💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล
ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ส่งผลต่อภาวะต้นทุนทางการเงินที่เริ่มผ่อนคลาย
สู่ตลาดสินเชื่อ
ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
หรือ กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวันที่
16 ต.ค. 2567 (จากระดับ 2.50% มาที่ 2.25%)
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยประกาศปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% โดยให้มีผล
ต้นเดือนพ.ย. 2567 พร้อมๆ กับต่ออายุมาตรการ
ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปจนถึงสิ้นปี 2567
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้
เป็นหนึ่งในกลไกการส่งผ่านต้นทุนทางการเงิน
ที่ปรับผ่อนคลายลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาสู่ตลาดสินเชื่อ โดยคาดว่า สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย
และสินเชื่อธุรกิจ ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 40.9%
ของสินเชื่อรวมทั้งระบบแบงก์ไทย
ขณะที่ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว
ของธนาคารพาณิชย์ในรอบนี้จะทำให้ภาระดอกเบี้ย
ของลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจปรับลดลงเกือบ
1,300 ล้านบาท
(คำนวณผลของภาระดอกเบี้ยที่จะปรับลดลง
เฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2567 โดยยังไม่ได้นับรวม
สินเชื่อ ส่วนที่จะเข้าสู่ช่วงการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า)
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#thaitimes
ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ส่งผลต่อภาวะต้นทุนทางการเงินที่เริ่มผ่อนคลาย
สู่ตลาดสินเชื่อ
ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
หรือ กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวันที่
16 ต.ค. 2567 (จากระดับ 2.50% มาที่ 2.25%)
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยประกาศปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% โดยให้มีผล
ต้นเดือนพ.ย. 2567 พร้อมๆ กับต่ออายุมาตรการ
ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปจนถึงสิ้นปี 2567
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้
เป็นหนึ่งในกลไกการส่งผ่านต้นทุนทางการเงิน
ที่ปรับผ่อนคลายลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาสู่ตลาดสินเชื่อ โดยคาดว่า สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย
และสินเชื่อธุรกิจ ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 40.9%
ของสินเชื่อรวมทั้งระบบแบงก์ไทย
ขณะที่ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว
ของธนาคารพาณิชย์ในรอบนี้จะทำให้ภาระดอกเบี้ย
ของลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจปรับลดลงเกือบ
1,300 ล้านบาท
(คำนวณผลของภาระดอกเบี้ยที่จะปรับลดลง
เฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2567 โดยยังไม่ได้นับรวม
สินเชื่อ ส่วนที่จะเข้าสู่ช่วงการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า)
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#thaitimes
💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล
ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ส่งผลต่อภาวะต้นทุนทางการเงินที่เริ่มผ่อนคลาย
สู่ตลาดสินเชื่อ
ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
หรือ กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวันที่
16 ต.ค. 2567 (จากระดับ 2.50% มาที่ 2.25%)
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยประกาศปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% โดยให้มีผล
ต้นเดือนพ.ย. 2567 พร้อมๆ กับต่ออายุมาตรการ
ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปจนถึงสิ้นปี 2567
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้
เป็นหนึ่งในกลไกการส่งผ่านต้นทุนทางการเงิน
ที่ปรับผ่อนคลายลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาสู่ตลาดสินเชื่อ โดยคาดว่า สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย
และสินเชื่อธุรกิจ ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 40.9%
ของสินเชื่อรวมทั้งระบบแบงก์ไทย
ขณะที่ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว
ของธนาคารพาณิชย์ในรอบนี้จะทำให้ภาระดอกเบี้ย
ของลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจปรับลดลงเกือบ
1,300 ล้านบาท
(คำนวณผลของภาระดอกเบี้ยที่จะปรับลดลง
เฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2567 โดยยังไม่ได้นับรวม
สินเชื่อ ส่วนที่จะเข้าสู่ช่วงการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า)
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#หุ้นติดดอย #การลงทุน #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
#thaitimes