• ทูตไทยลั่น UNSC! ประณามกัมพูชา "รุกรานไร้การยั่วยุ" โจมตีพลเรือน ฝังกับระเบิด ไร้มนุษยธรรม บิดเบือนปมปราสาทพระวิหาร
    https://www.thai-tai.tv/news/20558/
    .
    #ทูตไทยUN #เชิดชายใช้ไววิทย์ #UNSC #ชายแดนไทยกัมพูชา #รุกรานไร้การยั่วยุ #อาชญากรรมสงคราม #ละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม #อนุสัญญาออตตาวา #อนุสัญญาเจนีวา #ปราสาทพระวิหาร #ข่าวปลอม #การป้องกันตนเอง #ไทยไท
    ทูตไทยลั่น UNSC! ประณามกัมพูชา "รุกรานไร้การยั่วยุ" โจมตีพลเรือน ฝังกับระเบิด ไร้มนุษยธรรม บิดเบือนปมปราสาทพระวิหาร https://www.thai-tai.tv/news/20558/ . #ทูตไทยUN #เชิดชายใช้ไววิทย์ #UNSC #ชายแดนไทยกัมพูชา #รุกรานไร้การยั่วยุ #อาชญากรรมสงคราม #ละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม #อนุสัญญาออตตาวา #อนุสัญญาเจนีวา #ปราสาทพระวิหาร #ข่าวปลอม #การป้องกันตนเอง #ไทยไท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพจ "กองทัพภาคที่ 2" ออกมาตอกย้ำจุดยืนของไทยว่ามีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศในการป้องกันตนเอง หลังเกิดเหตุการณ์ที่กัมพูชาโจมตีด้วยอาวุธใส่พื้นที่พลเรือนของไทยใน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000069755

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    เพจ "กองทัพภาคที่ 2" ออกมาตอกย้ำจุดยืนของไทยว่ามีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศในการป้องกันตนเอง หลังเกิดเหตุการณ์ที่กัมพูชาโจมตีด้วยอาวุธใส่พื้นที่พลเรือนของไทยใน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000069755 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้ยืนยันถึงจุดยืนและหลักการที่ชัดเจนของรัฐบาลกัมพูชาในการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนกับไทย

    ผู้นำกัมพูชาได้กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดศูนย์ฝึกกองราชอาวุธหัถต์ พนมชุม เซน ริกเรย จ.กำปงชนัง ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 32 ปี การสถาปนากองราชอาวุธหัถต์ โดยระบุว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโดยสันติบนพื้นฐานของกฎหมายและกลไกทวิภาคี

    “เรายังคงดำเนินการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนโดยใช้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคภายใต้กฎหมายระดับชาติและระหว่างประเทศ รวมถึงกลไกทวิภาคี ยกเว้นใน 4 พื้นที่อ่อนไหว ที่ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่มอมเบย (สามเหลี่ยมมรกต) เรามุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่กัมพูชาขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองและคุ้มครองอธิปไตยทุกวิถีทาง” ฮุน มาเนต กล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000066126

    #Thaitimes #MGROnline #ฮุนมาเนต #กัมพูชา
    นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้ยืนยันถึงจุดยืนและหลักการที่ชัดเจนของรัฐบาลกัมพูชาในการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนกับไทย • ผู้นำกัมพูชาได้กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดศูนย์ฝึกกองราชอาวุธหัถต์ พนมชุม เซน ริกเรย จ.กำปงชนัง ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 32 ปี การสถาปนากองราชอาวุธหัถต์ โดยระบุว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโดยสันติบนพื้นฐานของกฎหมายและกลไกทวิภาคี • “เรายังคงดำเนินการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนโดยใช้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคภายใต้กฎหมายระดับชาติและระหว่างประเทศ รวมถึงกลไกทวิภาคี ยกเว้นใน 4 พื้นที่อ่อนไหว ที่ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่มอมเบย (สามเหลี่ยมมรกต) เรามุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่กัมพูชาขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองและคุ้มครองอธิปไตยทุกวิถีทาง” ฮุน มาเนต กล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000066126 • #Thaitimes #MGROnline #ฮุนมาเนต #กัมพูชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 0 รีวิว
  • แถลงการณ์บางส่วนของอารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน:

    พรุ่งนี้อารักชีจะเดินทางมาพบกับปูตินในมอสโกช่วงบ่าย โดยกล่าวว่าจะมีการหารือกัน "อย่างจริงจัง" กับผู้นำรัสเซีย

    "รัสเซียเป็นเพื่อนที่ดีของอิหร่าน เราปรึกษาหารือกันเสมอ"

    การโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ด้วยตัวเองถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่อาจให้อภัยได้ ควรได้รับการประณา

    ทรัมป์ทรยศต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของตนเอง จากการได้รับเลือกให้ยุติ "สงครามตลอดกาล" ของอเมริกาในตะวันออกกลาง แต่เขา "ยอมจำนน" ต่อความต้องการของอาชญากรสงคราม(เนทันยาฮู)ที่เป็นที่ต้องการตัว

    ทรัมป์คุ้นเคยอยู่กับการความมั่งคั่ง การเอาเปรียบบนชีวิตของพลเมืองอเมริกัน

    สหรัฐฯ 'ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อผลที่ตามมาที่อันอันตราย และส่งผลกระทบในวงกว้างจากการกระทำรุกรานอิหร่าน

    อิหร่านขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติ

    ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตความเสียหายของสถานที่ผลิตนิวเคลียร์ที่จะแจ้งให้ทราบ
    แถลงการณ์บางส่วนของอารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน: 👉พรุ่งนี้อารักชีจะเดินทางมาพบกับปูตินในมอสโกช่วงบ่าย โดยกล่าวว่าจะมีการหารือกัน "อย่างจริงจัง" กับผู้นำรัสเซีย 👉"รัสเซียเป็นเพื่อนที่ดีของอิหร่าน เราปรึกษาหารือกันเสมอ" 👉การโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ด้วยตัวเองถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่อาจให้อภัยได้ ควรได้รับการประณา 👉ทรัมป์ทรยศต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของตนเอง จากการได้รับเลือกให้ยุติ "สงครามตลอดกาล" ของอเมริกาในตะวันออกกลาง แต่เขา "ยอมจำนน" ต่อความต้องการของอาชญากรสงคราม(เนทันยาฮู)ที่เป็นที่ต้องการตัว 👉ทรัมป์คุ้นเคยอยู่กับการความมั่งคั่ง การเอาเปรียบบนชีวิตของพลเมืองอเมริกัน 👉สหรัฐฯ 'ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อผลที่ตามมาที่อันอันตราย และส่งผลกระทบในวงกว้างจากการกระทำรุกรานอิหร่าน 👉อิหร่านขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติ 👉ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตความเสียหายของสถานที่ผลิตนิวเคลียร์ที่จะแจ้งให้ทราบ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 342 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีเออร์โดกันแห่งตุรกีกล่าวว่า อิหร่านมีสิทธิโดยชอบธรรม ในการป้องกันตนเองจากการโจมตีรุกรานของอิสราเอล

    และยังกล่าวถึงอิสราเอลอีกว่าเป็นเป็นรัฐที่ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยที่ไม่เคยต้องรับโทษใดๆ
    ประธานาธิบดีเออร์โดกันแห่งตุรกีกล่าวว่า อิหร่านมีสิทธิโดยชอบธรรม ในการป้องกันตนเองจากการโจมตีรุกรานของอิสราเอล และยังกล่าวถึงอิสราเอลอีกว่าเป็นเป็นรัฐที่ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยที่ไม่เคยต้องรับโทษใดๆ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 158 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • "อิหร่านจะโจมตีตอบโต้อิสราเอลต่อไป"
    รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน อับบาส อาราฆชี กล่าว

    "ในคืนแรก เราโจมตีเฉพาะฐานทัพเท่านั้น แต่เนื่องจากเมื่อคืนนี้อิสราเอลโจมตีเป้าหมายทางเศรษฐกิจของเรา นั่นจึงทำให้เราจึงโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจและโรงกลั่นในอิสราเอลกลับคืน

    การโจมตีด้วยขีปนาวุธของเราต่อเป้าหมายทางทหารและเศรษฐกิจของอิสราเอลเป็นเพียงการป้องกันตนเองและเป็นการ "ตอบโต้การรุกราน" เท่านั้น

    การนำความขัดแย้งเข้าสู่ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ที่กระทำโดยเจตนาของอิสราเอล (เมื่อคืนอิสราเอลโจมตีโรงแยกก๊าซที่ South Par บริเวณอ่าวเปอร์เซีย)

    สหรัฐฯ มีส่วนรู้เห็นในการโจมตีของระบอบการปกครองอิสราเอล และต้องรับผิดชอบ

    เรามีหลักฐานชัดเจนจากฐานทัพสหรัฐฯ ในภูมิภาคและจากปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล

    เรามีหลักฐานมากมายว่ากองกำลังสหรัฐฯ ช่วยเหลือระบอบการปกครองไซออนิสต์อย่างไร

    ระบอบการปกครองอิสราเอลพยายามขัดขวางการเจรจาเสมอมา

    แม้ว่าวันนี้ เราพร้อมที่จะเสนอข้อเสนอของเราเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ซึ่งอาจเปิดทางไปสู่ข้อตกลงได้

    เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่าระบอบการปกครองของอิสราเอลไม่ต้องการข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น

    เราไม่เชื่อคำกล่าวอ้างของสหรัฐฯ ที่บอกว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งนี้

    ในช่วงสองวันที่ผ่านมา เราได้รับข้อความจากช่องทางต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯ อ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งนี้และจะไม่เกี่ยวข้องด้วย

    อย่างที่ผมบอกไป เราไม่เชื่อคำกล่าวอ้างนี้ เพราะหลักฐานของเราพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น

    หากสหรัฐฯ อ้างเช่นนี้จริง สหรัฐฯ ควรประกาศอย่างชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ การกล่าวบนข้อความส่วนตัวยังไม่เพียงพอ

    รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องระบุจุดยืนของตนอย่างชัดเจนและประณามการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์อย่างชัดเจน"
    "อิหร่านจะโจมตีตอบโต้อิสราเอลต่อไป" รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน อับบาส อาราฆชี กล่าว "ในคืนแรก เราโจมตีเฉพาะฐานทัพเท่านั้น แต่เนื่องจากเมื่อคืนนี้อิสราเอลโจมตีเป้าหมายทางเศรษฐกิจของเรา นั่นจึงทำให้เราจึงโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจและโรงกลั่นในอิสราเอลกลับคืน การโจมตีด้วยขีปนาวุธของเราต่อเป้าหมายทางทหารและเศรษฐกิจของอิสราเอลเป็นเพียงการป้องกันตนเองและเป็นการ "ตอบโต้การรุกราน" เท่านั้น การนำความขัดแย้งเข้าสู่ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ที่กระทำโดยเจตนาของอิสราเอล (เมื่อคืนอิสราเอลโจมตีโรงแยกก๊าซที่ South Par บริเวณอ่าวเปอร์เซีย) สหรัฐฯ มีส่วนรู้เห็นในการโจมตีของระบอบการปกครองอิสราเอล และต้องรับผิดชอบ เรามีหลักฐานชัดเจนจากฐานทัพสหรัฐฯ ในภูมิภาคและจากปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล เรามีหลักฐานมากมายว่ากองกำลังสหรัฐฯ ช่วยเหลือระบอบการปกครองไซออนิสต์อย่างไร ระบอบการปกครองอิสราเอลพยายามขัดขวางการเจรจาเสมอมา แม้ว่าวันนี้ เราพร้อมที่จะเสนอข้อเสนอของเราเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ซึ่งอาจเปิดทางไปสู่ข้อตกลงได้ เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่าระบอบการปกครองของอิสราเอลไม่ต้องการข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น เราไม่เชื่อคำกล่าวอ้างของสหรัฐฯ ที่บอกว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งนี้ ในช่วงสองวันที่ผ่านมา เราได้รับข้อความจากช่องทางต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯ อ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งนี้และจะไม่เกี่ยวข้องด้วย อย่างที่ผมบอกไป เราไม่เชื่อคำกล่าวอ้างนี้ เพราะหลักฐานของเราพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น หากสหรัฐฯ อ้างเช่นนี้จริง สหรัฐฯ ควรประกาศอย่างชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ การกล่าวบนข้อความส่วนตัวยังไม่เพียงพอ รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องระบุจุดยืนของตนอย่างชัดเจนและประณามการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์อย่างชัดเจน"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • อังกฤษประกาศสนับสนุนสิทธิในการป้องกันตนเองของอิสราเอล
    อังกฤษประกาศสนับสนุนสิทธิในการป้องกันตนเองของอิสราเอล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ แบน Kaspersky ตั้งแต่กรกฎาคม 2024 เนื่องจากกังวลว่ารัฐบาลรัสเซียอาจบังคับให้บริษัทให้ข้อมูลหรือควบคุมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นี้ ส่งผลให้ Kaspersky ไม่สามารถออกอัปเดตใหม่ได้ ทำให้ผู้ใช้ที่ยังติดตั้งโปรแกรมเสี่ยงต่อมัลแวร์และช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ผู้ใช้ที่เคยติดตั้ง Kaspersky ควร ตรวจสอบว่า Windows Defender ไม่อยู่ในโหมด Passive และพิจารณาการใช้แอนติไวรัสอื่น เพื่อป้องกันภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น

    ก่อนถูกแบน Kaspersky มีส่วนแบ่งตลาดแอนติไวรัสในสหรัฐฯ สูงถึง 35%
    - หลังจากถูกแบน Kaspersky ส่งมอบลูกค้าให้ Pango Group ซึ่งติดตั้ง UltraAV เป็นบริการทดแทน
    - อย่างไรก็ตาม UltraAV ยังไม่มีคะแนนรีวิวจากห้องปฏิบัติการทดสอบแอนติไวรัสชั้นนำ และผู้ใช้หลายรายรายงานว่า ซอฟต์แวร์ทำงานไม่ดีเท่ากับ Kaspersky

    ผู้ใช้ Kaspersky ที่ยังคงใช้ซอฟต์แวร์เดิมอาจเสี่ยงต่อภัยคุกคาม
    - การแบนทำให้ Kaspersky ไม่สามารถออกแพตช์ความปลอดภัยใหม่ได้ หมายความว่าผู้ใช้ที่ยังคงติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ ไม่ได้รับการป้องกันจากมัลแวร์และช่องโหว่ใหม่ ๆ

    Windows Defender อาจยังอยู่ในโหมด Passive หากเคยติดตั้ง Kaspersky
    - ผู้ใช้ที่มี Windows ควรตรวจสอบว่า Windows Defender Antivirus ไม่ได้อยู่ในโหมด Passive เนื่องจากเมื่อ Kaspersky ถูกติดตั้ง Windows Defender จะลดระดับการทำงานลง

    แนวทางในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคาม
    - ตรวจสอบว่า ระบบป้องกันไวรัสของอุปกรณ์เปิดใช้งานและเป็นรุ่นล่าสุด
    - พิจารณาการใช้แอนติไวรัสที่มีฟีเจอร์เสริม เช่น VPN, การป้องกันฟิชชิ่ง และระบบจัดการรหัสผ่าน
    - ควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ และใช้ ตัวช่วยสร้างรหัสผ่านแบบสุ่ม

    https://www.techradar.com/pro/security/why-you-should-replace-your-kaspersky-antivirus
    สหรัฐฯ แบน Kaspersky ตั้งแต่กรกฎาคม 2024 เนื่องจากกังวลว่ารัฐบาลรัสเซียอาจบังคับให้บริษัทให้ข้อมูลหรือควบคุมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นี้ ส่งผลให้ Kaspersky ไม่สามารถออกอัปเดตใหม่ได้ ทำให้ผู้ใช้ที่ยังติดตั้งโปรแกรมเสี่ยงต่อมัลแวร์และช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ผู้ใช้ที่เคยติดตั้ง Kaspersky ควร ตรวจสอบว่า Windows Defender ไม่อยู่ในโหมด Passive และพิจารณาการใช้แอนติไวรัสอื่น เพื่อป้องกันภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ✅ ก่อนถูกแบน Kaspersky มีส่วนแบ่งตลาดแอนติไวรัสในสหรัฐฯ สูงถึง 35% - หลังจากถูกแบน Kaspersky ส่งมอบลูกค้าให้ Pango Group ซึ่งติดตั้ง UltraAV เป็นบริการทดแทน - อย่างไรก็ตาม UltraAV ยังไม่มีคะแนนรีวิวจากห้องปฏิบัติการทดสอบแอนติไวรัสชั้นนำ และผู้ใช้หลายรายรายงานว่า ซอฟต์แวร์ทำงานไม่ดีเท่ากับ Kaspersky ✅ ผู้ใช้ Kaspersky ที่ยังคงใช้ซอฟต์แวร์เดิมอาจเสี่ยงต่อภัยคุกคาม - การแบนทำให้ Kaspersky ไม่สามารถออกแพตช์ความปลอดภัยใหม่ได้ หมายความว่าผู้ใช้ที่ยังคงติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ ไม่ได้รับการป้องกันจากมัลแวร์และช่องโหว่ใหม่ ๆ ✅ Windows Defender อาจยังอยู่ในโหมด Passive หากเคยติดตั้ง Kaspersky - ผู้ใช้ที่มี Windows ควรตรวจสอบว่า Windows Defender Antivirus ไม่ได้อยู่ในโหมด Passive เนื่องจากเมื่อ Kaspersky ถูกติดตั้ง Windows Defender จะลดระดับการทำงานลง ✅ แนวทางในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคาม - ตรวจสอบว่า ระบบป้องกันไวรัสของอุปกรณ์เปิดใช้งานและเป็นรุ่นล่าสุด - พิจารณาการใช้แอนติไวรัสที่มีฟีเจอร์เสริม เช่น VPN, การป้องกันฟิชชิ่ง และระบบจัดการรหัสผ่าน - ควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ และใช้ ตัวช่วยสร้างรหัสผ่านแบบสุ่ม https://www.techradar.com/pro/security/why-you-should-replace-your-kaspersky-antivirus
    WWW.TECHRADAR.COM
    Why you should replace your Kaspersky antivirus
    Should I keep my Kaspersky antivirus in 2025?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว RIA Novosti เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ของจีนและมุมมองของปักกิ่งเกี่ยวกับนโยบายปลดอาวุธ ระหว่างเยือนมอสโก ประเทศรัสเซีย

    จีนยึดมั่นในยุทธศาสตร์การป้องกันตนเองด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และไม่เคยมีเจตนาแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์กับประเทศใด

    ปักกิ่งยังคงรักษาคลังอาวุธนิวเคลียร์ในระดับต่ำเท่าที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ

    กองกำลังนิวเคลียร์ของจีน นับว่ามีส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อสันติภาพของโลก

    การปลดอาวุธนิวเคลียร์ต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน และยึดตามหลักการไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของจีนและของประเทศใด


    จำนวนอาวุธนิวเคลียร์ของจีนยังห่างไกลจากจำนวนที่สหรัฐอเมริกาครอบครองไว้อย่างที่ไม่สามารถมาเปรียบเทียบกันได้

    ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ที่ให้จีนเข้าร่วมการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่ยุติธรรมและไม่สมจริง

    สหรัฐฯ ต้องลดบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ หยุดสร้าง "พันธมิตรนิวเคลียร์" การป้องกันขีปนาวุธระดับโลก และติดตั้งขีปนาวุธภาคพื้นดินพิสัยกลางและกองกำลังยุทธศาสตร์อื่น ๆ ใกล้ชายแดนประเทศอื่นได้แล้ว
    หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว RIA Novosti เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ของจีนและมุมมองของปักกิ่งเกี่ยวกับนโยบายปลดอาวุธ ระหว่างเยือนมอสโก ประเทศรัสเซีย ➡️ จีนยึดมั่นในยุทธศาสตร์การป้องกันตนเองด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และไม่เคยมีเจตนาแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์กับประเทศใด ➡️ ปักกิ่งยังคงรักษาคลังอาวุธนิวเคลียร์ในระดับต่ำเท่าที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ ➡️ กองกำลังนิวเคลียร์ของจีน นับว่ามีส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อสันติภาพของโลก ➡️ การปลดอาวุธนิวเคลียร์ต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน และยึดตามหลักการไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของจีนและของประเทศใด ➡️ จำนวนอาวุธนิวเคลียร์ของจีนยังห่างไกลจากจำนวนที่สหรัฐอเมริกาครอบครองไว้อย่างที่ไม่สามารถมาเปรียบเทียบกันได้ ➡️ ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ที่ให้จีนเข้าร่วมการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่ยุติธรรมและไม่สมจริง ➡️ สหรัฐฯ ต้องลดบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ หยุดสร้าง "พันธมิตรนิวเคลียร์" การป้องกันขีปนาวุธระดับโลก และติดตั้งขีปนาวุธภาคพื้นดินพิสัยกลางและกองกำลังยุทธศาสตร์อื่น ๆ ใกล้ชายแดนประเทศอื่นได้แล้ว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อเดือนธันวาคมปี 2024 ที่ผ่านมา ทีมวิเคราะห์ภัยคุกคามของ Microsoft ได้ตรวจพบแคมเปญมัลแวร์ขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เกือบ 1 ล้านเครื่องทั่วโลก การโจมตีครั้งนี้มาจากเว็บไซต์สตรีมมิ่งที่ผิดกฎหมายสองแห่ง คือ movies7 และ 0123movie ที่มีการฝังมัลแวร์ลงในโฆษณาของวิดีโอที่โฮสต์อยู่บนเว็บไซต์เหล่านี้

    แฮกเกอร์ได้ทำการแทรกโฆษณาเข้าไปในวิดีโอ ซึ่งสร้างรายได้จากการจ่ายต่อการดูหรือคลิกโฆษณา โดยมีการเปลี่ยนเส้นทางทราฟฟิกผ่านตัวเปลี่ยนเส้นทางที่เป็นอันตรายเพิ่มเติม ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะถูกนำไปยังเว็บไซต์อื่น เช่น เว็บไซต์สนับสนุนทางเทคนิคปลอม ซึ่งจะเปลี่ยนเส้นทางไปยัง GitHub ที่มีการจัดเก็บมัลแวร์

    เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดมัลแวร์ มัลแวร์จะเก็บข้อมูลระบบและติดตั้งไฟล์และสคริปต์ที่เป็นอันตรายเพิ่มเติม มัลแวร์ยังสามารถสอดแนมกิจกรรมการท่องเว็บและโต้ตอบกับเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่ เช่น Firefox, Chrome และ Edge ได้

    การโจมตีนี้ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ของผู้บริโภค แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ขององค์กรธุรกิจด้วย โชคดีที่ซอฟต์แวร์ Microsoft Defender บน Windows สามารถตรวจจับและทำเครื่องหมายมัลแวร์ที่ใช้ในการโจมตีครั้งนี้ได้

    การประกาศครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเข้าชมเว็บไซต์สตรีมมิ่งที่ผิดกฎหมายและความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ที่มีประสิทธิภาพ

    เรื่องนี้สะท้อนถึงความสำคัญของการระมัดระวังเมื่อเข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และการป้องกันตนเองด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่มีความสามารถ หวังว่าการเล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมและความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยออนไลน์ได้นะครับ

    https://www.techspot.com/news/107059-microsoft-nearly-one-million-devices-hit-malware-spread.html
    เมื่อเดือนธันวาคมปี 2024 ที่ผ่านมา ทีมวิเคราะห์ภัยคุกคามของ Microsoft ได้ตรวจพบแคมเปญมัลแวร์ขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เกือบ 1 ล้านเครื่องทั่วโลก การโจมตีครั้งนี้มาจากเว็บไซต์สตรีมมิ่งที่ผิดกฎหมายสองแห่ง คือ movies7 และ 0123movie ที่มีการฝังมัลแวร์ลงในโฆษณาของวิดีโอที่โฮสต์อยู่บนเว็บไซต์เหล่านี้ แฮกเกอร์ได้ทำการแทรกโฆษณาเข้าไปในวิดีโอ ซึ่งสร้างรายได้จากการจ่ายต่อการดูหรือคลิกโฆษณา โดยมีการเปลี่ยนเส้นทางทราฟฟิกผ่านตัวเปลี่ยนเส้นทางที่เป็นอันตรายเพิ่มเติม ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะถูกนำไปยังเว็บไซต์อื่น เช่น เว็บไซต์สนับสนุนทางเทคนิคปลอม ซึ่งจะเปลี่ยนเส้นทางไปยัง GitHub ที่มีการจัดเก็บมัลแวร์ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดมัลแวร์ มัลแวร์จะเก็บข้อมูลระบบและติดตั้งไฟล์และสคริปต์ที่เป็นอันตรายเพิ่มเติม มัลแวร์ยังสามารถสอดแนมกิจกรรมการท่องเว็บและโต้ตอบกับเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่ เช่น Firefox, Chrome และ Edge ได้ การโจมตีนี้ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ของผู้บริโภค แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ขององค์กรธุรกิจด้วย โชคดีที่ซอฟต์แวร์ Microsoft Defender บน Windows สามารถตรวจจับและทำเครื่องหมายมัลแวร์ที่ใช้ในการโจมตีครั้งนี้ได้ การประกาศครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเข้าชมเว็บไซต์สตรีมมิ่งที่ผิดกฎหมายและความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ที่มีประสิทธิภาพ เรื่องนี้สะท้อนถึงความสำคัญของการระมัดระวังเมื่อเข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และการป้องกันตนเองด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่มีความสามารถ หวังว่าการเล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมและความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยออนไลน์ได้นะครับ https://www.techspot.com/news/107059-microsoft-nearly-one-million-devices-hit-malware-spread.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Microsoft: nearly one million devices hit by malware spread through ads on illegal streaming websites
    Microsoft writes that its threat analysis team detected a large-scale malvertising campaign that impacted nearly one million devices globally in December 2024.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 259 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป
    .
    "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ
    .
    ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่
    .
    การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน
    .
    กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์
    .
    "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ
    .
    "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง
    .
    ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ
    .
    ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ
    .
    ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.)
    .
    ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ
    .
    สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้
    .
    บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
    .
    ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม
    .
    ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860
    ..............
    Sondhi X
    ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป . "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ . ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่ . การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน . กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์ . "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ . "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง . ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ . ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ . ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.) . ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ . สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้ . บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ . ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม . ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1807 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในวันเสาร์(1มี.ค.) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี อย่างอบอุ่นในกรุงลอนดอน หนึ่งวันหลังจากผู้นำยูเครน กระทบกระทั่งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ สตาร์เมอร์ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆของยุโรป แสดงจุดยืนสนับสนุนเคียฟในประเด็นพิพาทดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ย้ำข้อเรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ปกป้องยุโรป หลังมีแนวโน้มว่าอเมริกากำลังตีตัวออกห่าง
    .
    ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในวันอาทิตย์(2 มี.ค.) ในกรุงลอนดอน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนยูเครน ในขณะที่เคียฟกำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของยูเครน ทาง สตาร์เมอร์ เน้นย้ำจุดยืนของเขาต่อการหนุนหลังเคียฟ "ในความเป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตรของเรา เราต้องเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นสำหรับองค์ประกอบของยุโรปสำหรับการรับประกันความมั่นคง เช่นเดียวกับเดินหน้าหารือกับสหรัฐฯ"
    .
    สตาร์เมอร์ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ในช่วงค่ำวันเสาร์(1มี.ค.) ต่อมา "ตอนนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน ปกป้องความมั่นคงยุโรป และรับประกันอนาคตร่วมของเรา"
    .
    ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ยูเครนและสหราชอาณาจักร เปิดตัวข้อตกลงกู้ยืม 2,260 ล้านปอนด์(ราว 2,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสนับสนุนแสนยานุภาพป้องกันตนเองของยูเครน ซึ่งจะเป็นการจ่ายคืนด้วยรายได้จากทรัพย์สินของรัสเซียที่อายัดไว้ "เงินทุนนี้จะมุ่งตรงเข้าสู่การผลิตอาวุธในยูเครน" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "นี่คือความยุติธรรมอย่างแท้จริง ใครที่เป็นคนเริ่มสงคราม ต้องเป็นคนจ่าย"
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนพากันตะโกนเชียร์ ตอนที่ขบวนรถของเซเลนสกีเคลื่อนมาถึงบ้านพักนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักบนถนนดาวนิง เขาได้รับโอบกอดจาก สตาร์เมอร์ และทั้งคู่โพสท่าถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเข้าไปยังทำเนียบของผู้นำสหราชอาณาจักร
    .
    "คุณเป็นที่ต้อนรับอย่างมาก ที่นี่ในทำเนียบฯ บนถนนดาวนิง" สตาร์เมอร์บอกกับเซเลนสกี ขณะที่ เซเลนสกี ตอบกลับว่า "ผมอยากขอบคุณ คุณ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร สำหรับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสงคราม"
    .
    สตาร์เมอร์ และ เซเลนสกี ใช้เวลาพูดคุยกับแบบเป็นส่วนตัว เป็นเวลาราวๆ 75 นาที ก่อนโอบกอดกันอีกรอบ ตอนที่ สตาร์เมอร์ เดินทางมาส่ง เซเลนสกี ขึ้นรถ ทั้งนี้ผู้นำยูเครนมีกำหนดเข้าเฝ้าฯกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันอาทิตย์(2มี.ค.)
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์(1มี.ค.) เซเลนสกี เน้นย้ำว่าแรงสนับสนุนของทรัมป์ ยังคง "มีความสำคัญยิ่ง" สำหรับยูเครน แม้โต้เถียงกันหนึ่งวันก่อนหน้า เหตุกระทบกระทั่งดังกล่าวได้ก่อคลื่นความช็อกแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปของเคียฟ และยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัวต่อท่าทีใหม่ของสหรัฐฯ ที่มีกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    สตาร์เมอร์, โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ และ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำหลายชาติ ที่เน้นย้ำจุดยืนสนับสนุนเคียฟ หลังเหตุเซเลนสกีทะเลาะทรัมป์ ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เผยว่าเขาได้บอกกับ เซเลนกี ว่าจำเป็นต้องหาทางคืนสัมพันธ์อันดีกับผู้นำสหรัฐฯ
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของพวกนักการเมืองรัสเซียพากันยินดีปรีดา ในนั้นรวมถึง ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดี ที่บอกว่ามันคือสิ่งที่ผู้นำยูเครน "สมควรได้รับ"
    .
    แม้ เซเลนสกี ออกจากทำเนียบขาวโดยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน แต่เขายืนยันว่าพร้อมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว หากมันเป็นก้าวย่างแรกที่มุ่งหน้าสู่การรับประกันความมั่นคง "มันสำคัญยิ่งสำหรับเรา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรัมป์ เขาต้องการยุติสงคราม แต่ไม่มีใครต้องการสันติภาพไปมากกว่าเรา" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์
    .
    ท่ามกลางความกังวลที่มีมากขึ้นกว่า สหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนนาโตต่อไปหรือไม่ บรรดาผู้นำยุโรปมีกำหนดพบปะหารือกันในสหราชอาณาจักรในวันอาทิตย์(2มี.ค.) ซึ่งจะมีการถกกันเกี่ยวกับความจำเป็นของยุโรป ในการยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันตนเอง
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าเขาพร้อม "เปิดกว้างสำหรับการหารือ" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของยุโรป "เรามีโล่ แต่พวกเขาไม่มี" มาครง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น "และพวกเขาไม่อาจพึ่งพิงการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯได้อีกต่อไป"
    .
    ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นเพียง 2 ชาติยุโรปตะวันตก ที่มีคลังแสงนิวเคลียร์
    .
    ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า มีความจำเป็นที่ทวีปแห่งนี้ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในการบรรลุเป้าหมายเป็นเอกราชจากสหรัฐฯ ในด้านการป้องกันตนเอง
    .
    อย่างไรก็ตาม วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี สมาชิกสหภาพยุโรป พันธมิตรใกล้ชิดกับทรัมป์และวังเครมลิน ประกาศคัดค้านข้อตกลงอย่างกว้างๆใดๆของอียู เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ "ผมเชื่อว่าอียู ควรทำตามอย่างสหรัฐฯ ในการเข้าสู่การเจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในข้อตกลงหยุดยิงและสันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020226
    ..................
    Sondhi X
    เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในวันเสาร์(1มี.ค.) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี อย่างอบอุ่นในกรุงลอนดอน หนึ่งวันหลังจากผู้นำยูเครน กระทบกระทั่งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ สตาร์เมอร์ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆของยุโรป แสดงจุดยืนสนับสนุนเคียฟในประเด็นพิพาทดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ย้ำข้อเรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ปกป้องยุโรป หลังมีแนวโน้มว่าอเมริกากำลังตีตัวออกห่าง . ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในวันอาทิตย์(2 มี.ค.) ในกรุงลอนดอน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนยูเครน ในขณะที่เคียฟกำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของยูเครน ทาง สตาร์เมอร์ เน้นย้ำจุดยืนของเขาต่อการหนุนหลังเคียฟ "ในความเป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตรของเรา เราต้องเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นสำหรับองค์ประกอบของยุโรปสำหรับการรับประกันความมั่นคง เช่นเดียวกับเดินหน้าหารือกับสหรัฐฯ" . สตาร์เมอร์ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ในช่วงค่ำวันเสาร์(1มี.ค.) ต่อมา "ตอนนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน ปกป้องความมั่นคงยุโรป และรับประกันอนาคตร่วมของเรา" . ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ยูเครนและสหราชอาณาจักร เปิดตัวข้อตกลงกู้ยืม 2,260 ล้านปอนด์(ราว 2,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสนับสนุนแสนยานุภาพป้องกันตนเองของยูเครน ซึ่งจะเป็นการจ่ายคืนด้วยรายได้จากทรัพย์สินของรัสเซียที่อายัดไว้ "เงินทุนนี้จะมุ่งตรงเข้าสู่การผลิตอาวุธในยูเครน" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "นี่คือความยุติธรรมอย่างแท้จริง ใครที่เป็นคนเริ่มสงคราม ต้องเป็นคนจ่าย" . บรรดาผู้สนับสนุนพากันตะโกนเชียร์ ตอนที่ขบวนรถของเซเลนสกีเคลื่อนมาถึงบ้านพักนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักบนถนนดาวนิง เขาได้รับโอบกอดจาก สตาร์เมอร์ และทั้งคู่โพสท่าถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเข้าไปยังทำเนียบของผู้นำสหราชอาณาจักร . "คุณเป็นที่ต้อนรับอย่างมาก ที่นี่ในทำเนียบฯ บนถนนดาวนิง" สตาร์เมอร์บอกกับเซเลนสกี ขณะที่ เซเลนสกี ตอบกลับว่า "ผมอยากขอบคุณ คุณ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร สำหรับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสงคราม" . สตาร์เมอร์ และ เซเลนสกี ใช้เวลาพูดคุยกับแบบเป็นส่วนตัว เป็นเวลาราวๆ 75 นาที ก่อนโอบกอดกันอีกรอบ ตอนที่ สตาร์เมอร์ เดินทางมาส่ง เซเลนสกี ขึ้นรถ ทั้งนี้ผู้นำยูเครนมีกำหนดเข้าเฝ้าฯกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันอาทิตย์(2มี.ค.) . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์(1มี.ค.) เซเลนสกี เน้นย้ำว่าแรงสนับสนุนของทรัมป์ ยังคง "มีความสำคัญยิ่ง" สำหรับยูเครน แม้โต้เถียงกันหนึ่งวันก่อนหน้า เหตุกระทบกระทั่งดังกล่าวได้ก่อคลื่นความช็อกแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปของเคียฟ และยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัวต่อท่าทีใหม่ของสหรัฐฯ ที่มีกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน . สตาร์เมอร์, โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ และ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำหลายชาติ ที่เน้นย้ำจุดยืนสนับสนุนเคียฟ หลังเหตุเซเลนสกีทะเลาะทรัมป์ ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เผยว่าเขาได้บอกกับ เซเลนกี ว่าจำเป็นต้องหาทางคืนสัมพันธ์อันดีกับผู้นำสหรัฐฯ . อย่างไรก็ตามในส่วนของพวกนักการเมืองรัสเซียพากันยินดีปรีดา ในนั้นรวมถึง ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดี ที่บอกว่ามันคือสิ่งที่ผู้นำยูเครน "สมควรได้รับ" . แม้ เซเลนสกี ออกจากทำเนียบขาวโดยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน แต่เขายืนยันว่าพร้อมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว หากมันเป็นก้าวย่างแรกที่มุ่งหน้าสู่การรับประกันความมั่นคง "มันสำคัญยิ่งสำหรับเรา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรัมป์ เขาต้องการยุติสงคราม แต่ไม่มีใครต้องการสันติภาพไปมากกว่าเรา" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ . ท่ามกลางความกังวลที่มีมากขึ้นกว่า สหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนนาโตต่อไปหรือไม่ บรรดาผู้นำยุโรปมีกำหนดพบปะหารือกันในสหราชอาณาจักรในวันอาทิตย์(2มี.ค.) ซึ่งจะมีการถกกันเกี่ยวกับความจำเป็นของยุโรป ในการยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันตนเอง . ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าเขาพร้อม "เปิดกว้างสำหรับการหารือ" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของยุโรป "เรามีโล่ แต่พวกเขาไม่มี" มาครง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น "และพวกเขาไม่อาจพึ่งพิงการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯได้อีกต่อไป" . ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นเพียง 2 ชาติยุโรปตะวันตก ที่มีคลังแสงนิวเคลียร์ . ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า มีความจำเป็นที่ทวีปแห่งนี้ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในการบรรลุเป้าหมายเป็นเอกราชจากสหรัฐฯ ในด้านการป้องกันตนเอง . อย่างไรก็ตาม วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี สมาชิกสหภาพยุโรป พันธมิตรใกล้ชิดกับทรัมป์และวังเครมลิน ประกาศคัดค้านข้อตกลงอย่างกว้างๆใดๆของอียู เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ "ผมเชื่อว่าอียู ควรทำตามอย่างสหรัฐฯ ในการเข้าสู่การเจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในข้อตกลงหยุดยิงและสันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020226 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    22
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1826 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ตั้งข้อสงสัยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะยังอยู่ในรูปแบบในปัจจุบันต่อไปหรือไม่ ในเดือนมิถุนายนนี้ ตามหลังความเห็นของรัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมเรียกร้องยุโรปต้องสถาปนาความเป็นเอกราชด้านศักยภาพการป้องกันตนเองอย่างเร่งด่วน รับมืออเมริกาตีตัวออกห่าง
    .
    "ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ผมจะจำเป็นต้องพูดอะไรแบบนี้ในรายการโทรทัศน์หนึ่งๆ แต่หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มันชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ไม่แคร์อะไรเท่าไหร่เกี่ยวกับชะตากรรมของยุโรป" แมร์ซ บอกับสถานีโทรทัศน์เออาร์ดีของเยอรมนี หลังจากพรรคอนุรักษนิยมของเขาคว้าชัยในศึกเลือกตั้ง
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตรยุโรป ด้วยการบอกกับยุโรปว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบความมั่นคงของตนเองและพึ่งพิงสหรัฐฯ น้อยลง ในขณะเดียวกัน แถลงพูดคุยเจรจากับรัสเซีย เพื่อยุติสงครามในยูเครน โดยที่ยุโรปไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
    .
    พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เตือนบรรดาชาติยุโรปเช่นกัน "ความเป็นจริงทางยุทธศาสตร์" คือตัวขัดขวางสหรัฐฯ จากการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของยุโรป
    .
    อ้างถึงที่ประชุมซัมมิตนาโต ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ทาง แมร์ซ บอกว่าเขาจะจับตามองด้วยความอยากรู้อยากเห็น "ว่า ณ ตอนนั้น เราจะยังคงพูดเกี่ยวกับนาโตในรูปแบบปัจจุบันหรือไม่ หรือเราจะจำเป็นต้องสถาปนาศักยภาพการป้องกันตนเองที่เป็นอิสระขึ้นมา รวดเร็วกว่าเดิมมาก"
    .
    เมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) แมร์ซ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ZDF ว่าเยอรมนีจะต้องพร้อมรับมือกับข้อแม้ต่างๆ ในความเป็นไปได้ที่ ทรัมป์ อาจไม่ยึดถือคำมั่นสัญญาป้องกันตนเองร่วมกันของนาโตอีกต่อไป
    .
    เขาบอกว่านี่อาจหมายความว่าเยอรมนีอาจจำเป็นต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ น้อยลงกว่าเดิมในเรื่องเกี่ยวกับร่มนิวเคลียร์ และสนับสนุนให้มีการพูดคุยกับ 2 มหาอำนาจนิวเคลียร์ยุโรป อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี เกี่ยวกับการขยายขอบเขตการคุ้มครองทางนิวเคลียร์
    .
    รอยเตอร์รายงานว่า แมร์ซ มีความเป็นสายเหยี่ยวในเรื่องรัสเซีย มากกว่า โอลาฟ โชลซ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี เขาเคยชี้บ่งชี้ว่าภายใต้การบริหารงานของเขา เยอรมนีอาจส่งขีปนาวุธพิสัยกลาง "ทอรัส" ไปให้เคียฟ บางอย่างที่ โชลซ์ ปฏิเสธอย่างแข็งกร้าว
    .
    ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) แมร์ซ พูดไปในทิศทางเดียวกับโรเบิร์ต ฮาเบ็ค รักษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ที่เตือนว่า "เวลานี้ในอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างมากจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อเมริกาไม่ได้แค่ทิ้งยุโรปไว้เพียงลำพัง แต่ดำเนินการต่างๆ สวนทางกับยุโรปด้วย" ฮาเบ็ค
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018014
    ..............
    Sondhi X
    ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ตั้งข้อสงสัยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะยังอยู่ในรูปแบบในปัจจุบันต่อไปหรือไม่ ในเดือนมิถุนายนนี้ ตามหลังความเห็นของรัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมเรียกร้องยุโรปต้องสถาปนาความเป็นเอกราชด้านศักยภาพการป้องกันตนเองอย่างเร่งด่วน รับมืออเมริกาตีตัวออกห่าง . "ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ผมจะจำเป็นต้องพูดอะไรแบบนี้ในรายการโทรทัศน์หนึ่งๆ แต่หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มันชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ไม่แคร์อะไรเท่าไหร่เกี่ยวกับชะตากรรมของยุโรป" แมร์ซ บอกับสถานีโทรทัศน์เออาร์ดีของเยอรมนี หลังจากพรรคอนุรักษนิยมของเขาคว้าชัยในศึกเลือกตั้ง . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตรยุโรป ด้วยการบอกกับยุโรปว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบความมั่นคงของตนเองและพึ่งพิงสหรัฐฯ น้อยลง ในขณะเดียวกัน แถลงพูดคุยเจรจากับรัสเซีย เพื่อยุติสงครามในยูเครน โดยที่ยุโรปไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย . พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เตือนบรรดาชาติยุโรปเช่นกัน "ความเป็นจริงทางยุทธศาสตร์" คือตัวขัดขวางสหรัฐฯ จากการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของยุโรป . อ้างถึงที่ประชุมซัมมิตนาโต ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ทาง แมร์ซ บอกว่าเขาจะจับตามองด้วยความอยากรู้อยากเห็น "ว่า ณ ตอนนั้น เราจะยังคงพูดเกี่ยวกับนาโตในรูปแบบปัจจุบันหรือไม่ หรือเราจะจำเป็นต้องสถาปนาศักยภาพการป้องกันตนเองที่เป็นอิสระขึ้นมา รวดเร็วกว่าเดิมมาก" . เมื่อวันศุกร์ (21 ก.พ.) แมร์ซ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ZDF ว่าเยอรมนีจะต้องพร้อมรับมือกับข้อแม้ต่างๆ ในความเป็นไปได้ที่ ทรัมป์ อาจไม่ยึดถือคำมั่นสัญญาป้องกันตนเองร่วมกันของนาโตอีกต่อไป . เขาบอกว่านี่อาจหมายความว่าเยอรมนีอาจจำเป็นต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ น้อยลงกว่าเดิมในเรื่องเกี่ยวกับร่มนิวเคลียร์ และสนับสนุนให้มีการพูดคุยกับ 2 มหาอำนาจนิวเคลียร์ยุโรป อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี เกี่ยวกับการขยายขอบเขตการคุ้มครองทางนิวเคลียร์ . รอยเตอร์รายงานว่า แมร์ซ มีความเป็นสายเหยี่ยวในเรื่องรัสเซีย มากกว่า โอลาฟ โชลซ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี เขาเคยชี้บ่งชี้ว่าภายใต้การบริหารงานของเขา เยอรมนีอาจส่งขีปนาวุธพิสัยกลาง "ทอรัส" ไปให้เคียฟ บางอย่างที่ โชลซ์ ปฏิเสธอย่างแข็งกร้าว . ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) แมร์ซ พูดไปในทิศทางเดียวกับโรเบิร์ต ฮาเบ็ค รักษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ที่เตือนว่า "เวลานี้ในอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปอย่างมากจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อเมริกาไม่ได้แค่ทิ้งยุโรปไว้เพียงลำพัง แต่ดำเนินการต่างๆ สวนทางกับยุโรปด้วย" ฮาเบ็ค . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018014 .............. Sondhi X
    Like
    Yay
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2232 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้
    .
    เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย
    .
    ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต"
    .
    เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา
    .
    ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
    .
    ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน
    .
    ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป
    .
    ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ"
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2"
    .
    อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด"
    .
    ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ
    .
    สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อนหน้าวาระครบ 3 ปีแห่งการรุกรานของรัสเซีย ระบุเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูเครน หากมันหมายความว่านาโตจะอ้าแขนรับเคียฟเข้าสู่พันธมิตรทหารแห่งนี้ . เซเลนสกี ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ บอกด้วยว่าเขาต้องการพูดคุยกับโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีอเมริกา จะมีการประชุมร่วมกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย . ที่ผ่านมา เซเลนสกี เรียกร้องให้ยูเครนได้รับการอนุมัติสถานภาพความเป็นสมาชิกของนาโต ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงคราม แต่พันธมิตรทหารแห่งนี้ที่นำโดยวอชิงตันลังเลที่จะรับปากในเรื่องดังกล่าว "ถ้ามันก่อสันติภาพสำหรับยูเครน ถ้าคุณอยากให้ผมออกจากตำแหน่งของผมจริงๆ ผมก็พร้อม" เซเลสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงเคียฟ "ผมสามารถแลกมันกับนาโต" . เซเลนสกีและทรัมป์ ทำสงครามน้ำลายกันมาตั้งแต่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และรัสเซียพบปะกันในซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการพูดคุยในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ชาติในรอบกว่า 3 ปี ความเคลื่อนไหวนี้บ่อนทำลายนโยบายโดดเดี่ยวเครมลินของตะวันตก และก่อความขุ่นเคืองแก่พวกผู้นำยูเครนและยุโรปที่ถูกกีดกันออกจากโต๊ะเจรจา . ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และกล่าวหายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม และอ้างว่าผู้นำยูเครนไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศ . ประธานาธิบดีเซเลนสกี บอกว่าเขาไม่รู้สึกขุ่นเคืองต่อความเห็นของทรัมป์ และพร้อมทดสอบคะแนนนิยมของเขาในศึกเลือกตั้ง ครั้งที่กฎอัยการศึกสิ้นสุดลงในยูเครน "สิ่งที่ผมต้องการจากทรัมป์ คืออยากทำความเข้าใจกันและกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า "การรับประกันความมั่นคง" จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก . ผู้นำยูเครนยังเรียกร้องขอประชุมร่วมกับทรัมป์ ก่อนที่ทรัมป์จะพูดคุยเจรจาใดๆ กับปูติน พร้อมอ้างว่ามีความคืบหน้าในข้อตกลงที่จะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรสำคัญๆ ของยูเครน . ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) ดูเหมือนว่าพวกผู้นำยุโรปเริ่มปรับท่าทียอมรับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึง ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่คว้าชัยในศึกเลือกตั้งเยอรมนี บอกว่าเขาจะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ กับศักยภาพการป้องกันตนเองของยุโรป . ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าเขากำลังตั้งตาคอยทำงานร่วมกับ แมร์ซ ในช่วงเวลาสำคัญแห่งความมั่นคงร่วม "มันเป็นเรื่องสำคัญที่ยุโปต้องยกระดับการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง และความเป็นผู้นำของคุณจะเป็นกุญแจสำคัญ" . ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ เพื่อเรียกร้องให้เดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป . ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) วังเครมลินยกย่องการเลียบเคียงทางการทูตระหว่างทรัมป์กับปูติน โดยทางโฆษก ดมิทรี เปสคอฟ เรียกการพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีทั้ง 2 ว่ามีความหวัง "มันสำคัญที่ต้องไม่มีอะไรขัดขวางเราจากความเป็นจริงแห่งเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำทั้ง 2" . อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะยอมสละดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ในขณะเดียวกันมอสโกก็ปฏิเสธซ้ำๆ เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน "ประชาชนเหล่านี้ตัดสินใจเข้าร่วมรัสเซียนานแล้ว" อ้างถึงการลงประชามติที่จัดโดยรัสเซีย ในแคว้นต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน ที่ถูกเคียฟ ตะวันตกและพวกนักสังเกตการณ์นานาชาติประณามว่าเป็นประชามติจอมปลอม "ไม่มีใครจะขายดินแดนเหล่านี้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด" . ในส่วนของปูติน ได้แสดงความคิดเห็นก่อนวาระครบ 3 ปีของปฏิบัติการพิเศษด้านการทหารของเขาในยูเครน บอกว่า "พระเจ้า" อยู่เบื้องหลังภารกิจปกป้องรัสเซีย "ชะตากรรมปรารถนาเช่นนั้น พระเจ้าก็ปรารถนาเช่นนั้น ผมก็อาจปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน มันเป็นภารกิจที่ยากลำบากแต่เป็นภารกิจที่ทรงเกียรติในการปกป้องรัสเซีย มันเป็นภาระที่วางอยู่บนบ่าของเราและพวกคุณร่วมกัน" เขาบอกกับกำลังพลที่สู้รบในยูเครน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียใช้โดรนโจมตียูเครน มากสุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 267 ลำ ในคืนวันเสาร์ (22 ก.พ.) จนถึงวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) จากคำกล่าวอ้างของกองกำลังเคียฟ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วถูกสอยร่วงหรือโดนสกัดไว้ได้ และไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงใดๆ . สำนักข่าวทาสส์นิวส์ รายงานว่าคณะผู้แทนทูตสหรัฐฯ และรัสเซีย จะพบปะกันในสัปดาห์หน้า ตามด้วยการเจรจาในกรุงริยาด ระหว่าง เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประทศรัสเซีย และ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วมีรายงานด้วยว่าเวลานี้ ลาฟรอฟ ได้เดินทางถึงตุรกีแล้ว สำหรับพูดคุยกับ ฮาคาน ไฟซาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีในวันจันทร์ (24 ก.พ.) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000017983 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1801 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนเรียกร้องสหรัฐฯ "แก้ไขความผิดพลาด" หลังจากกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาถอดถ้อยคำ "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แม้ทางวอชิงตันอ้างว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตตามปกติ
    .
    กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงไว้ซึ่งจุดยืนของวอชิงตันในการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้งไต้หวันและจีน ซึ่งอ้างว่าเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    อย่างไรก็ตาม ในการอัปเดตดังกล่าว ได้มีการลบถ้อยคำ "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป พร้อมอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับเพนตากอน ในด้านโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ และบอกว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนสถานภาพสมาชิกของไต้หวันในองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลายตามความเหมาะสม
    .
    ที่ผ่านมา ปักกิ่งออกมาประณามเป็นประจำ ต่อความเคลื่อนไหวให้การรับรองไต้หวันในระดับสากล หรือการติดต่อระหว่างพวกเจ้าหน้าที่ไต้หวันกับเจ้าหน้าที่ต่างชาติ มองว่ามันเป็นการสนับสนุนสถานะแยกดินแดนของไต้หวันออกจากจีน
    .
    การอัปเดตบนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีขึ้นราว 3 สัปดาห์ หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัย 2
    .
    กัว เจียคุน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่าการแก้ไขใหม่เกี่ยวกับไต้หวัน บนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่ และเป็นการ "ส่งข้อความผิดๆ อย่างร้ายแรงถึงกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเอกราชไต้หวัน"
    .
    "มันเป็นตัวอย่างอีกครั้งของความดื้อดึงของสหรัฐฯ ในการยึดถือนโยบายผิดพลาดแห่งการใช้ไต้หวันกดขี่จีน เราเรียกร้องให้ฝ่ายอเมริกาแก้ไขความผิดพลาดในทันที" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ
    .
    สหรัฐฯ ก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน แต่พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนระดับนานาชาติที่เข้มแข็งที่สุด มีพันธสัญญาภายใต้กฎหมายที่ต้องมอบหนทางแห่งการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้
    .
    "เป็นไปตามปกติ มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเพื่อแจ้งกับสาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของเรากับไต้หวัน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในช่วงค่ำวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) "สหรัฐฯ ยังคงมีพันธสัญญาต่อนโยบายจีนเดียว" อ้างถึงจุดยืนอย่างเป็นทางการของวอชิงตัน ที่ไม่รับรองเอกราชไต้หวัน และยอมรับแต่เพียงสถานะของจีนในประเด็นนี้
    .
    อย่างไรก็ตาม โฆษกรายนี้บอกว่า "สหรัฐฯ มุ่งมั่นสงวนไว้ซึ่งสันติภาพแลเเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวต่อสถานภาพปัจจุบันไม่ว่าจะจากฝ่ายไหน เราสนับสนุนการเจรจาข้ามช่องแคบ และเราคาดหมายว่าความเห็นต่างข้ามช่องแคบจะคลี่คลายด้วยวิธีทางแห่งสันติ ปราศจากการกดขี่ ในแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนจาก 2 ฟากฝั่งของช่องแคบ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015975
    ..............
    Sondhi X
    จีนเรียกร้องสหรัฐฯ "แก้ไขความผิดพลาด" หลังจากกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาถอดถ้อยคำ "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แม้ทางวอชิงตันอ้างว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตตามปกติ . กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงไว้ซึ่งจุดยืนของวอชิงตันในการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้งไต้หวันและจีน ซึ่งอ้างว่าเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . อย่างไรก็ตาม ในการอัปเดตดังกล่าว ได้มีการลบถ้อยคำ "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป พร้อมอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับเพนตากอน ในด้านโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ และบอกว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนสถานภาพสมาชิกของไต้หวันในองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลายตามความเหมาะสม . ที่ผ่านมา ปักกิ่งออกมาประณามเป็นประจำ ต่อความเคลื่อนไหวให้การรับรองไต้หวันในระดับสากล หรือการติดต่อระหว่างพวกเจ้าหน้าที่ไต้หวันกับเจ้าหน้าที่ต่างชาติ มองว่ามันเป็นการสนับสนุนสถานะแยกดินแดนของไต้หวันออกจากจีน . การอัปเดตบนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีขึ้นราว 3 สัปดาห์ หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัย 2 . กัว เจียคุน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่าการแก้ไขใหม่เกี่ยวกับไต้หวัน บนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่ และเป็นการ "ส่งข้อความผิดๆ อย่างร้ายแรงถึงกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเอกราชไต้หวัน" . "มันเป็นตัวอย่างอีกครั้งของความดื้อดึงของสหรัฐฯ ในการยึดถือนโยบายผิดพลาดแห่งการใช้ไต้หวันกดขี่จีน เราเรียกร้องให้ฝ่ายอเมริกาแก้ไขความผิดพลาดในทันที" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ . สหรัฐฯ ก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน แต่พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนระดับนานาชาติที่เข้มแข็งที่สุด มีพันธสัญญาภายใต้กฎหมายที่ต้องมอบหนทางแห่งการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ . "เป็นไปตามปกติ มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเพื่อแจ้งกับสาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของเรากับไต้หวัน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในช่วงค่ำวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) "สหรัฐฯ ยังคงมีพันธสัญญาต่อนโยบายจีนเดียว" อ้างถึงจุดยืนอย่างเป็นทางการของวอชิงตัน ที่ไม่รับรองเอกราชไต้หวัน และยอมรับแต่เพียงสถานะของจีนในประเด็นนี้ . อย่างไรก็ตาม โฆษกรายนี้บอกว่า "สหรัฐฯ มุ่งมั่นสงวนไว้ซึ่งสันติภาพแลเเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวต่อสถานภาพปัจจุบันไม่ว่าจะจากฝ่ายไหน เราสนับสนุนการเจรจาข้ามช่องแคบ และเราคาดหมายว่าความเห็นต่างข้ามช่องแคบจะคลี่คลายด้วยวิธีทางแห่งสันติ ปราศจากการกดขี่ ในแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนจาก 2 ฟากฝั่งของช่องแคบ" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015975 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1905 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไต้หวันยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีการอัปเดตใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป
    .
    สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน
    .
    ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆ แล้ว ในการอัปเดตล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้
    .
    อย่างไรก็ตาม บนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม"
    .
    กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัปเดตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ
    .
    หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ
    .
    สถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัปเดตดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี
    .
    "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมติฐานต่างๆ ที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ
    .
    ไต้หวันพยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน
    .
    ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์ (14 ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯ และด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดักเตอร์ของเกาะแห่งนี้
    .
    ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ ถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น
    .
    ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง
    .
    ไต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015544
    ..............
    Sondhi X
    ไต้หวันยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีการอัปเดตใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป . สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน . ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆ แล้ว ในการอัปเดตล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ . อย่างไรก็ตาม บนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม" . กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัปเดตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ . หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ . สถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัปเดตดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี . "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมติฐานต่างๆ ที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ . ไต้หวันพยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน . ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์ (14 ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯ และด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดักเตอร์ของเกาะแห่งนี้ . ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ ถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น . ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง . ไต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015544 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1813 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไต้หวันในวันอาทิตย์(16ก.พ.) ยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่มีการอัพเดทใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป

    สหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน

    ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน

    นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆแล้ว ในการอัทเดทล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้

    อย่างไรก็ตามบนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม"

    กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัพเดทเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ

    หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่้นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ

    สถาบันอเมริกาในไต้หวัน(AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัพเดทดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี

    "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมุติฐานต่างๆที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ

    ไต้หวัน พยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน

    ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา

    ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯและด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดัคเตอร์ของเกาะแห่งนี้

    ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น

    ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง

    หต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้

    (ที่มา:เอเอฟพี)
    https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.36XB67E
    ไต้หวันในวันอาทิตย์(16ก.พ.) ยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่มีการอัพเดทใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป สหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆแล้ว ในการอัทเดทล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามบนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม" กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัพเดทเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่้นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ สถาบันอเมริกาในไต้หวัน(AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัพเดทดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมุติฐานต่างๆที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ ไต้หวัน พยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯและด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดัคเตอร์ของเกาะแห่งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง หต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้ (ที่มา:เอเอฟพี) https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.36XB67E
    FACTCHECK.AFP.COM
    Posts falsely claim Trump administration changed Taiwan webpage
    Various US government websites have been scrubbed of key information since Donald Trump began his second term, but the State Department has not overhauled its Taiwan factsheet webpage as of February 14. Social media posts alleging the page had been altered falsely shared a screenshot from an older version of the site that was changed under former president Joe Biden.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 564 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น
    .
    เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง"
    .
    ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป
    .
    "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป"
    .
    เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ"
    .
    เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน
    .
    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน"
    .
    ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา
    .
    จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน
    .
    ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้
    .
    ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ
    .
    เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป"
    .
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321
    ..................
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น . เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง" . ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป . "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป" . เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ" . เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน . อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน" . ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา . จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน . ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้ . ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ . เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป" . อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    Sad
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2053 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ"
    .
    "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว
    .
    ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี
    .
    เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี
    .
    ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก"
    .
    ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป
    .
    สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล
    .
    ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน
    .
    นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์
    .
    อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก
    .
    "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ" . "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว . ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี . เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี . ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก" . ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป . สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย . อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล . ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน . นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์ . อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก . "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    10
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2189 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง
    .
    แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท"
    .
    การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
    .
    "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม
    .
    ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต
    .
    ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก
    .
    โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ
    .
    เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง
    .
    สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง . แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท" . การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา . "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม . ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว . ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต . ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ . ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก . โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ . เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง . สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2530 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้
    .
    ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้
    .
    หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง
    .
    ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า
    .
    ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ
    .
    รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้
    .
    ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้
    .
    ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
    .
    ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส
    .
    ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    .
    "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692
    ..............
    Sondhi X
    เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้ . ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ . หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง . ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า . ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ . รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ . ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้ . ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา . ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย . ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส . ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน . "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1583 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแผนยกระดับการส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารของอเมริกาที่ป้อนแก่ไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดกับจีน ซึ่งกล่าวอ้างว่าเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน จากคำยืนยันของ ไมค์ วอลต์ซ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ
    .
    ระหว่างกล่าว ณ สถาบันสันติภาพในวอชิงตัน เมื่อวันอังคาร(14ม.ค.) วอลต์ซ สมาชิกสภาคองเกรสจากฟลอริดา เน้นย้ำว่า "เรามีสินค้าคงค้างกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่พวกเขาจ่ายเงินมา และเราจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้พวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขายอมควักเงินเพื่อสิ่งนี้ ที่เรียกว่ามาตรการป้องปราม"
    .
    วอลต์ซ ยังยืนยันด้วยว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ จะเดินหน้าแสวงหานโยบายครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับไต้หวัน ยุทธศาสตร์นี้รวมไปถึงการติดตั้งแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ อาทิระบบขีปนาวุธเคลื่อนที่ โดรนและเทคโนโลยีสอดแนมล้ำสมัย ที่จะทำให้จีนแผ่นดินใหญ่อาจต้องทุ่มทุนมากกว่าเดิม หากคิดใช้กำลังเข้าควบคุมไต้หวัน
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของไต้หวัน แถลงว่ามีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี โดยเผยว่าพวกเขาจะติดตั้งระบบอาวุธ NASAMS ที่ผลิตโดยนอร์เวย์ ในตำแหน่งต่างๆที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทางเหนือของเกาะ
    .
    ปักกิ่งมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" และยืนยันว่าท้ายที่สุดจะมีการรวมชาติ ในนั้นรวมถึงผ่านการใช้กำลังถ้าจำเป็น นอกจากนี้แล้ว จีน ยังส่งเสียงคัดค้านซ้ำๆต่อการแทรกแซงใดๆของต่างชาติในประเด็นนี้ ในนั้นรวมถึงการที่สหรัฐฯขายอาวุธแก่ไต้หวัน โดยปักกิ่งมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยของพวกเขาและคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาค
    .
    ไต้หวัน ปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี 1949 ครั้งกองกำลังชาตินิยมล่าถอยไปยังเกาะแห่งนี้ หลังจากพ่ายแพ้ในสงคามกลางเมืองของจีน ปัจจุบันเหลือไม่กี่ประเทศที่ให้การยอมรับอธิปไตยของเกาะ และเกือบทั่วโลก ยึดถือจุดยืนของจีน ที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของสหรัฐฯ แม้อย่างเป็นทางการแล้ว ยืดถือนโยบายจีนเดียว แต่ยังคงป้อนอาวุธให้แก่เกาะแห่งนี้ และประสานความร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลในไทเป
    .
    จีน ประณามซ้ำๆต่อกรณีสหรัฐฯขายอาวุธให้ไต้หวัน ว่าบั่นทอนเสถียรภาพและยั่วยุ และทำการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศถี่ๆรอบๆเกาะ เป็นการตอบโต้
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน จีนกำหนดมาตรการคว่ำบาตรบริษัทกลาโหม 7 แห่งของสหรัฐฯ และสั่งแบนส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ในทั้งทางพาณิยช์และด้านการทหาร ไปยังบรรดาบริษัทอเมริกา ในนั้นรวมถึงโบอิ้ง, เจเนรัล ไดนามิกส์, ล็อคฮีด มาร์ติน และ เรย์เธียน ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก โจ ไบเดน ประธานาธิบดีที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง อนุมัติจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมแก่ไต้หวัน อีก 571 ล้านดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004692
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแผนยกระดับการส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารของอเมริกาที่ป้อนแก่ไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดกับจีน ซึ่งกล่าวอ้างว่าเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน จากคำยืนยันของ ไมค์ วอลต์ซ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ . ระหว่างกล่าว ณ สถาบันสันติภาพในวอชิงตัน เมื่อวันอังคาร(14ม.ค.) วอลต์ซ สมาชิกสภาคองเกรสจากฟลอริดา เน้นย้ำว่า "เรามีสินค้าคงค้างกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่พวกเขาจ่ายเงินมา และเราจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้พวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขายอมควักเงินเพื่อสิ่งนี้ ที่เรียกว่ามาตรการป้องปราม" . วอลต์ซ ยังยืนยันด้วยว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ จะเดินหน้าแสวงหานโยบายครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับไต้หวัน ยุทธศาสตร์นี้รวมไปถึงการติดตั้งแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ อาทิระบบขีปนาวุธเคลื่อนที่ โดรนและเทคโนโลยีสอดแนมล้ำสมัย ที่จะทำให้จีนแผ่นดินใหญ่อาจต้องทุ่มทุนมากกว่าเดิม หากคิดใช้กำลังเข้าควบคุมไต้หวัน . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของไต้หวัน แถลงว่ามีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี โดยเผยว่าพวกเขาจะติดตั้งระบบอาวุธ NASAMS ที่ผลิตโดยนอร์เวย์ ในตำแหน่งต่างๆที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทางเหนือของเกาะ . ปักกิ่งมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" และยืนยันว่าท้ายที่สุดจะมีการรวมชาติ ในนั้นรวมถึงผ่านการใช้กำลังถ้าจำเป็น นอกจากนี้แล้ว จีน ยังส่งเสียงคัดค้านซ้ำๆต่อการแทรกแซงใดๆของต่างชาติในประเด็นนี้ ในนั้นรวมถึงการที่สหรัฐฯขายอาวุธแก่ไต้หวัน โดยปักกิ่งมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยของพวกเขาและคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาค . ไต้หวัน ปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี 1949 ครั้งกองกำลังชาตินิยมล่าถอยไปยังเกาะแห่งนี้ หลังจากพ่ายแพ้ในสงคามกลางเมืองของจีน ปัจจุบันเหลือไม่กี่ประเทศที่ให้การยอมรับอธิปไตยของเกาะ และเกือบทั่วโลก ยึดถือจุดยืนของจีน ที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน . อย่างไรก็ตามในส่วนของสหรัฐฯ แม้อย่างเป็นทางการแล้ว ยืดถือนโยบายจีนเดียว แต่ยังคงป้อนอาวุธให้แก่เกาะแห่งนี้ และประสานความร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลในไทเป . จีน ประณามซ้ำๆต่อกรณีสหรัฐฯขายอาวุธให้ไต้หวัน ว่าบั่นทอนเสถียรภาพและยั่วยุ และทำการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศถี่ๆรอบๆเกาะ เป็นการตอบโต้ . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน จีนกำหนดมาตรการคว่ำบาตรบริษัทกลาโหม 7 แห่งของสหรัฐฯ และสั่งแบนส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ในทั้งทางพาณิยช์และด้านการทหาร ไปยังบรรดาบริษัทอเมริกา ในนั้นรวมถึงโบอิ้ง, เจเนรัล ไดนามิกส์, ล็อคฮีด มาร์ติน และ เรย์เธียน ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก โจ ไบเดน ประธานาธิบดีที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง อนุมัติจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมแก่ไต้หวัน อีก 571 ล้านดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004692 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1870 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไต้หวันมีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ล้ำสมัยจากสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ จากคำแถลงของกระทรวงกลาโหม ตามรายงานข่าวของไทเปนิวส์ พร้อมระบุว่า ระบบขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศล้ำสมัย NASAMS จะถูกติดตั้งในตำแหน่งต่างๆ ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทางเหนือของเกาะ ในนั้นรวมถึงเขตซงซานของไทเป และเขตตั้นสุ่ย ในนิวไทเป
    .
    NASAMS ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาตินอร์เวย์ สามารถใช้จัดการกับเครื่องบิน อากาศยานไร้คนขับและขีปนาวุธร่อน มันเป็นระบบที่บูรณาการเทคโนโลยีเรดาร์ล้ำสมัยเข้ากับระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีทางทหาร สำหรับตอบโต้ภัยคุกคามทางอากาศต่างๆ
    .
    สำนักงานความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (DSCA) อนุมัติขายระบบ NASAMS จำนวน 3 ชุด แก่ไต้หวัน ส่วนหนึ่งในแพกเกจอาวุธ 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่แถลงออกมาเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ซึ่งถือเป็นการอนุมัติขายอาวุธแก่ไต้หวันเป็นครั้งที่ 17 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
    .
    กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่า การประจำการอาวุธดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเสริมความเข้มแข็งแก่ศักยภาพด้านการป้องกันตนเอง ตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวทางทหารที่เพิ่มขึ้นของจีน ในบริเวณช่องแคบไต้หวัน ทั้งนี้ NASAMS จะช่วยเสริมระบบป้องกันภัยทางอากาศต่างๆ ที่ไต้หวันมีอยู่ในปัจจุบัน ในนั้นรวมถึง Sky Sword II และ Sky Bow รวมไปถึงระบบขีปนาวุธล้ำสมัยแพทริออต PAC-3
    .
    นอกจากนี้ ไต้หวันยังลงนามสำหรับจัดหาระบบเรดาร์ electronic array แบบทั้ง L-band และไม่ใช่ L-band ซึ่งออกแบบมาเพื่อปรับปรุงอัตราการตรวจจับและต่อต้านการส่งสัญญาณรบกวน ระบบเรดาร์นี้จะถูกกระจายไปทั่วเกาะ มอบการป้องกันอย่างครอบคลุม ในขณะที่มีรายงานว่าทางกระทรวงจัดสรรงบประมาณสำหรับสัญญาณซื้อ NASAMS และเรดาร์ ไว้ที่ 737 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    .
    คำแถลงนี้มีขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดขั้่นสูงระหว่างปักกิ่งและไทเป เกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของไต้หวัน โดยจีนมองเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นมณฑลหนึ่งของพวกเขาที่แยกตัวออกไป และประกาศจะทำการร่วมชาติกับไต้หวัน ในนั้นรวมถึงการใช้กำลังถ้าจำเป็น อย่างไรก็ตาม ไทเปปฏิเสธคำกล่าวอ้างของปักกิ่ง และยืนยันเกี่ยวกับอธิปไตยของตนเอง
    .
    รัฐบาลในไทเปประณามเกี่ยวกับการซ้อมรบทางทหารของปักกิ่งใกล้เกาะแห่งนี้ ที่ชักถี่ขึ้นในช่วงหลัง ว่าเป็นการยั่วยุและบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค
    .
    แม้สหรัฐฯ ยึดถืออย่างเป็นทางการต่อนโยบายจีนเดียว รับรองคำกล่าวอ้างของปักกิ่งที่มีเหนือไต้หวัน แต่พวกเขายังคงเดินหน้าขายอาวุธแก่เกาะแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม อเมริกาเพิ่งอนุมัติร่างกฎหมายกลาโหมฉบับหนึ่งมูลค่า 895,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในนั้นรวมถึงมาตรการต่างๆ ที่มีเจตนายกระดับสนับสนุนไทเป
    .
    ปักกิ่งคัดค้านอย่างแข็งกร้าวต่อความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ เล่นงานบริษัทกลาโหมอเมริกา 7 แห่งในเดือนธันวาคม และเมื่อช่วงต้นเดือน ได้แบนห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ทั้งทางพลเรือนและทางทหารจำนวน 28 รายการ แก่เหล่าซัปพลายเออร์ของกองทัพอเมริกา อ้างว่ามีการละเมิดหลักการจีนเดียว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003316
    ..............
    Sondhi X
    ไต้หวันมีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ล้ำสมัยจากสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ จากคำแถลงของกระทรวงกลาโหม ตามรายงานข่าวของไทเปนิวส์ พร้อมระบุว่า ระบบขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศล้ำสมัย NASAMS จะถูกติดตั้งในตำแหน่งต่างๆ ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทางเหนือของเกาะ ในนั้นรวมถึงเขตซงซานของไทเป และเขตตั้นสุ่ย ในนิวไทเป . NASAMS ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาตินอร์เวย์ สามารถใช้จัดการกับเครื่องบิน อากาศยานไร้คนขับและขีปนาวุธร่อน มันเป็นระบบที่บูรณาการเทคโนโลยีเรดาร์ล้ำสมัยเข้ากับระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีทางทหาร สำหรับตอบโต้ภัยคุกคามทางอากาศต่างๆ . สำนักงานความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (DSCA) อนุมัติขายระบบ NASAMS จำนวน 3 ชุด แก่ไต้หวัน ส่วนหนึ่งในแพกเกจอาวุธ 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่แถลงออกมาเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ซึ่งถือเป็นการอนุมัติขายอาวุธแก่ไต้หวันเป็นครั้งที่ 17 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน . กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่า การประจำการอาวุธดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเสริมความเข้มแข็งแก่ศักยภาพด้านการป้องกันตนเอง ตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวทางทหารที่เพิ่มขึ้นของจีน ในบริเวณช่องแคบไต้หวัน ทั้งนี้ NASAMS จะช่วยเสริมระบบป้องกันภัยทางอากาศต่างๆ ที่ไต้หวันมีอยู่ในปัจจุบัน ในนั้นรวมถึง Sky Sword II และ Sky Bow รวมไปถึงระบบขีปนาวุธล้ำสมัยแพทริออต PAC-3 . นอกจากนี้ ไต้หวันยังลงนามสำหรับจัดหาระบบเรดาร์ electronic array แบบทั้ง L-band และไม่ใช่ L-band ซึ่งออกแบบมาเพื่อปรับปรุงอัตราการตรวจจับและต่อต้านการส่งสัญญาณรบกวน ระบบเรดาร์นี้จะถูกกระจายไปทั่วเกาะ มอบการป้องกันอย่างครอบคลุม ในขณะที่มีรายงานว่าทางกระทรวงจัดสรรงบประมาณสำหรับสัญญาณซื้อ NASAMS และเรดาร์ ไว้ที่ 737 ล้านดอลลาร์สหรัฐ . คำแถลงนี้มีขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดขั้่นสูงระหว่างปักกิ่งและไทเป เกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของไต้หวัน โดยจีนมองเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นมณฑลหนึ่งของพวกเขาที่แยกตัวออกไป และประกาศจะทำการร่วมชาติกับไต้หวัน ในนั้นรวมถึงการใช้กำลังถ้าจำเป็น อย่างไรก็ตาม ไทเปปฏิเสธคำกล่าวอ้างของปักกิ่ง และยืนยันเกี่ยวกับอธิปไตยของตนเอง . รัฐบาลในไทเปประณามเกี่ยวกับการซ้อมรบทางทหารของปักกิ่งใกล้เกาะแห่งนี้ ที่ชักถี่ขึ้นในช่วงหลัง ว่าเป็นการยั่วยุและบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค . แม้สหรัฐฯ ยึดถืออย่างเป็นทางการต่อนโยบายจีนเดียว รับรองคำกล่าวอ้างของปักกิ่งที่มีเหนือไต้หวัน แต่พวกเขายังคงเดินหน้าขายอาวุธแก่เกาะแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม อเมริกาเพิ่งอนุมัติร่างกฎหมายกลาโหมฉบับหนึ่งมูลค่า 895,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในนั้นรวมถึงมาตรการต่างๆ ที่มีเจตนายกระดับสนับสนุนไทเป . ปักกิ่งคัดค้านอย่างแข็งกร้าวต่อความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ เล่นงานบริษัทกลาโหมอเมริกา 7 แห่งในเดือนธันวาคม และเมื่อช่วงต้นเดือน ได้แบนห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ทั้งทางพลเรือนและทางทหารจำนวน 28 รายการ แก่เหล่าซัปพลายเออร์ของกองทัพอเมริกา อ้างว่ามีการละเมิดหลักการจีนเดียว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003316 .............. Sondhi X
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1468 มุมมอง 0 รีวิว
  • โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก
    .
    "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง
    .
    ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ
    .
    โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ"
    .
    เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก"
    .
    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล"
    .
    นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น
    .
    "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส
    .
    "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว
    .
    ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355
    ..............
    Sondhi X
    โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก . "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง . ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ . โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ" . เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก" . นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล" . นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น . "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส . "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว . ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1530 มุมมอง 0 รีวิว
  • คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือระบุว่า ระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกใหม่ที่ถูกใช้ในการทดสอบ จะช่วยป้องปรามบรรดาอริศัตรูของประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก ตามรายงานของเคซีเอ็นเอ สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ
    .
    "ระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก จะช่วยควบคุมอย่างน่าเชือถือต่อคู่อริใดๆ ในภูมิภาคแปซิฟิก ที่สามารถก่อผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐของเรา" คิมกล่าว หลังจากเดินทางไปตรวจตราการยิงทดสอบด้วยตนเอง ตามรายงานของเคซีเอ็นเอ
    .
    การยิงทดสอบครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนเกาหลีใต้ พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของอเมริกาและคู่อริตัวฉกาจของเกาหลีเหนือ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว โซลและเปียงยาง ยังอยู่ในภาวะสงคราม
    .
    ในถ้อยแถลง คิม กล่าวอ้างว่าขีปนาวุธพุ่งเป็นระยะทาง 1,500 กิโลเมตร มากกว่าตัวเลข 1,100 กิโลเมตรที่ทางกองทัพเกาหลีใต้ระบุก่อนหน้านี้ และเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียง 12 เท่า ก่อนดิ่งลงสู่ทะเล "นี่คือแผนและความพยายามที่ชัดเจนสำหรับการป้องกันตนเอง ไม่ใช่แผนหรือปฏิบัติการรุกรานใดๆ" ผู้นำเกาหลีเหนือระบุ
    .
    อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่าด้วยสมรรถนะของระบบขีปนาวุธนี้ "ทั่วโลกไม่อาจมองข้ามได้" พร้อมระบุมันสามารถจัดการกับการโจมตีทางทหารร้ายแรงใดๆ จากคู่อริหนึ่งๆ ขณะเดียวกัน ก็สามารถทำลายแนวป้องกันที่หนาแน่นใดๆ
    .
    "พัฒนาการในแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองของเกาหลีเหนือ มีเป้าหมายเพื่อเร่งยกระดับแสนยานุภาพทางทหารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น" คิมกล่าว
    .
    บลิงเคน และโช แท-ย็อล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ประณามการยิงทดสอบดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วม โดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่ามันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการกระชับความเป็นพันธมิตรของ 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยวอชิงตัน โซล และโตเกียว
    .
    การยิงทดสอบเมื่อวันจันทร์ (6 ม.ค.) ถือเป็นครั้งแรกของเกาหลีเหนือ นับตั้งแต่ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน เกาหลีเหนือเคยทดสอบในสิ่งที่กล่าวอ้างว่าเป็นขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) เชื้อเพลิงแข็ง ที่ล้ำสมัยและทรงแสนยานุภาพที่สุดของประเทศ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001576
    ..............
    Sondhi X
    คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือระบุว่า ระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกใหม่ที่ถูกใช้ในการทดสอบ จะช่วยป้องปรามบรรดาอริศัตรูของประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก ตามรายงานของเคซีเอ็นเอ สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ . "ระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก จะช่วยควบคุมอย่างน่าเชือถือต่อคู่อริใดๆ ในภูมิภาคแปซิฟิก ที่สามารถก่อผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐของเรา" คิมกล่าว หลังจากเดินทางไปตรวจตราการยิงทดสอบด้วยตนเอง ตามรายงานของเคซีเอ็นเอ . การยิงทดสอบครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนเกาหลีใต้ พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของอเมริกาและคู่อริตัวฉกาจของเกาหลีเหนือ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว โซลและเปียงยาง ยังอยู่ในภาวะสงคราม . ในถ้อยแถลง คิม กล่าวอ้างว่าขีปนาวุธพุ่งเป็นระยะทาง 1,500 กิโลเมตร มากกว่าตัวเลข 1,100 กิโลเมตรที่ทางกองทัพเกาหลีใต้ระบุก่อนหน้านี้ และเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียง 12 เท่า ก่อนดิ่งลงสู่ทะเล "นี่คือแผนและความพยายามที่ชัดเจนสำหรับการป้องกันตนเอง ไม่ใช่แผนหรือปฏิบัติการรุกรานใดๆ" ผู้นำเกาหลีเหนือระบุ . อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่าด้วยสมรรถนะของระบบขีปนาวุธนี้ "ทั่วโลกไม่อาจมองข้ามได้" พร้อมระบุมันสามารถจัดการกับการโจมตีทางทหารร้ายแรงใดๆ จากคู่อริหนึ่งๆ ขณะเดียวกัน ก็สามารถทำลายแนวป้องกันที่หนาแน่นใดๆ . "พัฒนาการในแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองของเกาหลีเหนือ มีเป้าหมายเพื่อเร่งยกระดับแสนยานุภาพทางทหารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น" คิมกล่าว . บลิงเคน และโช แท-ย็อล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ประณามการยิงทดสอบดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วม โดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่ามันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการกระชับความเป็นพันธมิตรของ 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยวอชิงตัน โซล และโตเกียว . การยิงทดสอบเมื่อวันจันทร์ (6 ม.ค.) ถือเป็นครั้งแรกของเกาหลีเหนือ นับตั้งแต่ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ . ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน เกาหลีเหนือเคยทดสอบในสิ่งที่กล่าวอ้างว่าเป็นขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) เชื้อเพลิงแข็ง ที่ล้ำสมัยและทรงแสนยานุภาพที่สุดของประเทศ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001576 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1360 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts