• กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    ออกประกาศแจ้งเตือน 16 จังหวัด เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่ม
    น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 13-15 กันยายน ได้แก่
    เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, เลย, หนองคาย,
    ศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, จันทบุรี, ตราด, ระนอง, พังงา,
    ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และ สตูล
    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กรมทรัพยากรธรณี
    #พื้นที่เฝ้าระวัง #thaitimes
    🔥🔥กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ออกประกาศแจ้งเตือน 16 จังหวัด เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 13-15 กันยายน ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, เลย, หนองคาย, ศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, จันทบุรี, ตราด, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และ สตูล ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กรมทรัพยากรธรณี #พื้นที่เฝ้าระวัง #thaitimes
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 697 Views 0 Reviews
  • แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล

    ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร

    ความเป็นมา
    กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย
    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550
    อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก

    โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน
    หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์

    เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

    หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน

    #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    แปลกแต่จริง ชื่อเกาะสุรินทร์ แต่อยู่ จ.พังงา ที่สุดแห่งป่าปะการังและวิถีชาวเล ครั้งพระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 88,282 ไร่ หรือ 141.25 ตารางกิโลเมตร 🥰 ความเป็นมา🤠 กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 30 ของประเทศไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยผนวกกองหินริเชลิว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์ ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบ ด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี(เกาะสต๊อร์ค) เกาะไข่(เกาะตอรินลา) และเกาะกลาง(เกาะปาจุมบา) หมู่เกาะสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นในเรื่องของความสวยงามใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการังนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลที่สวยงามมากมาย นอกจากนี้ หมู่เกาะสุรินทร์ ยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยมากประกอบด้วย ป่าใหญ่ 3 ประเภท คือ ป่าดงดิบที่ขึ้นอยู่ทั่วเขา ประเภทที่ 2 คือ ป่าชายหาด ประเภทที่ 3 คือ ป่าชายเลน หมู่เกาะสุรินทร์ มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจาก หมู่เกาะสุรินทร์ วางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของ หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ มีน้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน บนหมู่เกาะสุรินทร์ เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นสถานที่ดำน้ำตื้นที่สวยที่สุดก็ว่าได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาชมมากมาย ใครที่แวะกันมาที่ หมู่เกาะสุรินทร์ จะต้องมีกลับมารอบสองแน่นอน #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #เทพชวนเที่ยว
    Like
    Love
    2
    1 Comments 0 Shares 312 Views 0 Reviews