• วันนี้ขอพาทุกคนมาสัมผัสความสงบและงดงามที่ “วัดปัญญานันทาราม” ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

    จุดเด่นของวัดปัญญานันทาราม:
    • เจดีย์พุทธคยา: จำลองมาจากประเทศอินเดีย โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ ชั้นบนของเจดีย์เรียกว่า ชั้นพุทธเมตตา มีรูปหล่อของหลวงพ่อปัญญาประดิษฐานให้กราบไหว้

    • ภาพปริศนาธรรมแบบ 3 มิติ: ตั้งอยู่ที่ชั้นพุทธบารมี ใต้เจดีย์พุทธคยา เป็นภาพที่สื่อถึงธรรมะและแง่คิดในการดำเนินชีวิต

    • บรรยากาศเงียบสงบ: เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมและพักผ่อนจิตใจ

    💡 Tips:
    • แต่งกายสุภาพและถอดรองเท้าก่อนเข้าพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

    📍 พิกัด: วัดปัญญานันทาราม คลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
    วันนี้ขอพาทุกคนมาสัมผัสความสงบและงดงามที่ “วัดปัญญานันทาราม” ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จุดเด่นของวัดปัญญานันทาราม: • เจดีย์พุทธคยา: จำลองมาจากประเทศอินเดีย โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ ชั้นบนของเจดีย์เรียกว่า ชั้นพุทธเมตตา มีรูปหล่อของหลวงพ่อปัญญาประดิษฐานให้กราบไหว้ • ภาพปริศนาธรรมแบบ 3 มิติ: ตั้งอยู่ที่ชั้นพุทธบารมี ใต้เจดีย์พุทธคยา เป็นภาพที่สื่อถึงธรรมะและแง่คิดในการดำเนินชีวิต • บรรยากาศเงียบสงบ: เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมและพักผ่อนจิตใจ 💡 Tips: • แต่งกายสุภาพและถอดรองเท้าก่อนเข้าพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ 📍 พิกัด: วัดปัญญานันทาราม คลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทองเบรคกรอบสามเหลี่ยมแล้ว นวค.มองปีนี้วิ่งแตะ $3000/oz.
    ระดับราคาปิดตลาด ทะลุแนวต้าน กลับตัวเป็นขาขึ้น

    ANZ ให้ค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ $2738/oz.

    ปัจจัยมีผลกับราคาทองคำ
    1. ทิศทางดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่จะไปในทางผกผันกัน เช่น ดอลลาร์่อ่อนค่า ทองจะขึ้น ดอลลาร์แข็งค่า ทองจะลง
    2. เหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆ เช่น สงคราม ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    3. การเข้าสะสมทองคำของ ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ และ ประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น จีน อินเดีย

    *ปี 2567 ทองคำ +27.2%
    ทองเบรคกรอบสามเหลี่ยมแล้ว นวค.มองปีนี้วิ่งแตะ $3000/oz. ระดับราคาปิดตลาด ทะลุแนวต้าน กลับตัวเป็นขาขึ้น ANZ ให้ค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ $2738/oz. ปัจจัยมีผลกับราคาทองคำ 1. ทิศทางดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่จะไปในทางผกผันกัน เช่น ดอลลาร์่อ่อนค่า ทองจะขึ้น ดอลลาร์แข็งค่า ทองจะลง 2. เหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆ เช่น สงคราม ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3. การเข้าสะสมทองคำของ ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ และ ประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น จีน อินเดีย *ปี 2567 ทองคำ +27.2%
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 89 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action

    วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ

    ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา

    ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ

    คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน

    นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู

    คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน

    ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100%

    ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น

    นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1%

    ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20%

    ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน
    .
    .
    .
    ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้

    นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ

    และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด

    คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่

    ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย

    การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก

    (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ)

    แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ

    และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา
    .
    .
    .
    เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ

    ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง

    แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม

    คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน

    ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ

    ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ

    เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท

    ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม
    .
    .
    .
    ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ

    คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ

    จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง

    เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู

    อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย

    และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล

    คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด

    เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์

    ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ”
    .
    .
    .
    ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง

    คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย

    ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง

    หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์”

    ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary"

    "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“

    ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ

    เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“

    …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ…

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉


    นัทแนะ
    อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100% ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1% ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20% ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน . . . ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่ ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ) แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา . . . เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม . . . ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์ ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ” . . . ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์” ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary" "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“ ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“ …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ… ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉 นัทแนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 192 มุมมอง 0 รีวิว
  • Pixxel สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศของอินเดียที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google ได้เปิดตัวดาวเทียมถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมสามดวงจากหกดวงบนจรวด SpaceX จากแคลิฟอร์เนียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา การเปิดตัวครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับภาคเอกชนด้านอวกาศที่กำลังเติบโตของอินเดีย และสำหรับ Pixxel ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่มีอายุเพียงห้าปี

    ดาวเทียมเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ซึ่งสามารถจับข้อมูลรายละเอียดสูงในหลายแถบแสง เพื่อให้บริการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การทำเหมือง การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม และการป้องกันประเทศ เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกในการปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรของอินเดีย ติดตามทรัพยากร ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ได้ดีกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน

    ดาวเทียมอีกสามดวงที่เหลือคาดว่าจะถูกปล่อยในไตรมาสที่สองของปีนี้ จรวด SpaceX ยังบรรทุกดาวเทียมจากบริษัทอวกาศอินเดียอีกแห่งหนึ่งชื่อ Diganatara

    Awais Ahmed ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Pixxel กล่าวว่า "ตลาดภาพถ่ายดาวเทียมคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 19 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2029 และการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ระหว่าง 500 ล้านถึง 1 พันล้านดอลลาร์"

    Pixxel มีแผนที่จะเพิ่มยานอวกาศอีก 18 ลำจากที่พัฒนาแล้ว 6 ลำ และได้ลงนามกับลูกค้าประมาณ 65 ราย รวมถึง Rio Tinto, British Petroleum และกระทรวงเกษตรของอินเดีย โดยบางรายได้เริ่มจ่ายเงินสำหรับข้อมูลจากดาวเทียมทดลองแล้ว

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/15/google-backed-pixxel-successfully-launches-india039s-first-private-satellite-constellation
    Pixxel สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศของอินเดียที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google ได้เปิดตัวดาวเทียมถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมสามดวงจากหกดวงบนจรวด SpaceX จากแคลิฟอร์เนียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา การเปิดตัวครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับภาคเอกชนด้านอวกาศที่กำลังเติบโตของอินเดีย และสำหรับ Pixxel ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่มีอายุเพียงห้าปี ดาวเทียมเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ซึ่งสามารถจับข้อมูลรายละเอียดสูงในหลายแถบแสง เพื่อให้บริการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การทำเหมือง การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม และการป้องกันประเทศ เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกในการปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรของอินเดีย ติดตามทรัพยากร ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ได้ดีกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน ดาวเทียมอีกสามดวงที่เหลือคาดว่าจะถูกปล่อยในไตรมาสที่สองของปีนี้ จรวด SpaceX ยังบรรทุกดาวเทียมจากบริษัทอวกาศอินเดียอีกแห่งหนึ่งชื่อ Diganatara Awais Ahmed ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Pixxel กล่าวว่า "ตลาดภาพถ่ายดาวเทียมคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 19 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2029 และการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ระหว่าง 500 ล้านถึง 1 พันล้านดอลลาร์" Pixxel มีแผนที่จะเพิ่มยานอวกาศอีก 18 ลำจากที่พัฒนาแล้ว 6 ลำ และได้ลงนามกับลูกค้าประมาณ 65 ราย รวมถึง Rio Tinto, British Petroleum และกระทรวงเกษตรของอินเดีย โดยบางรายได้เริ่มจ่ายเงินสำหรับข้อมูลจากดาวเทียมทดลองแล้ว https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/15/google-backed-pixxel-successfully-launches-india039s-first-private-satellite-constellation
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Google-backed Pixxel successfully launches India's first private satellite constellation
    BENGALURU (Reuters) - India's space tech startup Pixxel launched three of its six hyperspectral imaging satellites aboard a SpaceX rocket from California on Tuesday.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 106 มุมมอง 0 รีวิว
  • เราว่าเราไปยากลำบากไปวัด แต่คนไปเขาคิชฌกูฏที่อินเดียเป็ยยากกว่าเรามาก คนไปเขาคิชฌกูฏเมืองจันทบุรี ก็ไปยสกกว่าเรา เราต้องิดทนกับความยากลำบากให้มาก
    เราว่าเราไปยากลำบากไปวัด แต่คนไปเขาคิชฌกูฏที่อินเดียเป็ยยากกว่าเรามาก คนไปเขาคิชฌกูฏเมืองจันทบุรี ก็ไปยสกกว่าเรา เราต้องิดทนกับความยากลำบากให้มาก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์!!

    มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวของสหรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มค้าขายน้ำมันของรัสเซียเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลต่อการขนส่งไปยังผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินเดียและจีน
    โดยมีบริษัทเป้าหมายที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่:
    ➖ "Surgutneftegaz" และ "Gazprom Neft"
    ➖ เรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 180 ลำของกองเรือ "เงา" ของรัสเซีย
    ➖ บริษัทประกันภัย "Alfastrakhovanie" และ "Ingosstrakh"
    ➖ ตัวแทนต่างชาติที่ค้าขายน้ำมันของรัสเซียและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานเหล่านี้

    การดำเนินการคว่ำบาตรครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกแล้ว โดยดันให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม

    ในคำประกาศจากกระทรวงการคลังสหรัฐ มีความคาดหวังที่สำคัญที่ต้องการให้บรรลุผล ได้แก่:

    ⭕️ คาดว่ามาตรการใหม่นี้จะทำให้รัสเซียสูญเสียเงิน "หลายพันล้านดอลลาร์" ทุกเดือน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนรูเบิล และอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหลักของธนาคารกลางรัสเซียปรับขึ้นขนานใหญ่

    ⭕️ มาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของตลาดน้ำมันโลก เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามจากการขาดแคลนอุปทาน และผลผลิตน้ำมันของสหรัฐในขณะนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ตลาดภายในประเทศยังคงมีอุปทานที่ล้นตลาดอยู่

    ⭕️ การคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งนี้ จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ให้ตลาดภายในประเทศของสหรัฐ สามารถส่งออกน้ำมันที่ล้นตลาดอยู่ขณะนี้ออกนอกประเทศได้

    https://home.treasury.gov/news/press-releases/jy2777
    สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์!! มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวของสหรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มค้าขายน้ำมันของรัสเซียเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลต่อการขนส่งไปยังผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินเดียและจีน โดยมีบริษัทเป้าหมายที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่: ➖ "Surgutneftegaz" และ "Gazprom Neft" ➖ เรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 180 ลำของกองเรือ "เงา" ของรัสเซีย ➖ บริษัทประกันภัย "Alfastrakhovanie" และ "Ingosstrakh" ➖ ตัวแทนต่างชาติที่ค้าขายน้ำมันของรัสเซียและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานเหล่านี้ การดำเนินการคว่ำบาตรครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกแล้ว โดยดันให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ในคำประกาศจากกระทรวงการคลังสหรัฐ มีความคาดหวังที่สำคัญที่ต้องการให้บรรลุผล ได้แก่: ⭕️ คาดว่ามาตรการใหม่นี้จะทำให้รัสเซียสูญเสียเงิน "หลายพันล้านดอลลาร์" ทุกเดือน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนรูเบิล และอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหลักของธนาคารกลางรัสเซียปรับขึ้นขนานใหญ่ ⭕️ มาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของตลาดน้ำมันโลก เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามจากการขาดแคลนอุปทาน และผลผลิตน้ำมันของสหรัฐในขณะนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ตลาดภายในประเทศยังคงมีอุปทานที่ล้นตลาดอยู่ ⭕️ การคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งนี้ จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ให้ตลาดภายในประเทศของสหรัฐ สามารถส่งออกน้ำมันที่ล้นตลาดอยู่ขณะนี้ออกนอกประเทศได้ https://home.treasury.gov/news/press-releases/jy2777
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 354 มุมมอง 0 รีวิว
  • บริษัทไทยเพิ่งชนะประมูลผลิตไฟจากโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียราคา 1.09 บาทตลอด25ปี แต่นายกฯจะให้กกพ.รับซื้อราคา 2.17 บาทตลอด 25 ปี!!??

    ข่าวจากฐานเศรษฐกิจว่าบริษัทGPSC ของไทยคว้าโซลาร์ฯ ในอินเดียกำลังผลิต 421 เมกฯเพิ่มไฟฟ้าสีเขียว ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียพุ่งสูงกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในราคา2.70 รูปี (0.03ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเป็นเงินไทย 1.09 บาท/หน่วย เป็นเวลา 25ปี

    ตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี แผนการดำเนินโครงการต้องให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน โดยคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 750 ล้านหน่วยต่อปี สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมภาคครัวเรือน ประมาณ 5 แสนครัวเรือนด้วยพลังงานสะอาด และยังมีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า 698,250 ตันต่อปี

    อินเดียประมูลซื้อขายไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงตลอดอย่างน่าทึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 อินเดียประมูลซื้อไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ในราคา 1.44 บาท/หน่วย พร้อมแบตเตอรี่

    แต่ประเทศไทยโดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี
    แพทองธารเป็นประธาน ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในราคา 2.17 บาท/หน่วยโดยไม่มีแบตเตอรี่ เป็นเวลา25ปี และให้เวลาเข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่ 2-5 ปี (2570-2573) ตามแผนพัฒนาพลังงาน(PDP) 2018

    ต้องถามว่ากกพ.ประกาศทำตามมติ กพช. ที่ให้ล็อคทั้งชื่อบริษัท และ ราคา โดยไม่ใช่การประมูล เรียกว่าเหมือนการประกวดนางงามบริษัทที่ใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก บริษัทที่ผ่านเข้ารอบดูเพียงคุณสมบัติ แต่ไม่ให้มีการประมูลราคาที่บริษัทจะขายในราคาต่ำที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้ไฟอย่างแท้จริง

    ที่น่าสนใจคือ บริษัทGPSC ที่ชนะการประมูลผลิตโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียในราคา 1.09 บาท ก็อยู่ในลิสต์รายชื่อบริษัทอันดับที่5 เสนอขายไฟฟ้า 118 เมกกะวัตต์ ที่กกพ.จะประกาศให้เป็นผู้มาทำสัญญาขายไฟในราคา 2.17 บาทโดยไม่มีแบตเตอรี่ (การมีแบตเตอรี่จะทำให้สามารถจ่ายไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน)

    ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เสนอว่าสามารถผลิตได้ในราคา 1.50 บาท/หน่วย แต่ กกพ. ไม่ให้มาแข่งกับเอกชน ซึ่งที่จริงไม่ใช่การแข่งด้วยซ้ำ
    เพราะกพช. กำหนดราคาตายตัวไว้เลยที่2.17 บาท/หน่วย แสดงว่าจงใจให้บริษัทเอกชนได้กำไรเห็นๆ ไปยาวๆ 25ปี และไม่ต้องการให้กฟผ.ผลิตทั้งที่ทำได้ถูกกว่า เเละกฟผ.มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าโดยตรง แต่กำลังจะทำให้ กฟผ.กลายเป็น กฟซ.
    หรือการไฟฟ้าฝ่ายซื้อ(ไฟแพง)จากเอกชนมาขายประชาชนเป็นหลัก

    ราคาพลังงานไฟฟ้าไม่มีทางถูกในระบบผูกขาดกินรวบของระบอบธุรกิจการเมือง

    ค่าไฟถูกจะเป็นเพียงกลยุทธ์ประชานิยมเพื่อหวังสร้างคะแนนเสียงชั่วครั้งชั่วคราวของรัฐบาลและพรรคการเมืองเท่านั้น

    ถ้าจะทำให้ค่าไฟราคาถูกอย่างเป็นธรรมได้ ต้องปรับโครงสร้างพลังงานให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่ผูกขาดเท่านั้น ที่ประชาชนจะได้ค่าไฟที่เป็นธรรมอย่างถาวร

    ประชาชนควรตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยโง่กว่ารัฐบาลประเทศอื่น หรือจงใจคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่องถ่ายกำไรมหาศาลให้กลุ่มธุรกิจเอกชนกันแน่??!!

    รสนา โตสิตระกูล
    10 มกราคม 2568
    บริษัทไทยเพิ่งชนะประมูลผลิตไฟจากโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียราคา 1.09 บาทตลอด25ปี แต่นายกฯจะให้กกพ.รับซื้อราคา 2.17 บาทตลอด 25 ปี!!?? ข่าวจากฐานเศรษฐกิจว่าบริษัทGPSC ของไทยคว้าโซลาร์ฯ ในอินเดียกำลังผลิต 421 เมกฯเพิ่มไฟฟ้าสีเขียว ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียพุ่งสูงกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในราคา2.70 รูปี (0.03ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเป็นเงินไทย 1.09 บาท/หน่วย เป็นเวลา 25ปี ตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี แผนการดำเนินโครงการต้องให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน โดยคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 750 ล้านหน่วยต่อปี สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมภาคครัวเรือน ประมาณ 5 แสนครัวเรือนด้วยพลังงานสะอาด และยังมีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า 698,250 ตันต่อปี อินเดียประมูลซื้อขายไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงตลอดอย่างน่าทึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 อินเดียประมูลซื้อไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ในราคา 1.44 บาท/หน่วย พร้อมแบตเตอรี่ แต่ประเทศไทยโดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี แพทองธารเป็นประธาน ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในราคา 2.17 บาท/หน่วยโดยไม่มีแบตเตอรี่ เป็นเวลา25ปี และให้เวลาเข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่ 2-5 ปี (2570-2573) ตามแผนพัฒนาพลังงาน(PDP) 2018 ต้องถามว่ากกพ.ประกาศทำตามมติ กพช. ที่ให้ล็อคทั้งชื่อบริษัท และ ราคา โดยไม่ใช่การประมูล เรียกว่าเหมือนการประกวดนางงามบริษัทที่ใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก บริษัทที่ผ่านเข้ารอบดูเพียงคุณสมบัติ แต่ไม่ให้มีการประมูลราคาที่บริษัทจะขายในราคาต่ำที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้ไฟอย่างแท้จริง ที่น่าสนใจคือ บริษัทGPSC ที่ชนะการประมูลผลิตโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียในราคา 1.09 บาท ก็อยู่ในลิสต์รายชื่อบริษัทอันดับที่5 เสนอขายไฟฟ้า 118 เมกกะวัตต์ ที่กกพ.จะประกาศให้เป็นผู้มาทำสัญญาขายไฟในราคา 2.17 บาทโดยไม่มีแบตเตอรี่ (การมีแบตเตอรี่จะทำให้สามารถจ่ายไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน) ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เสนอว่าสามารถผลิตได้ในราคา 1.50 บาท/หน่วย แต่ กกพ. ไม่ให้มาแข่งกับเอกชน ซึ่งที่จริงไม่ใช่การแข่งด้วยซ้ำ เพราะกพช. กำหนดราคาตายตัวไว้เลยที่2.17 บาท/หน่วย แสดงว่าจงใจให้บริษัทเอกชนได้กำไรเห็นๆ ไปยาวๆ 25ปี และไม่ต้องการให้กฟผ.ผลิตทั้งที่ทำได้ถูกกว่า เเละกฟผ.มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าโดยตรง แต่กำลังจะทำให้ กฟผ.กลายเป็น กฟซ. หรือการไฟฟ้าฝ่ายซื้อ(ไฟแพง)จากเอกชนมาขายประชาชนเป็นหลัก ราคาพลังงานไฟฟ้าไม่มีทางถูกในระบบผูกขาดกินรวบของระบอบธุรกิจการเมือง ค่าไฟถูกจะเป็นเพียงกลยุทธ์ประชานิยมเพื่อหวังสร้างคะแนนเสียงชั่วครั้งชั่วคราวของรัฐบาลและพรรคการเมืองเท่านั้น ถ้าจะทำให้ค่าไฟราคาถูกอย่างเป็นธรรมได้ ต้องปรับโครงสร้างพลังงานให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่ผูกขาดเท่านั้น ที่ประชาชนจะได้ค่าไฟที่เป็นธรรมอย่างถาวร ประชาชนควรตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยโง่กว่ารัฐบาลประเทศอื่น หรือจงใจคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่องถ่ายกำไรมหาศาลให้กลุ่มธุรกิจเอกชนกันแน่??!! รสนา โตสิตระกูล 10 มกราคม 2568
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 491 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนระบุในวันพุธ (8 ม.ค.) สามารถช่วยผู้ประสบภัยกว่า 400 คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังจากแผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคาร (7) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหายไม่ทราบจำนวนท่ามกลางสภาพอากาศติดลบ 18 องศาเซลเซียส

    พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 6.8 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันอังคาร และถือเป็นธรณีพิโรธครั้งรุนแรงที่สุดในบริเวณดังกล่าวในรอบหลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่อำเภอติงกริ จังหวัดซีกัตเซ ของเขตปกครองตนเองทิเบต โดยอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกประมาณ 80 กิโลเมตร ขณะที่ซีกัตเซ ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธนิกายทิเบต เนื่องจากเมืองซีกัตเซถือเป็นที่ประทับของปันเจนลามะ หนึ่งในพระลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายทิเบต โดยเป็นรองเฉพาะองค์ทะไลลามะเท่านั้น

    จากการที่แผ่นดินไหวคราวนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 24 ชั่วโมง ย่อมหมายความว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังต้องผจญค่ำคืนที่อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมาแล้ว 1 คืน และเพิ่มความกดดันสำหรับพวกเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ต้องรีบเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ประสบภัยซึ่งเป็นเขตเขาสูง และมีความกว้างขวางพอๆ กับอาณาเขตประเทศกัมพูชา

    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ท่ามกลางอุณหภูมิในพื้นที่ดังกล่าวที่ลดลงถึงระดับ -18 องศาเซลเซียสในช่วงคืนวันอังคาร ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหรือกระทั่งผู้ซึ่งต้องหลบภัยอยู่นอกอาคารบ้านเรือน มีความเสี่ยงเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็ว และอาจอยู่รอดได้เพียง 5-10 ชั่วโมงแม้ไม่ได้รับบาดเจ็บ

    ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นสมาชิกครอบครัวเบียดกันอยู่ในเต็นท์สีน้ำเงินและเขียวที่ทหารและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์รีบไปติดตั้งให้ในชุมชนรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยที่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาอีกหลายร้อยระลอก

    ในวันพุธ ซีซีทีวียังคงรายงานตัวเลขเดิมซึ่งอัปเดตตั้งแต่ตอนดึกวันอังคารที่ว่า ในทิเบตมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บ 188 คน ขณะที่รายงานจากพวกเพื่อนบ้านอย่างเนปาลและประเทศใกล้เคียง ถึงแม้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทว่ายังไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิต

    จากการวิเคราะห์ของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้ ทำให้พื้นดินรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวยุบตัวลงถึง 1.6 เมตรในระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร

    ด้านสื่อของทางการจีนรายงานว่า บริเวณโดยรอบของพื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ในสภาพเสียหายหนัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บ้านเรือน 3,609 หลังพังทลายในเมืองซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 800,000 คน และเวลานี้ทางการจีนจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 14,000 คนไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว

    ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแถลงวันพุธ (8 ) ว่า ผู้ประสบภัยกว่า 46,500 คนถูกนำไปยังที่พักใหม่ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว 484 คนในติงกริที่ได้รับการนำส่งอย่างปลอดภัยไปยังเมืองซีกัตเซ

    ทั้งนี้ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร รวมทั้งเนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน

    รายงานระบุว่า จนถึงเที่ยงวันพุธ มีอาฟเตอร์ช็อก เกิดขึ้น 646 ครั้งในบริเวณรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยครั้งรุนแรงที่สุดอยู่ในระดับ 4.4

    ข้อมูลจากสำนักงานแผ่นดินไหวท้องถิ่นระบุว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหว 29 ครั้ง วัดความแรงได้ระดับ 3 ขึ้นไปภายในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบพื้นท่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคาร

    เหมิง ฮุ่ย รองหัวหน้าสำนักงานแผ่นดินไหวทิเบต แถลงว่า จากการวิเคราะห์พบว่า อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ในบริเวณเดียวกันนี้ในอนาคต

    แผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคารถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในจีนนับจากปี 2023 ที่เกิดแผ่นดินไหวความแรง 6.2 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คนในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

