• “ทรัมป์” จวก “จีน” ผิดสัญญา หลังมีข่าวปักกิ่งสั่งสายการบินในประเทศระงับการรับมอบเครื่องบินจาก “โบอิ้ง” ของอเมริกา แต่ยังมั่นใจแดนมังกรเป็นฝ่ายเดือดร้อนที่ต้องขอเปิดเจรจาก่อน นอกจากนี้ประมุขทำเนียบขาวยังสั่งดำเนินการตรวจสอบที่อาจนำไปสู่การรีดภาษีสินค้าแรร์เอิร์ธของจีน ด้านปักกิ่งตอกวอชิงตันถ้าอยากแก้ปัญหาด้วยการเจรจา ต้องหยุดกดดัน ข่มขู่ และแบล็กเมล์ก่อน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036078

    #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ทรัมป์” จวก “จีน” ผิดสัญญา หลังมีข่าวปักกิ่งสั่งสายการบินในประเทศระงับการรับมอบเครื่องบินจาก “โบอิ้ง” ของอเมริกา แต่ยังมั่นใจแดนมังกรเป็นฝ่ายเดือดร้อนที่ต้องขอเปิดเจรจาก่อน นอกจากนี้ประมุขทำเนียบขาวยังสั่งดำเนินการตรวจสอบที่อาจนำไปสู่การรีดภาษีสินค้าแรร์เอิร์ธของจีน ด้านปักกิ่งตอกวอชิงตันถ้าอยากแก้ปัญหาด้วยการเจรจา ต้องหยุดกดดัน ข่มขู่ และแบล็กเมล์ก่อน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000036078 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    24
    1 Comments 0 Shares 1382 Views 0 Reviews

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 580 Views 0 Reviews
  • ไม่ควรมีประเทศไหนหลบหลีกกฎหมายระหว่างประเทศ อ้างสิทธิ์สำรวจทรัพยกรใต้ทะเลลึก จากคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันจันทร์(14เม.ย.) ความเห็นซึ่งมีขึ้นตามหลังรายงานข่าวที่ระบุว่าสหัฐฯมีแผนรกักตุนก้อนแร่โลหะจากใต้ทะเลลึก (deep-sea metals) ในมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อลดทอนอิทธิพลของจีนในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุและแรร์เอิร์ธ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000035594

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ไม่ควรมีประเทศไหนหลบหลีกกฎหมายระหว่างประเทศ อ้างสิทธิ์สำรวจทรัพยกรใต้ทะเลลึก จากคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันจันทร์(14เม.ย.) ความเห็นซึ่งมีขึ้นตามหลังรายงานข่าวที่ระบุว่าสหัฐฯมีแผนรกักตุนก้อนแร่โลหะจากใต้ทะเลลึก (deep-sea metals) ในมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อลดทอนอิทธิพลของจีนในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุและแรร์เอิร์ธ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000035594 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    13
    0 Comments 0 Shares 1701 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ส่งหนังสือขอโทษประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับศึกวิวาทะอื้อฉาวในทำเนียบขาว จากการเปิดเผยของ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษด้านตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำอเมริกาสั่งระงับความช่วยเหลือด้านการทหารและแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับเคียฟ
    .
    วิตคอฟฟ์ เปิดเผยในเรื่องนี้ในวันจันทร์(10มี.ค.) ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวฟ็อกซ์นิวส์ ก่อนหน้าการประชุมกันระหว่างคณะผู้แทนสหรัฐฯกับคณะผู้แทนยูเครน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในซาอุดีอาระเบียในสัปดาห์นี้ โดยวอชิงตันคาดหมายว่าจะมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม และหวังลงนามในข้อตกลงแร่อันสำคัญกับเคียฟ
    .
    "เซเลนสกี ส่งหนังสือถึงประธานาธิบดี เขาขอโทษต่อเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห้องทำงานรูปไข่" วิตคอฟฟ์เน้นย้ำ "ผมคิดว่ามันเป็นก้าวย่างที่สำคัญและมีการพูดคุยหารือกันมากมายระหว่างคณะทำงานของเรากับคณะทำงานยูเครน รวมไปถึงจากยุโรป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารือนี้เช่นกัน"
    .
    ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เผยว่าได้รับหนังสือที่สำคัญจากเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นว่าเคียฟแสดงถึงความพร้อม "ที่จะเข้าสู่โต๊ะเจรจาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีสหรัฐฯไม่ได้พาดพิงว่าเนื้อหาในจดหมายดังกล่าว มีถ้อยคำขอโทษเกี่ยวกับการโต้เถียงอันอื้อฉาวในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาว
    .
    เซเลนสกี พูดเสียงดังแข่งกับ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ระหว่างพบปะพูดคุยกันที่ทำเนียบขาวเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวหาผู้นำยูเครนขาดความเคารพ ไม่สำนึกบุญคุณความช่วยเหลือของสหรัฐฯในอดีตที่ผ่านมาและลังเลที่แสวงหาสันติภาพกับรัสเซีย ยิ่งไปกว่านั้นยัง "กำลังเดิมพันด้วยสงครามโลกครั้งที่ 3"
    .
    ประธานาธิบดียูเครนถูกไล่ออกจากทำเนียบขาว ก่อนหน้าการประชุมแบบลับๆจะเริ่มขึ้น
    .
    ศึกโต้เถียงกันในห้องทำงานรูปไข่ ทำให้ข้อตกลงแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ต้องล่าช้าออกไป และกระตุ้นให้สหรัฐฯระงับความช่วยเหลือด้านการทหารที่มอบแก่เคียฟ ตามด้วยระงับแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง
    .
    แม้ดูเหมือนจะเลือกขอโทษทรัมป์แบบลับๆ แต่ต่อหน้าสาธารณะแล้ว เซเลนสกี ยังคงแสดงท่าทีแข็งขืน บอกเพียงว่ารู้สึกเสียใจต่อความโกลาหลในทำเนียบขาว และเสียใจที่การพบปะพูดคุยที่ไม่เป็นไปตามแผน
    .
    มิคาอิล โพโดยัค ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ได้ตอกย้ำท่าทีดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บอกว่า "เซเลนสกี มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ทั้งในรูปแบบและเนื้อหาสาระที่เขาพยายามสื่อสารถ่ายทอดถึงคู่หูอเมริกาของเขา เกี่ยวกับแนวคิดหลักๆ ที่ว่าจะไม่มีอะไรประสบผลสำเร็จหากปราศจากการบีบบังคับรัสเซีย" เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฝรั่งเศสในวันศุกร์(7มี.ค.) "เราจะไม่ขอโทษ สำหรับการทึกทักเอาเองว่ามันเป็นความผิดพลาด ทั้งที่มันไม่ได้เกิดขึ้น"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023258
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ส่งหนังสือขอโทษประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับศึกวิวาทะอื้อฉาวในทำเนียบขาว จากการเปิดเผยของ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษด้านตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำอเมริกาสั่งระงับความช่วยเหลือด้านการทหารและแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับเคียฟ . วิตคอฟฟ์ เปิดเผยในเรื่องนี้ในวันจันทร์(10มี.ค.) ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวฟ็อกซ์นิวส์ ก่อนหน้าการประชุมกันระหว่างคณะผู้แทนสหรัฐฯกับคณะผู้แทนยูเครน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในซาอุดีอาระเบียในสัปดาห์นี้ โดยวอชิงตันคาดหมายว่าจะมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม และหวังลงนามในข้อตกลงแร่อันสำคัญกับเคียฟ . "เซเลนสกี ส่งหนังสือถึงประธานาธิบดี เขาขอโทษต่อเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห้องทำงานรูปไข่" วิตคอฟฟ์เน้นย้ำ "ผมคิดว่ามันเป็นก้าวย่างที่สำคัญและมีการพูดคุยหารือกันมากมายระหว่างคณะทำงานของเรากับคณะทำงานยูเครน รวมไปถึงจากยุโรป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารือนี้เช่นกัน" . ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เผยว่าได้รับหนังสือที่สำคัญจากเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นว่าเคียฟแสดงถึงความพร้อม "ที่จะเข้าสู่โต๊ะเจรจาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีสหรัฐฯไม่ได้พาดพิงว่าเนื้อหาในจดหมายดังกล่าว มีถ้อยคำขอโทษเกี่ยวกับการโต้เถียงอันอื้อฉาวในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาว . เซเลนสกี พูดเสียงดังแข่งกับ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ระหว่างพบปะพูดคุยกันที่ทำเนียบขาวเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวหาผู้นำยูเครนขาดความเคารพ ไม่สำนึกบุญคุณความช่วยเหลือของสหรัฐฯในอดีตที่ผ่านมาและลังเลที่แสวงหาสันติภาพกับรัสเซีย ยิ่งไปกว่านั้นยัง "กำลังเดิมพันด้วยสงครามโลกครั้งที่ 3" . ประธานาธิบดียูเครนถูกไล่ออกจากทำเนียบขาว ก่อนหน้าการประชุมแบบลับๆจะเริ่มขึ้น . ศึกโต้เถียงกันในห้องทำงานรูปไข่ ทำให้ข้อตกลงแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ต้องล่าช้าออกไป และกระตุ้นให้สหรัฐฯระงับความช่วยเหลือด้านการทหารที่มอบแก่เคียฟ ตามด้วยระงับแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง . แม้ดูเหมือนจะเลือกขอโทษทรัมป์แบบลับๆ แต่ต่อหน้าสาธารณะแล้ว เซเลนสกี ยังคงแสดงท่าทีแข็งขืน บอกเพียงว่ารู้สึกเสียใจต่อความโกลาหลในทำเนียบขาว และเสียใจที่การพบปะพูดคุยที่ไม่เป็นไปตามแผน . มิคาอิล โพโดยัค ที่ปรึกษาประธานาธิบดียูเครน ได้ตอกย้ำท่าทีดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บอกว่า "เซเลนสกี มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ทั้งในรูปแบบและเนื้อหาสาระที่เขาพยายามสื่อสารถ่ายทอดถึงคู่หูอเมริกาของเขา เกี่ยวกับแนวคิดหลักๆ ที่ว่าจะไม่มีอะไรประสบผลสำเร็จหากปราศจากการบีบบังคับรัสเซีย" เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฝรั่งเศสในวันศุกร์(7มี.ค.) "เราจะไม่ขอโทษ สำหรับการทึกทักเอาเองว่ามันเป็นความผิดพลาด ทั้งที่มันไม่ได้เกิดขึ้น" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000023258 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    11
    0 Comments 0 Shares 2202 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯกำลังร่างแผนการหนึ่งๆในความเป็นไปได้ที่จะผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางฟื้นฟูความสัมพันธ์กับมอสโกและหยุดสงครามในยูเครน รอยเตอร์รายงานอ้างเจ้าหน้าที่อเมริการายหนึ่งและแหล่งข่าวใกล้ชิดกับประเด็นนี้
    .
    แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ทำเนียบขาวขอให้กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงการคลัง ร่างรายการคว่ำบาตรที่อาจผ่อนปรน เพื่อที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะได้หยิบยกไปหารือพูดคุยกับพวกผู้แทนของรัสเซียในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ส่วนหนึ่งในการเจรจาอย่างครอบคลุมระหว่างรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับมอสโก ในความพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งทางการทูตและเศรษฐกิจ
    .
    เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่ด้านมาตรการคว่ำบาตรกำลังร่างข้อเสนอหนึ่งๆ สำหรับยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรนิติบุคคลและตัวบุคคลที่ได้รับเลือก ในนั้นรวมถึงกลุ่มผู้มีอำนาจบางส่วนของรัสเซีย แหล่งข่าวระบุ
    .
    สิ่งที่เรียกว่า "เอกสารทางเลือก" มักถูกร่างขึ้นบ่อยครั้งเป็นปกติอยู่แล้วโดยพวกเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านมาตรการคว่ำบาตร แต่คำขออย่างเฉพาะเจาะจงในครั้งนี้ของทำเนียบขาวในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เน้นย้ำว่า ทรัมป์ และคณะที่ปรึกษาของเขา มีความตั้งใจผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซียจริงๆ ส่วนหนึ่งในว่าที่ข้อตกลงหนึ่งใดกับมอสโก
    .
    ไม่เป็นที่้ชัดเจนว่า วอชิงตันต้องการสิ่งใดแลกเปลี่ยนกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร
    .
    รัสเซีย เป็นหนึ่งในชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก และถ้ามาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของมอสโกได้รับการผ่อนปรน มันจะช่วยสกัดไม่ให้ราคาเชื้อเพลิงพุ่งสูง ถ้าหากทรัมป์ต้องการเล่นงานภาคการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ชาติสมาชิกโอเปก
    .
    ทำเนียบขาว กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการคลังสหรัฐฯ รวมถึงสถานทูตรัสเซียประจำวอชิงตัน ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวนี้
    .
    เมื่อปีที่แล้ว วังเครมลิน ให้คำนิยามความสัมพันธ์กับรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่า "ต่ำว่าศูนย์" เนื่องจาก ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ให้การสนับสนุนยูเครนด้วยเงินช่วยเหลือและอาวุธ รวมถึงกำหนดมาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงเล่นงานรัสเซีย ลงโทษกรณีรุกรานยูเครนในปี 2022
    .
    แต่ ทรัมป์ ซึ่งรับปากว่าจะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว ได้กลับลำนโยบายของสหรัฐฯ เปิดการเจรจากับมอสโก เริ่มต้นด้วยการพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และตามด้วยการพบปะหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 ชาติ ทั้งในซาอุดีอาระเบียและตุรกี
    .
    สหรัฐฯกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซียมาตั้งแต่ที่มอสโกรุกรานยูเครนในปี 2022 ในนั้นรวมถึงมาตรการต่างๆที่เล็งเป้าหมายจำกัดรายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอันมหาศาลของประเทศแห่งนี้ และบั่นทอนศักยภาพในการหาทุนในการทำสงคราม
    .
    ทรัมป์ ในเดือนมกราคม ขู่ว่าอาจยกระดับมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย หากว่าปูติน ไม่มีความตั้งใจเจรจายุติสงครามในยูเครน แต่เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลทรัมป์ยอมรับอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรมอสโก
    .
    สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ว่ารัสเซียอาจได้รับการผ่อนปรนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามีท่าทีอย่างไรต่อการเจรจาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จากนั้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ทรัมป์ เน้นย้ำกับพวกผู้สื่อข่าวว่าอาจมีการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย "ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง"
    .
    ทั้งนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามาตรการคว่ำบาตรใด ที่รัฐบาลทรัมป์จะพิจารณายกเลิกเล่นงานรัสเซียเป็นลำดับแรก
    .
    จอห์น สมิธ จากบริษัทกฎหมาย Morrison Foerster และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ อาจออกคำสั่งบริหารฉบับหนึ่ง ที่เปิดทางให้รัฐบาลเริ่มกระบวนการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียบางอย่าง แต่เขาจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากสภาคองเกรสในการยกเลิกการคว่ำบาตรนิติบุคคลบางแห่ง
    .
    นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา รัสเซีย เสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาสงคราม ด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหารและยกระดับผลผลิตทางอุตสาหกรรม แต่พวกผู้เชี่ยวชาญมองว่าเศรษฐกิจของประเทศแห่งนี้ยังมีความอ่อนแอ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตก
    .
    รัสเซียบอกว่าพวกเขาเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยวังเครมลินบอกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่ารัสเซียมีแร่ธาตุแรร์เฮิร์ธมากมาย และเปิดกว้างสำหรับทำข้อตกลงพัฒนาแร่เหล่านี้ หลังจาก ปูติน พูดถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือในเรื่องดังกล่าวกับสหรัฐฯ
    .
    แหล่งข่าวเชื่อว่าข้อตกลงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการใดๆ ดูเหมือนจะมีความจำเป็นสำหรับเปิดทางให้สหรัฐฯผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ หาทางบรรลุข้อตกลงแร่ธาตุกับยูเครน ประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่มหาศาล ในนั้นรวมถึงแร่แรร์เอิร์ธ ในฐานะเป็นสิ่งตอบแทนชดใช้เงินช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ที่สหรัฐฯมอให้แก่เคียฟ อย่างไรก็ตามไม่มีการลงนามในข้อตกลง ตามหลังศึกวิวาทะดุเดือดภายในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาว ระหว่าง ทรัมป์ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020861
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯกำลังร่างแผนการหนึ่งๆในความเป็นไปได้ที่จะผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางฟื้นฟูความสัมพันธ์กับมอสโกและหยุดสงครามในยูเครน รอยเตอร์รายงานอ้างเจ้าหน้าที่อเมริการายหนึ่งและแหล่งข่าวใกล้ชิดกับประเด็นนี้ . แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ทำเนียบขาวขอให้กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงการคลัง ร่างรายการคว่ำบาตรที่อาจผ่อนปรน เพื่อที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะได้หยิบยกไปหารือพูดคุยกับพวกผู้แทนของรัสเซียในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ส่วนหนึ่งในการเจรจาอย่างครอบคลุมระหว่างรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับมอสโก ในความพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งทางการทูตและเศรษฐกิจ . เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่ด้านมาตรการคว่ำบาตรกำลังร่างข้อเสนอหนึ่งๆ สำหรับยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรนิติบุคคลและตัวบุคคลที่ได้รับเลือก ในนั้นรวมถึงกลุ่มผู้มีอำนาจบางส่วนของรัสเซีย แหล่งข่าวระบุ . สิ่งที่เรียกว่า "เอกสารทางเลือก" มักถูกร่างขึ้นบ่อยครั้งเป็นปกติอยู่แล้วโดยพวกเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านมาตรการคว่ำบาตร แต่คำขออย่างเฉพาะเจาะจงในครั้งนี้ของทำเนียบขาวในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เน้นย้ำว่า ทรัมป์ และคณะที่ปรึกษาของเขา มีความตั้งใจผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซียจริงๆ ส่วนหนึ่งในว่าที่ข้อตกลงหนึ่งใดกับมอสโก . ไม่เป็นที่้ชัดเจนว่า วอชิงตันต้องการสิ่งใดแลกเปลี่ยนกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร . รัสเซีย เป็นหนึ่งในชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก และถ้ามาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของมอสโกได้รับการผ่อนปรน มันจะช่วยสกัดไม่ให้ราคาเชื้อเพลิงพุ่งสูง ถ้าหากทรัมป์ต้องการเล่นงานภาคการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ชาติสมาชิกโอเปก . ทำเนียบขาว กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการคลังสหรัฐฯ รวมถึงสถานทูตรัสเซียประจำวอชิงตัน ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวนี้ . เมื่อปีที่แล้ว วังเครมลิน ให้คำนิยามความสัมพันธ์กับรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่า "ต่ำว่าศูนย์" เนื่องจาก ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ให้การสนับสนุนยูเครนด้วยเงินช่วยเหลือและอาวุธ รวมถึงกำหนดมาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงเล่นงานรัสเซีย ลงโทษกรณีรุกรานยูเครนในปี 2022 . แต่ ทรัมป์ ซึ่งรับปากว่าจะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว ได้กลับลำนโยบายของสหรัฐฯ เปิดการเจรจากับมอสโก เริ่มต้นด้วยการพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และตามด้วยการพบปะหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 ชาติ ทั้งในซาอุดีอาระเบียและตุรกี . สหรัฐฯกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซียมาตั้งแต่ที่มอสโกรุกรานยูเครนในปี 2022 ในนั้นรวมถึงมาตรการต่างๆที่เล็งเป้าหมายจำกัดรายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอันมหาศาลของประเทศแห่งนี้ และบั่นทอนศักยภาพในการหาทุนในการทำสงคราม . ทรัมป์ ในเดือนมกราคม ขู่ว่าอาจยกระดับมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย หากว่าปูติน ไม่มีความตั้งใจเจรจายุติสงครามในยูเครน แต่เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลทรัมป์ยอมรับอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรมอสโก . สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ว่ารัสเซียอาจได้รับการผ่อนปรนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามีท่าทีอย่างไรต่อการเจรจาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จากนั้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ทรัมป์ เน้นย้ำกับพวกผู้สื่อข่าวว่าอาจมีการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย "ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง" . ทั้งนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามาตรการคว่ำบาตรใด ที่รัฐบาลทรัมป์จะพิจารณายกเลิกเล่นงานรัสเซียเป็นลำดับแรก . จอห์น สมิธ จากบริษัทกฎหมาย Morrison Foerster และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ อาจออกคำสั่งบริหารฉบับหนึ่ง ที่เปิดทางให้รัฐบาลเริ่มกระบวนการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียบางอย่าง แต่เขาจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากสภาคองเกรสในการยกเลิกการคว่ำบาตรนิติบุคคลบางแห่ง . นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา รัสเซีย เสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาสงคราม ด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหารและยกระดับผลผลิตทางอุตสาหกรรม แต่พวกผู้เชี่ยวชาญมองว่าเศรษฐกิจของประเทศแห่งนี้ยังมีความอ่อนแอ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตก . รัสเซียบอกว่าพวกเขาเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยวังเครมลินบอกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่ารัสเซียมีแร่ธาตุแรร์เฮิร์ธมากมาย และเปิดกว้างสำหรับทำข้อตกลงพัฒนาแร่เหล่านี้ หลังจาก ปูติน พูดถึงความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือในเรื่องดังกล่าวกับสหรัฐฯ . แหล่งข่าวเชื่อว่าข้อตกลงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการใดๆ ดูเหมือนจะมีความจำเป็นสำหรับเปิดทางให้สหรัฐฯผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร . ที่ผ่านมา ทรัมป์ หาทางบรรลุข้อตกลงแร่ธาตุกับยูเครน ประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่มหาศาล ในนั้นรวมถึงแร่แรร์เอิร์ธ ในฐานะเป็นสิ่งตอบแทนชดใช้เงินช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ที่สหรัฐฯมอให้แก่เคียฟ อย่างไรก็ตามไม่มีการลงนามในข้อตกลง ตามหลังศึกวิวาทะดุเดือดภายในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาว ระหว่าง ทรัมป์ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020861 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 1828 Views 1 Reviews
  • ทรัมป์-เซนเลนสกีจ่อลงนามข้อตกลง 'แรร์เอิร์ธ' พรุ่งนี้! : คนเคาะข่าว 27-02-68
    : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์

    #ทรัมป์ #เซเลนสกี #แรร์เอิร์ธ #ข้อตกลงแร่หายาก #คนเคาะข่าว #ข่าวต่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก #ความมั่นคง #วิเคราะห์การเมือง #Geopolitics #USA #ยูเครน #พลังงาน #ทรัพยากรธรรมชาติ #ไทยTimes
    ทรัมป์-เซนเลนสกีจ่อลงนามข้อตกลง 'แรร์เอิร์ธ' พรุ่งนี้! : คนเคาะข่าว 27-02-68 : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์ #ทรัมป์ #เซเลนสกี #แรร์เอิร์ธ #ข้อตกลงแร่หายาก #คนเคาะข่าว #ข่าวต่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก #ความมั่นคง #วิเคราะห์การเมือง #Geopolitics #USA #ยูเครน #พลังงาน #ทรัพยากรธรรมชาติ #ไทยTimes
    Like
    Love
    3
    1 Comments 1 Shares 917 Views 10 0 Reviews
  • ยูเครนยอมตกลงในเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงแร่กับสหรัฐฯ และอาจลงนาม จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ยูเครนรายหนึ่ง ในความเคลื่อนไหวที่เคียฟได้แต่หวังว่าจะเป็นตัวปูทางสำหรับการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันในอนาคต
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องยูเครนเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่แรร์เอิร์ธ สำหรับชดใช้เงินหลายแสนล้านดอลลาร์ ในความช่วยเหลือต่างๆ ในช่วงระหว่างสงคราม ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน
    .
    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน เปิดเผยกับเอเอฟพี โดยไม่ประสงค์เอ่ยนามในช่วงค่ำวันอังคาร (25 ก.พ.) ว่าข้อตกลงนี้จะได้เห็นสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาความมั่งคั่งทางแร่ธาตุของยูเครน ในขณะที่ผลกำไรจะไหลเข้าสู่กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ซึ่งจะเป็นกองทุนร่วมระหว่างยูเครนกับอเมริกา
    .
    รายงานข่าวระบุ แหล่งข่าวบอกด้วยว่าร่างข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงการพาดพิงถึง "ความมั่นคง" แต่ไม่กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพันธสัญญาของสหรัฐฯ หนึ่งข้อเรียกร้องหลักของเคียฟ สำหรับข้อตกลงนี้
    .
    "มีประโยคทั่วไปที่บอกว่าอเมริกาจะลงทุนในชาติอธิปไตยยูเครน ที่มีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง และมันรับใช้สันติภาพที่ยั่งยืนและบอกว่าอเมริกาสนับสนุนความพยายามรับประกันความมั่นคง เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกำลังทำงานกันในรายละเอียด" แหล่งข่าวระบุ พร้อมบอกว่าประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน อาจลงนามในข้อตกลงนี้ ระหว่างเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน อย่างเร็วที่สุดในวันศุกร์ (28 ก.พ.)
    .
    ทรัมป์ เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว หันไปเปิดการเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ขณะเดียวกันก็ข่มขู่บรรดาพันธมิตรดั้งเดิมของวอชิงตัน
    .
    นอกจากนี้ ในวอชิงตันยังยืนอยู่ข้างรัสเซีย ณ เวทีสหประชาชาติ ในการลงมติใน 2 ญัตติเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ในขณะที่พวกเขาหาทางหลีกเลี่ยงการประณามใดๆ ต่อกณีมอสโกรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน
    .
    ยูเครน หวังว่าข้อตกลงแร่จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งมึนตึงมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางสงครามน้ำลายระหว่างเซเลนสกีกับผู้นำสหรัฐฯ
    .
    เมื่อเดือนที่แล้ว ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และเรียกร้องให้เขาดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยุติสงคราม หนึ่งวันหลังจากพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐฯ เปิดการพูดคุยหารือกันในซาอุดีอาระเบีย โดยที่ยูเครนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
    .
    จากนั้นในวันเสาร์ (22 ก.พ.) ณ ที่ประชุมของฝ่ายอนุรักษนิยม ทรัมป์เน้นย้ำอีกครั้งว่าเขากำลังพยายามทวงเงินความช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่ส่งไปสนับสนุนยูเครนทำสงครามกับรัสเซีย หลัง เซเลนสกี กล่าวหาผู้นำสหรัฐฯ กำลังใช้ชีวิตอยู่ใน "ฟองสบู่แห่งการบิดเบือนข้อมูลของรัสเซีย"
    .
    ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เคยเรียกร้องขอแร่แร์เฮิร์ธ มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ แลกกับความช่วยเหลือที่เคยมอบให้เคียฟ ตัวเลขที่ยูเครนลังเลที่จะตอบรับ และไม่สอดคล้องกับตัวเลขความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ
    .
    แหล่งข่าวบอกว่าวอชิงตันตัดข้อแม้นี้ออกไป เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยกับยูเครน "พวกเขาถอนเงื่อนไขทั้งหมดที่ไม่เหมาะกับเรา"
    .
    อ้างอิงข้อมูลอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือทางทหารแก่เคียฟไปแล้วมากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดในหมู่พันธมิตรของเคียฟ แต่ต่ำกว่าตัวเลข 500,000 ล้านดอลลาร์ ตามที่ทรัมป์กล่าวอ้าง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018794
    ..............
    Sondhi X
    ยูเครนยอมตกลงในเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงแร่กับสหรัฐฯ และอาจลงนาม จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ยูเครนรายหนึ่ง ในความเคลื่อนไหวที่เคียฟได้แต่หวังว่าจะเป็นตัวปูทางสำหรับการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันในอนาคต . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องยูเครนเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่แรร์เอิร์ธ สำหรับชดใช้เงินหลายแสนล้านดอลลาร์ ในความช่วยเหลือต่างๆ ในช่วงระหว่างสงคราม ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน . แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน เปิดเผยกับเอเอฟพี โดยไม่ประสงค์เอ่ยนามในช่วงค่ำวันอังคาร (25 ก.พ.) ว่าข้อตกลงนี้จะได้เห็นสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาความมั่งคั่งทางแร่ธาตุของยูเครน ในขณะที่ผลกำไรจะไหลเข้าสู่กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ซึ่งจะเป็นกองทุนร่วมระหว่างยูเครนกับอเมริกา . รายงานข่าวระบุ แหล่งข่าวบอกด้วยว่าร่างข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงการพาดพิงถึง "ความมั่นคง" แต่ไม่กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพันธสัญญาของสหรัฐฯ หนึ่งข้อเรียกร้องหลักของเคียฟ สำหรับข้อตกลงนี้ . "มีประโยคทั่วไปที่บอกว่าอเมริกาจะลงทุนในชาติอธิปไตยยูเครน ที่มีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง และมันรับใช้สันติภาพที่ยั่งยืนและบอกว่าอเมริกาสนับสนุนความพยายามรับประกันความมั่นคง เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกำลังทำงานกันในรายละเอียด" แหล่งข่าวระบุ พร้อมบอกว่าประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน อาจลงนามในข้อตกลงนี้ ระหว่างเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน อย่างเร็วที่สุดในวันศุกร์ (28 ก.พ.) . ทรัมป์ เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว หันไปเปิดการเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ขณะเดียวกันก็ข่มขู่บรรดาพันธมิตรดั้งเดิมของวอชิงตัน . นอกจากนี้ ในวอชิงตันยังยืนอยู่ข้างรัสเซีย ณ เวทีสหประชาชาติ ในการลงมติใน 2 ญัตติเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ในขณะที่พวกเขาหาทางหลีกเลี่ยงการประณามใดๆ ต่อกณีมอสโกรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน . ยูเครน หวังว่าข้อตกลงแร่จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งมึนตึงมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางสงครามน้ำลายระหว่างเซเลนสกีกับผู้นำสหรัฐฯ . เมื่อเดือนที่แล้ว ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และเรียกร้องให้เขาดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยุติสงคราม หนึ่งวันหลังจากพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐฯ เปิดการพูดคุยหารือกันในซาอุดีอาระเบีย โดยที่ยูเครนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ . จากนั้นในวันเสาร์ (22 ก.พ.) ณ ที่ประชุมของฝ่ายอนุรักษนิยม ทรัมป์เน้นย้ำอีกครั้งว่าเขากำลังพยายามทวงเงินความช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่ส่งไปสนับสนุนยูเครนทำสงครามกับรัสเซีย หลัง เซเลนสกี กล่าวหาผู้นำสหรัฐฯ กำลังใช้ชีวิตอยู่ใน "ฟองสบู่แห่งการบิดเบือนข้อมูลของรัสเซีย" . ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เคยเรียกร้องขอแร่แร์เฮิร์ธ มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ แลกกับความช่วยเหลือที่เคยมอบให้เคียฟ ตัวเลขที่ยูเครนลังเลที่จะตอบรับ และไม่สอดคล้องกับตัวเลขความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ . แหล่งข่าวบอกว่าวอชิงตันตัดข้อแม้นี้ออกไป เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยกับยูเครน "พวกเขาถอนเงื่อนไขทั้งหมดที่ไม่เหมาะกับเรา" . อ้างอิงข้อมูลอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือทางทหารแก่เคียฟไปแล้วมากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดในหมู่พันธมิตรของเคียฟ แต่ต่ำกว่าตัวเลข 500,000 ล้านดอลลาร์ ตามที่ทรัมป์กล่าวอ้าง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018794 .............. Sondhi X
    Like
    9
    0 Comments 0 Shares 2315 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันจันทร์(24ก.พ.) เปิดเผยว่าเขาพร้อมเปิดทางให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแร่ธาตุยุทธศาตร์ต่างๆ ในดินแดนยูเครน ที่อยู่ภายใต้การยึดครองของยูเครน ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการโน้มน้าวใจประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งอเมริกา ที่พยายามกดดันให้เคียฟลงนามในข้อตกลง ไฟเขียวให้วอชิงตันเข้าถึงทรัพยากรแร่อันมีค่า
    .
    ปูติน แสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ ว่ารัสเซียพร้อมทำงานร่วมกันคู่หูต่างชาติ ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในการพัฒนาแหล่งสำรองแร่ธาตุหายากและแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งรวมไปถึงใน "แคว้นใหม่ของเรา" อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้ ยูเครน ลงนามในข้อตกลงหนึ่ง ที่เปิดทางให้สิทธิพิเศษแก่อเมริกาเข้าถึงแหล่งสำรองแร่อันมีค่าของยูเครน
    .
    การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนครั้งนี้ของปูติน มีขึ้นหลังจากเขาเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพยกรแร่หายากและแร่แร์เฮิร์ธของรัสเซีย ที่มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ โดยเขาระบุว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในแง่ของแหล่งสำรอง มีมากกว่าในยูเครนอยู่มากมายมหาศาล และ "จำเป็นต้องดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่" กับทรัพยากรเหล่านั้น
    .
    "เราจะทำงานด้วยความยินดีกับคู่หูต่างชาติทุกราย ในนั้นรวมถึงอเมริกา" เขากล่าว พร้อมระบุถึงแคว้นต่างๆที่พบแร่ธาตุหายากเหล่านั้น ในนั้นรวมถึงไซบีเรียและทางตะวันออกไกลของรัสเซีย "เราพร้อมดึงดูดคู่หูต่างชาติเข้ามายังสิ่งที่เราเรียกว่า ดินแดนใหม่ ดินแดนประวัติศาสตร์ของเราที่กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย" ปูติน อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครน ที่ทางรัสเซียเข้ายึดครองผ่านการรุกรานทางทหาร
    .
    "แน่นอนว่ามีแหล่งสำรองอยู่ที่นั่นด้วย เราพร้อมทำงานร่วมกับคู่หูของเรา ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในแคว้นใหม่ทั้งหลายของเราเช่นกัน" ปูตินระบุ พร้อมยืนยันว่าเวลานี้บรรดาบริษัทสหรัฐฯและรัสเซียอยู่ระหว่างการติดต่อและหารือกันเกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจร่วมต่างๆนานา ที่เกี่ยวข้องกับการคลี่คลายความขัดแย้งในยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018395
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันจันทร์(24ก.พ.) เปิดเผยว่าเขาพร้อมเปิดทางให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแร่ธาตุยุทธศาตร์ต่างๆ ในดินแดนยูเครน ที่อยู่ภายใต้การยึดครองของยูเครน ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการโน้มน้าวใจประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งอเมริกา ที่พยายามกดดันให้เคียฟลงนามในข้อตกลง ไฟเขียวให้วอชิงตันเข้าถึงทรัพยากรแร่อันมีค่า . ปูติน แสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ ว่ารัสเซียพร้อมทำงานร่วมกันคู่หูต่างชาติ ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในการพัฒนาแหล่งสำรองแร่ธาตุหายากและแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งรวมไปถึงใน "แคว้นใหม่ของเรา" อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้ ยูเครน ลงนามในข้อตกลงหนึ่ง ที่เปิดทางให้สิทธิพิเศษแก่อเมริกาเข้าถึงแหล่งสำรองแร่อันมีค่าของยูเครน . การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนครั้งนี้ของปูติน มีขึ้นหลังจากเขาเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพยกรแร่หายากและแร่แร์เฮิร์ธของรัสเซีย ที่มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ โดยเขาระบุว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในแง่ของแหล่งสำรอง มีมากกว่าในยูเครนอยู่มากมายมหาศาล และ "จำเป็นต้องดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่" กับทรัพยากรเหล่านั้น . "เราจะทำงานด้วยความยินดีกับคู่หูต่างชาติทุกราย ในนั้นรวมถึงอเมริกา" เขากล่าว พร้อมระบุถึงแคว้นต่างๆที่พบแร่ธาตุหายากเหล่านั้น ในนั้นรวมถึงไซบีเรียและทางตะวันออกไกลของรัสเซีย "เราพร้อมดึงดูดคู่หูต่างชาติเข้ามายังสิ่งที่เราเรียกว่า ดินแดนใหม่ ดินแดนประวัติศาสตร์ของเราที่กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย" ปูติน อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครน ที่ทางรัสเซียเข้ายึดครองผ่านการรุกรานทางทหาร . "แน่นอนว่ามีแหล่งสำรองอยู่ที่นั่นด้วย เราพร้อมทำงานร่วมกับคู่หูของเรา ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในแคว้นใหม่ทั้งหลายของเราเช่นกัน" ปูตินระบุ พร้อมยืนยันว่าเวลานี้บรรดาบริษัทสหรัฐฯและรัสเซียอยู่ระหว่างการติดต่อและหารือกันเกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจร่วมต่างๆนานา ที่เกี่ยวข้องกับการคลี่คลายความขัดแย้งในยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018395 .............. Sondhi X
    Like
    13
    0 Comments 0 Shares 2257 Views 0 Reviews
  • วอชิงตันคาดหมายว่าเคียฟจะจ่ายคืนสหรัฐฯ สำหรับสิ่งต่างๆที่อเมริกาได้ลงทุนไปในความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย จากคำกล่าวของ ไมเคล วอลท์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เมื่อวันอาทิตย์(16ก.พ.) เขาอ้างว่าการชดใช้คืนประชาชนชาวอเมริกา เป็นหนทางที่ดีที่สุดสหรับยูเครน สำหรับรับประกันว่าจะยังคงได้รับความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต
    .
    ความเห็นของวอล์ทซ มีขึ้นหลังจากมีข่าวว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธลงนามในเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ให้สิทธิอเมริกาเข้าถึงแหล่งแร่ในอนาคตของยูเครน 50% และพยายามหาข้อตกลงที่ดีกว่านั้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้ เรียกร้องแร่แรร์เอิร์ทในมูลค่าเทียบเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ จากยูเครน แลกกับเงินที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟไปแล้วกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของความช่วยเหลือต่างๆนานา ท่ามกลางความขัดแย้งกับมอสโก
    .
    "ประชาชนชาวอเมริกาควรได้รับการหักลบกลบหนี้ ควรได้รับการจ่ายคืนในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด สำหรับเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ที่พวกเขาลงทุนไปในสงครามนี้" วอลท์ซกล่าวในวันอาทิตย์(16ก.พ.) "ผมคิดว่า คงไม่มีสิ่งใดที่สามารถทำให้ประชาชนชาวอเมริกามีความสบายใจกับการลงทุนในอนาคตได้ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอเมริกา"
    .
    ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติบอกด้วยว่า "เซเลนสกีจะฉลาดมาก หากเข้าสู่ข้อตกลงนี้กับสหรัฐฯ"
    .
    ก่อนหน้านี้ เซเลนสกี เคยเน้นย้ำว่าเขาต้องการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่แค่เพียงส่งมอบทรัพยากรทางธรรมชาติของยูเครนให้สหรัฐไปเฉยๆ ขณะเดียวกัน เดนิส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน เสนออนุมัติให้อียูเข้าถึงทรัพยากรของยูเครนเช่นกัน แลกกับความร่วมมือกับเคียฟและการลงทุนในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ
    .
    วอลท์ซ อ้างว่าสหรัฐฯแบกรับภาระหนักในความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินที่ตะวันตกมอบให้แก่เคียฟ โดยอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2022 ในนั้นส่วนหนึ่งในเงินดังกล่าว ได้ส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมต่างๆของอเมริกาและความเคลื่อนไหวต่างๆของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อการศึกษาเศรษฐกิจโลก พบว่าจนถึงเดือนตุลาคม 2024 สหรัฐฯมอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางการเงินแก่ยูเครนไปแล้วราวๆ 92,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบรรดาชาติอียูและสหราชอาณาจักร จัดสรรงบประมาณรวมกัน 131,000 ล้านดอลลาร์
    .
    รายงานของเวิลด์อีโคโนมิค ฟอรัม ในปี 2024 เน้นว่ายูเครนมีศักยภาพล้นเหลือในฐานะผู้จัดหารายใหญ่ของโลก สำหรับป้อนวัตถุดิบสำคัญๆที่จำเป็นในด้านกลาโหม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้แล้วประเทศแห่งนี้ยังมีแหล่งสำรองลิเธียมและไททาเนียมใหญ่ที่สุดในยุโรป แม้ทั้ง 2 ชนิด ไม่ถูกจัดว่าเป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ
    .
    อย่างไรก็ตาม เซเลนสกี เคยยอมรับว่าดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่นั้น เวลานี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียและอ้างอิงข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บส์ พบว่าความมั่นคงด้านแร่ธาตุในอดีตของยูเครน มูลค่าราวๆ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี 2022
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015547
    ..............
    Sondhi X
    วอชิงตันคาดหมายว่าเคียฟจะจ่ายคืนสหรัฐฯ สำหรับสิ่งต่างๆที่อเมริกาได้ลงทุนไปในความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย จากคำกล่าวของ ไมเคล วอลท์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เมื่อวันอาทิตย์(16ก.พ.) เขาอ้างว่าการชดใช้คืนประชาชนชาวอเมริกา เป็นหนทางที่ดีที่สุดสหรับยูเครน สำหรับรับประกันว่าจะยังคงได้รับความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต . ความเห็นของวอล์ทซ มีขึ้นหลังจากมีข่าวว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธลงนามในเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ให้สิทธิอเมริกาเข้าถึงแหล่งแร่ในอนาคตของยูเครน 50% และพยายามหาข้อตกลงที่ดีกว่านั้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้ เรียกร้องแร่แรร์เอิร์ทในมูลค่าเทียบเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ จากยูเครน แลกกับเงินที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟไปแล้วกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของความช่วยเหลือต่างๆนานา ท่ามกลางความขัดแย้งกับมอสโก . "ประชาชนชาวอเมริกาควรได้รับการหักลบกลบหนี้ ควรได้รับการจ่ายคืนในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด สำหรับเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ที่พวกเขาลงทุนไปในสงครามนี้" วอลท์ซกล่าวในวันอาทิตย์(16ก.พ.) "ผมคิดว่า คงไม่มีสิ่งใดที่สามารถทำให้ประชาชนชาวอเมริกามีความสบายใจกับการลงทุนในอนาคตได้ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอเมริกา" . ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติบอกด้วยว่า "เซเลนสกีจะฉลาดมาก หากเข้าสู่ข้อตกลงนี้กับสหรัฐฯ" . ก่อนหน้านี้ เซเลนสกี เคยเน้นย้ำว่าเขาต้องการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่แค่เพียงส่งมอบทรัพยากรทางธรรมชาติของยูเครนให้สหรัฐไปเฉยๆ ขณะเดียวกัน เดนิส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน เสนออนุมัติให้อียูเข้าถึงทรัพยากรของยูเครนเช่นกัน แลกกับความร่วมมือกับเคียฟและการลงทุนในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ . วอลท์ซ อ้างว่าสหรัฐฯแบกรับภาระหนักในความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินที่ตะวันตกมอบให้แก่เคียฟ โดยอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2022 ในนั้นส่วนหนึ่งในเงินดังกล่าว ได้ส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมต่างๆของอเมริกาและความเคลื่อนไหวต่างๆของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง . อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อการศึกษาเศรษฐกิจโลก พบว่าจนถึงเดือนตุลาคม 2024 สหรัฐฯมอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางการเงินแก่ยูเครนไปแล้วราวๆ 92,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบรรดาชาติอียูและสหราชอาณาจักร จัดสรรงบประมาณรวมกัน 131,000 ล้านดอลลาร์ . รายงานของเวิลด์อีโคโนมิค ฟอรัม ในปี 2024 เน้นว่ายูเครนมีศักยภาพล้นเหลือในฐานะผู้จัดหารายใหญ่ของโลก สำหรับป้อนวัตถุดิบสำคัญๆที่จำเป็นในด้านกลาโหม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้แล้วประเทศแห่งนี้ยังมีแหล่งสำรองลิเธียมและไททาเนียมใหญ่ที่สุดในยุโรป แม้ทั้ง 2 ชนิด ไม่ถูกจัดว่าเป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ . อย่างไรก็ตาม เซเลนสกี เคยยอมรับว่าดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่นั้น เวลานี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียและอ้างอิงข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บส์ พบว่าความมั่นคงด้านแร่ธาตุในอดีตของยูเครน มูลค่าราวๆ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี 2022 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015547 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    10
    1 Comments 0 Shares 1624 Views 1 Reviews
  • เซเลนสกีเผยเอง สั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีลงนามทำความตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุมีค่า รวมทั้งแรร์เอิร์ธ ของยูเครน เนื่องจากข้อเสนอของวอชิงตันเน้นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ มากเกินไป แต่ละเลยการรับประกันความมั่นคงของเคียฟอย่างเฉพาะเจาะจง ด้านทำเนียบขาวโต้ผู้นำยูเครนมองข้ามโอกาสระยะยาว อ้างลอยๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาคือการรับประกันที่จะป้องกันการถูกรุกรานในอนาคตและเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน
    .
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะร่วมการประชุมความมั่นคงประจำปีที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ว่า เขาออกคำสั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีของยูเครนลงนามในร่างข้อตกลงที่ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอมา เนื่องจากมองว่า อเมริกาไม่พร้อมปกป้องยูเครน
    .
    พวกเจ้าหน้าที่ของยูเครนทั้งในปัจจุบันและในอดีต ซึ่งรับรู้ข้อมูลการเจรจาเผยว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่เป็นประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีเซเลนสกีเป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายเคียฟ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายวอชิงตัน ระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายต่างเดินทางไปร่วมงานประชุมความมั่นคงมิวนิกเมื่อวันศุกร์ (14 ) นั้น มุ่งเน้นเพียงว่า อเมริกาจะสามารถใช้แร่ธาตุมีค่า ตลอดจน แรร์เอิร์ธ ของยูเครนเป็นค่าชดเชยความช่วยเหลือที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และความช่วยเหลือที่จะมีขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร
    .
    ทั้งนี้ ยูเครนเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่สำคัญๆ หลายตัวอุดมสมบูรณ์มาก โดยแร่เหล่านั้นนำไปใช้ในการผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมกลาโหมและนิวเคลียร์ ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า สนใจเข้าถึงแร่เหล่านั้นเพื่อลดการพึ่งพาจีน ทว่า เซเลนสกียื่นข้อแลกเปลี่ยนให้อเมริกาให้การรับประกันความมั่นคงแก่ยูเครนจากการรุกรานของรัสเซียในอนาคต
    .
    เซเลนสกีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า เหตุใดจึงห้ามเจ้าหน้าที่ยูเครนลงนามข้อตกลงดังกล่าวที่ สกอตต์ แบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ยื่นให้พิจารณาระหว่างที่เขาไปเยือนเคียฟเมื่อวันพุธ (12) ทว่า อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนคนหนึ่งระบุว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาแบบข้อตกลงล่าอาณานิคม เซเลนสกีจึงไม่อาจยอมรับได้
    .
    ทางด้านไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ไม่ได้ยืนยันโดยตรงเกี่ยวกับข้อเสนอที่เป็นปัญหา แต่แถลงว่า เซเลนสกีมองการณ์แค่สั้นๆ เกี่ยวกับโอกาสที่ดีเยี่ยมที่คณะบริหารทรัมป์หยิบยื่นให้ยูเครน เนื่องจากข้อตกลงแร่ธาตุหายากของยูเครนนี้ จะทำให้ผู้เสียภาษีในอเมริกาได้เงินที่ส่งไปช่วยเคียฟคืน ขณะที่เศรษฐกิจยูเครนก็จะเจริญเติบโต
    .
    เขาสำทับว่า ทำเนียบขาวเชื่อว่า การที่ยูเครนเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาเป็นการรับประกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน ซึ่งยูเครนจำเป็นต้องยอมรับประเด็นนี้เช่นเดียวกับที่อเมริกาและรัสเซียต่างยอมรับ
    .
    ทว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนแจงว่า ระหว่างการหารือในมิวนิก เจ้าหน้าที่อเมริกันคิดแต่เรื่องการค้าและมุ่งเน้นประเด็นการสำรวจแร่และรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจแร่ร่วมกับยูเครน แต่ไม่มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าที่เป็นไปได้ของแหล่งแร่ในยูเครนซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ หรือว่ายังเข้าไปสำรวจขุดค้นไม่ได้เนื่องจากอยู่ใกล้แนวรบ
    .
    นอกจากนั้นข้อเสนอของอเมริกายังไม่ได้กล่าวถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยแหล่งแร่ในกรณีที่รัสเซียยังคงสู้รบในยูเครน รวมทั้งไม่มีคำตอบเกี่ยวกับวิธีถลุงแร่ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและโครงสร้างพื้นฐานของยูเครน
    .
    เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนสำทับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายของยูเครน และได้รับการยอมรับจากประชาชนยูเครน
    .
    กระนั้นก็ตาม เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่า เซเลนสกีและแวนซ์ไม่ได้หารือรายละเอียดของข้อเสนอของอเมริการะหว่างพบกันเมื่อวันศุกร์ และการประชุมเป็นไปอย่างดีมากและมีสาระสำคัญ โดยแวนซ์กล่าวชัดเจนว่า เป้าหมายหลักของทรัมป์คือการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนและยาวนาน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015542
    ..............
    Sondhi X
    เซเลนสกีเผยเอง สั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีลงนามทำความตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุมีค่า รวมทั้งแรร์เอิร์ธ ของยูเครน เนื่องจากข้อเสนอของวอชิงตันเน้นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ มากเกินไป แต่ละเลยการรับประกันความมั่นคงของเคียฟอย่างเฉพาะเจาะจง ด้านทำเนียบขาวโต้ผู้นำยูเครนมองข้ามโอกาสระยะยาว อ้างลอยๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาคือการรับประกันที่จะป้องกันการถูกรุกรานในอนาคตและเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน . ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะร่วมการประชุมความมั่นคงประจำปีที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ว่า เขาออกคำสั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีของยูเครนลงนามในร่างข้อตกลงที่ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอมา เนื่องจากมองว่า อเมริกาไม่พร้อมปกป้องยูเครน . พวกเจ้าหน้าที่ของยูเครนทั้งในปัจจุบันและในอดีต ซึ่งรับรู้ข้อมูลการเจรจาเผยว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่เป็นประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีเซเลนสกีเป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายเคียฟ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายวอชิงตัน ระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายต่างเดินทางไปร่วมงานประชุมความมั่นคงมิวนิกเมื่อวันศุกร์ (14 ) นั้น มุ่งเน้นเพียงว่า อเมริกาจะสามารถใช้แร่ธาตุมีค่า ตลอดจน แรร์เอิร์ธ ของยูเครนเป็นค่าชดเชยความช่วยเหลือที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และความช่วยเหลือที่จะมีขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร . ทั้งนี้ ยูเครนเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่สำคัญๆ หลายตัวอุดมสมบูรณ์มาก โดยแร่เหล่านั้นนำไปใช้ในการผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมกลาโหมและนิวเคลียร์ ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า สนใจเข้าถึงแร่เหล่านั้นเพื่อลดการพึ่งพาจีน ทว่า เซเลนสกียื่นข้อแลกเปลี่ยนให้อเมริกาให้การรับประกันความมั่นคงแก่ยูเครนจากการรุกรานของรัสเซียในอนาคต . เซเลนสกีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า เหตุใดจึงห้ามเจ้าหน้าที่ยูเครนลงนามข้อตกลงดังกล่าวที่ สกอตต์ แบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ยื่นให้พิจารณาระหว่างที่เขาไปเยือนเคียฟเมื่อวันพุธ (12) ทว่า อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนคนหนึ่งระบุว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาแบบข้อตกลงล่าอาณานิคม เซเลนสกีจึงไม่อาจยอมรับได้ . ทางด้านไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ไม่ได้ยืนยันโดยตรงเกี่ยวกับข้อเสนอที่เป็นปัญหา แต่แถลงว่า เซเลนสกีมองการณ์แค่สั้นๆ เกี่ยวกับโอกาสที่ดีเยี่ยมที่คณะบริหารทรัมป์หยิบยื่นให้ยูเครน เนื่องจากข้อตกลงแร่ธาตุหายากของยูเครนนี้ จะทำให้ผู้เสียภาษีในอเมริกาได้เงินที่ส่งไปช่วยเคียฟคืน ขณะที่เศรษฐกิจยูเครนก็จะเจริญเติบโต . เขาสำทับว่า ทำเนียบขาวเชื่อว่า การที่ยูเครนเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาเป็นการรับประกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน ซึ่งยูเครนจำเป็นต้องยอมรับประเด็นนี้เช่นเดียวกับที่อเมริกาและรัสเซียต่างยอมรับ . ทว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนแจงว่า ระหว่างการหารือในมิวนิก เจ้าหน้าที่อเมริกันคิดแต่เรื่องการค้าและมุ่งเน้นประเด็นการสำรวจแร่และรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจแร่ร่วมกับยูเครน แต่ไม่มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าที่เป็นไปได้ของแหล่งแร่ในยูเครนซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ หรือว่ายังเข้าไปสำรวจขุดค้นไม่ได้เนื่องจากอยู่ใกล้แนวรบ . นอกจากนั้นข้อเสนอของอเมริกายังไม่ได้กล่าวถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยแหล่งแร่ในกรณีที่รัสเซียยังคงสู้รบในยูเครน รวมทั้งไม่มีคำตอบเกี่ยวกับวิธีถลุงแร่ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและโครงสร้างพื้นฐานของยูเครน . เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนสำทับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายของยูเครน และได้รับการยอมรับจากประชาชนยูเครน . กระนั้นก็ตาม เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่า เซเลนสกีและแวนซ์ไม่ได้หารือรายละเอียดของข้อเสนอของอเมริการะหว่างพบกันเมื่อวันศุกร์ และการประชุมเป็นไปอย่างดีมากและมีสาระสำคัญ โดยแวนซ์กล่าวชัดเจนว่า เป้าหมายหลักของทรัมป์คือการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนและยาวนาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015542 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    7
    0 Comments 0 Shares 1571 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์ย้ำต้องการได้แร่แรร์เอิร์ธจากยูเครน เพื่อรับประกันว่า อเมริกาจะได้ผลตอบแทนจากความช่วยเหลือจำนวนมหาศาลที่ให้แก่เคียฟ ไม่ว่ายูเครนจะตกเป็นของรัสเซียในวันหนึ่งวันใดหรือไม่ก็ตาม
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเบร็ต ไบเออร์ ผู้ดำเนินรายการของฟ็อกซ์ นิวส์ ที่ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ (10 ก.พ.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า อเมริกาให้ความช่วยเหลือยูเครนในรูปแบบต่างๆ รวมเป็นมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ หรืออาจถึง 350,000 ล้านดอลลาร์ และเสริมว่า วอชิงตันคงรู้สึกโง่มากถ้ายังคงให้ความช่วยเหลือต่อไปโดยไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย
    .
    ประมุขทำเนียบขาวยังบอกอีกว่า ยูเครนมีดินแดนที่อุดมด้วยแร่มีค่าต่างๆ รวมทั้งแรร์เอิร์ธ น้ำมัน และก๊าซ และตนได้บอกชัดเจนว่า ต้องการแรร์เอิร์ธมูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเคียฟตอบตกลงแล้ว
    .
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ได้แถลงยืนยันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พร้อมทำข้อตกลงกับอเมริกาเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน เช่น ลิเธียม ไทเทเนียม แต่ยืนกรานว่า พันธมิตรตะวันตกต้องช่วยผลักดันกองทัพรัสเซียออกจากดินแดนที่อุดมด้วยแร่ธาตุของยูเครนก่อนจึงจะสามารถเข้าไปลงทุนได้
    .
    นอกจากนั้น ทรัมป์ยังยืนยันว่า เร็วๆ นี้ คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ และได้รับมอบหมายให้ร่างข้อเสนอเพื่อยุติการสู้รบระหว่างเคียฟกับมอสโก กำลังจะเดินทางไปยูเครน ซึ่งแหล่งข่าวในสำนักงานประธานาธิบดียูเครนเผยว่า เคลล็อกจะเดินทางถึงเคียฟวันที่ 20 ที่จะถึง หรือก่อนวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียบุกยูเครน 4 วัน
    .
    ทั้งนี้ ทรัมป์กำลังพยายามผลักดันเพื่อยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน ขณะที่เซเลนสกี้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันก่อนทำข้อตกลงกับรัสเซีย เนื่องจากกลัวว่า หากปราศจากคำมั่นสัญญาทางทหาร เช่น การได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) หรือการมีกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาประจำในยูเครน การยุติสงครามจะกลายเป็นการต่อเวลาให้เครมลินได้รวบรวมสรรพกำลังและกลับเข้าโจมตียูเครนอีกครั้ง
    .
    ขณะเดียวกัน เซียร์กี นิคิโฟรอฟ โฆษกของเซเลนสกี้ เผยว่า ประธานาธิบดียูเครนจะพบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ของอเมริกาในวันศุกร์ (14 ก.พ.) ระหว่างที่ทั้งคู่ต่างเดินทางไปร่วมเวทีการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก ทางภาคใต้ของเยอรมนี
    .
    ทรัมป์ประกาศมานานแล้วว่า ต้องการเป็นตัวกลางเพื่อให้สงครามในยูเครนยุติลง แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดข้อสนอในการนำเซเลนสกี้และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สู่โต๊ะเจรจา โดยที่ก่อนหน้านี้ทั้งคู่ต่างเคยยืนกรานว่า จะไม่หารือกันโดยตรง และขณะนี้ก็มีเหตุผลน้อยมากที่จะทำให้ผู้นำทั้งสองประเทศเปลี่ยนใจ
    .
    ปูตินนั้นเรียกร้องให้ยูเครนถอนออกไปจาก 4 แคว้นทางภาคใต้และภาคตะวันออกที่กองกำลังรัสเซียยึดพื้นที่เอาไว้ได้บางส่วน ได้แก่ โดเนตสก์ เคียร์ซอน ลูกันสก์ และซาโปริซเซีย โดยที่แดนหมีขาวได้ประกาศผนวกดินแดนเหล่านี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นก็ต้องการให้เคียฟยุติแผนการเข้าเป็นสมาชิกนาโต
    .
    ทว่า เซเลนสกี้ปฏิเสธการยกดินแดนให้มอสโก แม้ยอมรับว่าคงไม่สามารถเอาชนะรัสเซียด้วยกำลังทหาร และต้องพึ่งแนวทางการทูตเพื่อให้ได้ดินแดนเหล่านั้นกลับคืนมาก็ตาม
    .
    ผู้นำยูเครนยังเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า กำลังมีการจัดเตรียมสำหรับการพบปะระหว่างตนกับทรัมป์ แต่ไม่ได้เปิดเผยวันเวลาที่แน่นอน ขณะที่ทรัมป์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อาจพบกับเซเลนสกี้ในอีกไม่กี่วันนี้ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนเดินทางไปเคียฟ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013980
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ย้ำต้องการได้แร่แรร์เอิร์ธจากยูเครน เพื่อรับประกันว่า อเมริกาจะได้ผลตอบแทนจากความช่วยเหลือจำนวนมหาศาลที่ให้แก่เคียฟ ไม่ว่ายูเครนจะตกเป็นของรัสเซียในวันหนึ่งวันใดหรือไม่ก็ตาม . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเบร็ต ไบเออร์ ผู้ดำเนินรายการของฟ็อกซ์ นิวส์ ที่ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ (10 ก.พ.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า อเมริกาให้ความช่วยเหลือยูเครนในรูปแบบต่างๆ รวมเป็นมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ หรืออาจถึง 350,000 ล้านดอลลาร์ และเสริมว่า วอชิงตันคงรู้สึกโง่มากถ้ายังคงให้ความช่วยเหลือต่อไปโดยไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย . ประมุขทำเนียบขาวยังบอกอีกว่า ยูเครนมีดินแดนที่อุดมด้วยแร่มีค่าต่างๆ รวมทั้งแรร์เอิร์ธ น้ำมัน และก๊าซ และตนได้บอกชัดเจนว่า ต้องการแรร์เอิร์ธมูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเคียฟตอบตกลงแล้ว . ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ ได้แถลงยืนยันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พร้อมทำข้อตกลงกับอเมริกาเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน เช่น ลิเธียม ไทเทเนียม แต่ยืนกรานว่า พันธมิตรตะวันตกต้องช่วยผลักดันกองทัพรัสเซียออกจากดินแดนที่อุดมด้วยแร่ธาตุของยูเครนก่อนจึงจะสามารถเข้าไปลงทุนได้ . นอกจากนั้น ทรัมป์ยังยืนยันว่า เร็วๆ นี้ คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษดูแลเรื่องยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ และได้รับมอบหมายให้ร่างข้อเสนอเพื่อยุติการสู้รบระหว่างเคียฟกับมอสโก กำลังจะเดินทางไปยูเครน ซึ่งแหล่งข่าวในสำนักงานประธานาธิบดียูเครนเผยว่า เคลล็อกจะเดินทางถึงเคียฟวันที่ 20 ที่จะถึง หรือก่อนวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียบุกยูเครน 4 วัน . ทั้งนี้ ทรัมป์กำลังพยายามผลักดันเพื่อยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน ขณะที่เซเลนสกี้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันก่อนทำข้อตกลงกับรัสเซีย เนื่องจากกลัวว่า หากปราศจากคำมั่นสัญญาทางทหาร เช่น การได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) หรือการมีกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาประจำในยูเครน การยุติสงครามจะกลายเป็นการต่อเวลาให้เครมลินได้รวบรวมสรรพกำลังและกลับเข้าโจมตียูเครนอีกครั้ง . ขณะเดียวกัน เซียร์กี นิคิโฟรอฟ โฆษกของเซเลนสกี้ เผยว่า ประธานาธิบดียูเครนจะพบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ของอเมริกาในวันศุกร์ (14 ก.พ.) ระหว่างที่ทั้งคู่ต่างเดินทางไปร่วมเวทีการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก ทางภาคใต้ของเยอรมนี . ทรัมป์ประกาศมานานแล้วว่า ต้องการเป็นตัวกลางเพื่อให้สงครามในยูเครนยุติลง แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดข้อสนอในการนำเซเลนสกี้และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สู่โต๊ะเจรจา โดยที่ก่อนหน้านี้ทั้งคู่ต่างเคยยืนกรานว่า จะไม่หารือกันโดยตรง และขณะนี้ก็มีเหตุผลน้อยมากที่จะทำให้ผู้นำทั้งสองประเทศเปลี่ยนใจ . ปูตินนั้นเรียกร้องให้ยูเครนถอนออกไปจาก 4 แคว้นทางภาคใต้และภาคตะวันออกที่กองกำลังรัสเซียยึดพื้นที่เอาไว้ได้บางส่วน ได้แก่ โดเนตสก์ เคียร์ซอน ลูกันสก์ และซาโปริซเซีย โดยที่แดนหมีขาวได้ประกาศผนวกดินแดนเหล่านี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นก็ต้องการให้เคียฟยุติแผนการเข้าเป็นสมาชิกนาโต . ทว่า เซเลนสกี้ปฏิเสธการยกดินแดนให้มอสโก แม้ยอมรับว่าคงไม่สามารถเอาชนะรัสเซียด้วยกำลังทหาร และต้องพึ่งแนวทางการทูตเพื่อให้ได้ดินแดนเหล่านั้นกลับคืนมาก็ตาม . ผู้นำยูเครนยังเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า กำลังมีการจัดเตรียมสำหรับการพบปะระหว่างตนกับทรัมป์ แต่ไม่ได้เปิดเผยวันเวลาที่แน่นอน ขณะที่ทรัมป์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อาจพบกับเซเลนสกี้ในอีกไม่กี่วันนี้ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนเดินทางไปเคียฟ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013980 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 Comments 0 Shares 2043 Views 0 Reviews
  • รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม
    .
    มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด
    .
    ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม
    .
    สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด
    .
    ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง
    .
    เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง
    .
    ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม
    .
    อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม
    .
    นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย
    .
    ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย
    .
    ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย
    .
    จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน
    .
    ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน
    .
    ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539
    ..............
    Sondhi X
    รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม . มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด . ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม . สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย . ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด . ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง . เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง . ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม . อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม . นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย . ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย . ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย . จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน . ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน . ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Yay
    4
    0 Comments 0 Shares 1826 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เผยว่าได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นที่เรียบร้อยแล้วผ่านทางโทรศัพท์ เกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ถือเป็นสนทนากันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกระหว่าง ปูตินกับผู้นำรายหนึ่งๆของอเมริกา นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ รับปากยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ยังไม่เคยพูดกับสาธารณะชนว่าเขาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาบอกว่าอเมริกากำลังพูดคุยกับทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครน เกี่ยวกับการคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติม
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์บนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันเมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกกับนิวยอร์กโพสต์ว่า คงจะดีกว่าที่ไม่บอกว่าเขาพูดคุยกับปูตินไปแล้วกี่ครั้งและหลายครั้งมากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เปิดเผยด้วยว่าครั้งสุดท้ายของการสนทนากันนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ "เขา(ปูติน) อยากเห็นผู้คนหยุดบาดเจ็บล้มตาย" ทรัมป์กล่าว
    .
    ด้าน ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวทาสส์นิวส์ สื่อมวลชนแห่งรัฐ ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์ ส่วน ไมค์ วอลต์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ตอบคำถามระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซีในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่าง ทรัมป์ กับ ปูติน ว่า "ผมไม่ขอให้ข้อมูลไปมากกว่าท่านประธานาธิบดี แต่แน่นอนว่ามีการสนทนาในประเด็นที่อ่อนไหวมากมาย"
    .
    ทรัมป์ เน้นย้ำซ้ำๆว่าเขาต้องการยุติสงครามและจะพบปะพูดคุยกับปูติน เพื่อหารือในเรืองนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ไหนและเวลาใด อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อช่วงต้นเดือนว่า รัสเซียได้เล็งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เอาไว้ ในฐานะสถานที่ที่เป็นไปได้สำหรับจัดการประชุมซัมมิตระหว่างปูตินกับทรัมป์
    .
    ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะพากันมุ่งหน้าไปยังยุโรป ส่วนหนึ่งในการหารือเกี่ยวกับสงคราม ในนั้นรวมถึง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ, พีต เฮกเซท รัฐมนตรีกลาโหม, รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ และ คีธ เคลล็อกก์ ทูตพิเศษด้านสงครามยูเครน
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซี วอลต์ซบ่งชี้ว่าทรัมป์อาจมีความตั้งใจใช้มาตรการคว่ำบาตรและรีดภาษีหว่านล้อมให้ปูตินเข้าสู่โต๊ะเจรจา พร้อมเผยว่าพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและยูเครนจะหารือเกี่ยวกับกรณีอเมริกาจะเข้าถึงทรัพยากรแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ชดเชยเงินช่วยเหนือของวอชิงตันที่มอบให้แก่พันธฒิตรแห่งนี้ "การพูดคุยเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้"
    .
    เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปูติน วางกรอบเงื่อนไขอย่างเปิดเผยสำหรับการยุติสงครามในทันที นั่นคือยูเครนต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต และถอนกำลังพลออกจาก 4 แคว้นของเคียฟ ที่ปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัสเซียเป็นส่วนใหญ่และมอสโกกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    รอยเตอร์รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ว่า ปูติน เปิดกว้างหารือข้อตกลงสันติภาพกับทรัมป์ แต่ปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆของการยอมสละดินแดนครั้งใหญ่แลกข้อตกลง และยืนยันว่าเคียฟต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต
    .
    วังเครามลิน เน้นย้ำซ้ำๆให้ระมัดระวังในการคาดเดาใดๆในเรื่องการติดต่อกับคณะทำงานของทรัมป์ เกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพที่เป็นไปได้ใดๆ
    .
    อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอาร์ไอเอ รายงานอ้าง ลีโอนิด สลัตสกี หัวหน้าคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย ระบุในวันพฤหัสบดีที่แล้ว(6ก.พ.) ว่าเวลานี้อยู่ในขั้นการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการประชุมดังกล่าว และมันอาจเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็เดือนมีนาคม
    .
    ปูติน พูดคุยครั้งสุดท้ายกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ไม่นานก่อนที่ ปูติน ออกคำสั่งให้ทหารหลายหมื่นนายบุกเข้าไปในยูเครน
    .
    รอยเตอร์, วอชิงตันโพสต์ และ Axios เคยรายงานแยกกันว่า ทรัมป์ และ ปูติน ได้พูดคุยกันไปแล้วในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แต่วังเครมลินปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว
    .
    เมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกว่าเขาอาจพบปะกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการยุติสงคราม ในขณะที่ เซเลนสกี เผยกับรอยเตอร์ ว่าเขาต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธและแร่ธาตุอื่นๆแก่สหรัฐฯ แลกกับเงินสนับสนุนในการทำสงคราม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013148
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เผยว่าได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นที่เรียบร้อยแล้วผ่านทางโทรศัพท์ เกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ถือเป็นสนทนากันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกระหว่าง ปูตินกับผู้นำรายหนึ่งๆของอเมริกา นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 . ที่ผ่านมา ทรัมป์ รับปากยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ยังไม่เคยพูดกับสาธารณะชนว่าเขาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาบอกว่าอเมริกากำลังพูดคุยกับทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครน เกี่ยวกับการคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติม . ระหว่างให้สัมภาษณ์บนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันเมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกกับนิวยอร์กโพสต์ว่า คงจะดีกว่าที่ไม่บอกว่าเขาพูดคุยกับปูตินไปแล้วกี่ครั้งและหลายครั้งมากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เปิดเผยด้วยว่าครั้งสุดท้ายของการสนทนากันนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ "เขา(ปูติน) อยากเห็นผู้คนหยุดบาดเจ็บล้มตาย" ทรัมป์กล่าว . ด้าน ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวทาสส์นิวส์ สื่อมวลชนแห่งรัฐ ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์ ส่วน ไมค์ วอลต์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ตอบคำถามระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซีในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่าง ทรัมป์ กับ ปูติน ว่า "ผมไม่ขอให้ข้อมูลไปมากกว่าท่านประธานาธิบดี แต่แน่นอนว่ามีการสนทนาในประเด็นที่อ่อนไหวมากมาย" . ทรัมป์ เน้นย้ำซ้ำๆว่าเขาต้องการยุติสงครามและจะพบปะพูดคุยกับปูติน เพื่อหารือในเรืองนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ไหนและเวลาใด อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อช่วงต้นเดือนว่า รัสเซียได้เล็งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เอาไว้ ในฐานะสถานที่ที่เป็นไปได้สำหรับจัดการประชุมซัมมิตระหว่างปูตินกับทรัมป์ . ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะพากันมุ่งหน้าไปยังยุโรป ส่วนหนึ่งในการหารือเกี่ยวกับสงคราม ในนั้นรวมถึง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ, พีต เฮกเซท รัฐมนตรีกลาโหม, รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ และ คีธ เคลล็อกก์ ทูตพิเศษด้านสงครามยูเครน . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซี วอลต์ซบ่งชี้ว่าทรัมป์อาจมีความตั้งใจใช้มาตรการคว่ำบาตรและรีดภาษีหว่านล้อมให้ปูตินเข้าสู่โต๊ะเจรจา พร้อมเผยว่าพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและยูเครนจะหารือเกี่ยวกับกรณีอเมริกาจะเข้าถึงทรัพยากรแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ชดเชยเงินช่วยเหนือของวอชิงตันที่มอบให้แก่พันธฒิตรแห่งนี้ "การพูดคุยเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้" . เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปูติน วางกรอบเงื่อนไขอย่างเปิดเผยสำหรับการยุติสงครามในทันที นั่นคือยูเครนต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต และถอนกำลังพลออกจาก 4 แคว้นของเคียฟ ที่ปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัสเซียเป็นส่วนใหญ่และมอสโกกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . รอยเตอร์รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ว่า ปูติน เปิดกว้างหารือข้อตกลงสันติภาพกับทรัมป์ แต่ปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆของการยอมสละดินแดนครั้งใหญ่แลกข้อตกลง และยืนยันว่าเคียฟต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต . วังเครามลิน เน้นย้ำซ้ำๆให้ระมัดระวังในการคาดเดาใดๆในเรื่องการติดต่อกับคณะทำงานของทรัมป์ เกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพที่เป็นไปได้ใดๆ . อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอาร์ไอเอ รายงานอ้าง ลีโอนิด สลัตสกี หัวหน้าคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย ระบุในวันพฤหัสบดีที่แล้ว(6ก.พ.) ว่าเวลานี้อยู่ในขั้นการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการประชุมดังกล่าว และมันอาจเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็เดือนมีนาคม . ปูติน พูดคุยครั้งสุดท้ายกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ไม่นานก่อนที่ ปูติน ออกคำสั่งให้ทหารหลายหมื่นนายบุกเข้าไปในยูเครน . รอยเตอร์, วอชิงตันโพสต์ และ Axios เคยรายงานแยกกันว่า ทรัมป์ และ ปูติน ได้พูดคุยกันไปแล้วในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แต่วังเครมลินปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว . เมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกว่าเขาอาจพบปะกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการยุติสงคราม ในขณะที่ เซเลนสกี เผยกับรอยเตอร์ ว่าเขาต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธและแร่ธาตุอื่นๆแก่สหรัฐฯ แลกกับเงินสนับสนุนในการทำสงคราม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013148 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    10
    0 Comments 0 Shares 1679 Views 0 Reviews
  • โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประณาม "เห็นแก่ตัวและคิดเข้าข้างตนเอง" ต่อข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐน ที่เสนอขอแร่แร์เอิร์ธจากยูเครน แลกกับความช่วยเหลือทางทหารจากอเมริกา ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนแห่งหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์(8ก.พ.)
    .
    แรร์เอิร์ธ เป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุเคมี 17 ชนิดในตารางธาตุ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสมาร์ทโฟน รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และไม่มีอะไรมาแทนที่มันได้
    .
    "ยูเครนกำลังถูกโจมตีและเรากำลังช่วยเหลือพวกเขา โดยไม่ได้ร้องขอให้จ่ายค่าตอบแทน นี่ควรเป็นจุดยืนของทุกคน" โชลซ์กล่าวผ่านสำนักข่าวอาร์เอ็นดี เมื่อถูกถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของทรัมป์ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ยูเครนจะให้แร่แรร์เอิร์ธเป็นการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ
    .
    ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเคยออกมาให้คำจกกัดความข้อเรียกร้องของทรัมป์ มาแล้วรอบหนึ่งว่า "เห็นแก่ตัวมากๆ" หลังเสร็จสิ้นการประชุมซัมมิตสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์
    .
    เขาบอกว่าทรัพยากรต่างๆของยูเครนควรถูกใช้เป็นทุนสนับสนุนทุกๆอย่างที่จำเป็นหลังจบสงคราม อย่างเช่นการฟื้นฟูและทำนุบำรุงกองทัพที่เข้มแข็ง "มันจะเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างมาก และรับใช้แต่ผลประโยชน์ของตนเอง ในการเรียกร้องบางอย่างจากยูเครนแลกกับความช่วยเหลือ" โชลซ์ระบุ
    .
    ทรัมป์ กล่าวว่าเขาต้องการ "ความเท่าเทียม" จากยูเครน สำหรับความช่วยเหลือทางการเงินที่วอชิงตันมอบให้ และบอกว่า "เราอยากบอกกับยูเครนว่า พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธที่มีค่ามากๆ เรากำลังหาทางตกลงกับยูเครน ข้อตกลงที่พวกเขาจะได้รับคำรับประกันในสิ่งในเราจะมอบให้แก่พวกเขา แลกกับแร่แร์เอิร์ธของพวกเขาและสิ่งอื่นๆ"
    .
    ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บอกต่อว่า "เราต้องการมีความมั่นคงด้านแร่แรร์เอิร์ธ เรากำลังใส่เงินลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์ พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธมหาศาล เและผมต้องการความมั่นคงด้านแร่แรร์เอิร์ธ และพวกเขามีความตั้งใจที่จะทำมัน"
    .
    ในวันศุกร์(7ก.พ.) ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เปิดเผยว่าวอชิงตันและเคียฟกำลังมีแผน "พบปะพูดคุยกัน" หลัง ทรัมป์ หยิบยกความเป็นไปได้ที่จะประชุมร่วมกับเขาในสัปดาห์หน้า
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เซเลนสกี บอกว่ายูเครนพร้อมอ้าแขนต้อนรับการลงทุนจากเหล่าบริษัทสหรัฐฯในแร่แรร์เอิร์ธ หรือโลหะต่างๆที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในงานอิเล็กทรอนิกส์
    .
    ในแผนสันติภาพที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน เซเลนสกี เสนอ "ข้อตกลงพิเศษ" กับบรรดาพันธมิตรของประเทศ เปิดทางสำหรับการปกป้องร่วมกันและสำรวจร่วมกันในด้านทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามครั้งนั้น เขาไม่ได้พาดพิงอย่างเจาะจงถึงแร่แรร์เอิร์ธ โดยที่เขาอ้างถึงนั้นมีเพียง ยูเรเนียม, ไทเทเนียม, ลิเธียม, แกรไฟต์ และทรัพยากรทางยุทธศาสตร์มูลค่าสูงอื่นๆ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000012938
    ..............
    Sondhi X
    โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประณาม "เห็นแก่ตัวและคิดเข้าข้างตนเอง" ต่อข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐน ที่เสนอขอแร่แร์เอิร์ธจากยูเครน แลกกับความช่วยเหลือทางทหารจากอเมริกา ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนแห่งหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์(8ก.พ.) . แรร์เอิร์ธ เป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุเคมี 17 ชนิดในตารางธาตุ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสมาร์ทโฟน รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และไม่มีอะไรมาแทนที่มันได้ . "ยูเครนกำลังถูกโจมตีและเรากำลังช่วยเหลือพวกเขา โดยไม่ได้ร้องขอให้จ่ายค่าตอบแทน นี่ควรเป็นจุดยืนของทุกคน" โชลซ์กล่าวผ่านสำนักข่าวอาร์เอ็นดี เมื่อถูกถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของทรัมป์ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ยูเครนจะให้แร่แรร์เอิร์ธเป็นการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ . ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเคยออกมาให้คำจกกัดความข้อเรียกร้องของทรัมป์ มาแล้วรอบหนึ่งว่า "เห็นแก่ตัวมากๆ" หลังเสร็จสิ้นการประชุมซัมมิตสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์ . เขาบอกว่าทรัพยากรต่างๆของยูเครนควรถูกใช้เป็นทุนสนับสนุนทุกๆอย่างที่จำเป็นหลังจบสงคราม อย่างเช่นการฟื้นฟูและทำนุบำรุงกองทัพที่เข้มแข็ง "มันจะเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างมาก และรับใช้แต่ผลประโยชน์ของตนเอง ในการเรียกร้องบางอย่างจากยูเครนแลกกับความช่วยเหลือ" โชลซ์ระบุ . ทรัมป์ กล่าวว่าเขาต้องการ "ความเท่าเทียม" จากยูเครน สำหรับความช่วยเหลือทางการเงินที่วอชิงตันมอบให้ และบอกว่า "เราอยากบอกกับยูเครนว่า พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธที่มีค่ามากๆ เรากำลังหาทางตกลงกับยูเครน ข้อตกลงที่พวกเขาจะได้รับคำรับประกันในสิ่งในเราจะมอบให้แก่พวกเขา แลกกับแร่แร์เอิร์ธของพวกเขาและสิ่งอื่นๆ" . ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บอกต่อว่า "เราต้องการมีความมั่นคงด้านแร่แรร์เอิร์ธ เรากำลังใส่เงินลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์ พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธมหาศาล เและผมต้องการความมั่นคงด้านแร่แรร์เอิร์ธ และพวกเขามีความตั้งใจที่จะทำมัน" . ในวันศุกร์(7ก.พ.) ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เปิดเผยว่าวอชิงตันและเคียฟกำลังมีแผน "พบปะพูดคุยกัน" หลัง ทรัมป์ หยิบยกความเป็นไปได้ที่จะประชุมร่วมกับเขาในสัปดาห์หน้า . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เซเลนสกี บอกว่ายูเครนพร้อมอ้าแขนต้อนรับการลงทุนจากเหล่าบริษัทสหรัฐฯในแร่แรร์เอิร์ธ หรือโลหะต่างๆที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในงานอิเล็กทรอนิกส์ . ในแผนสันติภาพที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน เซเลนสกี เสนอ "ข้อตกลงพิเศษ" กับบรรดาพันธมิตรของประเทศ เปิดทางสำหรับการปกป้องร่วมกันและสำรวจร่วมกันในด้านทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามครั้งนั้น เขาไม่ได้พาดพิงอย่างเจาะจงถึงแร่แรร์เอิร์ธ โดยที่เขาอ้างถึงนั้นมีเพียง ยูเรเนียม, ไทเทเนียม, ลิเธียม, แกรไฟต์ และทรัพยากรทางยุทธศาสตร์มูลค่าสูงอื่นๆ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000012938 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    10
    0 Comments 0 Shares 1765 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯระบุต้องการให้ยูเครนป้อนแร่แรร์เอิร์ธแก่อเมริกา ในฐานะรูปแบบหนึ่งของการชำระเงิน แลกกับความช่วยเหลือทางการเงินสนับสนุนประเทศแห่งนี้ที่กำลังทำสงครามกับรัสเซีย
    .
    ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว ว่ายูเครนจะเต็มใจยอมรับเงื่อนไขนี้ และระบุเขาต้องการแร่แรร์เอิร์ธจากยูเครน ในมูลค่าที่เท่าเทียมกับเงินสนับสนุนเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟ
    .
    "เราบอกกับยูเครนไปว่า พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธที่มีมูลค่ามากๆ" ทรัมป์กล่าว และเรากำลังมองหาทำข้อตกลงกับยูเครน ว่าพวกเขาจะได้อะไรบ้าง และเราจะมอบอะไรให้พวกเขา แลกกับแร่แรร์เอิร์ธของพวกเขาและสิ่งอื่นๆ"
    .
    ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ทรัมป์ ใช้คำจำกัดความ "แรร์เอิร์ธ" ครอบคลุมถึงแร่สำคัญๆทุกชนิด หรือแค่หมายถึงแร่แรร์เอิร์ธแต่เพียงอย่างเดียว
    .
    แรร์เอิร์ธ เป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุเคมี 17 ชนิดในตารางธาตุ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสมาร์ทโฟน รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
    .
    สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ มองว่ามีแร่ 50 ชนิดที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและการป้องกันประเทศ ในนั้นมีหลายชนิดที่เป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ เช่นเดียวกับนิกเกิลและลิเธียม
    .
    ยูเครน มีทรัพยกรยูเรเนียม ลิเธียมและไทเทเนียม อยู่มหาศาล แม้ไม่ติด 1 ใน 5 ของโลกในแง่ของปริมาณ ส่วนสหรัฐฯก็มีแหล่งสำรองทรัพยกรเหล่านี้ที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เช่นกัน เช่นเดียวกับแร่สำคัญๆอื่นๆ
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของแร่แรร์เอิร์ธ สหรัฐฯมีเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ เพียงแห่งเดียวที่ยังคงปฏิบัติการอยู่ และมีศักยภาพการแปรรูปเพียงเล็กน้อย แม้หลายบริษัทกำลังอยู่ระหว่างหาทางพัฒนาโปรเจ็คต่างๆภายในประเทศ ผิดกับจีน คู่แข่งสำคัญ ที่เป็นชาติผู้ผลิตแร่แร์เอิร์ธใหญ่ที่สุดของโลก รวมไปถึงแร่สำคัญๆอื่นๆอีกมากมาย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011140
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯระบุต้องการให้ยูเครนป้อนแร่แรร์เอิร์ธแก่อเมริกา ในฐานะรูปแบบหนึ่งของการชำระเงิน แลกกับความช่วยเหลือทางการเงินสนับสนุนประเทศแห่งนี้ที่กำลังทำสงครามกับรัสเซีย . ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว ว่ายูเครนจะเต็มใจยอมรับเงื่อนไขนี้ และระบุเขาต้องการแร่แรร์เอิร์ธจากยูเครน ในมูลค่าที่เท่าเทียมกับเงินสนับสนุนเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟ . "เราบอกกับยูเครนไปว่า พวกเขามีแร่แรร์เอิร์ธที่มีมูลค่ามากๆ" ทรัมป์กล่าว และเรากำลังมองหาทำข้อตกลงกับยูเครน ว่าพวกเขาจะได้อะไรบ้าง และเราจะมอบอะไรให้พวกเขา แลกกับแร่แรร์เอิร์ธของพวกเขาและสิ่งอื่นๆ" . ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ทรัมป์ ใช้คำจำกัดความ "แรร์เอิร์ธ" ครอบคลุมถึงแร่สำคัญๆทุกชนิด หรือแค่หมายถึงแร่แรร์เอิร์ธแต่เพียงอย่างเดียว . แรร์เอิร์ธ เป็นแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุเคมี 17 ชนิดในตารางธาตุ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสมาร์ทโฟน รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ . สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ มองว่ามีแร่ 50 ชนิดที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและการป้องกันประเทศ ในนั้นมีหลายชนิดที่เป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ เช่นเดียวกับนิกเกิลและลิเธียม . ยูเครน มีทรัพยกรยูเรเนียม ลิเธียมและไทเทเนียม อยู่มหาศาล แม้ไม่ติด 1 ใน 5 ของโลกในแง่ของปริมาณ ส่วนสหรัฐฯก็มีแหล่งสำรองทรัพยกรเหล่านี้ที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เช่นกัน เช่นเดียวกับแร่สำคัญๆอื่นๆ . อย่างไรก็ตามในส่วนของแร่แรร์เอิร์ธ สหรัฐฯมีเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ เพียงแห่งเดียวที่ยังคงปฏิบัติการอยู่ และมีศักยภาพการแปรรูปเพียงเล็กน้อย แม้หลายบริษัทกำลังอยู่ระหว่างหาทางพัฒนาโปรเจ็คต่างๆภายในประเทศ ผิดกับจีน คู่แข่งสำคัญ ที่เป็นชาติผู้ผลิตแร่แร์เอิร์ธใหญ่ที่สุดของโลก รวมไปถึงแร่สำคัญๆอื่นๆอีกมากมาย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011140 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    9
    1 Comments 0 Shares 1635 Views 0 Reviews
  • เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง
    .
    หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021
    .
    “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ
    .
    ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?”
    .
    และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก
    .
    อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้
    .
    ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย”
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา”
    .
    ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง
    .
    ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก
    .
    ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้
    .
    มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้
    .
    ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด
    .
    รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง
    .
    แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง
    .
    เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง
    .
    และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้
    .
    ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน
    .
    ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni)
    .
    ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
    .
    เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน”
    .
    เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค.
    .
    สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน
    .
    เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916
    ..............
    Sondhi X
    เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง . หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021 . “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ . ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?” . และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก . อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้ . ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย” . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา” . ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง . ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก . ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้ . มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ . ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด . รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง . แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง . เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง . และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ . ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน . ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni) . ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ . เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน” . เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค. . สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน . เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Yay
    5
    0 Comments 0 Shares 2271 Views 0 Reviews