• เวลาที่คนเรานั่งมองสิ่งต่างๆ มันมีคำง่ายๆ อยู่คำหนึ่งย่อว่า FOV มาจากคำว่า Field Of View พวกทำงานภาพเข้าใจดีว่าหมายถึงสนามของภาพ หรือขอบเขตการมองเห็น ถ้าเรามองในแง่นี้ก็คือ มองผ่านเลนส์หรือผ่านกล้องของเราออกไป สนามภาพที่เราเห็นจะถูกจำกัดด้วยสมรรถนะของกล้องหรือเลนส์นั้น จะโฟกัสเจาะลึกขยายถึงขุมขนก็ต้องใช้มาโครเลนส์ จะดูไกลก็ต้องใช้ซูมเลนส์ จะเห็นภาพกว้างก็ต้องใช้เลนส์ไวด์แองเกิ้ล
    .
    คล้ายๆ กัน.. เปลี่ยนเป็นการมองดูโลก ถ้าเรานั่งมองจากในบ้านของเรา เราก็จะเห็นได้อย่างจำกัดมาก จะมองเห็นทัศนียภาพภายนอกก็จะเห็นได้แค่ผ่านช่องหน้าต่างผ่านช่องประตูออกไป ที่ติดกำแพงผนังหลังคาขวางกั้นก็มองไม่เห็นแล้ว ก็ต้องก้าวออกไปนอกบ้านจึงจะเห็นมากขึ้น แต่ก็ติดกำแพงรั้วอีก เดินออกนอกกำแพงไปการมองเห็นก็ยังจะถูกจำกัดด้วยไอ้เจ้า FOV ของชั้นระยะถัดไป ระยะทาง ภูเขา แมกไม้ บดบังหลายสิ่งหลายอย่าง จะเห็นสิ่งที่อยู่ถัดไปอีกแค่สักร้อยเมตรก็เป็นไปได้ยากถ้ายังมีสิ่งบดบัง ครั้นจะพึ่งพาเพื่อบ้านที่ผ่านมาจะถามเขาว่ามีอะไรน่าสนใจไหมที่สองร้อยเมตรข้างหน้า ก็ไม่อาจคาดหวังว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือหรือถูกต้อง เขาอาจบอกระวังงูยักษ์นะเมื่อกี้เพิ่งหนีมา... เขาอาจว่าหมู่บ้านถัดไปสองร้อยเมตรกำลังประกาศว่ามีโรคระบาดมาถึงแล้ว รีบไปจากที่นี่เถอะ...ฯ จะรู้ข้อเท็จจริงให้ได้ก็ต้องเดินทางออกไปเห็นด้วยตาว่าตรงที่เราอยากรู้นั้นเป็นเช่นไร ซึ่งไม่แน่ว่าบางทีไปถึงที่หมายแล้วก็อาจยังไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็นอีก เพราะ FOV ของเราที่หวังผลจากสายตานี้ ไม่ได้กว้างไพศาลและมีศักยภาพในการขยายได้ดั่งใจ อาจต้องมีตัวช่วย เช่น ใช้โดรนขึ้นบินขึ้นไปส่องก็จะเห็นกว้างไกลกว่ายืนมองอยู่บนพื้น แต่กระนั้นก็จะเห็นว่า ใช้โดรนแล้ว ตัวโดรนเองก็มี FOV ที่จำกัดอยู่ดี
    .
    พออธิบายเช่นนี้ คงเข้าใจได้ว่า การที่ปุถุชนจะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ครบถ้วนทุกรายละเอียดข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ใครที่ยิ่งต้องการเห็นให้ได้มาก ต้องตะเกียกตะกายพยายามขยายมุมมอง พิกัดที่มอง สมรรถนะที่มอง และวิจารณญาณที่ประกอบการมองให้เปิดกว้างและไม่ยอมหยุดนิ่ง คือต้องไม่หยุดเลยนั่นแหละ ถึงจะลดทอนความไม่รู้ลงไปได้ไม่น้อย แม้ว่าในความเป็นจริงจะยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นอยู่อีกเยอะก็ตาม
    .
    โบราณพูดถึงการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าญาณทัศนะ คือมีบางคนที่ได้ทุ่มเทความเพียรในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มามากมายเนิ่นนานพอจนเกิดปัญญาในการที่จะทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมองเห็นความเชิ่อมโยงของสิ่งต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ถึงแม้คนผู้นั้นเองก็ติดขัดที่ข้อจำกัดของมนุษย์เช่นที่กล่าวไปเหมือนเช่นคนอื่นๆ แต่มีความหยั่งรู้พิเศษบางอย่างบ่มเพาะขึ้นมาให้รู้จักใช้ปัญญาในการเรียนรู้หนึ่งสิ่งเพื่อที่จะเข้าใจอีกพันสิ่ง อุปมาดั่งช่างไม้ที่เข้าใจในการใช้สิ่วแกะสลักอย่างลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง อาจใช้ความเข้าใจเช่นนี้ในพิจารณาเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น การใช้ดาบต่อสู้ เป็นต้น ผู้มีญาณทัศนะที่มากพอเช่นนี้ ด้วยการพิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบกายเขาอาจสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งเหล่านั้นได้ ฟังดูยากใช่ไหม?
    .
    ผมเคยเขียนบทความเรื่องนี้น่าจะเกือบยี่สิบปีแล้ว ชื่อเรื่อง "ดาบที่ซ่อนเร้น" ไม่รู้ใครเคยอ่านบ้าง?
    .
    แนวคิด "เรียนรู้สิ่งหนึ่งเพื่อเข้าถึงพันสิ่ง" เป็นหนึ่งในคำสอนที่ มิยาโมโต มูซาชิ ซามูไรที่กล่าวกันว่าไม่เคยแพ้ใครเลย สอนแก่ศิษย์ของเขา คำสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนมากมายที่ปรากฏอยู่ในจดหมายถึงศิษย์ในสำนักนิเต็นริวของเขาที่ชื่อเทราโอะ มาโกโนโจ ภายหลังจดหมายนี้กลายเป็นคัมภีร์ที่นักดาบทุกคนต้องทำความเข้าใจ มันมีชื่อเรียกในภายหลังว่า "โกรินโนโช" แปลว่าคัมภีร์ห้าห่วง ชื่อห้าห่วงเพราะมันแบ่งเป็นห้าภาคคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และความว่าง (สุญญตา)
    .
    โกรินโนโช ไม่ได้เป็นเพียงตำราสำหรับนักดาบ แนวคิดลึกซึ้งที่ว่า เรียนรู้สิ่งหนึ่งเพื่อเข้าถึงพันสิ่งนี้ มีคนที่เข้าใจมัน แล้วปรับใช้กับชีวิตหลายแง่มุม ที่กล่าวถึงกันมากคือมีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยการปรับความรู้จากตำรานี้ให้เป็นกลยุทธในการทำธุรกิจ แต่ผมไม่เคยอ่านเรื่องทำนองนี้หรอก ต้องถามเซนเซสุวินัย ภรณวลัย ท่านเชี่ยวชาญเรื่องนี้ ผมสนใจในแง่ของวิชาเคนจัตสุ... กลับไปที่เรื่อง FOV ที่ได้เปิดหัวมา...
    .
    มูซาชิ สอนในภาคน้ำเรื่องการมอง ว่าด้วยคำสี่คำที่ลึกซึ้งคือ ทาเทมาเอะ กับ ฮอนเนะ... และ เค็น กับ คาน
    - ทาเทมาเอะ คือ สิ่งที่เราแสดงให้คนเห็น
    - ฮอนเนะ คือ เจตนาที่แท้จริง
    .
    - เคน คือ สิ่งที่เห็นจากภายนอกด้วยตาเนื้อ
    - คาน คือ สิ่งที่เห็นด้วยใจ ด้วยญาณที่หยั่งลึกกว่า
    อธิบายสักรอบ..
    เมื่อนักดาบสองคนเข้าสัประยุทธกัน นักดาบจะตั้งท่วงท่าสำหรับการโจมตี เช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งตั้งท่าโจดัง คือยกดาบอยู่เหนือหัว อีกฝ่ายมองเห็นด้วย เคน ก็อาจคาดเดาว่าศัตรูจะฟันลงมาที่หัว ซึ่งโดยกายภาพแล้วจะเป็นการฟันที่เร็วที่สุดกว่าการเจตนาฟันตรงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ลำตัว หรือแทงคอ ซึ่งจะยิ่งทำให้การโจมตีใช้เวลามากขึ้นหากเริ่มจากท่าโจดัง.. นักดาบอีกฝ่ายก็คงจะคิดเช่นนี้แล้วเตรียมรับการฟันจากข้างบน เพราะถ้าคู่ต่อสู้เปลี่ยนทิศทางมาฟันลำตัว เขาจะมองเห็นทันและปรับท่ารับได้... แต่นี่บางทีเขาอาจคิดผิดไป..
    .
    ฮอนเนะ หรือเจตนาของนักดาบอีกฝ่ายอาจไม่ใด้ต้องการฟันตรงๆ เขาอาจฝึกมาอย่างหนักมากจนบรรลุความเร็วขีดสุดที่ฝ่ายเตรียมตั้งรับไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต เขาอาจฟันลำตัวมาจากท่าโจดังนั่นด้วยความเร็วที่เร็วมากยิ่งกว่าผู้ใด แต่จงใจแสดงให้เห็นทาเทมาเอะว่าจะฟันที่หัว เพื่อให้คู่ต่อสู้เปิดช่องโหว่ที่ลำตัวจากท่าตั้งรับด้านบน ความสำเร็จในที่นี้คือการเอาชนะข้อจำกัดทางกายภาพ... พอเข้าใจไหม?
    .
    ในโลกทุกวันนี้ เต็มไปด้วยทาเทมาเอะล่อลวงและฮอนเนะที่ชั่วร้าย บางสิ่งมากับเรื่องที่คุณคิดไม่ถึงเช่นภาพยนตร์ StarTrek ที่ผมเคยเขียนให้อ่านในบทความเรื่องดาบที่ซ่อนเร้น.. พรอพพาแกนดามากมายที่เป็นทาเทมาเอะในโลก จงใจให้คุณเห็นและเบี่ยงเบนคุณจากเจตนาร้ายแท้จริงที่ซ่อนไว้ มันเกิดขึ้นตลอดเวลา ไทยเราเองเคยถูกฮอนเนะที่ชั่วร้ายโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น การโจมตีค่าเงินบาทของโซรอส.. หรือ ทาเทมาเอะในคราบของวัคซีนที่ซ่อนฮอนเนะของ Global Reset ที่เคลาส์ ชวอบบ์ ไฝ่ฝันจะกำจัดประชากรและกระพือพรอพพาแกนดาเพื่อหวังจัดระเบียบโลก ขณะเดียวกันก็ทำลายจีนไปด้วย.. หรือจะให้ถอยไปที่ JFK และ 911 ก็ได้ อะไรคือทาเทมาเอะ อะไรคือฮอนเนะที่คุณเห็น ลองทดสอบตัวเอง
    .
    นึกภาพออกหรือยัง ว่าคุณต้องพยายามมากแค่ไหนในการขยาย FOV ของคุณออกไปด้วย คาน ไม่ใช่ เคน เพียงอย่างเดียว เป้าหมายการฝึกคือ เคนและคานทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง เมื่อคุณมองข่าวสารที่ป้อนใส่เคนของคุณผ่านหน้าต่างของโซเชียลมีเดีย ไม่ต่างกับคุณนั่งมองจากในบ้านของคุณผ่านหน้าต่างห้องรับแขก.... บางคนอาจเถียงว่า "เฮ้ย นี่มันอินเตอร์เน็ตนะโว้ย"... No.. อย่าได้สำคัญผิดว่าจอมือถือขนาด 8 นิ้ว 10 นิ้วของเธอจะทำให้เธอเห็นทุกสรรพสิ่ง เธอจะเห็นแต่สิ่งที่เธอได้รับอนุญาตให้เห็น และโดยทั่วไป เธอจะถูกปิดกั้นเมื่อเธอพยายามจะเห็นสิ่งที่พวกที่กุมอำนาจอยู่ไม่อนุญาตให้เห็น เธอจะต้องใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะขยาย FOV ของเธอออกไปจากสิ่งกั้นขวางเหล่านั้น และต้องเริ่มที่จะเรียนรู้ฝึกฝนการมองสิ่งต่างๆ ด้วย คาน ด้วยจิต ด้วยญาณทัศนะที่เติบโตขึ้น
    .
    พิจารณาสิ่งที่อยู่รอบๆตัว บริบทต่างๆ ที่รายล้อม เช่น นักต่อสู้ทางการเมืองสตรีที่ถูกจำขังเป็นเวลานาน ได้ก้าวขึ้นเป็นรัฐบาลด้วยทาเทมาเอะเช่นรางวัลโนเบล ภาพลักษณ์แห่งความอหิงสาสำรวม ปูมหลังที่น่านับถือของบิดา สื่อตะวันตกที่โหมเยินยอ... ฮอนเนะของเธอคืออะไร? จารชนซีไอเอตัวแม่? เบื้องหลังการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่ถูกปกปิดไม่ให้โลกรู้? ความเชื่อมโยงน่าขนลุกของเป้าหมายการยึดครองพื้นที่ของยะไข่ จำต้องเก็บกวาดขยะ? ใครต้องการครอบครอง? ผลพลอยได้คือการปลุกความขัดแย้งและโต้เถียงในหมู่ประชาคมอาเซี่ยน? ยะไข่สำคัญอย่างไร?.... ขยาย FOV ของคุณออกไปยังจุดอื่นซิ เช่น อินเดียและปากีสถาน... ว้าแดงและลาว... หรือเขมรตัวแสบ... โจรหน้าตัวเมียทางใต้... ความพยายามที่จะเปิดศึกอิหร่าน... แค่ลำพังทำตัวเป็นโดรนบินขึ้นมาดูมุมสูงขึ้นยังไม่พอ ต้องใช้ คาน มองในทุกจุดแบบเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ปัญหาที่เห็นในบ้านเราเป็นองค์ประกอบอันน้อยนิดในสงครามที่กำลังดำเนินไปและเกิดขึ้นรอบด้านในขณะนี้
    .
    มันถึงเวลาที่ทุกคนต้องตื่นขึ้น เพื่อที่เราจะได้นำพาประเทศชาติรอดพ้น แล้วไปยืนที่กำแพงพระนคร พูดกับตัวเองว่า
    "เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" อย่างที่พี่ฟองสนานกล่าวไว้
    .
    - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] -
    เวลาที่คนเรานั่งมองสิ่งต่างๆ มันมีคำง่ายๆ อยู่คำหนึ่งย่อว่า FOV มาจากคำว่า Field Of View พวกทำงานภาพเข้าใจดีว่าหมายถึงสนามของภาพ หรือขอบเขตการมองเห็น ถ้าเรามองในแง่นี้ก็คือ มองผ่านเลนส์หรือผ่านกล้องของเราออกไป สนามภาพที่เราเห็นจะถูกจำกัดด้วยสมรรถนะของกล้องหรือเลนส์นั้น จะโฟกัสเจาะลึกขยายถึงขุมขนก็ต้องใช้มาโครเลนส์ จะดูไกลก็ต้องใช้ซูมเลนส์ จะเห็นภาพกว้างก็ต้องใช้เลนส์ไวด์แองเกิ้ล . คล้ายๆ กัน.. เปลี่ยนเป็นการมองดูโลก ถ้าเรานั่งมองจากในบ้านของเรา เราก็จะเห็นได้อย่างจำกัดมาก จะมองเห็นทัศนียภาพภายนอกก็จะเห็นได้แค่ผ่านช่องหน้าต่างผ่านช่องประตูออกไป ที่ติดกำแพงผนังหลังคาขวางกั้นก็มองไม่เห็นแล้ว ก็ต้องก้าวออกไปนอกบ้านจึงจะเห็นมากขึ้น แต่ก็ติดกำแพงรั้วอีก เดินออกนอกกำแพงไปการมองเห็นก็ยังจะถูกจำกัดด้วยไอ้เจ้า FOV ของชั้นระยะถัดไป ระยะทาง ภูเขา แมกไม้ บดบังหลายสิ่งหลายอย่าง จะเห็นสิ่งที่อยู่ถัดไปอีกแค่สักร้อยเมตรก็เป็นไปได้ยากถ้ายังมีสิ่งบดบัง ครั้นจะพึ่งพาเพื่อบ้านที่ผ่านมาจะถามเขาว่ามีอะไรน่าสนใจไหมที่สองร้อยเมตรข้างหน้า ก็ไม่อาจคาดหวังว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือหรือถูกต้อง เขาอาจบอกระวังงูยักษ์นะเมื่อกี้เพิ่งหนีมา... เขาอาจว่าหมู่บ้านถัดไปสองร้อยเมตรกำลังประกาศว่ามีโรคระบาดมาถึงแล้ว รีบไปจากที่นี่เถอะ...ฯ จะรู้ข้อเท็จจริงให้ได้ก็ต้องเดินทางออกไปเห็นด้วยตาว่าตรงที่เราอยากรู้นั้นเป็นเช่นไร ซึ่งไม่แน่ว่าบางทีไปถึงที่หมายแล้วก็อาจยังไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็นอีก เพราะ FOV ของเราที่หวังผลจากสายตานี้ ไม่ได้กว้างไพศาลและมีศักยภาพในการขยายได้ดั่งใจ อาจต้องมีตัวช่วย เช่น ใช้โดรนขึ้นบินขึ้นไปส่องก็จะเห็นกว้างไกลกว่ายืนมองอยู่บนพื้น แต่กระนั้นก็จะเห็นว่า ใช้โดรนแล้ว ตัวโดรนเองก็มี FOV ที่จำกัดอยู่ดี . พออธิบายเช่นนี้ คงเข้าใจได้ว่า การที่ปุถุชนจะเห็นสิ่งต่างๆ ได้ครบถ้วนทุกรายละเอียดข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ใครที่ยิ่งต้องการเห็นให้ได้มาก ต้องตะเกียกตะกายพยายามขยายมุมมอง พิกัดที่มอง สมรรถนะที่มอง และวิจารณญาณที่ประกอบการมองให้เปิดกว้างและไม่ยอมหยุดนิ่ง คือต้องไม่หยุดเลยนั่นแหละ ถึงจะลดทอนความไม่รู้ลงไปได้ไม่น้อย แม้ว่าในความเป็นจริงจะยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นอยู่อีกเยอะก็ตาม . โบราณพูดถึงการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าญาณทัศนะ คือมีบางคนที่ได้ทุ่มเทความเพียรในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มามากมายเนิ่นนานพอจนเกิดปัญญาในการที่จะทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมองเห็นความเชิ่อมโยงของสิ่งต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ถึงแม้คนผู้นั้นเองก็ติดขัดที่ข้อจำกัดของมนุษย์เช่นที่กล่าวไปเหมือนเช่นคนอื่นๆ แต่มีความหยั่งรู้พิเศษบางอย่างบ่มเพาะขึ้นมาให้รู้จักใช้ปัญญาในการเรียนรู้หนึ่งสิ่งเพื่อที่จะเข้าใจอีกพันสิ่ง อุปมาดั่งช่างไม้ที่เข้าใจในการใช้สิ่วแกะสลักอย่างลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง อาจใช้ความเข้าใจเช่นนี้ในพิจารณาเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น การใช้ดาบต่อสู้ เป็นต้น ผู้มีญาณทัศนะที่มากพอเช่นนี้ ด้วยการพิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบกายเขาอาจสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งเหล่านั้นได้ ฟังดูยากใช่ไหม? . ผมเคยเขียนบทความเรื่องนี้น่าจะเกือบยี่สิบปีแล้ว ชื่อเรื่อง "ดาบที่ซ่อนเร้น" ไม่รู้ใครเคยอ่านบ้าง? . แนวคิด "เรียนรู้สิ่งหนึ่งเพื่อเข้าถึงพันสิ่ง" เป็นหนึ่งในคำสอนที่ มิยาโมโต มูซาชิ ซามูไรที่กล่าวกันว่าไม่เคยแพ้ใครเลย สอนแก่ศิษย์ของเขา คำสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนมากมายที่ปรากฏอยู่ในจดหมายถึงศิษย์ในสำนักนิเต็นริวของเขาที่ชื่อเทราโอะ มาโกโนโจ ภายหลังจดหมายนี้กลายเป็นคัมภีร์ที่นักดาบทุกคนต้องทำความเข้าใจ มันมีชื่อเรียกในภายหลังว่า "โกรินโนโช" แปลว่าคัมภีร์ห้าห่วง ชื่อห้าห่วงเพราะมันแบ่งเป็นห้าภาคคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และความว่าง (สุญญตา) . โกรินโนโช ไม่ได้เป็นเพียงตำราสำหรับนักดาบ แนวคิดลึกซึ้งที่ว่า เรียนรู้สิ่งหนึ่งเพื่อเข้าถึงพันสิ่งนี้ มีคนที่เข้าใจมัน แล้วปรับใช้กับชีวิตหลายแง่มุม ที่กล่าวถึงกันมากคือมีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยการปรับความรู้จากตำรานี้ให้เป็นกลยุทธในการทำธุรกิจ แต่ผมไม่เคยอ่านเรื่องทำนองนี้หรอก ต้องถามเซนเซสุวินัย ภรณวลัย ท่านเชี่ยวชาญเรื่องนี้ ผมสนใจในแง่ของวิชาเคนจัตสุ... กลับไปที่เรื่อง FOV ที่ได้เปิดหัวมา... . มูซาชิ สอนในภาคน้ำเรื่องการมอง ว่าด้วยคำสี่คำที่ลึกซึ้งคือ ทาเทมาเอะ กับ ฮอนเนะ... และ เค็น กับ คาน - ทาเทมาเอะ คือ สิ่งที่เราแสดงให้คนเห็น - ฮอนเนะ คือ เจตนาที่แท้จริง . - เคน คือ สิ่งที่เห็นจากภายนอกด้วยตาเนื้อ - คาน คือ สิ่งที่เห็นด้วยใจ ด้วยญาณที่หยั่งลึกกว่า อธิบายสักรอบ.. เมื่อนักดาบสองคนเข้าสัประยุทธกัน นักดาบจะตั้งท่วงท่าสำหรับการโจมตี เช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งตั้งท่าโจดัง คือยกดาบอยู่เหนือหัว อีกฝ่ายมองเห็นด้วย เคน ก็อาจคาดเดาว่าศัตรูจะฟันลงมาที่หัว ซึ่งโดยกายภาพแล้วจะเป็นการฟันที่เร็วที่สุดกว่าการเจตนาฟันตรงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ลำตัว หรือแทงคอ ซึ่งจะยิ่งทำให้การโจมตีใช้เวลามากขึ้นหากเริ่มจากท่าโจดัง.. นักดาบอีกฝ่ายก็คงจะคิดเช่นนี้แล้วเตรียมรับการฟันจากข้างบน เพราะถ้าคู่ต่อสู้เปลี่ยนทิศทางมาฟันลำตัว เขาจะมองเห็นทันและปรับท่ารับได้... แต่นี่บางทีเขาอาจคิดผิดไป.. . ฮอนเนะ หรือเจตนาของนักดาบอีกฝ่ายอาจไม่ใด้ต้องการฟันตรงๆ เขาอาจฝึกมาอย่างหนักมากจนบรรลุความเร็วขีดสุดที่ฝ่ายเตรียมตั้งรับไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต เขาอาจฟันลำตัวมาจากท่าโจดังนั่นด้วยความเร็วที่เร็วมากยิ่งกว่าผู้ใด แต่จงใจแสดงให้เห็นทาเทมาเอะว่าจะฟันที่หัว เพื่อให้คู่ต่อสู้เปิดช่องโหว่ที่ลำตัวจากท่าตั้งรับด้านบน ความสำเร็จในที่นี้คือการเอาชนะข้อจำกัดทางกายภาพ... พอเข้าใจไหม? . ในโลกทุกวันนี้ เต็มไปด้วยทาเทมาเอะล่อลวงและฮอนเนะที่ชั่วร้าย บางสิ่งมากับเรื่องที่คุณคิดไม่ถึงเช่นภาพยนตร์ StarTrek ที่ผมเคยเขียนให้อ่านในบทความเรื่องดาบที่ซ่อนเร้น.. พรอพพาแกนดามากมายที่เป็นทาเทมาเอะในโลก จงใจให้คุณเห็นและเบี่ยงเบนคุณจากเจตนาร้ายแท้จริงที่ซ่อนไว้ มันเกิดขึ้นตลอดเวลา ไทยเราเองเคยถูกฮอนเนะที่ชั่วร้ายโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น การโจมตีค่าเงินบาทของโซรอส.. หรือ ทาเทมาเอะในคราบของวัคซีนที่ซ่อนฮอนเนะของ Global Reset ที่เคลาส์ ชวอบบ์ ไฝ่ฝันจะกำจัดประชากรและกระพือพรอพพาแกนดาเพื่อหวังจัดระเบียบโลก ขณะเดียวกันก็ทำลายจีนไปด้วย.. หรือจะให้ถอยไปที่ JFK และ 911 ก็ได้ อะไรคือทาเทมาเอะ อะไรคือฮอนเนะที่คุณเห็น ลองทดสอบตัวเอง . นึกภาพออกหรือยัง ว่าคุณต้องพยายามมากแค่ไหนในการขยาย FOV ของคุณออกไปด้วย คาน ไม่ใช่ เคน เพียงอย่างเดียว เป้าหมายการฝึกคือ เคนและคานทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง เมื่อคุณมองข่าวสารที่ป้อนใส่เคนของคุณผ่านหน้าต่างของโซเชียลมีเดีย ไม่ต่างกับคุณนั่งมองจากในบ้านของคุณผ่านหน้าต่างห้องรับแขก.... บางคนอาจเถียงว่า "เฮ้ย นี่มันอินเตอร์เน็ตนะโว้ย"... No.. อย่าได้สำคัญผิดว่าจอมือถือขนาด 8 นิ้ว 10 นิ้วของเธอจะทำให้เธอเห็นทุกสรรพสิ่ง เธอจะเห็นแต่สิ่งที่เธอได้รับอนุญาตให้เห็น และโดยทั่วไป เธอจะถูกปิดกั้นเมื่อเธอพยายามจะเห็นสิ่งที่พวกที่กุมอำนาจอยู่ไม่อนุญาตให้เห็น เธอจะต้องใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะขยาย FOV ของเธอออกไปจากสิ่งกั้นขวางเหล่านั้น และต้องเริ่มที่จะเรียนรู้ฝึกฝนการมองสิ่งต่างๆ ด้วย คาน ด้วยจิต ด้วยญาณทัศนะที่เติบโตขึ้น . พิจารณาสิ่งที่อยู่รอบๆตัว บริบทต่างๆ ที่รายล้อม เช่น นักต่อสู้ทางการเมืองสตรีที่ถูกจำขังเป็นเวลานาน ได้ก้าวขึ้นเป็นรัฐบาลด้วยทาเทมาเอะเช่นรางวัลโนเบล ภาพลักษณ์แห่งความอหิงสาสำรวม ปูมหลังที่น่านับถือของบิดา สื่อตะวันตกที่โหมเยินยอ... ฮอนเนะของเธอคืออะไร? จารชนซีไอเอตัวแม่? เบื้องหลังการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่ถูกปกปิดไม่ให้โลกรู้? ความเชื่อมโยงน่าขนลุกของเป้าหมายการยึดครองพื้นที่ของยะไข่ จำต้องเก็บกวาดขยะ? ใครต้องการครอบครอง? ผลพลอยได้คือการปลุกความขัดแย้งและโต้เถียงในหมู่ประชาคมอาเซี่ยน? ยะไข่สำคัญอย่างไร?.... ขยาย FOV ของคุณออกไปยังจุดอื่นซิ เช่น อินเดียและปากีสถาน... ว้าแดงและลาว... หรือเขมรตัวแสบ... โจรหน้าตัวเมียทางใต้... ความพยายามที่จะเปิดศึกอิหร่าน... แค่ลำพังทำตัวเป็นโดรนบินขึ้นมาดูมุมสูงขึ้นยังไม่พอ ต้องใช้ คาน มองในทุกจุดแบบเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ปัญหาที่เห็นในบ้านเราเป็นองค์ประกอบอันน้อยนิดในสงครามที่กำลังดำเนินไปและเกิดขึ้นรอบด้านในขณะนี้ . มันถึงเวลาที่ทุกคนต้องตื่นขึ้น เพื่อที่เราจะได้นำพาประเทศชาติรอดพ้น แล้วไปยืนที่กำแพงพระนคร พูดกับตัวเองว่า "เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" อย่างที่พี่ฟองสนานกล่าวไว้ . - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] -
    0 Comments 0 Shares 43 Views 0 Reviews
  • แบบฝึกหัดของชีวิต คือเครื่องยืนยันว่าเรากำลัง “สูงขึ้น”

    คนที่มองเรื่องร้ายเป็นแบบฝึกหัด
    คือคนที่กำลังเดินขึ้นที่สูง
    ไม่ว่าทางโลก หรือทางธรรม
    ย่อมมีแรงเสียดทานเสมอ
    แต่ยิ่งเหนื่อยมากเท่าไหร่
    ก็ยิ่งพิสูจน์ความเป็น “ของจริง” ได้ชัดเท่านั้น

    เราควบคุมไม่ได้
    ว่าจะต้องเจอกับคนไม่ดีมากแค่ไหน
    แต่เราควบคุมได้
    ว่าจะไม่เลวตาม
    ไม่เติมไฟ ไม่ส่งพิษ
    แค่พอเจอก็รู้ว่า “กำลังเข้าสอบ”
    ถ้าผ่านไปได้...ก็สอบผ่านไปอีกหนึ่งด่าน

    ทุกวันเต็มไปด้วยข้อสอบจากชีวิต
    อยู่ที่ว่า...เราจะตอบแบบเดิม
    หรือจะลองตอบด้วย “สติ” แบบใหม่?

    เพราะถ้าเราเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีไม่ได้
    เรื่องร้ายนั่นแหละจะค่อย ๆ เปลี่ยนเราให้ร้ายขึ้นตามมัน!

    คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ซับซ้อนเลยครับ...

    ชนะคนโกหกด้วยคำจริง

    ชนะคนโกรธด้วยเมตตา

    ชนะคนร้ายด้วยความดี

    พูดง่าย ๆ คือ
    เขาร้ายมาอย่างไร...เรากลับไปอย่างดีอย่างนั้น
    ไม่หวังให้เขาเปลี่ยน
    แต่หวังให้เรารอด!

    ยิ่งถูกทดสอบหนักแค่ไหน
    ยิ่งเหมือนถูกท้าทายว่า
    คุณคือเพชร หรือแค่ตมในร่างคำพูดธรรมะ?

    และเมื่อคุณผ่านแบบทดสอบยาก ๆ
    คุณจะรู้สึกชัดขึ้นว่า
    “เราคือของจริง”
    “เรามีธรรมะอยู่ในตัวจริง ๆ”
    แบบฝึกหัดของชีวิต คือเครื่องยืนยันว่าเรากำลัง “สูงขึ้น” คนที่มองเรื่องร้ายเป็นแบบฝึกหัด คือคนที่กำลังเดินขึ้นที่สูง ไม่ว่าทางโลก หรือทางธรรม ย่อมมีแรงเสียดทานเสมอ แต่ยิ่งเหนื่อยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งพิสูจน์ความเป็น “ของจริง” ได้ชัดเท่านั้น เราควบคุมไม่ได้ ว่าจะต้องเจอกับคนไม่ดีมากแค่ไหน แต่เราควบคุมได้ ว่าจะไม่เลวตาม ไม่เติมไฟ ไม่ส่งพิษ แค่พอเจอก็รู้ว่า “กำลังเข้าสอบ” ถ้าผ่านไปได้...ก็สอบผ่านไปอีกหนึ่งด่าน ทุกวันเต็มไปด้วยข้อสอบจากชีวิต อยู่ที่ว่า...เราจะตอบแบบเดิม หรือจะลองตอบด้วย “สติ” แบบใหม่? เพราะถ้าเราเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีไม่ได้ เรื่องร้ายนั่นแหละจะค่อย ๆ เปลี่ยนเราให้ร้ายขึ้นตามมัน! คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ซับซ้อนเลยครับ... ชนะคนโกหกด้วยคำจริง ชนะคนโกรธด้วยเมตตา ชนะคนร้ายด้วยความดี พูดง่าย ๆ คือ เขาร้ายมาอย่างไร...เรากลับไปอย่างดีอย่างนั้น ไม่หวังให้เขาเปลี่ยน แต่หวังให้เรารอด! ยิ่งถูกทดสอบหนักแค่ไหน ยิ่งเหมือนถูกท้าทายว่า คุณคือเพชร หรือแค่ตมในร่างคำพูดธรรมะ? และเมื่อคุณผ่านแบบทดสอบยาก ๆ คุณจะรู้สึกชัดขึ้นว่า “เราคือของจริง” “เรามีธรรมะอยู่ในตัวจริง ๆ”
    0 Comments 0 Shares 59 Views 0 Reviews
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ความหมายเกี่ยวกับมรรคเป็นบทธรรมในรูปขององค์มรรค
    สัทธรรมลำดับที่ : 1000
    ชื่อบทธรรม :- ความหมายเกี่ยวกับมรรคเป็นบทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1000
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค )
    --บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค
    --ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่าง เหล่านี้
    เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน.
    สี่อย่าง อย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! สี่อย่างคือ :-
    ๑--&อนภิชฌา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=อนภิชฺฌา
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    ๒--&อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=อพฺยาบา
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    ๓--&สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=สมฺมาสติ
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    ๔--&สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=สมฺมาสมาธิ
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

    --ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่างนี้แล
    เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ
    ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
    http://etipitaka.com/read/pali/21/38/?keywords=เอกคฺคจิตฺตสฺส
    ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน
    แล.-

    (การที่ทรงยืนยันว่า ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้
    มีมาแต่โบราณ ติดต่อสืบกันมาไม่ขาดสาย โดยไม่มีใครคัดค้าน จนถึงทุกวันนี้
    ย่อมเป็นการแสดงว่าต้องมีมารวมอยู่ในคำสอนของพระองค์ในบัดนี้
    : &อนภิชฌา และ &อัพยาบาท คือ
    #สัมมาสังกัปปะ รวมกันกับ สัมมาสติและ สัมมาสมาธิ
    เป็นสามองค์ในบรรดาองค์มรรคทั้งแปด
    จึงได้นำข้อความนี้มารวมไว้ในหมวดนี้ อันเป็นหมวดที่รวมแห่งมรรค
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/29/29.
    http://etipitaka.com/read/thai/21/29/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๗/๒๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1000
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=1000
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86
    ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ความหมายเกี่ยวกับมรรคเป็นบทธรรมในรูปขององค์มรรค สัทธรรมลำดับที่ : 1000 ชื่อบทธรรม :- ความหมายเกี่ยวกับมรรคเป็นบทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1000 เนื้อความทั้งหมด :- --หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค ) --บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค --ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! สี่อย่างคือ :- ๑--&อนภิชฌา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=อนภิชฺฌา ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ๒--&อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=อพฺยาบา ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ๓--&สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=สมฺมาสติ ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ๔--&สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=สมฺมาสมาธิ ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. --ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่างนี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย http://etipitaka.com/read/pali/21/38/?keywords=เอกคฺคจิตฺตสฺส ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน แล.- (การที่ทรงยืนยันว่า ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้ มีมาแต่โบราณ ติดต่อสืบกันมาไม่ขาดสาย โดยไม่มีใครคัดค้าน จนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่าต้องมีมารวมอยู่ในคำสอนของพระองค์ในบัดนี้ : &อนภิชฌา และ &อัพยาบาท คือ #สัมมาสังกัปปะ รวมกันกับ สัมมาสติและ สัมมาสมาธิ เป็นสามองค์ในบรรดาองค์มรรคทั้งแปด จึงได้นำข้อความนี้มารวมไว้ในหมวดนี้ อันเป็นหมวดที่รวมแห่งมรรค ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/29/29. http://etipitaka.com/read/thai/21/29/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๗/๒๙. http://etipitaka.com/read/pali/21/37/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1000 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=1000 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86 ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค )
    -หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค ) บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัด กระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สี่อย่างคือ : อนภิชฌา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่างนี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน แล.
    0 Comments 0 Shares 151 Views 0 Reviews
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม
    สัทธรรมลำดับที่ : 999
    ชื่อบทธรรม :- การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=999
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม
    ...
    ---ถูกแล้ว ถูกแล้ว
    --สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด
    มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว,
    เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลใน #ตถาคตหรือคำสอนในตถาคต.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=ตถาคต
    --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว
    พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
    เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
    เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
    +--สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น #วิริยินทรีย์
    ของเธอนั้น.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=วิริยินฺทฺริ
    --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา
    เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า
    เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง
    เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้ นานได้.
    +--สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #สตินทรีย์
    ของเธอนั้น.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=สตินฺทฺริ
    --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา
    ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว
    พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่งโวสสัคคารมณ์
    จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว.
    +--สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริย สาวกนั้น ย่อมเป็น #สมาธินทรีย์
    ของเธอนั้น.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=สมาธินฺทฺริ
    --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา
    ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว
    พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า
    “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้,
    ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป.
    ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่
    : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต
    กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่
    สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”.
    +--สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #ปัญญินทรีย์
    ของเธอนั้น.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=ปญฺญินฺทฺริ
    --สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ
    ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้,
    ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้,
    ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้,
    รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้,
    เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า
    “ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน,
    ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย
    และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ ด้วย”
    ดังนี้.
    --สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #สัทธินทรีย์
    ของเธอนั้น,
    http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=สทฺธินฺทฺริ
    ดังนี้แล.
    --- มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙–๓๐๐/๑๐๑๗–๑๐๒๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%91%E0%B9%97

    (ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือข้อที่ สัทธินทรีย์ทำกิจของตน
    เมื่ออินทรีย์ทั้งสี่นอกนั้นทำกิจเสร็จแล้ว.
    ข้อนี้หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าสัทธาหรือความเชื่อนั้น
    จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อทำกิจอันบุคคลนั้นจะต้องทำนั้นๆ ประสบผลสำเร็จแล้ว.
    สัทธาที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำในเบื้องต้น ดังที่แสดงอยู่ในหมวดธรรมต่างๆนั้น
    ยังมิใช่สัทธาที่สมบูรณ์;
    ทำให้กล่าวได้ว่า สัทธาสมบูรณ์ปรากฏแก่จิตใจต่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว
    คือประกอบอยู่ในญาณที่เห็นความหลุดพ้นของตนแล้ว
    )

    --สัมมัตตะ เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/254/?keywords=สมฺมา
    +--สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/255/?keywords=สมฺมาญาณํ+สมฺมาวิมุตฺติ
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อม
    เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/207/122.
    http://etipitaka.com/read/thai/24/207/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92%E0%B9%92
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๔/๑๒๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/24/254/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92%E0%B9%92
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=999
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=999
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86
    ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม สัทธรรมลำดับที่ : 999 ชื่อบทธรรม :- การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=999 เนื้อความทั้งหมด :- --การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม ... ---ถูกแล้ว ถูกแล้ว --สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว, เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลใน #ตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=ตถาคต --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. +--สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น #วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=วิริยินฺทฺริ --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้ นานได้. +--สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #สตินทรีย์ ของเธอนั้น. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=สตินฺทฺริ --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่งโวสสัคคารมณ์ จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. +--สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริย สาวกนั้น ย่อมเป็น #สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=สมาธินฺทฺริ --สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้, ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่ สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. +--สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น. http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=ปญฺญินฺทฺริ --สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ ด้วย” ดังนี้. --สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น #สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น, http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=สทฺธินฺทฺริ ดังนี้แล. --- มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙–๓๐๐/๑๐๑๗–๑๐๒๒. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%91%E0%B9%97 (ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือข้อที่ สัทธินทรีย์ทำกิจของตน เมื่ออินทรีย์ทั้งสี่นอกนั้นทำกิจเสร็จแล้ว. ข้อนี้หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าสัทธาหรือความเชื่อนั้น จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อทำกิจอันบุคคลนั้นจะต้องทำนั้นๆ ประสบผลสำเร็จแล้ว. สัทธาที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำในเบื้องต้น ดังที่แสดงอยู่ในหมวดธรรมต่างๆนั้น ยังมิใช่สัทธาที่สมบูรณ์; ทำให้กล่าวได้ว่า สัทธาสมบูรณ์ปรากฏแก่จิตใจต่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว คือประกอบอยู่ในญาณที่เห็นความหลุดพ้นของตนแล้ว ) --สัมมัตตะ เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. http://etipitaka.com/read/pali/24/254/?keywords=สมฺมา +--สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ. http://etipitaka.com/read/pali/24/255/?keywords=สมฺมาญาณํ+สมฺมาวิมุตฺติ --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/207/122. http://etipitaka.com/read/thai/24/207/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๔/๑๒๒. http://etipitaka.com/read/pali/24/254/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92%E0%B9%92 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=999 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=999 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86 ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม
    -(ในพระบาลีสูตรอื่นๆ แสดงลักษณะแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปคือ ราคปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗) ; อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙) ; นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๖๙/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี). การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว, เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้ นานได้. สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง โวสสัคคารมณ์ จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริย สาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้, ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ ด้วย” ดังนี้. สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น, ดังนี้แล. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙ – ๓๐๐/๑๐๑๗ – ๑๐๒๒. (ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือข้อที่สัทธินทรีย์ทำกิจของตน เมื่ออินทรีย์ทั้งสี่นอกนั้นทำกิจเสร็จแล้ว. ข้อนี้หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าสัทธาหรือความเชื่อนั้น จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อทำกิจอันบุคคลนั้นจะต้องทำนั้นๆ ประสบผลสำเร็จแล้ว. สัทธาที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำในเบื้องต้น ดังที่แสดงอยู่ในหมวดธรรมต่างๆนั้น ยังมิใช่สัทธาที่สมบูรณ์; ทำให้กล่าวได้ว่า สัทธาสมบูรณ์ปรากฏแก่จิตใจต่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว คือประกอบอยู่ในญาณที่เห็นความหลุดพ้นของตนแล้ว). สัมมัตตะ เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
    0 Comments 0 Shares 241 Views 0 Reviews
  • “ใช้หลักธรรมะ” สานต่อพลังธรรม รุ่น 3

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ที่ สถานปฏิบัติธรรมบ้านธรรมะชาติ อ.วังน้ำเขียว #นายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม รองนายก อบจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตบุคลากรในสังกัด รุ่นที่ 3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร อบจ. นำหลักธรรมคำสอน ตามหลักพุทธศาสนาไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับใช้ในการปฏิบัติงาน พัฒนาจิตใจด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

    #นายกหน่อย #อบจโคราช
    #สร้างคนสร้างเศรษฐกิจสร้างเมืองโคราช
    #prkoratpao
    “ใช้หลักธรรมะ” สานต่อพลังธรรม รุ่น 3 วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ที่ สถานปฏิบัติธรรมบ้านธรรมะชาติ อ.วังน้ำเขียว #นายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม รองนายก อบจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตบุคลากรในสังกัด รุ่นที่ 3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร อบจ. นำหลักธรรมคำสอน ตามหลักพุทธศาสนาไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับใช้ในการปฏิบัติงาน พัฒนาจิตใจด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ #นายกหน่อย #อบจโคราช #สร้างคนสร้างเศรษฐกิจสร้างเมืองโคราช #prkoratpao
    0 Comments 0 Shares 192 Views 0 Reviews
  • เห็นอย่างไร ? ถ้าจะยกเลิกตำแหน่งบริหารระดับต่าง ๆ ขององค์พระสงฆ์ออกให้เหลือเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เพราะปัจจุบัน เห็น ๆ กันอยู่ว่า ตำแหน่งเหล่านั้น เปน็เหตุของความโลภหลง การวิ่งเต้นเพื่ิแสวงหา และการสะสมอำนาจ ในขณะเดียวกัน การปกครองด้วยพระธรรมวินัยตามคำสอนของพระศาสดา กลับหย่อนยานมากขึ้น..

