• 86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย

    📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา

    🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย

    ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท

    ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย

    👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้

    เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา

    📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย"

    🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น

    ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
    ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ
    ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน

    ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า

    ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ?
    การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล

    ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า

    ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ
    ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่
    ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ
    ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง

    📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ

    ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา
    1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
    ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์
    ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่
    ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม

    📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก

    - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง
    - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ
    - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ

    ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา

    🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
    แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย

    “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง

    หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน

    🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง

    ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป

    ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา
    ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น
    ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568

    🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา 🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย 👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้ เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา 📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย" 🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ? การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่ ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง 📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา 1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์ ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่ ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม 📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา 🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน 🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568 🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 384 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าชายสิทธัตถะ หรือที่รู้จักในนาม **พระโคตมพุทธเจ้า** เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์และศาสนาพุทธ พระองค์ประสูติเมื่อประมาณ 563 ปีก่อนคริสตกาล (หรือตามบางแหล่งข้อมูลคือ 480 ปีก่อนคริสตกาล) ที่ลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล

    ### ชีวิตในวัยเยาว์
    เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งแคว้นสักกะ และพระนางสิริมหามายา พระองค์ทรงเติบโตในพระราชวังที่เต็มไปด้วยความสุขสบายและความหรูหรา ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีและมีชีวิตที่สุขสบาย

    ### การออกบวช
    เมื่อพระองค์ทรงพบกับความทุกข์ในชีวิต เช่น การเจ็บป่วย ความแก่ และความตาย พระองค์ตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อค้นหาความจริงของชีวิตและหนทางในการหลุดพ้นจากความทุกข์ พระองค์ทรงออกจากพระราชวังเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา และทรงเริ่มการแสวงหาความรู้และความจริง

    ### การตรัสรู้
    หลังจากแสวงหาความรู้และปฏิบัติธรรมอย่างหนัก พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใต้ต้นโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา พระองค์ทรงค้นพบ **อริยสัจ 4** (ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ) และ **มรรคมีองค์ 8** (หนทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์)

    ### การเผยแผ่ธรรมะ
    หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลากว่า 45 ปี ในการเผยแผ่ธรรมะและสอนผู้คนให้เข้าใจถึงความจริงของชีวิตและหนทางสู่การหลุดพ้น พระองค์ทรงมีสาวกจำนวนมาก ทั้งพระภิกษุและฆราวาส

    ### การปรินิพพาน
    พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ที่เมืองกุสินารา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย การปรินิพพานของพระองค์ถือเป็นการสิ้นสุดของวัฏสงสารและการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

    ### มรดกทางจิตวิญญาณ
    พระพุทธเจ้าทรงทิ้งมรดกทางจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ไว้ให้แก่มนุษยชาติ หลักธรรมคำสอนของพระองค์ยังคงมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมและการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา

    หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หรือหลักธรรมคำสอนของพระองค์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ!
    เจ้าชายสิทธัตถะ หรือที่รู้จักในนาม **พระโคตมพุทธเจ้า** เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์และศาสนาพุทธ พระองค์ประสูติเมื่อประมาณ 563 ปีก่อนคริสตกาล (หรือตามบางแหล่งข้อมูลคือ 480 ปีก่อนคริสตกาล) ที่ลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ### ชีวิตในวัยเยาว์ เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งแคว้นสักกะ และพระนางสิริมหามายา พระองค์ทรงเติบโตในพระราชวังที่เต็มไปด้วยความสุขสบายและความหรูหรา ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีและมีชีวิตที่สุขสบาย ### การออกบวช เมื่อพระองค์ทรงพบกับความทุกข์ในชีวิต เช่น การเจ็บป่วย ความแก่ และความตาย พระองค์ตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อค้นหาความจริงของชีวิตและหนทางในการหลุดพ้นจากความทุกข์ พระองค์ทรงออกจากพระราชวังเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา และทรงเริ่มการแสวงหาความรู้และความจริง ### การตรัสรู้ หลังจากแสวงหาความรู้และปฏิบัติธรรมอย่างหนัก พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใต้ต้นโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา พระองค์ทรงค้นพบ **อริยสัจ 4** (ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ) และ **มรรคมีองค์ 8** (หนทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์) ### การเผยแผ่ธรรมะ หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลากว่า 45 ปี ในการเผยแผ่ธรรมะและสอนผู้คนให้เข้าใจถึงความจริงของชีวิตและหนทางสู่การหลุดพ้น พระองค์ทรงมีสาวกจำนวนมาก ทั้งพระภิกษุและฆราวาส ### การปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ที่เมืองกุสินารา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย การปรินิพพานของพระองค์ถือเป็นการสิ้นสุดของวัฏสงสารและการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ### มรดกทางจิตวิญญาณ พระพุทธเจ้าทรงทิ้งมรดกทางจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ไว้ให้แก่มนุษยชาติ หลักธรรมคำสอนของพระองค์ยังคงมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมและการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หรือหลักธรรมคำสอนของพระองค์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 181 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทคโนโลยีกับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและน่าสนใจ ทั้งในด้านการเสริมสร้างการปฏิบัติธรรมและการท้าทายต่อหลักคำสอนพื้นฐาน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดหลักที่เชื่อมโยงทั้งสองประเด็น:

    ### 1. **เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติธรรม**
    - **แอปพลิเคชันสมาธิและธรรมะ**: แอปเช่น *Insight Timer* หรือ *Headspace* ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการนั่งสมาธิแบบมีคำแนะนำ บทสวดมนต์ และคำสอนทางพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น
    - **การเรียนรู้ทางไกล**: พุทธศาสนิกชนสามารถฟังธรรมจากพระอาจารย์ทั่วโลกผ่าน YouTube, Podcasts หรือเว็บไซต์ เช่น [DharmaSeed](https://www.dharmaseed.org)
    - **วัดเสมือนจริง**: ในยุคโควิด-19 หลายวัดจัดกิจกรรมทางศาสนาออนไลน์ เช่น การถ่ายทอดสดการบวชพระ หรือการปฏิบัติธรรมร่วมกันผ่าน Zoom

    ### 2. **การเผยแผ่ธรรมะในยุคดิจิทัล**
    - **โซเชียลมีเดีย**: พระสงฆ์หลายรูปใช้ Facebook หรือ TikTok แบ่งปันคำสอนสั้นๆ ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่
    - **ปัญญาประดิษฐ์ (AI)**: มีการพัฒนา AI ที่สามารถตอบคำถามธรรมะเบื้องต้น หรือแปลพระสูตรโบราณได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ

    ### 3. **ความท้าทายต่อหลักพุทธธรรม**
    - **การเสพติดเทคโนโลยี**: การใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปขัดกับหลัก "สติ" และ "ความพอดี" ในทางพุทธ
    - **โลกเสมือนกับความจริง**: การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอาจทำให้หลงลืมการอยู่กับปัจจุบัน (หลักอริยสัจ 4)
    - **จริยธรรมทางเทคโนโลยี**: การพัฒนา AI หรือชีวเทคโนโลยีตั้งคำถามเชิงพุทธเกี่ยวกับ "กรรม" และ "เจตนา"

    ### 4. **พุทธธรรมกับการออกแบบเทคโนโลยี**
    - **เทคโนโลยีเชิงเมตตา**: หลัก "กรุณา" และ "มุทิตา" อาจ inspire การออกแบบเทคโนโลยีที่ลดการแบ่งแยกหรือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
    - **Digital Detox**: แนวคิด "ความไม่ยึดมั่น" ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ ไม่ตกเป็นทาสของอุปกรณ์

    ### 5. **กรณีศึกษา**
    - **หุ่นยนต์สอนธรรมะ**: ในญี่ปุ่น มีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Pepper อ่านพระสูตร แต่หลายคนเห็นว่าขาด "จิตวิญญาณแห่งการสั่งสอน"
    - **Blockchain กับวัด**: บางวัดใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อความโปร่งใสในการบริจาค

    ### 6. **ทางสายกลางในยุคดิจิทัล**
    พระพุทธศาสนาเน้น "มัชฌิมาปฏิปทา" การใช้เทคโนโลยีจึงควรอยู่บนพื้นฐาน:
    - **สติ**: รู้ตัวว่ากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร
    - **วัตถุประสงค์เชิงกุศล**: นำไปสู่การลดทุกข์ ไม่ใช่เพิ่มตัณหา
    - **ความสัมพันธ์มนุษย์**: ไม่ให้เทคโนโลยีทำลายการสื่อสารแบบเห็นหน้า

    ### สรุป
    เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่จุดหมายสุดท้าย การใช้อย่างชาญฉลาดภายใต้กรอบศีลธรรมทางพุทธศาสนาจะช่วยให้มนุษย์พัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ โดยไม่หลงลืมแก่นแท้แห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ☸️💻
    เทคโนโลยีกับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและน่าสนใจ ทั้งในด้านการเสริมสร้างการปฏิบัติธรรมและการท้าทายต่อหลักคำสอนพื้นฐาน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดหลักที่เชื่อมโยงทั้งสองประเด็น: ### 1. **เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติธรรม** - **แอปพลิเคชันสมาธิและธรรมะ**: แอปเช่น *Insight Timer* หรือ *Headspace* ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการนั่งสมาธิแบบมีคำแนะนำ บทสวดมนต์ และคำสอนทางพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น - **การเรียนรู้ทางไกล**: พุทธศาสนิกชนสามารถฟังธรรมจากพระอาจารย์ทั่วโลกผ่าน YouTube, Podcasts หรือเว็บไซต์ เช่น [DharmaSeed](https://www.dharmaseed.org) - **วัดเสมือนจริง**: ในยุคโควิด-19 หลายวัดจัดกิจกรรมทางศาสนาออนไลน์ เช่น การถ่ายทอดสดการบวชพระ หรือการปฏิบัติธรรมร่วมกันผ่าน Zoom ### 2. **การเผยแผ่ธรรมะในยุคดิจิทัล** - **โซเชียลมีเดีย**: พระสงฆ์หลายรูปใช้ Facebook หรือ TikTok แบ่งปันคำสอนสั้นๆ ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ - **ปัญญาประดิษฐ์ (AI)**: มีการพัฒนา AI ที่สามารถตอบคำถามธรรมะเบื้องต้น หรือแปลพระสูตรโบราณได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ ### 3. **ความท้าทายต่อหลักพุทธธรรม** - **การเสพติดเทคโนโลยี**: การใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปขัดกับหลัก "สติ" และ "ความพอดี" ในทางพุทธ - **โลกเสมือนกับความจริง**: การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอาจทำให้หลงลืมการอยู่กับปัจจุบัน (หลักอริยสัจ 4) - **จริยธรรมทางเทคโนโลยี**: การพัฒนา AI หรือชีวเทคโนโลยีตั้งคำถามเชิงพุทธเกี่ยวกับ "กรรม" และ "เจตนา" ### 4. **พุทธธรรมกับการออกแบบเทคโนโลยี** - **เทคโนโลยีเชิงเมตตา**: หลัก "กรุณา" และ "มุทิตา" อาจ inspire การออกแบบเทคโนโลยีที่ลดการแบ่งแยกหรือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส - **Digital Detox**: แนวคิด "ความไม่ยึดมั่น" ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ ไม่ตกเป็นทาสของอุปกรณ์ ### 5. **กรณีศึกษา** - **หุ่นยนต์สอนธรรมะ**: ในญี่ปุ่น มีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Pepper อ่านพระสูตร แต่หลายคนเห็นว่าขาด "จิตวิญญาณแห่งการสั่งสอน" - **Blockchain กับวัด**: บางวัดใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อความโปร่งใสในการบริจาค ### 6. **ทางสายกลางในยุคดิจิทัล** พระพุทธศาสนาเน้น "มัชฌิมาปฏิปทา" การใช้เทคโนโลยีจึงควรอยู่บนพื้นฐาน: - **สติ**: รู้ตัวว่ากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร - **วัตถุประสงค์เชิงกุศล**: นำไปสู่การลดทุกข์ ไม่ใช่เพิ่มตัณหา - **ความสัมพันธ์มนุษย์**: ไม่ให้เทคโนโลยีทำลายการสื่อสารแบบเห็นหน้า ### สรุป เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่จุดหมายสุดท้าย การใช้อย่างชาญฉลาดภายใต้กรอบศีลธรรมทางพุทธศาสนาจะช่วยให้มนุษย์พัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ โดยไม่หลงลืมแก่นแท้แห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ☸️💻
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 287 มุมมอง 0 รีวิว
  • มหกรรมจราจรหนาแน่นติดขัด300 กิโลเมตรที่อินเดีย เนื่องจากเทศกาลแสวงบุญ "กุมภเมลา" (Kumbh Mela) ของชาวฮินดู เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการในปีนี้ ที่อำเภอประยาคราช (Prayagraj) ในเมืองอัลลาฮาบัด (Allahabad) ของรัฐอุตตรประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งเทศกาลนี้มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกว่าเป็นงานชุมนุมขนาดใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติเทศกาลแสวงบุญซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลาทั้งหมด 45 วัน เริ่มต้นวันแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเปิดให้ทำพิธีใหญ่เพื่ออาบน้ำชำระล้างบาปในแม่น้ำคงคาได้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 14 ม.ค. เป็นต้นไป ซึ่งในพิธีดังกล่าวเหล่า "นาคสาธุ" (Naga Sadhu) นักบวชฮินดูที่เปลือยกายและทาตัวด้วยเถ้าถ่าน ทั้งยังไว้ผมยาวที่พันกันยุ่งเหยิงจนจับตัวเป็นก้อนเหมือนเส้นเชือก จะมาลงอาบน้ำชำระกายซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากตลอดระยะเวลา 6 สัปดาห์ของเทศกาลกุมภเมลา ผู้ที่นับถือศรัทธาในศาสนาฮินดูจะพากันมาลงอาบในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ตรงบริเวณที่เรียกว่า "สังฆัม" (Sangham) ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สามสายหรือจุฬาตรีคูณ ได้แก่แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา, และแม่น้ำสรัสวตี ซึ่งแม่น้ำสายที่สามนี้เป็นสายธารในตำนานปรัมปราที่มนุษย์ไม่อาจมองเห็นได้ชาวฮินดูเชื่อว่าการทำพิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเทศกาลนี้ จะช่วยล้างบาปมลทินและชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ปลดปล่อยพวกเขาให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารหรือวงจรการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของของศาสนาฮินดูหรือโมกษะวิเวก จตุรเวที เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองบอกกับบีบีซีว่า ก่อนจะถึงวันสุดท้ายของการแสวงบุญในวันที่ 26 ก.พ. คาดว่าจะมีผู้คนมาเข้าร่วมเทศกาลกุมภเมลากันอย่างล้นหลามราว 400 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขสถิติที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึงขนาดนี้ ทำให้เทศกาลดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Intangible Heritage of Humanity) โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ส่วนกลุ่มก้อนของประชากรมนุษย์จำนวนมหาศาล ก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้จากห้วงอวกาศอีกด้วยที่มา https://www.firstpost.com/explainers/maha-kumbh-2025-traffic-jams-prayagraj-uttar-pradesh-13861659.html
    มหกรรมจราจรหนาแน่นติดขัด300 กิโลเมตรที่อินเดีย เนื่องจากเทศกาลแสวงบุญ "กุมภเมลา" (Kumbh Mela) ของชาวฮินดู เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการในปีนี้ ที่อำเภอประยาคราช (Prayagraj) ในเมืองอัลลาฮาบัด (Allahabad) ของรัฐอุตตรประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งเทศกาลนี้มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกว่าเป็นงานชุมนุมขนาดใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติเทศกาลแสวงบุญซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลาทั้งหมด 45 วัน เริ่มต้นวันแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเปิดให้ทำพิธีใหญ่เพื่ออาบน้ำชำระล้างบาปในแม่น้ำคงคาได้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 14 ม.ค. เป็นต้นไป ซึ่งในพิธีดังกล่าวเหล่า "นาคสาธุ" (Naga Sadhu) นักบวชฮินดูที่เปลือยกายและทาตัวด้วยเถ้าถ่าน ทั้งยังไว้ผมยาวที่พันกันยุ่งเหยิงจนจับตัวเป็นก้อนเหมือนเส้นเชือก จะมาลงอาบน้ำชำระกายซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากตลอดระยะเวลา 6 สัปดาห์ของเทศกาลกุมภเมลา ผู้ที่นับถือศรัทธาในศาสนาฮินดูจะพากันมาลงอาบในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ตรงบริเวณที่เรียกว่า "สังฆัม" (Sangham) ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สามสายหรือจุฬาตรีคูณ ได้แก่แม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมุนา, และแม่น้ำสรัสวตี ซึ่งแม่น้ำสายที่สามนี้เป็นสายธารในตำนานปรัมปราที่มนุษย์ไม่อาจมองเห็นได้ชาวฮินดูเชื่อว่าการทำพิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเทศกาลนี้ จะช่วยล้างบาปมลทินและชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ปลดปล่อยพวกเขาให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารหรือวงจรการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของของศาสนาฮินดูหรือโมกษะวิเวก จตุรเวที เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองบอกกับบีบีซีว่า ก่อนจะถึงวันสุดท้ายของการแสวงบุญในวันที่ 26 ก.พ. คาดว่าจะมีผู้คนมาเข้าร่วมเทศกาลกุมภเมลากันอย่างล้นหลามราว 400 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขสถิติที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึงขนาดนี้ ทำให้เทศกาลดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Intangible Heritage of Humanity) โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ส่วนกลุ่มก้อนของประชากรมนุษย์จำนวนมหาศาล ก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้จากห้วงอวกาศอีกด้วยที่มา https://www.firstpost.com/explainers/maha-kumbh-2025-traffic-jams-prayagraj-uttar-pradesh-13861659.html
    WWW.FIRSTPOST.COM
    ‘Stuck for 48 hours’: Inside the 300-km traffic jams to Maha Kumbh, the ‘world’s biggest’
    Thousands of devotees planning to visit Maha Kumbh Mela in Uttar Pradesh in cars were stranded for 48 hours in 300-kilometre traffic jams leading up to Prayagraj. Some say it took 10-12 hours to cover just 50 kilometres on Sunday. Overcrowding during the weekends is one of the major reasons behind the snarls
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 172 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://www.youtube.com/watch?v=nwUR7aWqhyU
    แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์
    (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้)
    แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์
    มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ

    #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #วาเลนไทน์

    The conversations from the clip :

    James: Hey, Sophia! Valentine’s Day is coming soon. Do you know the history behind it?
    Sophia: Of course! It started with Saint Valentine, a priest in ancient Rome.
    James: Oh yeah, he secretly performed weddings for soldiers, right?
    Sophia: Exactly! Emperor Claudius II banned soldiers from getting married, but Saint Valentine helped them in secret.
    James: That’s so romantic! But sadly, he was caught and executed on February 14th.
    Sophia: Yes, and that’s why we celebrate Valentine’s Day on that date. Over time, it became a day for love and romance.
    James: Speaking of romance, how about we go on a special date this year?
    Sophia: I’d love that! Do you have any plans in mind?
    James: How about a fancy dinner at a rooftop restaurant, and then we take a walk in the park?
    Sophia: That sounds amazing! A romantic evening with a beautiful view.
    James: And I have a special gift for you!
    Sophia: Aww, really? What is it? Give me a hint!
    James: Hmm… It’s something shiny that you can wear every day.
    Sophia: Oh my gosh! Is it a necklace?
    James: Yes! I picked a beautiful necklace that reminds me of you.
    Sophia: That’s so sweet! I love it already. This is going to be the best Valentine’s Day ever!

    James: เฮ้, โซเฟีย! วันวาเลนไทน์ใกล้จะมาถึงแล้วนะ เธอรู้ประวัติของวันนี้ไหม?
    Sophia: รู้สิ! มันเริ่มต้นจาก นักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นนักบวชในกรุงโรมสมัยโบราณ
    James: ใช่เลย! เขาแอบจัดพิธีแต่งงานให้กับทหารใช่ไหม?
    Sophia: ใช่แล้ว! จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ห้ามทหารแต่งงาน แต่นักบุญวาเลนไทน์ช่วยพวกเขาอย่างลับ ๆ
    James: โรแมนติกมาก! แต่สุดท้ายเขาถูกจับและถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์
    Sophia: ใช่ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราฉลองวันวาเลนไทน์ในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไป วันนี้ก็กลายเป็นวันแห่งความรักและความโรแมนติก
    James: พูดถึงความโรแมนติกแล้ว ปีนี้เราไปเดทพิเศษกันดีไหม?
    Sophia: ฉันชอบไอเดียนั้นเลย! เธอมีแผนอะไรหรือเปล่า?
    James: ไปดินเนอร์ที่ร้านอาหารบนดาดฟ้าดีไหม แล้วจากนั้นก็เดินเล่นในสวนสาธารณะ
    Sophia: ฟังดูดีมาก! ค่ำคืนสุดโรแมนติกกับวิวสวย ๆ
    James: และฉันมีของขวัญพิเศษให้เธอด้วยนะ!
    Sophia: ว้าว จริงเหรอ? อะไรเหรอ? บอกใบ้หน่อย!
    James: อืม… มันเป็นของที่เป็นประกายและเธอสามารถใส่ได้ทุกวัน
    Sophia: โอ้! หรือว่าสร้อยคอ?
    James: ใช่เลย! ฉันเลือกสร้อยคอที่สวยที่สุด เพราะมันทำให้ฉันนึกถึงเธอ
    Sophia: น่ารักมากเลย! ฉันชอบมันแน่นอน นี่ต้องเป็นวันวาเลนไทน์ที่ดีที่สุดแน่ ๆ!

    Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้)

    Valentine (แวล-นไทน์) n. แปลว่า วันวาเลนไทน์
    History (ฮิส-ทอรี) n. แปลว่า ประวัติศาสตร์
    Priest (พรีสท์) n. แปลว่า นักบวช
    Emperor (เอ็ม-พี-เร่อ) n. แปลว่า จักรพรรดิ
    Rome (โรม) n. แปลว่า กรุงโรม
    Soldier (โซล-เจอ) n. แปลว่า ทหาร
    Marriage (แมร์-ริจ) n. แปลว่า การแต่งงาน
    Banned (แบน) adj. แปลว่า ถูกห้าม
    Executed (เอ็ก-ซี-คิว-ทิด) v. แปลว่า ถูกประหารชีวิต
    Celebrate (เซล-เล-เบรท) v. แปลว่า เฉลิมฉลอง
    Romantic (โร-แมน-ทิค) adj. แปลว่า โรแมนติก
    Dinner (ดิน-เนอร์) n. แปลว่า อาหารค่ำ
    Necklace (เนค-คเลิส) n. แปลว่า สร้อยคอ
    Hint (ฮินท์) n. แปลว่า คำใบ้
    Special (สเปช-ชัล) adj. แปลว่า พิเศษ
    https://www.youtube.com/watch?v=nwUR7aWqhyU แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์ (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้) แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์ มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #วาเลนไทน์ The conversations from the clip : James: Hey, Sophia! Valentine’s Day is coming soon. Do you know the history behind it? Sophia: Of course! It started with Saint Valentine, a priest in ancient Rome. James: Oh yeah, he secretly performed weddings for soldiers, right? Sophia: Exactly! Emperor Claudius II banned soldiers from getting married, but Saint Valentine helped them in secret. James: That’s so romantic! But sadly, he was caught and executed on February 14th. Sophia: Yes, and that’s why we celebrate Valentine’s Day on that date. Over time, it became a day for love and romance. James: Speaking of romance, how about we go on a special date this year? Sophia: I’d love that! Do you have any plans in mind? James: How about a fancy dinner at a rooftop restaurant, and then we take a walk in the park? Sophia: That sounds amazing! A romantic evening with a beautiful view. James: And I have a special gift for you! Sophia: Aww, really? What is it? Give me a hint! James: Hmm… It’s something shiny that you can wear every day. Sophia: Oh my gosh! Is it a necklace? James: Yes! I picked a beautiful necklace that reminds me of you. Sophia: That’s so sweet! I love it already. This is going to be the best Valentine’s Day ever! James: เฮ้, โซเฟีย! วันวาเลนไทน์ใกล้จะมาถึงแล้วนะ เธอรู้ประวัติของวันนี้ไหม? Sophia: รู้สิ! มันเริ่มต้นจาก นักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นนักบวชในกรุงโรมสมัยโบราณ James: ใช่เลย! เขาแอบจัดพิธีแต่งงานให้กับทหารใช่ไหม? Sophia: ใช่แล้ว! จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ห้ามทหารแต่งงาน แต่นักบุญวาเลนไทน์ช่วยพวกเขาอย่างลับ ๆ James: โรแมนติกมาก! แต่สุดท้ายเขาถูกจับและถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ Sophia: ใช่ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราฉลองวันวาเลนไทน์ในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไป วันนี้ก็กลายเป็นวันแห่งความรักและความโรแมนติก James: พูดถึงความโรแมนติกแล้ว ปีนี้เราไปเดทพิเศษกันดีไหม? Sophia: ฉันชอบไอเดียนั้นเลย! เธอมีแผนอะไรหรือเปล่า? James: ไปดินเนอร์ที่ร้านอาหารบนดาดฟ้าดีไหม แล้วจากนั้นก็เดินเล่นในสวนสาธารณะ Sophia: ฟังดูดีมาก! ค่ำคืนสุดโรแมนติกกับวิวสวย ๆ James: และฉันมีของขวัญพิเศษให้เธอด้วยนะ! Sophia: ว้าว จริงเหรอ? อะไรเหรอ? บอกใบ้หน่อย! James: อืม… มันเป็นของที่เป็นประกายและเธอสามารถใส่ได้ทุกวัน Sophia: โอ้! หรือว่าสร้อยคอ? James: ใช่เลย! ฉันเลือกสร้อยคอที่สวยที่สุด เพราะมันทำให้ฉันนึกถึงเธอ Sophia: น่ารักมากเลย! ฉันชอบมันแน่นอน นี่ต้องเป็นวันวาเลนไทน์ที่ดีที่สุดแน่ ๆ! Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้) Valentine (แวล-นไทน์) n. แปลว่า วันวาเลนไทน์ History (ฮิส-ทอรี) n. แปลว่า ประวัติศาสตร์ Priest (พรีสท์) n. แปลว่า นักบวช Emperor (เอ็ม-พี-เร่อ) n. แปลว่า จักรพรรดิ Rome (โรม) n. แปลว่า กรุงโรม Soldier (โซล-เจอ) n. แปลว่า ทหาร Marriage (แมร์-ริจ) n. แปลว่า การแต่งงาน Banned (แบน) adj. แปลว่า ถูกห้าม Executed (เอ็ก-ซี-คิว-ทิด) v. แปลว่า ถูกประหารชีวิต Celebrate (เซล-เล-เบรท) v. แปลว่า เฉลิมฉลอง Romantic (โร-แมน-ทิค) adj. แปลว่า โรแมนติก Dinner (ดิน-เนอร์) n. แปลว่า อาหารค่ำ Necklace (เนค-คเลิส) n. แปลว่า สร้อยคอ Hint (ฮินท์) n. แปลว่า คำใบ้ Special (สเปช-ชัล) adj. แปลว่า พิเศษ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 336 มุมมอง 0 รีวิว
  • Credit : ชนะศึก จุลกะ

    ... 12 กุมภาพันธ์ 2568 ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันนี้เป็น
    #วันมาฆบูชา
    เป็นวันที่ พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
    พระสงฆ์ 1250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
    พระสงฆ์ที่มาประชุมกันเป็นพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น
    พระอรหันต์ทั้งหมดนั้น เป็นเอหิภิกขุ คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมด
    ในวันนี้ พระพุทธองค์ ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ มี 3 ประการ คือ
    ทำความดีในที่ทั้งปวง
    ละเว้นความชั่วในที่ทั้งปวง
    ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมลทินเครื่องเศร้าหมอง
    เราทั้งหลายได้อยู่มาถึงกาลสมัย มาฆปุรณมี พึงสร้างบุญกุศล ด้วย ทาน ศีล ภาวนา สร้างสมบุญบารมีให้เกิดขึ้นมีขึ้นแก่ตัว จะได้มีความสุขทั้งในภพนี้ และ ในภพเบื้องหน้าต่อไป
    เวลา 20.54 น. ปุรณมี จันทร์เพ็ญเต็มที่ ในราศีกรกฏ

    ขอบพระคุณเจ้าของภาพ : คุณ โอ๋ ชัยวุฒิ
    ขอบพระคุณเจ้าของบทความ : ชนะศึก จุลกะ
    Credit : ชนะศึก จุลกะ ... 12 กุมภาพันธ์ 2568 ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันนี้เป็น #วันมาฆบูชา เป็นวันที่ พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ พระสงฆ์ 1250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์ที่มาประชุมกันเป็นพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น พระอรหันต์ทั้งหมดนั้น เป็นเอหิภิกขุ คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมด ในวันนี้ พระพุทธองค์ ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ มี 3 ประการ คือ ทำความดีในที่ทั้งปวง ละเว้นความชั่วในที่ทั้งปวง ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมลทินเครื่องเศร้าหมอง เราทั้งหลายได้อยู่มาถึงกาลสมัย มาฆปุรณมี พึงสร้างบุญกุศล ด้วย ทาน ศีล ภาวนา สร้างสมบุญบารมีให้เกิดขึ้นมีขึ้นแก่ตัว จะได้มีความสุขทั้งในภพนี้ และ ในภพเบื้องหน้าต่อไป เวลา 20.54 น. ปุรณมี จันทร์เพ็ญเต็มที่ ในราศีกรกฏ ขอบพระคุณเจ้าของภาพ : คุณ โอ๋ ชัยวุฒิ ขอบพระคุณเจ้าของบทความ : ชนะศึก จุลกะ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว
  • Credit : ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ

    ศาสนาพุทธมีรากฐานมาจากพราหมณ์ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายล้วนมาจากพราหมณ์ อย่าทำตัวเป็นวัวลืมตีน

    ด้อมทุยทั้งหลาย อย่าคลั่งศาสนาให้มากจนเป็นวัวลืมตีน เข้ามาดิ้นเหมือนไส้เดือนโดนขี้เถ้าเลยนะในคลิปบวชหน้าไฟ น่าสมเพชเวทนา ไปเรียนพระพุทธศาสนาในระบบซะเถอะนะ ขอแนะนำ

    ขอบพระคุณ Dungtrin เจ้าของภาพค่ะ
    Credit : ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ ศาสนาพุทธมีรากฐานมาจากพราหมณ์ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายล้วนมาจากพราหมณ์ อย่าทำตัวเป็นวัวลืมตีน ด้อมทุยทั้งหลาย อย่าคลั่งศาสนาให้มากจนเป็นวัวลืมตีน เข้ามาดิ้นเหมือนไส้เดือนโดนขี้เถ้าเลยนะในคลิปบวชหน้าไฟ น่าสมเพชเวทนา ไปเรียนพระพุทธศาสนาในระบบซะเถอะนะ ขอแนะนำ ขอบพระคุณ Dungtrin เจ้าของภาพค่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 140 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงปู่แหวนหลัง ภปร.ใหญ่ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี2521
    เหรียญหลวงปู่แหวนหลัง ภปร.ใหญ่ เนื้อกะไหล่ทอง วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี2521 //เนื้อกะไหล่ทองนานๆจะเจอ หายากมาก สร้างน้อย // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเป็นเลิศในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง โภคทรัพย์ จะเจริญรุ่งเรือง ไม่ฝืดเคืองขัดสน ค้าขาย ร่ำรวย โชคลาภ เรียกทรัพย์หนุนดวง อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาดการเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย ปราศจากภยันตรายต่างๆ >>

    ** หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ในช่วงก่อนปี 2520 เมื่อครั้งยังเป็นสามเณรอาจารย์อ้วนซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้นำหลวงปู่แหวนไปฝากกับ พระอาจารย์สิงห์ ขนตฺยาคโร ศิษย์เอกสำคัญสูงสุดองค์หนึ่งของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เอกทางวิปัสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมากที่วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี ขณะที่ท่านเดินฝ่าเปลวแดดมาหาพระอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์ได้เห็นนิมิตรปรากฏที่สามเณรแหวน เป็นแสงโอภาสออกจากร่างเยี่ยงผู้มีบุญญาธิการ อาจารย์สิงห์ล่วงรู้ด้วยอำนาจญาณโดยทันทีว่า สามเณรน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด จึงได้ถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น ถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโณรูปหนึ่ง ที่มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส จนกระทั่งถึงปี 2528 อันเป็นปีที่ท่านมรณภาพท่าน มีอายุยืนยาวถึง 98 ปี เมื่อมรณภาพแล้วกระดูกของท่านกลายเป็นพระธาตุ บางเม็ดขาวใสคล้ายแก้วเลยครับ หลวงปู่แหวน ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งเป็นพระไม่เคยสึกเลย >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131

    เหรียญหลวงปู่แหวนหลัง ภปร.ใหญ่ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี2521 เหรียญหลวงปู่แหวนหลัง ภปร.ใหญ่ เนื้อกะไหล่ทอง วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี2521 //เนื้อกะไหล่ทองนานๆจะเจอ หายากมาก สร้างน้อย // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเป็นเลิศในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง โภคทรัพย์ จะเจริญรุ่งเรือง ไม่ฝืดเคืองขัดสน ค้าขาย ร่ำรวย โชคลาภ เรียกทรัพย์หนุนดวง อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาดการเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย ปราศจากภยันตรายต่างๆ >> ** หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ในช่วงก่อนปี 2520 เมื่อครั้งยังเป็นสามเณรอาจารย์อ้วนซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้นำหลวงปู่แหวนไปฝากกับ พระอาจารย์สิงห์ ขนตฺยาคโร ศิษย์เอกสำคัญสูงสุดองค์หนึ่งของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เอกทางวิปัสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมากที่วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี ขณะที่ท่านเดินฝ่าเปลวแดดมาหาพระอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์ได้เห็นนิมิตรปรากฏที่สามเณรแหวน เป็นแสงโอภาสออกจากร่างเยี่ยงผู้มีบุญญาธิการ อาจารย์สิงห์ล่วงรู้ด้วยอำนาจญาณโดยทันทีว่า สามเณรน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด จึงได้ถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น ถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโณรูปหนึ่ง ที่มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส จนกระทั่งถึงปี 2528 อันเป็นปีที่ท่านมรณภาพท่าน มีอายุยืนยาวถึง 98 ปี เมื่อมรณภาพแล้วกระดูกของท่านกลายเป็นพระธาตุ บางเม็ดขาวใสคล้ายแก้วเลยครับ หลวงปู่แหวน ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งเป็นพระไม่เคยสึกเลย >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • บวชชีพราหมณ์ปีนี้แทบป่วย..อากาศเปลี่ยนไปมาเร็วมาก หนาวเข้าเนื้อเลย แต่เราต้องสู้เพื่อเอาบารมีบุญอีกวัด 10 กุมภาพันธ์ นี้ ตายเป็นตาย
    บวชชีพราหมณ์ปีนี้แทบป่วย..อากาศเปลี่ยนไปมาเร็วมาก หนาวเข้าเนื้อเลย แต่เราต้องสู้เพื่อเอาบารมีบุญอีกวัด 10 กุมภาพันธ์ นี้ ตายเป็นตาย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 106 มุมมอง 0 รีวิว

  • เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ
    ....
    ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ
    .
    อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้
    .
    น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น
    .
    พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก
    .
    ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ
    .
    บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
    .
    พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ
    .
    แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่....
    .
    ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา
    .
    พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน
    .
    ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน
    .
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า
    .
    ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น
    .
    เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น...
    .
    ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน
    .
    และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์
    ...
    ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ .... ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ . อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้ . น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น . พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก . ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ . บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา . พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ . แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่.... . ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา . พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน . ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน . เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า . ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น . เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น... . ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน . และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์ ... ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 429 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เปิดปมอาการวิปลาสเมื่อคืนพ่นกราดเคพาหุ่งเพราะอะไร
    ไม่จบง่ายๆ กับมหากาพย์นกสองหัว หรือตัวหาผลประโยชน์
    กับนางนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ หญิงชราที่ชอบเรียกตัวเองว่าพี่
    กับการเข้ามาหาประโยชน์กับการแอบอ้างสถานะความเป็น
    แฟนคลับCL เป็นด้อมเกรดเบอร์หนึ่งของเมืองไทย
    ไลฟ์ไป ข๋ายของไป ละครด่าสาวเกาไป ก็ตัดเบรคข๋ายของต่อ
    ฟันรายได้เดือนหลักแสน
    - เอาจริงๆ ในวงการ ตต. แฟนคลับพระเอกเอง ก็มีไม่กี่คนหรอก ที่ยอมคบหากับนาง นอกจากสาวกนางที่ผ่านการเชื่อมจิต จนเชื่อทุกอย่างไม่ต่างจากทุย
    ที่คนรอบตัวเริ่มถอยห่าง ก็เพราะ SANDAN ของนางเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มโปรเจค แก้ตัวแทนมิ๊จฉ๋าชีพเข้ามา อาการ อีโก้สูงระดับดาวอังคาร มั่นหน้า มั่นโหนก ต้องวางตัวเป็นผู้รู้ ผู้มากด้วยคอนเนคชั่น
    - และในขณะ ที่อ้างว่าตัวเองเป็นโนหนึ่งของฝั่งแฟนคลับพระเอก กลับมีพฤติกรรมแปลกประหลาดมานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผจก นางชวนสาวกนาง ปกป้องแม้ในวันที่ ผจก ออกมาให้ข่าวให้ร้ายพระเอกที่นางอ้างชื่อหาแดรก หรือจะเป็น 4 เฒ่าหญิง ที่ออกมาด่าพระเอก นางก็ยังชวนสาวกไปอุดหนุน
    - จนล่าสุด เอาแฝดพี่อิไผ่ มิ๊จฉ๋าชีพที่มีทั้งKADEE ฉ๊อโGงเยอะแยะ มันเองยังเผลอยอมรับเลย มาพรรณาแก้ตัวแทน ซึี่งพาเอาเมน CL งงกันเป็นแถม เพราะอิแฝด คือผู้ซัพพอตสาวเกา หลายสิบล้าน ถ้าสมมุติจะมีใครช่วยฟอกขาวให้ มันคนเป็นฝั่งสาวเกาหรือเปล่าฟรีะ แต่นางนิดา กลับเสนอตัวแบบถวายหัวอย่างน่าประหลาด หัวฟัดหัวเหวี่ยง จนถึงปัจจุบันแถมยังช่วยมิ๊จฉาชีพขายของด้วย และนางนิดาสกุลคุ๊กกี้ ก็จะมีเหตุผลบร้าบอคอแตกมาให้สาวกได้ดื่มด่ำเสมอ
    นี่คือสาเหตุที่ทำให้คนรอบตัว ที่เคยสนิท กลับไม่ไหวกับพฤติกรรม
    คำถาม เคพาหุ่งคือใคร
    เคพาหุ่ง คือคนที่อยู่ในโลก ตต ที่คอยยืนหยัด ปกป้องน้องพระเอกเสมอ จนเป็นหนึ่งในkadeeเดต ที่อิป้าศรีธัญญาจะฟ๊อง
    ซึ่ง เคพาหุ่ง คือหนึ่งในคนที่สามารถคุยกับพี่คิงส์แบบวงในได้ อาจจะพูดได้ว่า เคยเจอตัวจริงพี่คิงส์แล้วด้วยซ้ำ
    ในขณะที่อินังนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ พ่นคำให้ร้ายเคพาหุ่ง มันกลับไม่รู้หรอกว่า เคพาหุ่ง ลับหลังนังนิดา ไม่เคยพูดจากก้าวร้าว หรือเอ่ยถึงนังนิดาในเชิงลบเลยแม้แต่ครั้งเดียว และไม่เคยเชื่อทันทีกับสิ่งที่พี่คิงส์นำเสนอข้อมูลที่พาดพิงหรือเกี่ยวข้องกับนางนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ เคยพูดกับพี่คิงส์ว่า เรื่องอื่น ผมเชื่อพี่คิงส์หมด แต่เรื่องพี่นิดา คุ๊กกี้ ผมขอนะครับ เพราะผมรักเคารพแกมาก
    ซึ่งพี่คิงส์ก็ไม่มีปัญหา เรื่องเชื่อไม่เชื่อ มันก็เป็นอิสระที่ใครจะตัดสินใจแบบไหน
    แล้วถามว่า แล้วอิดามันวิปลาส คั่งเมื่อคืนเพราะอะไร
    เรื่องมันเป็นแบบนี้ คืออิดามันได้ข๋ายของแจกปีใหม่ นั่นหมายถึง ก่อนสิ้นปี 67 และเคพาหุ่ง เค้าก็สั่งไป 2 ชุด ชุดละ 999 เลยน๊ะ
    ปรากฏว่า ของที่ต้องการก็ไม่ส่ง เคพาหุ่งก็ทวงถาม นังนิดาก็เลยจะยัดอย่างอื่นให้แทน แต่เคพาหุ่งเค้าก็อยากได้ในสิ่งที่เค้าสั่ง มันก็เป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ เคพาหุ่งเลยบอกว่า กะจะรอพวกของกิน จะได้ให้เพื่อนๆในห้อง ตต.ของเค เพราะน้องมันแจกบ่อย มักเอาตังจากของขวัญที่ได้ ไปแจก ที่เหลือก็เอาไปทำบุญที่วัด
    เออ น้องมันก็จิตดีมากเนาะ
    ต่อนะ
    ถ้าทาร์มไล์ก็แบบนี้ รอของข้ามปีถึงวันที่ 4 มกราคม ซึ่งถ้าร่วมปีที่แล้วก็ราว 17 วันแล้วไมได้ซักที ก็เลยขอเงินคืน อิดาโอนให้คืน 2000 ไม่ต้องทอน เคพาหุ่งก็ห่วงความรู้สึกอีก บอกงั้นอุดหนุนเสื้อตัวละ 540 สามตัวแทน
    - แต่ด้วยความที่อิดา มันระแวง และพยายามหาว่าใครคือคนเอาข่าวมาบอกพี่คิงส์ มันกลับคิดไปเอง ว่าเคพาหุ่ง คือคนเอาข้อมูลที่มาให้พี่คิงส์ตีแผ่ แต่พี่บอกตรงนี้เลย ถ้าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอิดานามสกุลคุ๊กกี้ เคพาหุ่งไม่เปิดปากเลย ไม่เคยเลย กลับออกตัวปกป้องด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่อินิดา มันเป็นคนเชื่อมั่นในความคิดตัวเอง ก็เลยเกิดวิปลาส คิดว่าเคพาหุ่งไม่อยู่ในโอวาท ก็เลยแสดงบทบาท ไลฟ์ด่าและให้ร้ายเคพาหุ่งเมื่อคืน
    ถามว่าตอนนี้ เคพาหุ่งรู้สึกยังไง เค้ารู้สึกผิดหวัง กับคนที่เค้าเคยพูดว่ารัก เคารพ และออกตัวปกป้องเสมอมา และขอเงินค่าเสื้อคืน คือไม่เอาแล้ว พอกันที
    พอจะขอเงินค่าเสื้อคืน อิดาก็หน้าไม่มียาง บอกว่าที่เคยโอนทำบุญที่เคจะบวชพันนึงอะ คืนชั้นมาด้วยละกัน เคพาหุ่งเลยบอกว่า งั้นโอนให้ผมกลับมาส่วนที่เหลือสี่ร้อยกว่าก็พอ
    เนี่ย เรื่องมันก็แค่นี้แหละ อีโก้ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของกาแลคซี่
    ต้องทำตัวเก่ง ทำตัวเหนือ และไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์
    ยังไงน้องๆในตต. ก็ฝากดูแล เคพาหุ่งด้วยละกัน
    อย่าให้อิคั่งนี่ ไปรังควาน น้องมันจะบวชแล้ว สงสารน้องมัน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #เปิดปมอาการวิปลาสเมื่อคืนพ่นกราดเคพาหุ่งเพราะอะไร ไม่จบง่ายๆ กับมหากาพย์นกสองหัว หรือตัวหาผลประโยชน์ กับนางนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ หญิงชราที่ชอบเรียกตัวเองว่าพี่ กับการเข้ามาหาประโยชน์กับการแอบอ้างสถานะความเป็น แฟนคลับCL เป็นด้อมเกรดเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ไลฟ์ไป ข๋ายของไป ละครด่าสาวเกาไป ก็ตัดเบรคข๋ายของต่อ ฟันรายได้เดือนหลักแสน - เอาจริงๆ ในวงการ ตต. แฟนคลับพระเอกเอง ก็มีไม่กี่คนหรอก ที่ยอมคบหากับนาง นอกจากสาวกนางที่ผ่านการเชื่อมจิต จนเชื่อทุกอย่างไม่ต่างจากทุย ที่คนรอบตัวเริ่มถอยห่าง ก็เพราะ SANDAN ของนางเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มโปรเจค แก้ตัวแทนมิ๊จฉ๋าชีพเข้ามา อาการ อีโก้สูงระดับดาวอังคาร มั่นหน้า มั่นโหนก ต้องวางตัวเป็นผู้รู้ ผู้มากด้วยคอนเนคชั่น - และในขณะ ที่อ้างว่าตัวเองเป็นโนหนึ่งของฝั่งแฟนคลับพระเอก กลับมีพฤติกรรมแปลกประหลาดมานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผจก นางชวนสาวกนาง ปกป้องแม้ในวันที่ ผจก ออกมาให้ข่าวให้ร้ายพระเอกที่นางอ้างชื่อหาแดรก หรือจะเป็น 4 เฒ่าหญิง ที่ออกมาด่าพระเอก นางก็ยังชวนสาวกไปอุดหนุน - จนล่าสุด เอาแฝดพี่อิไผ่ มิ๊จฉ๋าชีพที่มีทั้งKADEE ฉ๊อโGงเยอะแยะ มันเองยังเผลอยอมรับเลย มาพรรณาแก้ตัวแทน ซึี่งพาเอาเมน CL งงกันเป็นแถม เพราะอิแฝด คือผู้ซัพพอตสาวเกา หลายสิบล้าน ถ้าสมมุติจะมีใครช่วยฟอกขาวให้ มันคนเป็นฝั่งสาวเกาหรือเปล่าฟรีะ แต่นางนิดา กลับเสนอตัวแบบถวายหัวอย่างน่าประหลาด หัวฟัดหัวเหวี่ยง จนถึงปัจจุบันแถมยังช่วยมิ๊จฉาชีพขายของด้วย และนางนิดาสกุลคุ๊กกี้ ก็จะมีเหตุผลบร้าบอคอแตกมาให้สาวกได้ดื่มด่ำเสมอ นี่คือสาเหตุที่ทำให้คนรอบตัว ที่เคยสนิท กลับไม่ไหวกับพฤติกรรม คำถาม เคพาหุ่งคือใคร เคพาหุ่ง คือคนที่อยู่ในโลก ตต ที่คอยยืนหยัด ปกป้องน้องพระเอกเสมอ จนเป็นหนึ่งในkadeeเดต ที่อิป้าศรีธัญญาจะฟ๊อง ซึ่ง เคพาหุ่ง คือหนึ่งในคนที่สามารถคุยกับพี่คิงส์แบบวงในได้ อาจจะพูดได้ว่า เคยเจอตัวจริงพี่คิงส์แล้วด้วยซ้ำ ในขณะที่อินังนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ พ่นคำให้ร้ายเคพาหุ่ง มันกลับไม่รู้หรอกว่า เคพาหุ่ง ลับหลังนังนิดา ไม่เคยพูดจากก้าวร้าว หรือเอ่ยถึงนังนิดาในเชิงลบเลยแม้แต่ครั้งเดียว และไม่เคยเชื่อทันทีกับสิ่งที่พี่คิงส์นำเสนอข้อมูลที่พาดพิงหรือเกี่ยวข้องกับนางนิดา นางสกุลคุ๊กกี้ เคยพูดกับพี่คิงส์ว่า เรื่องอื่น ผมเชื่อพี่คิงส์หมด แต่เรื่องพี่นิดา คุ๊กกี้ ผมขอนะครับ เพราะผมรักเคารพแกมาก ซึ่งพี่คิงส์ก็ไม่มีปัญหา เรื่องเชื่อไม่เชื่อ มันก็เป็นอิสระที่ใครจะตัดสินใจแบบไหน แล้วถามว่า แล้วอิดามันวิปลาส คั่งเมื่อคืนเพราะอะไร เรื่องมันเป็นแบบนี้ คืออิดามันได้ข๋ายของแจกปีใหม่ นั่นหมายถึง ก่อนสิ้นปี 67 และเคพาหุ่ง เค้าก็สั่งไป 2 ชุด ชุดละ 999 เลยน๊ะ ปรากฏว่า ของที่ต้องการก็ไม่ส่ง เคพาหุ่งก็ทวงถาม นังนิดาก็เลยจะยัดอย่างอื่นให้แทน แต่เคพาหุ่งเค้าก็อยากได้ในสิ่งที่เค้าสั่ง มันก็เป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ เคพาหุ่งเลยบอกว่า กะจะรอพวกของกิน จะได้ให้เพื่อนๆในห้อง ตต.ของเค เพราะน้องมันแจกบ่อย มักเอาตังจากของขวัญที่ได้ ไปแจก ที่เหลือก็เอาไปทำบุญที่วัด เออ น้องมันก็จิตดีมากเนาะ ต่อนะ ถ้าทาร์มไล์ก็แบบนี้ รอของข้ามปีถึงวันที่ 4 มกราคม ซึ่งถ้าร่วมปีที่แล้วก็ราว 17 วันแล้วไมได้ซักที ก็เลยขอเงินคืน อิดาโอนให้คืน 2000 ไม่ต้องทอน เคพาหุ่งก็ห่วงความรู้สึกอีก บอกงั้นอุดหนุนเสื้อตัวละ 540 สามตัวแทน - แต่ด้วยความที่อิดา มันระแวง และพยายามหาว่าใครคือคนเอาข่าวมาบอกพี่คิงส์ มันกลับคิดไปเอง ว่าเคพาหุ่ง คือคนเอาข้อมูลที่มาให้พี่คิงส์ตีแผ่ แต่พี่บอกตรงนี้เลย ถ้าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอิดานามสกุลคุ๊กกี้ เคพาหุ่งไม่เปิดปากเลย ไม่เคยเลย กลับออกตัวปกป้องด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่อินิดา มันเป็นคนเชื่อมั่นในความคิดตัวเอง ก็เลยเกิดวิปลาส คิดว่าเคพาหุ่งไม่อยู่ในโอวาท ก็เลยแสดงบทบาท ไลฟ์ด่าและให้ร้ายเคพาหุ่งเมื่อคืน ถามว่าตอนนี้ เคพาหุ่งรู้สึกยังไง เค้ารู้สึกผิดหวัง กับคนที่เค้าเคยพูดว่ารัก เคารพ และออกตัวปกป้องเสมอมา และขอเงินค่าเสื้อคืน คือไม่เอาแล้ว พอกันที พอจะขอเงินค่าเสื้อคืน อิดาก็หน้าไม่มียาง บอกว่าที่เคยโอนทำบุญที่เคจะบวชพันนึงอะ คืนชั้นมาด้วยละกัน เคพาหุ่งเลยบอกว่า งั้นโอนให้ผมกลับมาส่วนที่เหลือสี่ร้อยกว่าก็พอ เนี่ย เรื่องมันก็แค่นี้แหละ อีโก้ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของกาแลคซี่ ต้องทำตัวเก่ง ทำตัวเหนือ และไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์ ยังไงน้องๆในตต. ก็ฝากดูแล เคพาหุ่งด้วยละกัน อย่าให้อิคั่งนี่ ไปรังควาน น้องมันจะบวชแล้ว สงสารน้องมัน #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 497 มุมมอง 0 รีวิว
  • 29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง

    ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย

    ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม
    "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย

    บรรพชาในวัยเยาว์
    ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474

    อุปสมบท
    ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

    หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ

    วิถีแห่งวิปัสสนา
    หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ

    ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

    พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง
    ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง

    ศรัทธาประชาชน
    ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง

    ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ
    หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน

    ปณิธานแห่งความเรียบง่าย
    คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น

    มรดกธรรมที่ยังคงอยู่
    แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568

    #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย บรรพชาในวัยเยาว์ ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474 อุปสมบท ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม” หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ วิถีแห่งวิปัสสนา หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง ศรัทธาประชาชน ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน ปณิธานแห่งความเรียบง่าย คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น มรดกธรรมที่ยังคงอยู่ แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568 #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 711 มุมมอง 0 รีวิว
  • #บวชมาแล้ว...ฉันแล้วนอน

    - ให้บิณฑบาตร นั่งซาเล้ง รถเบ็นซ์ เลี้ยงชีพ

    - อยู่ที่วิเวก ไม่คลุกคลี

    - ใช้ชีวิตสันโดษ ขูดเกลากิเลส

    - มุ่งปรารภความเพียรภาวนาเพื่อบรรลุธรรมฯ

    ×ไม่ต้องไปทำเดรัจฉานวิชาเลี้ยงชีพ

    ×ไม่ต้องไปสนใจโลก สนใจพูดคุยกับใคร

    ×ไม่ต้องใช้ชีวิตที่ส่งเสริมกิเลส อย่างโลกๆ

    ×ไม่ต้องมีกิจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานฯ

    #ทางที่ไม่เนิ่นช้า

    #เต็ม100กับการปฏิบัติ

    #ย่อมประสบความสำเร็จ100 %

    #ธรรมจักษุของนักภาวนา

    https://youtu.be/Lrf1i78JN1M?si=QDMo8uVa-LQ0ikeW

    #จากซาเล้งพ่วงข้าง สู่หนทางพระนิพพาน
    #บวชมาแล้ว...ฉันแล้วนอน - ให้บิณฑบาตร นั่งซาเล้ง รถเบ็นซ์ เลี้ยงชีพ - อยู่ที่วิเวก ไม่คลุกคลี - ใช้ชีวิตสันโดษ ขูดเกลากิเลส - มุ่งปรารภความเพียรภาวนาเพื่อบรรลุธรรมฯ ×ไม่ต้องไปทำเดรัจฉานวิชาเลี้ยงชีพ ×ไม่ต้องไปสนใจโลก สนใจพูดคุยกับใคร ×ไม่ต้องใช้ชีวิตที่ส่งเสริมกิเลส อย่างโลกๆ ×ไม่ต้องมีกิจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานฯ #ทางที่ไม่เนิ่นช้า #เต็ม100กับการปฏิบัติ #ย่อมประสบความสำเร็จ100 % #ธรรมจักษุของนักภาวนา https://youtu.be/Lrf1i78JN1M?si=QDMo8uVa-LQ0ikeW #จากซาเล้งพ่วงข้าง สู่หนทางพระนิพพาน
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 377 มุมมอง 0 รีวิว
  • #บวชมาแล้ว...ฉันแล้วนอน

    - ให้บิณฑบาตร นั่งซาเล้ง รถเบ็นซ์ เลี้ยงชีพ

    - อยู่ที่วิเวก ไม่คลุกคลี

    - ใช้ชีวิตสันโดษ ขูดเกลากิเลส

    - มุ่งปรารภความเพียรภาวนาเพื่อบรรลุธรรมฯ

    ×ไม่ต้องไปทำเดรัจฉานวิชาเลี้ยงชีพ

    ×ไม่ต้องไปสนใจโลก สนใจพูดคุยกับใคร

    ×ไม่ต้องใช้ชีวิตที่ส่งเสริมกิเลส อย่างโลกๆ

    ×ไม่ต้องมีกิจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานฯ

    #ทางที่ไม่เนิ่นช้า

    #เต็ม100กับการปฏิบัติ

    #ย่อมประสบความสำเร็จ100 %

    #ธรรมจักษุของนักภาวนา

    https://youtu.be/Lrf1i78JN1M?si=QDMo8uVa-LQ0ikeW

    #จากซาเล้งพ่วงข้าง สู่หนทางพระนิพพาน
    #บวชมาแล้ว...ฉันแล้วนอน - ให้บิณฑบาตร นั่งซาเล้ง รถเบ็นซ์ เลี้ยงชีพ - อยู่ที่วิเวก ไม่คลุกคลี - ใช้ชีวิตสันโดษ ขูดเกลากิเลส - มุ่งปรารภความเพียรภาวนาเพื่อบรรลุธรรมฯ ×ไม่ต้องไปทำเดรัจฉานวิชาเลี้ยงชีพ ×ไม่ต้องไปสนใจโลก สนใจพูดคุยกับใคร ×ไม่ต้องใช้ชีวิตที่ส่งเสริมกิเลส อย่างโลกๆ ×ไม่ต้องมีกิจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานฯ #ทางที่ไม่เนิ่นช้า #เต็ม100กับการปฏิบัติ #ย่อมประสบความสำเร็จ100 % #ธรรมจักษุของนักภาวนา https://youtu.be/Lrf1i78JN1M?si=QDMo8uVa-LQ0ikeW #จากซาเล้งพ่วงข้าง สู่หนทางพระนิพพาน
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🙏 ทำบุญงานฝังลูกนิมิตรวัดวังกระทุ่ม ต.โคกสำโรง อ.โคกสำโรง ลพบุรี✅เป็นเจ้าภาพร่วมบวชพระ 22 รูป 9,000฿✅ลูกนิมิตลูกละ 10,000฿✅มีดตัดหวายด้ามละ 3,000฿ 👉 ยอดรวม 22,000฿🙏 ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ร่วมบุญ&โมทนาบุญร่วมกันนะครับ
    🙏 ทำบุญงานฝังลูกนิมิตรวัดวังกระทุ่ม ต.โคกสำโรง อ.โคกสำโรง ลพบุรี✅เป็นเจ้าภาพร่วมบวชพระ 22 รูป 9,000฿✅ลูกนิมิตลูกละ 10,000฿✅มีดตัดหวายด้ามละ 3,000฿ 👉 ยอดรวม 22,000฿🙏 ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ร่วมบุญ&โมทนาบุญร่วมกันนะครับ
    Love
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี

    "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา

    มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย

    ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา

    มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย

    หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน”

    แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา

    ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้

    พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย

    แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า

    คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย

    แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ

    เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย

    เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย

    ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย"

    สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้

    พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย

    การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น

    ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน

    แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน

    ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง”

    หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว

    เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด”

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
    แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว”

    พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน

    เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว”

    หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส

    ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้

    มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง

    เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง

    เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว

    สวดคาถาว่า...

    เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา

    ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด

    ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้

    ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ

    หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่

    คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    หลวงปู่โง่น โสรโย
    จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน” แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้ พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย" สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้ พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง” หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด” พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว” พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว” หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้ มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว สวดคาถาว่า... เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้ ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่ คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ หลวงปู่โง่น โสรโย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 960 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี

    "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา

    มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย

    ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา

    มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย

    หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน”

    แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา

    ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้

    พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย

    แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า

    คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย

    แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ

    เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย

    เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย

    ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย"

    สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้

    พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย

    การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น

    ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน

    แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน

    ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง”

    หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว

    เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด”

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
    แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว”

    พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน

    เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว”

    หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส

    ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้

    มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง

    เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง

    เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว

    สวดคาถาว่า...

    เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา

    ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด

    ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้

    ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ

    หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่

    คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    หลวงปู่โง่น โสรโย
    จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน” แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้ พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย" สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้ พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง” หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด” พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว” พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว” หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้ มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว สวดคาถาว่า... เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้ ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่ คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ หลวงปู่โง่น โสรโย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 959 มุมมอง 0 รีวิว
  • Credit: @พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
    คนมีมลทินราคีติดหนี้ล้มละลายอย่าหมายบรรพชา
    มาบวชอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา
    คนมั่วธรรม มนุษย์บางพวก (กเฬวราก จำนวนมาก)
    ยังนิยมชื่นชมเอาไว้ ก็หมายถึงว่า “รอด” อยู่ในช่วงหนึ่ง
    แต่เทวดาสัมมาทิฐิไม่นิยมเอาไว้ก็หมายถึงว่า “จอด” ทันที
    ทองเทียม แม้ไม่ถูกไฟลน นานไปมันก็กลายเป็นตะกั่ว
    เพราะความชั่วมันชอบโชว์เปิดเผยตัวของมันเสียเอง

    ก่อนข้าพเจ้าจะเขียนอธิบายขยายความที่จั่วหัวข้อแรกไว้ ปรารถนาให้ท่านสาธุชนทั้งหลายได้อ่านความอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนาเปรียบเป็นมหาสมุทรข้อที่ ๓ สักหน่อย ดังนี้ : -

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตาย แล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน
    บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมหยาบช้าลามก (ชอบออกกูออกมึง กูๆ มึงๆ) มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายในโชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน
    ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมหยาบช้าลามก (ชอบออกกูออกมึง กูๆ มึงๆ) มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณ ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ
    แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ”
    วิ.จุ. ๒/๑๘๔/๔๕๙-๔๖๑

    คนมีมลทินราคีติดหนี้ล้มละลายในข้อกฎหมายคดีความทางโลกก็มีนัย (อ่านว่า “นัย (ะ) ไม่ควรเขียนเป็น “นัยยะ” คำนี้จะแปลว่า “ผู้ที่แนะนำพร่ำสอนได้คือ เนยยบุคคล”) อันเดียวกันกับกฎหมายพระวินัยบัญญัติคดีความทางธรรม ถูกต้องทุกประการด้วย

    ข้าพเจ้าขอพิมพ์ข้อความที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ประกาศอย่างเป็นทางการให้สาธารณชนทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในข้อเท็จจริงนี้

    ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
    เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
    คดีหมายเลขแดงที่.... กองบังคับคดีล้มละลาย ๑
    กรมบังคับคดี
    กระทรวงยุติธรรม

    ด้วย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้จำเลยล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของนาย....จำเลย เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๕๘๓ แล้ว

    จำเลย เลขประจำตัวประชาชน........มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่.....

    ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และบุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา ๑๗๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓

    อนึ่ง เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีนี้....และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดวันลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔

    ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
    เบญจา สุภานนท์
    เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

    ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
    เรื่อง คำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

    คดีหมายเลขแดงที่.... กองบังคับคดีล้มละลาย ๑
    ศาลล้มละลายกลาง กรมบังคับคดี
    กระทรวงยุติธรรม

    ด้วยคดีเรื่องนี้ ศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาให้นาย....ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕
    ผู้ล้มละลาย เลขประจำตัวประชาชน....มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่....

    ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕
    อุโรวษา เพชรวารี
    เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

    จากข้อความที่ทางการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาว่า

    “บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ....ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท...”

    คำเตือนที่ข้าพเจ้าเขียนบอกไว้ในบทความหนึ่งว่า
    “ระวังไว้ด้วยนะครับ จะพลอยฟ้าพลอยฝนโดนหางเลขกับเขาไปด้วย”
    และในเวลาต่อมาไม่นาน ข้าพเจ้าก็เขียนโพสต์ไว้ในหน้าวอลล์ว่า
    “ไม่มาเข้าคอร์สก็น่าจะได้ไปเข้าคุก”
    ส่อเค้าว่าจะเป็นจริง เห็นแสงรำไรๆ อยู่ในคุกที่จองจำนั้นเสียแล้ว

    เมื่อเย็นวานนี้ทนายความท่านหนึ่งได้โทรมาคุยสนทนากับข้าพเจ้าในเรื่องนี้ พร้อมกับส่งหลักฐานในราชกิจจานุเบกษามาให้ และเมื่อเช้าของวันนี้ในเวลา 10:00 น. ทนายความอีกท่านหนึ่งก็โทรมาคุยกับข้าพเจ้า และยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไว้ตรงกับทนายความท่านแรก ทนายความสองท่านนี้ได้ตรวจสอบฐานข้อมูลมาเป็นอย่างดีแล้ว
    ข้าพเจ้าแสดงหลักฐานคดีความทางโลกให้เห็นปรากฏชัดเรียบร้อยแล้ว ก็จะเขียนเข้าสู่คดีความทางธรรม กฎหมายทางธรรม พระวินัยบัญญัติ ว่า มีข้อกำหนดอย่างไรกับผู้ติดคดีทางโลกมีหนี้สินท่วมหัว จนกระทั่งทางการต้องประกาศให้เป็นผู้ล้มละลาย ต่อจากนี้เขาก็ไม่สามารถทำธุรกิจ ธุรกรรม (เปิดรับบริจาค) ได้อีกแล้ว คนที่ไปบริจาคทรัพย์ให้แก่นายผู้ล้มละลายคนนี้ก็ดี คนที่ไปรับทรัพย์จากนายผู้ล้มละลายคนนี้ก็ดี ก็จะตกอยู่ในข่ายความผิดต้องโทษลักษณะเดียวกันไปโดยปริยาย
    กล่าวคือมีคติเป็น ๒ ไม่ถูกปรับก็ถูกจำ หรือทั้งปรับทั้งจำ

    พระวินัยบัญญัติกำหนดให้กุลบุตรผู้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ (ต้องการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ) หากต้องโทษข้อใดข้อหนึ่ง ใน ๑๓ ข้อเหล่านี้ มิให้มาอยู่ในเพศของพระภิกษุในร่มเงาของพระพุทธศาสนา
    ถ้าหากว่าแอบเข้ามาบรรพชาอุปสมบททรงเพศเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทราบในภายหลัง สงฆ์ก็ต้องสั่งให้สิกขาลาพรต ว่า “สิกฺขํ ปจฺจกฺขาหิ เธอจงบอกคืนสิกขาบทเสียเถิด”
    กรณีตัวอย่างคือ นาคจำแลงแปลงกายเป็นมาณพมาขอบวชเป็นพระภิกษุกับพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งอยู่ในป่า พอคืนร่างเป็นนาคตามเดิม ความทราบไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็รับสั่งให้ภิกษุผู้เป็นนาคจำแลงแปลงกายนั้นบอกคืนสิกขาบท คือให้ลาสิกขาทันที

    ในทุกกรณีของผู้ที่ต้องอันตรายิกธรรมข้อใดข้อหนึ่ง เช่น ทราบในภายหลังว่าเป็นบัณเฑาะก์ คือ ไม่ใช่บุรุษเพศชาย (ผู้ชายเต็มตัว) ก็สั่งให้ลาสิกขาเช่นเดียวกัน ให้อยู่ในเพศของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นบุคคลอันตราย จะสร้างความเสียหายให้แก่พระพุทธศาสนาแก่พระสงฆ์องค์สามเณร (ข้าพเจ้าเขียนอธิบายในโพสต์ก่อนแล้ว ร่างเป็นผู้ชายแต่ใจเป็นผู้หญิงก็จะกวนพระกวนเณรไม่ให้อยู่เป็นสุข)

    ถ้าผู้นั้นเป็นบัณเฑาะก์และรู้ว่าตนก็เป็นบัณเฑาะก์แท้ๆ แต่ปกปิดความเป็นบัณเฑาะก์ทรงเพศของพระภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้ไว้ ถือว่าอยู่ในฐานะผู้หลอกลวง ลักขโมยเคี้ยวกลืนกินบิณฑะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ท่านเรียกเป็นภาษาพระวินัยว่า “ลักเพศ” คือ ลักขโมยเพศของพระภิกษุ ลักขโมยอุดมเพศที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ธงชัยของพระอรหันต์

    เขาจะสั่งสมบาปอกุศลเอาไว้อยู่เรื่อยๆ สุดท้ายเห็นได้ชัดใช่ไหมว่า บัณเฑาะก์ผู้นั้นที่ลักขโมยเพศพระภิกษุแอบอาศัยอยู่ในร่มเงาของพระพุทธศาสนานี้มาเป็นเวลายาวนาน ก็แพ้ภัยตัวเอง กระเด็นออกไปจากพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนกเฬวราก ซากศพเน่า ต้องถูกคลื่นของมหาสมุทรซัดออกมาเกยตื้นติดอยู่กับฝั่งทะเล ฉะนั้น

    อันตรายิกธรรมเหล่านี้ คือ
    “โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร”
    วิ.ม. ๑/๑๕๔/๑๔๒

    ปรากฏอยู่ในอุปสัมปทาวิธีว่า

    พระคู่สวดถาม สามเณรตอบ
    กุฏฐัง นัตถิ ภันเต
    คัณโฑ นัตถิ ภันเต
    กิลาโส นัตถิ ภันเต
    โสโส นัตถิ ภันเต
    อะปะมาโร นัตถิ ภันเต
    มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต
    ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต
    ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต
    อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต
    นะสิ๊ราชะภะโฏ อามะ ภันเต
    อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต
    ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต
    ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
    กินนาโมสิ อะหัง ภันเต...(๑)....นามะ
    โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เมภันเต อายัสมา.... (๒).นามะ

    (๑) บอกฉายาของตนเอง
    (๒) บอกฉายาของพระอุปัชฌาย์

    ในคำตอบของสามเณร (นาค) หากผิดไปจาก อามะ ภันเต จาก นัตถิ ภันเต แม้ข้อเดียว เช่น “ปุริโสสิ๊ เจ้าเป็นบุรุษเพศชายจริงหรือเปล่า” นาคตอบว่า “นัตถิ ภันเต ไม่ใช่ครับ” “อะนะโณสิ๊ เธอไม่มีหนี้สินใช่ไหม” นาคตอบว่า “นัตถิ ภันเต ไม่ใช่ครับ” พระคู่สวดอาจจะต้องถามย้ำอีกสัก ๒ - ๓ ครั้ง นาคก็ยังตอบอยู่ในคำเดิม คือ นัตถิ ภันเต อุปสัมปทาวิธีก็ต้องล้มไป ยุติพิธีอุปสมบท ทันที อาจถึงกับขับไล่ผู้ต้องอันตรายิกธรรมข้อใดข้อหนึ่งนี้ออกจากสีมา (เขตแดน) ของพระอุโบสถหลังนั้นไปเลย
    “อย่าแหลมหน้ามาขอบวชอีกเชียวนะ”.
    Credit: @พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ คนมีมลทินราคีติดหนี้ล้มละลายอย่าหมายบรรพชา มาบวชอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา คนมั่วธรรม มนุษย์บางพวก (กเฬวราก จำนวนมาก) ยังนิยมชื่นชมเอาไว้ ก็หมายถึงว่า “รอด” อยู่ในช่วงหนึ่ง แต่เทวดาสัมมาทิฐิไม่นิยมเอาไว้ก็หมายถึงว่า “จอด” ทันที ทองเทียม แม้ไม่ถูกไฟลน นานไปมันก็กลายเป็นตะกั่ว เพราะความชั่วมันชอบโชว์เปิดเผยตัวของมันเสียเอง ก่อนข้าพเจ้าจะเขียนอธิบายขยายความที่จั่วหัวข้อแรกไว้ ปรารถนาให้ท่านสาธุชนทั้งหลายได้อ่านความอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนาเปรียบเป็นมหาสมุทรข้อที่ ๓ สักหน่อย ดังนี้ : - “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตาย แล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมหยาบช้าลามก (ชอบออกกูออกมึง กูๆ มึงๆ) มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายในโชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมหยาบช้าลามก (ชอบออกกูออกมึง กูๆ มึงๆ) มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณ ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ” วิ.จุ. ๒/๑๘๔/๔๕๙-๔๖๑ คนมีมลทินราคีติดหนี้ล้มละลายในข้อกฎหมายคดีความทางโลกก็มีนัย (อ่านว่า “นัย (ะ) ไม่ควรเขียนเป็น “นัยยะ” คำนี้จะแปลว่า “ผู้ที่แนะนำพร่ำสอนได้คือ เนยยบุคคล”) อันเดียวกันกับกฎหมายพระวินัยบัญญัติคดีความทางธรรม ถูกต้องทุกประการด้วย ข้าพเจ้าขอพิมพ์ข้อความที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ประกาศอย่างเป็นทางการให้สาธารณชนทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในข้อเท็จจริงนี้ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คดีหมายเลขแดงที่.... กองบังคับคดีล้มละลาย ๑ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ด้วย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้จำเลยล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของนาย....จำเลย เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๕๘๓ แล้ว จำเลย เลขประจำตัวประชาชน........มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่..... ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และบุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา ๑๗๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ อนึ่ง เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีนี้....และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดวันลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เบญจา สุภานนท์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย คดีหมายเลขแดงที่.... กองบังคับคดีล้มละลาย ๑ ศาลล้มละลายกลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ด้วยคดีเรื่องนี้ ศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาให้นาย....ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ผู้ล้มละลาย เลขประจำตัวประชาชน....มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่.... ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ อุโรวษา เพชรวารี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จากข้อความที่ทางการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาว่า “บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ....ซึ่งผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท...” คำเตือนที่ข้าพเจ้าเขียนบอกไว้ในบทความหนึ่งว่า “ระวังไว้ด้วยนะครับ จะพลอยฟ้าพลอยฝนโดนหางเลขกับเขาไปด้วย” และในเวลาต่อมาไม่นาน ข้าพเจ้าก็เขียนโพสต์ไว้ในหน้าวอลล์ว่า “ไม่มาเข้าคอร์สก็น่าจะได้ไปเข้าคุก” ส่อเค้าว่าจะเป็นจริง เห็นแสงรำไรๆ อยู่ในคุกที่จองจำนั้นเสียแล้ว เมื่อเย็นวานนี้ทนายความท่านหนึ่งได้โทรมาคุยสนทนากับข้าพเจ้าในเรื่องนี้ พร้อมกับส่งหลักฐานในราชกิจจานุเบกษามาให้ และเมื่อเช้าของวันนี้ในเวลา 10:00 น. ทนายความอีกท่านหนึ่งก็โทรมาคุยกับข้าพเจ้า และยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไว้ตรงกับทนายความท่านแรก ทนายความสองท่านนี้ได้ตรวจสอบฐานข้อมูลมาเป็นอย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าแสดงหลักฐานคดีความทางโลกให้เห็นปรากฏชัดเรียบร้อยแล้ว ก็จะเขียนเข้าสู่คดีความทางธรรม กฎหมายทางธรรม พระวินัยบัญญัติ ว่า มีข้อกำหนดอย่างไรกับผู้ติดคดีทางโลกมีหนี้สินท่วมหัว จนกระทั่งทางการต้องประกาศให้เป็นผู้ล้มละลาย ต่อจากนี้เขาก็ไม่สามารถทำธุรกิจ ธุรกรรม (เปิดรับบริจาค) ได้อีกแล้ว คนที่ไปบริจาคทรัพย์ให้แก่นายผู้ล้มละลายคนนี้ก็ดี คนที่ไปรับทรัพย์จากนายผู้ล้มละลายคนนี้ก็ดี ก็จะตกอยู่ในข่ายความผิดต้องโทษลักษณะเดียวกันไปโดยปริยาย กล่าวคือมีคติเป็น ๒ ไม่ถูกปรับก็ถูกจำ หรือทั้งปรับทั้งจำ พระวินัยบัญญัติกำหนดให้กุลบุตรผู้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ (ต้องการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ) หากต้องโทษข้อใดข้อหนึ่ง ใน ๑๓ ข้อเหล่านี้ มิให้มาอยู่ในเพศของพระภิกษุในร่มเงาของพระพุทธศาสนา ถ้าหากว่าแอบเข้ามาบรรพชาอุปสมบททรงเพศเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทราบในภายหลัง สงฆ์ก็ต้องสั่งให้สิกขาลาพรต ว่า “สิกฺขํ ปจฺจกฺขาหิ เธอจงบอกคืนสิกขาบทเสียเถิด” กรณีตัวอย่างคือ นาคจำแลงแปลงกายเป็นมาณพมาขอบวชเป็นพระภิกษุกับพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งอยู่ในป่า พอคืนร่างเป็นนาคตามเดิม ความทราบไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็รับสั่งให้ภิกษุผู้เป็นนาคจำแลงแปลงกายนั้นบอกคืนสิกขาบท คือให้ลาสิกขาทันที ในทุกกรณีของผู้ที่ต้องอันตรายิกธรรมข้อใดข้อหนึ่ง เช่น ทราบในภายหลังว่าเป็นบัณเฑาะก์ คือ ไม่ใช่บุรุษเพศชาย (ผู้ชายเต็มตัว) ก็สั่งให้ลาสิกขาเช่นเดียวกัน ให้อยู่ในเพศของพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นบุคคลอันตราย จะสร้างความเสียหายให้แก่พระพุทธศาสนาแก่พระสงฆ์องค์สามเณร (ข้าพเจ้าเขียนอธิบายในโพสต์ก่อนแล้ว ร่างเป็นผู้ชายแต่ใจเป็นผู้หญิงก็จะกวนพระกวนเณรไม่ให้อยู่เป็นสุข) ถ้าผู้นั้นเป็นบัณเฑาะก์และรู้ว่าตนก็เป็นบัณเฑาะก์แท้ๆ แต่ปกปิดความเป็นบัณเฑาะก์ทรงเพศของพระภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้ไว้ ถือว่าอยู่ในฐานะผู้หลอกลวง ลักขโมยเคี้ยวกลืนกินบิณฑะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ท่านเรียกเป็นภาษาพระวินัยว่า “ลักเพศ” คือ ลักขโมยเพศของพระภิกษุ ลักขโมยอุดมเพศที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ธงชัยของพระอรหันต์ เขาจะสั่งสมบาปอกุศลเอาไว้อยู่เรื่อยๆ สุดท้ายเห็นได้ชัดใช่ไหมว่า บัณเฑาะก์ผู้นั้นที่ลักขโมยเพศพระภิกษุแอบอาศัยอยู่ในร่มเงาของพระพุทธศาสนานี้มาเป็นเวลายาวนาน ก็แพ้ภัยตัวเอง กระเด็นออกไปจากพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนกเฬวราก ซากศพเน่า ต้องถูกคลื่นของมหาสมุทรซัดออกมาเกยตื้นติดอยู่กับฝั่งทะเล ฉะนั้น อันตรายิกธรรมเหล่านี้ คือ “โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร” วิ.ม. ๑/๑๕๔/๑๔๒ ปรากฏอยู่ในอุปสัมปทาวิธีว่า พระคู่สวดถาม สามเณรตอบ กุฏฐัง นัตถิ ภันเต คัณโฑ นัตถิ ภันเต กิลาโส นัตถิ ภันเต โสโส นัตถิ ภันเต อะปะมาโร นัตถิ ภันเต มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต นะสิ๊ราชะภะโฏ อามะ ภันเต อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต กินนาโมสิ อะหัง ภันเต...(๑)....นามะ โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เมภันเต อายัสมา.... (๒).นามะ (๑) บอกฉายาของตนเอง (๒) บอกฉายาของพระอุปัชฌาย์ ในคำตอบของสามเณร (นาค) หากผิดไปจาก อามะ ภันเต จาก นัตถิ ภันเต แม้ข้อเดียว เช่น “ปุริโสสิ๊ เจ้าเป็นบุรุษเพศชายจริงหรือเปล่า” นาคตอบว่า “นัตถิ ภันเต ไม่ใช่ครับ” “อะนะโณสิ๊ เธอไม่มีหนี้สินใช่ไหม” นาคตอบว่า “นัตถิ ภันเต ไม่ใช่ครับ” พระคู่สวดอาจจะต้องถามย้ำอีกสัก ๒ - ๓ ครั้ง นาคก็ยังตอบอยู่ในคำเดิม คือ นัตถิ ภันเต อุปสัมปทาวิธีก็ต้องล้มไป ยุติพิธีอุปสมบท ทันที อาจถึงกับขับไล่ผู้ต้องอันตรายิกธรรมข้อใดข้อหนึ่งนี้ออกจากสีมา (เขตแดน) ของพระอุโบสถหลังนั้นไปเลย “อย่าแหลมหน้ามาขอบวชอีกเชียวนะ”.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 706 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบิร์ดเกมส์แล้ว ยังดิ้นอ้างรับปากยายจะบวชให้แบงค์ จับผม คนอื่นเค้าจะว่าได้ เข้าครุกเหอะ กรูคนนึงแหละไม่ว่าเมิงเลย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    เบิร์ดเกมส์แล้ว ยังดิ้นอ้างรับปากยายจะบวชให้แบงค์ จับผม คนอื่นเค้าจะว่าได้ เข้าครุกเหอะ กรูคนนึงแหละไม่ว่าเมิงเลย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...)

    1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌
    ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย
    สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า
    เราไม่ยินดีความตาย
    ไม่ปรารถนาความเป็น
    แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน)
    เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น.
    และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง

    2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌
    ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต.

    3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌
    ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป)

    4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้
    พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌
    ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม
    >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้.

    5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร

    6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง

    7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้.
    👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ
    1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด
    (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี
    ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว)
    มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร

    8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌
    ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้
    เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน

    9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก
    โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌
    ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว

    10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌
    ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว
    / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน

    11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌
    ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร
    ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน.

    ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข
    หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น

    #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง
    >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน

    Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    #รวมคำสอนผิด คน…ธรรม (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด...) 1. พระอรหันต์ฆ่าตัวตาย ทำการุณยฆาต❌ ที่ถูกคือ>> พระอรหันต์ไม่ฆ่าตัวตาย สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวว่า เราไม่ยินดีความตาย ไม่ปรารถนาความเป็น แต่เรารอเวลาแตกดับ (ปรินิพพาน) เหมือนลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น. และการุณยฆาตไม่ใช่การฆ่าตัวเอง 2. พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้กุศโลบาย❌ ที่ถูกคือ>> พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ด้วยอุบายเครื่องแนะนำอย่างวิจิตร มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น. แม้คำสอนทั้งหมดก็มีอุบายสอน เช่นอุบายเครื่องสงบจิต. 3. พุทธคุณในพระเครื่องไม่มี❌ ที่ถูกคือ>> พุทธคุณในพระเครื่องมีทั้งมีและไม่มี ที่มีเพราะเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ ผู้สวดพระปริตรมีศีล ไม่มีความโลภอยากได้ลาภสักการะ สวดด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยศรัทธา บาลีไม่ผิดเพี้ยน ย่อมมีอานุภาพ/ ส่วนที่ไม่มีอานุภาพก็ตรงกันข้ามกัน (ตัวอย่างตั่ง(ที่นั่ง)ที่พระองคุลิมาลนั่งทำสัจกิริยา ก็มีอานุภาพตลอดกัป) 4. พระปริตรป้องกันภัยไม่ได้ พระปริตรขัดกับหลักกรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาล❌ ที่ถูกคือ >> กรรมและสุขทุกข์ไม่มีใครบันดาลนั้นหมายความว่า “สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระผู้สร้าง เช่นพระอิศวรนิรมิต” / พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระผู้สร้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆหรือใครบันดาล >> พระปริตรเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่ใครบันดาล แต่เกิดจากกรรมในปัจจุบัน ที่บุคคลนั้นได้กล่าวสัจจกิริยา หรือ สวดพระปริตร ซึ่งเป็นกุศลที่ให้ผลในปัจจุบัน ตามหลักแห่งกรรม เป็น ทิฐธรรมเวทนียกรรม >> และพระปริตรก็มีเหตุปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรที่ให้ผลไม่ได้ทุกคน จึงแทนโรงพยาบาลไม่ได้ แต่ผู้มีศรัทธา ไม่ทำกรรมหนัก ไม่สวดด้วยกิเลส และยังไม่หมดอายุขัย พระปริตรย่อมช่วยได้. 5. สร้างศาลาใหญ่ไว้ให้หมานอนเกาขี้กาก❌ ที่ถูกคือ ทำบุญในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่ควรกำหนดว่าเท่านั้นเท่านี้ มีตัวอย่างพระลกุณฏกะ ในอดีตท่านแนะนำชาวบ้านให้สร้างเจดีย์จากใหญ่ให้เหลือเล็กลง ด้วยวิบากกรรมนั้นท่านจึงเกิดมาตัวเล็กเตี้ยเหมือนสามเณร 6. บวชพระ, บวชตามประเพณี, บวชหน้าไฟ ไม่เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่❌ ที่ถูกคือ>> การบวชแม้ไม่ใช่การทดแทนคุณพ่อแม่สูงสุด แต่ก็เป็นการทดแทนคุณได้ เพราะการบวชทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิต พ่อแม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระลูกชายเป็นต้น การทำให้พ่อแม่เกิดกุศลจิตได้ เป็นการทดแทนคุณอย่างหนึ่ง 7. สัมภเวสี คือช่วงรออัตภาพการเกิด คือเวลาที่กายแตกตายแต่สี่ขันธ์ยังยึดรูปอยู่ยังรู้อยู่เรียกช่วงนี้ว่าสัมภเวสี❌ ที่ถูกคือ >> สัมภเวสี คือ ผู้ที่แสวงหาที่เกิด, ผู้ที่ยังต้องเกิด คือ พระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์ เพราะยังละภวสังโยชน์ยังไม่ได้. 👉 สัมภเวสี ตามนัยแห่งกำเนิด 4 คือ 1. เกิดในไข่ (ขณะอยู่ในไข่ เรียกสัมภเวสี ออกจากไข่ได้แล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 2. เกิดในครรภ์ (ขณะอยู่ในรก เรียกสัมภเวสี คลอดออกมาแล้วเรียกว่าภูต คือเกิดแล้ว) 3. เกิดในเถ้าไคล และ 4. เกิดแบบผุดเกิด (ขณะแห่งปฐมจิต เรียกสัมภเวสี ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่าภูต คือเกิดแล้ว) มาใน : อรรถกถาเมตตสูตร 8. อมตะธาตุยึดขันธ์ห้า❌ ที่ถูกคือ>> อมตะธาตุยึดขันธ์๕ไม่ได้ เพราะอมตะธาตุคือนิพพาน 9. โสดาปัตติมรรค ละสังโยชน์ข้อแรก โสดาปัตติผล ละสังโยชน์อีกสองข้อ❌ ที่ถูกคือ>> โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหาณจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง อย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทประหาณ รวมประหาณ อกุศลจิต ๕ ดวง เด็ดขาด /โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อเสวยสุขจากการที่โสดาปัตติมรรคญาณได้ทำการประหาณแล้ว 10. ลอยกระทง ไปขอขมาทำไมแม่น้ำ ไปทะเลาะกับแม่น้ำเหรอจึงต้องขอขมา / วันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ที่ถูกคือ>> การรู้คุณแม่น้ำถือว่าเป็นผู้รู้คุณในสรรพสิ่ง สมดังคำที่พระองค์ตรัสว่า "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม" ดังนั้นสิ่งที่มีอุปการะแก่ชีวิตเราล้วนมีคุณเพียงแค่เราจะเห็นคุณนั้นหรือไม่ ส่วนน้ำนั้นคนโบราณเห็นว่าใช้น้ำมาทั้งปี ทำไร่ ทำนา ใช้ชำระกายทั้งดื่มกิน เขาก็ระลึกรู้คุณเป็นพิเศษ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นคนดีเลยทีเดียว / และวันลอยกระทงตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้าคือวันดอกโกมุทบาน❌ ไม่ควรกล่าวอ้างอย่างนั้น เพราะดอกโกมุทบานเป็นเพียงคำขยายของพระจันทร์ เพราะวันนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูฝน ดอกโกมุทบานก็บานทั้งฤดูอยู่แล้ว ดอกโกมุทบานเป็นเพียงผู้ร่วมงาน ประธานคือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่ควรเอาแขกร่วมงานมาตั้งชื้อวัน 11. ใครแย้งว่าสอนผิด จะอ้างว่าเขาอิจฉาริษยา❌ ที่ถูกคือ>> ผู้ชี้โทษ ไม่ใช่เพราะอิจฉาริษยา แต่เป็นการติเตียนตามธรรม เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาบิดเบือน / ทราบว่าที่คุณพูดเอามาจากสักกปัญหาสูตร ท้าวสักกะได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนาไม่มีเวร ไม่ถูกเบียดเบียนฯลฯ แต่เพราะอะไรพวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกเบียดเบียนอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ”เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) สัตว์ทั้งหลายจึงจองเวรกัน เบียดเบียนกัน ซึ่งท่านใช้สูตรนี้มาสอนลูกศิษย์ และลูกศิษย์ก็เที่ยวไปว่าคนเห็นต่างว่าอิจฉาริษยาอาจารย์เขา /ทำไมคุณไม่ใช้สูตรผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์มาสอน. ✍️ที่สอนถูกก็มี ผิดก็ควรแก้ไข หวังว่าท่านจะระวังในการสอนมากขึ้น #แค่ผ่านตา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องชี้แจง >> ผู้เขียน : โลก กะ ธรรม กับม่อน Credit : เปรมวดี ก๋งชิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 704 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ขอให้สมปรารถนา พาชมพระอุเชน พระพิฆเนศปางออกบวช 1600ปี วัดสวนขัน พ่อท่านคล้าย นครศรีธรรมราช #พระอุเชน #พระพิฆเนศ #นครศรีธรรมราช
    #ขอให้สมปรารถนา พาชมพระอุเชน พระพิฆเนศปางออกบวช 1600ปี วัดสวนขัน พ่อท่านคล้าย นครศรีธรรมราช #พระอุเชน #พระพิฆเนศ #นครศรีธรรมราช
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 429 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • การสมาทานศีล การอธิษฐาน การอุทิศบุญ ฯลฯ ต้องพูดเป็นภาษาบาลีหรือไม่ "สังคมถาม ครูนัทตอบ แบบวิภัชชวาท ตอบโดยรอบ ไม่กระทบใคร"ตอบว่า ไม่ต้อง สามารถพูดเป็นภาษาไทยได้เลย ข้าพเจ้าขอสมาทานรักษาศีล โดย เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการเอาทรัพย์ของผู้อื่น ฯลฯ ว่าไป การอธิษฐาน พูดเป็นภาษาไทยได้เลย การอธิษฐานคือ เราพูดกับตัวเราเอง เป็นการตั้งความปรารถนาโดยอาศัยผลบุญของตัวเราเอง การอธิษฐานไม่ใช่การไหว้วอนร้องขอ การอุทิศบุญ พูดเป็นภาษาไทยได้เลย คำถามเพิ่มเติม แบบนี้เวลาบวชนาคจะมีการสมาทานศีลในอุโบสถต่อหน้าพระอุปัชฌาย์ก็สามารถเป่งวาจาเป็นภาษาไทยได้ใช่ไหมครับ?☺️ตอบ ไม่ได้ค่ะ การทำสังฆกรรมของสงฆ์ต้องใช้ภาษาบาลีค่ะ #ครูนัท #หนอนพระไตรปิฎก#การสมาทานศีล #การอธิษฐาน #การอุทิศบุญ ฯลฯ #ต้องพูดเป็นภาษาบาลีหรือไม่ อนุโมทนาภาพประกอบจาก Ai ที่สมาชิกช่วยทำให้ค่ะ
    การสมาทานศีล การอธิษฐาน การอุทิศบุญ ฯลฯ ต้องพูดเป็นภาษาบาลีหรือไม่ "สังคมถาม ครูนัทตอบ แบบวิภัชชวาท ตอบโดยรอบ ไม่กระทบใคร"ตอบว่า ไม่ต้อง สามารถพูดเป็นภาษาไทยได้เลย ข้าพเจ้าขอสมาทานรักษาศีล โดย เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการเอาทรัพย์ของผู้อื่น ฯลฯ ว่าไป การอธิษฐาน พูดเป็นภาษาไทยได้เลย การอธิษฐานคือ เราพูดกับตัวเราเอง เป็นการตั้งความปรารถนาโดยอาศัยผลบุญของตัวเราเอง การอธิษฐานไม่ใช่การไหว้วอนร้องขอ การอุทิศบุญ พูดเป็นภาษาไทยได้เลย คำถามเพิ่มเติม แบบนี้เวลาบวชนาคจะมีการสมาทานศีลในอุโบสถต่อหน้าพระอุปัชฌาย์ก็สามารถเป่งวาจาเป็นภาษาไทยได้ใช่ไหมครับ?☺️ตอบ ไม่ได้ค่ะ การทำสังฆกรรมของสงฆ์ต้องใช้ภาษาบาลีค่ะ #ครูนัท #หนอนพระไตรปิฎก#การสมาทานศีล #การอธิษฐาน #การอุทิศบุญ ฯลฯ #ต้องพูดเป็นภาษาบาลีหรือไม่ อนุโมทนาภาพประกอบจาก Ai ที่สมาชิกช่วยทำให้ค่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 435 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts