• ทูตสหรัฐฯ ชี้ปัญหา 'ช้างในห้อง' ของการเจรจาสันติภาพคือการยกดินแดนยูเครนให้รัสเซีย

    ทูตพิเศษสหรัฐฯ Steve Witkoff เผยว่าอุปสรรคใหญ่สุดในการแก้ไขสงครามยูเครนคือสถานะของไครเมียและสี่ภูมิภาคที่รัสเซียยึดครอง โดยเรียกประเด็นนี้ว่า "ช้างในห้อง" ของการเจรจาสันติภาพ

    ในการให้สัมภาษณ์กับ Tucker Carlson Witkoff อ้างว่าการลงประชามติในภูมิภาค Donetsk, Luhansk, Zaporizhzhia และ Kherson แสดงว่าประชาชนต้องการอยู่ภายใต้รัสเซีย

    "รัสเซียควบคุมดินแดนเหล่านี้อยู่แล้วตามข้อเท็จจริง คำถามคือ
    โลกจะยอมรับหรือไม่ว่านั่นเป็นดินแดนรัสเซีย?
    Zelensky จะอยู่รอดทางการเมืองหรือไม่ถ้ายอมรับ?
    นี่คือประเด็นสำคัญในความขัดแย้ง" Witkoff กล่าว

    ขณะที่ Zelensky ยืนยันว่า "เราไม่ยอมรับดินแดนยูเครนที่ถูกยึดครองเป็นของรัสเซีย"

    ทูตพิเศษยังเปิดเผยว่า Vladimir Putin สั่งวาดภาพเหมือนอันงดงามของประธานาธิบดี Donald Trump โดยศิลปินชั้นนำของรัสเซีย ซึ่ง Witkoff นำกลับไปให้ประธานาธิบดี และเล่าว่า Putin ยังสวดมนต์เพื่อ Trump หลังถูกลอบสังหาร
    "ไม่ใช่เพราะเขา...อาจกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เพราะ พวกเขาเป็นเพื่อนกัน" ซึ่ง Trump ก็ "ซาบซึ้งใจอย่างชัดเจน" กับการแสดงออกของ Putin

    Witkoff ประทับใจในความ "สุภาพ" และ "สติปัญญา" ของ Putin
    โดยเสริมว่าการแก้ไขสงครามอาจนำไปสู่ความร่วมมือทั้งด้านพลังงานในอาร์กติก การแบ่งปันเส้นทางทะเล และการส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเข้ายุโรปร่วมกัน
    ทูตสหรัฐฯ ชี้ปัญหา 'ช้างในห้อง' ของการเจรจาสันติภาพคือการยกดินแดนยูเครนให้รัสเซีย ทูตพิเศษสหรัฐฯ Steve Witkoff เผยว่าอุปสรรคใหญ่สุดในการแก้ไขสงครามยูเครนคือสถานะของไครเมียและสี่ภูมิภาคที่รัสเซียยึดครอง โดยเรียกประเด็นนี้ว่า "ช้างในห้อง" ของการเจรจาสันติภาพ ในการให้สัมภาษณ์กับ Tucker Carlson Witkoff อ้างว่าการลงประชามติในภูมิภาค Donetsk, Luhansk, Zaporizhzhia และ Kherson แสดงว่าประชาชนต้องการอยู่ภายใต้รัสเซีย "รัสเซียควบคุมดินแดนเหล่านี้อยู่แล้วตามข้อเท็จจริง คำถามคือ โลกจะยอมรับหรือไม่ว่านั่นเป็นดินแดนรัสเซีย? Zelensky จะอยู่รอดทางการเมืองหรือไม่ถ้ายอมรับ? นี่คือประเด็นสำคัญในความขัดแย้ง" Witkoff กล่าว ขณะที่ Zelensky ยืนยันว่า "เราไม่ยอมรับดินแดนยูเครนที่ถูกยึดครองเป็นของรัสเซีย" ทูตพิเศษยังเปิดเผยว่า Vladimir Putin สั่งวาดภาพเหมือนอันงดงามของประธานาธิบดี Donald Trump โดยศิลปินชั้นนำของรัสเซีย ซึ่ง Witkoff นำกลับไปให้ประธานาธิบดี และเล่าว่า Putin ยังสวดมนต์เพื่อ Trump หลังถูกลอบสังหาร "ไม่ใช่เพราะเขา...อาจกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เพราะ พวกเขาเป็นเพื่อนกัน" ซึ่ง Trump ก็ "ซาบซึ้งใจอย่างชัดเจน" กับการแสดงออกของ Putin Witkoff ประทับใจในความ "สุภาพ" และ "สติปัญญา" ของ Putin โดยเสริมว่าการแก้ไขสงครามอาจนำไปสู่ความร่วมมือทั้งด้านพลังงานในอาร์กติก การแบ่งปันเส้นทางทะเล และการส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเข้ายุโรปร่วมกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 427 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ ปลดผู้แทนพิเศษ Kellogg จากการเจรจาสันติภาพตามคำเรียกร้องของเครมลิน

    NBC News รายงานว่า พลโท Keith Kellogg ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ถูกปลดจากการเจรจาสันติภาพตามคำเรียกร้องของเครมลิน เนื่องจากจุดยืน "เข้าข้างยูเครนมากเกินไป"

    สื่อระบุว่า พลโท Keith Kellogg "หายไปอย่างน่าสงสัย" จากการประชุมสุดยอดสองครั้งล่าสุดในซาอุดีอาระเบีย

    ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin เห็นว่าเขามีท่าทีเข้าข้างยูเครนมากเกินไป เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียบอกกับ NBC News

    "Kellogg เป็นอดีตนายพลอเมริกันที่ใกล้ชิดกับยูเครนมากเกินไป ไม่ใช่คนของเรา ไม่ใช่ระดับที่เรากำลังมองหา" เจ้าหน้าที่กล่าว

    เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในรัฐบาล Trump ยืนยันกับ NBC News ว่ารัสเซียไม่ต้องการให้ Kellogg มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ก่อนหน้านี้ Politico รายงานว่า Kellogg "ถูกลดบทบาทเป็นอย่างมาก" ในการเจรจากับยูเครนและรัสเซีย
    สหรัฐฯ ปลดผู้แทนพิเศษ Kellogg จากการเจรจาสันติภาพตามคำเรียกร้องของเครมลิน NBC News รายงานว่า พลโท Keith Kellogg ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ถูกปลดจากการเจรจาสันติภาพตามคำเรียกร้องของเครมลิน เนื่องจากจุดยืน "เข้าข้างยูเครนมากเกินไป" สื่อระบุว่า พลโท Keith Kellogg "หายไปอย่างน่าสงสัย" จากการประชุมสุดยอดสองครั้งล่าสุดในซาอุดีอาระเบีย ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin เห็นว่าเขามีท่าทีเข้าข้างยูเครนมากเกินไป เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียบอกกับ NBC News "Kellogg เป็นอดีตนายพลอเมริกันที่ใกล้ชิดกับยูเครนมากเกินไป ไม่ใช่คนของเรา ไม่ใช่ระดับที่เรากำลังมองหา" เจ้าหน้าที่กล่าว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในรัฐบาล Trump ยืนยันกับ NBC News ว่ารัสเซียไม่ต้องการให้ Kellogg มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนหน้านี้ Politico รายงานว่า Kellogg "ถูกลดบทบาทเป็นอย่างมาก" ในการเจรจากับยูเครนและรัสเซีย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทหารหน่วยรบพิเศษรัสเซียมุดสายท่อส่งก๊าซเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร แล้วโผล่ออกมาตีตลบหลังกองทหารยูเครนที่บุกเข้าไปยึดพื้นที่ในแคว้นคูร์สก์ของแดนหมีขาวมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน มอสโกอ้างด้วยว่าสามารถยึดพื้นที่ใหม่ๆ เพิ่มเติมในการรุกขับไล่ชิงดินแดนคืนและโอบล้อมข้าศึกที่แคว้นประชิดชายแดนยูเครนแห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังเข้าครองหมู่บ้านในแคว้นซูมีของยูเครนได้เป็นครั้งแรกนับจากปี 2022 อีกด้วย
    .
    กองทหารยูเครนบุกข้ามแดนเข้าสู่แคว้นคูร์สก์ของรัสเซียเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ถือเป็นเหตุการณ์ทหารต่างชาติโจมตีเข้าสู่แดนหมีขาวครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายในไม่กี่วันก็สามารถยึดดินแดนได้ถึง 1,000 ตารางเมตร ซึ่งรวมถึงซุดซาที่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ใกล้ชายแดน รวมทั้งจับเชลยศึกรัสเซียได้หลายร้อยคน
    .
    เคียฟหมายมั่นใช้ความสำเร็จคราวนี้เป็นหมากต่อรองหากมีการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งมุ่งสร้างแรงบีบคั้นให้รัสเซียถอนทหารออกจากแนวรบในยูเครนตะวันออก กลับมาป้องกันดินแดนของตัวเอง
    .
    ทว่า หลายเดือนนับจากนั้น ทหารยูเครนในคูร์สก์ตกอยู่ในสภาพทั้งเหนื่อยล้าและบาดเจ็บล้มตาย จากการถูกโจมตีอย่างไม่ลดละจากกองทหารมากกว่า 50,000 นายที่ส่วนหนึ่งเป็นทหารเกาหลีเหนือ เวลานี้ทหารยูเครนหลายหมื่นคนยังกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปิดล้อม ทั้งนี้เมื่อดูจากแผนที่ของสมรภูมิซึ่งมาจากพวกแหล่งข่าวโอเพ่นซอร์ส รายงานข่าวของเอพีระบุ
    .
    ขณะที่รอยเตอร์รายงานเช่นกันว่า จนถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัสเซียสามารถยึดพื้นที่ในแคว้นคูร์สก์คืนไปได้อย่างน้อย 800 ตารางกิโลเมตร และระยะไม่กี่วันมานี้ได้เปิดฉากโจมตีจากหลายทิศทางพร้อมกันเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาวุธ ตลอดจนเส้นทางที่ยูเครนอาจใช้ในการล่าถอย
    .
    สำหรับเหตุการณ์การโจมตีระทึกใจล่าสุด เอพีรายงานโดยอ้าง ยูริ โปโดลยากา บล็อกเกอร์สที่เกิดในยูเครนแต่เป็นฝ่ายสนับสนุนเครมลิน โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเทเลแกรมเมื่อคืนวันเสาร์ (8 มี.ค.) ระบุว่า กองทหารหน่วยรบพิเศษของรัสเซีย ได้เดินกันเป็นระยะทางราว 15 กิโลเมตรภายในสายท่อส่งก๊าซ ซึ่งมอสโกเคยใช้ส่งก๊าซธรรมชาติไปให้แก่ยุโรปจนกระทั่งมีอันยุติลงเมื่อไม่นานมานี้ ทหารรัสเซียเหล่านี้บางส่วนอยู่ภายในท่อส่งก๊าซซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 เมตรนี้เป็นเวลาหลายวัน ก่อนที่จะโผล่ออกมาโจมตีหน่วยทหารยูเครนจากทางด้านหลัง ในบริเวณใกล้ๆ เมืองซุดซา
    .
    เอพีอ้างบล็อกเกอร์สงครามอีกคนที่ใช้นามแฝงว่า ทู เมเจอร์ส ระบุว่า ขณะนี้มีการสู้รบดุเดือดเพื่อแย่งชิงซุดซา และกองกำลังรัสเซียสามารถบุกเข้าเมืองผ่านทางท่อส่งก๊าซ นอกจากนั้น ช่องรายการของเทเลแกรมหลายช่องมีการเผยแพร่ภาพหน่วยรบพิเศษรัสเซียซึ่งสวมหน้ากากป้องกันก๊าซ เคลื่อนที่ไปตามสิ่งที่ดูเหมือนเป็นด้านในของท่อขนาดใหญ่
    .
    ทางด้านกรมเสนาธิการใหญ่กองทัพยูเครนแถลงยืนยันเมื่อค่ำวันเสาร์ แต่ระบุว่า พวกกลุ่มก่อวินาศกรรมและรุกโจมตีของรัสเซียใช้ท่อส่งก๊าซเป็นเส้นทางเดินทางเพื่อเข้ายึดพื้นที่ด้านนอกของซุดซา ทว่า ยูเครนตรวจพบทันเวลาและโจมตีด้วยจรวดและปืนใหญ่จนสามารถปิดกั้นและทำลายทหารเหล่านั้น และย้ำว่า รัสเซียสูญเสียหนักมากในซุดซา
    .
    เอพีรายงานว่า ยังมีบล็อกเกอร์สงครามของรัสเซียคนที่ 3 ที่กล่าวว่า ตัวเขาเป็นทหารและใช้รหัส “13” ในการสื่อสารทางวิทยุ เล่าเรื่องว่า กองกำลังฝ่ายเข้าโจมตีขาดการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง จึงโจมตีไม่สำเร็จ โดยบล็อกเกอร์ผู้นี้อ้างว่า ฝ่ายเข้าโจมตี 2 ถึง 3 กลุ่มที่อยู่ด้านหลัง ขาดแคลนทั้งอาหาร น้ำ เครื่องกระสุน การสื่อสาร อุปกรณ์ชาร์จไฟ เพาเวอร์แบงก์ อีกทั้งไม่อาจติดต่อกับกองกำลังหลัก ตลอดจนไม่สามารถอพยพทหารที่บาดเจ็บได้ ซึ่งถือเป็นหายนะอย่างแท้จริง
    .
    อย่างไรก็ดี เอพีเตือนว่า ตนเองไม่สามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูลเหล่านี้ได้
    .
    ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีที่รายงานเรื่องรัสเซียเคลื่อนพลผ่านท่อส่งก๊าซเข้าโจมตีซุดซาเช่นกัน อ้างพวกบล็อกเกอร์ฝ่ายรัสเซียระบุว่า การโจมตีคราวนี้ประสบความสำเร็จ กองทหารนี้บรรลุวัตถุประสงค์ของพวกเขา และการสู้รบยังคงดำเนินอยู่ที่ซุดซา
    .
    สำหรับทางการรัสเซียเองนั้น ไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องการโจมตีโดยมุดสายท่อส่งก๊าซนี้ แต่ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ) กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า กองทหารรัสเซียสามารถยึดหมู่บ้าน 4 แห่งทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของซุดซาได้ โดยหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากใจกลางเมืองราว 12 กิโลเมตร หลังจากก่อนหน้านั้นเข้ายึดหมู่บ้านคืนได้ 3 แห่งใกล้เมืองซุดซาเมื่อวันเสาร์ ขณะที่ฝ่ายยูเครนไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกล่าวอ้างเหล่านี้
    .
    วันเดียวกันนั้น กระทรวงกลาโหมรัสเซียยังประกาศว่า สามารถยึดโนเวนกี ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กแห่งหนึ่งในแคว้นซูมีของยูเครนที่อยู่ห่างจากคูร์สก์เพียง 1 กิโลเมตร และทำให้เข้าใกล้เส้นทางขนส่งกำลังบำรุงหลักของยูเครนมากขึ้น ทั้งนี้รัสเซียเคยยึดครองหลายส่วนของแคว้นซูมีได้ในตอนเริ่มต้นการรุกรานเมื่อปี 2022 แต่หลังจากต้องถอยกลับไปแล้วก็ไม่เคยยึดพื้นที่ใดๆ ในแคว้นนี้ได้อีกเลยจนกระทั่งมาถึงตอนนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023254
    ..............
    Sondhi X
    ทหารหน่วยรบพิเศษรัสเซียมุดสายท่อส่งก๊าซเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร แล้วโผล่ออกมาตีตลบหลังกองทหารยูเครนที่บุกเข้าไปยึดพื้นที่ในแคว้นคูร์สก์ของแดนหมีขาวมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน มอสโกอ้างด้วยว่าสามารถยึดพื้นที่ใหม่ๆ เพิ่มเติมในการรุกขับไล่ชิงดินแดนคืนและโอบล้อมข้าศึกที่แคว้นประชิดชายแดนยูเครนแห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังเข้าครองหมู่บ้านในแคว้นซูมีของยูเครนได้เป็นครั้งแรกนับจากปี 2022 อีกด้วย . กองทหารยูเครนบุกข้ามแดนเข้าสู่แคว้นคูร์สก์ของรัสเซียเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ถือเป็นเหตุการณ์ทหารต่างชาติโจมตีเข้าสู่แดนหมีขาวครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายในไม่กี่วันก็สามารถยึดดินแดนได้ถึง 1,000 ตารางเมตร ซึ่งรวมถึงซุดซาที่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ใกล้ชายแดน รวมทั้งจับเชลยศึกรัสเซียได้หลายร้อยคน . เคียฟหมายมั่นใช้ความสำเร็จคราวนี้เป็นหมากต่อรองหากมีการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งมุ่งสร้างแรงบีบคั้นให้รัสเซียถอนทหารออกจากแนวรบในยูเครนตะวันออก กลับมาป้องกันดินแดนของตัวเอง . ทว่า หลายเดือนนับจากนั้น ทหารยูเครนในคูร์สก์ตกอยู่ในสภาพทั้งเหนื่อยล้าและบาดเจ็บล้มตาย จากการถูกโจมตีอย่างไม่ลดละจากกองทหารมากกว่า 50,000 นายที่ส่วนหนึ่งเป็นทหารเกาหลีเหนือ เวลานี้ทหารยูเครนหลายหมื่นคนยังกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปิดล้อม ทั้งนี้เมื่อดูจากแผนที่ของสมรภูมิซึ่งมาจากพวกแหล่งข่าวโอเพ่นซอร์ส รายงานข่าวของเอพีระบุ . ขณะที่รอยเตอร์รายงานเช่นกันว่า จนถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัสเซียสามารถยึดพื้นที่ในแคว้นคูร์สก์คืนไปได้อย่างน้อย 800 ตารางกิโลเมตร และระยะไม่กี่วันมานี้ได้เปิดฉากโจมตีจากหลายทิศทางพร้อมกันเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาวุธ ตลอดจนเส้นทางที่ยูเครนอาจใช้ในการล่าถอย . สำหรับเหตุการณ์การโจมตีระทึกใจล่าสุด เอพีรายงานโดยอ้าง ยูริ โปโดลยากา บล็อกเกอร์สที่เกิดในยูเครนแต่เป็นฝ่ายสนับสนุนเครมลิน โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเทเลแกรมเมื่อคืนวันเสาร์ (8 มี.ค.) ระบุว่า กองทหารหน่วยรบพิเศษของรัสเซีย ได้เดินกันเป็นระยะทางราว 15 กิโลเมตรภายในสายท่อส่งก๊าซ ซึ่งมอสโกเคยใช้ส่งก๊าซธรรมชาติไปให้แก่ยุโรปจนกระทั่งมีอันยุติลงเมื่อไม่นานมานี้ ทหารรัสเซียเหล่านี้บางส่วนอยู่ภายในท่อส่งก๊าซซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 เมตรนี้เป็นเวลาหลายวัน ก่อนที่จะโผล่ออกมาโจมตีหน่วยทหารยูเครนจากทางด้านหลัง ในบริเวณใกล้ๆ เมืองซุดซา . เอพีอ้างบล็อกเกอร์สงครามอีกคนที่ใช้นามแฝงว่า ทู เมเจอร์ส ระบุว่า ขณะนี้มีการสู้รบดุเดือดเพื่อแย่งชิงซุดซา และกองกำลังรัสเซียสามารถบุกเข้าเมืองผ่านทางท่อส่งก๊าซ นอกจากนั้น ช่องรายการของเทเลแกรมหลายช่องมีการเผยแพร่ภาพหน่วยรบพิเศษรัสเซียซึ่งสวมหน้ากากป้องกันก๊าซ เคลื่อนที่ไปตามสิ่งที่ดูเหมือนเป็นด้านในของท่อขนาดใหญ่ . ทางด้านกรมเสนาธิการใหญ่กองทัพยูเครนแถลงยืนยันเมื่อค่ำวันเสาร์ แต่ระบุว่า พวกกลุ่มก่อวินาศกรรมและรุกโจมตีของรัสเซียใช้ท่อส่งก๊าซเป็นเส้นทางเดินทางเพื่อเข้ายึดพื้นที่ด้านนอกของซุดซา ทว่า ยูเครนตรวจพบทันเวลาและโจมตีด้วยจรวดและปืนใหญ่จนสามารถปิดกั้นและทำลายทหารเหล่านั้น และย้ำว่า รัสเซียสูญเสียหนักมากในซุดซา . เอพีรายงานว่า ยังมีบล็อกเกอร์สงครามของรัสเซียคนที่ 3 ที่กล่าวว่า ตัวเขาเป็นทหารและใช้รหัส “13” ในการสื่อสารทางวิทยุ เล่าเรื่องว่า กองกำลังฝ่ายเข้าโจมตีขาดการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง จึงโจมตีไม่สำเร็จ โดยบล็อกเกอร์ผู้นี้อ้างว่า ฝ่ายเข้าโจมตี 2 ถึง 3 กลุ่มที่อยู่ด้านหลัง ขาดแคลนทั้งอาหาร น้ำ เครื่องกระสุน การสื่อสาร อุปกรณ์ชาร์จไฟ เพาเวอร์แบงก์ อีกทั้งไม่อาจติดต่อกับกองกำลังหลัก ตลอดจนไม่สามารถอพยพทหารที่บาดเจ็บได้ ซึ่งถือเป็นหายนะอย่างแท้จริง . อย่างไรก็ดี เอพีเตือนว่า ตนเองไม่สามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูลเหล่านี้ได้ . ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีที่รายงานเรื่องรัสเซียเคลื่อนพลผ่านท่อส่งก๊าซเข้าโจมตีซุดซาเช่นกัน อ้างพวกบล็อกเกอร์ฝ่ายรัสเซียระบุว่า การโจมตีคราวนี้ประสบความสำเร็จ กองทหารนี้บรรลุวัตถุประสงค์ของพวกเขา และการสู้รบยังคงดำเนินอยู่ที่ซุดซา . สำหรับทางการรัสเซียเองนั้น ไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องการโจมตีโดยมุดสายท่อส่งก๊าซนี้ แต่ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ) กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า กองทหารรัสเซียสามารถยึดหมู่บ้าน 4 แห่งทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของซุดซาได้ โดยหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากใจกลางเมืองราว 12 กิโลเมตร หลังจากก่อนหน้านั้นเข้ายึดหมู่บ้านคืนได้ 3 แห่งใกล้เมืองซุดซาเมื่อวันเสาร์ ขณะที่ฝ่ายยูเครนไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกล่าวอ้างเหล่านี้ . วันเดียวกันนั้น กระทรวงกลาโหมรัสเซียยังประกาศว่า สามารถยึดโนเวนกี ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กแห่งหนึ่งในแคว้นซูมีของยูเครนที่อยู่ห่างจากคูร์สก์เพียง 1 กิโลเมตร และทำให้เข้าใกล้เส้นทางขนส่งกำลังบำรุงหลักของยูเครนมากขึ้น ทั้งนี้รัสเซียเคยยึดครองหลายส่วนของแคว้นซูมีได้ในตอนเริ่มต้นการรุกรานเมื่อปี 2022 แต่หลังจากต้องถอยกลับไปแล้วก็ไม่เคยยึดพื้นที่ใดๆ ในแคว้นนี้ได้อีกเลยจนกระทั่งมาถึงตอนนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023254 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1704 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนถึงต้องรุดออกมาเปิดเผยว่าพวกเขามีแผนจัดเจรจารอบใหม่กับสหรัฐฯ หลังวอชิงตันระงับแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง ก่อความเสียหายรอบใหม่แก่เคียฟ ในขณะที่พวกเขากำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของรัสเซีย
    .
    จอห์น แรตคลิฟ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) เปิดเผยในวันพุธ (5 มี.ค.) อเมริกาได้ระงับการสนับสนุนด้านข่าวกรองแก่ยูเครน หลังจากที่ได้ระงับการจัดส่งอาวุธให้แก่ยูเครนก่อนหน้านี้ ตามหลังการพังครืนในความสัมพันธ์ระหว่างเคียฟกับทำเนียบขาว
    .
    "ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มั่นใจว่าประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีต้องการสันติภาพหรือไม่ ท่านจึงสั่งให้ระงับความช่วยเหลือด้านข่าวกรอง" แรตคลิฟ กล่าว
    .
    คำแถลงนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กำลังพยายามดิ้นรนควบคุมความเสียหาย จากผลลัพธ์ที่เขาเปิดศึกวิวาทะกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้นำอเมริกาดุด่าเขาต่อหน้าบรรดาสื่อมวลชนนานาชาติและตะเพิดเขาออกจากทำเนียบขาว
    .
    "วันนี้ คณะทำงานยูเครนและสหรัฐฯ เริ่มทำงานเกี่ยวกับการประชุมที่กำลังจะมีขึ้น เรากำลังเห็นแนวโน้มมุ่งไปข้างหน้า" เซเลนสกีกล่าวระหว่างปราศรัยในช่วงค่ำวันพุธ (5 มี.ค.) แต่ไม่ได้ระบุว่าการเจรจารอบใหม่จะมีขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน นอกจากนี้ เขายังบอกด้วยว่าจะเข้าร่วมกับพวกผู้นำยุโรป สำหรับการประชุมซัมมิตในบรัสเซลส์ในวันพฤหัสบดี (6 มี.ค.)
    .
    ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าอาจส่งกองกำลังทหารยุโรปเข้าไปยังยูเครน หากมีการลงนามในข้อตกลง รับประกันว่ารัสเซียจะไม่รุกรานประเทศเพื่อนบ้านอีก
    .
    ท่าทีที่เปลี่ยนไปของเซเลนสกี มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ในวันพุธ (5 มี.ค.) สหรัฐฯ บอกว่าพวกเขาหยุดแบ่งปันข่าวกรองกับยูเครนแล้ว 2 วันหลังจากระงับความช่วยเหลือด้านการทหารไปก่อนหน้านี้
    .
    ควาามเคลื่อนไหวดังกล่าวโหมกระพือความกังวลในเคียฟและยุโรป ว่ายูเครนอาจถูกบีบให้ยอมรับข้อตกลงสันติภาพหนึ่งใดบนเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยแก่รัสเซีย ไม่อย่างนั้นก็เสี่ยงสูญเสียแรงสนับสนุนจากสหรัฐฯ ทั้งหมด
    .
    "เราทุกคนต้องการปกป้องอนาคตสำหรับประชาชนของเรา ไม่เอาหยุดยิงชั่วคราว แต่ต้องยุติสงครามครั้งนี้และตลอดไป ภายใต้ความพยายามประสานงานระหว่างเรากับผู้นำสหรัฐฯ เป้าหมายนี้สามารถบรรลุได้โดยสมบูรณ์" เซเลนสกี เขียนบนสื่อสังคมออนไลน์ในวันพุธ (5 มี.ค.) ตามหลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
    .
    ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน เซเลนสกีบอกว่าเขาพร้อม "เข้าสู่โต๊ะเจรจาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเข้าใกล้สันติภาพที่ยั่งยืน" และเขาต้องการปรับแก้ทำความเข้าใจกับทรัมป์
    .
    ระหว่างการปราศรัยต่อสภาคองเกรสในวันอังคาร (4 มี.ค.) ทรัมป์ อ่านออกเสียงหนังสือที่เขาอ้างว่าได้รับจากเซเลนสกี ที่ผู้นำยูเครนบอกว่าพร้อมสำหรับการเจรจาสันติภาพ
    .
    ทรัมป์ ให้ความสำคัญกับการยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในลำดับต้นๆ ในนโยบายต่างประเทศ ขณะที่ เซเลนสกี ต้องการคำรับประกันจากสหรัฐฯ เพื่อป้องกันรัสเซียจากการรุกรานอีกในอนาคต ส่วนทางรัสเซีย ปฏิเสธละทิ้งดินแดนใดๆ ที่พวกเขายึดครองมาจากเคียฟในปฏิบัติการทางทหารที่ยืดเยื้อมานาน 3 ปี และเวลานี้กำลังร่าเริงจากความเคลื่อนไหวระงับความช่วยเหลือทางทหารของอเมริกา
    .
    นอกจากนี้ รัสเซียยังขานรับด้วยความยินดีกับข่าวที่ว่าผู้นำยูเครนส่งจดหมายถึงทรัมป์ แสดงท่าทีพร้อมสำหรับการเจรจา "มันเป็นแนวทางที่เป็นบวก" ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกกับผู้สื่อข่าว อย่างไรก็ตามทางวังเครมลินก็ยังไม่พูดอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะยอมพูดคุยเจรจากับเซเลนสกีหรือไม่
    .
    ประธานาธิบดียูเครน ระบุหลายต่อหลายครั้งว่าเขามีความตั้งใจพบปะกับปูติน แต่ก็ต่อเมื่อเคียฟและพันธมิตรตะวันตก เห็นพ้องร่วมกันเกี่ยวกับจุดยืนการเจรจา
    .
    รัสเซีย กล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ใช่ผู้นำยูเครนที่ชอบด้วยกฎหมาย อ้างถึงวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ที่หมดสมัยไปแล้ว ตามหลังเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2019 ภายใต้กฎอัยการศึกของยูเครน ห้ามมีการจัดเลือกตั้งใดๆ ระหว่างสงคราม และบรรดาชาติยุโรปผู้สนับสนุนตัวยงของเซเลนสกี ได้สนับสนุนการพักไว้ซึ่งการเลือกตั้ง ท่ามกลางการรุกรานเต็มรูปแบบของมอสโก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021624
    ..............
    Sondhi X
    ยูเครนถึงต้องรุดออกมาเปิดเผยว่าพวกเขามีแผนจัดเจรจารอบใหม่กับสหรัฐฯ หลังวอชิงตันระงับแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง ก่อความเสียหายรอบใหม่แก่เคียฟ ในขณะที่พวกเขากำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของรัสเซีย . จอห์น แรตคลิฟ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) เปิดเผยในวันพุธ (5 มี.ค.) อเมริกาได้ระงับการสนับสนุนด้านข่าวกรองแก่ยูเครน หลังจากที่ได้ระงับการจัดส่งอาวุธให้แก่ยูเครนก่อนหน้านี้ ตามหลังการพังครืนในความสัมพันธ์ระหว่างเคียฟกับทำเนียบขาว . "ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มั่นใจว่าประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีต้องการสันติภาพหรือไม่ ท่านจึงสั่งให้ระงับความช่วยเหลือด้านข่าวกรอง" แรตคลิฟ กล่าว . คำแถลงนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กำลังพยายามดิ้นรนควบคุมความเสียหาย จากผลลัพธ์ที่เขาเปิดศึกวิวาทะกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้นำอเมริกาดุด่าเขาต่อหน้าบรรดาสื่อมวลชนนานาชาติและตะเพิดเขาออกจากทำเนียบขาว . "วันนี้ คณะทำงานยูเครนและสหรัฐฯ เริ่มทำงานเกี่ยวกับการประชุมที่กำลังจะมีขึ้น เรากำลังเห็นแนวโน้มมุ่งไปข้างหน้า" เซเลนสกีกล่าวระหว่างปราศรัยในช่วงค่ำวันพุธ (5 มี.ค.) แต่ไม่ได้ระบุว่าการเจรจารอบใหม่จะมีขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน นอกจากนี้ เขายังบอกด้วยว่าจะเข้าร่วมกับพวกผู้นำยุโรป สำหรับการประชุมซัมมิตในบรัสเซลส์ในวันพฤหัสบดี (6 มี.ค.) . ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าอาจส่งกองกำลังทหารยุโรปเข้าไปยังยูเครน หากมีการลงนามในข้อตกลง รับประกันว่ารัสเซียจะไม่รุกรานประเทศเพื่อนบ้านอีก . ท่าทีที่เปลี่ยนไปของเซเลนสกี มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ในวันพุธ (5 มี.ค.) สหรัฐฯ บอกว่าพวกเขาหยุดแบ่งปันข่าวกรองกับยูเครนแล้ว 2 วันหลังจากระงับความช่วยเหลือด้านการทหารไปก่อนหน้านี้ . ควาามเคลื่อนไหวดังกล่าวโหมกระพือความกังวลในเคียฟและยุโรป ว่ายูเครนอาจถูกบีบให้ยอมรับข้อตกลงสันติภาพหนึ่งใดบนเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยแก่รัสเซีย ไม่อย่างนั้นก็เสี่ยงสูญเสียแรงสนับสนุนจากสหรัฐฯ ทั้งหมด . "เราทุกคนต้องการปกป้องอนาคตสำหรับประชาชนของเรา ไม่เอาหยุดยิงชั่วคราว แต่ต้องยุติสงครามครั้งนี้และตลอดไป ภายใต้ความพยายามประสานงานระหว่างเรากับผู้นำสหรัฐฯ เป้าหมายนี้สามารถบรรลุได้โดยสมบูรณ์" เซเลนสกี เขียนบนสื่อสังคมออนไลน์ในวันพุธ (5 มี.ค.) ตามหลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี . ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน เซเลนสกีบอกว่าเขาพร้อม "เข้าสู่โต๊ะเจรจาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเข้าใกล้สันติภาพที่ยั่งยืน" และเขาต้องการปรับแก้ทำความเข้าใจกับทรัมป์ . ระหว่างการปราศรัยต่อสภาคองเกรสในวันอังคาร (4 มี.ค.) ทรัมป์ อ่านออกเสียงหนังสือที่เขาอ้างว่าได้รับจากเซเลนสกี ที่ผู้นำยูเครนบอกว่าพร้อมสำหรับการเจรจาสันติภาพ . ทรัมป์ ให้ความสำคัญกับการยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในลำดับต้นๆ ในนโยบายต่างประเทศ ขณะที่ เซเลนสกี ต้องการคำรับประกันจากสหรัฐฯ เพื่อป้องกันรัสเซียจากการรุกรานอีกในอนาคต ส่วนทางรัสเซีย ปฏิเสธละทิ้งดินแดนใดๆ ที่พวกเขายึดครองมาจากเคียฟในปฏิบัติการทางทหารที่ยืดเยื้อมานาน 3 ปี และเวลานี้กำลังร่าเริงจากความเคลื่อนไหวระงับความช่วยเหลือทางทหารของอเมริกา . นอกจากนี้ รัสเซียยังขานรับด้วยความยินดีกับข่าวที่ว่าผู้นำยูเครนส่งจดหมายถึงทรัมป์ แสดงท่าทีพร้อมสำหรับการเจรจา "มันเป็นแนวทางที่เป็นบวก" ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกกับผู้สื่อข่าว อย่างไรก็ตามทางวังเครมลินก็ยังไม่พูดอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะยอมพูดคุยเจรจากับเซเลนสกีหรือไม่ . ประธานาธิบดียูเครน ระบุหลายต่อหลายครั้งว่าเขามีความตั้งใจพบปะกับปูติน แต่ก็ต่อเมื่อเคียฟและพันธมิตรตะวันตก เห็นพ้องร่วมกันเกี่ยวกับจุดยืนการเจรจา . รัสเซีย กล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ใช่ผู้นำยูเครนที่ชอบด้วยกฎหมาย อ้างถึงวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ที่หมดสมัยไปแล้ว ตามหลังเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2019 ภายใต้กฎอัยการศึกของยูเครน ห้ามมีการจัดเลือกตั้งใดๆ ระหว่างสงคราม และบรรดาชาติยุโรปผู้สนับสนุนตัวยงของเซเลนสกี ได้สนับสนุนการพักไว้ซึ่งการเลือกตั้ง ท่ามกลางการรุกรานเต็มรูปแบบของมอสโก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021624 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    15
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2476 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์สั่ง “ระงับ” ความช่วยเหลือยูเครนเพื่อบีบเซเลนสกีร่วมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย ลั่นไม่อดทนกับผู้นำเคียฟอีกต่อไป ด้านรองประธานาธิบดีแวนซ์ก็สำทับวิพากษ์วิจารณ์ยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้เคียฟสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ทางยูเครนแถลงวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า กองทหารของตนซึ่งกำลังสู้รบกับฝ่ายรัสเซียอยู่ ยังสามารถรักษาสถานการณ์ในสมรภูมิเอาไว้ได้ด้วยตัวเอง
    .
    ความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีขึ้นหลังการประชุมที่กลายเป็นการปะทะคารมอย่างดุเดือด ในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ รุมทึ้งโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ไม่ยินยอมเข้าเจรจาสร้างสันติภาพกับรัสเซียโดยรวดเร็ว รวมทั้งกล่าวหาประธานาธิบดียูเครน ไม่เคารพและไม่สำนึกบุญคุณอเมริกาอย่างเพียงพอ ทั้งที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเป็นจำนวนมหาศาลนับจากเคียฟถูกรัสเซียรุกรานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
    .
    ในวันจันทร์ (3) สื่อต่างๆ พากันรายงานข่าวโดยอ้างเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผย ว่า ทรัมป์เวลานี้โฟกัสอยู่ที่การทำให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และต้องการให้เซเลนสกีมุ่งมั่นกับเป้าหมายเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้อเมริกาได้ระงับเพื่อดำเนินการทบทวนความช่วยเหลือที่ให้แก่ยูเครนแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์ของทรัมป์ดังกล่าวข้างต้นจะบรรลุผล โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้จนกว่าทรัมป์จะตัดสินใจว่า ยูเครนแสดงความมุ่งมั่นในการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    ความเคลื่อนไหวคราวนี้มีความร้ายแรงยิ่งกว่าที่ทรัมป์ประกาศตอนกลับเข้าสู่ทำเนียบขาวเสียอีก โดยในตอนนั้นเป็นการระบุว่าสหรัฐฯ จะไม่ให้ความช่วยเหลือใหม่ๆ แก่ยูเครน แต่สำหรับคำสั่งล่าสุดนี้เป็นการระงับการจัดส่งอาวุธที่รวมถึงกระสุนและขีปนาวุธ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน แล้ว แต่ยังอยู่ในกระบวนการจัดหาและจัดส่ง
    .
    ทางด้านสมาชิกพรรคเดโมแครตในรัฐสภาสหรัฐฯ ออกมาแสดงปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วด้วยการประณามการตัดสินใจครั้งนี้ของทรัมป์ เป็นต้นว่า ส.ว. จีน ชาฮีน ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภา ตำหนิว่า การระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนเท่ากับว่า ทรัมป์เปิดกว้างให้ปูตินรุกรานและกระทำรุนแรงต่อประชาชนยูเครนหนักข้อขึ้นซึ่งจะส่งผลร้ายแรงอย่างไม่ต้องสงสัย
    .
    ทรัมป์ที่ประกาศระหว่างหาเสียงว่า จะทำให้สงครามในยูเครนยุติลงตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งนั้น แสดงความไม่พอใจเซเลนสกีมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่ยังคงต้องทำสงครามต่อไป ขณะเดียวกันเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียจะรักษาสันติภาพ หากบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายยูเครน
    .
    หลังจากที่สื่อรายงานว่า เซเลนสกีที่ให้สัมภาษณ์พวกผู้สื่อข่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ (2) ว่า น่าจะอีกนานมากกว่าที่สงครามจะยุติ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเจรจาข้อตกลง ทรัมป์ก็อยู่ในอาการฟิวส์ขาด ระบุว่า เป็นคำพูดที่แย่ที่สุดของประธานาธิบดียูเครน และอเมริกาจะไม่อดทนอีกต่อไป
    .
    ด้านเซเลนสกีพยายามอธิบายผ่านโซเชียลมีเดียว่า ยูเครนกำลังพยายามดำเนินมาตรการทางการทูตเพื่อให้สงครามยุติลงโดยเร็วที่สุด และย้ำว่า ยูเครนต้องการสันติภาพที่แท้จริงและการรับประกันความมั่นคง ทว่า ทรัมป์ปฏิเสธที่จะให้การรับประกันดังกล่าวมาโดยตลอด
    .
    ในส่วนของ แวนซ์ เขากล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อทีวีฟ็อกซ์ นิวส์ที่ ออกอากาศช่วงค่ำวันจันทร์ว่า พันธมิตรยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้ยูเครนสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำถามคือยูเครนจะเอาเงินและอาวุธจากไหนมาสู้ และจะต้องแลกด้วยชีวิตใครบ้าง
    .
    อย่างไรก็ดี เมื่อวันจันทร์ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า ข้อตกลงลงทุนในแร่ธาตุของยูเครนยังมีทางสามารถบรรลุผลได้ และเขาจะอัปเดตสถานการณ์ล่าสุดคืนวันอังคาร (4 มี.ค.) ระหว่างแถลงต่อการประชุมร่วมของรัฐสภาสหรัฐฯ
    .
    เกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ คณะบริหารทรัมป์ มองว่า มันคือค่าชดเชยที่อเมริกาควรได้รับจากการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและการทหารแก่เคียฟหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
    .
    ขณะที่แวนซ์กล่าวผ่านฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ถ้าเซเลนสกีต้องการการรับประกันความมั่นคง และอยากมั่นใจว่า ปูตินจะไม่รุกรานยูเครนอีก การเปิดทางให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วมในอนาคตของยูเครนคือการรับประกันที่ดีที่สุด
    .
    ยูเครนโวยังมีหนทางประคองสถานการณ์ที่แนวหน้า
    .
    ในวันอังคาร (4) ภายหลังรายงานข่าวเรื่องสหรัฐฯ ระงับการส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนแพร่ออกไป นายกรัฐมนตรี เดนิส ชมีฮัล ของยูเครน ออกมาแถลงว่า เคียฟยังคงมีหนทางที่จะส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทหารของตนเอง “กองทัพของเราและรัฐบาลมีสมรรถนะ มีเครื่องมือ พูดได้ว่าอย่างนั้น ที่จะประคองสถานการณ์ในแนวหน้าเอาไว้” เขากล่าว
    .
    ชมีฮัล ยังกล่าวขอบคุณสหรัฐฯ และย้ำว่ายูเครนต้องการความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
    .
    “เราจะยังคงทำงานกับสหรัฐฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงด้วยความสงบสุขุม” เขากล่าวในการแถลงข่าว “เรามีแผนการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือเพื่อชัยชนะและเพื่อความอยู่รอด เราจะชนะหรือไม่ยังงัยก็จะต้องเจอกับแผนบี ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาโดยคนอื่นๆ”
    .
    สำหรับตัวเซเลนสกีเองนั้น เก็บตัวค่อนข้างเงียบเชียบ จนกระทั่งถึงบ่ายวันอังคารในกรุงเคียฟ สิ่งที่เขาแถลงต่อสาธารณชนก็มีเพียงว่าเขาได้พูดจากับ ฟรีดริช เมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี พร้อมกับเน้นย้ำถึงความช่วยเหลือทั้งทางทหารและทางการเงินที่ได้รับจากเยอรมนี
    .
    “เราจักจดจำไว้ว่าเยอรมนีคือผู้นำในเรื่องการจัดหาจัดส่งระบบการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่ยูเครน และแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งยวดในการรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของเรา” เขาโพสต์ข้อความเช่นนี้บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ภายหลังคุยโทรศัพท์กับเมร์ซ
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง พวกผู้เชี่ยวชาญทางทหารของฝ่ายตะวันตกบอกว่า อาจจะกินเวลาไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่ผลกระทบจากการถูกตัดขาดความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จะเป็นที่รู้สึกกัน ทั้งนี้เมื่อตอนที่งบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ถูกแขวนเอาไว้เป็นเวลาหลายเดือนทีเดียวในปีที่แล้ว โดยฝีมือของพวกสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาล่าง ผลกระทบเบื้องต้นที่รู้สึกกันมากที่สุดคือการขาดแคลนอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่จะสามารถสอยขีปนาวุธและโดรนของฝ่ายรัสเซีย ถึงแม้ในเวลาต่อมาทางกองทหารยูเครนร้องเรียนว่าพวกเครื่องกระสุนต่างๆ ในแนวน้าร่อยหรอลงไปมาก
    .
    “มันมีความสำคัญมากทีเดียว ทว่าไม่ได้ใกล้เคียงกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถ้าหากมันเป็นช่วงก่อนหน้านี้ของสงคราม เพราะยูเครนเวลานี้ต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ โดยตรง ลดน้อยลงไปมากแล้ว” เป็นความเห็นของไมเคิล คอฟแมน นักวิจัยอาวุโสของคาร์เนกี เอนดาวเมนต์
    .
    ผลกระทบต่อพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ
    .
    การที่สหรัฐฯ ระงับจัดส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนคราวนี้ เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพวกชาติพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ โดยที่ชาติเหล่านี้เองได้แสดงท่าทีออกมาปลอบขวัญโอบอุ้มเซเลนสกีอย่างเปิดเผยภายหลังจากเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว
    .
    มีรายงานว่าเวลานี้ยุโรปกำลังเร่งรีบเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารของพวกเขาเอง และในวันอังคาร (4) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป ได้เปิดเผยข้อเสนอต่างๆ ที่มุ่งเพิ่มพูนการใช้จ่ายทางทหารในอียู ซึ่งเธอกล่าวว่าอาจจะระดมเงินในเรื่องนี้ออกมาได้สูงถึง 800,000 ล้านยูโร (840,000 ล้านดอลลาร์) กันทีเดียว ทั้งนี้อียูมีกำหนดจัดการประชุมฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนในวันพฤหัสบดี (6) นี้
    .
    ในฝรั่งเศส เบนจามิน ฮัดดัด รัฐมนตรีช่วยดูแลด้านยุโรป ได้ออกมากล่าวประณามการระงับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ คราวนี้ โดยกล่าวว่ามันทำให้สันติภาพ “ห่างไกลออกไปมากขึ้น เพราะมันมีแต่ทำให้เงื้อมมือของผู้รุกราน ... ซึ่งก็คือรัสเซีย เข้มแข็งยิ่งขึ้น”
    .
    ขณะที่สหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงทีท่าต้องการดึงให้คณะบริหารทรัมป์ยังคงอยู่ข้างๆ ตัว ไม่แตกแถวออกไปไกลกว่านี้ แสดงท่าทีสุขุมรอบคอบยิ่งกว่า โดยที่นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ ได้พูดจาทางโทรศัพท์กับทรัมป์ในคืนวันจันทร์ (3) ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่งของสตาร์เมอร์ แต่ไม่ได้ระบุว่าทรมป์ได้เอ่ยถึงเรื่องการระงับความช่วยเหลือนี้หรือไม่
    .
    “ท่านนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังโฟกัสอยู่ที่ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นั่นคือการทำให้เกิดสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนขึ้นมาในยูเครน” โฆษกผู้นี้บอก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021233
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์สั่ง “ระงับ” ความช่วยเหลือยูเครนเพื่อบีบเซเลนสกีร่วมเจรจายุติสงครามกับรัสเซีย ลั่นไม่อดทนกับผู้นำเคียฟอีกต่อไป ด้านรองประธานาธิบดีแวนซ์ก็สำทับวิพากษ์วิจารณ์ยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้เคียฟสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ทางยูเครนแถลงวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า กองทหารของตนซึ่งกำลังสู้รบกับฝ่ายรัสเซียอยู่ ยังสามารถรักษาสถานการณ์ในสมรภูมิเอาไว้ได้ด้วยตัวเอง . ความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีขึ้นหลังการประชุมที่กลายเป็นการปะทะคารมอย่างดุเดือด ในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ รุมทึ้งโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ไม่ยินยอมเข้าเจรจาสร้างสันติภาพกับรัสเซียโดยรวดเร็ว รวมทั้งกล่าวหาประธานาธิบดียูเครน ไม่เคารพและไม่สำนึกบุญคุณอเมริกาอย่างเพียงพอ ทั้งที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเป็นจำนวนมหาศาลนับจากเคียฟถูกรัสเซียรุกรานเมื่อ 3 ปีที่แล้ว . ในวันจันทร์ (3) สื่อต่างๆ พากันรายงานข่าวโดยอ้างเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผย ว่า ทรัมป์เวลานี้โฟกัสอยู่ที่การทำให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย และต้องการให้เซเลนสกีมุ่งมั่นกับเป้าหมายเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยังระบุด้วยว่า ขณะนี้อเมริกาได้ระงับเพื่อดำเนินการทบทวนความช่วยเหลือที่ให้แก่ยูเครนแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์ของทรัมป์ดังกล่าวข้างต้นจะบรรลุผล โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้จนกว่าทรัมป์จะตัดสินใจว่า ยูเครนแสดงความมุ่งมั่นในการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย . ความเคลื่อนไหวคราวนี้มีความร้ายแรงยิ่งกว่าที่ทรัมป์ประกาศตอนกลับเข้าสู่ทำเนียบขาวเสียอีก โดยในตอนนั้นเป็นการระบุว่าสหรัฐฯ จะไม่ให้ความช่วยเหลือใหม่ๆ แก่ยูเครน แต่สำหรับคำสั่งล่าสุดนี้เป็นการระงับการจัดส่งอาวุธที่รวมถึงกระสุนและขีปนาวุธ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน แล้ว แต่ยังอยู่ในกระบวนการจัดหาและจัดส่ง . ทางด้านสมาชิกพรรคเดโมแครตในรัฐสภาสหรัฐฯ ออกมาแสดงปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วด้วยการประณามการตัดสินใจครั้งนี้ของทรัมป์ เป็นต้นว่า ส.ว. จีน ชาฮีน ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภา ตำหนิว่า การระงับความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนเท่ากับว่า ทรัมป์เปิดกว้างให้ปูตินรุกรานและกระทำรุนแรงต่อประชาชนยูเครนหนักข้อขึ้นซึ่งจะส่งผลร้ายแรงอย่างไม่ต้องสงสัย . ทรัมป์ที่ประกาศระหว่างหาเสียงว่า จะทำให้สงครามในยูเครนยุติลงตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งนั้น แสดงความไม่พอใจเซเลนสกีมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่ยังคงต้องทำสงครามต่อไป ขณะเดียวกันเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียจะรักษาสันติภาพ หากบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายยูเครน . หลังจากที่สื่อรายงานว่า เซเลนสกีที่ให้สัมภาษณ์พวกผู้สื่อข่าวเมื่อคืนวันอาทิตย์ (2) ว่า น่าจะอีกนานมากกว่าที่สงครามจะยุติ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเจรจาข้อตกลง ทรัมป์ก็อยู่ในอาการฟิวส์ขาด ระบุว่า เป็นคำพูดที่แย่ที่สุดของประธานาธิบดียูเครน และอเมริกาจะไม่อดทนอีกต่อไป . ด้านเซเลนสกีพยายามอธิบายผ่านโซเชียลมีเดียว่า ยูเครนกำลังพยายามดำเนินมาตรการทางการทูตเพื่อให้สงครามยุติลงโดยเร็วที่สุด และย้ำว่า ยูเครนต้องการสันติภาพที่แท้จริงและการรับประกันความมั่นคง ทว่า ทรัมป์ปฏิเสธที่จะให้การรับประกันดังกล่าวมาโดยตลอด . ในส่วนของ แวนซ์ เขากล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อทีวีฟ็อกซ์ นิวส์ที่ ออกอากาศช่วงค่ำวันจันทร์ว่า พันธมิตรยุโรปกำลังทำให้ยูเครนตกอยู่ในอันตรายด้วยการไม่กดดันให้เซเลนสกีหาทางยุติสงคราม แต่กลับสนับสนุนให้ยูเครนสู้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำถามคือยูเครนจะเอาเงินและอาวุธจากไหนมาสู้ และจะต้องแลกด้วยชีวิตใครบ้าง . อย่างไรก็ดี เมื่อวันจันทร์ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า ข้อตกลงลงทุนในแร่ธาตุของยูเครนยังมีทางสามารถบรรลุผลได้ และเขาจะอัปเดตสถานการณ์ล่าสุดคืนวันอังคาร (4 มี.ค.) ระหว่างแถลงต่อการประชุมร่วมของรัฐสภาสหรัฐฯ . เกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ คณะบริหารทรัมป์ มองว่า มันคือค่าชดเชยที่อเมริกาควรได้รับจากการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและการทหารแก่เคียฟหลายแสนล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา . ขณะที่แวนซ์กล่าวผ่านฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ถ้าเซเลนสกีต้องการการรับประกันความมั่นคง และอยากมั่นใจว่า ปูตินจะไม่รุกรานยูเครนอีก การเปิดทางให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วมในอนาคตของยูเครนคือการรับประกันที่ดีที่สุด . ยูเครนโวยังมีหนทางประคองสถานการณ์ที่แนวหน้า . ในวันอังคาร (4) ภายหลังรายงานข่าวเรื่องสหรัฐฯ ระงับการส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนแพร่ออกไป นายกรัฐมนตรี เดนิส ชมีฮัล ของยูเครน ออกมาแถลงว่า เคียฟยังคงมีหนทางที่จะส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทหารของตนเอง “กองทัพของเราและรัฐบาลมีสมรรถนะ มีเครื่องมือ พูดได้ว่าอย่างนั้น ที่จะประคองสถานการณ์ในแนวหน้าเอาไว้” เขากล่าว . ชมีฮัล ยังกล่าวขอบคุณสหรัฐฯ และย้ำว่ายูเครนต้องการความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย . “เราจะยังคงทำงานกับสหรัฐฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงด้วยความสงบสุขุม” เขากล่าวในการแถลงข่าว “เรามีแผนการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือเพื่อชัยชนะและเพื่อความอยู่รอด เราจะชนะหรือไม่ยังงัยก็จะต้องเจอกับแผนบี ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาโดยคนอื่นๆ” . สำหรับตัวเซเลนสกีเองนั้น เก็บตัวค่อนข้างเงียบเชียบ จนกระทั่งถึงบ่ายวันอังคารในกรุงเคียฟ สิ่งที่เขาแถลงต่อสาธารณชนก็มีเพียงว่าเขาได้พูดจากับ ฟรีดริช เมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี พร้อมกับเน้นย้ำถึงความช่วยเหลือทั้งทางทหารและทางการเงินที่ได้รับจากเยอรมนี . “เราจักจดจำไว้ว่าเยอรมนีคือผู้นำในเรื่องการจัดหาจัดส่งระบบการป้องกันภัยทางอากาศให้แก่ยูเครน และแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งยวดในการรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของเรา” เขาโพสต์ข้อความเช่นนี้บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ภายหลังคุยโทรศัพท์กับเมร์ซ . ในอีกด้านหนึ่ง พวกผู้เชี่ยวชาญทางทหารของฝ่ายตะวันตกบอกว่า อาจจะกินเวลาไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่ผลกระทบจากการถูกตัดขาดความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ จะเป็นที่รู้สึกกัน ทั้งนี้เมื่อตอนที่งบประมาณความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ถูกแขวนเอาไว้เป็นเวลาหลายเดือนทีเดียวในปีที่แล้ว โดยฝีมือของพวกสมาชิกพรรครีพับลิกันในสภาล่าง ผลกระทบเบื้องต้นที่รู้สึกกันมากที่สุดคือการขาดแคลนอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่จะสามารถสอยขีปนาวุธและโดรนของฝ่ายรัสเซีย ถึงแม้ในเวลาต่อมาทางกองทหารยูเครนร้องเรียนว่าพวกเครื่องกระสุนต่างๆ ในแนวน้าร่อยหรอลงไปมาก . “มันมีความสำคัญมากทีเดียว ทว่าไม่ได้ใกล้เคียงกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถ้าหากมันเป็นช่วงก่อนหน้านี้ของสงคราม เพราะยูเครนเวลานี้ต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ โดยตรง ลดน้อยลงไปมากแล้ว” เป็นความเห็นของไมเคิล คอฟแมน นักวิจัยอาวุโสของคาร์เนกี เอนดาวเมนต์ . ผลกระทบต่อพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ . การที่สหรัฐฯ ระงับจัดส่งความช่วยเหลือให้ยูเครนคราวนี้ เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อพวกชาติพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ โดยที่ชาติเหล่านี้เองได้แสดงท่าทีออกมาปลอบขวัญโอบอุ้มเซเลนสกีอย่างเปิดเผยภายหลังจากเหตุการณ์ปะทะคารมเดือดที่ทำเนียบขาว . มีรายงานว่าเวลานี้ยุโรปกำลังเร่งรีบเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารของพวกเขาเอง และในวันอังคาร (4) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป ได้เปิดเผยข้อเสนอต่างๆ ที่มุ่งเพิ่มพูนการใช้จ่ายทางทหารในอียู ซึ่งเธอกล่าวว่าอาจจะระดมเงินในเรื่องนี้ออกมาได้สูงถึง 800,000 ล้านยูโร (840,000 ล้านดอลลาร์) กันทีเดียว ทั้งนี้อียูมีกำหนดจัดการประชุมฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับยูเครนในวันพฤหัสบดี (6) นี้ . ในฝรั่งเศส เบนจามิน ฮัดดัด รัฐมนตรีช่วยดูแลด้านยุโรป ได้ออกมากล่าวประณามการระงับความช่วยเหลือของสหรัฐฯ คราวนี้ โดยกล่าวว่ามันทำให้สันติภาพ “ห่างไกลออกไปมากขึ้น เพราะมันมีแต่ทำให้เงื้อมมือของผู้รุกราน ... ซึ่งก็คือรัสเซีย เข้มแข็งยิ่งขึ้น” . ขณะที่สหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงทีท่าต้องการดึงให้คณะบริหารทรัมป์ยังคงอยู่ข้างๆ ตัว ไม่แตกแถวออกไปไกลกว่านี้ แสดงท่าทีสุขุมรอบคอบยิ่งกว่า โดยที่นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ ได้พูดจาทางโทรศัพท์กับทรัมป์ในคืนวันจันทร์ (3) ตามการแถลงของโฆษกผู้หนึ่งของสตาร์เมอร์ แต่ไม่ได้ระบุว่าทรมป์ได้เอ่ยถึงเรื่องการระงับความช่วยเหลือนี้หรือไม่ . “ท่านนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีทรัมป์ กำลังโฟกัสอยู่ที่ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นั่นคือการทำให้เกิดสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนขึ้นมาในยูเครน” โฆษกผู้นี้บอก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021233 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2519 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ง้อ!?!"
    รัฐสภายูเครน (Verkhovna Rada) เผยแพร่ข้อความบนเว็บไซต์เวอร์ชันภาษาอังกฤษเพื่อส่งถึงอเมริกา ในการแสดงความยินดีกับการเจรจาสันติภาพที่เริ่มต้นโดยทรัมป์:

    "ประชาชนยูเครนต้องการสันติภาพมากกว่าใครในโลก และเชื่อว่าบทบาทส่วนตัวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และความพยายามรักษาสันติภาพของเขาจะเป็นส่งที่กำหนดการสิ้นสุดของการสู้รบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และบรรลุสันติภาพสำหรับยูเครน ยุโรป และโลก

    รัฐสภายูเครนยินดีกับความคิดริเริ่มของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเริ่มกระบวนการเจรจาที่มุ่งหวังให้เกิดสันติภาพ

    รัฐสภายูเครน ขอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสำรวจแร่ธาตุที่จำเป็น”
    "ง้อ!?!" รัฐสภายูเครน (Verkhovna Rada) เผยแพร่ข้อความบนเว็บไซต์เวอร์ชันภาษาอังกฤษเพื่อส่งถึงอเมริกา ในการแสดงความยินดีกับการเจรจาสันติภาพที่เริ่มต้นโดยทรัมป์: "ประชาชนยูเครนต้องการสันติภาพมากกว่าใครในโลก และเชื่อว่าบทบาทส่วนตัวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และความพยายามรักษาสันติภาพของเขาจะเป็นส่งที่กำหนดการสิ้นสุดของการสู้รบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และบรรลุสันติภาพสำหรับยูเครน ยุโรป และโลก รัฐสภายูเครนยินดีกับความคิดริเริ่มของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเริ่มกระบวนการเจรจาที่มุ่งหวังให้เกิดสันติภาพ รัฐสภายูเครน ขอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสำรวจแร่ธาตุที่จำเป็น”
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 373 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป
    .
    "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ
    .
    ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่
    .
    การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน
    .
    กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์
    .
    "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ
    .
    "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง
    .
    ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ
    .
    ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ
    .
    ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.)
    .
    ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ
    .
    สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้
    .
    บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
    .
    ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม
    .
    ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860
    ..............
    Sondhi X
    ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป . "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ . ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่ . การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน . กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์ . "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ . "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง . ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ . ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ . ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.) . ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ . สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้ . บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ . ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม . ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1513 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิกโตร์ โอร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ส่งจดหมายถึงคณะมนตรีสหภาพยุโรป เรียกร้องให้สหภาพยุโรปเปิดการเจรจาสันติภาพโดยตรงกับรัสเซีย
    วิกโตร์ โอร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ส่งจดหมายถึงคณะมนตรีสหภาพยุโรป เรียกร้องให้สหภาพยุโรปเปิดการเจรจาสันติภาพโดยตรงกับรัสเซีย
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว เน้นย้ำว่าสหรัฐฯ จะไม่มอบความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีกต่อไป สืบเนื่องพวกเขาให้ความสำคัญสูงสุดกับการเจรจาสันติภาพ ขณะที่การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นตามหลังการเปิดศึกวิวาทะกันระหว่างประธานาธิบโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กับ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ผู้มาเยือน

    "เราจะไม่เขียนเช็คเปล่าสำหรับสงครามให้กับประเทศหนึ่งที่อยู่ห่างไกลมากๆ อีกต่อไป หากปราศจากสันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืน" เลวิตต์กล่าว "มันเป็นเรื่องเยี่ยมที่กล้องกำลังบันทึกภาพ เพราะว่าประชาชนชาวอเมริกาและทั่วโลกจะได้เห็นในสิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์และคณะทำงาน กำลังต่อรองกันอย่างลับๆ ในการเจรจากับฝ่ายยูเครน" เธอกล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000020229

    #MGROnline #ต่างประเทศ #ข่าวต่างประเทศ #สหรัฐอเมริกา #ยูเครน
    คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว เน้นย้ำว่าสหรัฐฯ จะไม่มอบความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีกต่อไป สืบเนื่องพวกเขาให้ความสำคัญสูงสุดกับการเจรจาสันติภาพ ขณะที่การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นตามหลังการเปิดศึกวิวาทะกันระหว่างประธานาธิบโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กับ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ผู้มาเยือน • "เราจะไม่เขียนเช็คเปล่าสำหรับสงครามให้กับประเทศหนึ่งที่อยู่ห่างไกลมากๆ อีกต่อไป หากปราศจากสันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืน" เลวิตต์กล่าว "มันเป็นเรื่องเยี่ยมที่กล้องกำลังบันทึกภาพ เพราะว่าประชาชนชาวอเมริกาและทั่วโลกจะได้เห็นในสิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์และคณะทำงาน กำลังต่อรองกันอย่างลับๆ ในการเจรจากับฝ่ายยูเครน" เธอกล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000020229 • #MGROnline #ต่างประเทศ #ข่าวต่างประเทศ #สหรัฐอเมริกา #ยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 0 รีวิว
  • CNN รายงานผลสำรวจล่าสุดของชาวอเมริกัน:

    ชาวอเมริกัน 78% เป็น "สลิ่ม!!" เพราะสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ในขณะที่ 16% ไม่เห็นด้วย

    ขณะเดียวกัน ผู้ที่เชื่อว่าสหรัฐฯ สนับสนุนยูเครนมากเกินไปก็เพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2022 เป็น 41% ใน 3 ปีต่อมา
    CNN รายงานผลสำรวจล่าสุดของชาวอเมริกัน: ชาวอเมริกัน 78% เป็น "สลิ่ม!!" เพราะสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ในขณะที่ 16% ไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกัน ผู้ที่เชื่อว่าสหรัฐฯ สนับสนุนยูเครนมากเกินไปก็เพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2022 เป็น 41% ใน 3 ปีต่อมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 310 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำเนียบขาวประกาศว่าจะไม่มีการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนอีกต่อไป

    แคโรไลน์ ลีวิตต์ ทำหน้าที่โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า สหรัฐจะไม่ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีกต่อไป เนื่องจากสหรัฐให้ความสำคัญกับการเจรจาสันติภาพเป็นอันดับแรก การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดข้อโต้แย้งระหว่างการเยือนของเซเลนสกี

    “เราจะไม่เขียนเช็คเปล่าสำหรับสงครามในประเทศที่อยู่ห่างไกลซึ่งไม่มีแววว่าจะเกิดสันติภาพอย่างแท้จริงและยั่งยืนอีกต่อไป” ลีวิตต์กล่าว

    “เป็นเรื่องดีที่กล้องได้ถ่ายทอดทุกอย่างออกมาให้ชาวอเมริกันและทั่วโลกได้เห็นสิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์และทีมงานของเขากำลังจัดการอยู่เบื้องหลังในการเจรจากับยูเครน” เธอกล่าวเสริม

    ก่อนหน้านี้ วอชิงตันโพสต์รายงานว่า รัฐบาลทรัมป์จะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะระงับการส่งความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดไปยังยูเครน ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
    ทำเนียบขาวประกาศว่าจะไม่มีการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนอีกต่อไป แคโรไลน์ ลีวิตต์ ทำหน้าที่โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า สหรัฐจะไม่ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีกต่อไป เนื่องจากสหรัฐให้ความสำคัญกับการเจรจาสันติภาพเป็นอันดับแรก การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดข้อโต้แย้งระหว่างการเยือนของเซเลนสกี “เราจะไม่เขียนเช็คเปล่าสำหรับสงครามในประเทศที่อยู่ห่างไกลซึ่งไม่มีแววว่าจะเกิดสันติภาพอย่างแท้จริงและยั่งยืนอีกต่อไป” ลีวิตต์กล่าว “เป็นเรื่องดีที่กล้องได้ถ่ายทอดทุกอย่างออกมาให้ชาวอเมริกันและทั่วโลกได้เห็นสิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์และทีมงานของเขากำลังจัดการอยู่เบื้องหลังในการเจรจากับยูเครน” เธอกล่าวเสริม ก่อนหน้านี้ วอชิงตันโพสต์รายงานว่า รัฐบาลทรัมป์จะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะระงับการส่งความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดไปยังยูเครน ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 370 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงเวลาสำคัญมาถึงแล้ว!
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนรอต้อนรับเซเลนสกี ขณะมาถึงทำเนียบขาวเพื่อเจรจาข้อตกลงแร่ธาตุระหว่างสหรัฐฯ-ยูเครน และเริ่มการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย

    "เขาแต่งตัวจัดเต็มมากในวันนี้!"
    ทรัมป์แซวเซเลนสกีเล็กน้อยขณะเจอหน้ากัน
    ช่วงเวลาสำคัญมาถึงแล้ว! ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนรอต้อนรับเซเลนสกี ขณะมาถึงทำเนียบขาวเพื่อเจรจาข้อตกลงแร่ธาตุระหว่างสหรัฐฯ-ยูเครน และเริ่มการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย "เขาแต่งตัวจัดเต็มมากในวันนี้!" ทรัมป์แซวเซเลนสกีเล็กน้อยขณะเจอหน้ากัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 374 มุมมอง 11 0 รีวิว
  • ทรัมป์หวังสงครามในยูเครนใกล้จบลงเร็วๆ นี้ พร้อมคาดว่า เซเลนสกี้อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับเหมืองแร่สำคัญในยูเครน ขณะที่มาครงตั้งข้อสังเกตระหว่างเยือนทำเนียบขาวว่า ข้อตกลงยุติสงครามไม่ควรหมายถึงการยอมแพ้สำหรับยูเครน
    .
    การพบกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา และประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น เกิดขึ้นขณะที่ความสัมพันธ์สองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไร้ความแน่นอนอย่างยิ่งจากการที่ทรัมป์เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของอเมริกาครั้งใหญ่ และตัดยุโรปออกจากการเจรจายุติสงครามในยูเครน
    .
    แม้การพบกันระหว่างทรัมป์กับมาครงที่ทำเนียบขาวเป็นไปด้วยดี แต่อเมริกากับฝรั่งเศสกลับขัดแย้งกันเกี่ยวกับญัตติในสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้รุกรานในสงครามยูเครน
    .
    ระหว่างการหารือภาพรวมเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ทรัมป์แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย จะยอมให้ยุโรปมีส่วนร่วมในกองกำลังสันติภาพในยูเครน เขายังหวังว่า สงครามจะจบลงภายในไม่กี่สัปดาห์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครน อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อเซ็นข้อตกลงเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การแพทย์ และเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    ทรัมป์กำลังผลักดันข้อตกลงทางเศรษฐกิจเพื่อให้ยูเครนชดใช้เงินบางส่วนที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นสงครามรวม 180,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เคียฟต้องการให้ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการรับประกันความมั่นคงในอนาคต ทว่า ทรัมป์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นจะรวมข้อเรียกร้องดังกล่าวหรือไม่
    .
    ทางด้านมาครงยอมรับระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับทรัมป์ว่า ประเทศยุโรปต้องยกระดับการปกป้องภูมิภาค แต่เตือนว่า ข้อตกลงสันติภาพต้องไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน แต่ต้องเคารพอธิปไตย รวมทั้งต้องมีการรับประกันความมั่นคงของยูเครน
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสตัดขาดการสื่อสารโดยตรงกับปูตินนับจากรัสเซียโจมตีเมืองบูชาอย่างโหดร้ายในช่วงต้นสงคราม กระนั้น เขายอมรับว่า ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา ซึ่งหมายถึงบริบทใหม่จึงมีเหตุผลอันควรที่ทรัมป์จะฟื้นการติดต่อกับปูติน
    .
    ทางฝ่ายปูตินนั้นกล่าวในวันจันทร์ว่า ยังไม่ได้หารือเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งกับยูเครนอย่างละเอียดกับทรัมป์ รวมทั้งยังไม่มีการหารือในคณะเจรจารัสเซีย-อเมริกาที่ซาอุดีอาระเบียสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำรัสเซียยังเสริมว่า รัสเซียไม่ได้ตัดชาติยุโรปออกจากการเจรจาสันติภาพ
    .
    การหารือที่ทำเนียบขาวครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังกังวลหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งสมัยที่สอง ทรัมป์ต้องการครอบครองกรีนแลนด์ แคนาดา กาซา และคลองปานามา นอกจากนั้นประธานาธิบดีที่ชูนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ผู้นี้ยังครอบงำจุดยืนของอเมริกาที่เคยเป็นมิตรท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีเสถียรภาพและต่อเนื่อง
    .
    เอียน เคลลี อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำจอร์เจียในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และทรัมป์สมัยแรก ชี้ว่า นโยบายต่อต้านผู้รุกรานของอเมริกาที่ดำเนินมา 80 ปีถูกทำลายย่อยยับโดยปราศจากการหารือหรือไตร่ตรองใดๆ
    .
    นอกจากมาครงแล้ว ทรัมป์ยังมีกำหนดต้อนรับนายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษในวันพฤหัสบดี (27 ก.พ.) ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์ทำผู้นำยุโรปช็อกไปตามๆ กันด้วยการวิจารณ์เซเลนสกี้ว่า ล้มเหลวในการเจรจายุติสงคราม ซ้ำยังไม่ยอมเซ็นข้อตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญของยูเครน
    .
    แรกทีเดียวนั้นเซเลนสกี้โวยว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ครอบคลุมการรับประกันความมั่นคง แต่ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) เขาโพสต์บนเอ็กซ์ว่า มีความคืบหน้าอย่างมาก แต่ยูเครนยังต้องการข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรับประกันความปลอดภัยสำหรับประเทศอย่างแท้จริง
    .
    ก่อนหน้านี้เซเลนสกี้ทำให้ทรัมป์หัวเสียมากจากการโจมตีผู้นำสหรัฐฯ ว่า ติดอยู่กับข้อมูลผิดๆ ของรัสเซีย และประมุขทำเนียบขาวตอกกลับโดยเรียกเซเลนสกี้ว่า “ผู้นำเผด็จการ” รวมทั้งกล่าวหาเคียฟเป็นผู้เริ่มสงคราม ทั้งที่ความจริงรัสเซียเป็นฝ่ายเปิดฉากรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022
    .
    นอกจากนั้นเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามเมื่อวันจันทร์ว่า คิดว่าปูตินเป็นผู้นำเผด็จการด้วยหรือไม่นั้น ทรัมป์ตอบว่า ตนไม่ใช้คำนั้นพล่อยๆ
    .
    อเมริกายังงัดข้อกับพันธมิตรยุโรปในการประชุมยูเอ็น ด้วยการปฏิเสธที่จะกล่าวหาว่า รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งอเมริกางดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอของตนเอง หลังจากยุโรปที่นำโดยฝรั่งเศส สามารถผลักดันให้มีการระบุชัดเจนว่า รัสเซียเป็นผู้รุกราน
    .
    ก่อนพบกับทรัมป์ มาครงบอกว่า เขาตั้งใจแจ้งกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ไม่ควรยอมอ่อนข้อให้ปูติน ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนอเมริกันและยุโรป
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้รัสเซียกลับเข้าร่วมจี7 หลังจากถูกระงับสมาชิกภาพในจี8 นับจากเข้าผนวกแคว้นไครเมียของยูเครนในปี 2014
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018788
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์หวังสงครามในยูเครนใกล้จบลงเร็วๆ นี้ พร้อมคาดว่า เซเลนสกี้อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับเหมืองแร่สำคัญในยูเครน ขณะที่มาครงตั้งข้อสังเกตระหว่างเยือนทำเนียบขาวว่า ข้อตกลงยุติสงครามไม่ควรหมายถึงการยอมแพ้สำหรับยูเครน . การพบกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา และประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น เกิดขึ้นขณะที่ความสัมพันธ์สองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไร้ความแน่นอนอย่างยิ่งจากการที่ทรัมป์เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของอเมริกาครั้งใหญ่ และตัดยุโรปออกจากการเจรจายุติสงครามในยูเครน . แม้การพบกันระหว่างทรัมป์กับมาครงที่ทำเนียบขาวเป็นไปด้วยดี แต่อเมริกากับฝรั่งเศสกลับขัดแย้งกันเกี่ยวกับญัตติในสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้รุกรานในสงครามยูเครน . ระหว่างการหารือภาพรวมเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ทรัมป์แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย จะยอมให้ยุโรปมีส่วนร่วมในกองกำลังสันติภาพในยูเครน เขายังหวังว่า สงครามจะจบลงภายในไม่กี่สัปดาห์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครน อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อเซ็นข้อตกลงเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การแพทย์ และเทคโนโลยีของอเมริกา . ทรัมป์กำลังผลักดันข้อตกลงทางเศรษฐกิจเพื่อให้ยูเครนชดใช้เงินบางส่วนที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นสงครามรวม 180,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เคียฟต้องการให้ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการรับประกันความมั่นคงในอนาคต ทว่า ทรัมป์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นจะรวมข้อเรียกร้องดังกล่าวหรือไม่ . ทางด้านมาครงยอมรับระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับทรัมป์ว่า ประเทศยุโรปต้องยกระดับการปกป้องภูมิภาค แต่เตือนว่า ข้อตกลงสันติภาพต้องไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน แต่ต้องเคารพอธิปไตย รวมทั้งต้องมีการรับประกันความมั่นคงของยูเครน . ผู้นำฝรั่งเศสตัดขาดการสื่อสารโดยตรงกับปูตินนับจากรัสเซียโจมตีเมืองบูชาอย่างโหดร้ายในช่วงต้นสงคราม กระนั้น เขายอมรับว่า ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา ซึ่งหมายถึงบริบทใหม่จึงมีเหตุผลอันควรที่ทรัมป์จะฟื้นการติดต่อกับปูติน . ทางฝ่ายปูตินนั้นกล่าวในวันจันทร์ว่า ยังไม่ได้หารือเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งกับยูเครนอย่างละเอียดกับทรัมป์ รวมทั้งยังไม่มีการหารือในคณะเจรจารัสเซีย-อเมริกาที่ซาอุดีอาระเบียสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำรัสเซียยังเสริมว่า รัสเซียไม่ได้ตัดชาติยุโรปออกจากการเจรจาสันติภาพ . การหารือที่ทำเนียบขาวครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังกังวลหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์ . นับจากเข้ารับตำแหน่งสมัยที่สอง ทรัมป์ต้องการครอบครองกรีนแลนด์ แคนาดา กาซา และคลองปานามา นอกจากนั้นประธานาธิบดีที่ชูนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ผู้นี้ยังครอบงำจุดยืนของอเมริกาที่เคยเป็นมิตรท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีเสถียรภาพและต่อเนื่อง . เอียน เคลลี อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำจอร์เจียในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และทรัมป์สมัยแรก ชี้ว่า นโยบายต่อต้านผู้รุกรานของอเมริกาที่ดำเนินมา 80 ปีถูกทำลายย่อยยับโดยปราศจากการหารือหรือไตร่ตรองใดๆ . นอกจากมาครงแล้ว ทรัมป์ยังมีกำหนดต้อนรับนายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษในวันพฤหัสบดี (27 ก.พ.) ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์ทำผู้นำยุโรปช็อกไปตามๆ กันด้วยการวิจารณ์เซเลนสกี้ว่า ล้มเหลวในการเจรจายุติสงคราม ซ้ำยังไม่ยอมเซ็นข้อตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญของยูเครน . แรกทีเดียวนั้นเซเลนสกี้โวยว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ครอบคลุมการรับประกันความมั่นคง แต่ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) เขาโพสต์บนเอ็กซ์ว่า มีความคืบหน้าอย่างมาก แต่ยูเครนยังต้องการข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรับประกันความปลอดภัยสำหรับประเทศอย่างแท้จริง . ก่อนหน้านี้เซเลนสกี้ทำให้ทรัมป์หัวเสียมากจากการโจมตีผู้นำสหรัฐฯ ว่า ติดอยู่กับข้อมูลผิดๆ ของรัสเซีย และประมุขทำเนียบขาวตอกกลับโดยเรียกเซเลนสกี้ว่า “ผู้นำเผด็จการ” รวมทั้งกล่าวหาเคียฟเป็นผู้เริ่มสงคราม ทั้งที่ความจริงรัสเซียเป็นฝ่ายเปิดฉากรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 . นอกจากนั้นเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามเมื่อวันจันทร์ว่า คิดว่าปูตินเป็นผู้นำเผด็จการด้วยหรือไม่นั้น ทรัมป์ตอบว่า ตนไม่ใช้คำนั้นพล่อยๆ . อเมริกายังงัดข้อกับพันธมิตรยุโรปในการประชุมยูเอ็น ด้วยการปฏิเสธที่จะกล่าวหาว่า รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งอเมริกางดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอของตนเอง หลังจากยุโรปที่นำโดยฝรั่งเศส สามารถผลักดันให้มีการระบุชัดเจนว่า รัสเซียเป็นผู้รุกราน . ก่อนพบกับทรัมป์ มาครงบอกว่า เขาตั้งใจแจ้งกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ไม่ควรยอมอ่อนข้อให้ปูติน ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนอเมริกันและยุโรป . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้รัสเซียกลับเข้าร่วมจี7 หลังจากถูกระงับสมาชิกภาพในจี8 นับจากเข้าผนวกแคว้นไครเมียของยูเครนในปี 2014 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018788 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2438 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขานรับญัตติหนึ่งที่ร่างโดยสหรัฐฯ ในวาระครบรอบ 3 ปี รัสเซียรุกรานยูเครน ที่ขอให้ใช้จุดยืนเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางเป็นคนกลางสร้างสันติภาพ
    .
    ที่ผ่านมา สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน สืบเนื่องจากรัสเซียมีอำนาจวีโต้ ในขณะที่ญัตติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ นั้น ได้รับเสียงสนับสนุน 10 เสียง ส่วนฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กรีซ และสโลวีเนีย งดออกเสียง
    .
    "ญัตตินี้นำพาเราไปสู่เส้นทางแห่งสันติภาพ มันเป็นก้าวย่างแรก แต่เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เป็นหนึ่งในก้าวย่างที่เราทุกคนควรภูมิใจ" โดโรธีย์ เชีย ผู้แทนทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติบอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "ตอนนี้ เราต้องใช้มันสร้างอนาคตแห่งสันติเพื่อยูเครน รัสเซียและประชาคมนานาชาติ"
    .
    ในญัตติสั้นๆ ที่ไว้อาลัยผู้สูญเสียชีวิตในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ได้เน้นย้ำถึงเจตจำนงของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และหาทางออกในข้อพิพาทต่างๆ อย่างสันติ รวมถึงเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งอย่างรวดเร็วและแสวงหาสันติภาพอย่างยั่งยืน
    .
    ความพยายามเป็นคนกลางของทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปและยูเครน ที่วิตกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่กับรัสเซียและกีดกันพวกเขาออกจากการเจรจาสันติภาพ
    .
    บาร์บารา วู้ดวาร์ด ผู้แทนทูตสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ บอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เงื่อนไขสำหรับสันติภาพในยูเครนเป็นสิ่งสำคัญ และต้องไม่ส่งสารผิดๆ ไปถึงผู้รุกราน "นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงไม่อาจมีความเท่าเทียมได้ระหว่างรัสเซียและยูเครน ในแนวทางที่คณะมนตรีกล่าวอ้างถึงสงครามนี้ ถ้าเราจะพบเส้นทางสันติภาพที่ยั่งยืน คณะมนตรีต้องพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสงคราม"
    .
    ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาติ 193 ประเทศ ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ขอให้ลดสุ้มเสียงแข็งกร้าวขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ ที่มีจุดยืนมาช้านานในการหนุนหลังอธิปไตย เอกราช ความเป็นหนึ่งเดียวกันและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเรียกร้องสันติภาพที่ยั่งยืนและครอบคลุมตามกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นตราสารสถาปนาองค์การแห่งนี้อย่างเป็นทางการ
    .
    ขณะเดียวกัน สมัชชาแห่งสหประชาติได้ขานรับญัตติ 2 ญัตติ หนึ่งในนั้นร่างโดยยูเครนและยุโรป ส่วนอีกหนึ่งร่างโดยสหรัฐฯ ที่ผ่านการปรับแก้โดยที่ประชุมสมัชชาแล้ว ในนั้นรวมถึงภาษาที่สนับสนุนยูเครน ทั้งนี้ผลโหวตดังกล่าวถือเป็นชัยชนะทางการทูตของยูเครนและยุโรป เหนือวอชิงตัน
    .
    "สงครามนี้ไม่เคยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเฉพาะยูเครนเท่านั้น แต่มันเกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐานของประเทศไหนในการอยู่รอด ในการเลือกเส้นทางของตนเองและในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการรุกราน" มาเรียนา เบตซา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน บอกกับที่ประชุมก่อนการโหวต
    .
    ญัตติที่ร่างโดยสหรัฐฯ ฉบับผ่านการปรับแก้แล้ว ได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุม 93 เสียง งดออกเสียง 73 เสียงและมี 8 เสียงที่โหวตคัดค้าน ขณะที่รัสเซียเองก็ล้มเหลวในการปรับแก้ร่างของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงกรณีถูกพาดพิงเป็น "สาเหตุรากเหง้า" ของความขัดแย้ง
    .
    ส่วนญัตติที่ร่างโดยยูเครนและบรรดาชาติยุโรป ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนน 93 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง และโหวตคัดค้าน 18 เสียง โดยนอกเหนือจากสหรัฐฯ แล้ว บางประเทศที่โหวตโน ได้แก่รัสเซีย เกาหลีเหนือและอิสราเอล
    .
    "วันนี้ สหายอเมริกาของเรา มองตัวเองว่าเป็นเส้นทางสู่สันติภาพในยูเครน แต่มันจะไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย และมีอยู่หลายชาติที่พยายามเตะถ่วงการมาของสันติภาพให้ยืดเยื้อนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขาไม่อาจหยุดยั้งเราได้" วาสซิลีย์ เนเบนเซีย ผู้แทนทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติบอกกับที่ประชุม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018396
    ..............
    Sondhi X
    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขานรับญัตติหนึ่งที่ร่างโดยสหรัฐฯ ในวาระครบรอบ 3 ปี รัสเซียรุกรานยูเครน ที่ขอให้ใช้จุดยืนเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางเป็นคนกลางสร้างสันติภาพ . ที่ผ่านมา สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน สืบเนื่องจากรัสเซียมีอำนาจวีโต้ ในขณะที่ญัตติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ นั้น ได้รับเสียงสนับสนุน 10 เสียง ส่วนฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กรีซ และสโลวีเนีย งดออกเสียง . "ญัตตินี้นำพาเราไปสู่เส้นทางแห่งสันติภาพ มันเป็นก้าวย่างแรก แต่เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เป็นหนึ่งในก้าวย่างที่เราทุกคนควรภูมิใจ" โดโรธีย์ เชีย ผู้แทนทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติบอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "ตอนนี้ เราต้องใช้มันสร้างอนาคตแห่งสันติเพื่อยูเครน รัสเซียและประชาคมนานาชาติ" . ในญัตติสั้นๆ ที่ไว้อาลัยผู้สูญเสียชีวิตในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ได้เน้นย้ำถึงเจตจำนงของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และหาทางออกในข้อพิพาทต่างๆ อย่างสันติ รวมถึงเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งอย่างรวดเร็วและแสวงหาสันติภาพอย่างยั่งยืน . ความพยายามเป็นคนกลางของทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปและยูเครน ที่วิตกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่กับรัสเซียและกีดกันพวกเขาออกจากการเจรจาสันติภาพ . บาร์บารา วู้ดวาร์ด ผู้แทนทูตสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ บอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เงื่อนไขสำหรับสันติภาพในยูเครนเป็นสิ่งสำคัญ และต้องไม่ส่งสารผิดๆ ไปถึงผู้รุกราน "นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงไม่อาจมีความเท่าเทียมได้ระหว่างรัสเซียและยูเครน ในแนวทางที่คณะมนตรีกล่าวอ้างถึงสงครามนี้ ถ้าเราจะพบเส้นทางสันติภาพที่ยั่งยืน คณะมนตรีต้องพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสงคราม" . ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาติ 193 ประเทศ ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ขอให้ลดสุ้มเสียงแข็งกร้าวขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ ที่มีจุดยืนมาช้านานในการหนุนหลังอธิปไตย เอกราช ความเป็นหนึ่งเดียวกันและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเรียกร้องสันติภาพที่ยั่งยืนและครอบคลุมตามกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นตราสารสถาปนาองค์การแห่งนี้อย่างเป็นทางการ . ขณะเดียวกัน สมัชชาแห่งสหประชาติได้ขานรับญัตติ 2 ญัตติ หนึ่งในนั้นร่างโดยยูเครนและยุโรป ส่วนอีกหนึ่งร่างโดยสหรัฐฯ ที่ผ่านการปรับแก้โดยที่ประชุมสมัชชาแล้ว ในนั้นรวมถึงภาษาที่สนับสนุนยูเครน ทั้งนี้ผลโหวตดังกล่าวถือเป็นชัยชนะทางการทูตของยูเครนและยุโรป เหนือวอชิงตัน . "สงครามนี้ไม่เคยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเฉพาะยูเครนเท่านั้น แต่มันเกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐานของประเทศไหนในการอยู่รอด ในการเลือกเส้นทางของตนเองและในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการรุกราน" มาเรียนา เบตซา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน บอกกับที่ประชุมก่อนการโหวต . ญัตติที่ร่างโดยสหรัฐฯ ฉบับผ่านการปรับแก้แล้ว ได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุม 93 เสียง งดออกเสียง 73 เสียงและมี 8 เสียงที่โหวตคัดค้าน ขณะที่รัสเซียเองก็ล้มเหลวในการปรับแก้ร่างของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงกรณีถูกพาดพิงเป็น "สาเหตุรากเหง้า" ของความขัดแย้ง . ส่วนญัตติที่ร่างโดยยูเครนและบรรดาชาติยุโรป ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนน 93 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง และโหวตคัดค้าน 18 เสียง โดยนอกเหนือจากสหรัฐฯ แล้ว บางประเทศที่โหวตโน ได้แก่รัสเซีย เกาหลีเหนือและอิสราเอล . "วันนี้ สหายอเมริกาของเรา มองตัวเองว่าเป็นเส้นทางสู่สันติภาพในยูเครน แต่มันจะไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย และมีอยู่หลายชาติที่พยายามเตะถ่วงการมาของสันติภาพให้ยืดเยื้อนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขาไม่อาจหยุดยั้งเราได้" วาสซิลีย์ เนเบนเซีย ผู้แทนทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติบอกกับที่ประชุม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018396 .............. Sondhi X
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2478 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้

    นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น:

    - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030

    - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้ นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น: - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030 - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 412 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2610 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2489 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า
    .
    การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022
    .
    คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    .
    รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่
    .
    ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก
    .
    อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้
    .
    ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ
    .
    แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น
    .
    การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ
    .
    กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน
    .
    นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972
    ..............
    Sondhi X
    เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า . การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022 . คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว . รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่ . ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก . อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้ . ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ . แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น . การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ . กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน . นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1819 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซียด้วยโดรนพลีชีพ ก่อนการเจรจาสันติภาพระหว่างสหรัฐและรัสเซียจะมีขึ้นในซาอุดิอาระเบีย

    รายงานระบุว่ายูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซียในดินแดนครัสโนดาร์ (Krasnodar) ด้วยโดรน ซึ่งถือเป็นการจงใจยั่วยุก่อนการเจรจาสันติภาะจะมีขึ้นในวันอังคารนี้ที่ซาอุดิอาระเบีย

    ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากรัสเซีย

    สำหรับการเจรจาที่จะมีขึ้นในริยาดในวันอังคารนี้ คาดว่าฝ่ายสหรัฐ จะประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศ Mark Rubio, ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ Mike Walz และผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประจำตะวันออกกลาง Steve Witkoff สำหรับทางรัสเซีย คาดว่าจะนำโดย Sergey Lavrov รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย
    ยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซียด้วยโดรนพลีชีพ ก่อนการเจรจาสันติภาพระหว่างสหรัฐและรัสเซียจะมีขึ้นในซาอุดิอาระเบีย รายงานระบุว่ายูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซียในดินแดนครัสโนดาร์ (Krasnodar) ด้วยโดรน ซึ่งถือเป็นการจงใจยั่วยุก่อนการเจรจาสันติภาะจะมีขึ้นในวันอังคารนี้ที่ซาอุดิอาระเบีย ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากรัสเซีย สำหรับการเจรจาที่จะมีขึ้นในริยาดในวันอังคารนี้ คาดว่าฝ่ายสหรัฐ จะประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศ Mark Rubio, ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ Mike Walz และผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประจำตะวันออกกลาง Steve Witkoff สำหรับทางรัสเซีย คาดว่าจะนำโดย Sergey Lavrov รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 454 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน ภายในวันอีสเตอร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เม.ย.

    บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิด
    ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน ภายในวันอีสเตอร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เม.ย. บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 327 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี ยืนยันอีกครั้งกับ NBC News ว่า "ไม่ยอมรับการตัดสินใจใดๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเกี่ยวกับยูเครนเด็ดขาด"

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ยูเครนไม่ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่ซาอุดีอาระเบียร่วมกับฝ่ายรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้า
    เซเลนสกี ยืนยันอีกครั้งกับ NBC News ว่า "ไม่ยอมรับการตัดสินใจใดๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเกี่ยวกับยูเครนเด็ดขาด" เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ยูเครนไม่ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่ซาอุดีอาระเบียร่วมกับฝ่ายรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ

    ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย

    การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก

    หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 422 มุมมอง 0 รีวิว
  • "แกว่งปากหาอะไรเอ่ย"

    "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ตอบโต้คำพูดของรองประธานาธิบดีสหรัฐ "เจดี แวนซ์" ต่อคำขู่ที่พยายามแสดงอิทธิพลทางทหารเหนือรัสเซีย โดยต้องการให้สหรัฐอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน หากรัสเซียไม่ยอมรับข้อเสนอในการเจรจาสันติภาพ

    "เราไม่เคยได้ยินวิธีการดังกล่าวมาก่อน รัฐบาลรัสเซียคาดหวังให้สหรัฐอธิบายคำพูดของแวนซ์เพิ่มเติมที่ว่าอเมริกายังมีทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน"

    ก่อนหน้านี้สำนักข่าววอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงาน โดยอ้างคำสัมภาษณ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ เจ.ดี. แวนซ์ ว่าสหรัฐไม่ตัดทางเลือกในการส่งทหารไปยูเครน หากรัสเซียไม่เจรจา “ด้วยความจริงใจ” และข้อเสนอ "ยังอยู่บนโต๊ะ" ซึ่งบ่งชี้ว่ามันอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

    "แกว่งปากหาอะไรเอ่ย" "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ตอบโต้คำพูดของรองประธานาธิบดีสหรัฐ "เจดี แวนซ์" ต่อคำขู่ที่พยายามแสดงอิทธิพลทางทหารเหนือรัสเซีย โดยต้องการให้สหรัฐอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน หากรัสเซียไม่ยอมรับข้อเสนอในการเจรจาสันติภาพ "เราไม่เคยได้ยินวิธีการดังกล่าวมาก่อน รัฐบาลรัสเซียคาดหวังให้สหรัฐอธิบายคำพูดของแวนซ์เพิ่มเติมที่ว่าอเมริกายังมีทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน" ก่อนหน้านี้สำนักข่าววอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงาน โดยอ้างคำสัมภาษณ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ เจ.ดี. แวนซ์ ว่าสหรัฐไม่ตัดทางเลือกในการส่งทหารไปยูเครน หากรัสเซียไม่เจรจา “ด้วยความจริงใจ” และข้อเสนอ "ยังอยู่บนโต๊ะ" ซึ่งบ่งชี้ว่ามันอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 354 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีกำลังเดินทางไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน เขากำลังพยายามอย่างหนักร่วมกับยุโรปเพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพในยูเครน หลังจากที่ทรัมป์โทรศัพท์หาปูติน เพื่อเริ่มขั้นตอนเจรจาหยุดยิงในยูเครน โดยไม่มีการแจ้งต่อเซเลนสกีก่อน

    ที่ผ่านมา รัสเซียบอกมาตลอดว่า จะเจรจากับสหรัฐเท่านั้น เพราะสหรัฐคือผู้สั่งการโดยตรงของยูเครน
    เซเลนสกีกำลังเดินทางไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน เขากำลังพยายามอย่างหนักร่วมกับยุโรปเพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพในยูเครน หลังจากที่ทรัมป์โทรศัพท์หาปูติน เพื่อเริ่มขั้นตอนเจรจาหยุดยิงในยูเครน โดยไม่มีการแจ้งต่อเซเลนสกีก่อน ที่ผ่านมา รัสเซียบอกมาตลอดว่า จะเจรจากับสหรัฐเท่านั้น เพราะสหรัฐคือผู้สั่งการโดยตรงของยูเครน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 609 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ เคียงข้างยูเครนสม่ำเสมอ! โดยยืนยันว่าการเจรจาสันติภาพจะต้องมียูเครนร่วมด้วย:

    “การเจรจาเรื่องยูเครนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มียูเครน”
    รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ เคียงข้างยูเครนสม่ำเสมอ! โดยยืนยันว่าการเจรจาสันติภาพจะต้องมียูเครนร่วมด้วย: “การเจรจาเรื่องยูเครนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มียูเครน”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 485 มุมมอง 16 0 รีวิว
Pages Boosts