    จึงเห็นว่า ควรส่งเสริมให้มีตำแหน่งอริยสงฆ์ตามธรรมวินัยให้เด่นชัดขึ้น คือ ตำแหน่งโสดาบัน สกนาคามี อนาคามี และอรหันต์ โดยการประเมินหรือพยากรณ์ตนเอง ตามเกณฑ์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ดีแล้วนั้น
    เห็นอย่างไร ? ถ้าจะยกเลิกตำแหน่งบริหารระดับต่าง ๆ ขององค์พระสงฆ์ออกให้เหลือเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เพราะปัจจุบัน เห็น ๆ กันอยู่ว่า ตำแหน่งเหล่านั้น เปน็เหตุของความโลภหลง การวิ่งเต้นเพื่ิแสวงหา และการสะสมอำนาจ ในขณะเดียวกัน การปกครองด้วยพระธรรมวินัยตามคำสอนของพระศาสดา กลับหย่อนยานมากขึ้น.. จึงเห็นว่า ควรส่งเสริมให้มีตำแหน่งอริยสงฆ์ตามธรรมวินัยให้เด่นชัดขึ้น คือ ตำแหน่งโสดาบัน สกนาคามี อนาคามี และอรหันต์ โดยการประเมินหรือพยากรณ์ตนเอง ตามเกณฑ์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ดีแล้วนั้น
    0 Comments 0 Shares 127 Views 0 Reviews
  • ศาสนาพุทธ พิสูจน์ได้จริงแต่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เหนือวิทยาศาสตร์ไป ใช้จิตเปิดจิตรับรู้คำสอนและการปฏิบัติภาวนา ให้รู้แจ้งเห็นจริง
    ศาสนาพุทธ พิสูจน์ได้จริงแต่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เหนือวิทยาศาสตร์ไป ใช้จิตเปิดจิตรับรู้คำสอนและการปฏิบัติภาวนา ให้รู้แจ้งเห็นจริง
    0 Comments 0 Shares 56 Views 0 Reviews
  • **คัมภีร์ชุนชิว**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน

    คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย

    ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ

    ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่

    แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย

    ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!

    แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)

    จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ

    ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ

    ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
    https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
    https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
    http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
    https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
    https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
    https://baike.baidu.com/item/左传/371757
    https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
    https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850

    #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    **คัมภีร์ชุนชิว** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่ แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร! แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว) จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889 https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html https://www.chinasage.info/ancient-states.htm http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html https://www.sohu.com/a/445253069_120791762 https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html https://baike.baidu.com/item/左传/371757 https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689 https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850 #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 406 Views 0 Reviews
  • บางคนที่มีทิฐิว่า..พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏอีก โดยอ้างพระบาลี "นิพพานัง ปรมังสุญญัง"

    คำว่า สูญ นั้นหมายถึง สูญจากกิเลส

    จิตสูญจากกิเลส จึงจะเข้าพระนิพพานได้ จิตมัวหมอง ไม่รู้ตามความเป็นจริง แปลบาลีผิดจากความหมายพระพุทธองค์ จิตก็หลงทางไปสู่อบายภูมิ เพราะเป็นจิตไม่ฉลาด

    สิ่งที่ไม่มีที่พระนิพพานได้แก่..

    นรก สัตว์ โลก สวรรค์ พรหม

    ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ขันธ์ 5 (รูป-นาม)

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ราคะ อุปาทาน บาปกรรม

    อวิชชา สังโยชน์ (กิเลสร้อยรัด 10 อย่าง )

    เกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ..สิ่งเหล่านี้ไม่มีในแดนพระนิพพาน

    เราอยู่ในพระพุทธศาสนา จับหลักในคำสอน จับหลักให้จริงก่อน ให้คิดไตร่ตรองก่อน ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นจริงไหม แล้วจึงเชื่อ จึงปฏิบัติ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    บางคนที่มีทิฐิว่า..พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏอีก โดยอ้างพระบาลี "นิพพานัง ปรมังสุญญัง" คำว่า สูญ นั้นหมายถึง สูญจากกิเลส จิตสูญจากกิเลส จึงจะเข้าพระนิพพานได้ จิตมัวหมอง ไม่รู้ตามความเป็นจริง แปลบาลีผิดจากความหมายพระพุทธองค์ จิตก็หลงทางไปสู่อบายภูมิ เพราะเป็นจิตไม่ฉลาด สิ่งที่ไม่มีที่พระนิพพานได้แก่.. นรก สัตว์ โลก สวรรค์ พรหม ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ขันธ์ 5 (รูป-นาม) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ราคะ อุปาทาน บาปกรรม อวิชชา สังโยชน์ (กิเลสร้อยรัด 10 อย่าง ) เกิด แก่ เจ็บ ตาย ..สิ่งเหล่านี้ไม่มีในแดนพระนิพพาน เราอยู่ในพระพุทธศาสนา จับหลักในคำสอน จับหลักให้จริงก่อน ให้คิดไตร่ตรองก่อน ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นจริงไหม แล้วจึงเชื่อ จึงปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    0 Comments 0 Shares 153 Views 0 Reviews
  • #ผู้ที่จะมาบูรณะวัดท่าซุงในกาลข้างหน้า ท่านบอกว่าในจำนวน ๕ ทหารเสือนี่แหละ ในจำนวน ๒ คนนี้ซึ่งมีเชื้อสายมาจากพุทธภูมิ ในอดีตทั้ง ๒ คนนี้เคยอยู่ที่ อิตาลี และเยอรมัน คนหนึ่งจะได้มาเป็นพระอรหันต์องค์นั้น ส่วนอีกคนจะมาเกิดเป็นพระเจ้าธรรมิกราชตามพุทธพยากรณ์นั้น และสถานที่แห่งนี้หลวงพ่อได้เคยเล่าให้พระฟังหลังจากทำสังฆกรรมในพระอุโบสถเมื่อประมาณ ๒-๓ ปีก่อนว่า สถานที่บริเวณวัดท่าซุงแห่งนี้ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้ว ได้มีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ๗๒ องค์ โดยท่านทั้งหมดได้มาปรากฎแล้วบอกให้หลวงพ่อทราบ อีกทั้งหลวงพ่อยังได้ตั้งสัตยาธิษฐานฝากลูกหลานของท่านไว้ดังนี้

    💥💥 "ฉันขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมด และพรหมและเทพเจ้าทั้งหมด
    🌟ขอทุกท่านจงกำหนดจิตจดจำลูกหลานของฉันไว้ว่า บุคคลใดก็ตาม เมื่อเวลาจะตายขอให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีจิตน้อมไปในกุศลกรรม และขอให้ได้รับผลที่ฉันได้ทำไปแล้วทุกประการแก่ลูกหลานของฉันทุกคน เวลานี้ฉันมองดูแล้วนะ ตรวจดูแล้ว สิ่งที่ฉันต้องการมันสมใจนึกแล้ว ฉันมีความอิ่มใจบอกไม่ถูก ปลื้มใจที่ความปรารถนาสมหวังที่ฉันตั้งใจไว้นาน ปรารถนาไว้นาน คิดว่าจะทำไม่ได้แต่เวลานี้ทำได้แล้ว
    🔆ลูกหลานของฉันทุกคน มีศรัทธาเป็นอจลศรัทธาแล้ว มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความดีพอสมควรแล้ว"

    พุทธพยากรณ์อนาคตของวัดท่าซุง

    ☀ "สถานที่นี้จะเป็นศูนย์ที่มีความสำคัญต่อไปในเบื้องหน้า วัดนี้ถ้ามันจะพังจริงๆ ก็ต้องพุทธศักราชสิ้นไป ๔,๕๐๐ ปีเศษ คือ ๔,๕๐๐ ปีเศษวัดนี้จึงจะสลายตัว นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปหลังจากฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ แล้ว ท่านบอกว่า "จากนี้ไป ๓ ปี วัดนี้จะมีพระอริยเจ้าประจำตลอดไปจนถึงพระพุทธศาสนาล่วงไปถึง ๔,๕๐๐ ปี หลังจากนั้นจึงขาดพระอริยเจ้า ส่วนคำสอนของวัดท่าซุงจะอยู่เป็นหลักตลอดไปถึง ๔,๕๐๐ ปีเช่นกัน..."

    จากหนังสือ "อนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปีเกิด หลวงพ่อพระราชพรหมยาน"
    (ปกแข็งสีทอง) หน้าที่ ๑๘ - ๑๙
    #ผู้ที่จะมาบูรณะวัดท่าซุงในกาลข้างหน้า ท่านบอกว่าในจำนวน ๕ ทหารเสือนี่แหละ ในจำนวน ๒ คนนี้ซึ่งมีเชื้อสายมาจากพุทธภูมิ ในอดีตทั้ง ๒ คนนี้เคยอยู่ที่ อิตาลี และเยอรมัน คนหนึ่งจะได้มาเป็นพระอรหันต์องค์นั้น ส่วนอีกคนจะมาเกิดเป็นพระเจ้าธรรมิกราชตามพุทธพยากรณ์นั้น และสถานที่แห่งนี้หลวงพ่อได้เคยเล่าให้พระฟังหลังจากทำสังฆกรรมในพระอุโบสถเมื่อประมาณ ๒-๓ ปีก่อนว่า สถานที่บริเวณวัดท่าซุงแห่งนี้ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้ว ได้มีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ๗๒ องค์ โดยท่านทั้งหมดได้มาปรากฎแล้วบอกให้หลวงพ่อทราบ อีกทั้งหลวงพ่อยังได้ตั้งสัตยาธิษฐานฝากลูกหลานของท่านไว้ดังนี้ 💥💥 "ฉันขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมด และพรหมและเทพเจ้าทั้งหมด 🌟ขอทุกท่านจงกำหนดจิตจดจำลูกหลานของฉันไว้ว่า บุคคลใดก็ตาม เมื่อเวลาจะตายขอให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีจิตน้อมไปในกุศลกรรม และขอให้ได้รับผลที่ฉันได้ทำไปแล้วทุกประการแก่ลูกหลานของฉันทุกคน เวลานี้ฉันมองดูแล้วนะ ตรวจดูแล้ว สิ่งที่ฉันต้องการมันสมใจนึกแล้ว ฉันมีความอิ่มใจบอกไม่ถูก ปลื้มใจที่ความปรารถนาสมหวังที่ฉันตั้งใจไว้นาน ปรารถนาไว้นาน คิดว่าจะทำไม่ได้แต่เวลานี้ทำได้แล้ว 🔆ลูกหลานของฉันทุกคน มีศรัทธาเป็นอจลศรัทธาแล้ว มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความดีพอสมควรแล้ว" พุทธพยากรณ์อนาคตของวัดท่าซุง ☀ "สถานที่นี้จะเป็นศูนย์ที่มีความสำคัญต่อไปในเบื้องหน้า วัดนี้ถ้ามันจะพังจริงๆ ก็ต้องพุทธศักราชสิ้นไป ๔,๕๐๐ ปีเศษ คือ ๔,๕๐๐ ปีเศษวัดนี้จึงจะสลายตัว นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปหลังจากฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ แล้ว ท่านบอกว่า "จากนี้ไป ๓ ปี วัดนี้จะมีพระอริยเจ้าประจำตลอดไปจนถึงพระพุทธศาสนาล่วงไปถึง ๔,๕๐๐ ปี หลังจากนั้นจึงขาดพระอริยเจ้า ส่วนคำสอนของวัดท่าซุงจะอยู่เป็นหลักตลอดไปถึง ๔,๕๐๐ ปีเช่นกัน..." จากหนังสือ "อนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปีเกิด หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" (ปกแข็งสีทอง) หน้าที่ ๑๘ - ๑๙
    0 Comments 0 Shares 312 Views 0 Reviews
  • พระไตรปิฏก (บาลี: **Tipiṭaka**; สันสกฤต: **Tripiṭaka**) เป็นคัมภีร์หลักของพุทธศาสนาเถรวาท ที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าและคำอธิบายของพระสาวกไว้อย่างเป็นระบบ แบ่งออกเป็น 3 ปิฏก (หมวดใหญ่) ได้แก่ **วินัยปิฏก, สุตตันตปิฏก,** และ **อภิธรรมปิฏก**

    ### **1. วินัยปิฏก (Vinaya Piṭaka)**
    ว่าด้วยระเบียบวินัยของภิกษุ-ภิกษุณี แบ่งเป็น 5 คัมภีร์ย่อย (ขันธกะ):

    1. **มหาวิภังค์**
    - ว่าด้วยศีลของภิกษุ 227 ข้อ
    - รวมเรื่องราวการบัญญัติสิกขาบท เช่น เรื่องพระสุทินน์

