• ปักกิ่งสวนกลับทันควัน ประกาศจำกัดการส่งออกแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์บางรายการให้อเมริกา หลังจากเมื่อวันจันทร์ (2) วอชิงตันออกมาตรการสกัดอุตสาหกรรมชิปจีนรอบ 3 ซึ่งจะมีการควบคุมการส่งออกไปยังบริษัทแดนมังกร 140 แห่ง
    .
    คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เดินหมากใหญ่กระดานสุดท้ายในวันจันทร์ เพื่อปิดกั้นจีนไม่ให้เข้าถึงและผลิตชิปที่จะช่วยส่งเสริมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยอ้างว่าอาจถูกนำไปใช้งานทางทหารหรือคุกคามความมั่นคงของอเมริกา
    .
    คำสั่งใหม่คราวนี้ยังเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันว่า เขาจะยังคงสานต่อมาตรการแข็งกร้าวกับปักกิ่ง
    .
    สำหรับมาตรการรอบล่าสุดของสหรัฐฯ มุ่งครอบคลุมทั้งการจำกัดการจัดส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังจีน ได้แก่ ชิปหน่วยความจำแบนด์วิดธ์สูงที่จำเป็นสำหรับการใช้งานระดับไฮเอนด์อย่างเช่นการฝึกเครื่องจักรเอไอ เครื่องจักรเครื่องมือผลิตชิปอีก 24 รายการ และเครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ 3 รายการ และการจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิปที่ผลิตในประเทศ เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย
    .
    จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์จีน แถลงว่า มาตรการนี้มีเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้จีนสามารถส่งเสริมระบบการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในแดนมังกร ซึ่งจะนำไปใช้สนับสนุนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย
    .
    สำหรับบริษัทจีนที่จะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดรอบใหม่คราวนี้ ประกอบด้วยบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์เกือบ 24 แห่ง บริษัทด้านการลงทุน 2 แห่ง และพวกผู้ผลิตเครื่องจักรเครื่องมือผลิตชิปกว่า 100 แห่ง เช่น สเวย์ชัวร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำงานร่วมกับหัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ที่ถูกอเมริกาแซงก์ชันและขณะนี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตและพัฒนาชิปขั้นสูงของจีน
    .
    บริษัทเหล่านี้จะถูกขึ้นบัญชีดำใน entity list หรือรายชื่อบริษัทที่รัฐบาลอเมริกามองว่า มีอันตรายต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งซัปพลายเออร์อเมริกันจะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้โดยไม่ได้รับใบอนุญาตพิเศษ
    .
    ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการล่าสุดคราวนี้ยังมีการขยายอำนาจของอเมริกาในการควบคุมการส่งออกเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตชิปของพวกผู้ผลิตอเมริกัน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ที่ทำการผลิตในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกและจัดส่งไปห้โรงงานชิปบางแห่งในจีน โดยการควบคุมเช่นนี้จะส่งผลต่อเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ผลิตในอิสราเอล มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขณะที่อุปกรณ์ที่ผลิตในญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ได้รับการยกเว้น
    .
    มาตรการชุดใหม่นี้มีระเบียบจำกัดชิปความจำที่ใช้ในชิปเอไอซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี HBM 2 หรือสูงกว่า อันเป็นเทคโนโลยีที่ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และเอสเค ไฮนิกซ์ของเกาหลีใต้ และไมครอนของอเมริกาใช้อยู่
    .
    สำหรับปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายจีน หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า พฤติกรรมของอเมริกาบ่อนทำลายระเบียบการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และขัดขวางห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ก่อนสำทับว่า จีนจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัทท้องถิ่น
    .
    ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีว่า มาตรการจำกัดของอเมริกาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ “การข่มขู่ทางเศรษฐกิจ” และ “แนวทางปฏิบัติที่ไม่อิงกับตลาด”
    .
    จีนประกาศห้ามส่งออกแร่ใช้ทำเซมิคอนดักเตอร์ไปยังสหรัฐฯ
    .
    ต่อมาในวันอังคาร (3) กระทรวงพาณิชย์จีนประกาศใช้มาตรการห้ามการส่งออกพวกสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับแร่ แกลเลียม เจอร์มาเนียม และพลวง (แอนติโมนี) ซึ่งมีศักยภาพที่อาจนำไปใช้ทางทหารได้ ไปยังสหรัฐฯ นอกจากนั้น ยังให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดในเรื่องการส่งออกกราไฟต์ไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยต้องตรวจสอบผู้ใช้และการนำไปใช้อย่างถี่ถ้วน
    .
    คำชี้แนะว่าด้วยสิ่งของที่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งทหารและพลเรือนของกระทรวงพาณิชย์จีนฉบับนี้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในทันที ได้ให้เหตุผลของการออกระเบียบเช่นนี้ว่า เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติ
    .
    “โดยหลักการแล้ว การส่งออกแกลเลียม เจอร์มาเนียม พลวง และพวกวัสดุที่มีความแข็งเป็นพิเศษ (superhard materials) ไปยังสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ไม่ควรได้รับอนุมัติ” กระทรวงพาณิชย์จีนบอก
    .
    มาตรการใหม่เช่นนี้ เป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การบังคับใช้ระเบียบจำกัดการส่งออกแร่ธาตุสำคัญยิ่งยวดเหล่านี้ซึ่งปักกิ่งทยอยประกาศออกมาในปีที่แล้ว เพียงแต่มาตรการใหม่นี้ยังมีการระบุเจาะจงว่าใช้กับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เท่านั้นอีกด้วย
    .
    ข้อมูลของศุลกากรจีนแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการขนส่งเจอร์มาเนียม หรือแกลเลียม ทั้งแบบที่ขึ้นรูปแล้ว (wrought) และแบบที่ไม่ได้ขึ้นรูป (unwrought) ไปยังสหรัฐฯ เลยในปีนี้นับจนถึงเดือนตุลาคม ถึงแม้ในปีก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ คือตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 และอันดับ 5 ตามลำดับของแร่เหล่านี้ของจีน
    .
    แกลเลียม และเจอร์มาเนียม ใช้อยู่ในเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากนั้นแล้ว เจอร์มาเนียม ยังใช้ในพวกเทคโนโลยีอินฟราเรด สายเคเบิลใยแก้วนำแสง และแผงโซลาร์เซลล์
    .
    ทำนองเดียวกัน การส่งออกพวกผลิตภัณฑ์พลวงของจีนโดยรวมในเดือนตุลาคม ได้หล่นฮวบลงมาถึง 97% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน หลังจากมาตรการจำกัดการส่งออกของปักกิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้
    .
    ในปีที่แล้ว จีนเป็นผู้ผลิตพลวงที่ได้มาจากการทำเหมืองถึงประมาณ 48% ของที่ผลิตได้ทั่วโลก โดยที่พลวงถูกนำไปใช้ทั้งในพวกเครื่องกระสุน ขีปนาวุธอินฟราเรด อาวุธนิวเคลียร์ และกล้องสองตาให้มองกลางคืน ตลอดจนในแบตเตอรี่ และอุปกรณ์โฟโตโวลตาอิก
    .
    “ความเคลื่อนไหวคราวนี้ถือว่าเป็นการทำให้ความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานยิ่งยกระดับบานปลายออกไปอย่างมากมาย ขณะที่การเข้าถึงพวกวัตถุนี้ก็อยู่ในสภาพตึงตัวอยู่แล้วในโลกตะวันตก” เป็นคำกล่าวของ แจ๊ก เบดเดอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โปรเจ็คต์ บลู
    .
    ราคาของพลวงไตรออกไซด์ (antimony trioxide) ที่ตลาดรอตเตอร์ดัม อยู่ที่ 39,000 ดอลลาร์ต่อเมตริกตัน ณ วันที่ 28 พ.ย. เมื่อเปรียบเทียบกับตอนเริ่มต้นปีนี้ หมายความว่าราคาพุ่งสูงขึ้นถึง 228% ทั้งนี้ตามตัวเลขของ อาร์กุส กิจการด้านข้อมูลข่าวสาร
    .
    “ทุกๆ คนจะต้องพยายามลองขุดหาแถวๆ สนามหญ้าหลังบ้านของตัวเอง เพื่อค้นดูว่ามีพลวงหรือไม่ ประเทศจำนวนมากจะต้องพยายามค้นหาสินแร่พลวงให้เจอ” เป็นคำพูดของเทรดเดอร์ด้านโลหะรายหนึ่ง ซึ่งขอให้สงวนนาม
    ..............
    Sondhi X
    ปักกิ่งสวนกลับทันควัน ประกาศจำกัดการส่งออกแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์บางรายการให้อเมริกา หลังจากเมื่อวันจันทร์ (2) วอชิงตันออกมาตรการสกัดอุตสาหกรรมชิปจีนรอบ 3 ซึ่งจะมีการควบคุมการส่งออกไปยังบริษัทแดนมังกร 140 แห่ง . คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เดินหมากใหญ่กระดานสุดท้ายในวันจันทร์ เพื่อปิดกั้นจีนไม่ให้เข้าถึงและผลิตชิปที่จะช่วยส่งเสริมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยอ้างว่าอาจถูกนำไปใช้งานทางทหารหรือคุกคามความมั่นคงของอเมริกา . คำสั่งใหม่คราวนี้ยังเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันว่า เขาจะยังคงสานต่อมาตรการแข็งกร้าวกับปักกิ่ง . สำหรับมาตรการรอบล่าสุดของสหรัฐฯ มุ่งครอบคลุมทั้งการจำกัดการจัดส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปยังจีน ได้แก่ ชิปหน่วยความจำแบนด์วิดธ์สูงที่จำเป็นสำหรับการใช้งานระดับไฮเอนด์อย่างเช่นการฝึกเครื่องจักรเอไอ เครื่องจักรเครื่องมือผลิตชิปอีก 24 รายการ และเครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ 3 รายการ และการจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิปที่ผลิตในประเทศ เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย . จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์จีน แถลงว่า มาตรการนี้มีเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้จีนสามารถส่งเสริมระบบการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในแดนมังกร ซึ่งจะนำไปใช้สนับสนุนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย . สำหรับบริษัทจีนที่จะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดรอบใหม่คราวนี้ ประกอบด้วยบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์เกือบ 24 แห่ง บริษัทด้านการลงทุน 2 แห่ง และพวกผู้ผลิตเครื่องจักรเครื่องมือผลิตชิปกว่า 100 แห่ง เช่น สเวย์ชัวร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำงานร่วมกับหัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ที่ถูกอเมริกาแซงก์ชันและขณะนี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตและพัฒนาชิปขั้นสูงของจีน . บริษัทเหล่านี้จะถูกขึ้นบัญชีดำใน entity list หรือรายชื่อบริษัทที่รัฐบาลอเมริกามองว่า มีอันตรายต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งซัปพลายเออร์อเมริกันจะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้โดยไม่ได้รับใบอนุญาตพิเศษ . ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการล่าสุดคราวนี้ยังมีการขยายอำนาจของอเมริกาในการควบคุมการส่งออกเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตชิปของพวกผู้ผลิตอเมริกัน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ที่ทำการผลิตในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกและจัดส่งไปห้โรงงานชิปบางแห่งในจีน โดยการควบคุมเช่นนี้จะส่งผลต่อเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ผลิตในอิสราเอล มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขณะที่อุปกรณ์ที่ผลิตในญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ได้รับการยกเว้น . มาตรการชุดใหม่นี้มีระเบียบจำกัดชิปความจำที่ใช้ในชิปเอไอซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี HBM 2 หรือสูงกว่า อันเป็นเทคโนโลยีที่ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และเอสเค ไฮนิกซ์ของเกาหลีใต้ และไมครอนของอเมริกาใช้อยู่ . สำหรับปฏิกิริยาตอบโต้จากฝ่ายจีน หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า พฤติกรรมของอเมริกาบ่อนทำลายระเบียบการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และขัดขวางห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ก่อนสำทับว่า จีนจะดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัทท้องถิ่น . ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีว่า มาตรการจำกัดของอเมริกาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ “การข่มขู่ทางเศรษฐกิจ” และ “แนวทางปฏิบัติที่ไม่อิงกับตลาด” . จีนประกาศห้ามส่งออกแร่ใช้ทำเซมิคอนดักเตอร์ไปยังสหรัฐฯ . ต่อมาในวันอังคาร (3) กระทรวงพาณิชย์จีนประกาศใช้มาตรการห้ามการส่งออกพวกสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับแร่ แกลเลียม เจอร์มาเนียม และพลวง (แอนติโมนี) ซึ่งมีศักยภาพที่อาจนำไปใช้ทางทหารได้ ไปยังสหรัฐฯ นอกจากนั้น ยังให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดในเรื่องการส่งออกกราไฟต์ไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยต้องตรวจสอบผู้ใช้และการนำไปใช้อย่างถี่ถ้วน . คำชี้แนะว่าด้วยสิ่งของที่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งทหารและพลเรือนของกระทรวงพาณิชย์จีนฉบับนี้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในทันที ได้ให้เหตุผลของการออกระเบียบเช่นนี้ว่า เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติ . “โดยหลักการแล้ว การส่งออกแกลเลียม เจอร์มาเนียม พลวง และพวกวัสดุที่มีความแข็งเป็นพิเศษ (superhard materials) ไปยังสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ไม่ควรได้รับอนุมัติ” กระทรวงพาณิชย์จีนบอก . มาตรการใหม่เช่นนี้ เป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การบังคับใช้ระเบียบจำกัดการส่งออกแร่ธาตุสำคัญยิ่งยวดเหล่านี้ซึ่งปักกิ่งทยอยประกาศออกมาในปีที่แล้ว เพียงแต่มาตรการใหม่นี้ยังมีการระบุเจาะจงว่าใช้กับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เท่านั้นอีกด้วย . ข้อมูลของศุลกากรจีนแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการขนส่งเจอร์มาเนียม หรือแกลเลียม ทั้งแบบที่ขึ้นรูปแล้ว (wrought) และแบบที่ไม่ได้ขึ้นรูป (unwrought) ไปยังสหรัฐฯ เลยในปีนี้นับจนถึงเดือนตุลาคม ถึงแม้ในปีก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ คือตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 และอันดับ 5 ตามลำดับของแร่เหล่านี้ของจีน . แกลเลียม และเจอร์มาเนียม ใช้อยู่ในเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากนั้นแล้ว เจอร์มาเนียม ยังใช้ในพวกเทคโนโลยีอินฟราเรด สายเคเบิลใยแก้วนำแสง และแผงโซลาร์เซลล์ . ทำนองเดียวกัน การส่งออกพวกผลิตภัณฑ์พลวงของจีนโดยรวมในเดือนตุลาคม ได้หล่นฮวบลงมาถึง 97% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน หลังจากมาตรการจำกัดการส่งออกของปักกิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ . ในปีที่แล้ว จีนเป็นผู้ผลิตพลวงที่ได้มาจากการทำเหมืองถึงประมาณ 48% ของที่ผลิตได้ทั่วโลก โดยที่พลวงถูกนำไปใช้ทั้งในพวกเครื่องกระสุน ขีปนาวุธอินฟราเรด อาวุธนิวเคลียร์ และกล้องสองตาให้มองกลางคืน ตลอดจนในแบตเตอรี่ และอุปกรณ์โฟโตโวลตาอิก . “ความเคลื่อนไหวคราวนี้ถือว่าเป็นการทำให้ความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานยิ่งยกระดับบานปลายออกไปอย่างมากมาย ขณะที่การเข้าถึงพวกวัตถุนี้ก็อยู่ในสภาพตึงตัวอยู่แล้วในโลกตะวันตก” เป็นคำกล่าวของ แจ๊ก เบดเดอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โปรเจ็คต์ บลู . ราคาของพลวงไตรออกไซด์ (antimony trioxide) ที่ตลาดรอตเตอร์ดัม อยู่ที่ 39,000 ดอลลาร์ต่อเมตริกตัน ณ วันที่ 28 พ.ย. เมื่อเปรียบเทียบกับตอนเริ่มต้นปีนี้ หมายความว่าราคาพุ่งสูงขึ้นถึง 228% ทั้งนี้ตามตัวเลขของ อาร์กุส กิจการด้านข้อมูลข่าวสาร . “ทุกๆ คนจะต้องพยายามลองขุดหาแถวๆ สนามหญ้าหลังบ้านของตัวเอง เพื่อค้นดูว่ามีพลวงหรือไม่ ประเทศจำนวนมากจะต้องพยายามค้นหาสินแร่พลวงให้เจอ” เป็นคำพูดของเทรดเดอร์ด้านโลหะรายหนึ่ง ซึ่งขอให้สงวนนาม .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    3
    0 Comments 0 Shares 757 Views 0 Reviews
  • กระเป๋า+ผ้าขนหนู - ซัมซุง แก้ว - ไทยประกัน
    กระเป๋า+ผ้าขนหนู - ซัมซุง แก้ว - ไทยประกัน
    0 Comments 0 Shares 74 Views 0 Reviews
  • Apple แซะประเทศชาวบ้านดีนัก สมน้ำหน้ากะลาหัวเจาะ ยอดขายหัวเหว่ยและเสี่ยวมี่ที่อินโดนีเซียพุ่งพรวดรัวๆๆแน่นอน ส่วนตัวผมไม่อยากจะซื้อ Apple มาใช้ไม่ว่าจะแบบไหน ส่วนตัวผมมีซัมซุงเครื่องนึง อีกเครื่องจะรอเก็บเงินซื้อหัวเหว่ยสักหมื่นสองหมื่นก็ต้องสู้ชีวิตสู้งานกันต่อไป สู้ถูกทางดีที่สุดและมั่นคงที่สุดกับตัวเราแล้วครับ
    Apple แซะประเทศชาวบ้านดีนัก สมน้ำหน้ากะลาหัวเจาะ ยอดขายหัวเหว่ยและเสี่ยวมี่ที่อินโดนีเซียพุ่งพรวดรัวๆๆแน่นอน ส่วนตัวผมไม่อยากจะซื้อ Apple มาใช้ไม่ว่าจะแบบไหน ส่วนตัวผมมีซัมซุงเครื่องนึง อีกเครื่องจะรอเก็บเงินซื้อหัวเหว่ยสักหมื่นสองหมื่นก็ต้องสู้ชีวิตสู้งานกันต่อไป สู้ถูกทางดีที่สุดและมั่นคงที่สุดกับตัวเราแล้วครับ
    อินโดห้ามขาย iPhone 16 อยากใช้ต้องนำเข้าเอง (04/11/67) #news1 #อินโดห้ามขายiPhone16
    0 Comments 0 Shares 218 Views 736 0 Reviews
  • อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16

    ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้

    ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง

    กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์

    ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม

    ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน

    #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16 ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    Like
    6
    0 Comments 2 Shares 829 Views 0 Reviews
  • Galaxy Z Fold รุ่นพิเศษ หั่นบาง กล้องดีขึ้น (22/10/67) #news1 #GalaxyZFold #ซัมซุง #สมาร์ตโฟนจอพับ
    Galaxy Z Fold รุ่นพิเศษ หั่นบาง กล้องดีขึ้น (22/10/67) #news1 #GalaxyZFold #ซัมซุง #สมาร์ตโฟนจอพับ
    Like
    Love
    10
    0 Comments 0 Shares 1450 Views 425 0 Reviews