วันนี้คุยต่อเรื่องราวสมัยราชวงศ์ซ่งอีกสักหน่อย สมัยนั้นมีการเผยแพร่วัฒนธรรมการดื่มชาไปในวงกว้าง ทำให้การดื่มชาเป็นที่นิยมทั่วไป แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า การชงชาในสมัยราชวงศ์ซ่งเป็นอย่างไร
ความมีอยู่ว่า
... “ตำราจากราชวงศ์ก่อนน่ะรึ เป็นการต้มชา แต่ตอนนี้การชงชาต้องตีผสม ตำราจากราชวงศ์ก่อนย่อมบรรยายไม่ได้ชัด” นางสกุลหลินกล่าวต่อม่อหลันผู้เป็นลูกสาว...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
จากบทสนทนาข้างต้นก็พอจะรู้แล้วว่าการชงชาในสมัยราชวงศ์ซ่งแตกต่างจากราชวงศ์ถัง
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะสะดุดตาบ้างไหมกับการชงชาของตัวละครที่มีให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง เป็นการใช้ช้อนไม้เล็กด้ามยาวตักผงชาลงในชามเล็ก เติมน้ำร้อนเล็กน้อย ใช้แปรงตีจนละลายเข้าเป็นน้ำชาข้น เติมน้ำอีก ตีอีกจนเป็นฟอง เติมน้ำอีก ตีอีก ทำอย่างนี้จนชาเปลี่ยนสีแล้วเทใส่ถ้วยที่มีจานรองแบบมีขาตั้งสูง (ดูจากรูปกรรมวิธี) หน้าตาของชาจะคล้ายกับชาญี่ปุ่นมัทฉะที่ตีเป็นฟองที่เรายังเห็นได้ในปัจจุบัน วิธีการชงชาแบบนี้เรียกว่า ‘เตี่ยนฉา’ (点茶)
ศิลปะการชงชาแบบเตี่ยนฉาไม่ใช่เพียงชงเพื่อดื่ม หากแต่เป็นการฝึกความใจเย็น และในยุคนั้นหนึ่งในกิจกรรมสังสรรค์ยอดนิยมคือการแข่งชงชากัน (เรียกว่า ‘โต้วฉา’ / 斗茶) โดยจะเริ่มตั้งแต่การเอาชาอัดก้อนมาอังไฟให้หอม แล้วเอาก้อนชามาทุบละเอียด ชาที่ทุบแล้วก็ต้องนำมาโม่บดจนละเอียดมากขึ้นอีก เวลาจะกินก็ตักออกมาสักช้อนสองช้อนแล้วก็ชงตามกรรมวิธี
ชงชาแบบเตี่ยนฉาอย่างไรจึงเรียกว่าดี? เขาว่าชาที่ดีนั้น เนื้อชาจะกระจายไปในน้ำอย่างสม่ำเสมอและเข้มข้นกำลังดี สีของน้ำชาที่ดีที่สุดคือขาวนวล รองลงมาคือขาวอมเขียว ขาวอมเทา หรือขาวอมเหลือง ถ้วยชาที่ใช้จึงมักเป็นสีดำเพื่อให้เห็นน้ำชาได้ชัดเจน
ว่ากันว่าญี่ปุ่นได้วิธีชงชาแบบนี้จากพระและนักแสวงบุญที่เข้ามายังประเทศจีนในสมัยซ่งแล้วนำกลับไปทำที่ญี่ปุ่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพิ่มในประเด็นนี้
แล้วยุคสมัยอื่นล่ะ? การดื่มชาในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถังนั้นเป็นการนำชามาต้มกับเครื่องอย่างอื่น เช่นขิง ดอกหอมหมื่นลี้ พริกไทยเป็นต้น ดื่มกินเหมือนน้ำแกง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์สุยและถังจึงใช้เป็นการ ‘แช่’ ชาในน้ำร้อน (เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน) สมัยนั้นจึงเรียกเป็นการต้มชาหรือว่า ‘จู่ฉา’ (煎茶)
กรรมวิธีชงชาแบบเตี่ยนฉาสิ้นสุดลงเมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิง ด้วยความที่มันยุ่งยากใช้คนมากในการหมักเก็บชามาอัดเป็นก้อน ไหนจะต้องทุบและบดก่อนกิน องค์จูหยวนจางทรงเห็นว่าการต้มชาใบร่วงง่ายและเหมาะกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านธรรมดามากกว่า ในยุคสมัยนั้นการจัดจำหน่ายชาจึงเน้นเป็นรูปแบบใบชา ดังนั้นก้อนชาและวิธีชงแบบเตี่ยนฉาจึงค่อยๆ หายไป
Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ แต่จริงๆ แล้ว การชงชาในแต่ละยุคสมัยนั้นไม่ง่ายเลย มันมีขั้นตอนที่ละเมียดละไมและมีอุปกรณ์เฉพาะหลายชิ้น ใครที่เป็นคอชาจะทราบดี Storyฯ ไม่ได้เป็นคอชา รอเพื่อนเพจท่านใดที่ใช่ มาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
https://itw01.com/YNKQ3E4.html
https://wantubizhi.com/image350909350928.html
https://kknews.cc/zh-sg/culture/rr3kjxo.html
http://www.tuanjiewang.cn/2019-11/04/content_8853866.htm
http://www.guanfujianzhan.com/8119.html
http://food.china.com.cn/2020-07/09/content_76253576.htm
ดูกรรมวิธีการชงได้ที่ https://m.puercn.com/zhishi/97265/
#หมิงหลัน #พิธีชงชาจีนโบราณ #เตี่ยนฉา #ราชวงศ์ซ่ง
ความมีอยู่ว่า
... “ตำราจากราชวงศ์ก่อนน่ะรึ เป็นการต้มชา แต่ตอนนี้การชงชาต้องตีผสม ตำราจากราชวงศ์ก่อนย่อมบรรยายไม่ได้ชัด” นางสกุลหลินกล่าวต่อม่อหลันผู้เป็นลูกสาว...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
จากบทสนทนาข้างต้นก็พอจะรู้แล้วว่าการชงชาในสมัยราชวงศ์ซ่งแตกต่างจากราชวงศ์ถัง
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะสะดุดตาบ้างไหมกับการชงชาของตัวละครที่มีให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง เป็นการใช้ช้อนไม้เล็กด้ามยาวตักผงชาลงในชามเล็ก เติมน้ำร้อนเล็กน้อย ใช้แปรงตีจนละลายเข้าเป็นน้ำชาข้น เติมน้ำอีก ตีอีกจนเป็นฟอง เติมน้ำอีก ตีอีก ทำอย่างนี้จนชาเปลี่ยนสีแล้วเทใส่ถ้วยที่มีจานรองแบบมีขาตั้งสูง (ดูจากรูปกรรมวิธี) หน้าตาของชาจะคล้ายกับชาญี่ปุ่นมัทฉะที่ตีเป็นฟองที่เรายังเห็นได้ในปัจจุบัน วิธีการชงชาแบบนี้เรียกว่า ‘เตี่ยนฉา’ (点茶)
ศิลปะการชงชาแบบเตี่ยนฉาไม่ใช่เพียงชงเพื่อดื่ม หากแต่เป็นการฝึกความใจเย็น และในยุคนั้นหนึ่งในกิจกรรมสังสรรค์ยอดนิยมคือการแข่งชงชากัน (เรียกว่า ‘โต้วฉา’ / 斗茶) โดยจะเริ่มตั้งแต่การเอาชาอัดก้อนมาอังไฟให้หอม แล้วเอาก้อนชามาทุบละเอียด ชาที่ทุบแล้วก็ต้องนำมาโม่บดจนละเอียดมากขึ้นอีก เวลาจะกินก็ตักออกมาสักช้อนสองช้อนแล้วก็ชงตามกรรมวิธี
ชงชาแบบเตี่ยนฉาอย่างไรจึงเรียกว่าดี? เขาว่าชาที่ดีนั้น เนื้อชาจะกระจายไปในน้ำอย่างสม่ำเสมอและเข้มข้นกำลังดี สีของน้ำชาที่ดีที่สุดคือขาวนวล รองลงมาคือขาวอมเขียว ขาวอมเทา หรือขาวอมเหลือง ถ้วยชาที่ใช้จึงมักเป็นสีดำเพื่อให้เห็นน้ำชาได้ชัดเจน
ว่ากันว่าญี่ปุ่นได้วิธีชงชาแบบนี้จากพระและนักแสวงบุญที่เข้ามายังประเทศจีนในสมัยซ่งแล้วนำกลับไปทำที่ญี่ปุ่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพิ่มในประเด็นนี้
แล้วยุคสมัยอื่นล่ะ? การดื่มชาในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถังนั้นเป็นการนำชามาต้มกับเครื่องอย่างอื่น เช่นขิง ดอกหอมหมื่นลี้ พริกไทยเป็นต้น ดื่มกินเหมือนน้ำแกง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์สุยและถังจึงใช้เป็นการ ‘แช่’ ชาในน้ำร้อน (เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน) สมัยนั้นจึงเรียกเป็นการต้มชาหรือว่า ‘จู่ฉา’ (煎茶)
กรรมวิธีชงชาแบบเตี่ยนฉาสิ้นสุดลงเมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิง ด้วยความที่มันยุ่งยากใช้คนมากในการหมักเก็บชามาอัดเป็นก้อน ไหนจะต้องทุบและบดก่อนกิน องค์จูหยวนจางทรงเห็นว่าการต้มชาใบร่วงง่ายและเหมาะกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านธรรมดามากกว่า ในยุคสมัยนั้นการจัดจำหน่ายชาจึงเน้นเป็นรูปแบบใบชา ดังนั้นก้อนชาและวิธีชงแบบเตี่ยนฉาจึงค่อยๆ หายไป
Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ แต่จริงๆ แล้ว การชงชาในแต่ละยุคสมัยนั้นไม่ง่ายเลย มันมีขั้นตอนที่ละเมียดละไมและมีอุปกรณ์เฉพาะหลายชิ้น ใครที่เป็นคอชาจะทราบดี Storyฯ ไม่ได้เป็นคอชา รอเพื่อนเพจท่านใดที่ใช่ มาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
https://itw01.com/YNKQ3E4.html
https://wantubizhi.com/image350909350928.html
https://kknews.cc/zh-sg/culture/rr3kjxo.html
http://www.tuanjiewang.cn/2019-11/04/content_8853866.htm
http://www.guanfujianzhan.com/8119.html
http://food.china.com.cn/2020-07/09/content_76253576.htm
ดูกรรมวิธีการชงได้ที่ https://m.puercn.com/zhishi/97265/
#หมิงหลัน #พิธีชงชาจีนโบราณ #เตี่ยนฉา #ราชวงศ์ซ่ง
วันนี้คุยต่อเรื่องราวสมัยราชวงศ์ซ่งอีกสักหน่อย สมัยนั้นมีการเผยแพร่วัฒนธรรมการดื่มชาไปในวงกว้าง ทำให้การดื่มชาเป็นที่นิยมทั่วไป แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า การชงชาในสมัยราชวงศ์ซ่งเป็นอย่างไร
ความมีอยู่ว่า
... “ตำราจากราชวงศ์ก่อนน่ะรึ เป็นการต้มชา แต่ตอนนี้การชงชาต้องตีผสม ตำราจากราชวงศ์ก่อนย่อมบรรยายไม่ได้ชัด” นางสกุลหลินกล่าวต่อม่อหลันผู้เป็นลูกสาว...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
จากบทสนทนาข้างต้นก็พอจะรู้แล้วว่าการชงชาในสมัยราชวงศ์ซ่งแตกต่างจากราชวงศ์ถัง
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะสะดุดตาบ้างไหมกับการชงชาของตัวละครที่มีให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง เป็นการใช้ช้อนไม้เล็กด้ามยาวตักผงชาลงในชามเล็ก เติมน้ำร้อนเล็กน้อย ใช้แปรงตีจนละลายเข้าเป็นน้ำชาข้น เติมน้ำอีก ตีอีกจนเป็นฟอง เติมน้ำอีก ตีอีก ทำอย่างนี้จนชาเปลี่ยนสีแล้วเทใส่ถ้วยที่มีจานรองแบบมีขาตั้งสูง (ดูจากรูปกรรมวิธี) หน้าตาของชาจะคล้ายกับชาญี่ปุ่นมัทฉะที่ตีเป็นฟองที่เรายังเห็นได้ในปัจจุบัน วิธีการชงชาแบบนี้เรียกว่า ‘เตี่ยนฉา’ (点茶)
ศิลปะการชงชาแบบเตี่ยนฉาไม่ใช่เพียงชงเพื่อดื่ม หากแต่เป็นการฝึกความใจเย็น และในยุคนั้นหนึ่งในกิจกรรมสังสรรค์ยอดนิยมคือการแข่งชงชากัน (เรียกว่า ‘โต้วฉา’ / 斗茶) โดยจะเริ่มตั้งแต่การเอาชาอัดก้อนมาอังไฟให้หอม แล้วเอาก้อนชามาทุบละเอียด ชาที่ทุบแล้วก็ต้องนำมาโม่บดจนละเอียดมากขึ้นอีก เวลาจะกินก็ตักออกมาสักช้อนสองช้อนแล้วก็ชงตามกรรมวิธี
ชงชาแบบเตี่ยนฉาอย่างไรจึงเรียกว่าดี? เขาว่าชาที่ดีนั้น เนื้อชาจะกระจายไปในน้ำอย่างสม่ำเสมอและเข้มข้นกำลังดี สีของน้ำชาที่ดีที่สุดคือขาวนวล รองลงมาคือขาวอมเขียว ขาวอมเทา หรือขาวอมเหลือง ถ้วยชาที่ใช้จึงมักเป็นสีดำเพื่อให้เห็นน้ำชาได้ชัดเจน
ว่ากันว่าญี่ปุ่นได้วิธีชงชาแบบนี้จากพระและนักแสวงบุญที่เข้ามายังประเทศจีนในสมัยซ่งแล้วนำกลับไปทำที่ญี่ปุ่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพิ่มในประเด็นนี้
แล้วยุคสมัยอื่นล่ะ? การดื่มชาในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถังนั้นเป็นการนำชามาต้มกับเครื่องอย่างอื่น เช่นขิง ดอกหอมหมื่นลี้ พริกไทยเป็นต้น ดื่มกินเหมือนน้ำแกง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์สุยและถังจึงใช้เป็นการ ‘แช่’ ชาในน้ำร้อน (เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน) สมัยนั้นจึงเรียกเป็นการต้มชาหรือว่า ‘จู่ฉา’ (煎茶)
กรรมวิธีชงชาแบบเตี่ยนฉาสิ้นสุดลงเมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิง ด้วยความที่มันยุ่งยากใช้คนมากในการหมักเก็บชามาอัดเป็นก้อน ไหนจะต้องทุบและบดก่อนกิน องค์จูหยวนจางทรงเห็นว่าการต้มชาใบร่วงง่ายและเหมาะกับชีวิตประจำวันของชาวบ้านธรรมดามากกว่า ในยุคสมัยนั้นการจัดจำหน่ายชาจึงเน้นเป็นรูปแบบใบชา ดังนั้นก้อนชาและวิธีชงแบบเตี่ยนฉาจึงค่อยๆ หายไป
Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ แต่จริงๆ แล้ว การชงชาในแต่ละยุคสมัยนั้นไม่ง่ายเลย มันมีขั้นตอนที่ละเมียดละไมและมีอุปกรณ์เฉพาะหลายชิ้น ใครที่เป็นคอชาจะทราบดี Storyฯ ไม่ได้เป็นคอชา รอเพื่อนเพจท่านใดที่ใช่ มาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
https://itw01.com/YNKQ3E4.html
https://wantubizhi.com/image350909350928.html
https://kknews.cc/zh-sg/culture/rr3kjxo.html
http://www.tuanjiewang.cn/2019-11/04/content_8853866.htm
http://www.guanfujianzhan.com/8119.html
http://food.china.com.cn/2020-07/09/content_76253576.htm
ดูกรรมวิธีการชงได้ที่ https://m.puercn.com/zhishi/97265/
#หมิงหลัน #พิธีชงชาจีนโบราณ #เตี่ยนฉา #ราชวงศ์ซ่ง
2 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
23 มุมมอง
0 รีวิว