• 70 ปี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เครือข่ายชนชั้นนำ คอนเนคชันขั้นเทพ? 🎖️🇹🇭

    "วปอ. สร้างเครือข่าย หรือสร้างชนชั้นนำใหม่?" คำถามที่ยังค้างคาใจ ในสังคมไทย กับสถาบันที่มีอิทธิพล สูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศ

    จากสถาบันความมั่นคง สู่เครือข่ายแห่งอำนาจ 🔥
    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร" (วปอ.) ภายใต้การดูแลของ กระทรวงกลาโหม โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เป็นสถาบันศึกษาชั้นสูง สำหรับผู้บริหารระดับสูง ของฝ่ายทหาร และพลเรือน

    แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วปอ. ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษา ด้านความมั่นคง แต่กลายเป็น "สนามฝึกซ้อม" ของเครือข่ายอำนาจ ที่ครอบคลุมการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย 💼🏛️

    🎓 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่หลักคือ การศึกษาและอบรม ข้าราชการระดับสูง ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน นักการเมือง และนักธุรกิจเอกชน

    🔹 หลักสูตรของ วปอ.
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) สำหรับข้าราชการระดับสูง และผู้นำทางทหาร
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) เปิดรับผู้บริหารภาคเอกชน และภาครัฐ
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) ครั้งหนึ่งเคยมีนักการเมือง ร่วมศึกษา แต่ปัจจุบันปิดตัวลง

    🔹 คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
    ✅ ข้าราชการพลเรือน ระดับอำนวยการสูงขึ้นไป
    ✅ ข้าราชการทหาร ระดับพันเอกขึ้นไป
    ✅ ข้าราชการตำรวจ ระดับพันตำรวจเอกขึ้นไป
    ✅ นักธุรกิจเอกชน เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารระดับสูง

    หลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับ "เข็มรัฏฐาภิรักษ์" ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ ที่ได้รับการยอมรับ ในแวดวงชนชั้นนำไทย

    เครือข่ายอำนาจ หรือเครือข่ายพัฒนา? 🤝
    "วปอ. เป็นเครือข่ายผู้นำ ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน หรือเป็นกลไก ที่ช่วยให้ชนชั้นนำ รักษาอำนาจ?"

    🔹 จุดเด่นของเครือข่าย วปอ.
    ✅ สร้างสายสัมพันธ์ลึกซึ้ง ผู้เรียนกลายเป็น "พี่น้องร่วมรุ่น" ที่ช่วยเหลือกันตลอดชีวิต
    ✅ เข้าถึงโอกาสพิเศษ การได้เข้าเรียน วปอ. คือการเข้าสู่ "สนามหลังบ้านของอำนาจ"
    ✅ อิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาติ ผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ในระดับประเทศ

    🔹 แต่ด้านลบล่ะ?
    ❌ "พรรคพวกนิยม" หรือระบบเส้นสาย การมี "คอนเนคชัน" สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ?
    ❌ เปิดโอกาสให้กลุ่มทุน เข้าถึงอำนาจมากขึ้น นักธุรกิจสามารถสร้างสายสัมพันธ์ กับข้าราชการ และนักการเมืองได้ง่ายขึ้น
    ❌ การกีดกันผู้ที่อยู่นอกเครือข่าย ประชาชนทั่วไป ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเครือข่ายนี้

    วปอ. กับการเมือง และเศรษฐกิจไทย 💰🏛️
    หลักสูตรเหล่านี้อาจเป็น "เส้นทางลัดสู่ชนชั้นนำ" เพราะเมื่อเข้าเรียนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการยอมรับ ในสังคมระดับสูง อีกทั้งยังเปิดโอกาส ในการ สร้างเครือข่ายผลประโยชน์ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการเมือง

    🔹 วปอ. กับนักการเมือง
    อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และนักการเมืองระดับสูงหลายคน เคยศึกษาในหลักสูตร วปอ.
    การศึกษาที่นี่ ช่วยให้นักการเมือง สามารถเชื่อมโยงกับกองทัพ ข้าราชการ และภาคเอกชน

    🔹 วปอ. กับภาคธุรกิจ
    นักธุรกิจที่เข้าเรียน วปอ. สามารถเชื่อมโยงกับ ข้าราชการระดับสูง และสร้างโอกาสทางธุรกิจ
    การเรียนรู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ" อาจเป็นข้อได้เปรียบในทางธุรกิจ

    3 ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายใน วปอ. 🤝🏆
    1️⃣ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา 🎯
    เน้นผู้บริหารระดับสูง หรือ "ดาวรุ่ง" ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ

    2️⃣ พัฒนาความสัมพันธ์ 🔄
    ใช้กิจกรรม เช่น ปฐมนิเทศ ทริปดูงาน งานเลี้ยง
    มีระบบ "พี่รหัส-น้องรหัส" คล้ายมหาวิทยาลัย

    3️⃣ รักษาความสัมพันธ์ หลังเรียนจบ 📜
    ตั้งสมาคมศิษย์เก่า เพื่อให้ช่วยเหลือกันต่อไป
    เครือข่ายนี้ ทำงานผ่านการสนับสนุน ซึ่งกันและกัน

    ประโยชน์ต่อชาติ หรือการสืบทอดอำนาจ? 🤔
    มีการตั้งข้อสังเกตว่า "วปอ. คือพื้นที่กลั่นกรอง ผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ" ที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยโดยตรง

    "ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือจากความไว้วางใจ ของเครือข่าย?"

    บางฝ่ายมองว่า วปอ. เป็น "ระบบคัดกรองอำนาจ" ที่ช่วยให้บุคคลที่ "เหมาะสม" ได้ขึ้นเป็นผู้นำ แต่บางฝ่ายมองว่าเป็น "การสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ" ที่ตัดประชาชนทั่วไป ออกจากกระบวนการตัดสินใจ

    วปอ. เป็นโอกาสหรือปัญหา? ⚖️
    ✅ ข้อดี
    - เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ และส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติ
    - สร้างเครือข่าย ที่ช่วยให้การบริหารประเทศ เป็นไปอย่างราบรื่น
    - เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและรัฐ ทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ❌ ข้อเสีย
    - อาจเป็นช่องทางลัดสำหรับ "ชนชั้นนำใหม่" ที่เข้าสู่เครือข่ายอำนาจ
    - เสริมสร้างระบบเส้นสายและ "พรรคพวกนิยม"
    - ลดโอกาสของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงอำนาจ

    วปอ. เป็นโอกาส หรือเป็นการสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ? 🤔

