• สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย (อย.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบองุ่นพันธุ์ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ที่สุ่มตัวอย่างจากตลาดภายในประเทศ พบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานถึง 95.8% จากตัวอย่างที่ตรวจสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่าง

    รายงานระบุว่า ในจำนวนนี้ 9 ตัวอย่างถูกยืนยันว่าเป็นองุ่นนำเข้าจากประเทศจีน ส่วนอีก 15 ตัวอย่างยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เหตุการณ์นี้ได้สร้างความกังวลในด้านความปลอดภัยของอาหารในหมู่ผู้บริโภคอย่างมาก

    องุ่นไชน์มัสแคทเป็นพันธุ์องุ่นที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยรสชาติหวานหอมและเนื้อกรอบ ทำให้ได้รับความนิยมสูงในตลาดผลไม้พรีเมียม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Hermès แห่งวงการองุ่น” ด้วยราคาที่สูงและคุณภาพที่โดดเด่น

    องุ่นไชน์มัสแคทได้รับการนำเข้าไปเพาะปลูกในหลายประเทศ รวมถึงจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจีนที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขององุ่นพันธุ์นี้ลดลงตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสุกเต็มที่ ทำให้ระดับความหวานไม่เพียงพอ และมีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเติบโตของผลผลิต

    นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาหารในจีนระบุว่า ในกระบวนการปลูกองุ่นไชน์มัสแคทนั้น มีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืชและโรคต่างๆ ประมาณ 5-10 ครั้งในช่วงการเจริญเติบโตขององุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นองุ่นกำลังออกดอกและมีผลอ่อน ทั้งนี้ หากใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเว้นระยะห่างการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม จะทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยระยะห่างระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีกับการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สารเคมีสลายตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม

    นายหวังเฉียง ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรจากจีนกล่าวว่า หากมีการใช้สารเคมีตามระเบียบที่กำหนด และเว้นระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สารตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคทจะไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบริโภค โดยเสริมว่า "สารเคมีหลายชนิดมีครึ่งชีวิต (half-life) ที่สลายตัวภายใน 7-14 วัน และสามารถถูกชะล้างออกไปด้วยน้ำฝนหรือแสงแดด ซึ่งจะช่วยลดสารตกค้างได้"

    #MGROnline #องุ่นไชน์มัสแคท
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย (อย.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบองุ่นพันธุ์ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ที่สุ่มตัวอย่างจากตลาดภายในประเทศ พบว่ามีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานถึง 95.8% จากตัวอย่างที่ตรวจสอบทั้งหมด 24 ตัวอย่าง • รายงานระบุว่า ในจำนวนนี้ 9 ตัวอย่างถูกยืนยันว่าเป็นองุ่นนำเข้าจากประเทศจีน ส่วนอีก 15 ตัวอย่างยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เหตุการณ์นี้ได้สร้างความกังวลในด้านความปลอดภัยของอาหารในหมู่ผู้บริโภคอย่างมาก • องุ่นไชน์มัสแคทเป็นพันธุ์องุ่นที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยรสชาติหวานหอมและเนื้อกรอบ ทำให้ได้รับความนิยมสูงในตลาดผลไม้พรีเมียม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Hermès แห่งวงการองุ่น” ด้วยราคาที่สูงและคุณภาพที่โดดเด่น • องุ่นไชน์มัสแคทได้รับการนำเข้าไปเพาะปลูกในหลายประเทศ รวมถึงจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจีนที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมาก ส่งผลให้ราคาขององุ่นพันธุ์นี้ลดลงตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสุกเต็มที่ ทำให้ระดับความหวานไม่เพียงพอ และมีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเติบโตของผลผลิต • นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาหารในจีนระบุว่า ในกระบวนการปลูกองุ่นไชน์มัสแคทนั้น มีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืชและโรคต่างๆ ประมาณ 5-10 ครั้งในช่วงการเจริญเติบโตขององุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นองุ่นกำลังออกดอกและมีผลอ่อน ทั้งนี้ หากใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเว้นระยะห่างการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม จะทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยระยะห่างระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีกับการเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สารเคมีสลายตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม • นายหวังเฉียง ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรจากจีนกล่าวว่า หากมีการใช้สารเคมีตามระเบียบที่กำหนด และเว้นระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สารตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคทจะไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบริโภค โดยเสริมว่า "สารเคมีหลายชนิดมีครึ่งชีวิต (half-life) ที่สลายตัวภายใน 7-14 วัน และสามารถถูกชะล้างออกไปด้วยน้ำฝนหรือแสงแดด ซึ่งจะช่วยลดสารตกค้างได้" • #MGROnline #องุ่นไชน์มัสแคท
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 437 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง เผยพบสารเคมีเกษตรตกค้างในเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจ และพบตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000102869

