ชวนกรีดดีลฟ้า-แดง "คนรุ่นใหม่หาประโยชน์"
การประชุมคณะกรรมการบริหารและ สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ส.ค. มีเพียงวาระเดียว คือการเข้าร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ตามที่นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือเชิญแก่นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางกระแสข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีความพยายามร่วมรัฐบาลของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเก้าอี้ 1 รัฐมนตรี และ 1 รัฐมนตรีช่วยรออยู่
เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคการเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร ต่อสู้ทางการเมืองมานานกว่า 23 ปี ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ผ่านความขัดแย้งทั้งในสภาและนอกสภาในการชุมนุมกลุ่ม กปปส.
แต่สัญญาณในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2566) นายเดชอิศม์เดินทางไปพบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ฮ่องกง ก่อนที่นายทักษิณกลับมารับโทษที่ประเทศไทย ทีแรกปฎิเสธไม่พูดถึง ตอนหลังยอมรับไปเจอกันจริง และเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรร่วมรัฐบาลเพื่อผลักดันนโยบายพรรค กระทั่งการโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่ามี สส.ปชป. 16 คน นำโดยนายเดชอิศม์ โหวตสวนมติพรรค หนุนนายเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในการโหวตเลือก น.ส.แพทองธาร ครั้งล่าสุด สส.ปชป. 25 คน งดออกเสียง ตามมติพรรคที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ สส.ปชป. กลุ่มนายเฉลิมชัย 21 คน สนใจที่จะเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว มีเพียง 4 สส. ที่ไม่ยอม ได้แก่ นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ และนายสรรเพชร บุญญามณี สส.สงขลา แต่ก็ไม่อาจต้านทานกลุ่มนายเฉลิมชัยซึ่งเป็นเสียงข้างมากได้
นายเดชอิศม์ อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้ง มีแต่ความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยกัน ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมา กับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศ แนวคิด การพัฒนาประเทศ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พอถึงเวลาที่เราพูดคุยกันได้ ที่เรารักกัน เป็นสิ่งที่ดีงาม ส่วนที่นายชวนคัดค้านนั้น ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย แต่เมื่อมีมติของพรรคก็ต้องปฏิบัติตาม จากนี้ถ้ามีคนในพรรคโหวตแตกต่างจากมติของพรรคคงทำเช่นนั้นไม่ได้
ส่วนนายสรวงศ์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้พูดคุยกับนายเฉลิมชัยและนายเดชอิศม์ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ว่าจะยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ และเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนโควตารัฐมนตรีเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีตนไม่ขอก้าวล่วง ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองพรรค เมื่อก่อนก็คือเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันมั่นใจว่าในสภาฯ ทุกคน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติไปได้ด้วยดี
"ไม่มี สส.พรรคเพื่อไทยคัดค้าน ขอให้นำคำสัมภาษณ์ของนายเดชอิศม์เป็นที่ตั้ง ว่าประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ ทุกอย่างผ่านไปแล้ว ประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ พรรคของพวกเราร่วมต่อสู้กันมานาน แต่วันนี้มาถึงคนรุ่นใหม่ ที่มาดูแลพรรค ส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง ก็เป็นเรื่องของอุดมการณ์ ส่วนแนวทางการทำงานเราไปด้วยกันได้แน่นอน"
นายสรวงศ์ กล่าวว่า ในอดีตอุดมการณ์ทางการเมืองของเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนกันเลย แต่วันนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารพรรค หัวหน้าทั้ง 2 พรรค รวมถึงเลขาฯ และสมาชิกพรรคทุกคน มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น เพราะประเทศชาติถอยหลังไปมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินหน้าร่วมกัน อะไรไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งต้องทิ้งไว้ข้างหลัง
ส่วนข้อกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยตระบัดสัตย์นั้น นายสรวงศ์ กล่าวว่า คำนี้ฮิตเหลือเกิน ก็แล้วแต่ ทุกอย่างมองกันที่ผลงาน ต่อจากนี้ไปอีก 3 ปี ตนขออย่างเดียวให้โอกาสนายกฯ และ ครม.ชุดใหม่ได้ทำงาน ถ้าทำอะไรผิด หรือไม่ดีค่อยร้องเรียน ไม่ใช่ออกมาพูดเพียงอย่างเดียว ขอให้ดูที่ผลงาน ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นร้องเรียนกรณีซุกหุ้นของ น.ส.แพทองธาร มีทีมกฎหมายดูอยู่แล้ว และคิดว่าจะไม่เป็นประเด็น
อย่างไรก็ตาม นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวขอยืนยันในจุดยืนเดิม ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีตั้งแต่วันแรกที่การตั้งรัฐบาลชุด ของนายเศรษฐา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะไม่สามารถทรยศประชาชนได้ ซึ่งตนเป็นคนขอร้องประชาชนไม่ให้เลือกพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เพราะความขัดแย้งส่วนตัว แต่เป็นเพราะพรรคเหล่านั้น ประกาศชัดเจนที่จะพัฒนาจังหวัดที่เลือกเขาก่อน ส่วนจังหวัดอื่นไว้ทีหลัง
"วิธีเหล่านี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 90 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการยึดอำนาจ ยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จะให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคอย่างยุติธรรม โดยไม่สนใจว่าใครจะเลือกใครเป็นรัฐบาล แต่จัดการบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม"
"ต้องยอมรับว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติ ผมต่อสู้มาเพียงลำพัง ด้วยการขอว่าอย่าเลือกเขานะ ไม่ได้ไปกลั่นแกล้งหรือทำร้ายอย่างที่ นายราเมศ รัตนะเชวง อดีดโฆษกพรรคฯ เคยถูกกระทำ ทำให้เขาได้รับเลือกน้อยมาก ไม่มี สส.ภาคใต้แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากที่ผมรณรงค์ แล้ววันหนึ่งจะมาบอกให้ผมสนับสนุนพรรคที่ผมบอกว่าอย่าเลือก มันชัดเจนว่าเป็นการทรยศชาวบ้านผมทำไม่ได้ จึงขอยืนยันว่า แม้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี แต่จุดยืนผมยังเหมือนเดิม"
นายชวนกล่าวอีกว่า มติของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่การเห็นด้วย เพราะมีการติดต่อกันแล้ว ที่มาถามว่า เขามาเชิญ ความจริง ตนคิดว่าคนของเราไปติดต่อเขาก่อนเขาเชิญ หรือสงสัยว่าไปขอให้เขามาเชิญด้วยซ้ำ แต่ตามมารยาท ก็มาเชิญด้วยวิธีนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะก่อนหน้าที่จะมีหนังสือเชิญ คนของเราบางคนก็ไปประสานติดต่อ จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า พรรคอีแอบ พรรครอเสียบ จึงอยากขออย่าเรียกพรรคประชาธิปัตย์ แบบนี้ เพราะเป็นพฤติกรรมของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่คนส่วนใหญ่
"การเรียกแบบนี้ทำให้พรรคเสื่อมเสีย ตนอยากปกป้องเกียรติภูมิของพรรค เราไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนใดคนหนึ่งได้เป็นนายกฯ อยู่สัก 1-2 สมัยแล้วล้มไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ อยู่มาเกือบ 80 ปี ปฏิบัติตามอุดมการณ์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ไม่อยากให้เสื่อมเสียด้วยการกระทำของ กก.บห.พรรคชุดปัจจุบัน"
"ยอมรับว่าผมเป็นเสียงข้างน้อยในพรรคฯ ที่ชัดเจนตั้งแต่มีการลงมติเลือกนายเศรษฐาเป็นนายกฯ และผมได้หารือกับนายบัญญัติ นายจุรินทร์ และนายสรรเพชญ ว่าอย่างน้อย 4 คน จะยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม แต่ไม่ว่ามติของพรรคฯเป็นอย่างไร ก็พร้อมจะเคารพ เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะร่วมกับพรรคการเมืองที่เคยกลั่นแกล้งประชาชน และเชื่อว่าการตัดสินใจร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ จะส่งผลต่อฐานเสียงภาคใต้ไม่น้อย"
เมื่อถามว่าคนรุ่นใหม่มองว่าหมดยุคของนายชวนแล้ว นายชวน กล่าวว่า มันไม่มีกำหนดอายุ มีคนคิดเหมือนกันว่าตนเป็นขวากหนามของเขา ทำให้ไปร่วมรัฐบาลไม่ได้ จึงพยายามพูดว่าหมดยุคของผู้อาวุโส แต่ในความจริงแล้ว ตนเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้ทำลาย และคนที่พูดเหล่านั้นอาศัยบารมีพรรค ที่พวกตนทำเอาไว้ แต่คนเหล่านั้นยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับพรรคเลย เพียงแต่อาศัยชื่อพรรคเพื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ตนก็เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่ได้โกรธ แม้กระทั่ง เรื่องที่จะขับพ้นออกจากพรรค ก็มาดูว่าใครเป็นคนพูด พอทราบก็เข้าใจเพราะเขาก็เพิ่งเข้าพรรคมาอาศัยบารมีของพรรคที่คนรุ่นก่อนเขาสะสมสร้างมา นายเฉลิมชัย เป็นหัวหน้าพรรคฯ คนที่ 9 ยังไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้พรรคฯเท่ากับรุ่นก่อน
"ดังนั้น ใครที่คิดจะปลดต้องดูกฎหมาย ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุ ผมยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ ผมกลายเป็นคนหัวคัดค้าน ทั้งที่มีหลายคนไม่เห็นด้วย แต่เขาไม่อยากเปลืองตัว เป็นการกระทำของคนบางกลุ่ม ทำให้คนทั่วไปยังเข้าใจว่า ประชาธิปัตย์ยังพอใช้ได้อยู่ เพียงแต่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้ามาใช้ตำแหน่งในพรรคเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งคนกลุ่มนั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับผม จนพยายามจะบอกว่าขัดแย้งมาแล้ว 20 ปี จึงอยากถามว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ไม่ได้ทะเลาะเพื่อประโยชน์ส่วนตัวกัน แต่เป็นเรื่องของประชาชน"
เมื่อถามว่านายชวนจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ เพราะไม่อยากพูดอะไรไปล่วงหน้า
#Newskit #พรรคประชาธิปัตย์ #รัฐบาลแพทองธาร ชวนกรีดดีลฟ้า-แดง "คนรุ่นใหม่หาประโยชน์"
การประชุมคณะกรรมการบริหารและ สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ส.ค. มีเพียงวาระเดียว คือการเข้าร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ตามที่นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือเชิญแก่นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางกระแสข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีความพยายามร่วมรัฐบาลของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเก้าอี้ 1 รัฐมนตรี และ 1 รัฐมนตรีช่วยรออยู่
เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคการเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร ต่อสู้ทางการเมืองมานานกว่า 23 ปี ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ผ่านความขัดแย้งทั้งในสภาและนอกสภาในการชุมนุมกลุ่ม กปปส.
แต่สัญญาณในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2566) นายเดชอิศม์เดินทางไปพบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ฮ่องกง ก่อนที่นายทักษิณกลับมารับโทษที่ประเทศไทย ทีแรกปฎิเสธไม่พูดถึง ตอนหลังยอมรับไปเจอกันจริง และเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรร่วมรัฐบาลเพื่อผลักดันนโยบายพรรค กระทั่งการโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่ามี สส.ปชป. 16 คน นำโดยนายเดชอิศม์ โหวตสวนมติพรรค หนุนนายเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในการโหวตเลือก น.ส.แพทองธาร ครั้งล่าสุด สส.ปชป. 25 คน งดออกเสียง ตามมติพรรคที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ สส.ปชป. กลุ่มนายเฉลิมชัย 21 คน สนใจที่จะเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว มีเพียง 4 สส. ที่ไม่ยอม ได้แก่ นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ และนายสรรเพชร บุญญามณี สส.สงขลา แต่ก็ไม่อาจต้านทานกลุ่มนายเฉลิมชัยซึ่งเป็นเสียงข้างมากได้