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021144 ก.พ. 2568

    🔹 #วปอ #70ปีวปอ #เครือข่ายอำนาจ #ผู้นำไทย #การเมืองไทย #ชนชั้นนำ #เส้นสาย #ธุรกิจไทย #โอกาสหรืออำนาจ #การศึกษาไทย 🎖️
    70 ปี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เครือข่ายชนชั้นนำ คอนเนคชันขั้นเทพ? 🎖️🇹🇭 "วปอ. สร้างเครือข่าย หรือสร้างชนชั้นนำใหม่?" คำถามที่ยังค้างคาใจ ในสังคมไทย กับสถาบันที่มีอิทธิพล สูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศ จากสถาบันความมั่นคง สู่เครือข่ายแห่งอำนาจ 🔥 ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร" (วปอ.) ภายใต้การดูแลของ กระทรวงกลาโหม โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เป็นสถาบันศึกษาชั้นสูง สำหรับผู้บริหารระดับสูง ของฝ่ายทหาร และพลเรือน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วปอ. ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษา ด้านความมั่นคง แต่กลายเป็น "สนามฝึกซ้อม" ของเครือข่ายอำนาจ ที่ครอบคลุมการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย 💼🏛️ 🎓 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่หลักคือ การศึกษาและอบรม ข้าราชการระดับสูง ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน นักการเมือง และนักธุรกิจเอกชน 🔹 หลักสูตรของ วปอ. - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) สำหรับข้าราชการระดับสูง และผู้นำทางทหาร - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) เปิดรับผู้บริหารภาคเอกชน และภาครัฐ - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) ครั้งหนึ่งเคยมีนักการเมือง ร่วมศึกษา แต่ปัจจุบันปิดตัวลง 🔹 คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน ✅ ข้าราชการพลเรือน ระดับอำนวยการสูงขึ้นไป ✅ ข้าราชการทหาร ระดับพันเอกขึ้นไป ✅ ข้าราชการตำรวจ ระดับพันตำรวจเอกขึ้นไป ✅ นักธุรกิจเอกชน เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารระดับสูง หลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับ "เข็มรัฏฐาภิรักษ์" ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ ที่ได้รับการยอมรับ ในแวดวงชนชั้นนำไทย เครือข่ายอำนาจ หรือเครือข่ายพัฒนา? 🤝 "วปอ. เป็นเครือข่ายผู้นำ ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน หรือเป็นกลไก ที่ช่วยให้ชนชั้นนำ รักษาอำนาจ?" 🔹 จุดเด่นของเครือข่าย วปอ. ✅ สร้างสายสัมพันธ์ลึกซึ้ง ผู้เรียนกลายเป็น "พี่น้องร่วมรุ่น" ที่ช่วยเหลือกันตลอดชีวิต ✅ เข้าถึงโอกาสพิเศษ การได้เข้าเรียน วปอ. คือการเข้าสู่ "สนามหลังบ้านของอำนาจ" ✅ อิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาติ ผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ในระดับประเทศ 🔹 แต่ด้านลบล่ะ? ❌ "พรรคพวกนิยม" หรือระบบเส้นสาย การมี "คอนเนคชัน" สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ? ❌ เปิดโอกาสให้กลุ่มทุน เข้าถึงอำนาจมากขึ้น นักธุรกิจสามารถสร้างสายสัมพันธ์ กับข้าราชการ และนักการเมืองได้ง่ายขึ้น ❌ การกีดกันผู้ที่อยู่นอกเครือข่าย ประชาชนทั่วไป ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเครือข่ายนี้ วปอ. กับการเมือง และเศรษฐกิจไทย 💰🏛️ หลักสูตรเหล่านี้อาจเป็น "เส้นทางลัดสู่ชนชั้นนำ" เพราะเมื่อเข้าเรียนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการยอมรับ ในสังคมระดับสูง อีกทั้งยังเปิดโอกาส ในการ สร้างเครือข่ายผลประโยชน์ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการเมือง 🔹 วปอ. กับนักการเมือง อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และนักการเมืองระดับสูงหลายคน เคยศึกษาในหลักสูตร วปอ. การศึกษาที่นี่ ช่วยให้นักการเมือง สามารถเชื่อมโยงกับกองทัพ ข้าราชการ และภาคเอกชน 🔹 วปอ. กับภาคธุรกิจ นักธุรกิจที่เข้าเรียน วปอ. สามารถเชื่อมโยงกับ ข้าราชการระดับสูง และสร้างโอกาสทางธุรกิจ การเรียนรู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ" อาจเป็นข้อได้เปรียบในทางธุรกิจ 3 ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายใน วปอ. 🤝🏆 1️⃣ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา 🎯 เน้นผู้บริหารระดับสูง หรือ "ดาวรุ่ง" ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ 2️⃣ พัฒนาความสัมพันธ์ 🔄 ใช้กิจกรรม เช่น ปฐมนิเทศ ทริปดูงาน งานเลี้ยง มีระบบ "พี่รหัส-น้องรหัส" คล้ายมหาวิทยาลัย 3️⃣ รักษาความสัมพันธ์ หลังเรียนจบ 📜 ตั้งสมาคมศิษย์เก่า เพื่อให้ช่วยเหลือกันต่อไป เครือข่ายนี้ ทำงานผ่านการสนับสนุน ซึ่งกันและกัน ประโยชน์ต่อชาติ หรือการสืบทอดอำนาจ? 🤔 มีการตั้งข้อสังเกตว่า "วปอ. คือพื้นที่กลั่นกรอง ผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ" ที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยโดยตรง "ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือจากความไว้วางใจ ของเครือข่าย?" บางฝ่ายมองว่า วปอ. เป็น "ระบบคัดกรองอำนาจ" ที่ช่วยให้บุคคลที่ "เหมาะสม" ได้ขึ้นเป็นผู้นำ แต่บางฝ่ายมองว่าเป็น "การสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ" ที่ตัดประชาชนทั่วไป ออกจากกระบวนการตัดสินใจ วปอ. เป็นโอกาสหรือปัญหา? ⚖️ ✅ ข้อดี - เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ และส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติ - สร้างเครือข่าย ที่ช่วยให้การบริหารประเทศ เป็นไปอย่างราบรื่น - เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและรัฐ ทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ❌ ข้อเสีย - อาจเป็นช่องทางลัดสำหรับ "ชนชั้นนำใหม่" ที่เข้าสู่เครือข่ายอำนาจ - เสริมสร้างระบบเส้นสายและ "พรรคพวกนิยม" - ลดโอกาสของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงอำนาจ วปอ. เป็นโอกาส หรือเป็นการสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ? 🤔 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021144 ก.พ. 2568 🔹 #วปอ #70ปีวปอ #เครือข่ายอำนาจ #ผู้นำไทย #การเมืองไทย #ชนชั้นนำ #เส้นสาย #ธุรกิจไทย #โอกาสหรืออำนาจ #การศึกษาไทย 🎖️
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • 19/1/68

    บ่อนคาสิโน : ขอคารวะดร.เอ้ที่กล้าชี้แนะ

    ในวันที่ลำบากที่สุด ทำไม ลีกวนยู รัฐบุรุษแห่งสิงคโปร์ เลือกพัฒนา "คุณภาพคน" และ "คุณภาพราชการ" ก่อนเปิดกาสิโน เราเรียนรู้อะไร?

