อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า
“ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !
ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2
แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย
นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ
ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121
การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้
- แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)
- แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)
- หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)
ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น
ผิดทั้งหมด !
เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย
รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว
การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน
แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !
ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้
นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554
นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !
ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
“นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้
อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ
เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา
แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย
จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !
นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย
โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน
ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร
ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…
“พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”
การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก
แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย
โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน
พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา
MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี
แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด
หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง
ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร
ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !
ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน
ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย
แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น
เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !
หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้
ที่มา
https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า
“ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !
ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2
แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย
นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ
ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121
การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้
- แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)
- แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)
- หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)
ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น
ผิดทั้งหมด !
เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย
รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว
การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน
แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !
ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้
นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554
นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !
ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
“นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้
อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ
เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา
แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย
จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !
นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย
โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน
ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร
ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…
“พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”
การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก
แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย
โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน
พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา
MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี
แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด
หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง
ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ
หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร
ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !
ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน
ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย
แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น
เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !
หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้
ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA
#Thaitimes