‘Chancay’ท่าเรือยักษ์เปรู จีนตีท้ายครัวมะกัน
.
ก่อนการประชุมAPEC Peru2024 จะเริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ร่วมกับประธานาธิบดีดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต ผู้นำเปรู ได้ทำพิธีเปิดท่าเรือชานไค (Chancay) ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "1 แถบ 1 เส้นทาง" ที่จะเปลี่ยนให้เปรูเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอเมริกาใต้ และทำให้อเมริกาหวั่นไหวมากถึงอิทธิพลของจีน ซึ่งขยายอิทธิพลมาประชิดหลังบ้านของอเมริกา
.
ท่าเรือชานไค ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงเปรู คือ กรุงลิมา ไปทางทิศเหนือราวๆ 80 กิโลเมตร มีมูลค่าลงทุนทั้งหมด 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 121,000 ล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท Cosco Shipping รัฐวิสาหกิจของจีน ถือหุ้น 60% และบริษัท Volcan บริษัทเหมืองแร่ของเปรู ถือหุ้นอยู่ 40% โครงการนี้เริ่มสร้างเมื่อ 5 ปีที่แล้ว (ปี 2562)
.
ท่าเรือนี้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งจากอเมริกาใต้ไปยังเอเชีย เดิมใช้เวลา 30 วัน ให้เหลือแค่ 20 วัน เส้นทางเดินเรือจากเปรู ตรงไปยังนครเซี่ยงไฮ้ของจีน เป็นท่าเรือแห่งแรกทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกาใต้ที่จะรองรับเรือขนาดใหญ่ 60 ฟุต ที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 24,000 ตู้ คาดว่าในอนาคตจะมีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 100 ล้านตู้ต่อปี คาดว่าจะมีรายได้สูงถึงปีละ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นตั้ง 1.8% ของ GDP ของประเทศเปรู และสามารถสร้างงานได้ถึง 8 พันกว่าตำแหน่ง
.
ทีนี้คำถามมีอยู่ว่า ทำไมอเมริกาถึงมีความหวั่นไหวมากกับท่าเรือชานไค สิ่งที่น่าสนใจคือ ท่าเรือชานไคไม่ใช่แค่ท่าเรือ แต่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งแรกของจีนในลาตินอเมริกา เป็นฐานที่มั่นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ทำให้จีนสามารถควบคุมเส้นทางนำเข้า-ส่งออกในอเมริกาใต้ ในฝั่งแปซิฟิก จนอเมริกาถึงกับหวั่นไหวที่จีนได้ขยายอิทธิพลมายังลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นหลังบ้านของอเมริกานั่นเอง
.
ประเด็น ณ วันนี้ จีนไม่เพียงสามารถเข้าสู่แหล่งทรัพยากรและแร่ธาตุต่างๆ ในลาตินอเมริกาเท่านั้น จีนยังสามารถจะควบคุมเส้นทางคมนาคม โลจิสติกส์ ได้ด้วย ลึกซึ้งไหม แล้วถ้าเราต่อภาพกับเส้นทางในยุโรปที่บริษัทจีนได้ถือหุ้นใหญ่ในท่าเรือไพรีอัสในประเทศกรีก ท่าเรือวาเลนเซียในสเปน รวมทั้งท่าเรือในเมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี และเมืองร็อตเตอร์ดัม ในเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งท่าเรือในศรีลังกา กัมพูชา รถไฟความเร็วสูงในลาว จะเห็นว่ายุทธศาสตร์แถบเส้นทางของจีนได้ครอบคลุมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ได้มากกว่าครึ่งโลก เพราะทั่วโลกจีนเข้าไปเป็นหุ้นส่วนของท่าเรือสำคัญนี้ ทั่วโลกแล้วกว่า 160 แห่ง ยิ่งเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ทอดทิ้งพันธมิตรชาติต่างๆ ด้วยแล้ว บทบาทของจีนในสวนหลังบ้านของอเมริกาอย่างลาตินอเมริกายิ่งมากขึ้น
.
อเมริกาทุกวันนี้หวังว่าจะใช้สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ด้วยการขึ้นภาษี การแซงก์ชัน การกีดกันทางการค้าต่างๆ นานาเพื่อปิดล้อมจีน แต่เราต้องไม่ลืมมองด้วยว่า วันนี้แม้แต่หลังบ้านของตัวเอง ก็ยังถูกจีนปิดล้อมทั้งทางด้านทรัพยากรและเส้นทางคมนาคม และโลจิสติกส์ ไว้เกือบทั้งหมดด้วยแล้วครับ
‘Chancay’ท่าเรือยักษ์เปรู จีนตีท้ายครัวมะกัน . ก่อนการประชุมAPEC Peru2024 จะเริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ร่วมกับประธานาธิบดีดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต ผู้นำเปรู ได้ทำพิธีเปิดท่าเรือชานไค (Chancay) ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "1 แถบ 1 เส้นทาง" ที่จะเปลี่ยนให้เปรูเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอเมริกาใต้ และทำให้อเมริกาหวั่นไหวมากถึงอิทธิพลของจีน ซึ่งขยายอิทธิพลมาประชิดหลังบ้านของอเมริกา . ท่าเรือชานไค ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงเปรู คือ กรุงลิมา ไปทางทิศเหนือราวๆ 80 กิโลเมตร มีมูลค่าลงทุนทั้งหมด 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 121,000 ล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท Cosco Shipping รัฐวิสาหกิจของจีน ถือหุ้น 60% และบริษัท Volcan บริษัทเหมืองแร่ของเปรู ถือหุ้นอยู่ 40% โครงการนี้เริ่มสร้างเมื่อ 5 ปีที่แล้ว (ปี 2562) . ท่าเรือนี้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งจากอเมริกาใต้ไปยังเอเชีย เดิมใช้เวลา 30 วัน ให้เหลือแค่ 20 วัน เส้นทางเดินเรือจากเปรู ตรงไปยังนครเซี่ยงไฮ้ของจีน เป็นท่าเรือแห่งแรกทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกาใต้ที่จะรองรับเรือขนาดใหญ่ 60 ฟุต ที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 24,000 ตู้ คาดว่าในอนาคตจะมีการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 100 ล้านตู้ต่อปี คาดว่าจะมีรายได้สูงถึงปีละ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นตั้ง 1.8% ของ GDP ของประเทศเปรู และสามารถสร้างงานได้ถึง 8 พันกว่าตำแหน่ง . ทีนี้คำถามมีอยู่ว่า ทำไมอเมริกาถึงมีความหวั่นไหวมากกับท่าเรือชานไค สิ่งที่น่าสนใจคือ ท่าเรือชานไคไม่ใช่แค่ท่าเรือ แต่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งแรกของจีนในลาตินอเมริกา เป็นฐานที่มั่นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ทำให้จีนสามารถควบคุมเส้นทางนำเข้า-ส่งออกในอเมริกาใต้ ในฝั่งแปซิฟิก จนอเมริกาถึงกับหวั่นไหวที่จีนได้ขยายอิทธิพลมายังลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นหลังบ้านของอเมริกานั่นเอง . ประเด็น ณ วันนี้ จีนไม่เพียงสามารถเข้าสู่แหล่งทรัพยากรและแร่ธาตุต่างๆ ในลาตินอเมริกาเท่านั้น จีนยังสามารถจะควบคุมเส้นทางคมนาคม โลจิสติกส์ ได้ด้วย ลึกซึ้งไหม แล้วถ้าเราต่อภาพกับเส้นทางในยุโรปที่บริษัทจีนได้ถือหุ้นใหญ่ในท่าเรือไพรีอัสในประเทศกรีก ท่าเรือวาเลนเซียในสเปน รวมทั้งท่าเรือในเมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี และเมืองร็อตเตอร์ดัม ในเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งท่าเรือในศรีลังกา กัมพูชา รถไฟความเร็วสูงในลาว จะเห็นว่ายุทธศาสตร์แถบเส้นทางของจีนได้ครอบคลุมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ได้มากกว่าครึ่งโลก เพราะทั่วโลกจีนเข้าไปเป็นหุ้นส่วนของท่าเรือสำคัญนี้ ทั่วโลกแล้วกว่า 160 แห่ง ยิ่งเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ทอดทิ้งพันธมิตรชาติต่างๆ ด้วยแล้ว บทบาทของจีนในสวนหลังบ้านของอเมริกาอย่างลาตินอเมริกายิ่งมากขึ้น . อเมริกาทุกวันนี้หวังว่าจะใช้สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ด้วยการขึ้นภาษี การแซงก์ชัน การกีดกันทางการค้าต่างๆ นานาเพื่อปิดล้อมจีน แต่เราต้องไม่ลืมมองด้วยว่า วันนี้แม้แต่หลังบ้านของตัวเอง ก็ยังถูกจีนปิดล้อมทั้งทางด้านทรัพยากรและเส้นทางคมนาคม และโลจิสติกส์ ไว้เกือบทั้งหมดด้วยแล้วครับ
Like
Haha
8
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1123 มุมมอง 0 รีวิว