“ทรัมป์ vs.กมลา” ละครปาหี่เลือกตั้งอเมริกา
.
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 จะมีการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกา การต่อสู้ระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และ นางกมลา แฮร์ริส กำลังเข้าสู่โค้งสุดท้าย ทั่วโลกกำลังจับตาดูอยู่มาก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำของประเทศๆ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของอเมริกานั้น สำคัญที่สุด จะส่งผลต่อโลกทั้งใบได้
.
ไม่ว่าใครจะชนะ นโยบายอเมริกาไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการขับเคลื่อนประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประธานาธิบดี แต่ถูกบงการโดยรัฐพันลึกที่เขาเรียกว่า Deep State คือกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมอาวุธ อุตสาหกรรมพลังงาน ล็อบบี้ยิสต์ ไปจนถึงเครือข่ายในองค์กรอย่าง CIA, FBI รวมทั้งสื่อมวลชนกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็น CNBC, CBS, CNN, New York Times ซึ่งล้วนแล้วแต่ถือหางเลือกสองข้างพรรคการเมืองใหญ่เท่านั้นเอง
.
ทั้งพรรคเดโมแครต หรือรีพับลิกัน ล้วนยึดนโยบายอเมริกาต้องมาก่อนทั้งนั้น และนโยบายหลายเรื่องไม่มีการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนอิสราเอลให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อไป ต่อต้านจีน บ่อนเซาะรัสเซีย และรักษาสถานภาพมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกเอาไว้ด้วยวิธีการต่างๆ สร้างข่าวปลอม การคว่ำบาตร การทำสงคราม ทั้งสงครามอาวุธและสงครามข้อมูลข่าวสาร
.
อำนาจของสหรัฐฯ เสื่อมโทรม ทรุดถอยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ มีปัญหาในประเทศอย่างหนักหนาสาหัส เพราะเกิดจากระบบทุนนิยมสามัญของตัวเองที่รังแกประชาชนของตัวเอง และใช้วิธีโยนปัญหาให้ประเทศอื่น เหมือนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยหลายครั้งจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นปั่นป่วนไปด้วย แต่พอแข่งขันไม่ได้ สู้ไม่ได้ ก็ตั้งกำแพงภาษีกีดกันสินค้านำเข้าจากจีน ก่อสงครามเทคโนโลยี ส่งผลให้หคนอเมริกาเองต้องใช้สินค้าราคาแพงด้วย
.
นักวิเคราะห์การเมืองทั่วโลกจึงเห็นตรงกันว่า ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง นโยบายหลายๆ อย่างไม่เปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแต่รูปแบบเท่านั้น โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า นางกมลา แฮร์ริส จะใช้มีดผ่าตัด จัดการแบบเชือดนิ่มๆ กับประเทศที่ทำให้สหรัฐฯ เสียผลประโยชน์ ส่วนนายทรัมป์จะใช้ค้อนทุบประเทศคู่แข่งที่เขาบอกว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ
.
ในการประชุม BRICS ที่ประเทศรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชงโก ประธานาธิบดีเบลารุส ได้กล่าวถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นละครปาหี่ทางการเมืองที่ห่วยแตกและงี่เง่าที่สุด พรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน ทุ่มเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการหาเสียงเลือกตั้ง แต่กลับไม่มีนโยบายอะไรที่เป็นรูปธรรมเลย
“ทรัมป์ vs.กมลา” ละครปาหี่เลือกตั้งอเมริกา
.
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 จะมีการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกา การต่อสู้ระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และ นางกมลา แฮร์ริส กำลังเข้าสู่โค้งสุดท้าย ทั่วโลกกำลังจับตาดูอยู่มาก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำของประเทศๆ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของอเมริกานั้น สำคัญที่สุด จะส่งผลต่อโลกทั้งใบได้
.
ไม่ว่าใครจะชนะ นโยบายอเมริกาไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการขับเคลื่อนประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประธานาธิบดี แต่ถูกบงการโดยรัฐพันลึกที่เขาเรียกว่า Deep State คือกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมอาวุธ อุตสาหกรรมพลังงาน ล็อบบี้ยิสต์ ไปจนถึงเครือข่ายในองค์กรอย่าง CIA, FBI รวมทั้งสื่อมวลชนกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็น CNBC, CBS, CNN, New York Times ซึ่งล้วนแล้วแต่ถือหางเลือกสองข้างพรรคการเมืองใหญ่เท่านั้นเอง
.
ทั้งพรรคเดโมแครต หรือรีพับลิกัน ล้วนยึดนโยบายอเมริกาต้องมาก่อนทั้งนั้น และนโยบายหลายเรื่องไม่มีการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนอิสราเอลให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อไป ต่อต้านจีน บ่อนเซาะรัสเซีย และรักษาสถานภาพมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกเอาไว้ด้วยวิธีการต่างๆ สร้างข่าวปลอม การคว่ำบาตร การทำสงคราม ทั้งสงครามอาวุธและสงครามข้อมูลข่าวสาร
.
อำนาจของสหรัฐฯ เสื่อมโทรม ทรุดถอยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ มีปัญหาในประเทศอย่างหนักหนาสาหัส เพราะเกิดจากระบบทุนนิยมสามัญของตัวเองที่รังแกประชาชนของตัวเอง และใช้วิธีโยนปัญหาให้ประเทศอื่น เหมือนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยหลายครั้งจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นปั่นป่วนไปด้วย แต่พอแข่งขันไม่ได้ สู้ไม่ได้ ก็ตั้งกำแพงภาษีกีดกันสินค้านำเข้าจากจีน ก่อสงครามเทคโนโลยี ส่งผลให้หคนอเมริกาเองต้องใช้สินค้าราคาแพงด้วย
.
นักวิเคราะห์การเมืองทั่วโลกจึงเห็นตรงกันว่า ไม่ว่าใครชนะการเลือกตั้ง นโยบายหลายๆ อย่างไม่เปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนแต่รูปแบบเท่านั้น โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า นางกมลา แฮร์ริส จะใช้มีดผ่าตัด จัดการแบบเชือดนิ่มๆ กับประเทศที่ทำให้สหรัฐฯ เสียผลประโยชน์ ส่วนนายทรัมป์จะใช้ค้อนทุบประเทศคู่แข่งที่เขาบอกว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ
.
ในการประชุม BRICS ที่ประเทศรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชงโก ประธานาธิบดีเบลารุส ได้กล่าวถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นละครปาหี่ทางการเมืองที่ห่วยแตกและงี่เง่าที่สุด พรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน ทุ่มเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการหาเสียงเลือกตั้ง แต่กลับไม่มีนโยบายอะไรที่เป็นรูปธรรมเลย