เรื่องงาน World Expo ที่โอซาก้า มี feedback หลากหลาย เด่นสุดของคนที่เข้าชมให้ความเห็นตรงกันว่า มีความสวยด้านสถาปัตยกรรม แต่การสื่อสาร เมสเสจที่อยากจะสื่อกลับเป็นในรูปแบบ "เปลือกเอกชน เนื้อในข้าราชการ" การนำเสนอไม่เชื่อมโยง และหน่วยงานนั้นคือกระทรวงสาธารณสุขที่ใช้งบประมาณไปทำกว่า 1,000 ล้าน!เหตุผลที่บอกว่าต้องเป็นสธ. เพื่อไปโฆษณา medical hub, wellness ในขณะที่ไทยตอนนี้ข่าวที่ลุกโชนที่สุดคือข่าวบุคลากรทางการแพทย์แห่กันลาออกรัฐมนตรีของสวีเดนเคยพูดว่า หมอ 1 คนที่ออกไปรักษาคนไข้เอกชน-wellness คือหมอ 1 คนที่สูญเสียไปจากการรักษาคนไข้ในระบบรัฐ ในขณะที่ไทยโหมโฆษณาเรื่อง medical hub ได้มองเรื่องการโยกย้ายของแรงงานภาคสุขภาพหรือไม่? โรงพยาบาลภาครัฐปัจจุบันนี้ คนไข้คนไทยอาการหนักยังหาเตียงแทบไม่ได้ OPD ยังต้องต่อคิวเกือบทั้งวัน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่รัฐพยายามพาไปโฆษณา กำไรปีละ 4,000 ล้านต่อปี และผู้ถือหุ้น ก็แทบจะต่างประเทศเกือบหมดงบ 1,000 ล้านนี้ เราทำอะไรได้บ้าง- งบ 1,000 ล้านนี้ คืองบประมาณคนไข้ล้างไตเกือบปีของประกันสังคม- 55 เท่าของงบประมาณดูแลสุขภาพจิตของเด็กในโรงเรียนทั้งประเทศ- เกือบ 1,000 เท่า ของงบที่ไว้รับมือ PM2.5 ของสธ.- งบประมาณที่จ้างหมอเต็มเวลาได้อีก 1,660 คน/ปี- เป็นค่าแรงที่กดขี่จนแย่กว่าค่าแรงขั้นต่ำตามพรบ.คุ้มครองแรงงานของพี่ๆผู้ช่วยพยาบาลมากถึง 7,200 คนต่อปีการลงทุนในการโปรโมทประเทศไทยเป็นเรื่องดี แต่ต้องระวังในการสื่อสารและใช้งบประมาณให้เหมาะสม ท่ามกลางข่าววิกฤตศรัทธาในรัฐข้าราชการ การใช้งบประมาณระดับพันล้านเพื่อโปรโมทในเรื่องที่อนาคตจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพไปอีก ต้องทำอย่างระมัดระวังและไม่เหยียบหัวคนทำงานหน้างานจนรู้สึกว่า เงินเดือนจากงานที่เขาทำจนเผาเวลาชีวิต ร่างกายไป เป็นเพียงเศษเงินเมื่อเทียบกับโครงการใช้ครั้งเดียวจบของกระทรวงเพิ่มเติม: มีเรื่องที่มาบริษัทที่รับทำ เป็นการสรรหาแบบจำเพาะเจาะจง ต้องติดตามว่า บริษัทที่รับจัดงาน 800 ล้านจากภาษีเราเป็นใคร———— ขอขอบคุณ คุณหมอนิรนามที่ส่งมาให้ครับ
เรื่องงาน World Expo ที่โอซาก้า มี feedback หลากหลาย เด่นสุดของคนที่เข้าชมให้ความเห็นตรงกันว่า มีความสวยด้านสถาปัตยกรรม แต่การสื่อสาร เมสเสจที่อยากจะสื่อกลับเป็นในรูปแบบ "เปลือกเอกชน เนื้อในข้าราชการ" การนำเสนอไม่เชื่อมโยง และหน่วยงานนั้นคือกระทรวงสาธารณสุขที่ใช้งบประมาณไปทำกว่า 1,000 ล้าน!เหตุผลที่บอกว่าต้องเป็นสธ. เพื่อไปโฆษณา medical hub, wellness ในขณะที่ไทยตอนนี้ข่าวที่ลุกโชนที่สุดคือข่าวบุคลากรทางการแพทย์แห่กันลาออกรัฐมนตรีของสวีเดนเคยพูดว่า หมอ 1 คนที่ออกไปรักษาคนไข้เอกชน-wellness คือหมอ 1 คนที่สูญเสียไปจากการรักษาคนไข้ในระบบรัฐ ในขณะที่ไทยโหมโฆษณาเรื่อง medical hub ได้มองเรื่องการโยกย้ายของแรงงานภาคสุขภาพหรือไม่? โรงพยาบาลภาครัฐปัจจุบันนี้ คนไข้คนไทยอาการหนักยังหาเตียงแทบไม่ได้ OPD ยังต้องต่อคิวเกือบทั้งวัน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่รัฐพยายามพาไปโฆษณา กำไรปีละ 4,000 ล้านต่อปี และผู้ถือหุ้น ก็แทบจะต่างประเทศเกือบหมดงบ 1,000 ล้านนี้ เราทำอะไรได้บ้าง- งบ 1,000 ล้านนี้ คืองบประมาณคนไข้ล้างไตเกือบปีของประกันสังคม- 55 เท่าของงบประมาณดูแลสุขภาพจิตของเด็กในโรงเรียนทั้งประเทศ- เกือบ 1,000 เท่า ของงบที่ไว้รับมือ PM2.5 ของสธ.- งบประมาณที่จ้างหมอเต็มเวลาได้อีก 1,660 คน/ปี- เป็นค่าแรงที่กดขี่จนแย่กว่าค่าแรงขั้นต่ำตามพรบ.คุ้มครองแรงงานของพี่ๆผู้ช่วยพยาบาลมากถึง 7,200 คนต่อปีการลงทุนในการโปรโมทประเทศไทยเป็นเรื่องดี แต่ต้องระวังในการสื่อสารและใช้งบประมาณให้เหมาะสม ท่ามกลางข่าววิกฤตศรัทธาในรัฐข้าราชการ การใช้งบประมาณระดับพันล้านเพื่อโปรโมทในเรื่องที่อนาคตจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพไปอีก ต้องทำอย่างระมัดระวังและไม่เหยียบหัวคนทำงานหน้างานจนรู้สึกว่า เงินเดือนจากงานที่เขาทำจนเผาเวลาชีวิต ร่างกายไป เป็นเพียงเศษเงินเมื่อเทียบกับโครงการใช้ครั้งเดียวจบของกระทรวงเพิ่มเติม: มีเรื่องที่มาบริษัทที่รับทำ เป็นการสรรหาแบบจำเพาะเจาะจง ต้องติดตามว่า บริษัทที่รับจัดงาน 800 ล้านจากภาษีเราเป็นใคร———— ขอขอบคุณ คุณหมอนิรนามที่ส่งมาให้ครับ
0 Comments
0 Shares
233 Views
0 Reviews