องุ่นพิษ 'ไชน์มัสแคท' สารเคมีเกิน 50 ชนิด เสี่ยงอันตรายล้างยาก
.
เป็นข่าวที่สะเทือนประชาชนผู้บริโภคพอสมควร ภายหลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8 โดยปัจจจุบันองุ่นพันธุ์นี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย
.
ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทมีทั้งหมดทั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ร้อยละ 95.8 ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด เช่น สารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 2. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด โดยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เช่น Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด 4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย
.
ดังนั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อเสนอว่า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายองุ่นไชน์มัสแคท ควรจัดเก็บออกจากชั้นวาง แถลงมาตรการที่ชัดเจนกับซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตที่มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน เช่น ผู้ประกอบการต้องยกเลิกการนำเข้าจากซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตนั้นเมื่อมีการกระทำผิดซ้ำอีก ผู้ประกอบการนำเข้า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายต้องระบุแหล่งที่มา/ประเทศต้นทางของสินค้านำเข้า เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อเกิดปัญหา
ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่กำหนดผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายต้องติดฉลากแสดงที่มาและประเทศต้นทาง เพิ่มมาตรการในการรับประกันคุณภาพความปลอดภัย และ สร้างระบบ Rapid Alert System ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แบบนี้อย่างรวดเร็ว เช่น การแจ้งให้ทราบ การเรียกคืน การทำลายสินค้า ทันทีที่ตรวจพบ รวมทั้งการเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจวิเคราะห์จากประเทศต้นทางหรือแหล่งผลิตที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง
.
ที่สำคัญ รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผักผลไม้ โดยในปี 2573 ผักผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ไม่เกิน 5% และกำหนดเป้าหมายและงบประมาณในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอาหาร โดยในปี 2571 ประเทศไทยมีระบบ Rapid Alert System เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเร่งด่วนที่มีประสิทธิภาพ เท่าทันต่อสถานการณ์ และมีกลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและติดตามการจัดการปัญหาตลอดห่วงโซ่
............
Sondhi X
องุ่นพิษ 'ไชน์มัสแคท' สารเคมีเกิน 50 ชนิด เสี่ยงอันตรายล้างยาก . เป็นข่าวที่สะเทือนประชาชนผู้บริโภคพอสมควร ภายหลังเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากถึงร้อยละ 95.8 โดยปัจจจุบันองุ่นพันธุ์นี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย . ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทมีทั้งหมดทั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ร้อยละ 95.8 ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด เช่น สารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 2. พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด โดยเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เช่น Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด 4. จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย . ดังนั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อเสนอว่า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายองุ่นไชน์มัสแคท ควรจัดเก็บออกจากชั้นวาง แถลงมาตรการที่ชัดเจนกับซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตที่มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน เช่น ผู้ประกอบการต้องยกเลิกการนำเข้าจากซัพพลายเออร์และแหล่งผลิตนั้นเมื่อมีการกระทำผิดซ้ำอีก ผู้ประกอบการนำเข้า ห้างโมเดิร์นเทรดและผู้จำหน่ายต้องระบุแหล่งที่มา/ประเทศต้นทางของสินค้านำเข้า เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อเกิดปัญหา ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่กำหนดผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายต้องติดฉลากแสดงที่มาและประเทศต้นทาง เพิ่มมาตรการในการรับประกันคุณภาพความปลอดภัย และ สร้างระบบ Rapid Alert System ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แบบนี้อย่างรวดเร็ว เช่น การแจ้งให้ทราบ การเรียกคืน การทำลายสินค้า ทันทีที่ตรวจพบ รวมทั้งการเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจวิเคราะห์จากประเทศต้นทางหรือแหล่งผลิตที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง . ที่สำคัญ รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผักผลไม้ โดยในปี 2573 ผักผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ไม่เกิน 5% และกำหนดเป้าหมายและงบประมาณในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอาหาร โดยในปี 2571 ประเทศไทยมีระบบ Rapid Alert System เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเร่งด่วนที่มีประสิทธิภาพ เท่าทันต่อสถานการณ์ และมีกลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและติดตามการจัดการปัญหาตลอดห่วงโซ่ ............ Sondhi X
Like
Angry
13
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 978 มุมมอง 1 รีวิว