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง เผยพบสารเคมีเกษตรตกค้างในเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจ และพบตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000102869 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Angry
    Haha
    Yay
    26
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 3704 มุมมอง 0 รีวิว
  • องุ่นพิษ 'ไชน์มัสแคท' สารเคมีเกิน 50 ชนิด เสี่ยงอันตรายล้างยาก
    .
    เป็นข่าวที่สะเทือนประชาชนผู้บริโภคพอสมควร ภายหลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8 โดยปัจจจุบันองุ่นพันธุ์นี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย
    .
    ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทมีทั้งหมดทั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ร้อยละ 95.8 ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด เช่น สารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 2. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด โดยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เช่น Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด 4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย
    .
    ดังนั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อเสนอว่า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายองุ่นไชน์มัสแคท ควรจัดเก็บออกจากชั้นวาง แถลงมาตรการที่ชัดเจนกับซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตที่มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน เช่น ผู้ประกอบการต้องยกเลิกการนำเข้าจากซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตนั้นเมื่อมีการกระทำผิดซ้ำอีก ผู้ประกอบการนำเข้า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายต้องระบุแหล่งที่มา/ประเทศต้นทางของสินค้านำเข้า เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อเกิดปัญหา
    ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่กำหนดผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายต้องติดฉลากแสดงที่มาและประเทศต้นทาง เพิ่มมาตรการในการรับประกันคุณภาพความปลอดภัย และ สร้างระบบ Rapid Alert System ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แบบนี้อย่างรวดเร็ว เช่น การแจ้งให้ทราบ การเรียกคืน การทำลายสินค้า ทันทีที่ตรวจพบ รวมทั้งการเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจวิเคราะห์จากประเทศต้นทางหรือแหล่งผลิตที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง
    .
    ที่สำคัญ รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผักผลไม้ โดยในปี 2573 ผักผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ไม่เกิน 5% และกำหนดเป้าหมายและงบประมาณในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอาหาร โดยในปี 2571 ประเทศไทยมีระบบ Rapid Alert System เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเร่งด่วนที่มีประสิทธิภาพ เท่าทันต่อสถานการณ์ และมีกลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและติดตามการจัดการปัญหาตลอดห่วงโซ่
    ............
    Sondhi X
    องุ่นพิษ 'ไชน์มัสแคท' สารเคมีเกิน 50 ชนิด เสี่ยงอันตรายล้างยาก . เป็นข่าวที่สะเทือนประชาชนผู้บริโภคพอสมควร ภายหลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8 โดยปัจจจุบันองุ่นพันธุ์นี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย . ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทมีทั้งหมดทั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ร้อยละ 95.8 ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด เช่น สารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 2. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด โดยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เช่น Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด 4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย . ดังนั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อเสนอว่า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายองุ่นไชน์มัสแคท ควรจัดเก็บออกจากชั้นวาง แถลงมาตรการที่ชัดเจนกับซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตที่มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน เช่น ผู้ประกอบการต้องยกเลิกการนำเข้าจากซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตนั้นเมื่อมีการกระทำผิดซ้ำอีก ผู้ประกอบการนำเข้า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายต้องระบุแหล่งที่มา/ประเทศต้นทางของสินค้านำเข้า เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อเกิดปัญหา ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่กำหนดผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายต้องติดฉลากแสดงที่มาและประเทศต้นทาง เพิ่มมาตรการในการรับประกันคุณภาพความปลอดภัย และ สร้างระบบ Rapid Alert System ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แบบนี้อย่างรวดเร็ว เช่น การแจ้งให้ทราบ การเรียกคืน การทำลายสินค้า ทันทีที่ตรวจพบ รวมทั้งการเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจวิเคราะห์จากประเทศต้นทางหรือแหล่งผลิตที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง . ที่สำคัญ รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผักผลไม้ โดยในปี 2573 ผักผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ไม่เกิน 5% และกำหนดเป้าหมายและงบประมาณในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอาหาร โดยในปี 2571 ประเทศไทยมีระบบ Rapid Alert System เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเร่งด่วนที่มีประสิทธิภาพ เท่าทันต่อสถานการณ์ และมีกลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและติดตามการจัดการปัญหาตลอดห่วงโซ่ ............ Sondhi X
    Like
    Angry
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1220 มุมมอง 1 รีวิว
  • เปิดผลสุ่มตรวจ "องุ่นไชน์มัสแคท" นำเข้า อึ้ง! พบสารพิษตกค้าง 50 ชนิด

    https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/BEYa9g6?utm_source=lineshare
    เปิดผลสุ่มตรวจ "องุ่นไชน์มัสแคท" นำเข้า อึ้ง! พบสารพิษตกค้าง 50 ชนิด https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/BEYa9g6?utm_source=lineshare
    LIFF.LINE.ME
    Today
    แตะที่นี่เพื่อเปิดลิงก์
    Like
    Yay
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 458 มุมมอง 0 รีวิว
  • 24 ตุลาคม 2567-Thai-PAN ร่วมกับ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
    โดย..
    1. คุณปรกชล อู๋ทรัพย์ - เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช Thai-PAN
    2. คุณทัศนีย์ แน่นอุดร - นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
    3. ภญ. สุภาวดี ธีระวัฒน์สกุล ผู้อำนวยการกองอาหาร - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
    4. ดร.วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง ผู้อำนวยการกองด่านอาหารและยา - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
    ชวนตั้งคำถาม โดย คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล

    สรุปผลตรวจวันนี้
    1. ประเทศผู้ผลิตองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ที่สุ่มซื้อมาจากการสั่งออนไลน์ 2 ตัวอย่าง มาจากร้านค้าและตลาด 7 ตัวอย่าง และจากโมเดิร์นเทรด 15 ตัวอย่าง สามารถระบุได้เพียง 9 ตัวอย่างว่ามาจากประเทศจีน อีก 15 ตัวอย่างไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้

    2. 95.8% ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด แบ่งเป็น 2 กรณี 1) องุ่น 1 ตัวอย่าง พบสารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ทั้งนี้ตามกฎหมายต้องตรวจไม่พบเนื่องจากยกเลิกค่า MRL แล้ว 2) องุ่นอีก 22 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิด เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต (สารพิษตกค้างที่ไม่มีค่า MRL ตามกฎหมายกำหนดให้พบได้ไม่เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต 0.01 mg/kg) ซึ่งสารเหล่านี้อาจยังไม่มีการประเมินความปลอดภัย

    3. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้ในประเทศไทย) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินใดๆภายใต้กฎหมายไทย

    4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย

    5. องุ่นไชน์มัสแคทแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างระหว่าง 7-18 ชนิด โดยจำนวน 23 จาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด 1-6 ชนิด

    ที่มา https://www.facebook.com/share/v/C6K7h2P7pNNFv5ZY/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    24 ตุลาคม 2567-Thai-PAN ร่วมกับ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดย.. 1. คุณปรกชล อู๋ทรัพย์ - เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช Thai-PAN 2. คุณทัศนีย์ แน่นอุดร - นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 3. ภญ. สุภาวดี ธีระวัฒน์สกุล ผู้อำนวยการกองอาหาร - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 4. ดร.วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง ผู้อำนวยการกองด่านอาหารและยา - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชวนตั้งคำถาม โดย คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล สรุปผลตรวจวันนี้ 1. ประเทศผู้ผลิตองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ที่สุ่มซื้อมาจากการสั่งออนไลน์ 2 ตัวอย่าง มาจากร้านค้าและตลาด 7 ตัวอย่าง และจากโมเดิร์นเทรด 15 ตัวอย่าง สามารถระบุได้เพียง 9 ตัวอย่างว่ามาจากประเทศจีน อีก 15 ตัวอย่างไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ 2. 95.8% ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด แบ่งเป็น 2 กรณี 1) องุ่น 1 ตัวอย่าง พบสารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ทั้งนี้ตามกฎหมายต้องตรวจไม่พบเนื่องจากยกเลิกค่า MRL แล้ว 2) องุ่นอีก 22 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิด เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต (สารพิษตกค้างที่ไม่มีค่า MRL ตามกฎหมายกำหนดให้พบได้ไม่เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต 0.01 mg/kg) ซึ่งสารเหล่านี้อาจยังไม่มีการประเมินความปลอดภัย 3. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้ในประเทศไทย) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินใดๆภายใต้กฎหมายไทย 4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย 5. องุ่นไชน์มัสแคทแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างระหว่าง 7-18 ชนิด โดยจำนวน 23 จาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด 1-6 ชนิด ที่มา https://www.facebook.com/share/v/C6K7h2P7pNNFv5ZY/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 521 มุมมอง 0 รีวิว