    การอ้างเศรษฐกิจจะดี จะสร้างรายได้จาก "กาสิโนเสรี" ในชื่อแอบแฝง "Entertainmant Complex" ชวนน่าสงสัย อันตรายยิ่ง

    และการนำเรื่องกาสิโน ไปเปรียบกับสิงคโปร์ แต่ไม่ไปเปรียบกับเมียนมาร์ และกัมพูชา ยิ่งสะท้อน ความวิบัติในตรรกะ เช่นกัน

    เพราะการมีกาสิโนในประเทศข้างบ้าน สะท้อนความจริงว่า "ชาวบ้านไม่ได้อะไร" ยังคงยากจน ข้นแค้น แต่คนได้ คือ "นายทุน" กับ "ผู้นำการเมือง" ผู้อยู่เบื้องหลัง ที่มั่งคั่ง บนความเหลื่อมล้ำของสังคม

    หรือท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมวันที่สิงค์โปร์แยกตัวจากมาเลเซีย ไม่มีทรัพยากรใด ลำบากยากจน หมดหวัง แม้แต่ "ลีกวนยู" นายกรัฐมนตรี ถึงกับร้องไห้

    จนทำให้ หลายคนรอบตัวลีกวนยู บอก "นายครับ เราเปิดกาสิโน แบบมาเก๊า เอาเงินเข้าประเทศกันเถอะครับ" จะเป็นทางรอดของสิงคโปร์

    แต่ ลีกวนยู ปฏิเสธ...

    ไม่มีประเทศไหน ไม่อยากได้เงินบริหารประเทศ ลีกวนยู ผู้ที่พ่อเคยติดการพนัน รู้ซึ้งถึง "อันตรายจากการพนัน" ในวันที่สังคมสิงคโปร์ ยังไม่พร้อม ทั้งเรื่องการบังคับใช้กฏหมาย การจัดระเบียบราชการ และที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาสร้างภูมิคุ้มกันของคนสิงคโปร์ ที่ยัง "ไม่พร้อม"

    ลีกวนยู นายกรัฐมนตรี จึงประกาศ "มุ่งสร้างคนคุณภาพ ด้วยการศึกษาที่ดีที่สุด" และ "มุ่งสร้างระบบราชการ ที่ปราศจากการคอรัปชั่น" เป็นอันดับแรก จนสิงค์โปร์ได้ชื่อว่า มีการพัฒนาคน และพัฒนาระบบราชการโปร่งใส อันดับท็อปของโลก

    รายได้ประชาชาติ หรือจีดีพีต่อคนของสิงค์โปร์ จึงเติบโตจาก 400 ดอลลาร์ต่อคน ในปี 1960 จนมากว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อคน ในปัจจุบัน หรือโตกว่า 200 เท่า ตั้งแต่ลีกวนยูเริ่มบริหารประเทศ

    พิสูจน์วิสัยทัศน์ของ ลีกวนยู "การสร้างคน เพื่อไปสร้างชาติ ไปสร้างเศรษฐกิจ" คือ สิ่งที่ถูกต้องที่สุด ดีกว่าทุกสิ่งอย่าง

    แต่ทั้งนี้ "การศึกษาอย่างละเอียด เรื่องบ่อนกาสิโน" จากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ยังคงเริ่มมาตั้งแต่สมัยของลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง 32 ปี และต่อเนื่องมาจนสมัยของ โก๊ะ จ๊กตง นายกรัฐมนตรีคนที่สอง 14 ปี รอจนสิงค์โปร์ประสบความสำเร็จในการสร้าง "รากฐานของประเทศ" และสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ

    มาถึง ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีคนที่สาม ภายใต้ "ข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยว" ของเกาะสิงคโปร์ ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีชายหาดที่สวยงาม ไม่มีประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ไม่มี "สีสัน" ดึงดูดนักท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ที่มีทั้งสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม อาหาร และธรรมชาติ ที่เหนือกว่าสิงคโปร์ทุกด้าน

    ลีเซียนลุง จึงประกาศให้มีกาสิโน ด้วยการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านการบังคับใช้กฏหมาย ด้านภูมิคุ้มกันประชาชน และด้านการเยียวยาผลกระทบ จากการศึกษามายาวนาน

    แต่ที่น่าสนใจ เราแทบไม่เคยได้ยินว่า ลีเซียนลุง แสดงความภาคภูมิใจกับผลงานนี้ของรัฐบาลเขาเลย และยังมีหลายคนพูดว่า หากสิงคโปร์ย้อนเวลากลับไปได้ อาจไม่ทำเรื่องกาสิโน ก็เป็นได้

    ผมจึงเพียงสงสัย อย่างไร้อคติว่า ผู้นำไทยเรียนรู้อะไรบ้าง จากผู้นำสิงคโปร์

    ทำไมผู้นำไทย จึงเร่งร้อน เลือกทางกาสิโนเสรี ก่อนเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาคน และด้านการบังคับใช้กฏหมาย ผมจึงประหลาดใจยิ่ง

    ผมขอให้ ผู้นำไทย มีความเป็น Stateman หรือรัฐบุรุษ คิดถึงอนาคตชาติ อนาคตเด็กไทย สักนิดก็ยังดี ก่อนบุ่มบ่าม เปิดบ่อนกาสิโน ภายใต้ความ "ไม่พร้อม"

    เพราะหากผลกระทบที่ตามมา ไม่ใช่อย่างพูด คนไทยนอกจากไม่ได้มีรายได้เพิ่มอย่างเท่าเทียม ลูกหลานติดการพนัน เสียคน บ่อนนอกพื้นที่อนุญาต เกิดขึ้นใหม่อย่างไร้การควบคุม รากฐานสังคมถูกทำลาย

    ถึงวันนั้น ขอโทษ เสียใจ คงไม่พอ
    .
    ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้)
    19/1/68 บ่อนคาสิโน : ขอคารวะดร.เอ้ที่กล้าชี้แนะ ในวันที่ลำบากที่สุด ทำไม ลีกวนยู รัฐบุรุษแห่งสิงคโปร์ เลือกพัฒนา "คุณภาพคน" และ "คุณภาพราชการ" ก่อนเปิดกาสิโน เราเรียนรู้อะไร? การอ้างเศรษฐกิจจะดี จะสร้างรายได้จาก "กาสิโนเสรี" ในชื่อแอบแฝง "Entertainmant Complex" ชวนน่าสงสัย อันตรายยิ่ง และการนำเรื่องกาสิโน ไปเปรียบกับสิงคโปร์ แต่ไม่ไปเปรียบกับเมียนมาร์ และกัมพูชา ยิ่งสะท้อน ความวิบัติในตรรกะ เช่นกัน เพราะการมีกาสิโนในประเทศข้างบ้าน สะท้อนความจริงว่า "ชาวบ้านไม่ได้อะไร" ยังคงยากจน ข้นแค้น แต่คนได้ คือ "นายทุน" กับ "ผู้นำการเมือง" ผู้อยู่เบื้องหลัง ที่มั่งคั่ง บนความเหลื่อมล้ำของสังคม หรือท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมวันที่สิงค์โปร์แยกตัวจากมาเลเซีย ไม่มีทรัพยากรใด ลำบากยากจน หมดหวัง แม้แต่ "ลีกวนยู" นายกรัฐมนตรี ถึงกับร้องไห้ จนทำให้ หลายคนรอบตัวลีกวนยู บอก "นายครับ เราเปิดกาสิโน แบบมาเก๊า เอาเงินเข้าประเทศกันเถอะครับ" จะเป็นทางรอดของสิงคโปร์ แต่ ลีกวนยู ปฏิเสธ... ไม่มีประเทศไหน ไม่อยากได้เงินบริหารประเทศ ลีกวนยู ผู้ที่พ่อเคยติดการพนัน รู้ซึ้งถึง "อันตรายจากการพนัน" ในวันที่สังคมสิงคโปร์ ยังไม่พร้อม ทั้งเรื่องการบังคับใช้กฏหมาย การจัดระเบียบราชการ และที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาสร้างภูมิคุ้มกันของคนสิงคโปร์ ที่ยัง "ไม่พร้อม" ลีกวนยู นายกรัฐมนตรี จึงประกาศ "มุ่งสร้างคนคุณภาพ ด้วยการศึกษาที่ดีที่สุด" และ "มุ่งสร้างระบบราชการ ที่ปราศจากการคอรัปชั่น" เป็นอันดับแรก จนสิงค์โปร์ได้ชื่อว่า มีการพัฒนาคน และพัฒนาระบบราชการโปร่งใส อันดับท็อปของโลก รายได้ประชาชาติ หรือจีดีพีต่อคนของสิงค์โปร์ จึงเติบโตจาก 400 ดอลลาร์ต่อคน ในปี 1960 จนมากว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อคน ในปัจจุบัน หรือโตกว่า 200 เท่า ตั้งแต่ลีกวนยูเริ่มบริหารประเทศ พิสูจน์วิสัยทัศน์ของ ลีกวนยู "การสร้างคน เพื่อไปสร้างชาติ ไปสร้างเศรษฐกิจ" คือ สิ่งที่ถูกต้องที่สุด ดีกว่าทุกสิ่งอย่าง แต่ทั้งนี้ "การศึกษาอย่างละเอียด เรื่องบ่อนกาสิโน" จากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ยังคงเริ่มมาตั้งแต่สมัยของลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง 32 ปี และต่อเนื่องมาจนสมัยของ โก๊ะ จ๊กตง นายกรัฐมนตรีคนที่สอง 14 ปี รอจนสิงค์โปร์ประสบความสำเร็จในการสร้าง "รากฐานของประเทศ" และสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ มาถึง ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีคนที่สาม ภายใต้ "ข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยว" ของเกาะสิงคโปร์ ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีชายหาดที่สวยงาม ไม่มีประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ไม่มี "สีสัน" ดึงดูดนักท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ที่มีทั้งสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม อาหาร และธรรมชาติ ที่เหนือกว่าสิงคโปร์ทุกด้าน ลีเซียนลุง จึงประกาศให้มีกาสิโน ด้วยการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านการบังคับใช้กฏหมาย ด้านภูมิคุ้มกันประชาชน และด้านการเยียวยาผลกระทบ จากการศึกษามายาวนาน แต่ที่น่าสนใจ เราแทบไม่เคยได้ยินว่า ลีเซียนลุง แสดงความภาคภูมิใจกับผลงานนี้ของรัฐบาลเขาเลย และยังมีหลายคนพูดว่า หากสิงคโปร์ย้อนเวลากลับไปได้ อาจไม่ทำเรื่องกาสิโน ก็เป็นได้ ผมจึงเพียงสงสัย อย่างไร้อคติว่า ผู้นำไทยเรียนรู้อะไรบ้าง จากผู้นำสิงคโปร์ ทำไมผู้นำไทย จึงเร่งร้อน เลือกทางกาสิโนเสรี ก่อนเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาคน และด้านการบังคับใช้กฏหมาย ผมจึงประหลาดใจยิ่ง ผมขอให้ ผู้นำไทย มีความเป็น Stateman หรือรัฐบุรุษ คิดถึงอนาคตชาติ อนาคตเด็กไทย สักนิดก็ยังดี ก่อนบุ่มบ่าม เปิดบ่อนกาสิโน ภายใต้ความ "ไม่พร้อม" เพราะหากผลกระทบที่ตามมา ไม่ใช่อย่างพูด คนไทยนอกจากไม่ได้มีรายได้เพิ่มอย่างเท่าเทียม ลูกหลานติดการพนัน เสียคน บ่อนนอกพื้นที่อนุญาต เกิดขึ้นใหม่อย่างไร้การควบคุม รากฐานสังคมถูกทำลาย ถึงวันนั้น ขอโทษ เสียใจ คงไม่พอ . ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว
  • 30/11/67

    สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521
    ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้
    หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น
    ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก
    ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม
    นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน
    กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน
    นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก
    สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน)
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด....
    หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง)
    การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป
    เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย
    ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้
    เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่
    เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์"
    เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม
    กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน
    เวียตนามเสียหายหนัก
    ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ

    ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า
    ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด
    ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น
    ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้
    ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น
    (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก)
    นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้
    ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด

    ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย
    ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ
    ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ
    มาอาศัยมากทีีสุดในโลก
    มากกว่า มาเลเซีย
    มากกว่า สิงคโปร์
    มากกว่า อินโดนีเซีย
    ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน

    ขอขอบพระคุณ
    ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ
    ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน

    ถ่ายทอดโดย
    นายบัวสอน ประชามอญ

    โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    30/11/67 สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521 ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน) หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด.... หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง) การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้ เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่ เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์" เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน เวียตนามเสียหายหนัก ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้ ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก) นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ มาอาศัยมากทีีสุดในโลก มากกว่า มาเลเซีย มากกว่า สิงคโปร์ มากกว่า อินโดนีเซีย ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน ขอขอบพระคุณ ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน ถ่ายทอดโดย นายบัวสอน ประชามอญ โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 663 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!!

    ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ
    เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร

    Somkiat Osotsapa
    January 31 at 5:18am ·
    พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน
    -------------------------
    เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต
    ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก

    แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา

    แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น

    สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง

    อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า…

    เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก
    คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที
    เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค
    แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว…

    แล้วก็รู้ว่า:-
    ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ
    แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว
    งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ

    ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม

    ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก
    หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก
    นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ

    ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว

    รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก

    นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี

    ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย

    ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ…

    ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้
    แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน
    ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน

    ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข

    นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น

    นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ

    บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน

    Somkiat Osotsapa
    February 5 at 12:31am ·

    เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร
    --------------------------
    อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ

    คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน

    มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท

    ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก)

    ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50%

    คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง
    เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย

    ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก…

    รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม…

    การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย…

    รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี…

    ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก

    ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย
    เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย

    ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้

    ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด

    งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน

    เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด

    หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี

    ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า

    อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป
    --------------------------
    ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด

    ระวังว่ามันจะระเบิด

    ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ

    ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้
    ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4

    ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ

    เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ

    เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี

    กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ

    ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี…
    ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา
    วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ
    อือม์ มันน่ากลัว…
    เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว
    --------------

    ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม
    เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space

    ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่…
    สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด…

    ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก…
    ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก
    ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน

    ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000
    แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ

    ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน
    อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา…
    ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด

    มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย

    ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย

    ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้
    มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา

    ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก

    มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ
    จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้

    มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 ---------------

    ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด

    ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์

    ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า

    ไม่เจ๊งไงไหว
    ---------------------

    ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก…
    เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ

    เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้
    --------------
    ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว
    -------------------

    ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก…

    ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง

    ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม…
    ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ
    --------------
    ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน
    --------------

    ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ
    ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ

    ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน

    ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์

    ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ

    กรรมการสภากาชาดด้วย

    ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย

    ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก

    เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน

    แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว

    ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก

    ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว
    มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ
    ------------------
    ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้

    เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ
    จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้…

    วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย
    ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา
    เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    **ต้องอ่านให้จบ**หายนะกำลังมาเยือนประชาชนคนไทย!! ขอนำบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งมาเสนอค่ะ เครดิต พิมพ์ชนก พิทักษ์ชัยยะบุตร Somkiat Osotsapa January 31 at 5:18am · พาไปเที่ยวโรงพยาบาลจุฬาฯกัน ------------------------- เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ผมไปรพ. จุฬาฯ เป็นประสบการณ์ใหม่ของชีวิต ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยป่วยนอนโรงพยาบาลเลย เคยแต่ไปเฝ้าไข้รพ.เอกชน ซื่งสบายมาก มีเชฟอาหาร ทั้งจีน อินเดีย ไทย ชั้นเลิศ ออกแนวบันเทิง มีร้านกาแฟแบรนด์เนม ที่จริงก็ไปตรวจนี่นั่น ที่รพ.เอกชนเหมือนกัน มันสะดวกมาก แล้วผมก็เกิดอยากจะรู้ว่าถ้าผมจะใช้สิทธิข้าราชการของผมบ้าง จะต้องทำอย่างไร ลองไปรพจุฬา แวะไปครั้งที่หนื่ง เข้าคิวอยู่ยาวช่วงบ่าย บอกว่าต้องมาเอาคิว ในวันรุ่งขึ้น สอบถามได้ความว่าถ้าจะตรวจในวันรุ่งขึ้น ต้องมาเข้าคิวเอาบัตรคิวที่ตู้ที่จะเปิดตอนตี 5 ครื่ง อ๊ะ! ถ้างั้นต้องตื่นตีสี่ ไปเข้าคิวตีห้า… เมื่อผมไปถึงตอนตีห้า มีคนอยู่ร่วมหนื่งพันคน ตั้งแต่บัตรประกันสังคม คนไข้ส่งต่อ แรงงานต่างด้าว ร่วม 12 ประเภท หลากหลายช่องมาก คิดถึงอารมณ์พระพุทธเจ้า เห็นทุกขเวทนาตัดสินใจออกบวชทันที เอาว่าคนเคยไปรพ.เอกชน จะช้อค แต่ผมอยากรู้ว่าคนเขาลำบากอย่างไร…ไม่เส้น…ตามคิว… แล้วก็รู้ว่า:- ๑ งานรพ.นี่เหนื่อยมากๆ คนมะรุมมะตุ้มถามโน่นนี่เยอะ แต่เจ้าหน้าที่ก็ใจเย็น สุภาพเท่าที่จะทำได้ รับความเครียด แรงกดดันได้ดีสุดๆ คนป่วย คนมาตรวจมากมาย แต่ทุกคนก็ช่วยตัวเองกันดีนะครับ หลายคนก็ทุกขเวทนาทีเดียว งานรพ.นี่สาหัสทีเดียว คิดในใจ ๒ สถานที่ของรพ.ดีขื้นกว่าแต่ก่อนมาก ขอบคุณเงินค่าเช่ามาบุญครอง และสยามสแควร์ มีตืกใหม่ มีแอร์ มีระบบคิวที่ดีงาม ๓ เนื่องจากคนไข้มาก รอกันนาน ทำใจเถอะ แต่คนไข้จำนวนมากที่ป่วยมีอาการ นั่งกระจุกกันเป็นหลายร้อยเนี่ย ทำให้รู้สืกว่าติดเชื้อง่ายมาก หมอ เจ้าหน้าที่สตรองมาก นักเรียนที่อยากเรียนแพทย์ พยาบาลควรมาหาประสบการณ์ ถ้าชอบและไหวก็เอา แต่ของผมลองนึกว่า ต้องไปทำงานห้องนั้น ทุกวัน จะให้เป็นหมอคงไม่เอา มันหดหู่นะ ๔ ดูเหมือนมีขบวนการของต่างชาติมาเอาคิวเป็นอาชีพ และมีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมารักษาฟรี โดยทำบัตรต่างด้าวปลอม รัฐบาลควรส่งคนไปดูนะ เป็นขบวนการทีเดียว รพ.น่ะไม่รู้เห็นด้วยหรอก คิดรพ.ใหญ่ทั่วประเทศ รายจ่ายเยอะมาก นั่งเครื่องมาเลย มีทำบัตรปลอมขายแน่นอน งบปท.ไทยไม่น่าเอาอยู่ แต่งตัวกันดี๊ดี ๕ เห็นนักศืกษาแพทย์ปีห้าโดนอาจารย์เอาปากกาเคาะหัวตลอด เรียนแพทย์เนี่ยเครียดมากนะครับ บอกเลย ๖ ค่ายา รพ.เอกชนแพงกว่ารพ. รัฐ เกินสิบเท่า หมอจุฬานี่เก่งนะครับ ความรู้เยอะ… ดีใจที่ได้ใช้สิทธิอดีตข้าราชการ มันน่าจะดีกว่านี้ แต่เอางบไปแบ่งให้ประชาชนก็ดีแล้ว ร่วมทุกข์สุขกัน ถ้ากระทรวงคลังเอาส่วนของข้าราชการไปแบ่งลงทุนไว้ น่าจะรักษาได้ระดับ รพ.เอกชน ก็อย่างว่า…ชีวิตคนในรพ.มันเหนื่อยนะ ใครไม่เคยตื่นไปเข้าคิวตีสี่เหมือนผม ห้ามวิจารณ์เรื่องงบสาธารณสุข นักการเมืองทุกคน ควรไปตอนตีสี่ จะเข้าใจชีวิตและปชช.มากขื้น นิสิตจุฬาทุกคนควรไปอย่างยิ่ง ขอบอก นี่คือมหาวิทยาลัยชีวิตครับ บัณฑิตต้องรู้จักประชาชน Somkiat Osotsapa February 5 at 12:31am · เมื่อประเทศไทยถูกยึด ม้าอารีต้องออกมายืนตากฝน คนไทยจะเข้าหาหมอได้อย่างไร -------------------------- อาชีพที่ทำรายได้สูงกว่าบุคลากรการแพทย์ในรพ.จุฬาฯ คือ ล่ามต่างชาติ ที่ขนคนไข้ประเทศเพื่อนบ้าน มารายละไม่ต่ำกว่าสิบคนต่อวันต่อล่ามหนื่งคน มีรายได้จากคนไข้ตปท.รายละ 500 บาท วันละเกิน5000 บาท ล่ามของแต่ละชาติมีมากมาย (หมอจุฬาผู้รักชาติหลังไมค์มาบอก) ด้วยเหตุนี้ คนไข้ที่นั่งรอหมอจึงเป็นคนจากปท.เพื่อนบ้านร่วม 50% คนไทยที่จะเข้ารพ.จุฬาฯ มีวิธีเข้ารักษาอย่างรวดเร็วได้ โดยอาศัยทางด่วน คือ รถของมูลนิธิปอเต๊กตื๊ง เช่น ถูกรถชน ถูกยิง แทง ฟัน งูกัด เข้าห้องอุบัติเหตุ ฝั่งสวนลุมได้เลย ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่าระบบประกัน ทำให้คนไทยไปรักษามาก ต้องเก็บเงินผู้ป่วยไทยเพิ่ม หมอไม่พอ อุปกรณ์ไม่พอ นี่…ไร้สาระมาก… รายจ่ายเพิ่มเพราะรับคนไข้จากตปท.มาตรึม… การทำคลอดทำให้ต่างชาติมากกว่าคนไทย… รู้กันทั้งภูมิภาคเอเชียว่ามารักษาที่เมืองไทย แค่บอกว่าไม่มีเงินก็ฟรี… ตอนนี้ข่าวสารกระจายไปทั่ว จัดเป็นธุรกิจข้ามชาติใหญ่โตมาก ทำบัตรเสร็จ ตรวจสุขภาพเสร็จ หางานทำได้เลย เศรษฐกิจดีมาก หางานง่าย ไปบีบให้คนไทยลาออก พวกเราเยอะ เครือข่ายเพียบ เบิกล่วงหน้าได้ ผมมีรายงานต้นทุนการรักษาผู้ป่วยของรพ.ทุกประเภท ทั่วปท. รายกลุ่มโรค คลอดแบบไหนเท่าไร ค่าใช้จ่ายประเภทค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อม…รู้หมด งบประมาณแผ่นดินของรพ.จุฬาแห่งเดียว เพิ่มจากราวสองพันล้านมาเป็นหกพันล้าน เพิ่มสามเท่าในเวลา 3-4 ปี ศิริราชก็บอกว่าขาดทุน รพ.ศูนย์ รพ.ท้องถิ่น รพ.ชุมชนขาดแคลนไปหมด หมอ พยาบาล เภสัช รังสี บุคลากรอื่นๆทำงานกันหนักมาก เศรษฐกิจไทย ระบบสาธารณสุขไทยจะล่มในไม่กี่ปี ตอนนี้อุตสาหกรรมขนคนเข้าปท.ไทยกำลังเติบใหญ่ ทั้งในลาว กัมพูชา พม่า อาฟริกันยังมาเลย เขาพูดกันว่าเมืองไทยแม่งโง่ ชอบอวดรวย ทั้งๆที่คนไทยจนจะตายห่า ผู้นำบ้ายอ ชมๆแม่งไป -------------------------- ผมรู้ว่าคนไทยกำลังเครียดรุนแรง แต่อายไม่กล้าพูด ระวังว่ามันจะระเบิด ทั้งถูกแย่งคิวรพ. แย่งงาน แย่งที่ขายของ แย่งที่นั่งในรถเมล์แดง รถไฟฟรี ยึดสวนสาธารณะ อิทธิพลขั้นสูง คนจนทั้งนั้น ทุกสีเสื้อ ผู้บริหารสภากาชาด ครม คสช สนช สปท อะไรก็ไม่รู้จำไม่ได้ ไม่เคยมายืนเข้าคิวตอนตี 4 ปัญหาของประเทศนี้คือ ผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้วางแผน ไม่ได้ใช้ชีวิตสัมผัสทุกข์ยากของปชช. ตัดสินใจผิดมากๆ เมื่อเห็นต่างชาติเยอะมาก ผมก็ออกมาเดินดูรอบนอก แถวร้านกาแฟขายลาตเต้นั่นแหละครับ เจอเลย ขบวนการ มีผู้กำกับงาน แต่งตัวดีมาก ผมฟังภาษาออก เจ้าหน้าที่รบ.ปท.เพื่อนบ้านก็มี กำลังคุยถึงที่จะมาอีกหลายระลอก ผ่านด่านต่างๆ ดูรวย มีความสุข เขากำลังทำงานให้ชาติของเขา ส่งคนมารักษาที่ไทยฟรี… ขำที่คนไทยดูทุเรศ ทุกขเวทนา วันนี้ คุยกับพรรคพวกที่รู้เรื่องดี จะได้รู้ต้นน้ำ กลาง น้ำ ปลายน้ำ อือม์ มันน่ากลัว… เขื่อนความมั่นคงประเทศพังแล้ว -------------- ความขัดแย้งรุนแรงเกิดขื้นเมื่อคนในชาติรู้สึกว่าพื้นที่ทำมาหากิน พื้นที่ชีวิตของเขาถูกรุกราน ถูกคุกคาม เยอรมัน เรียกว่า libensraum แปลว่า life space ตอนนี้หนักมาก สงครามเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในทุกที่… สวีเดน เดนมาร์กจึงเอาผู้อพยพออก เศรษฐกิจยุโรปจะพังเอา ก็เพราะแบบไทยตอนนี้…คนไทยจะจ่ายเงินหนัก ขาดแคลน แล้วจะโวย แล้วจะระเบิด… ผมไปนั่งคุยกับพรรคพวก… ๑ คนในปท.รอบบ้านเราไม่ได้รวยแบบที่มีข่าวในไทยหรอก ค่าแรงคนทั่วๆไปในพม่าก็ราวเดือนละ 6-7ร้อย ค่าแรงขั้นต่ำที่สู้กันเต็มที่ก็ 2,200 ต่อเดือน ที่กัมพูชาสูงกว่านี้นิดนึง เวียดนามราวเดือนละ 3,000 แต่ยังมีคนไม่ได้ทำงานในระบบที่ค่าจ้างระดับนี้เยอะ ตอนนี้คนต่างชาติ มาอยู่ในปท. ไทย ไม่ใช่ 3 ล้าน อาจถึง 6 ล้านแล้ว เขาบอกต้องไปดูที่ด่านที่เข้ามา… ราชการไม่มีตัวเลข - ที่มีก็ผิด มามาก ก็เข้ารพ.มาก ญาติพี่น้องเจ็บป่วยก็พามา ถูกกว่าไปพนมเปญ ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ ซื่งหมอไม่เก่ง ยาไม่มี เครื่องมือไม่มี แพงกว่าเมืองไทยด้วย ๒ ตอนนี้ระบบจัดตั้ง เครือข่ายแน่นหนามาก คนทางโน้นก็รู้ว่ามาเมืองไทยแล้วรวย ผมถามว่าที่สำรวจบอกว่ามาแล้วจะกลับไป…เขาบอกกลับไปที่ไหน…มีแต่กำลังแห่กันมา! มาแล้วมีบริการหางาน หาที่พัก ทำบัตรแรงงาน มีนายจ้าง ทำบัตรสุขภาพ พาไปรพ. หักเงินทีหลังก็ได้ มีนายทุน กองทุนระดับเป็นหมื่นล้าน มีตั้งแต่บริการขนส่ง ต้นทาง ถึงปลายทางแบบโรฮิงยา ได้สัญชาติกันเยอะ ซื้อบัตร เอาลูกมาใส่ชื่อพ่อคนไทย ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาก จะได้มาเรียนฟรีที่เมืองไทย ได้เข้ามหาวิทยาลัย รักษาฟรี อยู่ฟรีกับนายจ้าง อาหารพร้อม ไม่ต้องจ่ายแวต ส่งเงินกลับไปได้เยอะมาก มาคลอดเมืองไทย ค่าคลอด ดูแลทั้งปี 365.-บาทเท่านั้น ถ้าผ่าออกก็แค่นี้ ต้นทุนสองหมื่นกว่านะครับ จะหาที่ขายของ เปิดร้าน ใช้คนไทยเป็นโนมินีก็มี ทำแบบแบ่งเปอร์เซนต์ก็ได้ มามากก็เข้ารพ.มาก ทำบัตรสุขภาพราวปีละ 1,300.- รักษาทุกโรค 55 --------------- ๓ เขาบอกว่าเมืองไทยโฆษณา AEC เกินจริง จนคนและขรก. เข้าใจว่าแรงงานคนต่างชาติเข้าไทยได้ฟรี คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเช่นนั้น ด่านจืงเปิด ยุคนี้ป่วยรุนแรง เหมารถจากพนมเปญมาเลย นอนรพ.3เดือน ให้ออกซิเจนตลอด จ่าย2หมื่น ต้นทุนจริงๆหลายแสน รวมค่าอุปกรณ์ ผ่าหัวใจฟรี ไปรพ.เอกชนสี่แสน ต้นทุนของรัฐแสนกว่า ไม่เจ๊งไงไหว --------------------- ๔ เดินทางมาไทยง่าย ถูก… เมืองไทยไม่มีระบบตรวจสอบคนที่มาแล้วไม่กลับ เงินซื้อได้ทุกอย่าง ตอนนี้เครือข่ายจัดหาคนเป็นพ่อ ทำงานดี เพราะรายได้มาก กำลังมากันเพียบ พลเมืองไทยจะเยอะมาก เตรียมงบไว้ -------------- ๕ อุตสาหกรรม(พาคนมาไทย) รุ่งเรืองมากในปท.เพื่อนบ้าน กำไรดี ลูกค้าเยอะมาก ช่วงนี้ข่าวไปทั่ว ------------------- ๖ การจะรักษาในไทย ก็แค่หาชื่อนายจ้าง ซื่งจัดไว้แล้ว ไปซื้อบัตรสุขภาพ รบ.ไทยบริการดีมาก… ๗ ที่ผิดกฏหมายทำไง ก็จ่ายเดือนละพันต่อคนเหมือนเดิม 55 ก็ต้องมีรายได้อะไรสักอย่าง ไอ้คนที่ผมคุยด้วย มีหน้าที่แบ่งลูกน้องไปเก็บเงินรายหัวส่งทุกเดือน…วันนี้นั่งคุยละเอียด มึงจ่ายให้ใครกันบ้าง ไอ้นั่นย้ายแล้วเหรอ ตอนนี้ใครคุม… ชีวิตธรรมดาคุยกันยังงี้ครับ -------------- ยังไม่บอกว่าจะแก้อย่างไรนะครับ ต้องเล่าสถานการณ์ก่อน -------------- ผมแนะว่าต่อไป ถ้าป่วยไปรักษาแถวจังหวัดที่ไม่มีต่างด้าว เช่น ชัยภูมิ เลย น่าจะสะดวกกว่านะ ช่วงนี้ก็สตรองหน่อย ถ้าพ่อแม่ไม่ได้รับการรักษาที่ดี ยาลดลง ไม่มีเตียงก็ขอให้ทำใจ ผมจะไปเข้าคิวเป็นเพื่อน ตอนนี้เตรียมแผนจะไปศิริราช ติดต่อไว้แล้ว ต่อไปจะไปราชวิถี รามา วชิระ ไปขอนแก่น อุดร สุราษฏร์ ที่จริง คสช ครม ควรส่งภรรยาไปเข้าคิวบ้างนะ กรรมการสภากาชาดด้วย ไปพรุ่งนี้เลย จะได้รับรู้ความรู้สืกคนไทย ผมเขียนไป ผมเศร้ามาก เงินที่รบ.สัญญาว่าจะดูแลพยาบาลผมตอนแก่ แบ่งไปให้คนไทยอื่นๆ ผมมีความสุขนะ เจ็บ ตายด้วยกัน แต่ตอนนี้ ผมแก่ ผมต้องนั่งรอคิวยาว ตอนใกล้จะถึงคิว มันแทรกเข้ามา เอาลูกค้ามาแซงสิบคนนี่ผมไม่พอใจมาก ถาม ขาใหญ่มันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เอาต่างชาติเข้ามา มันหัวเราะ บอกรายได้ของหลายคนจะดีมากทีเดียว มันถามว่าใครคิดวะ คนไทยได้อะไรบ้าง พวกนี้รักชาตินะครับ ------------------ ต่างชาติบอกผู้นำไทยไม่ติดดิน บ้าลูกยอ บ้า AEC งี่เง่า ชอบเอาหน้า ไม่รู้เรื่อง สบาย หมูที่สุดในปท.ย่านนี้ เพื่อนผมบอก ผมไม่ได้พูดนะ จะแก้ปัญหาต้องพูดกันให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้… วันนี้เขียนไม่เป็นระบบ มึนไวน์มานิดหน่อย ความรู้ที่เพื่อนเพจเล่ามา เป๊ะมาก ผมจึงพอมีภูมิไปคุยกับเขา เห็นอะไรช่วยบอกมานะครับ…ช่วยกัน…
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1349 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/10/67

    วิเคราะห์ภาวะผู้นำไทย นายก I pad บนเวทีโลก

    cr :แนวหน้าออนไลน์ /สีสันการเมือง

    https://youtu.be/OQSnJV5oNug?si=bTHUwX4Me9UYLDoY




    9/10/67 วิเคราะห์ภาวะผู้นำไทย นายก I pad บนเวทีโลก cr :แนวหน้าออนไลน์ /สีสันการเมือง https://youtu.be/OQSnJV5oNug?si=bTHUwX4Me9UYLDoY
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ระบุว่า…

    หากเราดูการพบกันของนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ประธานาธิบดีของอิหร่านที่เกิดขึ้นวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา เราจะพบ “ความประหลาด”

    ตรงที่นายกฯ ไทย พยายามพูดและอ่านข้อความ “ภาษาอังกฤษ” ในแท็บเล็ตตลอดทั้งการพบปะหารือ แต่ประธานาธิบดีอิหร่านกลับ “ไม่พูดภาษาอังกฤษ” แม้แต่คำเดียว

    ทั้งนี้เวลาที่เป็นเวทีสากล มีผู้นำประเทศหลากหลายชาติเข้าร่วม เขามักจะเลือกใช้ภาษากลางๆ เช่น ภาษาอังกฤษเป็นตัวสื่อสาร เพื่อจะไม่ได้ไม่ต้องแปลข้ามกันไปมาหลายชาติ

    แต่เวลาไปเจรจาหรือพบปะ หารือระหว่าง 2 ชาติ/ทวิภาคี (bilateral) การใช้ภาษาของตนและให้มีล่ามแปล เป็นข้อควรปฏิบัติที่ควรยึดถือ

    เช่น เมื่อผู้นำไทยจะคุยกับผู้นำอิหร่าน ก็คือเรื่องของ “ไทย-อิหร่าน” ภาษาที่ใช้คือ ภาษาไทยและภาษาเปอร์เซีย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับที่ผู้นำจีนกับรัสเซียสนทนากัน ก็จะใช้ภาษาของตนและมีล่ามแปลให้

    การทำเช่นนี้คือ การแสดงถึง “ความเคารพ เกียรติ และศักดิ์ศรีของสองชาติ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีภาษาของประเทศที่สาม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเข้ามา (ส่วนในช่วงส่วนตัว/หลังไมค์ เขาจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ว่ากันไป)

    ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ

    – ผู้นำไทย ใช้ภาษาไทย มีล่ามแปลอิหร่าน
    – ผู้นำอิหร่าน ใช้ภาษาอิหร่าน/เปอร์เซีย มีล่ามแปลไทย (ซึ่งฝั่งอิหร่านเขาทำแบบนี้อยู่แล้ว)

    การพยายามคุยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาของชาติ “ศัตรูคู่อาฆาต” ที่รบกับอิหร่านตลอดให้ผู้นำอิหร่านฟัง ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นความประทับใจอะไรให้เขาเลย กลับกันเขาน่าจะมองตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ…

    #Thaitimes
    ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ระบุว่า… หากเราดูการพบกันของนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ประธานาธิบดีของอิหร่านที่เกิดขึ้นวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา เราจะพบ “ความประหลาด” ตรงที่นายกฯ ไทย พยายามพูดและอ่านข้อความ “ภาษาอังกฤษ” ในแท็บเล็ตตลอดทั้งการพบปะหารือ แต่ประธานาธิบดีอิหร่านกลับ “ไม่พูดภาษาอังกฤษ” แม้แต่คำเดียว ทั้งนี้เวลาที่เป็นเวทีสากล มีผู้นำประเทศหลากหลายชาติเข้าร่วม เขามักจะเลือกใช้ภาษากลางๆ เช่น ภาษาอังกฤษเป็นตัวสื่อสาร เพื่อจะไม่ได้ไม่ต้องแปลข้ามกันไปมาหลายชาติ แต่เวลาไปเจรจาหรือพบปะ หารือระหว่าง 2 ชาติ/ทวิภาคี (bilateral) การใช้ภาษาของตนและให้มีล่ามแปล เป็นข้อควรปฏิบัติที่ควรยึดถือ เช่น เมื่อผู้นำไทยจะคุยกับผู้นำอิหร่าน ก็คือเรื่องของ “ไทย-อิหร่าน” ภาษาที่ใช้คือ ภาษาไทยและภาษาเปอร์เซีย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับที่ผู้นำจีนกับรัสเซียสนทนากัน ก็จะใช้ภาษาของตนและมีล่ามแปลให้ การทำเช่นนี้คือ การแสดงถึง “ความเคารพ เกียรติ และศักดิ์ศรีของสองชาติ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีภาษาของประเทศที่สาม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเข้ามา (ส่วนในช่วงส่วนตัว/หลังไมค์ เขาจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ว่ากันไป) ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ – ผู้นำไทย ใช้ภาษาไทย มีล่ามแปลอิหร่าน – ผู้นำอิหร่าน ใช้ภาษาอิหร่าน/เปอร์เซีย มีล่ามแปลไทย (ซึ่งฝั่งอิหร่านเขาทำแบบนี้อยู่แล้ว) การพยายามคุยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาของชาติ “ศัตรูคู่อาฆาต” ที่รบกับอิหร่านตลอดให้ผู้นำอิหร่านฟัง ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นความประทับใจอะไรให้เขาเลย กลับกันเขาน่าจะมองตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ… #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 783 มุมมอง 0 รีวิว