นายเดชอิศม์ อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้ง มีแต่ความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยกัน ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมา กับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศ แนวคิด การพัฒนาประเทศ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พอถึงเวลาที่เราพูดคุยกันได้ ที่เรารักกัน เป็นสิ่งที่ดีงาม ส่วนที่นายชวนคัดค้านนั้น ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย แต่เมื่อมีมติของพรรคก็ต้องปฏิบัติตาม จากนี้ถ้ามีคนในพรรคโหวตแตกต่างจากมติของพรรคคงทำเช่นนั้นไม่ได้
ส่วนนายสรวงศ์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้พูดคุยกับนายเฉลิมชัยและนายเดชอิศม์ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ว่าจะยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ และเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนโควตารัฐมนตรีเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีตนไม่ขอก้าวล่วง ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองพรรค เมื่อก่อนก็คือเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันมั่นใจว่าในสภาฯ ทุกคน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติไปได้ด้วยดี
"ไม่มี สส.พรรคเพื่อไทยคัดค้าน ขอให้นำคำสัมภาษณ์ของนายเดชอิศม์เป็นที่ตั้ง ว่าประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ ทุกอย่างผ่านไปแล้ว ประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ พรรคของพวกเราร่วมต่อสู้กันมานาน แต่วันนี้มาถึงคนรุ่นใหม่ ที่มาดูแลพรรค ส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง ก็เป็นเรื่องของอุดมการณ์ ส่วนแนวทางการทำงานเราไปด้วยกันได้แน่นอน"
นายสรวงศ์ กล่าวว่า ในอดีตอุดมการณ์ทางการเมืองของเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนกันเลย แต่วันนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารพรรค หัวหน้าทั้ง 2 พรรค รวมถึงเลขาฯ และสมาชิกพรรคทุกคน มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น เพราะประเทศชาติถอยหลังไปมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินหน้าร่วมกัน อะไรไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งต้องทิ้งไว้ข้างหลัง
ส่วนข้อกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยตระบัดสัตย์นั้น นายสรวงศ์ กล่าวว่า คำนี้ฮิตเหลือเกิน ก็แล้วแต่ ทุกอย่างมองกันที่ผลงาน ต่อจากนี้ไปอีก 3 ปี ตนขออย่างเดียวให้โอกาสนายกฯ และ ครม.ชุดใหม่ได้ทำงาน ถ้าทำอะไรผิด หรือไม่ดีค่อยร้องเรียน ไม่ใช่ออกมาพูดเพียงอย่างเดียว ขอให้ดูที่ผลงาน ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นร้องเรียนกรณีซุกหุ้นของ น.ส.แพทองธาร มีทีมกฎหมายดูอยู่แล้ว และคิดว่าจะไม่เป็นประเด็น
อย่างไรก็ตาม นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวขอยืนยันในจุดยืนเดิม ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีตั้งแต่วันแรกที่การตั้งรัฐบาลชุด ของนายเศรษฐา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะไม่สามารถทรยศประชาชนได้ ซึ่งตนเป็นคนขอร้องประชาชนไม่ให้เลือกพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เพราะความขัดแย้งส่วนตัว แต่เป็นเพราะพรรคเหล่านั้น ประกาศชัดเจนที่จะพัฒนาจังหวัดที่เลือกเขาก่อน ส่วนจังหวัดอื่นไว้ทีหลัง
"วิธีเหล่านี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 90 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการยึดอำนาจ ยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จะให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคอย่างยุติธรรม โดยไม่สนใจว่าใครจะเลือกใครเป็นรัฐบาล แต่จัดการบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม"
"ต้องยอมรับว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติ ผมต่อสู้มาเพียงลำพัง ด้วยการขอว่าอย่าเลือกเขานะ ไม่ได้ไปกลั่นแกล้งหรือทำร้ายอย่างที่ นายราเมศ รัตนะเชวง อดีดโฆษกพรรคฯ เคยถูกกระทำ ทำให้เขาได้รับเลือกน้อยมาก ไม่มี สส.ภาคใต้แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากที่ผมรณรงค์ แล้ววันหนึ่งจะมาบอกให้ผมสนับสนุนพรรคที่ผมบอกว่าอย่าเลือก มันชัดเจนว่าเป็นการทรยศชาวบ้านผมทำไม่ได้ จึงขอยืนยันว่า แม้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี แต่จุดยืนผมยังเหมือนเดิม"
นายชวนกล่าวอีกว่า มติของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่การเห็นด้วย เพราะมีการติดต่อกันแล้ว ที่มาถามว่า เขามาเชิญ ความจริง ตนคิดว่าคนของเราไปติดต่อเขาก่อนเขาเชิญ หรือสงสัยว่าไปขอให้เขามาเชิญด้วยซ้ำ แต่ตามมารยาท ก็มาเชิญด้วยวิธีนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะก่อนหน้าที่จะมีหนังสือเชิญ คนของเราบางคนก็ไปประสานติดต่อ จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า พรรคอีแอบ พรรครอเสียบ จึงอยากขออย่าเรียกพรรคประชาธิปัตย์ แบบนี้ เพราะเป็นพฤติกรรมของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่คนส่วนใหญ่
"การเรียกแบบนี้ทำให้พรรคเสื่อมเสีย ตนอยากปกป้องเกียรติภูมิของพรรค เราไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนใดคนหนึ่งได้เป็นนายกฯ อยู่สัก 1-2 สมัยแล้วล้มไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ อยู่มาเกือบ 80 ปี ปฏิบัติตามอุดมการณ์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ไม่อยากให้เสื่อมเสียด้วยการกระทำของ กก.บห.พรรคชุดปัจจุบัน"
"ยอมรับว่าผมเป็นเสียงข้างน้อยในพรรคฯ ที่ชัดเจนตั้งแต่มีการลงมติเลือกนายเศรษฐาเป็นนายกฯ และผมได้หารือกับนายบัญญัติ นายจุรินทร์ และนายสรรเพชญ ว่าอย่างน้อย 4 คน จะยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม แต่ไม่ว่ามติของพรรคฯเป็นอย่างไร ก็พร้อมจะเคารพ เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะร่วมกับพรรคการเมืองที่เคยกลั่นแกล้งประชาชน และเชื่อว่าการตัดสินใจร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ จะส่งผลต่อฐานเสียงภาคใต้ไม่น้อย"
เมื่อถามว่าคนรุ่นใหม่มองว่าหมดยุคของนายชวนแล้ว นายชวน กล่าวว่า มันไม่มีกำหนดอายุ มีคนคิดเหมือนกันว่าตนเป็นขวากหนามของเขา ทำให้ไปร่วมรัฐบาลไม่ได้ จึงพยายามพูดว่าหมดยุคของผู้อาวุโส แต่ในความจริงแล้ว ตนเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้ทำลาย และคนที่พูดเหล่านั้นอาศัยบารมีพรรค ที่พวกตนทำเอาไว้ แต่คนเหล่านั้นยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับพรรคเลย เพียงแต่อาศัยชื่อพรรคเพื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ตนก็เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่ได้โกรธ แม้กระทั่ง เรื่องที่จะขับพ้นออกจากพรรค ก็มาดูว่าใครเป็นคนพูด พอทราบก็เข้าใจเพราะเขาก็เพิ่งเข้าพรรคมาอาศัยบารมีของพรรคที่คนรุ่นก่อนเขาสะสมสร้างมา นายเฉลิมชัย เป็นหัวหน้าพรรคฯ คนที่ 9 ยังไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้พรรคฯเท่ากับรุ่นก่อน
"ดังนั้น ใครที่คิดจะปลดต้องดูกฎหมาย ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุ ผมยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ ผมกลายเป็นคนหัวคัดค้าน ทั้งที่มีหลายคนไม่เห็นด้วย แต่เขาไม่อยากเปลืองตัว เป็นการกระทำของคนบางกลุ่ม ทำให้คนทั่วไปยังเข้าใจว่า ประชาธิปัตย์ยังพอใช้ได้อยู่ เพียงแต่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้ามาใช้ตำแหน่งในพรรคเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งคนกลุ่มนั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับผม จนพยายามจะบอกว่าขัดแย้งมาแล้ว 20 ปี จึงอยากถามว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ไม่ได้ทะเลาะเพื่อประโยชน์ส่วนตัวกัน แต่เป็นเรื่องของประชาชน"
เมื่อถามว่านายชวนจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ เพราะไม่อยากพูดอะไรไปล่วงหน้า
#Newskit #พรรคประชาธิปัตย์ #รัฐบาลแพทองธาร