    2. **ภิกขุนีวิภังค์**
    - ว่าด้วยศีลของภิกษุณี 311 ข้อ

    3. **มหาวรรค**
    - ว่าด้วยพิธีกรรมสำคัญ เช่น การบวช, การอุปสมบท, การทำสังฆกรรม

    4. **จุลวรรค**
    - ระเบียบย่อย เช่น การอยู่จำพรรษา, การกรานกฐิน

    5. **ปริวาร**
    - สรุปและคำถาม-ตอบเกี่ยวกับวินัย

    ---

    ### **2. สุตตันตปิฏก (Sutta Piṭaka)**
    รวบรวมพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 5 นิกาย (Nikāya):

    1. **ทีฆนิกาย** (คัมภีร์ยาว)
    - เช่น มหาปรินิพพานสูตร, พรหมชาลสูตร

    2. **มัชฌิมนิกาย** (คัมภีร์ปานกลาง)
    - เช่น สติปัฏฐานสูตร, มงคลสูตร

    3. **สังยุตตนิกาย** (คัมภีร์กลุ่มเรื่อง)
    - เช่น ธาตุสังยุตต์, อริยสัจจสังยุตต์

    4. **อังคุตตรนิกาย** (คัมภีร์เลขเพิ่ม)
    - จัดหมวดธรรมตามจำนวน เช่น เอกนิบาต (หมวด 1), ทุกนิบาต (หมวด 2)

    5. **ขุททกนิกาย** (คัมภีร์เล็กๆ)
    - รวมคัมภีร์สำคัญ เช่น
    - **ธรรมบท** (พุทธวจนะสั้นๆ)
    - **ชาดก** (เรื่องอดีตชาติพระพุทธเจ้า)
    - **มิลินทปัญหา** (สนทนาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินท์)

    ---

    ### **3. อภิธรรมปิฏก (Abhidhamma Piṭaka)**
    ว่าด้วยหลักธรรมเชิงปรัชญาล้วน แบ่งเป็น 7 คัมภีร์:

    1. **ธัมมสังคณี** (การจัดหมวดธรรม)
    2. **วิภังค์** (การแยกแยะธรรม)
    3. **ธาตุกถา** (ว่าด้วยธาตุ 18)
    4. **ปุคคลบัญญัติ** (การกำหนดบุคคล)
    5. **กถาวัตถุ** (คำอภิปรายธรรม)
    6. **ยมก** (ธรรมคู่กัน)
    7. **ปัฏฐาน** (ปัจจัย 24)

    ---

    ### **สรุปเนื้อหาสำคัญ**
    - **วินัยปิฏก**: ควบคุมความประพฤติของสงฆ์
    - **สุตตันตปิฏก**: คำสอนสำหรับการปฏิบัติ (เช่น มรรคมีองค์ 8, อริยสัจ 4)
    - **อภิธรรมปิฏก**: วิเคราะห์ธรรมะเชิงลึก (เช่น จิต, เจตสิก, นิพพาน)

    พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทยมีทั้งหมด **45 เล่ม** (ฉบับมหาจุฬาฯ) และยังมีอรรถกถา (คำอธิบาย) เพิ่มเติมอีกมาก

    หากต้องการศึกษาลึกขึ้น แนะนำให้อ่านทีละส่วน เช่น **ธรรมบท** หรือ **มงคลสูตร** ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังส่วนอื่นๆ
    พระไตรปิฏก (บาลี: **Tipiṭaka**; สันสกฤต: **Tripiṭaka**) เป็นคัมภีร์หลักของพุทธศาสนาเถรวาท ที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าและคำอธิบายของพระสาวกไว้อย่างเป็นระบบ แบ่งออกเป็น 3 ปิฏก (หมวดใหญ่) ได้แก่ **วินัยปิฏก, สุตตันตปิฏก,** และ **อภิธรรมปิฏก** ### **1. วินัยปิฏก (Vinaya Piṭaka)** ว่าด้วยระเบียบวินัยของภิกษุ-ภิกษุณี แบ่งเป็น 5 คัมภีร์ย่อย (ขันธกะ): 1. **มหาวิภังค์** - ว่าด้วยศีลของภิกษุ 227 ข้อ - รวมเรื่องราวการบัญญัติสิกขาบท เช่น เรื่องพระสุทินน์ 2. **ภิกขุนีวิภังค์** - ว่าด้วยศีลของภิกษุณี 311 ข้อ 3. **มหาวรรค** - ว่าด้วยพิธีกรรมสำคัญ เช่น การบวช, การอุปสมบท, การทำสังฆกรรม 4. **จุลวรรค** - ระเบียบย่อย เช่น การอยู่จำพรรษา, การกรานกฐิน 5. **ปริวาร** - สรุปและคำถาม-ตอบเกี่ยวกับวินัย --- ### **2. สุตตันตปิฏก (Sutta Piṭaka)** รวบรวมพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 5 นิกาย (Nikāya): 1. **ทีฆนิกาย** (คัมภีร์ยาว) - เช่น มหาปรินิพพานสูตร, พรหมชาลสูตร 2. **มัชฌิมนิกาย** (คัมภีร์ปานกลาง) - เช่น สติปัฏฐานสูตร, มงคลสูตร 3. **สังยุตตนิกาย** (คัมภีร์กลุ่มเรื่อง) - เช่น ธาตุสังยุตต์, อริยสัจจสังยุตต์ 4. **อังคุตตรนิกาย** (คัมภีร์เลขเพิ่ม) - จัดหมวดธรรมตามจำนวน เช่น เอกนิบาต (หมวด 1), ทุกนิบาต (หมวด 2) 5. **ขุททกนิกาย** (คัมภีร์เล็กๆ) - รวมคัมภีร์สำคัญ เช่น - **ธรรมบท** (พุทธวจนะสั้นๆ) - **ชาดก** (เรื่องอดีตชาติพระพุทธเจ้า) - **มิลินทปัญหา** (สนทนาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินท์) --- ### **3. อภิธรรมปิฏก (Abhidhamma Piṭaka)** ว่าด้วยหลักธรรมเชิงปรัชญาล้วน แบ่งเป็น 7 คัมภีร์: 1. **ธัมมสังคณี** (การจัดหมวดธรรม) 2. **วิภังค์** (การแยกแยะธรรม) 3. **ธาตุกถา** (ว่าด้วยธาตุ 18) 4. **ปุคคลบัญญัติ** (การกำหนดบุคคล) 5. **กถาวัตถุ** (คำอภิปรายธรรม) 6. **ยมก** (ธรรมคู่กัน) 7. **ปัฏฐาน** (ปัจจัย 24) --- ### **สรุปเนื้อหาสำคัญ** - **วินัยปิฏก**: ควบคุมความประพฤติของสงฆ์ - **สุตตันตปิฏก**: คำสอนสำหรับการปฏิบัติ (เช่น มรรคมีองค์ 8, อริยสัจ 4) - **อภิธรรมปิฏก**: วิเคราะห์ธรรมะเชิงลึก (เช่น จิต, เจตสิก, นิพพาน) พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทยมีทั้งหมด **45 เล่ม** (ฉบับมหาจุฬาฯ) และยังมีอรรถกถา (คำอธิบาย) เพิ่มเติมอีกมาก หากต้องการศึกษาลึกขึ้น แนะนำให้อ่านทีละส่วน เช่น **ธรรมบท** หรือ **มงคลสูตร** ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังส่วนอื่นๆ
    0 Comments 0 Shares 230 Views 0 Reviews
  • ..คำสอนที่มาจากแรปทีเลี่ยนโดยส่งต่อว่าเอามันส์กับเด็กๆไม่ผิดหลักศาสนาแรปทีเลี่ยนนะ.
    ..คำสอนที่มาจากแรปทีเลี่ยนโดยส่งต่อว่าเอามันส์กับเด็กๆไม่ผิดหลักศาสนาแรปทีเลี่ยนนะ.
    0 Comments 0 Shares 87 Views 0 0 Reviews
  • วิธีรับมือคน 8 จำพวกของมรว. คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านแก้ปัญหาด้วยคาถาพาหุงไม่ใช่แค่นั่งสวดมนต์ แต่คือการเอาคำสอนในบทสวดมาปฏิบัติท่านกล่าวว่า คาถานี้แสดงให้เห็นมาตรการที่พระพุทธเจ้าใช้จัดการกับศัตรูหมู่ร้ายที่มีมาใน 8 รูปแบบ กล่าวคือ 1. เอาชนะคนโลภ (ในบทสวดแทนด้วยพญามาร) ด้วยการให้ทาน 2. เอาชนะคนอวดเบ่ง (ในบทสวดแทนด้วยอาฬวกยักษ์) ด้วยการไม่ให้ความสำคัญ (ในคาถาพาหุงคือ ขันติ) 3. เอาชนะคนคลุ้มคลั่ง (ในบทสวดคือช้างนาฬาคีรีที่ตกมัน) ด้วยเมตตา (อาจารย์คึกฤทธิ์แปลว่า ไม่ถือสา เหมือนครั้งที่ท่านอภัยให้กลุ่มตำรวจขี้เมาที่มาพังบ้านท่าน) 4. เอาชนะคนที่มีโมหะหรือหลงผิด (ในบทสวดคือองคุลิมาล) ด้วยการแสดงความเหนือกว่า สูงส่งกว่า 5. เอาชนะคนขี้โกง ขี้โกหก (ในบทสวดคือนางจิญจมาณวิกาผู้ไปโพนทะนาว่าท้องกับพระพุทธเจ้า) ด้วยความสงบเยือกเย็น 6. เอาชนะผู้ใส่ร้ายและเข้าใจผิดๆ (ในบทสวดคือ พวกสัจจกนิครนถ์ที่ไม่นับถือพระพุทธเจ้า) ด้วยการให้ปัญญา 7. เอาชนะผู้มีฤทธิ์ (ในบทสวดคือพญานาคชื่อนันโทปนันทะ) ด้วยการใช้ ”ผู้ช่วย” คือ พระโมคคัลลานะ 8. เอาชนะผู้มีวิชาความรู้ (ในบทสวดคือพกาพรหม) ด้วยการหยั่งรู้ (ญาณ หรือที่ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์แปลว่าการวิจัยหรือการให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ)อาจารย์คึกฤทธิ์แก้ปัญหาต่างๆด้วยวิธีเหล่านี้โดยมีตัวอย่างให้เห็นจริงทั้งหมดคุณก๋วยเจ๋ง (เลขาของท่าน) ให้แง่คิดว่า ใครจะเอาวิชาเหล่านี้ไปลองเอาไปใช้ดูก็ได้ เท่าที่ลองดูก็ได้ผลพอสมควร เพราะทั้งหมดนั้นคือสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้Credit : Facebook Pattara Khumphitak
    วิธีรับมือคน 8 จำพวกของมรว. คึกฤทธิ์ ปราโมชท่านแก้ปัญหาด้วยคาถาพาหุงไม่ใช่แค่นั่งสวดมนต์ แต่คือการเอาคำสอนในบทสวดมาปฏิบัติท่านกล่าวว่า คาถานี้แสดงให้เห็นมาตรการที่พระพุทธเจ้าใช้จัดการกับศัตรูหมู่ร้ายที่มีมาใน 8 รูปแบบ กล่าวคือ 1. เอาชนะคนโลภ (ในบทสวดแทนด้วยพญามาร) ด้วยการให้ทาน 2. เอาชนะคนอวดเบ่ง (ในบทสวดแทนด้วยอาฬวกยักษ์) ด้วยการไม่ให้ความสำคัญ (ในคาถาพาหุงคือ ขันติ) 3. เอาชนะคนคลุ้มคลั่ง (ในบทสวดคือช้างนาฬาคีรีที่ตกมัน) ด้วยเมตตา (อาจารย์คึกฤทธิ์แปลว่า ไม่ถือสา เหมือนครั้งที่ท่านอภัยให้กลุ่มตำรวจขี้เมาที่มาพังบ้านท่าน) 4. เอาชนะคนที่มีโมหะหรือหลงผิด (ในบทสวดคือองคุลิมาล) ด้วยการแสดงความเหนือกว่า สูงส่งกว่า 5. เอาชนะคนขี้โกง ขี้โกหก (ในบทสวดคือนางจิญจมาณวิกาผู้ไปโพนทะนาว่าท้องกับพระพุทธเจ้า) ด้วยความสงบเยือกเย็น 6. เอาชนะผู้ใส่ร้ายและเข้าใจผิดๆ (ในบทสวดคือ พวกสัจจกนิครนถ์ที่ไม่นับถือพระพุทธเจ้า) ด้วยการให้ปัญญา 7. เอาชนะผู้มีฤทธิ์ (ในบทสวดคือพญานาคชื่อนันโทปนันทะ) ด้วยการใช้ ”ผู้ช่วย” คือ พระโมคคัลลานะ 8. เอาชนะผู้มีวิชาความรู้ (ในบทสวดคือพกาพรหม) ด้วยการหยั่งรู้ (ญาณ หรือที่ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์แปลว่าการวิจัยหรือการให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ)อาจารย์คึกฤทธิ์แก้ปัญหาต่างๆด้วยวิธีเหล่านี้โดยมีตัวอย่างให้เห็นจริงทั้งหมดคุณก๋วยเจ๋ง (เลขาของท่าน) ให้แง่คิดว่า ใครจะเอาวิชาเหล่านี้ไปลองเอาไปใช้ดูก็ได้ เท่าที่ลองดูก็ได้ผลพอสมควร เพราะทั้งหมดนั้นคือสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้Credit : Facebook Pattara Khumphitak
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 460 Views 0 Reviews
  • ยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ‘ทราย สก๊อต’ หนุ่มนักอนุรักษ์!! ผู้รักท้องทะเลยิ่งชีพ ได้ให้สัมภาษณ์ช่อง News 1 เกี่ยวกับแนวทาง คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9

    และนี่คือพระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๖ ณ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒

    “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”


    .

    https://www.facebook.com/share/p/1XDya7vQEB/
    https://www.facebook.com/share/p/14uJwq2sMJ/

    ที่มาของคลิป: https://www.facebook.com/watch/?v=1260763822239524&rdid=JOMuIVmYBt1lTzWU
    ยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ‘ทราย สก๊อต’ หนุ่มนักอนุรักษ์!! ผู้รักท้องทะเลยิ่งชีพ ได้ให้สัมภาษณ์ช่อง News 1 เกี่ยวกับแนวทาง คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่คือพระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๖ ณ ค่ายวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” . https://www.facebook.com/share/p/1XDya7vQEB/ https://www.facebook.com/share/p/14uJwq2sMJ/ ที่มาของคลิป: https://www.facebook.com/watch/?v=1260763822239524&rdid=JOMuIVmYBt1lTzWU
    Like
    Love
    5
    0 Comments 1 Shares 419 Views 0 Reviews
  • **เรื่องราวของสามีภรรยาชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล**

    ในเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล มีคู่สามีภรรยาชาวอินเดียคู่หนึ่งที่ชาวเมืองต่างรู้จักดีในความแตกต่างของพวกเขา **สามีชื่อ "สุทัตตะ"** เป็นพ่อค้าขายผ้าไหมผู้พูดน้อย นิ่งๆ แต่มีจิตใจศรัทธาในพระพุทธเจ้า ส่วน **ภรรยาชื่อ "นันทา"** เป็นหญิงขี้บ่น ปากจัด และไม่เชื่อเรื่องการบวชหรือการทำบุญ เธอคิดว่าชีวิตนี้ต้องสะสมทรัพย์เท่านั้น จึงเถียงสามีประจำเรื่องการไปวัด

    ### **วันแรกที่สุทัตตะพานันทาไปฟังธรรม**
    วันหนึ่ง สุทัตตะชวนนันทาไปฟังพระพุทธเจ้าทเทศน์ที่วัดเชตวัน แต่เธอตอบเสียงหลงว่า:
    "อีกแล้วเหรอ?! พ่อบ้านก็ไม่เห็นห่วงสมบัติ ทุกเย็นไม่คิดแต่จะไปวัด ถ้าพระพุทธเจ้าสอนดีจริง ทำไมเรายังไม่รวยล่ะ?!"

