• 🔥🔥ประเด็นร้อน
    ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการ อดีตกรรมการ
    และผู้บริหาร บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) (NUSA)
    และพวกรวม 6 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
    กรณีธุรกรรมการเข้าลงทุนซื้อโรงแรมที่ต่างประเทศ
    ในราคาไม่สมเหตุสมผลอย่างมีนัยสำคัญ

    🚩โดย ธุรกรรมการขายห้องชุดของ NUSA ในราคา
    ที่ต่ำกว่าราคาประเมิน รวมทั้งการผ่องถ่ายเงิน
    จาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด

    🚩และกรณีการแสดงเอกสารและข้อมูลเท็จ
    ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ/หรือ ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี
    พร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกัน
    และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

    ที่มา : ก.ล.ต.

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #NUSA #thaitimes
    🔥🔥ประเด็นร้อน ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการ อดีตกรรมการ และผู้บริหาร บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) (NUSA) และพวกรวม 6 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีธุรกรรมการเข้าลงทุนซื้อโรงแรมที่ต่างประเทศ ในราคาไม่สมเหตุสมผลอย่างมีนัยสำคัญ 🚩โดย ธุรกรรมการขายห้องชุดของ NUSA ในราคา ที่ต่ำกว่าราคาประเมิน รวมทั้งการผ่องถ่ายเงิน จาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด 🚩และกรณีการแสดงเอกสารและข้อมูลเท็จ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ/หรือ ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี พร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่มา : ก.ล.ต. #หุ้นติดดอย #การลงทุน #NUSA #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 829 มุมมอง 0 รีวิว
  • พาสปอร์ตโฉมใหม่ ฉลอง 79 ปีอินโดนีเซีย

    ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 79 ปี วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นอกจากจะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองหลวงใหม่นูซันตารา (Nusantara) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว และ ปราโบโว ซูเบียนโต กำลังจะจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก โจโก วิโดโด ในเดือนตุลาคมนี้

    หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ การเปิดตัวหนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ ของกรมตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงรูปเล่มจากเดิมสีเขียวเทอร์ควอยซ์ (Turquoise green) และตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีเหลือง ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2557 มาเป็นสีแดงสด (Bright red) ตัดกับตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีขาวแทน

    สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียโฉมใหม่ ประกอบด้วยหน้าปกที่ทนความร้อน มีความยืดหยุ่น ปกป้องชิปที่อยู่ในเล่มได้ หน้าไบโอดาตา (Biodata) ทำจากโพลีคาร์บอเนตเคลือบหลายชั้นเพื่อความทนทาน และมีการพิมพ์โดยใช้ทั้งหมึกที่มองเห็นได้และหมึกที่มองไม่เห็น เรืองแสงด้วยแสงอัลตราไวโอเลต และลวดลายผ้าดั้งเดิมตามแบบฉบับของแต่ละภูมิภาคในอินโดนีเซีย

    การออกแบบหนังสือเดินทางโฉมใหม่ครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงมากขึ้น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถานะระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย

    อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป แต่จะให้บริการแก่ประชาชนในปีหน้า วันที่ 17 สิงหาคม 2568 เนื่องจากต้องเตรียมการหลายอย่าง รวมถึงขั้นตอนการพิมพ์ การออกเงื่อนไข การออกหนังสือเดินทาง และการตั้งค่าระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงยังคงออกหนังสือเดินทางรูปแบบเดิมให้หมดก่อน

    สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 65 ตามการจัดอันดับของ The Henley Passport Index 2024 Global Ranking สามารถเดินทางได้ 76 ประเทศหรือดินแดนโดยไม่ต้องใช้วีซ่า และเป็นอันดับที่ห้าในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์อันดับที่ 1 มาเลเซียอันดับที่ 12 บรูไนอันดับที่ 19 และประเทศไทยอันดับที่ 60

    ที่ผ่านมาในภูมิภาคอาเซียนมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการหนังสือเดินทาง หนึ่งในนั้นคือการขยายอายุหนังสือเดินทางจาก 5 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างออกหนังสือเดินทางแบบ 10 ปีแล้ว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ส่วนประเทศมาเลเซียกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการประกาศวันที่เริ่มใช้ในเร็วๆ นี้

    สำหรับประเทศไทย กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมโครงการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะที่ 4 เพื่อรองรับหลังโครงการระยะที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2562 และจะสิ้นสุดสัญญา 7 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2569

    โดยกำลังพิจารณาเพิ่มคุณลักษณะที่มากกว่ามาตรฐาน ICAO เพื่อป้องกันการปลอมแปลง รวมทั้งการเชื่อมระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร การจัดทำหนังสือเดินทางดิจิทัล (Digital Travel Credentials หรือ DTCs) การเพิ่มคุณลักษณะความปลอดภัย โดยใช้รูปถ่ายสีแทนรูปขาวดำ และมีโฮโลแกรมภาพบุคคลเสมือนจริงเป็นภาพสีในหน้า Biodatabase เป็นต้น

    #Newskit #PassportIndonesia #pasporIndonesia
    พาสปอร์ตโฉมใหม่ ฉลอง 79 ปีอินโดนีเซีย ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 79 ปี วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นอกจากจะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองหลวงใหม่นูซันตารา (Nusantara) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว และ ปราโบโว ซูเบียนโต กำลังจะจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก โจโก วิโดโด ในเดือนตุลาคมนี้ หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ การเปิดตัวหนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ ของกรมตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงรูปเล่มจากเดิมสีเขียวเทอร์ควอยซ์ (Turquoise green) และตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีเหลือง ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2557 มาเป็นสีแดงสด (Bright red) ตัดกับตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีขาวแทน สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียโฉมใหม่ ประกอบด้วยหน้าปกที่ทนความร้อน มีความยืดหยุ่น ปกป้องชิปที่อยู่ในเล่มได้ หน้าไบโอดาตา (Biodata) ทำจากโพลีคาร์บอเนตเคลือบหลายชั้นเพื่อความทนทาน และมีการพิมพ์โดยใช้ทั้งหมึกที่มองเห็นได้และหมึกที่มองไม่เห็น เรืองแสงด้วยแสงอัลตราไวโอเลต และลวดลายผ้าดั้งเดิมตามแบบฉบับของแต่ละภูมิภาคในอินโดนีเซีย การออกแบบหนังสือเดินทางโฉมใหม่ครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงมากขึ้น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถานะระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป แต่จะให้บริการแก่ประชาชนในปีหน้า วันที่ 17 สิงหาคม 2568 เนื่องจากต้องเตรียมการหลายอย่าง รวมถึงขั้นตอนการพิมพ์ การออกเงื่อนไข การออกหนังสือเดินทาง และการตั้งค่าระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงยังคงออกหนังสือเดินทางรูปแบบเดิมให้หมดก่อน สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 65 ตามการจัดอันดับของ The Henley Passport Index 2024 Global Ranking สามารถเดินทางได้ 76 ประเทศหรือดินแดนโดยไม่ต้องใช้วีซ่า และเป็นอันดับที่ห้าในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์อันดับที่ 1 มาเลเซียอันดับที่ 12 บรูไนอันดับที่ 19 และประเทศไทยอันดับที่ 60 ที่ผ่านมาในภูมิภาคอาเซียนมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการหนังสือเดินทาง หนึ่งในนั้นคือการขยายอายุหนังสือเดินทางจาก 5 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างออกหนังสือเดินทางแบบ 10 ปีแล้ว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ส่วนประเทศมาเลเซียกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการประกาศวันที่เริ่มใช้ในเร็วๆ นี้ สำหรับประเทศไทย กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมโครงการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะที่ 4 เพื่อรองรับหลังโครงการระยะที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2562 และจะสิ้นสุดสัญญา 7 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2569 โดยกำลังพิจารณาเพิ่มคุณลักษณะที่มากกว่ามาตรฐาน ICAO เพื่อป้องกันการปลอมแปลง รวมทั้งการเชื่อมระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร การจัดทำหนังสือเดินทางดิจิทัล (Digital Travel Credentials หรือ DTCs) การเพิ่มคุณลักษณะความปลอดภัย โดยใช้รูปถ่ายสีแทนรูปขาวดำ และมีโฮโลแกรมภาพบุคคลเสมือนจริงเป็นภาพสีในหน้า Biodatabase เป็นต้น #Newskit #PassportIndonesia #pasporIndonesia
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 719 มุมมอง 0 รีวิว
  • นูซันตารา เมืองหลวงใหม่อินโดฯ

    วันชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคมที่จะถึงนี้ นอกจากเป็นการฉลองครบรอบ 79 ปี แห่งการประกาศตนเป็นอิสรภาพจากการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2488 แล้ว ยังมีแผนเปิดตัวเมืองหลวงแห่งชาติ (IKN) ที่ชื่อว่า "นูซันตารา" (Nusantara) ตั้งอยู่จังหวัดกาลิมันตันตะวันออก แทนที่กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย

    โดยหลังจากนั้น นูซันตาราจะทำหน้าที่ศูนย์กลางการบริหารประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีข้าราชการพลเรือนกว่า 11,916 คน จาก 38 กระทรวงและสถาบันต่างๆ ย้ายไปทำงานที่นั่น ส่วนกรุงจาการ์ตายังคงเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและธุรกิจเช่นเดิม คล้ายกับประเทศออสเตรเลีย ที่มีแคนเบอราเป็นเมืองหลวง แต่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่ที่้ซิดนีย์

    จุดเริ่มต้นของเมืองหลวงแห่งใหม่ มาจากประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ประกาศเมื่อปี 2562 ว่าจะย้ายศูนย์กลางการบริหารประเทศไปยังพื้นที่ชนบทในกาลีมันตันตะวันออก เนื่องจากกรุงจาการ์ตาที่มีประชากรหนาแน่นเกือบ 11 ล้านคน ประสบปัญหาแออัด มลพิษ เริ่มเผชิญวิกฤตน้ำท่วมรุนแรงขึ้น และคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นถึงขั้นเสี่ยงจมบาดาล

    กระทั่งในปี 2565 รัฐสภาอินโดนีเซียมีมติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของประเทศ โดยตั้งชื่อเมืองหลวงแห่งใหม่ว่า “นูซันตารา” ซึ่งมีความหมายว่า “หมู่เกาะ” ในภาษาอินโดนีเซีย มีความเป็นสากล เรียบง่าย สะท้อนถึงสภาพภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียที่ประกอบด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก อีกทั้งเป็นคำที่ประชาชนชาวอินโดนีเซียทุกภูมิภาคให้การยอมรับ

    เมืองใหม่ที่ชื่อว่านูซันตารา ตั้งอยู่ระหว่างเมืองซามารินดา (Samarinda) กับเมืองบาลิกปาปัน (Balikpapan) บนเกาะบอร์เนียว ห่างจากกรุงจาการ์ตาประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยสนามบินที่ใกล้ที่สุด คือ สนามบินสุลตานอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน (BPN) ในเมืองบาลิกปาปัน แต่ก็ได้สร้างสนามบินในเมืองนูซันตารา เพื่อรองรับเที่ยวบินพิเศษ (VIP) ไม่รองรับเที่ยวบินพาณิชย์

    การก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ใช้งบประมาณราว 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยระยะแรกก่อสร้างทำเนียบประธานาธิบดี อาคารของกระทรวงต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน บ้านพักข้าราชการ แต่การก่อสร้างเมืองใหม่แห่งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2588 ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเมืองโดยรอบ คือเมืองซามารินดา และเมืองบาลิกปาปัน

