• ข้าพเจ้าสนับสนุนการเผาฟางแบบสุดตัว

    ข้าพเจ้าเผามาตลอด อย่าว่าแต่ฟางเลย หญ้า ใบไม้ก็เผา ใครห้ามก็ไม่ฟัง ก็จะเผา จะทำไม

    ขั้นตอนหนึ่ง ในการทำนาของข้าพเจ้า คือ หลังจากเกี่ยวข้าวและจัดการข้าวเปลือกเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าจะเผาฟางทั้งหมด ด้วยวิธีทางชีวภาพ นั้นคือการทำปุ๋ยหมัก ตามวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 แต่ข้าพเจ้าจะพูดว่า เผาฟางโดยไม่ใช้ไฟ

    ถ้าทำแบบขี้เกียจ จะใช้เวลาหมัก 2 เดือน คนหมักมีหน้าที่แค่รักษาความชื้น และคอยเจาะกองปุ๋ย เติมน้ำ ทุก 10 วัน เพื่อรักษาความชื้นภายใน ไม่ให้แห้ง จุลินทรีย์จะได้ทำหน้าที่ย่อยสลายได้อย่างต่อเนื่อง ควันที่เห็นเกิดจากความร้อนในกระบวนการย่อยสลาย ปะทะเข้ากับอากาศเย็น ถ้าทำหน้าร้อนจะเห็นเป็นเปลวความร้อน

    เนื่องจากเป็นการหมักแบบใช้ออกซิเจน ก๊าซที่ได้จึงเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซนี้จะถูกใช้โดยต้นไม้ ตามวัฏจักรคาร์บอน สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องทำเพิ่มเติม คือ ต้องปลูกต้นไม้ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพื่อกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ ได้คาร์บอนเครดิต ไปเต็มๆ แต่อันนี้ไม่ขาย เอาไว้โม้ แฮ่ๆ

    เมื่อครบ 2 เดือน ล้มกอง ตากให้แห้งพอหมาดๆ จะได้ปุ๋ยหมักชั้นเยี่ยม อ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร(ลูกศิษย์เรียกจารย์ลุง) ผู้ทำวิจัย เคลมว่า ถ้าทำตามวิธีของจารย์ลุง ปุ๋ยหมักจะผ่านตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่เชื่อ เลยส่งไปตรวจ 2 ครั้งเขาตรวจ 20 กว่ารายการ ทั้งธาตุอาหารหลัก อาหารรอง อินทรีย์วัตถุ โลหะหนัก ฯ ปรากฎว่าผ่านเกณฑ์จริง น่าจะเชื่อตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องเสียเงิน เพราะงานวิจัยของจารย์ลุง ได้รางวัลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

    แม้แต่หญ้าที่ตัดแล้ว ใบไม้ที่ร่วงหล่น ข้าพเจ้าจะรวบรวมไว้ และก็เผาแบบเดียวกัน เผาโดยไม่ใช้ไฟ ไร้ PM10 PM2.5 ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ไว้ใส่พืช ผัก ผลไม้ มันช่างดีจริงจริง

    เมื่อถึงฤดูทำนา เวลาเตรียมดิน ข้าพเจ้าจะขนฟางที่เผาแล้วทั้งหมดลงใส่นา จบเรื่องปุ๋ย ตลอดฤดูการปลูก เกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางต่อ เผาโดยไม่ใช้ไฟ ทำวนไป ได้ดินดี ได้ข้าวอินทรีย์ธรรมดาแสนดี ไว้กินตลอดปี
    ข้าพเจ้าสนับสนุนการเผาฟางแบบสุดตัว ข้าพเจ้าเผามาตลอด อย่าว่าแต่ฟางเลย หญ้า ใบไม้ก็เผา ใครห้ามก็ไม่ฟัง ก็จะเผา จะทำไม ขั้นตอนหนึ่ง ในการทำนาของข้าพเจ้า คือ หลังจากเกี่ยวข้าวและจัดการข้าวเปลือกเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าจะเผาฟางทั้งหมด ด้วยวิธีทางชีวภาพ นั้นคือการทำปุ๋ยหมัก ตามวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 แต่ข้าพเจ้าจะพูดว่า เผาฟางโดยไม่ใช้ไฟ ถ้าทำแบบขี้เกียจ จะใช้เวลาหมัก 2 เดือน คนหมักมีหน้าที่แค่รักษาความชื้น และคอยเจาะกองปุ๋ย เติมน้ำ ทุก 10 วัน เพื่อรักษาความชื้นภายใน ไม่ให้แห้ง จุลินทรีย์จะได้ทำหน้าที่ย่อยสลายได้อย่างต่อเนื่อง ควันที่เห็นเกิดจากความร้อนในกระบวนการย่อยสลาย ปะทะเข้ากับอากาศเย็น ถ้าทำหน้าร้อนจะเห็นเป็นเปลวความร้อน เนื่องจากเป็นการหมักแบบใช้ออกซิเจน ก๊าซที่ได้จึงเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซนี้จะถูกใช้โดยต้นไม้ ตามวัฏจักรคาร์บอน สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องทำเพิ่มเติม คือ ต้องปลูกต้นไม้ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพื่อกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ ได้คาร์บอนเครดิต ไปเต็มๆ แต่อันนี้ไม่ขาย เอาไว้โม้ แฮ่ๆ เมื่อครบ 2 เดือน ล้มกอง ตากให้แห้งพอหมาดๆ จะได้ปุ๋ยหมักชั้นเยี่ยม อ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร(ลูกศิษย์เรียกจารย์ลุง) ผู้ทำวิจัย เคลมว่า ถ้าทำตามวิธีของจารย์ลุง ปุ๋ยหมักจะผ่านตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่เชื่อ เลยส่งไปตรวจ 2 ครั้งเขาตรวจ 20 กว่ารายการ ทั้งธาตุอาหารหลัก อาหารรอง อินทรีย์วัตถุ โลหะหนัก ฯ ปรากฎว่าผ่านเกณฑ์จริง น่าจะเชื่อตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องเสียเงิน เพราะงานวิจัยของจารย์ลุง ได้รางวัลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ แม้แต่หญ้าที่ตัดแล้ว ใบไม้ที่ร่วงหล่น ข้าพเจ้าจะรวบรวมไว้ และก็เผาแบบเดียวกัน เผาโดยไม่ใช้ไฟ ไร้ PM10 PM2.5 ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ไว้ใส่พืช ผัก ผลไม้ มันช่างดีจริงจริง เมื่อถึงฤดูทำนา เวลาเตรียมดิน ข้าพเจ้าจะขนฟางที่เผาแล้วทั้งหมดลงใส่นา จบเรื่องปุ๋ย ตลอดฤดูการปลูก เกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางต่อ เผาโดยไม่ใช้ไฟ ทำวนไป ได้ดินดี ได้ข้าวอินทรีย์ธรรมดาแสนดี ไว้กินตลอดปี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ข้าวเปลือก# คุณตาของผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า เวลาเจอข้าวเปลือกในข้าวที่เรากิน (เท่านั้น) ให้เก็บติดตัวเอาไว้ นัยว่า ทางแคล้วคลาดดีนักแล...ลองคิดดู ผ่านการ สี จัด บรรจุ กี่กระบวนการ มาถึงเรา ผ่านกระบวนการซาวน้ำอีก...ยังเล็ดลอดมาถึงเรา...นั่นละ ...ของดี...(ไม่ใช่ข้าวเปลือกทั่วไปนะ)
    #ข้าวเปลือก# คุณตาของผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า เวลาเจอข้าวเปลือกในข้าวที่เรากิน (เท่านั้น) ให้เก็บติดตัวเอาไว้ นัยว่า ทางแคล้วคลาดดีนักแล...ลองคิดดู ผ่านการ สี จัด บรรจุ กี่กระบวนการ มาถึงเรา ผ่านกระบวนการซาวน้ำอีก...ยังเล็ดลอดมาถึงเรา...นั่นละ ...ของดี...(ไม่ใช่ข้าวเปลือกทั่วไปนะ)
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 142 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท.
    ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมาโครงการจำนำข้าวขาดทุน 957,000 ล้านบาท
    รัฐบาลประยุทธ์ ตั้งงบประมาณ ชำระหนี้ไปแล้ว 781,000 ล้านบาท
    รัฐบาลเศรษฐา ใต้ตีนทักษิณ ขายข้าวล็อตสุดท้ายได้ 272 ล้านบาท
    --------------
    สรุปความ up-pre ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ใต้ตีนทักษิณ
    ⭕ โครงการรับจำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รับจำนำข้าวทั้งหมด 5 ฤดู
    รอบฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ถึงปี 2556/2557
    ⭕ รับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน
    ⭕ ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท
    ⭕ ขาดทุนทางคลัง 5.39 แสนล้านบาท (เม.ย. 2557) *หากคำนวณผลตรวจสต็อกข้าวของ คสช. (ต.ค. 2557) จะขาดทุน 6.6 แสนล้านบาท
    ⭕ ผลประโยชน์ส่วนเกินจากโครงการจำนำข้าวที่ตกแก่ชาวนา 5.6 แสนล้านบาท แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนารายกลางและรายใหญ่
    ⭕ มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท


    #รัฐบาลuppre
    มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท. ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมาโครงการจำนำข้าวขาดทุน 957,000 ล้านบาท รัฐบาลประยุทธ์ ตั้งงบประมาณ ชำระหนี้ไปแล้ว 781,000 ล้านบาท รัฐบาลเศรษฐา ใต้ตีนทักษิณ ขายข้าวล็อตสุดท้ายได้ 272 ล้านบาท -------------- สรุปความ up-pre ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ใต้ตีนทักษิณ ⭕ โครงการรับจำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รับจำนำข้าวทั้งหมด 5 ฤดู รอบฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 ถึงปี 2556/2557 ⭕ รับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน ⭕ ค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้านบาท เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท ⭕ ขาดทุนทางคลัง 5.39 แสนล้านบาท (เม.ย. 2557) *หากคำนวณผลตรวจสต็อกข้าวของ คสช. (ต.ค. 2557) จะขาดทุน 6.6 แสนล้านบาท ⭕ ผลประโยชน์ส่วนเกินจากโครงการจำนำข้าวที่ตกแก่ชาวนา 5.6 แสนล้านบาท แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวนารายกลางและรายใหญ่ ⭕ มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าว 84,476 ล้านบาท #รัฐบาลuppre
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1039 มุมมอง 0 รีวิว