• Nex Express อำลารถทัวร์โคราช

    หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น

    สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา

    อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป

    ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว

    เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร

    #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Nex Express อำลารถทัวร์โคราช หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 500 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1700 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกิดเหตุโจมตีและวางเพลิงสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวเส้นทางเดินรถเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในฝรั่งเศส ก่อนพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ส่งผลกระทบผู้โดยสารกว่า 8 แสนคน ด้านสถานทูตไทยในฝรั่งเศส เตือนคนไทยเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต ตลอดช่วงโอลิมปิกและพาราลิมปิก
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063559

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เกิดเหตุโจมตีและวางเพลิงสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวเส้นทางเดินรถเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในฝรั่งเศส ก่อนพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ส่งผลกระทบผู้โดยสารกว่า 8 แสนคน ด้านสถานทูตไทยในฝรั่งเศส เตือนคนไทยเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต ตลอดช่วงโอลิมปิกและพาราลิมปิก อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063559 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    22
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1080 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 778 มุมมอง 0 รีวิว
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 917 มุมมอง 0 รีวิว