แถลงความคืบหน้า "คดียักยอกเงินวัดไร่ขิง" ตรวจแล้ว 51 บัญชี พบรายได้วัดมากถึง 176 ล้านบาท/ปี อึ้งคลิปเสียงหลักฐาน "ทิดแย้ม" โอนเงิน "สีกาเกร็น" พบมีเงินหมุ่นเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท
วันนี้ (22 พ.ค. 68) เจ้าหน้าที่คณะทำงานสืบสวนสอบสวน "คดียักยอกเงินวัดไร่ขิง" แถลงความคืบหน้าการสืบสวนเส้นทางการเงิน หลังจับกุม "ทิดแย้ม - สีกาเกร็น" แล้ว 7 วัน
พล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เผยว่า 7 วันที่ผ่านมาทุกหน่วยงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้เพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นไปยังการหยุดยั้งการกระทำความผิด หยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวัดฯ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนการจะให้ข่าวอะไร จึงต้องเซฟเพื่อไม่กระทบต่อความศรัทธา
เริ่มต้นจากการที่มีหนังสือร้องเรียนมายังผู้บังคับการกองปราบปราม ว่ามีการนำเงินวัดไปใช้ส่วนตัวและมีการหยิบยืมเงินพระและฆราวาสเป็นหลักล้านบาท โดยได้ส่งผู้กองทอน พรางตัวไปสืบสวนฯ จนพบหลักฐานว่าเจ้าอาวาสใช้เงินวัดโอนเงินไปให้ "อรัญญาวรรณ หรือ สีกาเกร็น"
โดย บก.ปปป. ตรวจสอบพบว่าขณะนี้พบบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับคดี 51 บัญชี บัญชีส่วนตัวของเจ้าอาวาส 21 บัญชี , อรัญญาวรรณ 12 บัญชี โดยมุ่งไปที่เงินหมุนเวียนของอรัญญาวรรณ พบว่าตั้งแต่ปี 2569 มีเงินหมุนเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท โดยมี 4 ช่องทางในการรับเงิน 1.ฝากเงินเงินสด 2.รับโอนจากเจ้าอาวาส 3.รับโอนจากอดีตพระมหาเอกพจน์ 4. รับโอนเงินจากนายฉัตรชัย สีเลี้ยง ซึ่งจากพยานหลักฐานพบว่าไม่สอดคล้องกับคำให้การของอดีตเจ้าอาวาส
พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เผยว่าวัดไร่ขิง มีรายได้หลายช่องทาง รายได้ตั้งแต่ ต.ค. 66 - ก.ย. 67 เฉลี่ย 400,000 ต่อวัน , 14.7 ล้านบาทต่อเดือน , 176 ล้านบาทต่อปี
โดย ป.ป.ท. รับทำในส่วนของบัญชีวัดฯ ซึ่งพบความผิดปกติหลายรายการ เช่น การเช่าร้านค้า ปีหนึ่งวัดมีรายได้จากส่วนนี้มากกว่า 30 ล้านบาท โดยเมื่อก่อนมีการนำเงินเข้าบัญชีโดยมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมารับ
แต่หลังจากปี 2563 - 2567 พบว่าไม่ได้มีการปฏิบัติตามเช่นที่ทำกันมา โดยมีการเอาเงินสดทั้งหมดไปมอบให้เจ้าอาวาส ซึ่งพบว่าจำนวนเงินที่นำไปให้เจ้าอาวาส เกือบ 200 ล้านบาท
อีกทั้งเรื่องเงินกฐินพบว่ามีการมอบไปให้เจ้าอาวาสกว่า 20 ล้านบาท รวมถึงการขายวัตถุมงคล ก็เป็นลักษณะพฤติกรรมเดียวกัน
ส่วนร้านค้าสวัสดิการ พบมีเงินไปเกี่ยวโยงกับบัญชีของคู่สามีภรรยา ซึ่งจะต้องตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป
นอกจากนี้ในการแถลงข่าวยังได้มีการเปิดคลิปเสียงการสนทนาระหว่าง "ทิตแย้ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง กับ สีกาเกร็น" โดยเป็นการพูดคุยเกียวกับการขอเงินไปส่งค่างวดให้กับเว็บพนัน ซึ่งทิตแย้ม แสดงน้ำเสียงบ่งบอกถึงการหาเงินไม่ทัน
จากคลิปเสียงดังกล่าว พล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว เผยว่า เป็นการสนทนากันช่วงเดือนกันยายน 2567 ซึ่งเป็นการให้โอนเงินไปยังเว็บพนัน ซึ่งส่วนนี้หลวงพ่อรับรู้
โดยความสัมพันธ์ของสีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ กับอดีตเจ้าอาวาสขอแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ "ช่วงหวาน" กับ "ช่วงขม"
ช่วงหวานอาจจะเกิดก่อนปี 2563 มีการเริ่มเข้ามายืมเงิน "ทิตแย้ม" 5 ถึง 6 หมื่นบาท และมีการทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้กับ "ทิตแย้ม" ซึ่ง "ทิตแย้ม" ก็ช่วยไป เมื่อยืมเสร็จแล้วก็มีการติดต่อมีการพูดคุยกันเรื่อยมาทุกวัน
จากนั้นก็เริ่มมีการโอนเงินให้ครั้งละ 1,000 ถึง 10,000 ก่อนที่จะมีการแลก LINE กัน ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งขึ้น มีการโชว์หน้ากัน "คุยกันไปก็น้ำหนักมากภาพก็เลื่อนลงต่ำไปเรื่อยเรื่อย ๆ"
โดย สีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ เป็นเด็กที่เรียนอยู่วัดไร่ขิง ช่วง ม.ต้น มาทำกิจกรรมจิตอาสาที่วัดฯ ทำให้ได้เคยพูดคุยและพบกับหลวงพ่อ ก่อนที่จะจบออกไปทำงานพบว่าค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ แล้วกลับมาบ้านคาดว่าน่าจะเป็นช่วงก่อนโควิด จึงเข้าไปขอหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อเคยพูดไว้ว่าถ้ามีแหวนวัดไร่ขิงถ้าเดือดร้อนให้มาขอความช่วยเหลือได้
ส่วนช่วงขม คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2567 เพราะจากคลิปการสนทนา หลวงพ่อหมดทางที่จะไป เพราะเงินวัดก็เหลือน้อย ไปยืมมาก็ไม่มีให้ยืมแล้ว ต่อมาซักประมาณเดือน ธ.ค. สีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ และแฟนหนุ่มถูกจับกุม ทำให้วันต้องเข้าไปพูดคุยกับหลวงพ่ออีกครั้ง พร้อมข่มขู่ว่ามีคลิปที่เคยเซ็กซ์โฟน ถูกเจ้าหน้าที่ของ สอท. ยึดไป วันว่าคลิปดังกล่าวจะถูกเปิดเผยจึงกลับมาข่มขู่หลวงพ่อ เพื่อจะเอาเงินไปดำเนินการหลังถูกจับกุม
นายคณพศ สตง. 3 ได้ วัดมีสามมูลนิ มูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง , มูลนิธิพระอุบาลีฯ , มูลนิธิวัดไร่ขิง , โดยใน 3 มูลนิธินี้มูลนิธิที่มีเงินมากที่สุดคือ "มูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง"
ส่วนมูลนิธิเมตตาประชารัฐ มีอยู่ประมาณ 66 ล้านบาท , มูลนิธิพระอุบาลี 19 ล้านบาท โดยพบว่าเจ้าอาวาสได้มีการยืมเงินกับมูลนิธิวัดไร่ขิงไป 35 ล้านบาทโดยไม่มีรายละเอียดว่ายืมไปทำอะไร ซึ่งเป็นการยืมไปทั้งก้อน โดยมาคืน 5,000,0 บาทในปี 2567 ทำให้ยอดหนี้คงเหลือ 30 ล้านบาท
นอกจากนี้อดีตเจ้าอาวาสยังได้ยืมเงินในส่วนของมูลนิธิอุบารีไปอีกเก้าล้านบาท โดยมีการชดใช้ไปปีละ 1,100,000 บาท เป็นเวลา 9 ปี รวมเป็นหนี้มูลนิธิทั้งสองมูลนิธิ 38 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงความคืบหน้าการสืบสวน ยังคงต้องดำเนินการสืบเส้นทางการเงิน-รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
https://news.ch7.com/detail/804103?fbclid=IwQ0xDSwKbsG5leHRuA2FlbQIxMQABHokl0oAdErnD4pB1keWRJaP2kUkH8-mqlcKVIf1eLNVxzVQbjvvP5Dub3d7w_aem__H3KnIHQ_QuZGpRP3tFxRg#maz1m2gy1zyyhlh1mg4 แถลงความคืบหน้า "คดียักยอกเงินวัดไร่ขิง" ตรวจแล้ว 51 บัญชี พบรายได้วัดมากถึง 176 ล้านบาท/ปี อึ้งคลิปเสียงหลักฐาน "ทิดแย้ม" โอนเงิน "สีกาเกร็น" พบมีเงินหมุ่นเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท
วันนี้ (22 พ.ค. 68) เจ้าหน้าที่คณะทำงานสืบสวนสอบสวน "คดียักยอกเงินวัดไร่ขิง" แถลงความคืบหน้าการสืบสวนเส้นทางการเงิน หลังจับกุม "ทิดแย้ม - สีกาเกร็น" แล้ว 7 วัน
พล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เผยว่า 7 วันที่ผ่านมาทุกหน่วยงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้เพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นไปยังการหยุดยั้งการกระทำความผิด หยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวัดฯ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนการจะให้ข่าวอะไร จึงต้องเซฟเพื่อไม่กระทบต่อความศรัทธา
เริ่มต้นจากการที่มีหนังสือร้องเรียนมายังผู้บังคับการกองปราบปราม ว่ามีการนำเงินวัดไปใช้ส่วนตัวและมีการหยิบยืมเงินพระและฆราวาสเป็นหลักล้านบาท โดยได้ส่งผู้กองทอน พรางตัวไปสืบสวนฯ จนพบหลักฐานว่าเจ้าอาวาสใช้เงินวัดโอนเงินไปให้ "อรัญญาวรรณ หรือ สีกาเกร็น"
โดย บก.ปปป. ตรวจสอบพบว่าขณะนี้พบบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับคดี 51 บัญชี บัญชีส่วนตัวของเจ้าอาวาส 21 บัญชี , อรัญญาวรรณ 12 บัญชี โดยมุ่งไปที่เงินหมุนเวียนของอรัญญาวรรณ พบว่าตั้งแต่ปี 2569 มีเงินหมุนเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท โดยมี 4 ช่องทางในการรับเงิน 1.ฝากเงินเงินสด 2.รับโอนจากเจ้าอาวาส 3.รับโอนจากอดีตพระมหาเอกพจน์ 4. รับโอนเงินจากนายฉัตรชัย สีเลี้ยง ซึ่งจากพยานหลักฐานพบว่าไม่สอดคล้องกับคำให้การของอดีตเจ้าอาวาส
พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เผยว่าวัดไร่ขิง มีรายได้หลายช่องทาง รายได้ตั้งแต่ ต.ค. 66 - ก.ย. 67 เฉลี่ย 400,000 ต่อวัน , 14.7 ล้านบาทต่อเดือน , 176 ล้านบาทต่อปี
โดย ป.ป.ท. รับทำในส่วนของบัญชีวัดฯ ซึ่งพบความผิดปกติหลายรายการ เช่น การเช่าร้านค้า ปีหนึ่งวัดมีรายได้จากส่วนนี้มากกว่า 30 ล้านบาท โดยเมื่อก่อนมีการนำเงินเข้าบัญชีโดยมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมารับ
แต่หลังจากปี 2563 - 2567 พบว่าไม่ได้มีการปฏิบัติตามเช่นที่ทำกันมา โดยมีการเอาเงินสดทั้งหมดไปมอบให้เจ้าอาวาส ซึ่งพบว่าจำนวนเงินที่นำไปให้เจ้าอาวาส เกือบ 200 ล้านบาท
อีกทั้งเรื่องเงินกฐินพบว่ามีการมอบไปให้เจ้าอาวาสกว่า 20 ล้านบาท รวมถึงการขายวัตถุมงคล ก็เป็นลักษณะพฤติกรรมเดียวกัน
ส่วนร้านค้าสวัสดิการ พบมีเงินไปเกี่ยวโยงกับบัญชีของคู่สามีภรรยา ซึ่งจะต้องตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป
นอกจากนี้ในการแถลงข่าวยังได้มีการเปิดคลิปเสียงการสนทนาระหว่าง "ทิตแย้ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง กับ สีกาเกร็น" โดยเป็นการพูดคุยเกียวกับการขอเงินไปส่งค่างวดให้กับเว็บพนัน ซึ่งทิตแย้ม แสดงน้ำเสียงบ่งบอกถึงการหาเงินไม่ทัน
จากคลิปเสียงดังกล่าว พล.ต.ต. จรูญเกียรติ ปานแก้ว เผยว่า เป็นการสนทนากันช่วงเดือนกันยายน 2567 ซึ่งเป็นการให้โอนเงินไปยังเว็บพนัน ซึ่งส่วนนี้หลวงพ่อรับรู้
โดยความสัมพันธ์ของสีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ กับอดีตเจ้าอาวาสขอแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ "ช่วงหวาน" กับ "ช่วงขม"
ช่วงหวานอาจจะเกิดก่อนปี 2563 มีการเริ่มเข้ามายืมเงิน "ทิตแย้ม" 5 ถึง 6 หมื่นบาท และมีการทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้กับ "ทิตแย้ม" ซึ่ง "ทิตแย้ม" ก็ช่วยไป เมื่อยืมเสร็จแล้วก็มีการติดต่อมีการพูดคุยกันเรื่อยมาทุกวัน
จากนั้นก็เริ่มมีการโอนเงินให้ครั้งละ 1,000 ถึง 10,000 ก่อนที่จะมีการแลก LINE กัน ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งขึ้น มีการโชว์หน้ากัน "คุยกันไปก็น้ำหนักมากภาพก็เลื่อนลงต่ำไปเรื่อยเรื่อย ๆ"
โดย สีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ เป็นเด็กที่เรียนอยู่วัดไร่ขิง ช่วง ม.ต้น มาทำกิจกรรมจิตอาสาที่วัดฯ ทำให้ได้เคยพูดคุยและพบกับหลวงพ่อ ก่อนที่จะจบออกไปทำงานพบว่าค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ แล้วกลับมาบ้านคาดว่าน่าจะเป็นช่วงก่อนโควิด จึงเข้าไปขอหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อเคยพูดไว้ว่าถ้ามีแหวนวัดไร่ขิงถ้าเดือดร้อนให้มาขอความช่วยเหลือได้
ส่วนช่วงขม คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2567 เพราะจากคลิปการสนทนา หลวงพ่อหมดทางที่จะไป เพราะเงินวัดก็เหลือน้อย ไปยืมมาก็ไม่มีให้ยืมแล้ว ต่อมาซักประมาณเดือน ธ.ค. สีกาเกร็นหรือ อรัญญาวรรณ และแฟนหนุ่มถูกจับกุม ทำให้วันต้องเข้าไปพูดคุยกับหลวงพ่ออีกครั้ง พร้อมข่มขู่ว่ามีคลิปที่เคยเซ็กซ์โฟน ถูกเจ้าหน้าที่ของ สอท. ยึดไป วันว่าคลิปดังกล่าวจะถูกเปิดเผยจึงกลับมาข่มขู่หลวงพ่อ เพื่อจะเอาเงินไปดำเนินการหลังถูกจับกุม
นายคณพศ สตง. 3 ได้ วัดมีสามมูลนิ มูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง , มูลนิธิพระอุบาลีฯ , มูลนิธิวัดไร่ขิง , โดยใน 3 มูลนิธินี้มูลนิธิที่มีเงินมากที่สุดคือ "มูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง"
ส่วนมูลนิธิเมตตาประชารัฐ มีอยู่ประมาณ 66 ล้านบาท , มูลนิธิพระอุบาลี 19 ล้านบาท โดยพบว่าเจ้าอาวาสได้มีการยืมเงินกับมูลนิธิวัดไร่ขิงไป 35 ล้านบาทโดยไม่มีรายละเอียดว่ายืมไปทำอะไร ซึ่งเป็นการยืมไปทั้งก้อน โดยมาคืน 5,000,0 บาทในปี 2567 ทำให้ยอดหนี้คงเหลือ 30 ล้านบาท
นอกจากนี้อดีตเจ้าอาวาสยังได้ยืมเงินในส่วนของมูลนิธิอุบารีไปอีกเก้าล้านบาท โดยมีการชดใช้ไปปีละ 1,100,000 บาท เป็นเวลา 9 ปี รวมเป็นหนี้มูลนิธิทั้งสองมูลนิธิ 38 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงความคืบหน้าการสืบสวน ยังคงต้องดำเนินการสืบเส้นทางการเงิน-รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
https://news.ch7.com/detail/804103?fbclid=IwQ0xDSwKbsG5leHRuA2FlbQIxMQABHokl0oAdErnD4pB1keWRJaP2kUkH8-mqlcKVIf1eLNVxzVQbjvvP5Dub3d7w_aem__H3KnIHQ_QuZGpRP3tFxRg#maz1m2gy1zyyhlh1mg4