    สุทัตตะยิ้มน้อยๆ แล้วพูดเบาๆ: "พระองค์สอนว่า ความร่ำรวยไม่ใช่จุดจบของชีวิต..."

    นันทาตะโกน: "แล้วอะไรล่ะคือจุดจบ?! การยืนตากแดดฟังคนๆหนึ่งพูดเรื่องไม่จริง?!"

    แต่สุดท้าย เธอก็ถูกเพื่อนบ้านชักชวนให้ไปด้วยเพราะอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าดึงดูดคนได้อย่างไร

    ### **นันทาพบพระพุทธเจ้า**
    เมื่อไปถึง นันทายังบ่นพึมพำว่า "ร้อนจะตาย..." แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเริ่มเทศน์ พระองค์ตรัสด้วยเสียงอันสุขุม:

    "ดูก่อนอุบาสิกา บางคนสะสมทรัพย์แต่ใจจน บางคนมีน้อยแต่ใจเป็นสุข..."

    นันทาซึ่งกำลังนั่งกอดอกอยู่ ก็สะดุ้งเมื่อรู้สึกเหมือนพระองค์ตรัสตรงถึงเธอ! พระพุทธเจ้าตรัสต่อเรื่อง **"ความทุกข์เกิดจากความยึดมั่น"** และเล่านิทานเปรียบเทียบถึงพ่อค้าคนหนึ่งที่โกรธเพราะเรือแตก แต่กลับโชคดีที่ถูกพัดเข้าฝั่ง เพราะไม่ยึดติดกับของที่สูญเสีย

    นันทาค่อยๆ หยุดบ่น เริ่มฟังด้วยความสนใจ แม้จะยังไม่พูดอะไร แต่ใจเธอเริ่มสั่นสะเทือน

    ### **การเปลี่ยนแปลง**
    หลังจากวันนั้น นันทายังเป็นคนปากกล้า แต่เริ่มถามสามีเรื่องธรรมะบ้าง และบางครั้งก็แอบไปวัดคนเดียวโดยไม่บอกสุทัตตะ! เพื่อนบ้านถึงกับตกใจเมื่อเห็นนันทาช่วยตักบาตรพระ แทนที่จะนั่งบ่นเรื่องเสียเงิน

    สุทัตตะยิ้มพอใจ แต่เขาก็ไม่พูดมาก 只是พูดว่า: "วันนี้ภรรยาดูสงบจัง..."

    นันทาหัวเราะแล้วตอบ: "ก็เพราะฉันเริ่มเข้าใจว่า การไม่บ่นทำให้ชีวิตง่ายขึ้นไง!"

    ### **บทเรียนที่ได้**
    เรื่องราวของทั้งสองสอนให้เห็นว่า **ความศรัทธาไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในทันที** และแม้แต่คนขี้บ่นที่สุด ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้พบคำสอนที่ใช่ แม้พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบังคับใครให้เชื่อ แต่พระธรรมย่อมดึงดูดใจผู้ที่พร้อมรับ

    และนั่นคือชีวิตคู่ของสุทัตตะกับนันทา ที่ยังคงเถียงกันบ้าง แต่ครั้งนี้... เธอเริ่มเถียงด้วยหลักธรรมแทน!

    *(จบ)*

    > หมายเหตุ: เรื่องนี้แต่งขึ้นเพื่อแสดงวิถีชีวิตและความเชื่อในสมัยพุทธกาลผ่านมุมมองสามัญชน ไม่ได้อ้างอิงจากพระสูตรโดยตรง แต่สอดคล้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงและการละทิ้งความยึดมั่น
    **เรื่องราวของสามีภรรยาชาวอินเดียในสมัยพุทธกาล** ในเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล มีคู่สามีภรรยาชาวอินเดียคู่หนึ่งที่ชาวเมืองต่างรู้จักดีในความแตกต่างของพวกเขา **สามีชื่อ "สุทัตตะ"** เป็นพ่อค้าขายผ้าไหมผู้พูดน้อย นิ่งๆ แต่มีจิตใจศรัทธาในพระพุทธเจ้า ส่วน **ภรรยาชื่อ "นันทา"** เป็นหญิงขี้บ่น ปากจัด และไม่เชื่อเรื่องการบวชหรือการทำบุญ เธอคิดว่าชีวิตนี้ต้องสะสมทรัพย์เท่านั้น จึงเถียงสามีประจำเรื่องการไปวัด ### **วันแรกที่สุทัตตะพานันทาไปฟังธรรม** วันหนึ่ง สุทัตตะชวนนันทาไปฟังพระพุทธเจ้าทเทศน์ที่วัดเชตวัน แต่เธอตอบเสียงหลงว่า: "อีกแล้วเหรอ?! พ่อบ้านก็ไม่เห็นห่วงสมบัติ ทุกเย็นไม่คิดแต่จะไปวัด ถ้าพระพุทธเจ้าสอนดีจริง ทำไมเรายังไม่รวยล่ะ?!" สุทัตตะยิ้มน้อยๆ แล้วพูดเบาๆ: "พระองค์สอนว่า ความร่ำรวยไม่ใช่จุดจบของชีวิต..." นันทาตะโกน: "แล้วอะไรล่ะคือจุดจบ?! การยืนตากแดดฟังคนๆหนึ่งพูดเรื่องไม่จริง?!" แต่สุดท้าย เธอก็ถูกเพื่อนบ้านชักชวนให้ไปด้วยเพราะอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าดึงดูดคนได้อย่างไร ### **นันทาพบพระพุทธเจ้า** เมื่อไปถึง นันทายังบ่นพึมพำว่า "ร้อนจะตาย..." แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเริ่มเทศน์ พระองค์ตรัสด้วยเสียงอันสุขุม: "ดูก่อนอุบาสิกา บางคนสะสมทรัพย์แต่ใจจน บางคนมีน้อยแต่ใจเป็นสุข..." นันทาซึ่งกำลังนั่งกอดอกอยู่ ก็สะดุ้งเมื่อรู้สึกเหมือนพระองค์ตรัสตรงถึงเธอ! พระพุทธเจ้าตรัสต่อเรื่อง **"ความทุกข์เกิดจากความยึดมั่น"** และเล่านิทานเปรียบเทียบถึงพ่อค้าคนหนึ่งที่โกรธเพราะเรือแตก แต่กลับโชคดีที่ถูกพัดเข้าฝั่ง เพราะไม่ยึดติดกับของที่สูญเสีย นันทาค่อยๆ หยุดบ่น เริ่มฟังด้วยความสนใจ แม้จะยังไม่พูดอะไร แต่ใจเธอเริ่มสั่นสะเทือน ### **การเปลี่ยนแปลง** หลังจากวันนั้น นันทายังเป็นคนปากกล้า แต่เริ่มถามสามีเรื่องธรรมะบ้าง และบางครั้งก็แอบไปวัดคนเดียวโดยไม่บอกสุทัตตะ! เพื่อนบ้านถึงกับตกใจเมื่อเห็นนันทาช่วยตักบาตรพระ แทนที่จะนั่งบ่นเรื่องเสียเงิน สุทัตตะยิ้มพอใจ แต่เขาก็ไม่พูดมาก 只是พูดว่า: "วันนี้ภรรยาดูสงบจัง..." นันทาหัวเราะแล้วตอบ: "ก็เพราะฉันเริ่มเข้าใจว่า การไม่บ่นทำให้ชีวิตง่ายขึ้นไง!" ### **บทเรียนที่ได้** เรื่องราวของทั้งสองสอนให้เห็นว่า **ความศรัทธาไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในทันที** และแม้แต่คนขี้บ่นที่สุด ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้พบคำสอนที่ใช่ แม้พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบังคับใครให้เชื่อ แต่พระธรรมย่อมดึงดูดใจผู้ที่พร้อมรับ และนั่นคือชีวิตคู่ของสุทัตตะกับนันทา ที่ยังคงเถียงกันบ้าง แต่ครั้งนี้... เธอเริ่มเถียงด้วยหลักธรรมแทน! *(จบ)* > หมายเหตุ: เรื่องนี้แต่งขึ้นเพื่อแสดงวิถีชีวิตและความเชื่อในสมัยพุทธกาลผ่านมุมมองสามัญชน ไม่ได้อ้างอิงจากพระสูตรโดยตรง แต่สอดคล้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงและการละทิ้งความยึดมั่น
    0 Comments 0 Shares 393 Views 0 Reviews
  • คือจะเอาตัวอย่างความสำเร็จจากตัวอย่างรุ่นน้องมาให้ผมดูเพื่ออะไร คือคนรอบข้างใช้วิธีนี้ทำให้ผมดูแย่ แต่คนรอบข้างพยายามบีบทุกวิถีทางเพื่อให้ผมได้ดีในแบบที่เขาต้องการ แต่สำหรับผมมองว่าได้ดีสำหรับเขาคือได้ดีที่ไม่เหมาะสมเท่าได้ดีจากการแสวงหาค้นหาตัวตน คือจะให้ผมได้ดีด้วยการล้วงลูกลูกชาย ผมเป็นลูกชายที่แย่ที่สุด ทะลุถุงยางมาเกิด
    ปกติผมเห็นเพื่อนพ้องน้องพี่คนรู้จักคนเคยสนิทประสบความสำเร็จในเส้นทางที่ตัวเองเลือกผมก็ยินดี ไม่ใช่ผมไม่สนใจและยี้เลย แต่ผมรู้สึกว่าการที่เป็นลูกชายที่โดนล้วงลูกไม่ให้ผมได้ดีในแบบของผม คือได้ดีในแบบของผม คือผมเสียคนเพราะระบบโลกาภิวัฒน์โลกภายนอกในสายตาคนรอบข้าง เป็นห่วงผมเข้าใจ แต่เป็นห่วงเกินไปไหม ตามคนรอบข้างจนผมเสียตัวตนไปมากขนาดไหน ผมก็ยังบาดลึกอยู่ แต่ถ้าจะเพิ่มความมูเตลู นับถืออีกศาสนามากกว่าศาสนาตามบัตรประชาชนอย่าเอาผมไปตามด้วย ผมขอนับถือแค่ศาสนาบนบัตรประชาชนก็พอแล้ว เพราะเรียบง่าย ไม่มีอะไรยากเลย หลักธรรมเข้าใจง่าย ไม่ต้องนับถือองค์เทพให้รู้สึกหนักใจกับการที่ต้องทำตามข้อปฏิบัติอย่างกับเข้ารีตเดียรถีย์หรือลัทธิศาสนาอื่นๆ ผมเจ็บปวดกับการถูกปลูกฝังให้ให้ความสนใจในการบูชาในองค์เทพและเข้ารีตศาสนาอื่นมากกว่าศาสนาพุทธในบัตรประชาชน ตอนนี้ผมเลิกคิดแบบนี้นานแล้ว แต่ทำตามคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประเสริฐพอแล้ว
    คือจะเอาตัวอย่างความสำเร็จจากตัวอย่างรุ่นน้องมาให้ผมดูเพื่ออะไร คือคนรอบข้างใช้วิธีนี้ทำให้ผมดูแย่ แต่คนรอบข้างพยายามบีบทุกวิถีทางเพื่อให้ผมได้ดีในแบบที่เขาต้องการ แต่สำหรับผมมองว่าได้ดีสำหรับเขาคือได้ดีที่ไม่เหมาะสมเท่าได้ดีจากการแสวงหาค้นหาตัวตน คือจะให้ผมได้ดีด้วยการล้วงลูกลูกชาย ผมเป็นลูกชายที่แย่ที่สุด ทะลุถุงยางมาเกิด ปกติผมเห็นเพื่อนพ้องน้องพี่คนรู้จักคนเคยสนิทประสบความสำเร็จในเส้นทางที่ตัวเองเลือกผมก็ยินดี ไม่ใช่ผมไม่สนใจและยี้เลย แต่ผมรู้สึกว่าการที่เป็นลูกชายที่โดนล้วงลูกไม่ให้ผมได้ดีในแบบของผม คือได้ดีในแบบของผม คือผมเสียคนเพราะระบบโลกาภิวัฒน์โลกภายนอกในสายตาคนรอบข้าง เป็นห่วงผมเข้าใจ แต่เป็นห่วงเกินไปไหม ตามคนรอบข้างจนผมเสียตัวตนไปมากขนาดไหน ผมก็ยังบาดลึกอยู่ แต่ถ้าจะเพิ่มความมูเตลู นับถืออีกศาสนามากกว่าศาสนาตามบัตรประชาชนอย่าเอาผมไปตามด้วย ผมขอนับถือแค่ศาสนาบนบัตรประชาชนก็พอแล้ว เพราะเรียบง่าย ไม่มีอะไรยากเลย หลักธรรมเข้าใจง่าย ไม่ต้องนับถือองค์เทพให้รู้สึกหนักใจกับการที่ต้องทำตามข้อปฏิบัติอย่างกับเข้ารีตเดียรถีย์หรือลัทธิศาสนาอื่นๆ ผมเจ็บปวดกับการถูกปลูกฝังให้ให้ความสนใจในการบูชาในองค์เทพและเข้ารีตศาสนาอื่นมากกว่าศาสนาพุทธในบัตรประชาชน ตอนนี้ผมเลิกคิดแบบนี้นานแล้ว แต่ทำตามคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประเสริฐพอแล้ว
    0 Comments 0 Shares 230 Views 0 Reviews
  • พรรคประชาชาติ แถลงการณ์แสดงจุดยืนไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงฯ เหตุขัดต่อหลักคำสอนอิสลาม-อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของเยาวชนและปชช.ในพื้นที่