    ถึงกระนั้น โครงการเมืองหลวงแห่งใหม่ตรงนี้ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า และคาดว่ากินเวลาที่ประธานาธิบดี ปราโบโว สุเบียนโต จะรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีวีโดโดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้

    #Newskit #Indonesia #Nusantara
    นูซันตารา เมืองหลวงใหม่อินโดฯ วันชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคมที่จะถึงนี้ นอกจากเป็นการฉลองครบรอบ 79 ปี แห่งการประกาศตนเป็นอิสรภาพจากการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2488 แล้ว ยังมีแผนเปิดตัวเมืองหลวงแห่งชาติ (IKN) ที่ชื่อว่า "นูซันตารา" (Nusantara) ตั้งอยู่จังหวัดกาลิมันตันตะวันออก แทนที่กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย โดยหลังจากนั้น นูซันตาราจะทำหน้าที่ศูนย์กลางการบริหารประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีข้าราชการพลเรือนกว่า 11,916 คน จาก 38 กระทรวงและสถาบันต่างๆ ย้ายไปทำงานที่นั่น ส่วนกรุงจาการ์ตายังคงเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและธุรกิจเช่นเดิม คล้ายกับประเทศออสเตรเลีย ที่มีแคนเบอราเป็นเมืองหลวง แต่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่ที่้ซิดนีย์ จุดเริ่มต้นของเมืองหลวงแห่งใหม่ มาจากประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ประกาศเมื่อปี 2562 ว่าจะย้ายศูนย์กลางการบริหารประเทศไปยังพื้นที่ชนบทในกาลีมันตันตะวันออก เนื่องจากกรุงจาการ์ตาที่มีประชากรหนาแน่นเกือบ 11 ล้านคน ประสบปัญหาแออัด มลพิษ เริ่มเผชิญวิกฤตน้ำท่วมรุนแรงขึ้น และคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นถึงขั้นเสี่ยงจมบาดาล กระทั่งในปี 2565 รัฐสภาอินโดนีเซียมีมติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของประเทศ โดยตั้งชื่อเมืองหลวงแห่งใหม่ว่า “นูซันตารา” ซึ่งมีความหมายว่า “หมู่เกาะ” ในภาษาอินโดนีเซีย มีความเป็นสากล เรียบง่าย สะท้อนถึงสภาพภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียที่ประกอบด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก อีกทั้งเป็นคำที่ประชาชนชาวอินโดนีเซียทุกภูมิภาคให้การยอมรับ เมืองใหม่ที่ชื่อว่านูซันตารา ตั้งอยู่ระหว่างเมืองซามารินดา (Samarinda) กับเมืองบาลิกปาปัน (Balikpapan) บนเกาะบอร์เนียว ห่างจากกรุงจาการ์ตาประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยสนามบินที่ใกล้ที่สุด คือ สนามบินสุลตานอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน (BPN) ในเมืองบาลิกปาปัน แต่ก็ได้สร้างสนามบินในเมืองนูซันตารา เพื่อรองรับเที่ยวบินพิเศษ (VIP) ไม่รองรับเที่ยวบินพาณิชย์ การก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ใช้งบประมาณราว 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยระยะแรกก่อสร้างทำเนียบประธานาธิบดี อาคารของกระทรวงต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน บ้านพักข้าราชการ แต่การก่อสร้างเมืองใหม่แห่งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2588 ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเมืองโดยรอบ คือเมืองซามารินดา และเมืองบาลิกปาปัน ถึงกระนั้น โครงการเมืองหลวงแห่งใหม่ตรงนี้ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า และคาดว่ากินเวลาที่ประธานาธิบดี ปราโบโว สุเบียนโต จะรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีวีโดโดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ #Newskit #Indonesia #Nusantara
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 571 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 603 มุมมอง 0 รีวิว