• สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย (อย.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบองุ่นพันธุ์ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ที่สุ่มตัวอย่างจากตลาดภายในประเทศ พบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานถึง 95.8% จากตัวอย่างที่ตรวจสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่าง

    รายงานระบุว่า ในจำนวนนี้ 9 ตัวอย่างถูกยืนยันว่าเป็นองุ่นนำเข้าจากประเทศจีน ส่วนอีก 15 ตัวอย่างยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เหตุการณ์นี้ได้สร้างความกังวลในด้านความปลอดภัยของอาหารในหมู่ผู้บริโภคอย่างมาก

    องุ่นไชน์มัสแคทเป็นพันธุ์องุ่นที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยรสชาติหวานหอมและเนื้อกรอบ ทำให้ได้รับความนิยมสูงในตลาดผลไม้พรีเมียม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Hermès แห่งวงการองุ่น” ด้วยราคาที่สูงและคุณภาพที่โดดเด่น

    องุ่นไชน์มัสแคทได้รับการนำเข้าไปเพาะปลูกในหลายประเทศ รวมถึงจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจีนที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขององุ่นพันธุ์นี้ลดลงตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสุกเต็มที่ ทำให้ระดับความหวานไม่เพียงพอ และมีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเติบโตของผลผลิต

    นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาหารในจีนระบุว่า ในกระบวนการปลูกองุ่นไชน์มัสแคทนั้น มีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืชและโรคต่างๆ ประมาณ 5-10 ครั้งในช่วงการเจริญเติบโตขององุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นองุ่นกำลังออกดอกและมีผลอ่อน ทั้งนี้ หากใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเว้นระยะห่างการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม จะทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยระยะห่างระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีกับการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สารเคมีสลายตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม

    นายหวังเฉียง ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรจากจีนกล่าวว่า หากมีการใช้สารเคมีตามระเบียบที่กำหนด และเว้นระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สารตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคทจะไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบริโภค โดยเสริมว่า "สารเคมีหลายชนิดมีครึ่งชีวิต (half-life) ที่สลายตัวภายใน 7-14 วัน และสามารถถูกชะล้างออกไปด้วยน้ำฝนหรือแสงแดด ซึ่งจะช่วยลดสารตกค้างได้"

    #MGROnline #องุ่นไชน์มัสแคท
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย (อย.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบองุ่นพันธุ์ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ที่สุ่มตัวอย่างจากตลาดภายในประเทศ พบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานถึง 95.8% จากตัวอย่างที่ตรวจสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่าง • รายงานระบุว่า ในจำนวนนี้ 9 ตัวอย่างถูกยืนยันว่าเป็นองุ่นนำเข้าจากประเทศจีน ส่วนอีก 15 ตัวอย่างยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เหตุการณ์นี้ได้สร้างความกังวลในด้านความปลอดภัยของอาหารในหมู่ผู้บริโภคอย่างมาก • องุ่นไชน์มัสแคทเป็นพันธุ์องุ่นที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยรสชาติหวานหอมและเนื้อกรอบ ทำให้ได้รับความนิยมสูงในตลาดผลไม้พรีเมียม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Hermès แห่งวงการองุ่น” ด้วยราคาที่สูงและคุณภาพที่โดดเด่น • องุ่นไชน์มัสแคทได้รับการนำเข้าไปเพาะปลูกในหลายประเทศ รวมถึงจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจีนที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขององุ่นพันธุ์นี้ลดลงตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสุกเต็มที่ ทำให้ระดับความหวานไม่เพียงพอ และมีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเติบโตของผลผลิต • นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาหารในจีนระบุว่า ในกระบวนการปลูกองุ่นไชน์มัสแคทนั้น มีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืชและโรคต่างๆ ประมาณ 5-10 ครั้งในช่วงการเจริญเติบโตขององุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นองุ่นกำลังออกดอกและมีผลอ่อน ทั้งนี้ หากใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเว้นระยะห่างการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม จะทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยระยะห่างระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีกับการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สารเคมีสลายตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม • นายหวังเฉียง ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรจากจีนกล่าวว่า หากมีการใช้สารเคมีตามระเบียบที่กำหนด และเว้นระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สารตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคทจะไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบริโภค โดยเสริมว่า "สารเคมีหลายชนิดมีครึ่งชีวิต (half-life) ที่สลายตัวภายใน 7-14 วัน และสามารถถูกชะล้างออกไปด้วยน้ำฝนหรือแสงแดด ซึ่งจะช่วยลดสารตกค้างได้" • #MGROnline #องุ่นไชน์มัสแคท
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 0 รีวิว
  • เห็นข่าวองุ่นพันธุ์หนึ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตรวจพบมีสารตกค้างมากถึง 50 ชนิด
    90% นำเข้าจากจีน ที่เหลือไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้

    ช่วงที่เกิดเหตุกลุ่มฮามาสถล่มอิสราเอล แรงงานชาวไทยต้องกลับประเทศ ลูกค้าคนหนึ่งเล่าว่า น้องชายของเธอก็เคยไปทำงานที่อิสราเอลเหมือนกัน ไปได้ปีกว่าก็กลับไทย ทั้งกลับมาเยี่ยมบ้านช่วงสงกรานต์ และถือโอกาสหาหมอด้วย เนื่องจากเหนื่อยง่าย ป่วยบ่อย และค่ารักษาที่นั่นแพง
    เมื่อน้องชายของเธอเอ็กซเรย์ปอดแล้วพบว่า ปอดหายไปหนึ่งข้าง นั่นเกิดจากการทำงาน น้องชายเธอเล่าให้เธอฟัง ที่นั่นใช้ยาตั้งแต่เพาะเมล็ดพันธุ์ แช่เมล็ดด้วยน้ำยาอะไรสักอย่าง พอพืชเริ่มโตก็ต้องพ่นยาเป็นประจำ เพราะพื้นที่เพาะปลูกแห้งแล้ง ต้องต่อสู้กับธรรมชาติอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องฉีดพ่น ทั้งยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนบำรุง ขณะที่ทำงานไม่มีเครื่องมือป้องกันสารพิษ หากอยากได้ต้องซื้อเอง แต่แพงมาก เหล่าคนงานไม่ค่อยมีใครกล้ากินพืชที่เพาะปลูก เพราะกลัวสารพิษ
    ถึงแม้ระยะเวลาที่ไปทำงานแค่ปีกว่า สามารถชดใช้คืนค่าตั๋ว ค่าเดินทาง และซื้อบ้าน ซื้อรถได้ครบที่ต้องการ แต่น้องชายก็มีอายุไม่ยืน หลังจากรักษาอยู่หลายเดือนน้องชายเธอก็จากไป ภรรยาน้องชายเสียใจมาก รำพันว่าไม่คุ้มเลยที่เอาชีวิตไปเสี่ยง

    ตอนฉันยังเด็ก ฉันก็ลูกชาวสวนผักคนหนึ่ง ถ้าผักเริ่มมีแมลงก่อกวน จะฉีดพ่นยาทันที ถึงแม้อีกสองวันจะต้องตัดขายแล้วก็ต้องทำ ผักที่ใบสวยย่อมราคาดีกว่าผักที่แคะแกร็น ใบเป็นรู หรือแหว่ง แต่นั่นไม่ได้แปลว่า ผักที่ใบเป็นรู มีรอยแทะแหว่งจะไม่โดนฉีดพ่นยา นั่นน่ะยิ่งหนักใหญ่เลย แต่เมื่อทำได้ดีที่สุดแค่นั้น ก็ต้องขายไปแบบนั้น ถูกกดราคาเช่นนั้นไป อย่าคิดว่าผักมีตำหนิ คือผักที่ปลูกธรรมชาติ ปลอดสารพิษเสมอไป

    แล้วเกี่ยวอะไรกับองุ่น
    ๑. การปลูกพืชผลเชิงพานิชย์ ต้องใช้สารเคมีอยู่แล้ว ถึงแม้ประเทศที่เจริญแล้ว มีเทคโนโลยีล้ำหน้าแล้วก็ยังต้องใช้
    ๒. ถ้า 90% มาจากจีน แล้วที่เหลือไม่สามารถระบุได้ เป็นไปได้หรือ ของนำเข้าจากต่างประเทศมีหรือจะระบุแหล่งที่มาไม่ได้ รู้แต่ไม่บอก หรือบอกไม่ได้มากกว่า และนั่นก็หมายความว่า ใครๆ เขาก็ใช้กัน
    ๓. ขณะที่นำเข้ามาต้องมีการสุ่มตรวจก่อนไม่หรือ แต่นี่กระจายลงมาถึงมือแม่ค้าแล้วค่อยออกข่าวเตือน ดูเหมือนหวังดี แต่จริงๆ กำลังช่วยเหลือผู้ที่นำเข้ามาอยู่หรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขาดทุน แต่องุ่นบนแผงแม่ค้าเน่าหมด เพราะขายไม่ได้
    ๔. นี่คือข่าวประเภท ดิสเครดิต ใช่หรือไม่ จีนโดนไปเต็มๆ

    ช่วงก่อนเข้าเทศกาลกินเจ มีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยือน เอาองุ่นพันธุ์นี้มาฝากด้วย ตั้งหนึ่งลังแน่ะ ฉันไม่ใช่คนชอบกินองุ่น ยังว่ามันอร่อย หวาน กรอบดีจัง แล้วก็ยังอยู่ดี ไม่มีโรคภัยอะไรด้วย

    เห็นข่าวองุ่นพันธุ์หนึ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตรวจพบมีสารตกค้างมากถึง 50 ชนิด 90% นำเข้าจากจีน ที่เหลือไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ ช่วงที่เกิดเหตุกลุ่มฮามาสถล่มอิสราเอล แรงงานชาวไทยต้องกลับประเทศ ลูกค้าคนหนึ่งเล่าว่า น้องชายของเธอก็เคยไปทำงานที่อิสราเอลเหมือนกัน ไปได้ปีกว่าก็กลับไทย ทั้งกลับมาเยี่ยมบ้านช่วงสงกรานต์ และถือโอกาสหาหมอด้วย เนื่องจากเหนื่อยง่าย ป่วยบ่อย และค่ารักษาที่นั่นแพง เมื่อน้องชายของเธอเอ็กซเรย์ปอดแล้วพบว่า ปอดหายไปหนึ่งข้าง นั่นเกิดจากการทำงาน น้องชายเธอเล่าให้เธอฟัง ที่นั่นใช้ยาตั้งแต่เพาะเมล็ดพันธุ์ แช่เมล็ดด้วยน้ำยาอะไรสักอย่าง พอพืชเริ่มโตก็ต้องพ่นยาเป็นประจำ เพราะพื้นที่เพาะปลูกแห้งแล้ง ต้องต่อสู้กับธรรมชาติอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องฉีดพ่น ทั้งยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนบำรุง ขณะที่ทำงานไม่มีเครื่องมือป้องกันสารพิษ หากอยากได้ต้องซื้อเอง แต่แพงมาก เหล่าคนงานไม่ค่อยมีใครกล้ากินพืชที่เพาะปลูก เพราะกลัวสารพิษ ถึงแม้ระยะเวลาที่ไปทำงานแค่ปีกว่า สามารถชดใช้คืนค่าตั๋ว ค่าเดินทาง และซื้อบ้าน ซื้อรถได้ครบที่ต้องการ แต่น้องชายก็มีอายุไม่ยืน หลังจากรักษาอยู่หลายเดือนน้องชายเธอก็จากไป ภรรยาน้องชายเสียใจมาก รำพันว่าไม่คุ้มเลยที่เอาชีวิตไปเสี่ยง ตอนฉันยังเด็ก ฉันก็ลูกชาวสวนผักคนหนึ่ง ถ้าผักเริ่มมีแมลงก่อกวน จะฉีดพ่นยาทันที ถึงแม้อีกสองวันจะต้องตัดขายแล้วก็ต้องทำ ผักที่ใบสวยย่อมราคาดีกว่าผักที่แคะแกร็น ใบเป็นรู หรือแหว่ง แต่นั่นไม่ได้แปลว่า ผักที่ใบเป็นรู มีรอยแทะแหว่งจะไม่โดนฉีดพ่นยา นั่นน่ะยิ่งหนักใหญ่เลย แต่เมื่อทำได้ดีที่สุดแค่นั้น ก็ต้องขายไปแบบนั้น ถูกกดราคาเช่นนั้นไป อย่าคิดว่าผักมีตำหนิ คือผักที่ปลูกธรรมชาติ ปลอดสารพิษเสมอไป แล้วเกี่ยวอะไรกับองุ่น ๑. การปลูกพืชผลเชิงพานิชย์ ต้องใช้สารเคมีอยู่แล้ว ถึงแม้ประเทศที่เจริญแล้ว มีเทคโนโลยีล้ำหน้าแล้วก็ยังต้องใช้ ๒. ถ้า 90% มาจากจีน แล้วที่เหลือไม่สามารถระบุได้ เป็นไปได้หรือ ของนำเข้าจากต่างประเทศมีหรือจะระบุแหล่งที่มาไม่ได้ รู้แต่ไม่บอก หรือบอกไม่ได้มากกว่า และนั่นก็หมายความว่า ใครๆ เขาก็ใช้กัน ๓. ขณะที่นำเข้ามาต้องมีการสุ่มตรวจก่อนไม่หรือ แต่นี่กระจายลงมาถึงมือแม่ค้าแล้วค่อยออกข่าวเตือน ดูเหมือนหวังดี แต่จริงๆ กำลังช่วยเหลือผู้ที่นำเข้ามาอยู่หรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขาดทุน แต่องุ่นบนแผงแม่ค้าเน่าหมด เพราะขายไม่ได้ ๔. นี่คือข่าวประเภท ดิสเครดิต ใช่หรือไม่ จีนโดนไปเต็มๆ ช่วงก่อนเข้าเทศกาลกินเจ มีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยือน เอาองุ่นพันธุ์นี้มาฝากด้วย ตั้งหนึ่งลังแน่ะ ฉันไม่ใช่คนชอบกินองุ่น ยังว่ามันอร่อย หวาน กรอบดีจัง แล้วก็ยังอยู่ดี ไม่มีโรคภัยอะไรด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 142 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขื่อนบางลาง จ.ยะลา
    ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง เป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำอเนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524 บริเวณเหนือเขื่อนมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม

    ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการก่อสร้างเขื่อนบางลางเมื่อปี 2521 ได้ทรงมีพระราชดำริให้ กฟผ. พิจารณานำน้ำที่ล้นจากฝายลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำในท้องถิ่นที่เกิดประโยชน์เต็มที่

    กฟผ. ได้สนองพระราชดำริโดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าใต้ภูเขาแห่งแรกของประเทศไทยที่หมู่ บ้านสันติ 1 ตำบลเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อปี 2524 ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1.275 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และท่อส่งน้ำ ยาว 1800 เมตร สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนตุลาคม 2525 ให้พลังงานไฟฟ้าปีละประมาณ 6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

    โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ มีการควบคุมการเดินเครื่องเป็นแบบระบบอัตโนมัติสามารถสั่งการและควบคุมการ เดินเครื่องได้โดยตรงจากโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง จึงเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วย ซึ่งดำเนินการโดยวิศวกรและช่างชาวไทยทั้งสิ้น
    นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้ว อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนบางลาง ยังมีประโยชน์ไว้สำหรับในพื้นที่เพาะปลูกของ จังหวัดยะลา และปัตตานีด้วย รวมถึงช่วยบรรเทาน้ำท่วมในบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำปัตตานีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้อีกด้วย

    ที่นี่มีวิวสวยงามอย่างมาก เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ โดยเราสามารถล่องแพ หรือ นั่งเรือชมวิวของป่าฮาลาที่อยู่ใกล้เขื่อน และชมเกาะแก่งเหนือ เขื่อนบางลาง ได้แบบชิลๆ ได้สัมผัสธรรมชาติของป่าฮาลา ที่อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้แปลกๆน่าศึกษาอีกด้วย
    #เที่ยวยะลา
    #คิดถึงธรรมชาติ

    เขื่อนบางลาง จ.ยะลา ตั้งอยู่ที่บ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง เป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำอเนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524 บริเวณเหนือเขื่อนมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการก่อสร้างเขื่อนบางลางเมื่อปี 2521 ได้ทรงมีพระราชดำริให้ กฟผ. พิจารณานำน้ำที่ล้นจากฝายลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำในท้องถิ่นที่เกิดประโยชน์เต็มที่ กฟผ. ได้สนองพระราชดำริโดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าใต้ภูเขาแห่งแรกของประเทศไทยที่หมู่ บ้านสันติ 1 ตำบลเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อปี 2524 ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1.275 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และท่อส่งน้ำ ยาว 1800 เมตร สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนตุลาคม 2525 ให้พลังงานไฟฟ้าปีละประมาณ 6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ มีการควบคุมการเดินเครื่องเป็นแบบระบบอัตโนมัติสามารถสั่งการและควบคุมการ เดินเครื่องได้โดยตรงจากโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง จึงเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วย ซึ่งดำเนินการโดยวิศวกรและช่างชาวไทยทั้งสิ้น นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้ว อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนบางลาง ยังมีประโยชน์ไว้สำหรับในพื้นที่เพาะปลูกของ จังหวัดยะลา และปัตตานีด้วย รวมถึงช่วยบรรเทาน้ำท่วมในบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำปัตตานีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้อีกด้วย ที่นี่มีวิวสวยงามอย่างมาก เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ โดยเราสามารถล่องแพ หรือ นั่งเรือชมวิวของป่าฮาลาที่อยู่ใกล้เขื่อน และชมเกาะแก่งเหนือ เขื่อนบางลาง ได้แบบชิลๆ ได้สัมผัสธรรมชาติของป่าฮาลา ที่อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้แปลกๆน่าศึกษาอีกด้วย #เที่ยวยะลา #คิดถึงธรรมชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • 6 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตร วิเคราะห์ น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในรอบร้อยปี ว่าสาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว...

    1.สาเหตุของน้ำท่วมหนักในเมืองเชียงใหม่เกิดจากฝนตกหนักหลายวันโดยช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 มีฝนหนักติดต่อกัน3วันวัดปริมาณน้ำฝนได้200ถึง300มิลลิเมตรทั้งที่ไม่มีพายุเข้าแต่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนลงมาจากแผ่นดินใหญ่มาปะทะร่องมรสุมความกดอากาศต่ำ(อากาศร้อน) ที่พาดผ่านทำให้เกิดฝนตกหนักในเขตอำ เภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริมและอำเภอพร้าวจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ราบเชิงเขาของอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตงและอำเภอเมืองเชียงใหม่โดยทั้งแม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่แตงและแม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่เมืองเชียงใหม่

    2.แม่น้ำปิงมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียง ใหม่ไหลลงมาทางทิศไต้ผ่านหุบเขาเข้าสู่เขตอำเภอแม่แตง มีแม่น้ำแม่งัดไหลมาบรร จบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรร จบทางฝั่งขวาเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มผ่านอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำแม่กวง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้าย บริเวณพื้นที่อำเภอป่าซาง จัง หวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยมีแม่น้ำลี้ ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอลี้ มาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางฝั่งซ้ายและจากอำเภอจอมทอง แม่น้ำปิงจะไหลลงไปทางใต้โดย มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
    เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริ มาณน้ำในแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำโดยความจุของน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระ ดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งไหลท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร

    3. ปี2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 285,004 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ และอำเภอแม่แตงมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ1636.75ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกบนดอยสูง นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้น้ำป่าบนภูเขาต้นน้ำไหลลงมาได้รวด เร็วและเชี่ยวกรากไหลลงมาท่วมพื้นที่ราบเชิงเขาได้
    ...หากฝนตกบนภูเขาที่เต็มไปด้วยป่าใหญ่ น้ำฝนจะขังอยู่ในป่าประมาณเก้าส่วน อีกหนึ่งส่วนไหลลงข้างล่าง และค่อยๆไหลรินไปหล่อเลี้ยงผู้คนด้านล่างตลอดทั้งปี แต่หากเป็นภูเขาหัวโล้น น้ำฝนจะขังอยู่หนึ่งส่วน อีกเก้าส่วนไหลลงข้างล่างทำให้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่หลวง...

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/pfkBEHemaUuFdGYg/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    6 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตร วิเคราะห์ น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในรอบร้อยปี ว่าสาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว... 1.สาเหตุของน้ำท่วมหนักในเมืองเชียงใหม่เกิดจากฝนตกหนักหลายวันโดยช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 มีฝนหนักติดต่อกัน3วันวัดปริมาณน้ำฝนได้200ถึง300มิลลิเมตรทั้งที่ไม่มีพายุเข้าแต่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนลงมาจากแผ่นดินใหญ่มาปะทะร่องมรสุมความกดอากาศต่ำ(อากาศร้อน) ที่พาดผ่านทำให้เกิดฝนตกหนักในเขตอำ เภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริมและอำเภอพร้าวจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ราบเชิงเขาของอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตงและอำเภอเมืองเชียงใหม่โดยทั้งแม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่แตงและแม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่เมืองเชียงใหม่ 2.แม่น้ำปิงมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียง ใหม่ไหลลงมาทางทิศไต้ผ่านหุบเขาเข้าสู่เขตอำเภอแม่แตง มีแม่น้ำแม่งัดไหลมาบรร จบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรร จบทางฝั่งขวาเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มผ่านอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำแม่กวง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้าย บริเวณพื้นที่อำเภอป่าซาง จัง หวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยมีแม่น้ำลี้ ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอลี้ มาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางฝั่งซ้ายและจากอำเภอจอมทอง แม่น้ำปิงจะไหลลงไปทางใต้โดย มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริ มาณน้ำในแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำโดยความจุของน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระ ดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งไหลท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร 3. ปี2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 285,004 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ และอำเภอแม่แตงมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ1636.75ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกบนดอยสูง นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้น้ำป่าบนภูเขาต้นน้ำไหลลงมาได้รวด เร็วและเชี่ยวกรากไหลลงมาท่วมพื้นที่ราบเชิงเขาได้ ...หากฝนตกบนภูเขาที่เต็มไปด้วยป่าใหญ่ น้ำฝนจะขังอยู่ในป่าประมาณเก้าส่วน อีกหนึ่งส่วนไหลลงข้างล่าง และค่อยๆไหลรินไปหล่อเลี้ยงผู้คนด้านล่างตลอดทั้งปี แต่หากเป็นภูเขาหัวโล้น น้ำฝนจะขังอยู่หนึ่งส่วน อีกเก้าส่วนไหลลงข้างล่างทำให้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่หลวง... ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/pfkBEHemaUuFdGYg/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 841 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02🤠

    ในความเป็นจริงมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยทั่วไปการพัฒนาของภาคเหนือค่อนข้างล้าหลัง ในขณะที่ภาคใต้ค่อนข้างมั่งคั่งและมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

    แหล่งที่มาของความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ไม่เพียงได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเท่านั้น มันยังได้รับการตรวจสอบและปรับสมดุลด้วยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นมาเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ถูกแบ่งแยกมากกว่าการรวมเป็นหนึ่งเดียว

    สถานการณ์การแบ่งแยกและการปกครองในระยะยาวได้ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับภูมิภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม ซึ่งส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ระหว่างปีค.ศ. 1955 ถึงค.ศ. 1975 ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่างในระบบการเมืองและเศรษฐกิจทำให้ช่องว่างการพัฒนาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น

    ในช่วงการแบ่งแยก รูปแบบทางเศรษฐกิจของภาคใต้มีความหลากหลาย มีองค์ประกอบทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหลายประการ เช่น ระบบทุนนิยมแบบราชการและระบบทุนนิยมแห่งชาติ ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของระบบศักดินาก็ยังคงอยู่ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็กและการพาณิชย์กระจายอยู่ทั่วบริเวณ

    ในชนบท ภาคใต้ยังคงรักษานโยบายเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากเกษตรกร ทั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติตอนใต้และระบอบการปกครองไซง่อนจึงต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรและจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้กับเกษตรกร

    ตัวอย่างเช่น ระบอบการปกครองไซ่ง่อนด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ดินเรื่องเกษตรกรมีที่ดินทำกินของตนเองในปี ค.ศ. 1970 บนพื้นฐานของการปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน รัฐบาลให้ทุนสนับสนุนการซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินและแจกจ่ายให้กับเกษตรกรฟรี

    หลังจากที่เจ้าของที่ดินได้รับเงินทุนจากขายที่ดินแล้ว ด้วยความช่วยเหลือและให้กำลังใจสนับสนุนจากรัฐบาล พวกเขาก็นำทุนลงทุนในอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ก่อให้เกิดส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมในชนบท

    เนื่องจากปัจจัยด้านสงคราม ภาคเหนือจึงเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก และละเลยการพัฒนาอุตสาหกรรมเบาพลเรือน นอกจากนี้ระหว่างอุตสาหกรรมและการเกษตรยังไม่มีการสนับสนุนการพัฒนา จึงไม่สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้

    สิ่งนี้คล้ายกับสหภาพโซเวียตมาก อดีตสหภาพโซเวียตซึ่งเดินผ่านออกมาจากไฟสงครามให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก แต่พวกเขาไม่สนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจการดำรงชีวิตของผู้คนมากนัก ซึ่งทำให้มาตรฐานการครองชีพของผู้อยู่อาศัยทางอ้อมลดลง

    ด้วยเหตุผลหลายประการ เมื่อภาคเหนือและภาคใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ระดับการผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตรในเวียดนามตอนใต้จึงสูงกว่าทางตอนเหนือ และเศรษฐกิจสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน

    ภาคใต้มีด้านอุตสาหกรรมเบาเป็นหลัก รายการนี้คิดเป็นเกือบ 90% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด การค้าก็เจริญรุ่งเรืองมากเช่นกัน ตั้งแต่ตลาดในชนบทไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองและย่านการค้า ร้านค้าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ทั้งในเมืองและชนบท

    นอกจากนี้ เนื่องจากการยั่วยุของเวียดนามต่อจีนหลังจากการรวมชาติ ทำให้เกิดการตอบโต้การป้องกันตนเองต่อเวียดนาม สงครามครั้งนี้เกือบจะทำลายอุตสาหกรรมหนักทางตอนเหนือของเวียดนาม เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นคืนสภาพเดิมในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ความไม่สมดุลในการพัฒนาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น

    สำหรับเวียดนาม แม้ว่าเวียดนามจะมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ความสำเร็จดังกล่าวกลับทำให้ช่องว่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้กว้างขึ้นเท่านั้น

    และเวียดนามไม่มีนโยบายการโอนภาษีภูมิภาคเช่นจีน เพื่อสร้างสมดุลทางการเงินในท้องถิ่น ลดความแตกต่างในระดับภูมิภาค ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    เมื่อเวลาผ่านไป มันจะทำลายสังคมเวียดนามอย่างรุนแรง และยังนำไปสู่การแตกแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ได้อย่างง่ายดาย

    ปัจจุบันช่องว่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามไม่ได้แคบลงแต่เริ่มกว้างขึ้น

    😎โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02🤠 ในความเป็นจริงมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยทั่วไปการพัฒนาของภาคเหนือค่อนข้างล้าหลัง ในขณะที่ภาคใต้ค่อนข้างมั่งคั่งและมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นมากขึ้น แหล่งที่มาของความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ไม่เพียงได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเท่านั้น มันยังได้รับการตรวจสอบและปรับสมดุลด้วยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นมาเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ถูกแบ่งแยกมากกว่าการรวมเป็นหนึ่งเดียว สถานการณ์การแบ่งแยกและการปกครองในระยะยาวได้ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับภูมิภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม ซึ่งส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ระหว่างปีค.ศ. 1955 ถึงค.ศ. 1975 ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่างในระบบการเมืองและเศรษฐกิจทำให้ช่องว่างการพัฒนาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น ในช่วงการแบ่งแยก รูปแบบทางเศรษฐกิจของภาคใต้มีความหลากหลาย มีองค์ประกอบทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหลายประการ เช่น ระบบทุนนิยมแบบราชการและระบบทุนนิยมแห่งชาติ ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของระบบศักดินาก็ยังคงอยู่ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็กและการพาณิชย์กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ในชนบท ภาคใต้ยังคงรักษานโยบายเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากเกษตรกร ทั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติตอนใต้และระบอบการปกครองไซง่อนจึงต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเรื่องกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรและจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้กับเกษตรกร ตัวอย่างเช่น ระบอบการปกครองไซ่ง่อนด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ดินเรื่องเกษตรกรมีที่ดินทำกินของตนเองในปี ค.ศ. 1970 บนพื้นฐานของการปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน รัฐบาลให้ทุนสนับสนุนการซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินและแจกจ่ายให้กับเกษตรกรฟรี หลังจากที่เจ้าของที่ดินได้รับเงินทุนจากขายที่ดินแล้ว ด้วยความช่วยเหลือและให้กำลังใจสนับสนุนจากรัฐบาล พวกเขาก็นำทุนลงทุนในอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ก่อให้เกิดส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมในชนบท เนื่องจากปัจจัยด้านสงคราม ภาคเหนือจึงเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก และละเลยการพัฒนาอุตสาหกรรมเบาพลเรือน นอกจากนี้ระหว่างอุตสาหกรรมและการเกษตรยังไม่มีการสนับสนุนการพัฒนา จึงไม่สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ สิ่งนี้คล้ายกับสหภาพโซเวียตมาก อดีตสหภาพโซเวียตซึ่งเดินผ่านออกมาจากไฟสงครามให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก แต่พวกเขาไม่สนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจการดำรงชีวิตของผู้คนมากนัก ซึ่งทำให้มาตรฐานการครองชีพของผู้อยู่อาศัยทางอ้อมลดลง ด้วยเหตุผลหลายประการ เมื่อภาคเหนือและภาคใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ระดับการผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตรในเวียดนามตอนใต้จึงสูงกว่าทางตอนเหนือ และเศรษฐกิจสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน ภาคใต้มีด้านอุตสาหกรรมเบาเป็นหลัก รายการนี้คิดเป็นเกือบ 90% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด การค้าก็เจริญรุ่งเรืองมากเช่นกัน ตั้งแต่ตลาดในชนบทไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองและย่านการค้า ร้านค้าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ทั้งในเมืองและชนบท นอกจากนี้ เนื่องจากการยั่วยุของเวียดนามต่อจีนหลังจากการรวมชาติ ทำให้เกิดการตอบโต้การป้องกันตนเองต่อเวียดนาม สงครามครั้งนี้เกือบจะทำลายอุตสาหกรรมหนักทางตอนเหนือของเวียดนาม เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นคืนสภาพเดิมในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ความไม่สมดุลในการพัฒนาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น สำหรับเวียดนาม แม้ว่าเวียดนามจะมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ความสำเร็จดังกล่าวกลับทำให้ช่องว่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้กว้างขึ้นเท่านั้น และเวียดนามไม่มีนโยบายการโอนภาษีภูมิภาคเช่นจีน เพื่อสร้างสมดุลทางการเงินในท้องถิ่น ลดความแตกต่างในระดับภูมิภาค ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะทำลายสังคมเวียดนามอย่างรุนแรง และยังนำไปสู่การแตกแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันช่องว่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามไม่ได้แคบลงแต่เริ่มกว้างขึ้น 😎โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 288 มุมมอง 0 รีวิว
  • เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์
    .
    คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย
    .
    ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู
    .
    รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้
    .
    สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่)
    .
    กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์ . คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย . ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู . รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ . สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่) . กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 593 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอลทำลายความสามารถในการเลี้ยงตัวเองของกาซ่าได้อย่างไร
    เมื่อเริ่มต้นฤดูร้อน ทุ่งนาของกาซ่ามักจะอุดมด้วยพืชผลและผลไม้หลากสีสัน
    แต่เมื่อผ่านไปเกือบเก้าเดือนในการทำสงครามในกาซาของเอล ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแห่งนี้กลับต้องพบกับหายนะและวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้าย
    รายงานของ UN ระบุว่าประชากรของกาซา 96 เปอร์เซ็นต์ขาดแคลนอาหาร และชาวปาเลส 1 ใน 5 หรือประมาณ 495,000 คน กำลังเผชิญกับภาวะอดอาหาร
    ภาพถ่ายดาวเทียมที่วิเคราะห์โดยทีมสืบสวนดิจิทัลของอัลยาซีราอย่างซานาด แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เกษตรกรรมของกาซาซึ่งมีความสำคัญต่อการเลี้ยงดูประชากรที่หิวโหยในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (60 เปอร์เซ็นต์) ได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายจากการโจมตีของเอล
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #พื้นที่เพาะปลูก #พื้นที่เพาะปลูกที่ถูกทำลาย
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t

    เอลทำลายความสามารถในการเลี้ยงตัวเองของกาซ่าได้อย่างไร เมื่อเริ่มต้นฤดูร้อน ทุ่งนาของกาซ่ามักจะอุดมด้วยพืชผลและผลไม้หลากสีสัน แต่เมื่อผ่านไปเกือบเก้าเดือนในการทำสงครามในกาซาของเอล ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแห่งนี้กลับต้องพบกับหายนะและวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้าย รายงานของ UN ระบุว่าประชากรของกาซา 96 เปอร์เซ็นต์ขาดแคลนอาหาร และชาวปาเลส 1 ใน 5 หรือประมาณ 495,000 คน กำลังเผชิญกับภาวะอดอาหาร ภาพถ่ายดาวเทียมที่วิเคราะห์โดยทีมสืบสวนดิจิทัลของอัลยาซีราอย่างซานาด แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เกษตรกรรมของกาซาซึ่งมีความสำคัญต่อการเลี้ยงดูประชากรที่หิวโหยในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (60 เปอร์เซ็นต์) ได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายจากการโจมตีของเอล . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #พื้นที่เพาะปลูก #พื้นที่เพาะปลูกที่ถูกทำลาย #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว