนอหลักฐานจาก พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมอ้างอิงเอกสารของอังกฤษ เพื่อให้ข้อเท็จจริงได้ยืนเคียงข้างวาทกรรมร่วมสมัยอย่างมีศักดิ์ศรี อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ www.atsadang.com/?p=5503 #อัษฎางค์ดอทคอม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย

    เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง

    ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต

    ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก

    The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต

    1. การวิเคราะห์สถานการณ์
    บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้:

    สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ

    ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม.
    ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล

    ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต.

    อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ

    กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง:

    กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ.

    กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย.

    กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน.

    กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล.

    แนวโน้มในอนาคต:
    การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา.

    ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่.

    ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว.

    ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ.

    ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
    ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว

    รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม

    ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia.

    การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook

    การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง

    แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024.
    ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์

    ท่าทีของไทย
    ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ:

    การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC.

    ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center

    การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction.

    มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News.

    นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น.

    การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera.

    ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network.

    ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure.

    ข้อสรุป
    สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ


    การอ้างอิง:
    Laotian Civil War - Wikipedia
    Insurgency in Laos - Wikipedia
    Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations
    Assessment for Hmong in Laos | Refworld
    Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica
    From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters
    Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR
    Laos country profile - BBC News
    Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations
    Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post
    Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic
    Laos | AP News






    ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้: สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม. ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต. อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง: กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ. กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย. กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน. กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล. แนวโน้มในอนาคต: การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา. ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่. ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว. ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia. การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024. ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์ ท่าทีของไทย ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ: การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC. ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction. มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News. นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น. การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network. ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure. ข้อสรุป สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การอ้างอิง: Laotian Civil War - Wikipedia Insurgency in Laos - Wikipedia Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations Assessment for Hmong in Laos | Refworld Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR Laos country profile - BBC News Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic Laos | AP News
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 609 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดฉากการแข่งขันว่ายน้ำ “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” สานฝันอนาคตนักกีฬาเยาวชนไทย ก้าวไกลสู่การแข่งขันใหญ่ระดับประเทศ
     
    บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย, สมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันว่ายน้ำครั้งยิ่งใหญ่ ในงาน “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” การแข่งขันว่ายน้ำเยาวชนระดับประเทศ ตามหลักกฏกติกามาตรฐาน ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA)                 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานจัดขึ้นระหว่างวันที่  3-4 พฤษภาคม 2568 ณ สระว่ายน้ำ Champions Pool สวนน้ำ แฟนตาเซีย ลากูน ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช

    วันที่ 3 พ.ค.2568 เวลา 09.00น. นายชนม์บันลือ วรรธนพันธุ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมาให้เกียรติร่วมงานและให้กำลังใจนักกีฬาว่ายน้ำ พร้อมด้วย น.ส.ธีรารัตน์ ร่มรื่น ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมา ดร.สิทธิชัย เป้งคำภา ผู้ช่วยผู้แทนฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย และกรรมการบริหารสโมสรกีฬาทางน้ำภาค และผู้ฝึกสอน นักกีฬาเข้าร่วมงาน โดยมีนายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ

    วันที่ 4 พ.ค.2568 เวลา 17.00น. นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดพร้อมด้วย นายชนม์บันลือ วรรธนพันธุ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา นายจุมภฏ อินทรนัฏ กรรมการบริหารสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย และประธานสโมสรกีฬาทางน้ำภาค 3 ร่วมมอบรางวัลให้สโมสรและนักกีฬาว่ายน้ำที่เข้าแข่งขัน โดยมีนายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ

    การแข่งขันว่ายน้ำรายการ “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” ใช้กติกาการแข่งขันของ FINA ฉบับล่าสุด โดยมีสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทยรับรองผลการแข่งขัน มีวัตถุประสงค์การแข่งขัน ดังนี้ 1.เพื่อพิจารณาคัดเลือกนักกีฬาว่ายน้ำเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำเยาวชนชิงชนะเลิศ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกีฬาว่ายน้ำ ระดับยุวชน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้เป็นที่นิยมแพร่หลายรวมถึงการฝึกซ้อมและว่ายน้ำอย่างถูกวิธี 3.เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาว่ายน้ำ รวมถึงการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารพิษไม่หันไปพึ่งพาสารเสพติด 4.เพื่อช่วยพัฒนาและร่วมผลักดัน วงการกีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้าและเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ 5.เพื่อร่วมส่งเสริมนโยบายและวัตถุประสงค์ของสโมสรกีฬาว่ายน้ำจังหวัดนครราชสีมา และ สมาคมกีฬาจังหวัดนครราชสีมา

    โดยมีรูปแแบบการแข่งขันเป็นการแข่งขันว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ Champions Pool ขนาด 50 เมตร จำนวนแข่ง 8 ลู่ เป็นการแข่งขันรอบเดียว ไม่มีรอบคัดเลือก โดยแบ่งประเภทเยาวชนชาย – หญิง อายุระหว่าง 7-14 ปี และบุคคลทั่วไป ในระยะทาง 50 เมตร, 100 เมตร และ 200 เมตร  โดยใช้ 4 ท่าว่ายสากลตามกติกาของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) และสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย
    ซึ่งแบ่งประเภทรางวัล ดังนี้ 1.รางวัลประเภทบุคคล 2.รางวัลประเภทสโมสร

    บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป ต้องขอแสดงความยินดีสำหรับ 
    🏆สโมสร ชูสวิมคลับ ได้รางวัลคะแนนรวมสโมสรยอดเยี่ยม คว้าถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครอง
    รองชนะเลิศอับดับ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
    รองชนะเลิศอันดับ 2 มารีย์รักษ์ นครราชสีมา 
    รองชนะเลิศอันดับ 3 SAT 3 Swimming
    รองชนะเลิศอันดับ 4 ที เอส สวิมมิ่ง
    รองชนะเลิศอันดับ 5 โรงเรียนเทพสัมฤทธิ์วิทยา
    รองชนะเลิศอันดับ 6 Phuket Country Home Swimming

    ขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจทุกๆ ท่านที่ร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ แล้วพบกันในรอบถัดไป ที่สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน
    ปิดฉากการแข่งขันว่ายน้ำ “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” สานฝันอนาคตนักกีฬาเยาวชนไทย ก้าวไกลสู่การแข่งขันใหญ่ระดับประเทศ   บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย, สมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันว่ายน้ำครั้งยิ่งใหญ่ ในงาน “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” การแข่งขันว่ายน้ำเยาวชนระดับประเทศ ตามหลักกฏกติกามาตรฐาน ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA)                 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานจัดขึ้นระหว่างวันที่  3-4 พฤษภาคม 2568 ณ สระว่ายน้ำ Champions Pool สวนน้ำ แฟนตาเซีย ลากูน ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช วันที่ 3 พ.ค.2568 เวลา 09.00น. นายชนม์บันลือ วรรธนพันธุ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมาให้เกียรติร่วมงานและให้กำลังใจนักกีฬาว่ายน้ำ พร้อมด้วย น.ส.ธีรารัตน์ ร่มรื่น ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมา ดร.สิทธิชัย เป้งคำภา ผู้ช่วยผู้แทนฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย และกรรมการบริหารสโมสรกีฬาทางน้ำภาค และผู้ฝึกสอน นักกีฬาเข้าร่วมงาน โดยมีนายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ วันที่ 4 พ.ค.2568 เวลา 17.00น. นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดพร้อมด้วย นายชนม์บันลือ วรรธนพันธุ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา นายจุมภฏ อินทรนัฏ กรรมการบริหารสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทย และประธานสโมสรกีฬาทางน้ำภาค 3 ร่วมมอบรางวัลให้สโมสรและนักกีฬาว่ายน้ำที่เข้าแข่งขัน โดยมีนายปรีชา ลิ้มอั่ว ผู้จัดการทั่วไปปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ให้การต้อนรับ การแข่งขันว่ายน้ำรายการ “28th THE MALL KORAT SWIMMING CUP 2025” ใช้กติกาการแข่งขันของ FINA ฉบับล่าสุด โดยมีสมาคมกีฬาทางน้ำแห่งประเทศไทยรับรองผลการแข่งขัน มีวัตถุประสงค์การแข่งขัน ดังนี้ 1.เพื่อพิจารณาคัดเลือกนักกีฬาว่ายน้ำเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำเยาวชนชิงชนะเลิศ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกีฬาว่ายน้ำ ระดับยุวชน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้เป็นที่นิยมแพร่หลายรวมถึงการฝึกซ้อมและว่ายน้ำอย่างถูกวิธี 3.เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาว่ายน้ำ รวมถึงการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารพิษไม่หันไปพึ่งพาสารเสพติด 4.เพื่อช่วยพัฒนาและร่วมผลักดัน วงการกีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้าและเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ 5.เพื่อร่วมส่งเสริมนโยบายและวัตถุประสงค์ของสโมสรกีฬาว่ายน้ำจังหวัดนครราชสีมา และ สมาคมกีฬาจังหวัดนครราชสีมา โดยมีรูปแแบบการแข่งขันเป็นการแข่งขันว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ Champions Pool ขนาด 50 เมตร จำนวนแข่ง 8 ลู่ เป็นการแข่งขันรอบเดียว ไม่มีรอบคัดเลือก โดยแบ่งประเภทเยาวชนชาย – หญิง อายุระหว่าง 7-14 ปี และบุคคลทั่วไป ในระยะทาง 50 เมตร, 100 เมตร และ 200 เมตร  โดยใช้ 4 ท่าว่ายสากลตามกติกาของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) และสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งประเภทรางวัล ดังนี้ 1.รางวัลประเภทบุคคล 2.รางวัลประเภทสโมสร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป ต้องขอแสดงความยินดีสำหรับ  🏆สโมสร ชูสวิมคลับ ได้รางวัลคะแนนรวมสโมสรยอดเยี่ยม คว้าถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครอง รองชนะเลิศอับดับ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รองชนะเลิศอันดับ 2 มารีย์รักษ์ นครราชสีมา  รองชนะเลิศอันดับ 3 SAT 3 Swimming รองชนะเลิศอันดับ 4 ที เอส สวิมมิ่ง รองชนะเลิศอันดับ 5 โรงเรียนเทพสัมฤทธิ์วิทยา รองชนะเลิศอันดับ 6 Phuket Country Home Swimming ขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจทุกๆ ท่านที่ร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ แล้วพบกันในรอบถัดไป ที่สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 359 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5)
    .................
    มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด
    .................
    สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี

    สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป
    .................
    แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ

    ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น

    ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก

    2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก

    3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

    4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก

    5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

    6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ
    คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่

    .................
    เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี

    1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย
    2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ
    3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน
    4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
    5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย
    6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ

    สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ

    เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)”
    .................

    ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย

    น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา

    ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย

    เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก
    .................

    มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน

    การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป

    แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5) ................. มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด ................. สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป ................. แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก 2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก 3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก 5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง 6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่ ................. เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี 1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย 2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ 3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน 4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน 5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย 6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)” ................. ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก ................. มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 601 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย

    คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน

    สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน

    ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด

    แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท)

    #Newskit
    ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท) #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 341 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่มแฮกเกอร์ Lotus Panda ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ได้ดำเนินการโจมตีองค์กรในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เครื่องมือแฮกและมัลแวร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน การโจมตีนี้มีเป้าหมายที่หน่วยงานรัฐบาล องค์กรควบคุมการจราจรทางอากาศ บริษัทโทรคมนาคม และบริษัทขนส่งสินค้าในหลายประเทศ โดยกลุ่มนี้ยังใช้เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญและเข้าถึงระบบภายใน

    ✅ Lotus Panda ใช้มัลแวร์และเครื่องมือที่ไม่เคยมีมาก่อน
    - รวมถึง infostealers เช่น ChromeKatz และ CredentialKatz
    - ใช้เครื่องมือ reverse SSH และ loaders ที่ช่วยเข้าถึงระบบภายใน

    ✅ เป้าหมายของการโจมตีรวมถึงองค์กรในหลายประเทศ
    - หน่วยงานรัฐบาล องค์กรควบคุมการจราจรทางอากาศ และบริษัทโทรคมนาคม
    - บริษัทขนส่งสินค้าและสำนักข่าวในประเทศต่างๆ

    ✅ การใช้เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะ
    - เช่น Sagerunex ที่สามารถขโมยข้อมูลและส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สาม
    - ใช้ executable จากบริษัทแอนตี้ไวรัส เช่น Trend Micro และ Bitdefender เพื่อ sideload malicious DLL files

    ✅ Lotus Panda เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีประวัติยาวนาน
    - กลุ่มนี้มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Billbug, Lotus Blossom และ Thrip
    - มีเป้าหมายหลักคือการจารกรรมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    https://www.techradar.com/pro/security/lotus-panda-hits-unnamed-government-with-bespoke-hacking-tools-and-malware
    กลุ่มแฮกเกอร์ Lotus Panda ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ได้ดำเนินการโจมตีองค์กรในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เครื่องมือแฮกและมัลแวร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน การโจมตีนี้มีเป้าหมายที่หน่วยงานรัฐบาล องค์กรควบคุมการจราจรทางอากาศ บริษัทโทรคมนาคม และบริษัทขนส่งสินค้าในหลายประเทศ โดยกลุ่มนี้ยังใช้เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญและเข้าถึงระบบภายใน ✅ Lotus Panda ใช้มัลแวร์และเครื่องมือที่ไม่เคยมีมาก่อน - รวมถึง infostealers เช่น ChromeKatz และ CredentialKatz - ใช้เครื่องมือ reverse SSH และ loaders ที่ช่วยเข้าถึงระบบภายใน ✅ เป้าหมายของการโจมตีรวมถึงองค์กรในหลายประเทศ - หน่วยงานรัฐบาล องค์กรควบคุมการจราจรทางอากาศ และบริษัทโทรคมนาคม - บริษัทขนส่งสินค้าและสำนักข่าวในประเทศต่างๆ ✅ การใช้เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะ - เช่น Sagerunex ที่สามารถขโมยข้อมูลและส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สาม - ใช้ executable จากบริษัทแอนตี้ไวรัส เช่น Trend Micro และ Bitdefender เพื่อ sideload malicious DLL files ✅ Lotus Panda เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีประวัติยาวนาน - กลุ่มนี้มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Billbug, Lotus Blossom และ Thrip - มีเป้าหมายหลักคือการจารกรรมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://www.techradar.com/pro/security/lotus-panda-hits-unnamed-government-with-bespoke-hacking-tools-and-malware
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 140 มุมมอง 0 รีวิว
  • อเมริกาประกาศในวันจันทร์ (21 เม.ย.) เล็งรีดภาษีศุลกากรอัตรามหาโหด จากแผงโซลาร์เซลล์ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุ่งเป้าเล่นงานบริษัทในเครือของจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในภูมิภาคนี้ โดยกัมพูชาโดนหนักสุด 3,521% ส่วนไทยก็เจอเข้าไป 375%
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000037879

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    อเมริกาประกาศในวันจันทร์ (21 เม.ย.) เล็งรีดภาษีศุลกากรอัตรามหาโหด จากแผงโซลาร์เซลล์ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุ่งเป้าเล่นงานบริษัทในเครือของจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในภูมิภาคนี้ โดยกัมพูชาโดนหนักสุด 3,521% ส่วนไทยก็เจอเข้าไป 375% . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000037879 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1218 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากโรงงานจีน ที่แอบตั้งอยู่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย กัมพูชา ไทย มาเลเซีย เวียดนาม สูงสุด 3,521%

    แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าขายในราคาที่ต่ำกว่าผู้ขายรายอื่นในสหรัฐอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากมีการอุดหนุนของรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดราคาขายในสหรัฐได้


    บริษัทในกัมพูชา ถูกเรียกเก็บในอัตราภาษีถูกสูงที่สุดคือ 3,521%
    ในเวียดนาม บางบริษัทที่ไม่ได้เปิดเผยชื่อต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราสูงถึง 395.9%
    สำหรับไทย ถูกกำหนดอัตราภาษีที่ 375.2%
    ส่วนมาเลเซีย กำหนดไว้ที่ 34.4%

    หมายเหตุ:
    นี่เป็นเพียงตัวเลขอัตราภาษีทั่วไป กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ยังมีการประกาศเฉพาะเจาะจงของแต่ละบริษัทที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งถูกเรียกเก็บในอัตราภาษีที่แตกต่างกันออกไป
    กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากโรงงานจีน ที่แอบตั้งอยู่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย กัมพูชา ไทย มาเลเซีย เวียดนาม สูงสุด 3,521% แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าขายในราคาที่ต่ำกว่าผู้ขายรายอื่นในสหรัฐอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากมีการอุดหนุนของรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดราคาขายในสหรัฐได้ บริษัทในกัมพูชา ถูกเรียกเก็บในอัตราภาษีถูกสูงที่สุดคือ 3,521% ในเวียดนาม บางบริษัทที่ไม่ได้เปิดเผยชื่อต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราสูงถึง 395.9% สำหรับไทย ถูกกำหนดอัตราภาษีที่ 375.2% ส่วนมาเลเซีย กำหนดไว้ที่ 34.4% หมายเหตุ: นี่เป็นเพียงตัวเลขอัตราภาษีทั่วไป กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ยังมีการประกาศเฉพาะเจาะจงของแต่ละบริษัทที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งถูกเรียกเก็บในอัตราภาษีที่แตกต่างกันออกไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 239 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาดหมายอากาศทั่วไป
    ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน พ.ศ. 2568
    ในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทย สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย
    หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 26 – 28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลองช่วง

    ข้อควรระวัง
    ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วยตลอดช่วง
    สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
    ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
    ออกประกาศ 22 เมษายน 2568 12:00 น.
    คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน พ.ศ. 2568 ในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทย สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 26 – 28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลองช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ออกประกาศ 22 เมษายน 2568 12:00 น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 275 มุมมอง 0 รีวิว
  • **เจาะลึกจิตวิญญาณและอารมณ์ของตัวละครหลัก**
    (ในนิยาย *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*)

    ---

    ### **1. หลง เจี้ยน (จีน - ทิศเหนือ)**
    **จิตวิญญาณ :** *ผู้แบกรักเก่าในร่างนักรบ*
    - **ความเจ็บปวดซ่อนเร้น :** แผลเป็นรูปเกล็ดงูบนแก้มไม่ใช่แค่ร่องรอยคำสาป แต่เป็นสัญลักษณ์แห่ง "ความอัปยศ" ที่ปล่อยให้หยวนเยี่ยนต้องเป็นอมตะเพียงลำพัง
    - **การแสดงออก :** สื่อสารผ่านการกระทำมากกว่าคำพูด เวลาโกรธจะจัดระเบียบเข็มปักจักรวาลให้เรียงตัวเป็นรูปวงแหวน
    - **ความปรารถนาลึกๆ :** อยากใช้ชีวิตธรรมดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาในตรอกเล็กๆ ของปักกิ่ง โดยไม่ต้องสวมมงกุฎแห่งความรับผิดชอบ
    - **จุดแตกหักทางอารมณ์ :** การพบว่าหยวนเยี่ยนเลือกถูกสาปเพื่อให้เขาได้มีชีวิตต่อ...แทนที่จะปล่อยให้เขาตายตาม

    ---

    ### **2. ทาเคดะ ซากุระ (ญี่ปุ่น - ทิศตะวันออก)**
    **จิตวิญญาณ :** *ศิลปินผู้วาดภาพด้วยวิญญาณตนเอง*
    - **ความเปราะบาง :** รู้สึกเหมือนเป็น "ภาพวาดที่ยังไม่เสร็จ" เปรียบเทียบตัวเองกับพี่ชายที่สมบูรณ์แบบเสมอ
    - **พิธีกรรมส่วนตัว :** แอบเก็บเส้นผมของทุกคนที่วาดภาพไว้ในสมุดสีน้ำ เพื่อรู้สึกว่ายังควบคุมบางสิ่งได้
    - **ความฝันลับ :** อยากวาดภาพที่ไม่มีคำสาปซ่อนอยู่ แค่ภาพทุ่งซากุระกับพี่ชายที่ยิ้มได้อย่างอิสระ
    - **การเผชิญความจริง :** วันที่ต้องใช้พู่กันจุ่มเลือดตัวเองเพื่อวาดทางรอดให้ทุกคน

    ---

    ### **3. วีร ราชปุต (อินเดีย - ทิศตะวันตก)**
    **จิตวิญญาณ :** *มหาเศรษฐีผู้ห่อหุ้มหัวใจด้วยเงินตรา*
    - **ความกลัวที่ซ่อนอยู่ :** กลัวความเงียบ จึงใช้เสียงเพลง/การเจรจาเติมเต็มชีวิตตลอดเวลา
    - **พฤติกรรมย้ำคิด :** นับเม็ดพลอยในสร้อย 108 เม็ดทุกเช้า เพื่อยืนยันว่ายัง "เป็นปกติ"
    - **ความขัดแย้ง :** เกลียดความอ่อนแอ แต่แอบเก็บยาพิษที่อานยาทำไว้...ในกรณีที่ต้องฆ่าตัวตาย
    - **จุดเปลี่ยน :** การพบว่าแม่แท้ๆ ยังมีชีวิตอยู่ในร่างของศัตรู

    ---

    ### **4. คิม จีอู (เกาหลีใต้ - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)**
    **จิตวิญญาณ :** *นกในกรงทองแห่งเสียงเพลง*
    - **ความทุกข์ระทม :** ได้ยินเสียงกระซิบจากไมโครโฟนเก่าๆ ที่พี่ชายให้มา เสียงนั้นบอกให้เธอ "ร้องให้ดังกว่านี้...แม้ต้องแลกด้วยชีวิต"
    - **การต่อรองกับชะตา :** ใช้ลิปสติกสีเลือดเขียนคำสาปบนกระจกห้องน้ำทุกครั้งก่อนขึ้นเวที
    - **ความฝันที่ถูกกดทับ :** อยากร้องเพลงกล่อมเด็กในหมู่บ้านเล็กๆ โดยไม่ต้องมีเอฟเฟกต์พิเศษ
    - **ความสัมพันธ์กับแทฮยอน :** รู้สึกเหมือนเป็น "นกขมิ้นในกรงทอง" ที่พี่ชายสวยงาม แต่กรงนั้นทำจากความผิดพลาดในอดีตของเขา

    ---

    ### **5. ณัฐ ศรีสุวรรณ (ไทย - ทิศใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *นักรบผู้สวมหน้ากากแห่งรอยยิ้ม*
    - **ความเจ็บปวดที่ซ่อนใต้รอยสัก :** สักคำว่า "อิสระ" ซ่อนไว้ใต้ลายนาคราช แต่รู้ตัวว่าตนเองถูกพันธนาการโดยความรักที่มีต่อน้องสาว
    - **พิธีกรรม :** ทุบกระจกในห้องฝึกมวยทุกครั้งที่รู้สึกอ่อนแอ
    - **ความฝันลึกๆ :** อยากพาพิมพ์ลดาไปเที่ยวทะเล โดยไม่ต้องคิดเรื่องคำสาปหรือพิธีกรรม
    - **จุดพลิกผัน :** วันที่พิมพ์ลดาเลือกเต้นระบำหน้ากากครั้งสุดท้าย...โดยไม่บอกเขา

    ---

    ### **6. เดีย วิชายา (อินโดนีเซีย - ทิศตะวันออกเฉียงใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *ราชินีเครื่องเทศผู้หลงกลิ่นอดีต*
    - **ความขัดแย้ง :** เกลียดเครื่องเทศเพราะถูกพ่อฝึกจนจมูกเสื่อม แต่กลับใช้มันเป็นอาวุธ
    - **ความทรงจำสุขสุด :** กลิ่นดินหลังฝนตกในวันที่พี่ชายพาไปตั้งแคมป์โดยไม่บอกแม่
    - **ความกลัว :** กลัวการถูกทิ้ง จึงแสร้งทำตัวแข็งกร้าวตลอดเวลา
    - **สัญลักษณ์ :** แก้วกาแฟร้าวที่พี่ชายให้...เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจว่า "ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ"

    ---

    ### **7. เหงียน ลาน (เวียดนาม - ทิศตะวันตกเฉียงใต้)**
    **จิตวิญญาณ :** *เชฟผู้ปรุงรสชาติแห่งความทรงจำ*
    - **ความสามารถพิเศษ :** รู้รสชาติอารมณ์คนผ่านอาหาร แต่ไม่สามารถลิ้มรสอาหารที่ตัวเองปรุงได้
    - **พิธีกรรม :** แอบชิมน้ำตาตัวเองเวลาปรุงอาหารให้คนสำคัญ
    - **ความฝันที่ถูกเก็บไว้ :** อยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ที่เสิร์ฟแต่เมนูแห่งความสุข โดยไม่มีสูตรลับของตระกูล
    - **ความสัมพันธ์กับล็อง :** มองว่าพี่ชายคือ "สมุดบันทึกที่มีชีวิต" ที่เธอไม่อยากให้เขียนจบ
    **เจาะลึกจิตวิญญาณและอารมณ์ของตัวละครหลัก** (ในนิยาย *The Seven Heirs: Bonds of the Compass*) --- ### **1. หลง เจี้ยน (จีน - ทิศเหนือ)** **จิตวิญญาณ :** *ผู้แบกรักเก่าในร่างนักรบ* - **ความเจ็บปวดซ่อนเร้น :** แผลเป็นรูปเกล็ดงูบนแก้มไม่ใช่แค่ร่องรอยคำสาป แต่เป็นสัญลักษณ์แห่ง "ความอัปยศ" ที่ปล่อยให้หยวนเยี่ยนต้องเป็นอมตะเพียงลำพัง - **การแสดงออก :** สื่อสารผ่านการกระทำมากกว่าคำพูด เวลาโกรธจะจัดระเบียบเข็มปักจักรวาลให้เรียงตัวเป็นรูปวงแหวน - **ความปรารถนาลึกๆ :** อยากใช้ชีวิตธรรมดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาในตรอกเล็กๆ ของปักกิ่ง โดยไม่ต้องสวมมงกุฎแห่งความรับผิดชอบ - **จุดแตกหักทางอารมณ์ :** การพบว่าหยวนเยี่ยนเลือกถูกสาปเพื่อให้เขาได้มีชีวิตต่อ...แทนที่จะปล่อยให้เขาตายตาม --- ### **2. ทาเคดะ ซากุระ (ญี่ปุ่น - ทิศตะวันออก)** **จิตวิญญาณ :** *ศิลปินผู้วาดภาพด้วยวิญญาณตนเอง* - **ความเปราะบาง :** รู้สึกเหมือนเป็น "ภาพวาดที่ยังไม่เสร็จ" เปรียบเทียบตัวเองกับพี่ชายที่สมบูรณ์แบบเสมอ - **พิธีกรรมส่วนตัว :** แอบเก็บเส้นผมของทุกคนที่วาดภาพไว้ในสมุดสีน้ำ เพื่อรู้สึกว่ายังควบคุมบางสิ่งได้ - **ความฝันลับ :** อยากวาดภาพที่ไม่มีคำสาปซ่อนอยู่ แค่ภาพทุ่งซากุระกับพี่ชายที่ยิ้มได้อย่างอิสระ - **การเผชิญความจริง :** วันที่ต้องใช้พู่กันจุ่มเลือดตัวเองเพื่อวาดทางรอดให้ทุกคน --- ### **3. วีร ราชปุต (อินเดีย - ทิศตะวันตก)** **จิตวิญญาณ :** *มหาเศรษฐีผู้ห่อหุ้มหัวใจด้วยเงินตรา* - **ความกลัวที่ซ่อนอยู่ :** กลัวความเงียบ จึงใช้เสียงเพลง/การเจรจาเติมเต็มชีวิตตลอดเวลา - **พฤติกรรมย้ำคิด :** นับเม็ดพลอยในสร้อย 108 เม็ดทุกเช้า เพื่อยืนยันว่ายัง "เป็นปกติ" - **ความขัดแย้ง :** เกลียดความอ่อนแอ แต่แอบเก็บยาพิษที่อานยาทำไว้...ในกรณีที่ต้องฆ่าตัวตาย - **จุดเปลี่ยน :** การพบว่าแม่แท้ๆ ยังมีชีวิตอยู่ในร่างของศัตรู --- ### **4. คิม จีอู (เกาหลีใต้ - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)** **จิตวิญญาณ :** *นกในกรงทองแห่งเสียงเพลง* - **ความทุกข์ระทม :** ได้ยินเสียงกระซิบจากไมโครโฟนเก่าๆ ที่พี่ชายให้มา เสียงนั้นบอกให้เธอ "ร้องให้ดังกว่านี้...แม้ต้องแลกด้วยชีวิต" - **การต่อรองกับชะตา :** ใช้ลิปสติกสีเลือดเขียนคำสาปบนกระจกห้องน้ำทุกครั้งก่อนขึ้นเวที - **ความฝันที่ถูกกดทับ :** อยากร้องเพลงกล่อมเด็กในหมู่บ้านเล็กๆ โดยไม่ต้องมีเอฟเฟกต์พิเศษ - **ความสัมพันธ์กับแทฮยอน :** รู้สึกเหมือนเป็น "นกขมิ้นในกรงทอง" ที่พี่ชายสวยงาม แต่กรงนั้นทำจากความผิดพลาดในอดีตของเขา --- ### **5. ณัฐ ศรีสุวรรณ (ไทย - ทิศใต้)** **จิตวิญญาณ :** *นักรบผู้สวมหน้ากากแห่งรอยยิ้ม* - **ความเจ็บปวดที่ซ่อนใต้รอยสัก :** สักคำว่า "อิสระ" ซ่อนไว้ใต้ลายนาคราช แต่รู้ตัวว่าตนเองถูกพันธนาการโดยความรักที่มีต่อน้องสาว - **พิธีกรรม :** ทุบกระจกในห้องฝึกมวยทุกครั้งที่รู้สึกอ่อนแอ - **ความฝันลึกๆ :** อยากพาพิมพ์ลดาไปเที่ยวทะเล โดยไม่ต้องคิดเรื่องคำสาปหรือพิธีกรรม - **จุดพลิกผัน :** วันที่พิมพ์ลดาเลือกเต้นระบำหน้ากากครั้งสุดท้าย...โดยไม่บอกเขา --- ### **6. เดีย วิชายา (อินโดนีเซีย - ทิศตะวันออกเฉียงใต้)** **จิตวิญญาณ :** *ราชินีเครื่องเทศผู้หลงกลิ่นอดีต* - **ความขัดแย้ง :** เกลียดเครื่องเทศเพราะถูกพ่อฝึกจนจมูกเสื่อม แต่กลับใช้มันเป็นอาวุธ - **ความทรงจำสุขสุด :** กลิ่นดินหลังฝนตกในวันที่พี่ชายพาไปตั้งแคมป์โดยไม่บอกแม่ - **ความกลัว :** กลัวการถูกทิ้ง จึงแสร้งทำตัวแข็งกร้าวตลอดเวลา - **สัญลักษณ์ :** แก้วกาแฟร้าวที่พี่ชายให้...เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจว่า "ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ" --- ### **7. เหงียน ลาน (เวียดนาม - ทิศตะวันตกเฉียงใต้)** **จิตวิญญาณ :** *เชฟผู้ปรุงรสชาติแห่งความทรงจำ* - **ความสามารถพิเศษ :** รู้รสชาติอารมณ์คนผ่านอาหาร แต่ไม่สามารถลิ้มรสอาหารที่ตัวเองปรุงได้ - **พิธีกรรม :** แอบชิมน้ำตาตัวเองเวลาปรุงอาหารให้คนสำคัญ - **ความฝันที่ถูกเก็บไว้ :** อยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ที่เสิร์ฟแต่เมนูแห่งความสุข โดยไม่มีสูตรลับของตระกูล - **ความสัมพันธ์กับล็อง :** มองว่าพี่ชายคือ "สมุดบันทึกที่มีชีวิต" ที่เธอไม่อยากให้เขียนจบ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • 170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️

    📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️

    🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍

    แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม"

    📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398

    จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂

    กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง

    นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย

    💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก…

    ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต

    หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร

    ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น

    👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้

    การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾

    🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล

    ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️

    📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง...
    ✅ เปิดประตูการค้าเสรี
    ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก
    ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว
    ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง
    ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง

    📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง

    😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้

    ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด

    ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่

    ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้

    ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย

    ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”?
    📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ
    📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ
    📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก
    📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น

    📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต

    🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม

    ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า?

    “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง

    ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5

    สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568

    📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
    #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม
    #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย
    #โลกาภิวัตน์กับไทย
    170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️ 📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️ 🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍 แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" 📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂 กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย 💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก… ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น 👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้ การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾 🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️ 📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง... ✅ เปิดประตูการค้าเสรี ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง 📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง 😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้ ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่ ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้ ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”? 📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ 📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ 📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก 📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น 📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต 🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า? “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568 📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย #โลกาภิวัตน์กับไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 774 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางถึงกัมพูชาแล้ว ถือเป็นประเทศที่สาม และประเทศสุดท้ายในภารกิจเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ พร้อมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ณ ท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ นับเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางถึงกัมพูชาแล้ว ถือเป็นประเทศที่สาม และประเทศสุดท้ายในภารกิจเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการ พร้อมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ณ ท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ นับเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1011 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เรียกร้องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับเวียดนามในด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ในขณะเริ่มต้นการเดินทางเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม

    การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งเผชิญกับอัตราภาษี 145% จากสหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามกำลังเจรจาเพื่อลดภาษีของสหรัฐฯ 46% ที่อาจบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังสิ้นสุดการระงับชั่วคราว

    “ทั้งสองฝ่ายควรเสริมความร่วมมือในด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน” สี จิ้นผิง ระบุในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เญินเซิน (Nhan Dan) ของพรรคคอมมิวนิวสต์เวียดนาม ก่อนการเดินทางเยือนในวันนี้ (14) โดยเขายังเรียกร้องให้มีการค้ามากขึ้นและความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับฮานอยในด้านปัญญาประดิษฐ์และเศรษฐกิจสีเขียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035481

    #MGROnline #สีจิ้นผิง
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เรียกร้องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับเวียดนามในด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ในขณะเริ่มต้นการเดินทางเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม • การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งเผชิญกับอัตราภาษี 145% จากสหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามกำลังเจรจาเพื่อลดภาษีของสหรัฐฯ 46% ที่อาจบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังสิ้นสุดการระงับชั่วคราว • “ทั้งสองฝ่ายควรเสริมความร่วมมือในด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน” สี จิ้นผิง ระบุในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เญินเซิน (Nhan Dan) ของพรรคคอมมิวนิวสต์เวียดนาม ก่อนการเดินทางเยือนในวันนี้ (14) โดยเขายังเรียกร้องให้มีการค้ามากขึ้นและความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับฮานอยในด้านปัญญาประดิษฐ์และเศรษฐกิจสีเขียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035481 • #MGROnline #สีจิ้นผิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 364 มุมมอง 0 รีวิว
  • รอยเตอร์ - เกาหลีใต้และเวียดนามเห็นพ้องกันในวันนี้ (14) ที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศกำลังเร่งเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ

    รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างการเยือนเวียดนาม ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพยายามเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บที่ 25% และ 46% ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังจากการระงับขึ้นภาษีทั่วโลกสิ้นสุดลง

    บริษัทจากเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นปลายทางการส่งออกอันดับ 3 ของเกาหลีใต้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035525

    #MGROnline #เกาหลีใต้ #เวียดนาม
    รอยเตอร์ - เกาหลีใต้และเวียดนามเห็นพ้องกันในวันนี้ (14) ที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศกำลังเร่งเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ • รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างการเยือนเวียดนาม ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพยายามเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บที่ 25% และ 46% ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังจากการระงับขึ้นภาษีทั่วโลกสิ้นสุดลง • บริษัทจากเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นปลายทางการส่งออกอันดับ 3 ของเกาหลีใต้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035525 • #MGROnline #เกาหลีใต้ #เวียดนาม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    .
    ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade
    .
    “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม”
    .
    ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค
    .
    อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/
    .
    “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ”
    .
    “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995”
    .
    “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย”
    .
    “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น”
    .
    “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่”
    .
    “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย”
    .
    ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา . ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade . “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม” . ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค . อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/ . “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ” . “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995” . “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย” . “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น” . “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่” . “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย” . ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    WWW.THE101.WORLD
    Amidst the Two Oceans ตอนที่ 3: ประชาคมอาเซียนในระเบียบโลกใหม่
    ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 704 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทความน่าสนใจจากเฟซบุ๊ก Kornkit Disthan เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 “เวียดนามเป็นประเทศที่ "คุกเข่าเร็วเหลือเกิน" ให้กับทรัมป์

    นี่เป็นทัศนะของสำนักข่าว Pheonix และบอกว่า "การคุกเข่าอย่างรวดเร็วของเวียดนามได้สร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษีศุลกากรของทรัมป์เดิมทีเป็นภาษีสากล โดยอัตราภาษีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เคียงกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อให้เอเชียสามารถรวมตัวเป็นพันธมิตรที่เผชิญหน้าและ "สามัคคีกัน" เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับยุโรป"

    และ "การสื่อสารของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะนี้และการตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทรัมป์โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ เปรียบเสมือนการเปิดโอกาสในการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพียงลำพังเพื่อขอการอภัยโทษและรักษาข้อได้เปรียบด้านการค้าที่ต่ำกับสหรัฐอเมริกา"

    ทัศนะนี้ผมเห็นด้วย นายกฯ เวียดนามก้มหัวให้ทรัมป์เร็วไป แน่ล่ะ ประเทศไหนๆ ก็ต้องการเอาตัวรอด แต่แบบนี้มัน "ยอมจำนน" เกินไปเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ที่ยังหาทางตอบโต้แบบไม่เสียศักดิ์ศรีและไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ

    เอาเข้าจริง เวียดนามยอมจำนนก่อนที่ทรัมป์จะประกาศวัน Liberation day สักประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนเห็นจะได้ที่เวียดนามประกาศจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จากนั้นก็ส่งสัญญาณเป็นระยะๆ ผมคาดว่าเวียดนามคงจะคิดว่าทำแบบนี้แล้วทรัมป์คงจะมีเมตตา

    แต่เปล่าเลย เวียดนามถูกขึ้นพิกัดอัตราภาษีสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากกัมพูชา (ที่จริงผมคาดการณ์มาระยะหนึ่งแล้วว่าเวียดนามจะต้องโดนหนักกว่าเพื่อน แต่คาดการณ์พลาดไปนิดนึง)

    นั่นหมายความว่าท่าทียอมจำนนของเวียดนามใช้ไม่ได้ผล และพอทรัมป์ประกาศเล่นงานเวียดนาม เวียดนามก็สนองด้วยการลดภาษีสินค้าอเมริกันมันซะเลยให้เหลือ 0% เพื่อเอาใจทรัมป์ เพราะหวังว่าทรัมป์จะมีเมตตา

    ขนาดมหามิตรอย่างแคนาดากับสหภาพยุโรปทรัมป์ยังไม่มีเมตตา แล้วเวียดนามจะได้รับความเวทนาหรือ? แล้วที่เวียดนามขอให้ทรัมป์ละเว้นมาตรการนี้ไปสัก 3 - 4 เดือน เวียดนามจะมีเวลาพอแก้ไขสถานการณ์หรือ? หากทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลังระวัง FDI จะไหลออกไม่รู้ตัว

    ยังไม่นับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างๆ ที่อาจจะเห็นว่าเวียดนามต่อรองอะไรไม่เป็น และเรื่องนี้ไม่ควรจะยอมท่าเดียวด้วยซ้ำในทัศนะของนักลงทุนรายใหญ่ๆ ของเวียดนาม เช่น จีน และสหภาพยุโรปที่กำลังมีคิวมาคุยเรื่องลงทุนกับเวียดนาม

    แคนาดากับประเทศในยุโรปไม่ยอมก้มหัวให้ ประกาศตอบโต้แทบจะทันที เช่นเดียวกับจีน สหภาพยุโรปนั้นเตรียมจะสวนกลับหากต่อรองกันไม่สำเร็จด้วยซ้ำ แม้พวกนี้จะเป็นประเทศใหญ่ก็จริง แต่ประเทศเล็กก็สามารถรวมกลุ่มต่อรองก็ได้ไม่ใช่หรือ? ยังไม่นับการรวมกลุ่มที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาอีก

    ผมคิดว่าเวียดนามเจริญเติบโต้เร็วก็จริง แต่อาจจะยังขาดประสบการณ์ในโลกทุนนิยมที่ประเทศนายทุนใหญ่มักจะมีเล่ห์เหลี่ยมสูงกว่า แม้แต่ญี่ปุ่นเองในทศวรรษที่ 80 ก็เคยโตเร็วจนกระทั่่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหรัฐฯ และพวก (ซึ่งก็พวกเดียวกับญี่ปุ่นนั่นเอง) จึงบีบให้ญี่ปุ่นรับข้อเสนอ Plaza Accord ซึ่งเป็นจุดจบของการผงาดของญี่ปุ่น

    ทุกวันนี้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ยังง่อยเพราะต้องยอมจำนนให้ "ลูกพี่" คราวนี้นายกฯ ญี่ปุ่นก็แสดงท่าทีอ่อนข้อให้เช่นกัน แต่ "แม้ว่านายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นจะแสดง "ความผิดหวังอย่างยิ่ง" ต่อภาษีของทรัมป์และเรียกภาษี 24% ที่สหรัฐฯ กำหนดกับญี่ปุ่นว่าเป็น "วิกฤตระดับชาติ" แต่เขาก็ยังชี้แจงอย่างชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะจัดการกับสถานการณ์นี้ด้วยความสงบและจะทำทุกวิถีทางที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อลดผลกระทบของภาษี คำกล่าวนี้หมายความว่าจะไม่มีการใช้มาตรการตอบโต้ใดๆ"

    แม้จะไม่ตอบโต้ แต่ก็ยังไม่ยอมขนาดเวียดนาม เวียดนามนั้นเป็นแบบที่เขาว่าจริงๆ คือ เป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เป็นการตอบสนองที่เร็วจริงๆ แต่สะท้อนว่าเวียดนามไม่ได้เจนจัดเรื่องการค้าโลกสักเท่าไร

    ป.ล. - ในทัศนะของผม แม้เราจะช้าไม่ได้กับการต่อรองกับทรัมป์ แต่ต้องตระหนักว่าเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มของการจัดระเบียบโลกใหม่ เป็นการสลายและรวมกลุ่มอำนาจใหม่เพื่อตอบสนองกับภาวะ "การล่มสลายของจักรวรรดิ" ของสหรัฐฯ ดังนั้น จะช้าก็ไมได้ แต่จะรีบก็ไม่ดี

    ป.ล. 2 - กับท่าทีต่อไปของจีนต่อการทำแบบนี้ของเวียดนามนั้น แม้เวียดนามจะรับจีนเข้ามาลงทุนมากจนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ (และเป็นตัวการให้ถูกเก็ยภาษีสูงมากจากทรัมป์) ผมคิดตามทัศนะของ Pheonix ที่ว่า "หากเวียดนามทำเช่นนี้ ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ก็อาจทำตามเช่นกัน ระวังอย่าให้ประเทศเหล่านี้สร้างกำแพงภาษีศุลกากรต่อจีนและจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อแสดงความภักดีต่อทรัมป์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่จีนต้องป้องกันเมื่อโจมตีสหรัฐฯ โดยตรง" - นั่นหมายความว่า หากประเทศอย่างเวียดนามก้มหัวให้สหรัฐฯ เร็วๆ แบบนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะ "หักหลัง" จีนในเร็ววันเพื่อเอาตัวรอด ถึงตอนนั้น จีนยังจะลงทุนในเวียดนามหรือไม่? แต่ผมไม่คิดว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำตามเวียดนามทั้งหมด เพราะต้องมีสักประเทศที่สบช่องจากความใจเร็วด่วนได้ของเวียดนามแน่ๆ แล้วสามารถสร้างดุลยภาพกับสหรัฐฯ และจีนได้อย่างลงตัว”
    บทความน่าสนใจจากเฟซบุ๊ก Kornkit Disthan เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 “เวียดนามเป็นประเทศที่ "คุกเข่าเร็วเหลือเกิน" ให้กับทรัมป์ นี่เป็นทัศนะของสำนักข่าว Pheonix และบอกว่า "การคุกเข่าอย่างรวดเร็วของเวียดนามได้สร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษีศุลกากรของทรัมป์เดิมทีเป็นภาษีสากล โดยอัตราภาษีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เคียงกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อให้เอเชียสามารถรวมตัวเป็นพันธมิตรที่เผชิญหน้าและ "สามัคคีกัน" เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับยุโรป" และ "การสื่อสารของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะนี้และการตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทรัมป์โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ เปรียบเสมือนการเปิดโอกาสในการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพียงลำพังเพื่อขอการอภัยโทษและรักษาข้อได้เปรียบด้านการค้าที่ต่ำกับสหรัฐอเมริกา" ทัศนะนี้ผมเห็นด้วย นายกฯ เวียดนามก้มหัวให้ทรัมป์เร็วไป แน่ล่ะ ประเทศไหนๆ ก็ต้องการเอาตัวรอด แต่แบบนี้มัน "ยอมจำนน" เกินไปเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ที่ยังหาทางตอบโต้แบบไม่เสียศักดิ์ศรีและไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ เอาเข้าจริง เวียดนามยอมจำนนก่อนที่ทรัมป์จะประกาศวัน Liberation day สักประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนเห็นจะได้ที่เวียดนามประกาศจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จากนั้นก็ส่งสัญญาณเป็นระยะๆ ผมคาดว่าเวียดนามคงจะคิดว่าทำแบบนี้แล้วทรัมป์คงจะมีเมตตา แต่เปล่าเลย เวียดนามถูกขึ้นพิกัดอัตราภาษีสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากกัมพูชา (ที่จริงผมคาดการณ์มาระยะหนึ่งแล้วว่าเวียดนามจะต้องโดนหนักกว่าเพื่อน แต่คาดการณ์พลาดไปนิดนึง) นั่นหมายความว่าท่าทียอมจำนนของเวียดนามใช้ไม่ได้ผล และพอทรัมป์ประกาศเล่นงานเวียดนาม เวียดนามก็สนองด้วยการลดภาษีสินค้าอเมริกันมันซะเลยให้เหลือ 0% เพื่อเอาใจทรัมป์ เพราะหวังว่าทรัมป์จะมีเมตตา ขนาดมหามิตรอย่างแคนาดากับสหภาพยุโรปทรัมป์ยังไม่มีเมตตา แล้วเวียดนามจะได้รับความเวทนาหรือ? แล้วที่เวียดนามขอให้ทรัมป์ละเว้นมาตรการนี้ไปสัก 3 - 4 เดือน เวียดนามจะมีเวลาพอแก้ไขสถานการณ์หรือ? หากทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลังระวัง FDI จะไหลออกไม่รู้ตัว ยังไม่นับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างๆ ที่อาจจะเห็นว่าเวียดนามต่อรองอะไรไม่เป็น และเรื่องนี้ไม่ควรจะยอมท่าเดียวด้วยซ้ำในทัศนะของนักลงทุนรายใหญ่ๆ ของเวียดนาม เช่น จีน และสหภาพยุโรปที่กำลังมีคิวมาคุยเรื่องลงทุนกับเวียดนาม แคนาดากับประเทศในยุโรปไม่ยอมก้มหัวให้ ประกาศตอบโต้แทบจะทันที เช่นเดียวกับจีน สหภาพยุโรปนั้นเตรียมจะสวนกลับหากต่อรองกันไม่สำเร็จด้วยซ้ำ แม้พวกนี้จะเป็นประเทศใหญ่ก็จริง แต่ประเทศเล็กก็สามารถรวมกลุ่มต่อรองก็ได้ไม่ใช่หรือ? ยังไม่นับการรวมกลุ่มที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาอีก ผมคิดว่าเวียดนามเจริญเติบโต้เร็วก็จริง แต่อาจจะยังขาดประสบการณ์ในโลกทุนนิยมที่ประเทศนายทุนใหญ่มักจะมีเล่ห์เหลี่ยมสูงกว่า แม้แต่ญี่ปุ่นเองในทศวรรษที่ 80 ก็เคยโตเร็วจนกระทั่่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหรัฐฯ และพวก (ซึ่งก็พวกเดียวกับญี่ปุ่นนั่นเอง) จึงบีบให้ญี่ปุ่นรับข้อเสนอ Plaza Accord ซึ่งเป็นจุดจบของการผงาดของญี่ปุ่น ทุกวันนี้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ยังง่อยเพราะต้องยอมจำนนให้ "ลูกพี่" คราวนี้นายกฯ ญี่ปุ่นก็แสดงท่าทีอ่อนข้อให้เช่นกัน แต่ "แม้ว่านายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นจะแสดง "ความผิดหวังอย่างยิ่ง" ต่อภาษีของทรัมป์และเรียกภาษี 24% ที่สหรัฐฯ กำหนดกับญี่ปุ่นว่าเป็น "วิกฤตระดับชาติ" แต่เขาก็ยังชี้แจงอย่างชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะจัดการกับสถานการณ์นี้ด้วยความสงบและจะทำทุกวิถีทางที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อลดผลกระทบของภาษี คำกล่าวนี้หมายความว่าจะไม่มีการใช้มาตรการตอบโต้ใดๆ" แม้จะไม่ตอบโต้ แต่ก็ยังไม่ยอมขนาดเวียดนาม เวียดนามนั้นเป็นแบบที่เขาว่าจริงๆ คือ เป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการตอบสนองที่เร็วจริงๆ แต่สะท้อนว่าเวียดนามไม่ได้เจนจัดเรื่องการค้าโลกสักเท่าไร ป.ล. - ในทัศนะของผม แม้เราจะช้าไม่ได้กับการต่อรองกับทรัมป์ แต่ต้องตระหนักว่าเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มของการจัดระเบียบโลกใหม่ เป็นการสลายและรวมกลุ่มอำนาจใหม่เพื่อตอบสนองกับภาวะ "การล่มสลายของจักรวรรดิ" ของสหรัฐฯ ดังนั้น จะช้าก็ไมได้ แต่จะรีบก็ไม่ดี ป.ล. 2 - กับท่าทีต่อไปของจีนต่อการทำแบบนี้ของเวียดนามนั้น แม้เวียดนามจะรับจีนเข้ามาลงทุนมากจนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ (และเป็นตัวการให้ถูกเก็ยภาษีสูงมากจากทรัมป์) ผมคิดตามทัศนะของ Pheonix ที่ว่า "หากเวียดนามทำเช่นนี้ ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ก็อาจทำตามเช่นกัน ระวังอย่าให้ประเทศเหล่านี้สร้างกำแพงภาษีศุลกากรต่อจีนและจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อแสดงความภักดีต่อทรัมป์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่จีนต้องป้องกันเมื่อโจมตีสหรัฐฯ โดยตรง" - นั่นหมายความว่า หากประเทศอย่างเวียดนามก้มหัวให้สหรัฐฯ เร็วๆ แบบนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะ "หักหลัง" จีนในเร็ววันเพื่อเอาตัวรอด ถึงตอนนั้น จีนยังจะลงทุนในเวียดนามหรือไม่? แต่ผมไม่คิดว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำตามเวียดนามทั้งหมด เพราะต้องมีสักประเทศที่สบช่องจากความใจเร็วด่วนได้ของเวียดนามแน่ๆ แล้วสามารถสร้างดุลยภาพกับสหรัฐฯ และจีนได้อย่างลงตัว”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 516 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประตูเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

    เดือนนี้ ต้องหนักแน่นอย่าหูเบาเพราะมีศัตรูคู่แข่งขันจะคอยจ้องทำร้ายจากการปล่อยข่าวลือให้ตื่นเต้นตกใจ หรือเป็นเพราะการได้ยินที่ผิดพลาดทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือเกิดจากการทรยศหักหลังส่งผลให้ความลับในองค์กรรั่วไหลเปิดเผย รวมทั้งกระทำการนอกกฎระเบียบจะถูกตัดสิทธิ์ริบเงินมัดจำ ตลอดจนลูกหลานบริวารไม่ยอมปฏิบัติเชื่อฟัง แม้กระทั่งสุนัขสัตว์เลี้ยงอาจจะแวงกัดตนหรือคนอื่นจนเกิดเป็นโรคร้ายให้ต้องเสียทรัพย์รักษาพยาบาล ชายที่ชอบเที่ยวเตร่ท่องสุรานารีเป็นประจำระวังจะเป็นโรคเลือด หรือแม้แต่การเดินทางไกลหรือเดินทางไปในสถานที่ๆชื้นแฉะหรือที่ๆมืดมิด ควรระมัดระวังภัยอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ เพราะมีโอกาสจะได้รับบาดเจ็บให้เลือดตกยางออกได้

    ___________________________________
    FengshuiBizDesigner
    ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้

    🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG
    ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง)
    .
    .
    #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร
    #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    ประตูเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เดือนนี้ ต้องหนักแน่นอย่าหูเบาเพราะมีศัตรูคู่แข่งขันจะคอยจ้องทำร้ายจากการปล่อยข่าวลือให้ตื่นเต้นตกใจ หรือเป็นเพราะการได้ยินที่ผิดพลาดทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือเกิดจากการทรยศหักหลังส่งผลให้ความลับในองค์กรรั่วไหลเปิดเผย รวมทั้งกระทำการนอกกฎระเบียบจะถูกตัดสิทธิ์ริบเงินมัดจำ ตลอดจนลูกหลานบริวารไม่ยอมปฏิบัติเชื่อฟัง แม้กระทั่งสุนัขสัตว์เลี้ยงอาจจะแวงกัดตนหรือคนอื่นจนเกิดเป็นโรคร้ายให้ต้องเสียทรัพย์รักษาพยาบาล ชายที่ชอบเที่ยวเตร่ท่องสุรานารีเป็นประจำระวังจะเป็นโรคเลือด หรือแม้แต่การเดินทางไกลหรือเดินทางไปในสถานที่ๆชื้นแฉะหรือที่ๆมืดมิด ควรระมัดระวังภัยอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ เพราะมีโอกาสจะได้รับบาดเจ็บให้เลือดตกยางออกได้ ___________________________________ FengshuiBizDesigner ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้ 🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง) . . #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 0 รีวิว
  • แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง

    เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา

    ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว

    ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 499 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาดว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนจะเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนหน้า ขณะที่ปักกิ่งเร่งดำเนินการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในช่วงรัฐบาลชุดที่สองของโดนัลด์ ทรัมป์แหล่งข่าวทางการทูตระบุว่า สีจิ้นผิงมีแนวโน้มที่จะออกเดินทางในช่วงกลางเดือนเมษายน โดยแวะพักที่เวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชา แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อ กล่าวว่ามีแผนให้ผู้นำจีนใช้เวลา 3 วันในมาเลเซียแหล่งข่าวอีกรายซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อเช่นกัน กล่าวว่าการเยือนมาเลเซียครั้งนี้จะสานต่อจากการพบปะระหว่างสีจิ้นผิงกับนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิมที่ปักกิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แหล่งข่าวเสริมว่าการเดินทางครั้งนี้ "จะดีอย่างแน่นอน" สำหรับการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้จะถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของสีจิ้นผิงในปีนี้ และเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จีนกำลังผลักดันให้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสดงตนเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาคที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบนอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของวอชิงตันที่มีต่อภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรัมป์ดูเหมือนจะตั้งคำถามถึงคุณค่าของพันธมิตรและหุ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ของตนจีนมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นและมั่นคงกับภูมิภาคนี้ แต่จีนยังมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับหลายประเทศมายาวนานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนในทะเลจีนใต้
    คาดว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนจะเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนหน้า ขณะที่ปักกิ่งเร่งดำเนินการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในช่วงรัฐบาลชุดที่สองของโดนัลด์ ทรัมป์แหล่งข่าวทางการทูตระบุว่า สีจิ้นผิงมีแนวโน้มที่จะออกเดินทางในช่วงกลางเดือนเมษายน โดยแวะพักที่เวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชา แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อ กล่าวว่ามีแผนให้ผู้นำจีนใช้เวลา 3 วันในมาเลเซียแหล่งข่าวอีกรายซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อเช่นกัน กล่าวว่าการเยือนมาเลเซียครั้งนี้จะสานต่อจากการพบปะระหว่างสีจิ้นผิงกับนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิมที่ปักกิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แหล่งข่าวเสริมว่าการเดินทางครั้งนี้ "จะดีอย่างแน่นอน" สำหรับการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้จะถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของสีจิ้นผิงในปีนี้ และเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จีนกำลังผลักดันให้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสดงตนเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาคที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบนอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของวอชิงตันที่มีต่อภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรัมป์ดูเหมือนจะตั้งคำถามถึงคุณค่าของพันธมิตรและหุ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ของตนจีนมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นและมั่นคงกับภูมิภาคนี้ แต่จีนยังมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับหลายประเทศมายาวนานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนในทะเลจีนใต้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ส่งผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โรงงานในไทยที่เป็นฐานการผลิตสำคัญไม่ได้รับความเสียหาย บริษัทเทคโนโลยีรายงานว่าดำเนินงานตามปกติ และมีแนวโน้มขยายการผลิตในพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชน

    การดำเนินการหลังเหตุการณ์:
    - บริษัทในไทยหลายแห่ง เช่น Zhen Ding Tech และ Delta Electronics ทำการอพยพพนักงานชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและกลับมาดำเนินงานได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

    ความสำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรม:
    - ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญสำหรับบริษัทอย่าง Intel, Seagate และ Western Digital และเหตุการณ์นี้เป็นการทดสอบความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้

    แนวโน้มการขยายการผลิต:
    - หลายบริษัทกำลังเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศไทยเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาจีน ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม

    ความมั่นคงของโรงงาน:
    - โรงงานในพื้นที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น จังหวัดระยองและชลบุรี ไม่มีรายงานความเสียหาย และยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/can-earthquake-in-myanmar-disrupt-pc-hardware-production-manufacturers-are-checking-out
    เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ส่งผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โรงงานในไทยที่เป็นฐานการผลิตสำคัญไม่ได้รับความเสียหาย บริษัทเทคโนโลยีรายงานว่าดำเนินงานตามปกติ และมีแนวโน้มขยายการผลิตในพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชน การดำเนินการหลังเหตุการณ์: - บริษัทในไทยหลายแห่ง เช่น Zhen Ding Tech และ Delta Electronics ทำการอพยพพนักงานชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและกลับมาดำเนินงานได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ความสำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรม: - ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญสำหรับบริษัทอย่าง Intel, Seagate และ Western Digital และเหตุการณ์นี้เป็นการทดสอบความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้ แนวโน้มการขยายการผลิต: - หลายบริษัทกำลังเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศไทยเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาจีน ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม ความมั่นคงของโรงงาน: - โรงงานในพื้นที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น จังหวัดระยองและชลบุรี ไม่มีรายงานความเสียหาย และยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง https://www.tomshardware.com/tech-industry/can-earthquake-in-myanmar-disrupt-pc-hardware-production-manufacturers-are-checking-out
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 463 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไฟป่าในเกาหลีใต้ลุกลามกินพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าวันนี้ (27 มี.ค.) เมื่อเทียบกับหนึ่งวันก่อนหน้า ขณะที่ทางการระบุว่าภัยพิบัติไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดของประเทศได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 26 คน และมีวัดวาอารามเก่าแก่ถูกเพลิงเผาวอดไปหลายแห่ง

    ไฟป่าในเทศมณฑลอุยซอง (Uiseong) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ได้ลุกลามขยายวงกว้างกินพื้นที่มากกว่า 33,000 เฮกตาร์ ซึ่งทำให้มันกลายเป็นไฟป่าจุดเดียวที่มีขนาดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ เอาชนะสถิติไฟป่าเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2000 ซึ่งเผาผลาญผืนป่าไป 24,000 เฮกตาร์

    “เราทั้งประเทศกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ขั้นวิกฤตและมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องจากไฟป่าที่ลุกลามรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” ฮัน ดักซู รักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวในการประชุมคณะทำงานตอบสนองไฟป่าของรัฐบาล

    กองทัพเกาหลีใต้ได้เบิกน้ำมันในคลังสำรองออกมาช่วยเติมเฮลิคอปเตอร์ดับไฟป่าตามเขตภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยขณะนี้ไฟป่าได้เผาไหม้พื้นที่มานานเกือบ 1 สัปดาห์แล้ว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000029078

    #MGROnline #กองทัพเกาหลีใต้ ##ไฟป่า #เกาหลีใต้
    ไฟป่าในเกาหลีใต้ลุกลามกินพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าวันนี้ (27 มี.ค.) เมื่อเทียบกับหนึ่งวันก่อนหน้า ขณะที่ทางการระบุว่าภัยพิบัติไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดของประเทศได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 26 คน และมีวัดวาอารามเก่าแก่ถูกเพลิงเผาวอดไปหลายแห่ง • ไฟป่าในเทศมณฑลอุยซอง (Uiseong) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้ได้ลุกลามขยายวงกว้างกินพื้นที่มากกว่า 33,000 เฮกตาร์ ซึ่งทำให้มันกลายเป็นไฟป่าจุดเดียวที่มีขนาดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ เอาชนะสถิติไฟป่าเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2000 ซึ่งเผาผลาญผืนป่าไป 24,000 เฮกตาร์ • “เราทั้งประเทศกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ขั้นวิกฤตและมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องจากไฟป่าที่ลุกลามรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” ฮัน ดักซู รักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวในการประชุมคณะทำงานตอบสนองไฟป่าของรัฐบาล • กองทัพเกาหลีใต้ได้เบิกน้ำมันในคลังสำรองออกมาช่วยเติมเฮลิคอปเตอร์ดับไฟป่าตามเขตภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยขณะนี้ไฟป่าได้เผาไหม้พื้นที่มานานเกือบ 1 สัปดาห์แล้ว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000029078 • #MGROnline #กองทัพเกาหลีใต้ ##ไฟป่า #เกาหลีใต้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts