การที่อิสราเอลเปิดการโจมตีพันธมิตรกลุ่มต่างๆ ของอิหร่านในอาณาบริเวณราว 5,000 ตารางกิโลเมตรของภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งการตัวท่าคุกคามอิหร่านโดยตรงในเวลานี้ เพิ่มความเป็นไปได้ที่อำนาจอิทธิพลซึ่งเตหะรานสั่งสมมาตลอด 2 ทศวรรษอาจสิ้นสุดลง รวมทั้งทำให้ดุลอำนาจในภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลง ทว่า ยากที่จะฟันธงได้ว่า จะเป็นไปในรูปแบบไหน
บรรดาผู้คัดค้านและผู้สนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล ซึ่งอยู่ในวอชิงตัน เทลอาวีฟ เยรูซาเลม และเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ในโลกอาหรับ กำลังเสนอแนวคิดว่า อเมริกาควรทำอย่างไรต่อไป ขณะที่อิสราเอลเดินหน้าสะสมความสำเร็จเชิงยุทธวิธีต่อฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนและฮูตีในเยเมน เวลาเดียวกันก็ตามบดขยี้ฮามาสในกาซาแบบไม่มีพักมาตลอด 1 ปีเต็ม
ริชาร์ด โกลด์เบิร์ก ที่ปรึกษาอาวุโสของมูลนิธิเพื่อการปกป้องประชาธิปไตยในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นพวกแนวคิดอนุรักษนิยม เรียกร้องอเมริกาให้การสนับสนุนที่จำเป็นทั้งหมดทแก่อิสราเอล เพื่อทำให้รัฐบาลอิหร่านลงถังขยะประวัติศาสตร์
ขณะที่ โยเอล กูแซนสกี อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสสภาความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอล ไปไกลกว่านั้นอีก โดยแนะคณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ร่วมโจมตีอิหร่านโดยตรง เพื่อให้เตหะรานเข้าใจชัดเจนว่า “อย่ามาป่วนอเมริกาและอิสราเอล”
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยพากันย้ำบทเรียนเมื่อครั้งอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ส่งกองทัพอเมริกันรุกรานอิรักและโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน โดยไม่สนใจคำเตือนของอาหรับว่า ผู้นำเผด็จการของแบกแดดผู้นี้เป็นเครื่องมือคานอิทธิพลของอิหร่านที่จะขาดไปไม่ได้
คนกลุ่มนี้ยังเตือนว่า การสะสมชัยชนะของรัฐยิวไปเรื่อยๆ โดยไม่พิจารณาถึงเรื่องความเสี่ยง, เป้าหมายสุดท้าย, หรือแผนการสำหรับอนาคต อาจนำซึ่งผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์
วาลิ นาสร์ อดีตที่ปรึกษาในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำรายงานการสั่งสมอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลางนับแต่ที่อเมริกาบุกอิรัก ชี้ว่าสุดท้ายแล้วอิสราเอลอาจอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องปกป้องตัวเองตามลำพังในสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น
นาสร์เสริมว่า อเมริกาและหุ้นส่วนในตะวันออกกลางได้แต่รอดูว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้ไม่ฟังเสียงทัดทานแม้แต่จากวอชิงตันที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุด จะบุกตะลุยทำสงครามไปไกลแค่ไหน
บรรดาผู้สนับสนุนเหล่านี้วาดหวังว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลจะทำให้อิหร่านและกลุ่มติดอาวุธที่เป็นตัวแทนของเตหะรานที่โจมตีอเมริกา อิสราเอล และหุ้นส่วน รวมทั้งยังร่วมมือกับรัสเซียและศัตรูอื่นๆ ของตะวันตก อยู่ในสภาพที่อ่อนแอลง
ทว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเตือนว่า ปฏิบัติการทางทหารโดยที่ไม่ได้คลี่คลายความคับข้องใจของชาวปาเลสไตน์ เสี่ยงนำไปสู่วงจรสงครามที่ไม่สิ้นสุด ปลุกเร้าการก่อความไม่สงบและกลุ่มหัวรุนแรง และรัฐบาลในตะวันออกกลางก็ต้องปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์
นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่อิหร่านจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อรับประกันความอยู่รอดของประเทศ จากที่มีข่าวว่า ก่อนที่อิสราเอลจะเปิดฉากโจมตีฮิซบอลเลาะห์นั้น ผู้นำอิหร่านที่กังวลกับปฏิบัติการของอิสราเอล ประกาศชัดเจนว่า สนใจฟื้นการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์และปรับปรุงความสัมพันธ์โดยรวมกับอเมริกา
ทั้งนี้ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การโจมตีทางอากาศและการปฏิบัติการด้านข่าวกรองของอิสราเอล ได้นำไปสู่การสังหารผู้นำ นักรบ และทำลายคลังอาวุธของฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ทรงอิทธิพลที่สุดในตะวันออกกลาง รวมทั้งยังเป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องการโจมตีดินแดนอิหร่านอีกด้วย
ขณะเดียวกัน การโจมตีทางอากาศตลอดหนึ่งปีเต็มในฉนวนกาซา ได้สังหารเหล่าผู้นำของกลุ่มฮามาสจนเหลือผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กบดานอยู่ในอุโมงค์ใต้ดิน กระนั้น ปรากฏว่ากองทัพอิสราเอลยังคงต้องวนกลับมาโจมตีกาซาหนักหน่วงอีกรอบในสัปดาห์นี้ และฮามาสยังสามารถสร้างความประหลาดใจด้วยการยิงจรวดใส่นครเทลอาวีฟเมื่อวันจันทร์ (7 ต.ค.) ระหว่างที่อิสราเอลรำลึกครบรอบ 1 ปีที่ถูกฮามาสบุกโจมตีและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในกาซา
มีการคาดการณ์กันว่า หากอิสราเอลตอบโต้อิหร่านที่ยิงขีปนาวุธนับร้อยลูกใส่รัฐยิวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะยิ่งเร่งรัดการเปลี่ยนดุลอำนาจในตะวันออกกลาง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเต็มรูปแบบในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อเมริกาพยายามหลีกเลี่ยงมานานหลายทศวรรษ
วอชิงตันออกตัวว่า อิสราเอลไม่ได้แจ้งก่อนที่จะโจมตีผู้นำฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน และในการให้สัมภาษณ์รายการ “60 มินิตส์” ของเครือข่ายซีบีเอสที่ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครตในศึกชิงทำเนียบขาว ประกาศว่า อเมริกายังคงมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือทางทหารเพื่อให้อิสราเอลป้องกันตัวเอง ควบคู่กับการผลักดันให้ยุติความขัดแย้ง
ย้อนกลับไปตอนที่อเมริการุกรานอิรักและโค่นล้มซัดดัม ผู้สนับสนุนอาจวาดหวังที่จะทำให้ประชาธิปไตยหยั่งรากในอิรัก แต่ผลกระทบไม่พึงประสงค์กลับใหญ่กว่านั้นมหาศาล ซึ่งรวมถึงการผงาดขึ้นมาของอักษะแห่งการต่อต้านของอิหร่านที่ขยายตัวทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก อีกทั้งยังเกิดกลุ่มหัวรุนแรงใหม่ๆ ที่รวมถึงกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส)
ขณะนี้ผู้นำทั่วโลกยังมองไม่ออกว่า ดุลอำนาจระหว่างอิหร่าน อิสราเอล ตะวันออกกลาง รวมถึงอเมริกา จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังกองทัพอิสราเอลยุติสงคราม
นาสร์เห็นว่า อิหร่านและพันธมิตรอ่อนแอลง เช่นเดียวกับอิทธิพลของอเมริกาที่ปล่อยให้อิสราเอลจูงจมูก
สำหรับ เมห์ราน คัมราวา ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ในกาตาร์ มองว่า อิสราเอลอาจเป็นฝ่ายเจ็บ เช่น หากเปิดสงครามภาคพื้นดินในเลบานอนและตกอยู่ในสภาพติดหล่ม และเสริมว่า สงครามเย็นตลอด 4 ทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน เวลานี้ได้กลายมาเป็นสงครามร้อน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ในตะวันออกกลาง แต่จะเปลี่ยนไปแบบไหนอย่างไรเป็นเรื่องยากมากที่จะคาดเดาในขณะนี้
.
อ่านเพิ่มเติม..
https://sondhitalk.com/detail/9670000096119
..............
Sondhi X
การที่อิสราเอลเปิดการโจมตีพันธมิตรกลุ่มต่างๆ ของอิหร่านในอาณาบริเวณราว 5,000 ตารางกิโลเมตรของภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งการตัวท่าคุกคามอิหร่านโดยตรงในเวลานี้ เพิ่มความเป็นไปได้ที่อำนาจอิทธิพลซึ่งเตหะรานสั่งสมมาตลอด 2 ทศวรรษอาจสิ้นสุดลง รวมทั้งทำให้ดุลอำนาจในภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลง ทว่า ยากที่จะฟันธงได้ว่า จะเป็นไปในรูปแบบไหน
บรรดาผู้คัดค้านและผู้สนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล ซึ่งอยู่ในวอชิงตัน เทลอาวีฟ เยรูซาเลม และเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ในโลกอาหรับ กำลังเสนอแนวคิดว่า อเมริกาควรทำอย่างไรต่อไป ขณะที่อิสราเอลเดินหน้าสะสมความสำเร็จเชิงยุทธวิธีต่อฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนและฮูตีในเยเมน เวลาเดียวกันก็ตามบดขยี้ฮามาสในกาซาแบบไม่มีพักมาตลอด 1 ปีเต็ม
ริชาร์ด โกลด์เบิร์ก ที่ปรึกษาอาวุโสของมูลนิธิเพื่อการปกป้องประชาธิปไตยในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นพวกแนวคิดอนุรักษนิยม เรียกร้องอเมริกาให้การสนับสนุนที่จำเป็นทั้งหมดทแก่อิสราเอล เพื่อทำให้รัฐบาลอิหร่านลงถังขยะประวัติศาสตร์
ขณะที่ โยเอล กูแซนสกี อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสสภาความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอล ไปไกลกว่านั้นอีก โดยแนะคณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ร่วมโจมตีอิหร่านโดยตรง เพื่อให้เตหะรานเข้าใจชัดเจนว่า “อย่ามาป่วนอเมริกาและอิสราเอล”
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยพากันย้ำบทเรียนเมื่อครั้งอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ส่งกองทัพอเมริกันรุกรานอิรักและโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซน โดยไม่สนใจคำเตือนของอาหรับว่า ผู้นำเผด็จการของแบกแดดผู้นี้เป็นเครื่องมือคานอิทธิพลของอิหร่านที่จะขาดไปไม่ได้
คนกลุ่มนี้ยังเตือนว่า การสะสมชัยชนะของรัฐยิวไปเรื่อยๆ โดยไม่พิจารณาถึงเรื่องความเสี่ยง, เป้าหมายสุดท้าย, หรือแผนการสำหรับอนาคต อาจนำซึ่งผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์
วาลิ นาสร์ อดีตที่ปรึกษาในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำรายงานการสั่งสมอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลางนับแต่ที่อเมริกาบุกอิรัก ชี้ว่าสุดท้ายแล้วอิสราเอลอาจอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องปกป้องตัวเองตามลำพังในสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น
นาสร์เสริมว่า อเมริกาและหุ้นส่วนในตะวันออกกลางได้แต่รอดูว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้ไม่ฟังเสียงทัดทานแม้แต่จากวอชิงตันที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุด จะบุกตะลุยทำสงครามไปไกลแค่ไหน
บรรดาผู้สนับสนุนเหล่านี้วาดหวังว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลจะทำให้อิหร่านและกลุ่มติดอาวุธที่เป็นตัวแทนของเตหะรานที่โจมตีอเมริกา อิสราเอล และหุ้นส่วน รวมทั้งยังร่วมมือกับรัสเซียและศัตรูอื่นๆ ของตะวันตก อยู่ในสภาพที่อ่อนแอลง
ทว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเตือนว่า ปฏิบัติการทางทหารโดยที่ไม่ได้คลี่คลายความคับข้องใจของชาวปาเลสไตน์ เสี่ยงนำไปสู่วงจรสงครามที่ไม่สิ้นสุด ปลุกเร้าการก่อความไม่สงบและกลุ่มหัวรุนแรง และรัฐบาลในตะวันออกกลางก็ต้องปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์
นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่อิหร่านจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อรับประกันความอยู่รอดของประเทศ จากที่มีข่าวว่า ก่อนที่อิสราเอลจะเปิดฉากโจมตีฮิซบอลเลาะห์นั้น ผู้นำอิหร่านที่กังวลกับปฏิบัติการของอิสราเอล ประกาศชัดเจนว่า สนใจฟื้นการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์และปรับปรุงความสัมพันธ์โดยรวมกับอเมริกา
ทั้งนี้ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การโจมตีทางอากาศและการปฏิบัติการด้านข่าวกรองของอิสราเอล ได้นำไปสู่การสังหารผู้นำ นักรบ และทำลายคลังอาวุธของฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ทรงอิทธิพลที่สุดในตะวันออกกลาง รวมทั้งยังเป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องการโจมตีดินแดนอิหร่านอีกด้วย
ขณะเดียวกัน การโจมตีทางอากาศตลอดหนึ่งปีเต็มในฉนวนกาซา ได้สังหารเหล่าผู้นำของกลุ่มฮามาสจนเหลือผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กบดานอยู่ในอุโมงค์ใต้ดิน กระนั้น ปรากฏว่ากองทัพอิสราเอลยังคงต้องวนกลับมาโจมตีกาซาหนักหน่วงอีกรอบในสัปดาห์นี้ และฮามาสยังสามารถสร้างความประหลาดใจด้วยการยิงจรวดใส่นครเทลอาวีฟเมื่อวันจันทร์ (7 ต.ค.) ระหว่างที่อิสราเอลรำลึกครบรอบ 1 ปีที่ถูกฮามาสบุกโจมตีและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในกาซา
มีการคาดการณ์กันว่า หากอิสราเอลตอบโต้อิหร่านที่ยิงขีปนาวุธนับร้อยลูกใส่รัฐยิวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะยิ่งเร่งรัดการเปลี่ยนดุลอำนาจในตะวันออกกลาง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเต็มรูปแบบในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อเมริกาพยายามหลีกเลี่ยงมานานหลายทศวรรษ
วอชิงตันออกตัวว่า อิสราเอลไม่ได้แจ้งก่อนที่จะโจมตีผู้นำฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน และในการให้สัมภาษณ์รายการ “60 มินิตส์” ของเครือข่ายซีบีเอสที่ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครตในศึกชิงทำเนียบขาว ประกาศว่า อเมริกายังคงมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือทางทหารเพื่อให้อิสราเอลป้องกันตัวเอง ควบคู่กับการผลักดันให้ยุติความขัดแย้ง
ย้อนกลับไปตอนที่อเมริการุกรานอิรักและโค่นล้มซัดดัม ผู้สนับสนุนอาจวาดหวังที่จะทำให้ประชาธิปไตยหยั่งรากในอิรัก แต่ผลกระทบไม่พึงประสงค์กลับใหญ่กว่านั้นมหาศาล ซึ่งรวมถึงการผงาดขึ้นมาของอักษะแห่งการต่อต้านของอิหร่านที่ขยายตัวทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก อีกทั้งยังเกิดกลุ่มหัวรุนแรงใหม่ๆ ที่รวมถึงกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส)
ขณะนี้ผู้นำทั่วโลกยังมองไม่ออกว่า ดุลอำนาจระหว่างอิหร่าน อิสราเอล ตะวันออกกลาง รวมถึงอเมริกา จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังกองทัพอิสราเอลยุติสงคราม
นาสร์เห็นว่า อิหร่านและพันธมิตรอ่อนแอลง เช่นเดียวกับอิทธิพลของอเมริกาที่ปล่อยให้อิสราเอลจูงจมูก
สำหรับ เมห์ราน คัมราวา ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ในกาตาร์ มองว่า อิสราเอลอาจเป็นฝ่ายเจ็บ เช่น หากเปิดสงครามภาคพื้นดินในเลบานอนและตกอยู่ในสภาพติดหล่ม และเสริมว่า สงครามเย็นตลอด 4 ทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน เวลานี้ได้กลายมาเป็นสงครามร้อน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ในตะวันออกกลาง แต่จะเปลี่ยนไปแบบไหนอย่างไรเป็นเรื่องยากมากที่จะคาดเดาในขณะนี้
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000096119
..............
Sondhi X