• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 137 Views 0 Reviews
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 231 Views 0 Reviews
  • 4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน

    ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥

    🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢

    แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ

    🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ

    จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣

    🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต

    ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี

    ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊

    เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น.

    🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน

    📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน
    9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่
    10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย
    11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที

    💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม

    📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง

    💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน

    คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด

    🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง

    📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค

    📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น

    ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠

    🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥

    🌐 คำถามที่คาใจ
    ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN?
    การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่?
    การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า?

    เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า

    🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา

    🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค

    พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม

    ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน

    พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568

    📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥 🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢 แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ 🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣 🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊ เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น. 🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน 📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน 9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่ 10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย 11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที 💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม 📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง 💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด 🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง 📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค 📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠 🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥 🌐 คำถามที่คาใจ ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN? การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่? การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า? เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า 🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา 🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568 📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    0 Comments 0 Shares 239 Views 0 Reviews
  • แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault)

    สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน

    รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    Like
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 293 Views 0 Reviews
  • เอเอฟพี - ความพยายามของรัฐบาลทหารพม่าในการเปิดประมูลบ้านริมทะเลสาบของอองซานซูจีในวันพุธ (5) ยังคงไม่ประสบความสำเร็จเช่นเคย เนื่องจากไม่มีผู้ยื่นประมูลบ้านของอดีตผู้นำประชาธิปไตยรายนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

    บ้านสองชั้นในย่างกุ้งที่มีพื้นที่ราว 0.8 เฮกตาร์ ถูกนำออกประมูลขายด้วยราคาขั้นต่ำที่ 140 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างอองซานซูจีและพี่ชายของเธอมายาวนานนับสิบปี

    ซูจีที่ถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลาหลายปีภายใต้รัฐบาลทหารชุดก่อน ถูกคุมขังนับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อเดือนก.พ. 2564

    นักข่าวราว 12 คน ได้เข้าร่วมชมการประมูลที่จัดขึ้นริมถนนหน้าบ้านที่ตั้งอยู่บนบนถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ที่มีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น และอยู่ห่างจากสถานทูตสหรัฐฯ ไม่ไกลนัก

    หลังจากเจ้าหน้าที่เปิดเรียกประมูลที่เริ่มต้นที่ 297,000 ล้านจ๊าต หรือประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ กลับไม่ได้รับการตอบรับใดๆ ทำให้ผู้จัดประมูลยกเลิกการประมูลดังกล่าว ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีที่อยู่ในสถานที่ระบุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000011775

    #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    เอเอฟพี - ความพยายามของรัฐบาลทหารพม่าในการเปิดประมูลบ้านริมทะเลสาบของอองซานซูจีในวันพุธ (5) ยังคงไม่ประสบความสำเร็จเช่นเคย เนื่องจากไม่มีผู้ยื่นประมูลบ้านของอดีตผู้นำประชาธิปไตยรายนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว • บ้านสองชั้นในย่างกุ้งที่มีพื้นที่ราว 0.8 เฮกตาร์ ถูกนำออกประมูลขายด้วยราคาขั้นต่ำที่ 140 ล้านดอลลาร์ หลังจากมีข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินระหว่างอองซานซูจีและพี่ชายของเธอมายาวนานนับสิบปี • ซูจีที่ถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลาหลายปีภายใต้รัฐบาลทหารชุดก่อน ถูกคุมขังนับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจอีกครั้งเมื่อเดือนก.พ. 2564 • นักข่าวราว 12 คน ได้เข้าร่วมชมการประมูลที่จัดขึ้นริมถนนหน้าบ้านที่ตั้งอยู่บนบนถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ที่มีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น และอยู่ห่างจากสถานทูตสหรัฐฯ ไม่ไกลนัก • หลังจากเจ้าหน้าที่เปิดเรียกประมูลที่เริ่มต้นที่ 297,000 ล้านจ๊าต หรือประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ กลับไม่ได้รับการตอบรับใดๆ ทำให้ผู้จัดประมูลยกเลิกการประมูลดังกล่าว ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีที่อยู่ในสถานที่ระบุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000011775 • #MGROnline #รัฐบาลทหารพม่า #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    0 Comments 0 Shares 433 Views 0 Reviews
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศถึงการระงับเงินทุนช่วยเหลือด้านการศึกษามูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,518,884,289 บาท) สำหรับนักเรียน นักศึกษาชาวเมียนมา

    เงินทุนดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่อนุมัติสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อสนับสนุนนักศึกษาในเมียนมาตามนโยบาย DEI (นโยบายสนับสนุนความหลากหลาย,ความเท่าเทียม และการเปิดรับคนทุกคน) ภายใต้ชื่อโครงการทุนการศึกษาความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก (DISP)

    เงินทุนสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวมีผู้หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) และสถานทูตสหรัฐฯในนครย่างกุ้งเป็นผู้เบิกจ่าย

    ทรัมป์กล่าวถึงการระงับเงินทุนสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ว่า “เงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นเงินที่มากเกินไปสำหรับการลงทุนเพื่อการศึกษา หรือเพื่อความหลากหลายในเมียนมา พวกคุณคงจินตนาการกันได้ว่าเงินเหล่านั้นมันจะไปไหนได้บ้าง นี่คืออีกรูปแบบของการจ่ายเงิน และยังมีอีกมาก ผมสามารถยืนอยู่ที่นี่ทั้งวัน เพื่อเล่าให้พวกคุณฟังถึงสิ่งที่เราได้พบมา เราแค่ต้องการให้เงินมันไปยังที่ๆเหมาะสมกว่าเท่านั้น”
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศถึงการระงับเงินทุนช่วยเหลือด้านการศึกษามูลค่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,518,884,289 บาท) สำหรับนักเรียน นักศึกษาชาวเมียนมา เงินทุนดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่อนุมัติสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อสนับสนุนนักศึกษาในเมียนมาตามนโยบาย DEI (นโยบายสนับสนุนความหลากหลาย,ความเท่าเทียม และการเปิดรับคนทุกคน) ภายใต้ชื่อโครงการทุนการศึกษาความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก (DISP) เงินทุนสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวมีผู้หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) และสถานทูตสหรัฐฯในนครย่างกุ้งเป็นผู้เบิกจ่าย ทรัมป์กล่าวถึงการระงับเงินทุนสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ว่า “เงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นเงินที่มากเกินไปสำหรับการลงทุนเพื่อการศึกษา หรือเพื่อความหลากหลายในเมียนมา พวกคุณคงจินตนาการกันได้ว่าเงินเหล่านั้นมันจะไปไหนได้บ้าง นี่คืออีกรูปแบบของการจ่ายเงิน และยังมีอีกมาก ผมสามารถยืนอยู่ที่นี่ทั้งวัน เพื่อเล่าให้พวกคุณฟังถึงสิ่งที่เราได้พบมา เราแค่ต้องการให้เงินมันไปยังที่ๆเหมาะสมกว่าเท่านั้น”
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 534 Views 13 0 Reviews
  • ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง

    งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

    อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม

    "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด"

    ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

    ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย

    สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair.

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ศิลปินฟ้องแอร์เอเชีย ละเมิดสตรีทอาร์ตปีนัง งานเข้าอีกครั้งสำหรับโลว์คอสต์แอร์ไลน์สัญชาติมาเลเซีย อย่างสายการบินแอร์เอเชีย คราวนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่เป็นการนำผลงานสตรีทอาร์ตบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียไปใช้ โดยที่เจ้าของผลงานตัวจริงเห็นว่าไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและไม่ยุติธรรมสำหรับเขา อินสตาแกรม ernestzacharevic ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิช (Ernest Zacharevic) ศิลปินชาวลิทัวเนีย เจ้าของผลงานสตรีทอาร์ต "Children On A Bicycle" ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก โพสต์ข้อความในหัวข้อ "AIRASIA UPDATE: It’s Time to Talk" ระบุว่า เมื่อ 2 เดือนก่อนได้โพสต์วีดีโอคลิปเครื่องบินแอร์เอเชีย ที่มีภาพจิตรกรรมบนผนังของตน ซึ่งถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม "น่าเสียดายที่ไม่ใช่ครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังของผมปรากฎในแคมเปญผ่านอีเมล โฆษณา นิตยสารบนเที่ยวบิน และอื่นๆ ของแอร์เอเชีย โดยไม่ได้รับการให้เครดิต ความยินยอม หรือการชดเชยใดๆ ที่เหมาะสม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตราย นั่นหมายความว่าผลงานของศิลปินอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรับผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่เรื่องของผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนศิลปินทั้งหมด" ที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างยุติธรรมและเป็นมืออาชีพ แต่การตอบสนองของแอร์เอเชียมีแค่ออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการละเมิดลิขสิทธิ์ในอดีต และยืดเยื้อการพูดคุย และเห็นว่าข้อเสนอสุดท้ายไม่สะท้อนถึงคุณค่าต่อผลงานของตน ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยเมื่อยื่นฟ้องแล้ว เขาจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ศิลปินรายนี้ยังได้แนบภาพหลักฐานที่ผลงานของตน ถูกแอร์เอเชียนำไปใช้แคมเปญโฆษณาต่างๆ มีทั้งการเปิดเส้นทางบินใหม่ระหว่างปีนังไปยังย่างกุ้ง กรุงเทพฯ และเวียดนาม นำไปตัดต่อเป็นสื่อโฆษณาของบริษัทในเครือ เช่น บริการดีลิเวอรีแอร์เอเชียฟู้ด บริการขนส่งสินค้าเทเลพอร์ต และล่าสุดคือลวดลายบนเครื่องบินแอร์เอเชีย สำหรับผลงานสตรีทอาร์ต Children On A Bicycle ตั้งอยู่ที่ถนนอาร์เมเนียนในเมืองจอร์จทาวน์ ถูกวาดโดยซาชาเรวิชเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตบนเกาะปีนัง โดยใช้เด็กสองคนที่ชื่อว่า ด.ญ.ตัน ยี (Tan Yi) เมื่ออายุ 5 ขวบ และ ด.ช.ตัน เคิร์น (Tan Kern) เมื่ออายุ 3 ขวบมาเป็นแบบ กลายเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมาเยือน กระทั่งเวลาผ่านไป 12 ปี เมื่อเดือน ต.ค.2567 ซาชาเรวิช ได้บูรณะภาพวาดสตรีทอาร์ตดังกล่าว พร้อมกับงานศิลปะอีก 3 ภาพ ได้แก่ Boy On a Bike, Little Boy with a Pet Dinosaur และ Boy on Chair. #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    2
    1 Comments 0 Shares 843 Views 0 Reviews
  • ชมภาพชาวพม่านับหมื่นออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะ 3 เมืองหลัก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปีดอ

    ช่วงค่ำวานนี้ (31 ธ.ค.) เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่า โดยเฉพาะในกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ ต่างมีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมเคานต์ดาวน์กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

    โดยผู้ว่าการกรุงย่างกุ้งได้มีการยกเว้นประกาศห้ามคนออกจากบ้านยามค่ำคืนเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเลยเที่ยงคืนของวันที่ 1 มกราคม ในหลายจุดของเมืองมีการจัดซุ้มไฟ ประดับไฟน้ำพุ เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาถ่ายภาพ มีการแสดงบนบนเวทีโดยนักร้องชื่อดังและตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ และหลายพื้นที่มีการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ในเวลา 24.00 น.

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000106

    #MGROnline #เคานต์ดาวน์ #ส่งท้ายปีเก่า #ต้อนรับปีใหม่ #ย่างกุ้ง #มัณฑะเลย์ #เนปีดอ
    ชมภาพชาวพม่านับหมื่นออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะ 3 เมืองหลัก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปีดอ • ช่วงค่ำวานนี้ (31 ธ.ค.) เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่า โดยเฉพาะในกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ ต่างมีการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมเคานต์ดาวน์กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง • โดยผู้ว่าการกรุงย่างกุ้งได้มีการยกเว้นประกาศห้ามคนออกจากบ้านยามค่ำคืนเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ออกมาร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 18.00 น. จนถึงเลยเที่ยงคืนของวันที่ 1 มกราคม ในหลายจุดของเมืองมีการจัดซุ้มไฟ ประดับไฟน้ำพุ เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาถ่ายภาพ มีการแสดงบนบนเวทีโดยนักร้องชื่อดังและตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ และหลายพื้นที่มีการจุดพลุต้อนรับปีใหม่ในเวลา 24.00 น. • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000000106 • #MGROnline #เคานต์ดาวน์ #ส่งท้ายปีเก่า #ต้อนรับปีใหม่ #ย่างกุ้ง #มัณฑะเลย์ #เนปีดอ
    0 Comments 0 Shares 652 Views 0 Reviews
  • ศาลในนครย่างกุ้งตัดสินว่าบ้านของอองซานซูจี ผู้นำพลเรือนที่ถูกคุมขัง จะถูกนำออกประมูลอีกครั้งในวันที่ 5 ก.พ. 2568 โดยราคาขั้นต่ำจะลดลงเหลือ 297,000 ล้านจ๊าต

    บ้านของครอบครัวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งอยู่เลขที่ 54 ถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ในย่านบาฮัน ซึ่งเคยถูกนำออกประมูลแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการเสนอราคาแม้แต่ครั้งเดียวในการประมูลทั้ง 2 ครั้งดังกล่าว

    ราคาขั้นต่ำ 315,000 ล้านจ๊าตในการประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ลดลงเหลือ 300,000 ล้านจ๊าต (ประมาณ 92 ล้านดอลลาร์) ในการประมูลครั้งที่ 2 เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา

    บ้านหลังดังกล่าวเป็นศูนย์กลางของข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ระหว่างอองซานซูจี และอองซาน อู พี่ชาย ที่เป็นพลเมืองสหรัฐฯ อาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย

    การประมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากศาลที่ควบคุมโดยรัฐบาลทหารได้ตัดสินให้พี่ชายของซูจีชนะคดี หลังจากเขาเรียกร้องให้มีการประมูลบ้านและแบ่งรายได้

    ในปี 2490 รัฐบาลพม่าได้มอบบ้านริมทะเลสาบอินยาบนที่ดิน 1.9 เอเคอร์ ให้กับดอว์ ขิ่นจี แม่ของซูจี หลังการลอบสังหารนายพลอองซาน สามีของเธอ ที่เป็นบิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า โดยดอว์ ขิ่นจี อาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2531

    อองซานซูจีถูกตัดสินกักบริเวณในบ้านของครอบครัว 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 15 ปี ในช่วงปี 2532 ถึงปี 2553 ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารชุดก่อน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/indochina/detail/9670000123867

    #MGROnline #บ้านของอองซานซูจี #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    ศาลในนครย่างกุ้งตัดสินว่าบ้านของอองซานซูจี ผู้นำพลเรือนที่ถูกคุมขัง จะถูกนำออกประมูลอีกครั้งในวันที่ 5 ก.พ. 2568 โดยราคาขั้นต่ำจะลดลงเหลือ 297,000 ล้านจ๊าต • บ้านของครอบครัวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งอยู่เลขที่ 54 ถนนยูนิเวอร์ซิตี้ ในย่านบาฮัน ซึ่งเคยถูกนำออกประมูลแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการเสนอราคาแม้แต่ครั้งเดียวในการประมูลทั้ง 2 ครั้งดังกล่าว • ราคาขั้นต่ำ 315,000 ล้านจ๊าตในการประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ลดลงเหลือ 300,000 ล้านจ๊าต (ประมาณ 92 ล้านดอลลาร์) ในการประมูลครั้งที่ 2 เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา • บ้านหลังดังกล่าวเป็นศูนย์กลางของข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ระหว่างอองซานซูจี และอองซาน อู พี่ชาย ที่เป็นพลเมืองสหรัฐฯ อาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย • การประมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากศาลที่ควบคุมโดยรัฐบาลทหารได้ตัดสินให้พี่ชายของซูจีชนะคดี หลังจากเขาเรียกร้องให้มีการประมูลบ้านและแบ่งรายได้ • ในปี 2490 รัฐบาลพม่าได้มอบบ้านริมทะเลสาบอินยาบนที่ดิน 1.9 เอเคอร์ ให้กับดอว์ ขิ่นจี แม่ของซูจี หลังการลอบสังหารนายพลอองซาน สามีของเธอ ที่เป็นบิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า โดยดอว์ ขิ่นจี อาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2531 • อองซานซูจีถูกตัดสินกักบริเวณในบ้านของครอบครัว 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 15 ปี ในช่วงปี 2532 ถึงปี 2553 ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารชุดก่อน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9670000123867 • #MGROnline #บ้านของอองซานซูจี #บ้านริมทะเลสาบ #อองซานซูจี
    0 Comments 0 Shares 538 Views 0 Reviews
  • 10/12/67

    แพ้อาหาร

    กุ้ง

    อาการแพ้กุ้งกับสาเหตุที่หลายคนอาจไม่รู้

    อาการแพ้กุ้งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นลมพิษ ผื่นคัน หน้าบวม หรือหายใจติดขัด อาการเหล่านี้เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองรุนแรงกว่าปกติ

    ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยอาการแพ้มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการแพ้กุ้งอาจบรรเทาและป้องกันได้หลายวิธี
    อย่างที่กล่าวไปว่า อาการแพ้กุ้งเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองมากกว่าปกติ โดยร่างกายมองว่าสารบางอย่างในตัวกุ้งเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงกระตุ้นการหลั่งสารเคมีเพื่อมากำจัดสารชนิดนั้น ซึ่งการต่อสู้กันระหว่างสารและร่างกายจะทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา

    อาการแพ้กุ้งเป็นอย่างไร ?
    โดยทั่วไป อาการแพ้อาหารนั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาจเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารในทันทีหรือเกิดขึ้นหลังรับประทานไปหลายชั่วโมง ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอาจแบ่งได้ ดังนี้

    * ผิวหนัง
อาการแพ้ในรูปแบบนี้มักเห็นได้ชัด อย่างลมพิษ ผื่นแดง คัน พบอาการบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก และคอ

    * ระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณคอที่บวมมากขึ้นอาจส่งผลให้หายใจไม่สะดวก รวมถึงสารฮิสตามีนที่หลั่งออกมาจะส่งผลให้มีอาการไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หรือหายใจลำบาก

    * ลำไส้และกระเพาะอาหาร
อาการแพ้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และปวดท้อง

    * ระบบประสาท
อาการแพ้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หน้ามืด และเป็นลมได้

    * ภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง
ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่เป็นภาวะที่อันตรายจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยภาวะนี้จะส่งผลให้หายใจไม่ออก หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดต่ำลง ช็อก หมดสติ และเสียชีวิต ดังนั้น หากปรากฏสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที

    แม้ความรุนแรงของอาการแพ้กุ้งอาจขึ้นอยู่ปริมาณที่รับประทาน แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการได้รับสารก่ออาการแพ้เพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีอาการแพ้กุ้งบางรายก็อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงตามมาได้

    เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
    เมื่อเกิดอาการผิดปกติภายหลังจากการรับประทานกุ้ง คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอาการที่เกิดมาจากการแพ้กุ้ง

    ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นการแพ้สารในกุ้งโดยตรง หรือแพ้สารที่เกิดจากอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งก็ได้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการแพ้กุ้งของคนไทยมักเกิดจากสารฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) ที่อยู่ในกุ้งแม่น้ำหรือกุ้งก้ามกราม สารโปรตีนลิพิดไบน์ดิง (Lipid-binding Protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน (Alpha-actinin Protein) ที่อยู่ในกุ้งกุลาดำหรือกุ้งลายเสือ

    โดยสารเหล่านี้เป็นสารที่อยู่ภายในตัวกุ้งโดยตรง แต่ในบางกรณี สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาจมาอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้ง จึงอาจทำให้บางคนแพ้กุ้งเพียงบางครั้ง เนื่องจากรับประทานกุ้งที่มาจากคนละแหล่งกัน

    หลายคนอาจสงสัยว่าตอนเด็กไม่เคยมีอาการแพ้กุ้งมาก่อน แต่กลับมามีอาการแพ้กุ้งในตอนโต โดยสาเหตุอาจมาจากการสะสมสารก่ออาการแพ้มาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีการกระตุ้นมากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดอาการแพ้ได้

    รวมถึงบางคนที่แพ้กุ้งเพียงบางชนิดก็อาจเกิดจากสารภายในตัวกุ้งที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อย่างกุ้งน้ำจืดและกุ้งน้ำเค็ม ขณะที่บางคนอาจแพ้โปรตีนทีอยู่ในเปลือกของกุ้ง ซึ่งมักจะมีอาการแพ้สัตว์มีกระดองหรือแพ้อาหารทะเลชนิดอื่น อย่างปู หอย หรือปลาหมึกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ในบางรายก็สามารถรับประทานอาหารทะเลชนิดอื่นได้ปกติ

    นอกจากนี้ อาการแพ้ที่หลายคนคิดว่าเกิดจากการรับประทานกุ้งยังอาจมาจากสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ เช่น อาหารเป็นพิษ โรคลำไส้อักเสบ โรคมะเร็งลำไส้ หรือความรู้สึกกลัวอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นต้น

    อาการแพ้กุ้งรับมือได้
    การรับมือกับอาการแพ้กุ้งหรือการแพ้อาหารที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เพื่อป้องกันอาการแพ้ จึงควรใส่ใจที่จะอ่านฉลากอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง

    ถ้าหากรับประทานไปแล้วเกิดอาการแพ้ในระดับที่ไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้

    สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง มีอาการเวียนศีรษะ ความดันต่ำ หรือรู้สึกคล้ายจะหมดสติ ควรเรียกรถพยาบาลทันที สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้รุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยา✅อิพิเนฟริน (Epinephrin) ในรูปเข็มฉีดสำหรับรูปไว้ใช้เมื่อเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยหลังจากฉีดควรไปโรงพยาบาลทันที

    นอกจากนี้ ผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้กุ้ง อาหารทะเล หรืออาหารอื่น ๆ อย่างรุนแรง ควรอยู่ให้ห่างจากแหล่งที่มีของที่แพ้จำหน่าย อย่างตลาด ร้านอาหารทะเล หรือโรงงาน เนื่องจากการสูดดมสารก่ออาการแพ้ที่ลอยอยู่ในอากาศก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

    อย่างไรก็ตาม หากหาสาเหตุของการแพ้ไม่ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาสารก่ออาการแพ้ด้วยวิธีทางการแพทย์
    cr:POBPOD





    10/12/67 แพ้อาหาร กุ้ง อาการแพ้กุ้งกับสาเหตุที่หลายคนอาจไม่รู้ อาการแพ้กุ้งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นลมพิษ ผื่นคัน หน้าบวม หรือหายใจติดขัด อาการเหล่านี้เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยอาการแพ้มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการแพ้กุ้งอาจบรรเทาและป้องกันได้หลายวิธี อย่างที่กล่าวไปว่า อาการแพ้กุ้งเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองมากกว่าปกติ โดยร่างกายมองว่าสารบางอย่างในตัวกุ้งเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงกระตุ้นการหลั่งสารเคมีเพื่อมากำจัดสารชนิดนั้น ซึ่งการต่อสู้กันระหว่างสารและร่างกายจะทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา อาการแพ้กุ้งเป็นอย่างไร ? โดยทั่วไป อาการแพ้อาหารนั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาจเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารในทันทีหรือเกิดขึ้นหลังรับประทานไปหลายชั่วโมง ซึ่งลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอาจแบ่งได้ ดังนี้ * ผิวหนัง
อาการแพ้ในรูปแบบนี้มักเห็นได้ชัด อย่างลมพิษ ผื่นแดง คัน พบอาการบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก และคอ * ระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณคอที่บวมมากขึ้นอาจส่งผลให้หายใจไม่สะดวก รวมถึงสารฮิสตามีนที่หลั่งออกมาจะส่งผลให้มีอาการไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก หรือหายใจลำบาก * ลำไส้และกระเพาะอาหาร
อาการแพ้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และปวดท้อง * ระบบประสาท
อาการแพ้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หน้ามืด และเป็นลมได้ * ภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง
ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่เป็นภาวะที่อันตรายจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยภาวะนี้จะส่งผลให้หายใจไม่ออก หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดต่ำลง ช็อก หมดสติ และเสียชีวิต ดังนั้น หากปรากฏสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที แม้ความรุนแรงของอาการแพ้กุ้งอาจขึ้นอยู่ปริมาณที่รับประทาน แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการได้รับสารก่ออาการแพ้เพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีอาการแพ้กุ้งบางรายก็อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงตามมาได้ เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง เมื่อเกิดอาการผิดปกติภายหลังจากการรับประทานกุ้ง คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอาการที่เกิดมาจากการแพ้กุ้ง ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นการแพ้สารในกุ้งโดยตรง หรือแพ้สารที่เกิดจากอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งก็ได้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการแพ้กุ้งของคนไทยมักเกิดจากสารฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) ที่อยู่ในกุ้งแม่น้ำหรือกุ้งก้ามกราม สารโปรตีนลิพิดไบน์ดิง (Lipid-binding Protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน (Alpha-actinin Protein) ที่อยู่ในกุ้งกุลาดำหรือกุ้งลายเสือ โดยสารเหล่านี้เป็นสารที่อยู่ภายในตัวกุ้งโดยตรง แต่ในบางกรณี สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาจมาอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้ง จึงอาจทำให้บางคนแพ้กุ้งเพียงบางครั้ง เนื่องจากรับประทานกุ้งที่มาจากคนละแหล่งกัน หลายคนอาจสงสัยว่าตอนเด็กไม่เคยมีอาการแพ้กุ้งมาก่อน แต่กลับมามีอาการแพ้กุ้งในตอนโต โดยสาเหตุอาจมาจากการสะสมสารก่ออาการแพ้มาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีการกระตุ้นมากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดอาการแพ้ได้ รวมถึงบางคนที่แพ้กุ้งเพียงบางชนิดก็อาจเกิดจากสารภายในตัวกุ้งที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อย่างกุ้งน้ำจืดและกุ้งน้ำเค็ม ขณะที่บางคนอาจแพ้โปรตีนทีอยู่ในเปลือกของกุ้ง ซึ่งมักจะมีอาการแพ้สัตว์มีกระดองหรือแพ้อาหารทะเลชนิดอื่น อย่างปู หอย หรือปลาหมึกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ในบางรายก็สามารถรับประทานอาหารทะเลชนิดอื่นได้ปกติ นอกจากนี้ อาการแพ้ที่หลายคนคิดว่าเกิดจากการรับประทานกุ้งยังอาจมาจากสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ เช่น อาหารเป็นพิษ โรคลำไส้อักเสบ โรคมะเร็งลำไส้ หรือความรู้สึกกลัวอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นต้น อาการแพ้กุ้งรับมือได้ การรับมือกับอาการแพ้กุ้งหรือการแพ้อาหารที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เพื่อป้องกันอาการแพ้ จึงควรใส่ใจที่จะอ่านฉลากอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง ถ้าหากรับประทานไปแล้วเกิดอาการแพ้ในระดับที่ไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง มีอาการเวียนศีรษะ ความดันต่ำ หรือรู้สึกคล้ายจะหมดสติ ควรเรียกรถพยาบาลทันที สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้รุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยา✅อิพิเนฟริน (Epinephrin) ในรูปเข็มฉีดสำหรับรูปไว้ใช้เมื่อเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยหลังจากฉีดควรไปโรงพยาบาลทันที นอกจากนี้ ผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้กุ้ง อาหารทะเล หรืออาหารอื่น ๆ อย่างรุนแรง ควรอยู่ให้ห่างจากแหล่งที่มีของที่แพ้จำหน่าย อย่างตลาด ร้านอาหารทะเล หรือโรงงาน เนื่องจากการสูดดมสารก่ออาการแพ้ที่ลอยอยู่ในอากาศก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อย่างไรก็ตาม หากหาสาเหตุของการแพ้ไม่ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาสารก่ออาการแพ้ด้วยวิธีทางการแพทย์ cr:POBPOD
    0 Comments 0 Shares 832 Views 0 Reviews
  • **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!!

    ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ
    เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร

    Somkiat Osotsapa
    January 31 at 5:18am ·
    พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน
    -------------------------
    เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต
    ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก

    แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา

    แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น

    สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง

    อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า…

    เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก
    คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที
    เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค
    แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว…

    แล้วก็รู้ว่า:-
    ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ
    แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว
    งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ

    ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม

    ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก
    หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก
    นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ

    ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว

    รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก

    นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี

    ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย

    ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ…

    ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้
    แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน
    ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน

    ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข

    นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น

    นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ

    บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน

    Somkiat Osotsapa
    February 5 at 12:31am ·

    เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร
    --------------------------
    อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ

    คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน

    มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท

    ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก)

    ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50%

    คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง
    เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย

    ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก…

    รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม…

    การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย…

    รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี…

    ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก

    ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย
    เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย

    ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้

    ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด

    งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน

    เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด

    หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี

    ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า

    อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป
    --------------------------
    ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด

    ระวังว่ามันจะระเบิด

    ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ

    ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้
    ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4

    ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ

    เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ

    เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี

    กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ

    ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี…
    ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา
    วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ
    อือม์ มันน่ากลัว…
    เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว
    --------------

    ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม
    เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space

    ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่…
    สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด…

    ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก…
    ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก
    ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน

    ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000
    แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ

    ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน
    อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา…
    ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด

    มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย

    ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย

    ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้
    มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา

    ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก

    มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ
    จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้

    มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 ---------------

    ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด

    ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์

    ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า

    ไม่เจ๊งไงไหว
    ---------------------

    ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก…
    เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ

    เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้
    --------------
    ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว
    -------------------

    ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก…

    ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง

    ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม…
    ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ
    --------------
    ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน
    --------------

    ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ
    ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ

    ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน

    ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์

    ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ

    กรรมการสภากาชาดด้วย

    ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย

    ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก

    เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน

    แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว

    ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก

    ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว
    มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ
    ------------------
    ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้

    เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ
    จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้…

    วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย
    ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา
    เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!! ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร Somkiat Osotsapa January 31 at 5:18am · พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน ------------------------- เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า… เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว… แล้วก็รู้ว่า:- ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ… ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้ แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน Somkiat Osotsapa February 5 at 12:31am · เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร -------------------------- อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก) ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50% คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก… รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม… การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย… รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี… ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้ ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป -------------------------- ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด ระวังว่ามันจะระเบิด ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้ ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4 ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี… ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ อือม์ มันน่ากลัว… เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว -------------- ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่… สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด… ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก… ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000 แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา… ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้ มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้ มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 --------------- ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์ ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า ไม่เจ๊งไงไหว --------------------- ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก… เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้ -------------- ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว ------------------- ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก… ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม… ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ -------------- ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน -------------- ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์ ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ กรรมการสภากาชาดด้วย ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ ------------------ ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้ เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้… วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    Sad
    2
    0 Comments 1 Shares 1876 Views 0 Reviews

  • *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว*
    โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย

    จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน

    จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก

    สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา

    อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต

    สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย

    มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า”

    พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว

    สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า

    เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ

    นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ

    ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน

    พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค

    ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย

    ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ

    รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว

    หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน

    กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ

    พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ

    ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

    โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย

    ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ

    อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    *นักรบอเมริกันและอังกฤษเข้าพม่าแล้ว* โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย จะควบคุมไม่ให้จีนมีความสงบที่จะพัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจแข่งกับตัวเอง สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนไต้หวัน จะให้รัสเซียเสียสมาธิในการพัฒนาประเทศใหญ่และมีทรัพยากรมากที่สุดในโลก สหรัฐฯและตะวันตกต้องหนุนอูเครน จอร์เจีย และประเทศทั้งหลายที่มีพรมแดนประชิดติดกับรัสเซีย สร้างสงครามเพื่อฉุดรัสเซียให้ลงมา อิหร่านเป็นประเทศใหญ่และมีท่าทีเป็นศัตรูต่อสหรัฐฯ สหรัฐฯและตะวันตกจำเป็นต้องหนุนอาเซอร์ไบจาน ต่อไปในอนาคต สหรัฐฯจะเผชิญกับมหาอำนาจใหม่อย่างจีน รัสเซีย และอินเดีย มีอยู่ประเทศหนึ่งซึ่งถ้าสหรัฐฯและตะวันตกสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ก็สามารถสร้างความหงุดหงิดกังวลใจให้ทั้งจีนและอินเดียได้ ประเทศนั้นคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า” พม่ามีพื้นที่มากกว่าไทย คือมีมากถึง 676,578 ตร.กม. มีพรมแดนติดกับจีนยาว 2,129 กิโลเมตร และติดอินเดีย 1,468 กิโลเมตร หากสหรัฐฯและตะวันตกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลใหม่ของพม่า ก็สามารถใช้พม่าเป็นฐานก่อกวนได้ทั้งอินเดียและจีน ยิงปืนนัดเดียว นกตกลงมาทั้ง 2 ตัว สำนักข่าวเดอะบิสซิเนสสแตนดาร์ดและสำนักข่าวอัลจาซีราห์ยืนยันตรงกันว่า มีอาสาสมัครจากตะวันตก สัญชาติอเมริกันและอังกฤษ เข้าร่วมรบต่อต้านรัฐบาลพม่า เมื่อถามว่า พวกคุณมารบทำไม ทหารตะวันตกพวกนี้ตอบว่า พวกตนได้แรงบันดาลใจจากความกล้าหาญของพวกต่อต้านรัฐประหาร จึงต้องมาช่วยรบ นักรบอเมริกันและอังกฤษพวกนี้เคยปฏิบัติงานทั้งในอัฟกานิสถานและอูเครน ขณะกำลังสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าก็มีการถ่ายคลิปวิดีโอกระจายออกไป เพื่อดึงคนที่สนใจให้เข้ามาช่วยกันรบ ขณะนี้มีการเตรียมตั้งทีมทหารที่เคยผ่านสงครามในหลายสมรภูมิ ชาวสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ เพื่อเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้าน พม่าประกอบด้วย 7 ภาค และ 7 รัฐ แต่ละภาคและรัฐมีเมืองเอก หรือเมืองหลวงเป็นของตนเอง เช่น ภาคสะกาย ภาคมัณฑะเลย์ ภาคมะเกว ภาคพะโค ภาคย่างกุ้ง ทั้ง 5 ภาค มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับชื่อภาค ยกเว้นภาคเอยาวดีที่มีเมืองหลวงชื่อพะสิม และภาคตะนาวศรีที่มีเมืองหลวงชื่อทวาย ประชาชนคนในภาคส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หากประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตั้งเป็นรัฐ รัฐคะฉิ่น (เมืองหลวงคือมิตจินา) รัฐคะยา (ลอยก่อ) รัฐกะเหรี่ยง (พะอัน) รัฐชิน (ฮะคา) รัฐมอญ (เมาะลำไย) รัฐยะไข่ (ชิตตเว) และรัฐฉาน (ตองจี) รัฐเหล่านี้มีทหารตะวันตกเข้าไปฝังตัวแล้ว หลายคนเปิดเผยตัวตนผ่านคลิป บางคนบอกว่า อ้า ข้าพเจ้ามาจากสหรัฐฯตอนใต้ บางคนมาจากอังกฤษที่เคยช่วยกองกำลังวายพีจีที่นำโดยชาวเคิร์ดในซีเรีย ทุกคนบอกว่าที่ตนมาปฏิบัติการนี้ เป็นการปฏิบัติการเพื่อชาวโลกอย่างเดียวกับที่ช่วยซีเรียกับอูเครน กลุ่มศาสนาก็เอากับเขาด้วย นอกจากกลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน (เอฟบีอาร์) จะให้สิ่งของและการรักษาพยาบาลแล้ว ยังมีภาพและคลิปของสมาชิกเอฟบีอาร์แต่งชุดติดอาวุธ พม่าจะเป็นพื้นที่แห่งใหม่ที่มหาอำนาจใหญ่ใช้ประลองกำลัง ขณะที่ตะวันตกส่งทหารรับจ้างมาปฏิบัติงาน มีข่าวที่ไม่ได้ยืนยันว่า รัสเซียส่งครูมาสอนวิธีการใช้อาวุธรัสเซียให้กับทหารพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็เดินทางไปเยือนจีนกับรัสเซียเพื่อจัดหาโดรนมาใช้ในการสู้รบ ไทยมีพรมแดนประชิดติดกับพม่า 2,416 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่ยาวที่สุดที่พม่ามีกับประเทศอื่น นอกจากนั้นยังมีชาวพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลายล้านคน แน่นอนว่าหายนภัยที่มาจากการสู้รบ ต้องกระทบกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง โลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ ตอนที่เกิดสงครามรัสเซีย-อูเครน หลายท่านก็เฉยๆ เพราะคิดว่าสถานที่สู้รบอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ตอนที่เกิดความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน หลายคนก็บอก โอย ไกลจากไทยเยอะแยะ อย่าไปสนใจ อ้าว เฮ้ย วันนี้ สงครามใหญ่ใกล้ประชิดติดพรมแดนของเราแล้ว..
    0 Comments 0 Shares 731 Views 0 Reviews
  • 🙇‍♀️สวัสดีคะอาจารย์สนธิ พรุ่งนี้จะรอชมตอนที่พูดถึง"ดิไอคอน...ประเด็นนี้หนูยังไม่สนใจเท่ากรณ๊"เกาะกูด&ม.112"ที่ถูกข่าวนี้กลบจนสนิทไปเลย สื่อนำเสนอกันฯลฯแล้วตอนนี้ไทยไปนำเข้าแรงงานเมียรม่า ถึงย่างกุ้งเลยขึ้นทะเบียนที่นั่นหรือ?ทุกวันนี้คนไทยยังลำบากกันไม่พออีกหรือยังไง รบ.ไม่สนใจแก้ปัญหาปากท้องประชาชนสนใจแต่จะแก้"รัฐธรรมนูญ ปราบโกงไม่มีวันหมดอายุความเศร้าใจ หมดหวังจริงๆ👎
    🙇‍♀️สวัสดีคะอาจารย์สนธิ พรุ่งนี้จะรอชมตอนที่พูดถึง"ดิไอคอน...ประเด็นนี้หนูยังไม่สนใจเท่ากรณ๊"เกาะกูด&ม.112"ที่ถูกข่าวนี้กลบจนสนิทไปเลย สื่อนำเสนอกันฯลฯแล้วตอนนี้ไทยไปนำเข้าแรงงานเมียรม่า ถึงย่างกุ้งเลยขึ้นทะเบียนที่นั่นหรือ?ทุกวันนี้คนไทยยังลำบากกันไม่พออีกหรือยังไง รบ.ไม่สนใจแก้ปัญหาปากท้องประชาชนสนใจแต่จะแก้"รัฐธรรมนูญ ปราบโกงไม่มีวันหมดอายุความเศร้าใจ หมดหวังจริงๆ👎
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 323 Views 0 Reviews
  • สำนักข่าวอิศรารายงานจาก VOA สื่อสหรัฐฯเผยเรือนจำระนองปล่อยตัวนักโทษเมียนมากลับไปถูกเกณฑ์ทหารนับร้อยทุกเดือน ขณะสภาทหารเมียนมาโต้ข่าวยืนยันไม่มีนโยบายบังคับเกณฑ์ทหารชาวเมียนมากลับจากประเทศไทย

    11 สิงหาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวอ้างอิงสำนักข่าววอยซ์ออฟอเมริกาเกี่ยวกับกรณีที่นักโทษถูกปล่อยตัวจากเรือนจำใน จ.ระนอง และถูกส่งตัวกลับไปยังภูมิภาคเกาะสอง ประเทศเมียนมา พบว่าบุคคลเหล่านี้ถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารทันทีเมื่อถึงประเทศบ้านเกิด

    นักโทษเหล่านี้ถูกระบุว่าถูกจับตัวมาจากหลายพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวที่ จ.ระนอง ถูกควบคุมตัวและถูกส่งตัวกลับไปยัง เมืองตะนาวศรี ภูมิภาคเกาะสองเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่นาย U Moe Wai ผู้รับผิดชอบศูนย์ทรัพยากรแรงงานข้ามชาติ (MWRC) ซึ่งเป็นสังกัดของมูลนิธิของมูลนิธิการศึกษาและพัฒนาของเกาะสองกล่าวว่ามีส่วนเมียนมามากกว่า 100 คน ที่ถูกส่งตัวกลับ

    “มีชาวเมียนมาเป็นจำนวน 135 คน 39 คนเป็นเด็กผู้หญิง ทั้งหมดถูกจับมาจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย หลายคนเพิ่งมาถึงใหม่ บางคนมีนายจ้างและสถานที่พักอาศัยแตกต่างกันออกไป” นาย U Moe Wai กล่าวและกล่าวต่อไปว่านักโทษเหล่านี้มาจากหลายพื้นที่ในเมียนมาด้วยกันอาทิ รัฐยะไข่ รัฐมอน เมืองตะนาวศรี,พะโค,ทวาย และย่างกุ้ง

    นาย U Moe Wai กล่าวว่าสืบเนื่องจากว่ามีข่าวว่าสภาทหารเมียนมาได้เกณฑ์ทหารจากบุคคลที่กลับมาจากประเทศไทย โดยเฉพาะกับนักโทษที่ชดใช้โทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตัวเขาจึงได้สอบถามไปยังบุคคลที่ถูกจับว่าพวกเขาถูกจับแค่เพียงครั้งเดียว ตอนที่อยู่ที่เมืองตะนาวศรีใช่หรือไม่ พวกเขาจึงได้เล่าเรื่องที่ว่านี้

    มีรายงานว่ามีชาวเมียนมาอย่างน้อย 100 คนถูกส่งตัวกลับในทุกเดือน ในหลายเรือนจำของไทยเต็มไปด้วยนักโทษชาวเมียนมา และก็มีกรณีประท้วงในเรือนจำใน จ.ระนอง เกี่ยวกับกรณีการส่งตัวกลับ เนื่องจากว่าการส่งตัวกลับนั้นต้องขึ้นอยู่กับจำนวนที่ทางเมียนมาสามารถจะรับไหวด้วย ซึ่งมีกรณีที่ทางเมียนมารับไม่ไหวแล้วส่งตัวกลับมายังประเทศไทย

    ขณะที่ทางสภาทหารเมียนมาออกมาตอบโต้แล้วโดยระบุว่าข่าวเรื่องการบังคับเกณฑ์ทหารกับชาวเมียนมาที่กลับมาจากประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

    เรียบเรียงจาก:https://burmese.voanews.com/a/7736903.html

    ที่มา : สำนักข่าวอิศรา

    #Thaitimes
    สำนักข่าวอิศรารายงานจาก VOA สื่อสหรัฐฯเผยเรือนจำระนองปล่อยตัวนักโทษเมียนมากลับไปถูกเกณฑ์ทหารนับร้อยทุกเดือน ขณะสภาทหารเมียนมาโต้ข่าวยืนยันไม่มีนโยบายบังคับเกณฑ์ทหารชาวเมียนมากลับจากประเทศไทย 11 สิงหาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวอ้างอิงสำนักข่าววอยซ์ออฟอเมริกาเกี่ยวกับกรณีที่นักโทษถูกปล่อยตัวจากเรือนจำใน จ.ระนอง และถูกส่งตัวกลับไปยังภูมิภาคเกาะสอง ประเทศเมียนมา พบว่าบุคคลเหล่านี้ถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารทันทีเมื่อถึงประเทศบ้านเกิด นักโทษเหล่านี้ถูกระบุว่าถูกจับตัวมาจากหลายพื้นที่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวที่ จ.ระนอง ถูกควบคุมตัวและถูกส่งตัวกลับไปยัง เมืองตะนาวศรี ภูมิภาคเกาะสองเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่นาย U Moe Wai ผู้รับผิดชอบศูนย์ทรัพยากรแรงงานข้ามชาติ (MWRC) ซึ่งเป็นสังกัดของมูลนิธิของมูลนิธิการศึกษาและพัฒนาของเกาะสองกล่าวว่ามีส่วนเมียนมามากกว่า 100 คน ที่ถูกส่งตัวกลับ “มีชาวเมียนมาเป็นจำนวน 135 คน 39 คนเป็นเด็กผู้หญิง ทั้งหมดถูกจับมาจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย หลายคนเพิ่งมาถึงใหม่ บางคนมีนายจ้างและสถานที่พักอาศัยแตกต่างกันออกไป” นาย U Moe Wai กล่าวและกล่าวต่อไปว่านักโทษเหล่านี้มาจากหลายพื้นที่ในเมียนมาด้วยกันอาทิ รัฐยะไข่ รัฐมอน เมืองตะนาวศรี,พะโค,ทวาย และย่างกุ้ง นาย U Moe Wai กล่าวว่าสืบเนื่องจากว่ามีข่าวว่าสภาทหารเมียนมาได้เกณฑ์ทหารจากบุคคลที่กลับมาจากประเทศไทย โดยเฉพาะกับนักโทษที่ชดใช้โทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นตัวเขาจึงได้สอบถามไปยังบุคคลที่ถูกจับว่าพวกเขาถูกจับแค่เพียงครั้งเดียว ตอนที่อยู่ที่เมืองตะนาวศรีใช่หรือไม่ พวกเขาจึงได้เล่าเรื่องที่ว่านี้ มีรายงานว่ามีชาวเมียนมาอย่างน้อย 100 คนถูกส่งตัวกลับในทุกเดือน ในหลายเรือนจำของไทยเต็มไปด้วยนักโทษชาวเมียนมา และก็มีกรณีประท้วงในเรือนจำใน จ.ระนอง เกี่ยวกับกรณีการส่งตัวกลับ เนื่องจากว่าการส่งตัวกลับนั้นต้องขึ้นอยู่กับจำนวนที่ทางเมียนมาสามารถจะรับไหวด้วย ซึ่งมีกรณีที่ทางเมียนมารับไม่ไหวแล้วส่งตัวกลับมายังประเทศไทย ขณะที่ทางสภาทหารเมียนมาออกมาตอบโต้แล้วโดยระบุว่าข่าวเรื่องการบังคับเกณฑ์ทหารกับชาวเมียนมาที่กลับมาจากประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องจริง เรียบเรียงจาก:https://burmese.voanews.com/a/7736903.html ที่มา : สำนักข่าวอิศรา #Thaitimes
    BURMESE.VOANEWS.COM
    ထိုင်းကပြန်ပို့တဲ့ လွတ်ရက်စေ့ မြန်မာတွေ စစ်မှုထမ်းခိုင်းမှာ စိုးရိမ်
    ထိုင်းနိုင်ငံထဲမှာလွတ်ရက်စေ့တဲ့ အကျဉ်းသားတွေကို ရနောင်း လူဝင်မှုကြီးကြပ်ရေး အချုပ်ကနေ မြန်မာနိုင်ငံဘက် တနင်္သာရီတိုင်း၊ ကော့သောင်းမြို့ကို ဩဂုတ်လ ၇ရက်နေ့က နေရပ်ပြန်ပို့ခဲ့ပါတယ်။ နေရာပြန်ပို့ခံရသူတချို့ဟာ သူ့နေရပ်ကိုပြန်ရောက်တဲ့အခါမှာတော့ စစ်မှုထမ်းဆင့်ခေါ်တာတွေကို ကြုံကြရတယ်လို့လည်း ဆိုပါတယ်။
    0 Comments 0 Shares 618 Views 0 Reviews