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000033580
    พรรคประชาชาติ แถลงการณ์แสดงจุดยืนไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงฯ เหตุขัดต่อหลักคำสอนอิสลาม-อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของเยาวชนและปชช.ในพื้นที่ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000033580
    Like
    Yay
    3
    0 Comments 0 Shares 609 Views 0 Reviews
  • แถลงการณ์พรรคประชาชาติ

    เรื่อง จุดยืนต่อร่างพระราชบัญญัติเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กช์
    พรรคประชาชาติขอแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่สามารถรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ได้เนื่องจากเนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่

    ซึ่งล้วนเป็นมิติสำคัญที่พรรคประชาชาติให้ความสำคัญมาโดยตลอด
    พรรคประชาชาติขอยืนยันว่า ทุกการตัดสินใจของพรรคมุ่งยึดถือ
    ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความสงบสุขของสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกันเป็นสำคัญ

    พรรคประชาชาติ
    วันที่ 8 เมษายน 2568
    แถลงการณ์พรรคประชาชาติ เรื่อง จุดยืนต่อร่างพระราชบัญญัติเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กช์ พรรคประชาชาติขอแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่สามารถรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ได้เนื่องจากเนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งล้วนเป็นมิติสำคัญที่พรรคประชาชาติให้ความสำคัญมาโดยตลอด พรรคประชาชาติขอยืนยันว่า ทุกการตัดสินใจของพรรคมุ่งยึดถือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความสงบสุขของสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกันเป็นสำคัญ พรรคประชาชาติ วันที่ 8 เมษายน 2568
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 286 Views 0 Reviews
  • เพื่อไทย 888 กาสิโนสุดซอย

    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้าย ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ในวันที่ 9 เม.ย. ที่จะถึงนี้ วาระที่สังคมกำลังจับตามอง คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่มีกาสิโนเป็นหลักใหญ่ใจความ หลังจากนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอเลื่อนขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับ 1 พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข 4 ฉบับ เสมือนเหล้าพ่วงเบียร์ที่ต้องการบีบให้ สส. ยอมรับเพื่อแลกกับได้พิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างในสภาฯ

    สื่อหลายค่ายรายงานว่า นายใหญ่อย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร บิดา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลโดยตรง ให้ สส.ในพรรคลงมติวาระรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หากพบว่าพรรคไหนแตกแถว ไม่เห็นชอบ จะพิจารณาให้ออกจากรัฐบาลทันที ท่ามกลางเสียง สส.ในสภาฯ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด 319 เสียง พบว่ามีบางพรรคลังเลใจ เช่น พรรคประชาชาติ ที่มี สส.ในสภา 8 คนเป็นชาวมุสลิมจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ยื่นหนังสือถึงประธานวิปรัฐบาล กังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนในเรื่องการละเว้นอบายมุข ตามคำสอนและหลักการของแต่ละศาสนา จึงเห็นควรให้มีบทบัญญัติที่คำนึงถึงหลักการดังกล่าวด้วย

    อย่างไรก็ตาม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์เครือเนชั่น มั่นใจว่าจะผ่านวาระรับหลักการ เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 31 คน เป็นประธานเอง คัดรายชื่อเอง เน้นคนเข้ามาทำงานจริง ตั้งตามจำนวนที่จำเป็น และให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งคนที่มีภาพลักษณ์ดีไม่เข้ามาหาประโยชน์ คาดว่าจะเสนอพิจารณาวาระ 2-3 ในเดือน ก.ค.2568 รวมทั้งรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันนโยบาย ตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายฯ ออกกฎหมายลูก อาจเปิดประมูลเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ทันทีในรัฐบาลหน้า

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวเน็ตต่างแห่ตั้งฉายาพรรคเพื่อไทยว่า "เพื่อไทย 888" ตอบโต้กรณีที่พรรคเพื่อไทยชี้แจงข้อกล่าวหาในการประชุมสภาฯ ว่า กาสิโนมาก่อนแผ่นดินไหวไม่เป็นความจริง อีกด้านหนึ่ง แม้การชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่ม ศปปส. และกองทัพธรรมยังไม่เป็นข่าวมากนัก แต่ก็พบว่าหลายองค์กรภาคประชาชนทั้งกลุ่มผู้นำทางศาสนา กลุ่มนักวิชาการ นักรัฐศาสตร์ ต่างออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แม้จะห้ามไม่ได้ที่ฝ่ายรัฐบาลจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้แบบสุดซอย ไม่สนใจเสียงคัดค้านก็ตาม

    #Newskit
    เพื่อไทย 888 กาสิโนสุดซอย การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้าย ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ในวันที่ 9 เม.ย. ที่จะถึงนี้ วาระที่สังคมกำลังจับตามอง คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่มีกาสิโนเป็นหลักใหญ่ใจความ หลังจากนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอเลื่อนขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับ 1 พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข 4 ฉบับ เสมือนเหล้าพ่วงเบียร์ที่ต้องการบีบให้ สส. ยอมรับเพื่อแลกกับได้พิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างในสภาฯ สื่อหลายค่ายรายงานว่า นายใหญ่อย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร บิดา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลโดยตรง ให้ สส.ในพรรคลงมติวาระรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หากพบว่าพรรคไหนแตกแถว ไม่เห็นชอบ จะพิจารณาให้ออกจากรัฐบาลทันที ท่ามกลางเสียง สส.ในสภาฯ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด 319 เสียง พบว่ามีบางพรรคลังเลใจ เช่น พรรคประชาชาติ ที่มี สส.ในสภา 8 คนเป็นชาวมุสลิมจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ยื่นหนังสือถึงประธานวิปรัฐบาล กังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนในเรื่องการละเว้นอบายมุข ตามคำสอนและหลักการของแต่ละศาสนา จึงเห็นควรให้มีบทบัญญัติที่คำนึงถึงหลักการดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์เครือเนชั่น มั่นใจว่าจะผ่านวาระรับหลักการ เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 31 คน เป็นประธานเอง คัดรายชื่อเอง เน้นคนเข้ามาทำงานจริง ตั้งตามจำนวนที่จำเป็น และให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งคนที่มีภาพลักษณ์ดีไม่เข้ามาหาประโยชน์ คาดว่าจะเสนอพิจารณาวาระ 2-3 ในเดือน ก.ค.2568 รวมทั้งรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันนโยบาย ตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายฯ ออกกฎหมายลูก อาจเปิดประมูลเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ทันทีในรัฐบาลหน้า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวเน็ตต่างแห่ตั้งฉายาพรรคเพื่อไทยว่า "เพื่อไทย 888" ตอบโต้กรณีที่พรรคเพื่อไทยชี้แจงข้อกล่าวหาในการประชุมสภาฯ ว่า กาสิโนมาก่อนแผ่นดินไหวไม่เป็นความจริง อีกด้านหนึ่ง แม้การชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่ม ศปปส. และกองทัพธรรมยังไม่เป็นข่าวมากนัก แต่ก็พบว่าหลายองค์กรภาคประชาชนทั้งกลุ่มผู้นำทางศาสนา กลุ่มนักวิชาการ นักรัฐศาสตร์ ต่างออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แม้จะห้ามไม่ได้ที่ฝ่ายรัฐบาลจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้แบบสุดซอย ไม่สนใจเสียงคัดค้านก็ตาม #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 816 Views 0 Reviews
  • นโยบายบ่อนกาสิโนไม่มีพรรคใดหาเสียง จึงไม่มีสิทธิโหวตรับในสภา !!สมัยเกิดทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เมื่อปีพ.ศ.2542 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนยื่นกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ รัฐมนตรีอ้างว่าเงินที่ไม่สามารถระบุที่มาของเงินนั้นได้มาจากการเล่นการพนันจากบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ไม่รับฟังข้อต่อสู้ดังกล่าวจึงมีการไต่สวนจนพบว่ามีเงินที่รับสินบนด้วยการทำนิติกรรมอำพรางที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนจากบริษัทยาเพื่อจัดซื้อยาราคาแพง และได้ส่งฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และรัฐมนตรีถูกพิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน 233.87 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีถูกตัดสินจำคุก15ปีจากการรับสินบนหากร่างพ.ร.บ การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ …. ถูกรับรองผ่านเป็นกฎหมายโดยมีการสอดไส้บ่อนกาสิโนไว้ในพรบ.ฉบับนี้ตามที่รัฐบาลต้องการ ต่อจากนี้เป็นต้นไป การฟอกเงินจากสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหลาย ทั้งการรับสินบน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด เงินจากการทำผิดกฎหมาย และการปล้นในรูปแบบต่างๆจะถูกอ้างว่าได้มาจากบ่อนกาสิโน เงินใต้ดินทั้งหลายจะถูกฟอกขาวโดยบ่อนกาสิโน สิ่งนี้คือสิ่งที่นักการเมืองต้องการ ใช่หรือไม่ ?! พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนมาเป็นผู้แทนในรัฐสภา ต้องรับผิดชอบต่อการหาเสียงซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ว่าจะทำอะไรให้ประชาชนถ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนประชาชน หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวงหรือ“รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”เป็น“รัฐบาลที่มีอำนาจที่จำกัด”(Limited Government)และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของประชาชนที่เลือกรัฐบาลขึ้นมา กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจความเป็นผู้แทนจำกัดอยู่เฉพาะการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชนไว้เท่านั้น ดังนั้นการคัดค้านบ่อนกาสิโนของประชาชน นักการเมืองต้องฟัง !!ในเมื่อพรรคการเมืองทั้งหลายที่อยู่ร่วมเป็นรัฐบาลผสม ไม่เคยหาเสียงเรื่องบ่อนกาสิโน จึงไม่มีสิทธิฮั้วกันโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนหากพรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ตนไม่ได้หาเสียงไว้ ก็เท่ากับท่านใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ประชาชนมอบหมายให้ และเป็นการทำลายสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนอย่างร้ายแรง อันอาจถึงขั้นที่รัฐบาลกลายเป็นกบฎต่อความไว้วางใจ และต่อสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนเสียเอง และประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรง(Direct Democrcy)ขับไล่รัฐบาลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้นได้การที่ประชาชนแม้ไม่เห็นด้วยกับการนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล แต่เพราะเป็นการหาเสียงของรัฐบาล ประชาชนจึงกล้ำกลืนความไม่พอใจ ความกังวลใจว่าประเทศจะเสียหายเพราะนโยบายแจกเงินเช่นนั้น แต่บ่อนกาสิโนไม่ใช่การหาเสียงของพรรคใด พวกท่านจึงไม่มีสิทธิลักไก่ผลักดันผ่านร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนดังกล่าว โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านต่อต้านที่ดังกึกก้องมาจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยในขณะนี้จงอย่าคิดว่าเมื่อได้อำนาจที่ประชาชนมอบให้ผ่านการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลก็จะทำอะไรก็ได้ ที่นอกเหนือจากการหาเสียง ประชาชนเลือกผู้แทน ไม่ใช่เลือกโจรมาปล้นบ้านตัวเอง ใช่หรือไม่?รัฐบาลและรัฐสภามีเครื่องมือในการทำประชามติ ถ้ารัฐบาลทนรอถึงการเลือกตั้งสมัยหน้าไม่ได้ ก็จงใช้เครื่องมือประชามติถามประชาชนทั้งประเทศเรื่องบ่อนกาสิโนว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำหรือไม่ ?ประธานรัฐสภาเป็นเสาหลัก 1 ในอำนาจ 3 ที่ประชาชนมอบให้ และหวังให้เสาหลักเป็นหลักที่ปักมั่นไม่คลอนแคลน เป็นอิสระ และทำตามสัญญาประชาคมในการไม่เปิดประตูให้กับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ประชาชนคัดค้าน ถ้าท่านยอมให้ร่างกฎหมายเข้าสู่สายพานการออกกฎหมายของรัฐสภา ก็ไม่ต่างกับการออกกฎหมายให้การปล้นอนาคตประเทศ ปล้นอนาคตลูกหลานไทยเป็นการปล้นที่ถูกกฎหมาย ใช่หรือไม่?ขอให้จดจำร่างพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย ว่ามีการลักหลับผ่านกฎหมายช่วงตี3-ตี4 ตรงตามฤกษ์โจรปล้น ว่ามีผลเป็นอย่างไร บ่อนกาสิโนก็อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความปั่นป่วนและอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นได้อีกจากการฉวยโอกาส ดังที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆจากการลุกขึ้นต่อต้านของประชาชน ใช่หรือไม่รสนา โตสิตระกูล3 เมษายน 2568#คัดค้านกาสิโน
    นโยบายบ่อนกาสิโนไม่มีพรรคใดหาเสียง จึงไม่มีสิทธิโหวตรับในสภา !!สมัยเกิดทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เมื่อปีพ.ศ.2542 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนยื่นกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ รัฐมนตรีอ้างว่าเงินที่ไม่สามารถระบุที่มาของเงินนั้นได้มาจากการเล่นการพนันจากบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ไม่รับฟังข้อต่อสู้ดังกล่าวจึงมีการไต่สวนจนพบว่ามีเงินที่รับสินบนด้วยการทำนิติกรรมอำพรางที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนจากบริษัทยาเพื่อจัดซื้อยาราคาแพง และได้ส่งฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และรัฐมนตรีถูกพิพากษาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน 233.87 ล้านบาท และต่อมารัฐมนตรีถูกตัดสินจำคุก15ปีจากการรับสินบนหากร่างพ.ร.บ การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ …. ถูกรับรองผ่านเป็นกฎหมายโดยมีการสอดไส้บ่อนกาสิโนไว้ในพรบ.ฉบับนี้ตามที่รัฐบาลต้องการ ต่อจากนี้เป็นต้นไป การฟอกเงินจากสิ่งที่ผิดกฎหมายทั้งหลาย ทั้งการรับสินบน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด เงินจากการทำผิดกฎหมาย และการปล้นในรูปแบบต่างๆจะถูกอ้างว่าได้มาจากบ่อนกาสิโน เงินใต้ดินทั้งหลายจะถูกฟอกขาวโดยบ่อนกาสิโน สิ่งนี้คือสิ่งที่นักการเมืองต้องการ ใช่หรือไม่ ?! พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนมาเป็นผู้แทนในรัฐสภา ต้องรับผิดชอบต่อการหาเสียงซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคม ว่าจะทำอะไรให้ประชาชนถ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนประชาชน หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวงหรือ“รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”เป็น“รัฐบาลที่มีอำนาจที่จำกัด”(Limited Government)และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของประชาชนที่เลือกรัฐบาลขึ้นมา กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจความเป็นผู้แทนจำกัดอยู่เฉพาะการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชนไว้เท่านั้น ดังนั้นการคัดค้านบ่อนกาสิโนของประชาชน นักการเมืองต้องฟัง !!ในเมื่อพรรคการเมืองทั้งหลายที่อยู่ร่วมเป็นรัฐบาลผสม ไม่เคยหาเสียงเรื่องบ่อนกาสิโน จึงไม่มีสิทธิฮั้วกันโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนหากพรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลโหวตรับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ตนไม่ได้หาเสียงไว้ ก็เท่ากับท่านใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ประชาชนมอบหมายให้ และเป็นการทำลายสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนอย่างร้ายแรง อันอาจถึงขั้นที่รัฐบาลกลายเป็นกบฎต่อความไว้วางใจ และต่อสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนเสียเอง และประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรง(Direct Democrcy)ขับไล่รัฐบาลที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตนั้นได้การที่ประชาชนแม้ไม่เห็นด้วยกับการนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล แต่เพราะเป็นการหาเสียงของรัฐบาล ประชาชนจึงกล้ำกลืนความไม่พอใจ ความกังวลใจว่าประเทศจะเสียหายเพราะนโยบายแจกเงินเช่นนั้น แต่บ่อนกาสิโนไม่ใช่การหาเสียงของพรรคใด พวกท่านจึงไม่มีสิทธิลักไก่ผลักดันผ่านร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนดังกล่าว โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านต่อต้านที่ดังกึกก้องมาจากทุกภาคส่วนของสังคมไทยในขณะนี้จงอย่าคิดว่าเมื่อได้อำนาจที่ประชาชนมอบให้ผ่านการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลก็จะทำอะไรก็ได้ ที่นอกเหนือจากการหาเสียง ประชาชนเลือกผู้แทน ไม่ใช่เลือกโจรมาปล้นบ้านตัวเอง ใช่หรือไม่?รัฐบาลและรัฐสภามีเครื่องมือในการทำประชามติ ถ้ารัฐบาลทนรอถึงการเลือกตั้งสมัยหน้าไม่ได้ ก็จงใช้เครื่องมือประชามติถามประชาชนทั้งประเทศเรื่องบ่อนกาสิโนว่าประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำหรือไม่ ?ประธานรัฐสภาเป็นเสาหลัก 1 ในอำนาจ 3 ที่ประชาชนมอบให้ และหวังให้เสาหลักเป็นหลักที่ปักมั่นไม่คลอนแคลน เป็นอิสระ และทำตามสัญญาประชาคมในการไม่เปิดประตูให้กับร่างกฎหมายบ่อนกาสิโนที่ประชาชนคัดค้าน ถ้าท่านยอมให้ร่างกฎหมายเข้าสู่สายพานการออกกฎหมายของรัฐสภา ก็ไม่ต่างกับการออกกฎหมายให้การปล้นอนาคตประเทศ ปล้นอนาคตลูกหลานไทยเป็นการปล้นที่ถูกกฎหมาย ใช่หรือไม่?ขอให้จดจำร่างพรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย ว่ามีการลักหลับผ่านกฎหมายช่วงตี3-ตี4 ตรงตามฤกษ์โจรปล้น ว่ามีผลเป็นอย่างไร บ่อนกาสิโนก็อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความปั่นป่วนและอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นได้อีกจากการฉวยโอกาส ดังที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆจากการลุกขึ้นต่อต้านของประชาชน ใช่หรือไม่รสนา โตสิตระกูล3 เมษายน 2568#คัดค้านกาสิโน
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 890 Views 0 Reviews
  • คำว่า "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ไม่เคยมีอยู่ในกมลสันดาลของคนในสกุลชินทุกคนที่เข้ามาเป็นผู้นำประเทศ มีแต่มอมเมาคนโทยให้หลงทาง ให้มีความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ทำลายรากฐานศาสนาและวัฒนธรรม เช่น ส่งเสริมให้มีนิกายบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างชัดแจ้ง ส่งทั้งพระและฆารวาสเข้าแทรกแซงองค์กรพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการพนันออนไลด์ อันเป็นหนทางแห่งความพินาศฉิบหายของชาติ

    ผู้นำประเทศในสกุลนี้ ทำร้ายชาติมามากแล้ว มากเกือบจะไม่มีรากแก้วให้ค้ำยันต้นไม้ของพ่อแล้ว ขืนปล่อยเวลาให้เนิ่นนานต่อไป ประเทศไทยล้มสลายแน่
    คำว่า "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ไม่เคยมีอยู่ในกมลสันดาลของคนในสกุลชินทุกคนที่เข้ามาเป็นผู้นำประเทศ มีแต่มอมเมาคนโทยให้หลงทาง ให้มีความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ทำลายรากฐานศาสนาและวัฒนธรรม เช่น ส่งเสริมให้มีนิกายบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างชัดแจ้ง ส่งทั้งพระและฆารวาสเข้าแทรกแซงองค์กรพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการพนันออนไลด์ อันเป็นหนทางแห่งความพินาศฉิบหายของชาติ ผู้นำประเทศในสกุลนี้ ทำร้ายชาติมามากแล้ว มากเกือบจะไม่มีรากแก้วให้ค้ำยันต้นไม้ของพ่อแล้ว ขืนปล่อยเวลาให้เนิ่นนานต่อไป ประเทศไทยล้มสลายแน่
    0 Comments 0 Shares 412 Views 0 Reviews
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
    สัทธรรมลำดับที่ : 941
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=941
    ชื่อบทธรรม : -การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
    --ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ
    ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
    ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
    ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
    ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
    ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมืโทสะในภายใน.
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ
    เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล.

    (๑. อุปมาที่หนึ่ง)
    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋)
    มาแล้วกล่าวว่า
    “เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน”
    http://etipitaka.com/read/pali/12/256/?keywords=มหาปฐวึ
    ดังนี้;
    เขาขุดในที่นั้น ๆ
    เรี่ยรายดินในที่นั้นๆ
    ขากถุยอยู่ในที่นั้นๆ
    กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้นๆ
    ปากพูดอยู่ว่า
    “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    : บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้
    เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน
    รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า
    พระเจ้าข้า !”
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น
    เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่
    เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้นอย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    (คือ &​มีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่
    อันใครๆ จะกระทบกระทั่งให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น).
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.

    (๒. อุปมาที่สอง)
    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา
    เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง
    กล่าวอยู่ว่า
    “เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่”
    http://etipitaka.com/read/pali/12/257/?keywords=อากาเส
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้
    ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
    เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้.
    ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ได้
    รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า
    พระเจ้าข้า !”
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น
    เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่
    เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไม่ยังบุคคลนั้น อยู่ และ
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    (คือ &​มีจิตเหมือนอากาศ
    อันใครๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฎไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ).
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

    (๓. อุปมาที่สาม)
    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า
    “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้”
    http://etipitaka.com/read/pali/12/258/?keywords=คงฺคา
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน
    ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า
    แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเผาให้ร้อนจัด
    ให้เดือดพล่านด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง
    รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า
    ดังนี้.”
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น
    เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่
    เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    (คือ &​มีจิตเหมือนแม่น้ำคงคา
    อันใครๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น)
    -​-ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

    (๔. อุปมาที่สี่)
    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู*--๑ ฟอกนวดแล้ว
    นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง.
    ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า
    “เราจักทำให้หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้”
    http://etipitaka.com/read/pali/12/259/?keywords=วิฬารภสฺ
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ
    ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่า หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้น
    เป็นของฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง
    อ่อนนิ่ม เหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง
    ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่ง
    รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า
    ดังนี้ “.
    *--๑. คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่มคลุมเล่น หรือแผ่นหนังที่ทำเป็นถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า ยังเป็นที่สงสัยอยู่, ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็นสิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน.
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น
    เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำ ประการใดประการหนึ่งอยู่,
    เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    (คือ &​มีจิตเหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟูที่ฟอกดีแล้วเห็นปานนั้น
    อันใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น).
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

    (๕. อุปมาที่ห้า)
    --ภิกษุ ท. !
    ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร ด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง;
    ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา
    เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น
    http://etipitaka.com/read/pali/12/260/?keywords=โจร
    --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป,
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่,
    แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง
    ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
    --ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด.
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่
    เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
    --ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
    พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจ
    ถึงโอวาท &​อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด
    : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.-

    #สัมมาสมาธิ
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/176 - 181/267 - 273.
    http://etipitaka.com/read/thai/12/176/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๕๕ - ๒๘๐/๒๖๗ - ๒๗๓.
    http://etipitaka.com/read/pali/12/255/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=941
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80&id=941
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80
    ลำดับสาธยายธรรม : 80 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_80.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย สัทธรรมลำดับที่ : 941 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=941 ชื่อบทธรรม : -การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย เนื้อความทั้งหมด :- --การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย --ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมืโทสะในภายใน. --ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล. (๑. อุปมาที่หนึ่ง) --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋) มาแล้วกล่าวว่า “เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน” http://etipitaka.com/read/pali/12/256/?keywords=มหาปฐวึ ดังนี้; เขาขุดในที่นั้น ๆ เรี่ยรายดินในที่นั้นๆ ขากถุยอยู่ในที่นั้นๆ กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้นๆ ปากพูดอยู่ว่า “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !” --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้นอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือ &​มีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่ อันใครๆ จะกระทบกระทั่งให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล. (๒. อุปมาที่สอง) --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า “เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่” http://etipitaka.com/read/pali/12/257/?keywords=อากาเส ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้. ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !” --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไม่ยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือ &​มีจิตเหมือนอากาศ อันใครๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฎไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ). --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๓. อุปมาที่สาม) --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้” http://etipitaka.com/read/pali/12/258/?keywords=คงฺคา ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเผาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่านด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้.” --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือ &​มีจิตเหมือนแม่น้ำคงคา อันใครๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น) -​-ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๔. อุปมาที่สี่) --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู*--๑ ฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง. ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า “เราจักทำให้หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้” http://etipitaka.com/read/pali/12/259/?keywords=วิฬารภสฺ ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่า หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้น เป็นของฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่ม เหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่ง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้ “. *--๑. คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่มคลุมเล่น หรือแผ่นหนังที่ทำเป็นถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า ยังเป็นที่สงสัยอยู่, ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็นสิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน. --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำ ประการใดประการหนึ่งอยู่, เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือ &​มีจิตเหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟูที่ฟอกดีแล้วเห็นปานนั้น อันใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๕. อุปมาที่ห้า) --ภิกษุ ท. ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร ด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น http://etipitaka.com/read/pali/12/260/?keywords=โจร --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. --ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด. --ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” --ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจ ถึงโอวาท &​อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.- #สัมมาสมาธิ​ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/176 - 181/267 - 273. http://etipitaka.com/read/thai/12/176/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๕๕ - ๒๘๐/๒๖๗ - ๒๗๓. http://etipitaka.com/read/pali/12/255/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=941 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80&id=941 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80 ลำดับสาธยายธรรม : 80 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_80.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
    -การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน. ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล. (๑. อุปมาที่หนึ่ง) ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋) มาแล้วกล่าวว่า “เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน” ดังนี้; เขาขุดในที่นั้น ๆ เรี่ยรายดินในที่นั้นๆ ขากถุยอยู่ในที่นั้นๆ กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้นๆ ปากพูดอยู่ว่า “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุ ไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้นอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่อันใครๆ จะกระทบกระทั่งให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล. (๒. อุปมาที่สอง) ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า “เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้. ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไม่ยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนอากาศ อันใครๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฎไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๓. อุปมาที่สาม) ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเผาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่านด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้.” ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของ เราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแม่น้ำคงคา อันใครๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น) ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๔. อุปมาที่สี่) ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู๑ ฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง. ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า “เราจักทำให้หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่า หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้น เป็นของฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่ม เหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่ง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้ “. ๑. คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่มคลุมเล่น หรือแผ่นหนังที่ทำเป็นถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า ยังเป็นที่สงสัยอยู่, ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็นสิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำ ประการใดประการหนึ่งอยู่, เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟูที่ฟอกดีแล้วเห็นปานนั้น อันใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. (๕. อุปมาที่ห้า) ภิกษุ ท. ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครถ้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทาง แห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.
    0 Comments 0 Shares 454 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า>

    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้)

    วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง

    วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว

    แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว

    และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี

    ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว

    Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://imgur.com/20Mx6mv
    http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article
    https://www.sohu.com/a/325578545_594411

    #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า> วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้) วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://imgur.com/20Mx6mv http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article https://www.sohu.com/a/325578545_594411 #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    1 Comments 0 Shares 746 Views 0 Reviews
  • 46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺

    ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์

    🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️

    ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย...

    🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา

    "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾

    🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨

    แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖

    🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

    🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏

    ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿

    คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨

    🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568

    #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺 ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์ 🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย... 🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾 🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨 แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖 🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ 🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏 ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿 คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨ 🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568 #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    0 Comments 0 Shares 1203 Views 0 Reviews
  • เมฆหมอกบังจิตใจเรา เราก็เอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาส่องทาง..
    เมฆหมอกบังจิตใจเรา เราก็เอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาส่องทาง..
    0 Comments 0 Shares 348 Views 0 Reviews
More Results