• พาสปอร์ตโฉมใหม่ ฉลอง 79 ปีอินโดนีเซีย

    ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 79 ปี วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นอกจากจะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองหลวงใหม่นูซันตารา (Nusantara) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว และ ปราโบโว ซูเบียนโต กำลังจะจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก โจโก วิโดโด ในเดือนตุลาคมนี้

    หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ การเปิดตัวหนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ ของกรมตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงรูปเล่มจากเดิมสีเขียวเทอร์ควอยซ์ (Turquoise green) และตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีเหลือง ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2557 มาเป็นสีแดงสด (Bright red) ตัดกับตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีขาวแทน

    สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียโฉมใหม่ ประกอบด้วยหน้าปกที่ทนความร้อน มีความยืดหยุ่น ปกป้องชิปที่อยู่ในเล่มได้ หน้าไบโอดาตา (Biodata) ทำจากโพลีคาร์บอเนตเคลือบหลายชั้นเพื่อความทนทาน และมีการพิมพ์โดยใช้ทั้งหมึกที่มองเห็นได้และหมึกที่มองไม่เห็น เรืองแสงด้วยแสงอัลตราไวโอเลต และลวดลายผ้าดั้งเดิมตามแบบฉบับของแต่ละภูมิภาคในอินโดนีเซีย

    การออกแบบหนังสือเดินทางโฉมใหม่ครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงมากขึ้น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถานะระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย

    อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป แต่จะให้บริการแก่ประชาชนในปีหน้า วันที่ 17 สิงหาคม 2568 เนื่องจากต้องเตรียมการหลายอย่าง รวมถึงขั้นตอนการพิมพ์ การออกเงื่อนไข การออกหนังสือเดินทาง และการตั้งค่าระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงยังคงออกหนังสือเดินทางรูปแบบเดิมให้หมดก่อน

    สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 65 ตามการจัดอันดับของ The Henley Passport Index 2024 Global Ranking สามารถเดินทางได้ 76 ประเทศหรือดินแดนโดยไม่ต้องใช้วีซ่า และเป็นอันดับที่ห้าในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์อันดับที่ 1 มาเลเซียอันดับที่ 12 บรูไนอันดับที่ 19 และประเทศไทยอันดับที่ 60

    ที่ผ่านมาในภูมิภาคอาเซียนมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการหนังสือเดินทาง หนึ่งในนั้นคือการขยายอายุหนังสือเดินทางจาก 5 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างออกหนังสือเดินทางแบบ 10 ปีแล้ว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ส่วนประเทศมาเลเซียกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการประกาศวันที่เริ่มใช้ในเร็วๆ นี้

    สำหรับประเทศไทย กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมโครงการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะที่ 4 เพื่อรองรับหลังโครงการระยะที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2562 และจะสิ้นสุดสัญญา 7 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2569

    โดยกำลังพิจารณาเพิ่มคุณลักษณะที่มากกว่ามาตรฐาน ICAO เพื่อป้องกันการปลอมแปลง รวมทั้งการเชื่อมระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร การจัดทำหนังสือเดินทางดิจิทัล (Digital Travel Credentials หรือ DTCs) การเพิ่มคุณลักษณะความปลอดภัย โดยใช้รูปถ่ายสีแทนรูปขาวดำ และมีโฮโลแกรมภาพบุคคลเสมือนจริงเป็นภาพสีในหน้า Biodatabase เป็นต้น

    #Newskit #PassportIndonesia #pasporIndonesia
    พาสปอร์ตโฉมใหม่ ฉลอง 79 ปีอินโดนีเซีย ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 79 ปี วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นอกจากจะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ไปยังเมืองหลวงใหม่นูซันตารา (Nusantara) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว และ ปราโบโว ซูเบียนโต กำลังจะจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก โจโก วิโดโด ในเดือนตุลาคมนี้ หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ การเปิดตัวหนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ ของกรมตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย เปลี่ยนแปลงรูปเล่มจากเดิมสีเขียวเทอร์ควอยซ์ (Turquoise green) และตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีเหลือง ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2557 มาเป็นสีแดงสด (Bright red) ตัดกับตราพญาครุฑปัญจศีลพร้อมข้อความสีขาวแทน สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียโฉมใหม่ ประกอบด้วยหน้าปกที่ทนความร้อน มีความยืดหยุ่น ปกป้องชิปที่อยู่ในเล่มได้ หน้าไบโอดาตา (Biodata) ทำจากโพลีคาร์บอเนตเคลือบหลายชั้นเพื่อความทนทาน และมีการพิมพ์โดยใช้ทั้งหมึกที่มองเห็นได้และหมึกที่มองไม่เห็น เรืองแสงด้วยแสงอัลตราไวโอเลต และลวดลายผ้าดั้งเดิมตามแบบฉบับของแต่ละภูมิภาคในอินโดนีเซีย การออกแบบหนังสือเดินทางโฉมใหม่ครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงมากขึ้น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถานะระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเดินทางธรรมดาโฉมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป แต่จะให้บริการแก่ประชาชนในปีหน้า วันที่ 17 สิงหาคม 2568 เนื่องจากต้องเตรียมการหลายอย่าง รวมถึงขั้นตอนการพิมพ์ การออกเงื่อนไข การออกหนังสือเดินทาง และการตั้งค่าระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงยังคงออกหนังสือเดินทางรูปแบบเดิมให้หมดก่อน สำหรับหนังสือเดินทางอินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 65 ตามการจัดอันดับของ The Henley Passport Index 2024 Global Ranking สามารถเดินทางได้ 76 ประเทศหรือดินแดนโดยไม่ต้องใช้วีซ่า และเป็นอันดับที่ห้าในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์อันดับที่ 1 มาเลเซียอันดับที่ 12 บรูไนอันดับที่ 19 และประเทศไทยอันดับที่ 60 ที่ผ่านมาในภูมิภาคอาเซียนมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการหนังสือเดินทาง หนึ่งในนั้นคือการขยายอายุหนังสือเดินทางจาก 5 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างออกหนังสือเดินทางแบบ 10 ปีแล้ว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ส่วนประเทศมาเลเซียกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการประกาศวันที่เริ่มใช้ในเร็วๆ นี้ สำหรับประเทศไทย กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมโครงการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะที่ 4 เพื่อรองรับหลังโครงการระยะที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2562 และจะสิ้นสุดสัญญา 7 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2569 โดยกำลังพิจารณาเพิ่มคุณลักษณะที่มากกว่ามาตรฐาน ICAO เพื่อป้องกันการปลอมแปลง รวมทั้งการเชื่อมระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร การจัดทำหนังสือเดินทางดิจิทัล (Digital Travel Credentials หรือ DTCs) การเพิ่มคุณลักษณะความปลอดภัย โดยใช้รูปถ่ายสีแทนรูปขาวดำ และมีโฮโลแกรมภาพบุคคลเสมือนจริงเป็นภาพสีในหน้า Biodatabase เป็นต้น #Newskit #PassportIndonesia #pasporIndonesia
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1117 มุมมอง 0 รีวิว