    ปี 2008 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ในเสฉวน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70,000 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวในจีนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับจากเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองถังชานในปี 1976 ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 242,000 คน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002350
    ..............
    Sondhi X
    จีนระบุในวันพุธ (8 ม.ค.) สามารถช่วยผู้ประสบภัยกว่า 400 คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังจากแผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคาร (7) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหายไม่ทราบจำนวนท่ามกลางสภาพอากาศติดลบ 18 องศาเซลเซียส พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 6.8 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันอังคาร และถือเป็นธรณีพิโรธครั้งรุนแรงที่สุดในบริเวณดังกล่าวในรอบหลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่อำเภอติงกริ จังหวัดซีกัตเซ ของเขตปกครองตนเองทิเบต โดยอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกประมาณ 80 กิโลเมตร ขณะที่ซีกัตเซ ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธนิกายทิเบต เนื่องจากเมืองซีกัตเซถือเป็นที่ประทับของปันเจนลามะ หนึ่งในพระลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายทิเบต โดยเป็นรองเฉพาะองค์ทะไลลามะเท่านั้น จากการที่แผ่นดินไหวคราวนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 24 ชั่วโมง ย่อมหมายความว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังต้องผจญค่ำคืนที่อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมาแล้ว 1 คืน และเพิ่มความกดดันสำหรับพวกเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ต้องรีบเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ประสบภัยซึ่งเป็นเขตเขาสูง และมีความกว้างขวางพอๆ กับอาณาเขตประเทศกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ท่ามกลางอุณหภูมิในพื้นที่ดังกล่าวที่ลดลงถึงระดับ -18 องศาเซลเซียสในช่วงคืนวันอังคาร ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหรือกระทั่งผู้ซึ่งต้องหลบภัยอยู่นอกอาคารบ้านเรือน มีความเสี่ยงเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็ว และอาจอยู่รอดได้เพียง 5-10 ชั่วโมงแม้ไม่ได้รับบาดเจ็บ ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นสมาชิกครอบครัวเบียดกันอยู่ในเต็นท์สีน้ำเงินและเขียวที่ทหารและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์รีบไปติดตั้งให้ในชุมชนรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยที่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาอีกหลายร้อยระลอก ในวันพุธ ซีซีทีวียังคงรายงานตัวเลขเดิมซึ่งอัปเดตตั้งแต่ตอนดึกวันอังคารที่ว่า ในทิเบตมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บ 188 คน ขณะที่รายงานจากพวกเพื่อนบ้านอย่างเนปาลและประเทศใกล้เคียง ถึงแม้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทว่ายังไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิต จากการวิเคราะห์ของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้ ทำให้พื้นดินรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวยุบตัวลงถึง 1.6 เมตรในระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านสื่อของทางการจีนรายงานว่า บริเวณโดยรอบของพื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ในสภาพเสียหายหนัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บ้านเรือน 3,609 หลังพังทลายในเมืองซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 800,000 คน และเวลานี้ทางการจีนจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 14,000 คนไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแถลงวันพุธ (8 ) ว่า ผู้ประสบภัยกว่า 46,500 คนถูกนำไปยังที่พักใหม่ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว 484 คนในติงกริที่ได้รับการนำส่งอย่างปลอดภัยไปยังเมืองซีกัตเซ ทั้งนี้ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร รวมทั้งเนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน รายงานระบุว่า จนถึงเที่ยงวันพุธ มีอาฟเตอร์ช็อก เกิดขึ้น 646 ครั้งในบริเวณรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยครั้งรุนแรงที่สุดอยู่ในระดับ 4.4 ข้อมูลจากสำนักงานแผ่นดินไหวท้องถิ่นระบุว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหว 29 ครั้ง วัดความแรงได้ระดับ 3 ขึ้นไปภายในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบพื้นท่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคาร เหมิง ฮุ่ย รองหัวหน้าสำนักงานแผ่นดินไหวทิเบต แถลงว่า จากการวิเคราะห์พบว่า อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ในบริเวณเดียวกันนี้ในอนาคต แผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคารถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในจีนนับจากปี 2023 ที่เกิดแผ่นดินไหวความแรง 6.2 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คนในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ปี 2008 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ในเสฉวน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70,000 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวในจีนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับจากเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองถังชานในปี 1976 ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 242,000 คน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002350 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1013 มุมมอง 0 รีวิว
  • แปลกดีนะ..คนไทย...ละทิ้ง ความรู้ ความเชื่อ ความคิด ที่เรียนสู้สั่งสมมาชั่วชีวิต ด้วยสิ่งที่ใครบอกยังไม่รู้เลย ว่าจริงไหม? แต่เชื่อเขา...อย่างเรื่อง พุทธคุณ พระเครื่อง สิ่งเคารพแทนพระพุทธเจ้า มีการโยงไปถึง พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเอาไว้..มาลองคิดตาม..ก็ยุคท่านยังไม่มีไง..รูปเคารพถูกสร้างหลังจากท่านนิพพานไปแล้วกว่า 600 ปี..ทำให้พุทธศาสนา สืบต่อและยืนยาวมาได้..ถามว่า ถ้าไม่มี..จะยังคงเหลือไหม? แม้ในถิ่นกำเนิด อินเดีย เนปาล ยังหายไปเลย...สิ่งที่อ้างถึง ไม่ว่า พุทธวจนะ พระไตรปิฏก..มีการคัดลอก สังคายนา ถ่ายทอด กี่ครั้ง..ท่านรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งนั้นจริง...ฉะนั้น การเชื่ออะไรสักอย่าง ท่านต้องเอา หลักคิด ความรู้ของตน..เข้าไปผสมด้วย ..ไม่ใช่เชื่อ เพราะเขาบอกว่า .....แล้วละทิ้งสิ่งอื่นทั้งหมด
    แปลกดีนะ..คนไทย...ละทิ้ง ความรู้ ความเชื่อ ความคิด ที่เรียนสู้สั่งสมมาชั่วชีวิต ด้วยสิ่งที่ใครบอกยังไม่รู้เลย ว่าจริงไหม? แต่เชื่อเขา...อย่างเรื่อง พุทธคุณ พระเครื่อง สิ่งเคารพแทนพระพุทธเจ้า มีการโยงไปถึง พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเอาไว้..มาลองคิดตาม..ก็ยุคท่านยังไม่มีไง..รูปเคารพถูกสร้างหลังจากท่านนิพพานไปแล้วกว่า 600 ปี..ทำให้พุทธศาสนา สืบต่อและยืนยาวมาได้..ถามว่า ถ้าไม่มี..จะยังคงเหลือไหม? แม้ในถิ่นกำเนิด อินเดีย เนปาล ยังหายไปเลย...สิ่งที่อ้างถึง ไม่ว่า พุทธวจนะ พระไตรปิฏก..มีการคัดลอก สังคายนา ถ่ายทอด กี่ครั้ง..ท่านรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งนั้นจริง...ฉะนั้น การเชื่ออะไรสักอย่าง ท่านต้องเอา หลักคิด ความรู้ของตน..เข้าไปผสมด้วย ..ไม่ใช่เชื่อ เพราะเขาบอกว่า .....แล้วละทิ้งสิ่งอื่นทั้งหมด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 166 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ในแคว้นทิเบตของจีน เมื่อวันอังคาร (7 ม.ค.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน อาคารบ้านเรือนมากมายถล่ม และแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงเนปาล ภูฏาน และตอนเหนือของอินเดีย
    .
    ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวของจีน (ซีอีเอ็นซี) รายงานว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 9.05 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีศูนย์กลางเหนือแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอติงกริ ที่รู้จักกันว่า เป็นประตูด้านเหนือสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ ขณะที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไป 10 กม. ซึ่งถือว่าตื้นและมักก่อความเสียหายได้สูง ทางด้านสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯนั้น ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรง 7.1
    .
    อำเภอติงกริ ยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรราว 800,000 คน และอยู่ในการบริหารปกครองของนครซีกัตเซ ที่ตามประเพณีแล้วเป็นที่ประทับของปันเชนลามะ หนึ่งในพระลามะสำคัญที่สุดในศาสนาพุทธนิกายทิเบต
    .
    ภาพวิดีโอของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นบ้านเรือนมากมายเสียหาย ผนังอาคารแยกออกจากกัน ขณะที่รายงานผู้เสียชีวิตได้รับการปรับให้สูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงเวลาตอนดึกวันอังคาร สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน ให้ตัวเลขว่าเฉพาะในทิเบต มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บอีก 188 คน
    .
    ทั้งนี้ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร เนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน
    .
    ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคารอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกและจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักปีนเขาและนักเดินป่าราว 80 กม.
    .
    สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในรัศมี 20 กม.จากพื้นที่เหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีเมืองตั้งอยู่ 3 เมือง และหมู่บ้าน 27 หมู่บ้าน จำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 6,900 คน ขณะนี้มีรายงานว่าบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยท้องถิ่นกว่า 1,500 คนถูกส่งไปยังพื้นที่ประสบภัย นอกจากนั้น รัฐบาลจีนยังนำเต็นต์ผ้าฝ้าย เสื้อคลุมผ้าฝ้าย ผ้าห่ม และเตียงพับ ไปแจกจ่ายในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
    .
    ด้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ประสานกับเมืองใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบผลกระทบจากแผ่นดินไหว และค้นหาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต นอกจากนั้น หลังเกิดเหตุจีนยังห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปในบริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์จากฝั่งทิเบต
    .
    สื่อจีนรายงานว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สั่งการให้ทุ่มเทความพยายามทั้งหมดในการค้นหาและกู้ภัยเพื่อลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งให้จัดหาที่พักอาศัยใหม่แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และทำให้ผู้ประสบภัยปลอดภัยและอบอุ่นท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นติดลบ 8 องศาในติงกริ อีกทั้งคาดว่า จะลดลงอยู่ที่ -18 องศาในค่ำวันอังคาร
    .
    หมู่บ้านต่างๆ ในติงกริที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลราว 4,000-5,000 เมตร รายงานว่า มีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกหลายสิบครั้ง ครั้งที่รุนแรงนั้นวัดความแรงได้ 4.4
    .
    แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในทิเบตยังรับรู้ได้ถึงกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ที่อยู่ห่างจากพื้นที่เหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 400 กม. ทำให้มีประชาชนจำนวนมากพากันวิ่งหนีออกจากบ้าน และผู้ได้รับบาดเจ็บหนึ่งคนเป็นชายที่กระโดดลงจากชั้นบนของบ้าน
    .
    กาฐมาณฑุเคยเผชิญแผ่นดินไหวความแรง 7.8 ในปี 2015 ที่มีผู้เสียชีวิตราว 9,000 คน และบาดเจ็บหลายพันคน ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศนี้
    .
    นอกจากนั้น ประชาชนในกรุงทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน และที่รัฐพิหาร ตอนเหนือของอินเดียที่ติดกับพรมแดนเนปาล ก็รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีรายงานความเสียหายหรือทรัพย์สินสูญหายแต่อย่างใด
    .
    ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว เกิดแผ่นดินไหวตามแนวเทือกเขาบริเวณชายแดนจีน-คีร์กีซถาน วัดความแรงได้ 7.0 มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บหลายสิบคน
    .
    และก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีกคือในเดือนธันวาคม 2023 เกิดแผ่นดินไหวในมณฑลกานซู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีผู้เสียชีวิต 148 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในจีนนับจากปี 2014 ที่เหตุธรณีพิโรธในมณฑลยูนนานคร่าชีวิตประชาชนกว่า 600 คน
    .
    แผ่นดินไหวในเดือนธันวาคม 2023 ยังเกิดขึ้นท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ ทำให้ปฏิบัติการช่วยเหลือยิ่งท้าทายมากขึ้น โดยผู้รอดชีวิตต้องผิงไฟกลางแจ้งเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001959
    ..............
    Sondhi X
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ในแคว้นทิเบตของจีน เมื่อวันอังคาร (7 ม.ค.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน อาคารบ้านเรือนมากมายถล่ม และแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงเนปาล ภูฏาน และตอนเหนือของอินเดีย . ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวของจีน (ซีอีเอ็นซี) รายงานว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 9.05 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีศูนย์กลางเหนือแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอติงกริ ที่รู้จักกันว่า เป็นประตูด้านเหนือสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ ขณะที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไป 10 กม. ซึ่งถือว่าตื้นและมักก่อความเสียหายได้สูง ทางด้านสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯนั้น ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรง 7.1 . อำเภอติงกริ ยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรราว 800,000 คน และอยู่ในการบริหารปกครองของนครซีกัตเซ ที่ตามประเพณีแล้วเป็นที่ประทับของปันเชนลามะ หนึ่งในพระลามะสำคัญที่สุดในศาสนาพุทธนิกายทิเบต . ภาพวิดีโอของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นบ้านเรือนมากมายเสียหาย ผนังอาคารแยกออกจากกัน ขณะที่รายงานผู้เสียชีวิตได้รับการปรับให้สูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงเวลาตอนดึกวันอังคาร สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน ให้ตัวเลขว่าเฉพาะในทิเบต มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บอีก 188 คน . ทั้งนี้ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร เนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน . ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคารอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกและจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักปีนเขาและนักเดินป่าราว 80 กม. . สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในรัศมี 20 กม.จากพื้นที่เหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีเมืองตั้งอยู่ 3 เมือง และหมู่บ้าน 27 หมู่บ้าน จำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 6,900 คน ขณะนี้มีรายงานว่าบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยท้องถิ่นกว่า 1,500 คนถูกส่งไปยังพื้นที่ประสบภัย นอกจากนั้น รัฐบาลจีนยังนำเต็นต์ผ้าฝ้าย เสื้อคลุมผ้าฝ้าย ผ้าห่ม และเตียงพับ ไปแจกจ่ายในพื้นที่ดังกล่าวด้วย . ด้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ประสานกับเมืองใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบผลกระทบจากแผ่นดินไหว และค้นหาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต นอกจากนั้น หลังเกิดเหตุจีนยังห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปในบริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์จากฝั่งทิเบต . สื่อจีนรายงานว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สั่งการให้ทุ่มเทความพยายามทั้งหมดในการค้นหาและกู้ภัยเพื่อลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งให้จัดหาที่พักอาศัยใหม่แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และทำให้ผู้ประสบภัยปลอดภัยและอบอุ่นท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นติดลบ 8 องศาในติงกริ อีกทั้งคาดว่า จะลดลงอยู่ที่ -18 องศาในค่ำวันอังคาร . หมู่บ้านต่างๆ ในติงกริที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลราว 4,000-5,000 เมตร รายงานว่า มีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกหลายสิบครั้ง ครั้งที่รุนแรงนั้นวัดความแรงได้ 4.4 . แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในทิเบตยังรับรู้ได้ถึงกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ที่อยู่ห่างจากพื้นที่เหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 400 กม. ทำให้มีประชาชนจำนวนมากพากันวิ่งหนีออกจากบ้าน และผู้ได้รับบาดเจ็บหนึ่งคนเป็นชายที่กระโดดลงจากชั้นบนของบ้าน . กาฐมาณฑุเคยเผชิญแผ่นดินไหวความแรง 7.8 ในปี 2015 ที่มีผู้เสียชีวิตราว 9,000 คน และบาดเจ็บหลายพันคน ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศนี้ . นอกจากนั้น ประชาชนในกรุงทิมพู เมืองหลวงของภูฏาน และที่รัฐพิหาร ตอนเหนือของอินเดียที่ติดกับพรมแดนเนปาล ก็รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีรายงานความเสียหายหรือทรัพย์สินสูญหายแต่อย่างใด . ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว เกิดแผ่นดินไหวตามแนวเทือกเขาบริเวณชายแดนจีน-คีร์กีซถาน วัดความแรงได้ 7.0 มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บหลายสิบคน . และก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีกคือในเดือนธันวาคม 2023 เกิดแผ่นดินไหวในมณฑลกานซู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีผู้เสียชีวิต 148 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในจีนนับจากปี 2014 ที่เหตุธรณีพิโรธในมณฑลยูนนานคร่าชีวิตประชาชนกว่า 600 คน . แผ่นดินไหวในเดือนธันวาคม 2023 ยังเกิดขึ้นท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ ทำให้ปฏิบัติการช่วยเหลือยิ่งท้าทายมากขึ้น โดยผู้รอดชีวิตต้องผิงไฟกลางแจ้งเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001959 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 961 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดนีเซีย ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการแล้ว จากคำแถลงของบราซิล ประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปัจจุบัน
    .
    BRICS ก่อตั้งในปี 2009 โดย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ก่อน แอฟริกาใต้ เข้าร่วมในอีก 2 ปีต่อมา แม้เบื้องต้นทางกลุ่มถูกมองในฐานะแพลตฟอร์มหนึ่งๆ เพื่อการลงทุนร่วมกันและรับประกันเสถียรภาพทางการเงิน แต่มันค่อยๆพัฒนาสู่ฟอรัมหนึ่งๆที่มีวาระต่างๆกว้างขวางกว่าเดิม ในนั้นรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคง
    .
    การเสนอตัวเข้าร่วมกลุ่มของอินโดนีเซีย ได้รับการรับรองจากพวกผู้นำกลุ่ม BRICS ย้อนกลับไปมาตั้งแต่ปี 2023 แต่ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 270 ล้านคนแห่งนี้ เลือกที่จะเข้าร่วมกลุ่ม หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปีที่แล้ว
    .
    "ด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียจะมีส่วนร่วมกับสมาชิกชาติอื่นๆของกลุ่ม ในการสนัสนุนการปฏิรูปธรรมาภิบาลสถาบันต่างๆของโลก และส่งเสริมในแง่บวกต่อการกระชับความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในซีกโลกใต้" รัฐบาลบราซิลระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขต อ้าแขนต้อนรับประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ในนั้นรวมถึง อิหร่าน เอธิโอเปีย อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะสมาชิกเต็มขั้น ส่วนประเะทศอื่นๆอาทิ เบลารุส โบลิเวีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซียและอุซเบกิสถาน มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ได้รับคาดหมายว่าจะก้าวมาเป็นรัฐคู่หูของ BRICS อย่างเป็นทางการในปีนี้
    .
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกกว่า 20 ประเทศ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS เช่นกัน จากคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ในขณะที่มอสโกเพิ่งดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปี 2024 ที่ผ่านมา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001577
    ..............
    Sondhi X
    อินโดนีเซีย ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการแล้ว จากคำแถลงของบราซิล ประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปัจจุบัน . BRICS ก่อตั้งในปี 2009 โดย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ก่อน แอฟริกาใต้ เข้าร่วมในอีก 2 ปีต่อมา แม้เบื้องต้นทางกลุ่มถูกมองในฐานะแพลตฟอร์มหนึ่งๆ เพื่อการลงทุนร่วมกันและรับประกันเสถียรภาพทางการเงิน แต่มันค่อยๆพัฒนาสู่ฟอรัมหนึ่งๆที่มีวาระต่างๆกว้างขวางกว่าเดิม ในนั้นรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคง . การเสนอตัวเข้าร่วมกลุ่มของอินโดนีเซีย ได้รับการรับรองจากพวกผู้นำกลุ่ม BRICS ย้อนกลับไปมาตั้งแต่ปี 2023 แต่ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 270 ล้านคนแห่งนี้ เลือกที่จะเข้าร่วมกลุ่ม หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปีที่แล้ว . "ด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียจะมีส่วนร่วมกับสมาชิกชาติอื่นๆของกลุ่ม ในการสนัสนุนการปฏิรูปธรรมาภิบาลสถาบันต่างๆของโลก และส่งเสริมในแง่บวกต่อการกระชับความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในซีกโลกใต้" รัฐบาลบราซิลระบุในถ้อยแถลง . เมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขต อ้าแขนต้อนรับประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ในนั้นรวมถึง อิหร่าน เอธิโอเปีย อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะสมาชิกเต็มขั้น ส่วนประเะทศอื่นๆอาทิ เบลารุส โบลิเวีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซียและอุซเบกิสถาน มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ได้รับคาดหมายว่าจะก้าวมาเป็นรัฐคู่หูของ BRICS อย่างเป็นทางการในปีนี้ . นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกกว่า 20 ประเทศ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS เช่นกัน จากคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ในขณะที่มอสโกเพิ่งดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปี 2024 ที่ผ่านมา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001577 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 871 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ในฐานะสมาชิกเต็มตัว (Full Member)

    รัฐบาลบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ในปี 2025 เพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการว่าอินโดนีเซียได้กลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่ม BRICS แล้ว หลังจากได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นที่การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ในปี 2023 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งจะทำให้กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ขยายตัวมากขึ้น

    อินโดนีเซีย มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ BRICS และส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มที่เรียกว่า Global South

    จีนยังได้แสดงความยินดีโดยระบุว่าอินโดนีเซียมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ BRICS Plus และสอดคล้องกับจิตวิญญาณของ BRICS ในด้านพหุภาคีและการพัฒนาร่วมกัน

    อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกเต็มตัว (Full Member) ที่ได้รับการอนุมัติตามหลังอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    ในเดือนธันวาคม BRICS ได้ประกาศให้ เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน มาเลเซีย ไทย ยูกันดา และอุซเบกิสถานจะเข้าร่วมกลุ่มในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ( partner countries)

    อินโดนีเซียเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ในฐานะสมาชิกเต็มตัว (Full Member) รัฐบาลบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ในปี 2025 เพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการว่าอินโดนีเซียได้กลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่ม BRICS แล้ว หลังจากได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นที่การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ในปี 2023 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งจะทำให้กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ขยายตัวมากขึ้น อินโดนีเซีย มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ BRICS และส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มที่เรียกว่า Global South จีนยังได้แสดงความยินดีโดยระบุว่าอินโดนีเซียมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ BRICS Plus และสอดคล้องกับจิตวิญญาณของ BRICS ในด้านพหุภาคีและการพัฒนาร่วมกัน อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกเต็มตัว (Full Member) ที่ได้รับการอนุมัติตามหลังอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในเดือนธันวาคม BRICS ได้ประกาศให้ เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน มาเลเซีย ไทย ยูกันดา และอุซเบกิสถานจะเข้าร่วมกลุ่มในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ( partner countries)
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มีสื่อรายงานเกี่ยวกับ "อินเดียปฏิเสธข้อเสนอของ BRICS ที่จะซื้อขายกันด้วยสกุลเงินท้องถิ่น" โดยระบุว่า อินเดียยังคงต้องการให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีอยู่ต่อไป

    แต่ในความเป็นจริง อินเดียเพียงแค่ต้องการแยกตัวออกจากดอลลาร์อย่างช้าๆ หากเราพิจารณาสภาพสังคมของอินเดีย ที่การดำเนินนโยบายภายในประเทศมีความหลากหลายกว่าที่ใดในโลก ทำให้อินเดียจำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป

    อินเดียมีโครงสร้างประชากรที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆอย่างมาก อินเดียมีพรรคการเมืองระดับชาติ 6 พรรค และพรรคการเมืองระดับรัฐอีก 58 พรรค นโยบายแต่ละอย่างของอินเดียจะส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองเหล่านี้ทั้งหมด หากเกิดความผิดพลาดใดๆก็ตามจะทำให้พรรครัฐบาลอาจพังทลายได้

    อินเดียพูดภาษาต่างๆมากกว่า 700 ภาษา เป็นประเทศที่มีความหลากหลายมาก ดังนั้นความต้องการของอินเดียจึงแตกต่างกันด้วย
    วันนี้มีสื่อรายงานเกี่ยวกับ "อินเดียปฏิเสธข้อเสนอของ BRICS ที่จะซื้อขายกันด้วยสกุลเงินท้องถิ่น" โดยระบุว่า อินเดียยังคงต้องการให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีอยู่ต่อไป แต่ในความเป็นจริง อินเดียเพียงแค่ต้องการแยกตัวออกจากดอลลาร์อย่างช้าๆ หากเราพิจารณาสภาพสังคมของอินเดีย ที่การดำเนินนโยบายภายในประเทศมีความหลากหลายกว่าที่ใดในโลก ทำให้อินเดียจำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป อินเดียมีโครงสร้างประชากรที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆอย่างมาก อินเดียมีพรรคการเมืองระดับชาติ 6 พรรค และพรรคการเมืองระดับรัฐอีก 58 พรรค นโยบายแต่ละอย่างของอินเดียจะส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองเหล่านี้ทั้งหมด หากเกิดความผิดพลาดใดๆก็ตามจะทำให้พรรครัฐบาลอาจพังทลายได้ อินเดียพูดภาษาต่างๆมากกว่า 700 ภาษา เป็นประเทศที่มีความหลากหลายมาก ดังนั้นความต้องการของอินเดียจึงแตกต่างกันด้วย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตัวเลขที่น่าทึ่งมาก—ผู้คนทั่วโลกกว่า 420 ล้านคนเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัล และแนวโน้มนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ! ต่อไปนี้คือข้อมูลเชิงลึกที่น่าประหลาดใจจากสถิติการเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลล่าสุด:1️⃣ อินเดียเป็นผู้นำด้วยจำนวนเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 103 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเงินดิจิทัลกำลังปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่อย่างไร 2️⃣ ประเทศไทย (9.32%)ของจำนวนเจ้าของคริปโต 6.7ล้านคน และบราซิลกับปากีสถาน (6.40%) ตามมาใกล้ชิด ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น 3️⃣ ไนจีเรียได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของสกุลเงินดิจิทัลของแอฟริกาอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ใช้ 12.8 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังปฏิวัติการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนอย่างไร สกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่แค่สินทรัพย์เท่านั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ปรับเปลี่ยนมุมมองของคนที่มีต่อเงิน อำนาจ และความเป็นเจ้าของ ตั้งแต่การลงทุนไปจนถึงการโอนเงิน กรณีการใช้งานนั้นไม่มีที่สิ้นสุด ทำไมการนำคริปโตมาใช้จึงเพิ่มขึ้น• การป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ: ผู้คนในเศรษฐกิจเกิดใหม่มองหาทางเลือกอื่นแทนสกุลเงินเฟียตที่ผันผวน• การทำธุรกรรมไร้พรมแดน: ไม่มีตัวกลาง เพียงแค่มีโซลูชันที่เร็วกว่าและถูกกว่า!• นวัตกรรมฟินเทคที่กำลังเติบโต: แพลตฟอร์มทำให้คริปโตเข้าถึงได้แม้กระทั่งบุคคลที่ไม่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นที่สังเกตว่าการใช้งานคริปโตเป็นโอกาสของนักลงทุนโลกสีเทาที่มั่งคั่งร่ำรวยจากการฟอกเงินที่ได้จากคอรัปชั่นหรือมาจากขบวนการแก๊ง call center จากบ่อนการพนัน หรือการเรียกค่าไถ่ มัลแวร์ และมาจากการค้าสิ่งผิดกฎหมาย ที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินไม่ได้
    ตัวเลขที่น่าทึ่งมาก—ผู้คนทั่วโลกกว่า 420 ล้านคนเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัล และแนวโน้มนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ! ต่อไปนี้คือข้อมูลเชิงลึกที่น่าประหลาดใจจากสถิติการเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลล่าสุด:1️⃣ อินเดียเป็นผู้นำด้วยจำนวนเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 103 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเงินดิจิทัลกำลังปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่อย่างไร 2️⃣ ประเทศไทย (9.32%)ของจำนวนเจ้าของคริปโต 6.7ล้านคน และบราซิลกับปากีสถาน (6.40%) ตามมาใกล้ชิด ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น 3️⃣ ไนจีเรียได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของสกุลเงินดิจิทัลของแอฟริกาอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ใช้ 12.8 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังปฏิวัติการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนอย่างไร สกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่แค่สินทรัพย์เท่านั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ปรับเปลี่ยนมุมมองของคนที่มีต่อเงิน อำนาจ และความเป็นเจ้าของ ตั้งแต่การลงทุนไปจนถึงการโอนเงิน กรณีการใช้งานนั้นไม่มีที่สิ้นสุด ทำไมการนำคริปโตมาใช้จึงเพิ่มขึ้น• การป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ: ผู้คนในเศรษฐกิจเกิดใหม่มองหาทางเลือกอื่นแทนสกุลเงินเฟียตที่ผันผวน• การทำธุรกรรมไร้พรมแดน: ไม่มีตัวกลาง เพียงแค่มีโซลูชันที่เร็วกว่าและถูกกว่า!• นวัตกรรมฟินเทคที่กำลังเติบโต: แพลตฟอร์มทำให้คริปโตเข้าถึงได้แม้กระทั่งบุคคลที่ไม่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นที่สังเกตว่าการใช้งานคริปโตเป็นโอกาสของนักลงทุนโลกสีเทาที่มั่งคั่งร่ำรวยจากการฟอกเงินที่ได้จากคอรัปชั่นหรือมาจากขบวนการแก๊ง call center จากบ่อนการพนัน หรือการเรียกค่าไถ่ มัลแวร์ และมาจากการค้าสิ่งผิดกฎหมาย ที่ตรวจสอบเส้นทางการเงินไม่ได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 275 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เหรียญหอยเหรียญนี้สำคัญมากค่ะ
    ....

    คนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และคนไทย

    คนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และคนไทย มีบรรพบุรุษมาจากไหน
    ไม่ว่าจะเป็น ยุคทวารวดี หรือยุคฟูนัน หรือยุคศรีเกษตร พวกเราคือลูกหลานของบรรพบุรุษที่อพยพมาอยู่ดินแดนบนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราถึงเจอหลักฐานโบราณที่มีลวดลาย ลักษณะเหมือนกัน

    แผ่นดินโบราณ หลักฐานโบราณ หลักฐานแผ่นดินโบราณที่เกิดแผ่นดินไหว ที่ทำให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์(ตำนานน้ำท่วมโลก)เข้าทำลายแผ่นดินที่เห็นในรูปบนโพสต์นี้ แผ่นดินแห่งนี้หายไปจากโลกนี้ตลอดกาล

    ** โพสต์นี้จะมีเหรียญทั้งหมด 6 เหรียญ(มีรูปภาพจินตนการของเพลโตเพิ่ม1ภาพ) ที่เป็นแบบเหมือนกัน4เหรียญ แต่มีเหรียญอยู่สองเหรียญที่มีรายละเอียดเพิ่มบนเหรียญทั้งสองด้านคือรอยของแผ่นดินไหวทั้งสองเหรียญเป็นเหรียญที่เจอกันคนละที่

    ** เราดูเหรียญแรก และเหรียญที่สอง ไปพร้อมกัน ลักษณะเหรียญเหมือนกัน แต่ เหรียญที่พบพม่า เหรียญด้านขวามือ มีรอยแยกแผ่นดิน เพิ่มมาอีกเส้นหนึ่ง แต่เหรียญที่พบในประเทศไทย (ปัจจุบัน เหรียญอยู่ในการดูแลของผู้เขียน) เหรียญด้านขวามือไม่มีรอยแยกแผ่นดิน

    เหรียญหอย2เหรียญนี้ รูปร่างคล้ายแผ่นดินแอตแลนติส(มีภาพประกอบ) เวลาที่เราพูดแอตแลนติสเราต้องพูดถึง เพลโต เขาได้พูดถึง อาณาจักรโบราณเป็นตำนานที่เล่าขานต่อๆ มาว่า เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยมหาสมุทรและเป็นผืนแผ่นดิน ซึ่งเมื่อ 12000 กว่าปีก่อน เพลโตยังกล่าวไว้อีกว่าแอตแลนติสได้จมลงใต้น้ำเพียงเวลาแค่วันกับคืน

    เพลโตได้ทำรูปภาพแผ่นดินที่มีลักษณะคล้ายหอย เพลโตไม่มีหลักฐานโบราณใด แต่ผู้เขียนมีหลักฐานโบราณเป็นเหรียญสำริดรูปหอย(ที่เรียกแตกต่างกัน เช่นเหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร หรือเหรียญฟูนัน) ที่มีรอยแยกของแผ่นดิน ซึ่งเดิมเราคิดว่า มีเพียงเหรียญเดียว แต่ตอนนี้เราพบหลักฐานโบราณซึ่งเหรียญมีลักษณะเหมือนกัน รอยแยกแผ่นดินเหมือนกัน และผู้เขียนคิดว่า เหรียญหอยที่มีรอยแยกแผ่นดินต้องมีมากกว่าเหรียญเป็นแน่ ซึ่งเหรียญทั้งสองนี้ถูกทำมาเหมือนๆกันทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันให้กับผู้เขียนว่า เหตุการณ์ รอยแผ่นดินแยก แผ่นดินไหว น้ำท่วมโลกครั้งนั้น เหรียญถูกทำมาเพื่อให้คนรุ่นหลังรู้ความจริงรู้ว่าแผ่นดินของบรรพบุรุษถูกทำลายเพราะ ภัยพิบัติอุทกภัย

    ต่อไปจะเล่า ความสำคัญของเหรียญที่มีรายละเอียดอยู่ในเหรียญเป็นบันทึกของบรรพบุรุษของผู้ทำเหรียญที่อพยพหนีภัยพิบัติมาจากแผ่นดินกลางทะเล ภัยพิบัติที่เกิด ถูกทำไว้บนเหรียญหอย หรือเหรียญที่เราเรียกว่า เหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตรทุกเหรียญมีรูปแบบหลายร้อยแบบบนเหรียญ เหรียญหอยก็แค่1แบบเท่านั้น แต่ทุกเหรียญจะบันทึกเรื่องเดียวกัน เรื่องภัยพิบัติที่เกิดกับบรรพบุรุษของผู้ทำเหรียญ เรื่องน้ำทำลายแผ่นดิน ไม่มีใครรู้มาก่อนว่ารูปที่อยู่บนเหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี และ เหรียญศรีเกษตรจะซ่อนความลับของอดีตจะซ่อนความลับที่เกี่ยวข้องทั้งคนไทย คนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ เกี่ยวข้องกับอีกหลายประเทศที่มีอารยธรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่อยู่บนแผ่นดินนั้นที่อยู่ตามขอบมหาสมุทรอินเดีย

    เหรียญหอยก็เช่นกัน เหรียญหอยเป็นเหรียญที่ถูกทำในยุค ฟูนัน ทวารวดี และ ศรีเกษตร เป็นเหรียญที่เห็นเหมือนรูปหอยเท่านั้นเอง ทำไมเราเขียนแบบนั้น แล้วทำไมคนอ่านๆหรือเขียนที่ผ่านมามองแค่เหมือนหอย ทำไมไม่มองให้ละเอียดและมองทั้ง2ด้านของเหรียญ และฟูนัน เหรียญทวารวดี และ เหรียญศรีเกษตรก็ไม่ได้มีเหรียญหอยแบบเดียวมีเป็นร้อยๆเหรียญแต่ละเหรียญมี2ด้านก็ไม่เหมือนกัน และหอยเองก็มี3-4แบบแต่ละแบบก็มี2ด้านอธิบายบนเหรียญแตกต่างกัน

    เหรียญหอยด้านตัวหอย ภาพด้านบนของตัวหอยของเหรียญอธิบายบนเหรียญว่ามีการทำภาพเหมือนคลื่นวิทยุเป็น3-4ขีดบนตัวหอย จะถูกทำเป็นสัญลักษณ์แทนคลื่นแผ่นดินไหวไว้บนรูปภาพคล้ายหอยและบนเหรียญที่เหมือนรูปหอยและภาพแบบนี้ จะมีอยู่บนที่บนเหรียญรูปหอย ทุกๆเหรียญ ขอให้ดูภาพบนเหรียญที่มีรูปตัวหอยจะเข้าใจที่จริงรูปหอยจะเป็นแผ่นดินข้างบนเป็นเหมือนคลื่นวิทยุขอให้เข้าใจเขาสื่อว่าแผ่นดินที่เห็นกำลังไหว(สัญลักษณ์แผ่นดินไหว)คือแผ่นดินไหวส่วนข้างล่างของแผ่นดิน(ที่เว้าเข้าไปเป็นสึนามิกำลังฝ่า(พุ่งเข้าแผ่นดิน)แผ่นดินเข้าไปทำลายแผ่นดินส่วนใน ตัวหอย(แผ่นดิน)เวลาดูเหรียญหอยให้ดู2ด้านจะเป็นภาพคนละแบบแต่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

    เหรียญทวารวดี เป็นเหรียญที่บันทึกถึงเผ่าพันธุ์ที่อพยพหนีภัยภิบัติจากทะเลและได้ทำเป็นบันทึกไว้บนเหรียญ ว่าเกิดอะไรขึ้นบนแผ่นดินของเขา เมื่ออพยพมาปลอดภัย ใครขึ้นบกตรงไหนก็ผสมกับคนพื้นเมืองสร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นมาใหม่ เมื่อมีอาณาจักรก็ได้มีการทำบันทึกถึงบรรพบุรุษของพวกเขา ทำให้มีการพบเจอเหรียญ เหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร เหรียญทั้ง 3 แหล่งมีรูปแบบ แบบเดียวกัน แต่แตกต่างแค่ศิลป์เท่านั้น บนเหรียญมีการทำเป็นภาพ แทนเมืองแทนแผ่นดิน(ดูประกอบกับผังเมืองบนแผ่นหน้ากลองมโหระทึกโบราณ) แทนน้ำ (มวลน้ำขนาดใหญ่ที่เข้าไปทำลายเมืองตั้งแต่เริ่มต้น มวลน้ำที่ปัจจุบันเรียกว่าสึนามิ)อดีตคือน้ำท่วมโลก.

    บทความและนูปภาพโดย
    คุณทราวิฑะ นอกกกรอบ

    #เหรียญหอยเหรียญนี้สำคัญมากค่ะ .... คนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และคนไทย คนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และคนไทย มีบรรพบุรุษมาจากไหน ไม่ว่าจะเป็น ยุคทวารวดี หรือยุคฟูนัน หรือยุคศรีเกษตร พวกเราคือลูกหลานของบรรพบุรุษที่อพยพมาอยู่ดินแดนบนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราถึงเจอหลักฐานโบราณที่มีลวดลาย ลักษณะเหมือนกัน แผ่นดินโบราณ หลักฐานโบราณ หลักฐานแผ่นดินโบราณที่เกิดแผ่นดินไหว ที่ทำให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์(ตำนานน้ำท่วมโลก)เข้าทำลายแผ่นดินที่เห็นในรูปบนโพสต์นี้ แผ่นดินแห่งนี้หายไปจากโลกนี้ตลอดกาล ** โพสต์นี้จะมีเหรียญทั้งหมด 6 เหรียญ(มีรูปภาพจินตนการของเพลโตเพิ่ม1ภาพ) ที่เป็นแบบเหมือนกัน4เหรียญ แต่มีเหรียญอยู่สองเหรียญที่มีรายละเอียดเพิ่มบนเหรียญทั้งสองด้านคือรอยของแผ่นดินไหวทั้งสองเหรียญเป็นเหรียญที่เจอกันคนละที่ ** เราดูเหรียญแรก และเหรียญที่สอง ไปพร้อมกัน ลักษณะเหรียญเหมือนกัน แต่ เหรียญที่พบพม่า เหรียญด้านขวามือ มีรอยแยกแผ่นดิน เพิ่มมาอีกเส้นหนึ่ง แต่เหรียญที่พบในประเทศไทย (ปัจจุบัน เหรียญอยู่ในการดูแลของผู้เขียน) เหรียญด้านขวามือไม่มีรอยแยกแผ่นดิน เหรียญหอย2เหรียญนี้ รูปร่างคล้ายแผ่นดินแอตแลนติส(มีภาพประกอบ) เวลาที่เราพูดแอตแลนติสเราต้องพูดถึง เพลโต เขาได้พูดถึง อาณาจักรโบราณเป็นตำนานที่เล่าขานต่อๆ มาว่า เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยมหาสมุทรและเป็นผืนแผ่นดิน ซึ่งเมื่อ 12000 กว่าปีก่อน เพลโตยังกล่าวไว้อีกว่าแอตแลนติสได้จมลงใต้น้ำเพียงเวลาแค่วันกับคืน เพลโตได้ทำรูปภาพแผ่นดินที่มีลักษณะคล้ายหอย เพลโตไม่มีหลักฐานโบราณใด แต่ผู้เขียนมีหลักฐานโบราณเป็นเหรียญสำริดรูปหอย(ที่เรียกแตกต่างกัน เช่นเหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร หรือเหรียญฟูนัน) ที่มีรอยแยกของแผ่นดิน ซึ่งเดิมเราคิดว่า มีเพียงเหรียญเดียว แต่ตอนนี้เราพบหลักฐานโบราณซึ่งเหรียญมีลักษณะเหมือนกัน รอยแยกแผ่นดินเหมือนกัน และผู้เขียนคิดว่า เหรียญหอยที่มีรอยแยกแผ่นดินต้องมีมากกว่าเหรียญเป็นแน่ ซึ่งเหรียญทั้งสองนี้ถูกทำมาเหมือนๆกันทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันให้กับผู้เขียนว่า เหตุการณ์ รอยแผ่นดินแยก แผ่นดินไหว น้ำท่วมโลกครั้งนั้น เหรียญถูกทำมาเพื่อให้คนรุ่นหลังรู้ความจริงรู้ว่าแผ่นดินของบรรพบุรุษถูกทำลายเพราะ ภัยพิบัติอุทกภัย ต่อไปจะเล่า ความสำคัญของเหรียญที่มีรายละเอียดอยู่ในเหรียญเป็นบันทึกของบรรพบุรุษของผู้ทำเหรียญที่อพยพหนีภัยพิบัติมาจากแผ่นดินกลางทะเล ภัยพิบัติที่เกิด ถูกทำไว้บนเหรียญหอย หรือเหรียญที่เราเรียกว่า เหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตรทุกเหรียญมีรูปแบบหลายร้อยแบบบนเหรียญ เหรียญหอยก็แค่1แบบเท่านั้น แต่ทุกเหรียญจะบันทึกเรื่องเดียวกัน เรื่องภัยพิบัติที่เกิดกับบรรพบุรุษของผู้ทำเหรียญ เรื่องน้ำทำลายแผ่นดิน ไม่มีใครรู้มาก่อนว่ารูปที่อยู่บนเหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี และ เหรียญศรีเกษตรจะซ่อนความลับของอดีตจะซ่อนความลับที่เกี่ยวข้องทั้งคนไทย คนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ เกี่ยวข้องกับอีกหลายประเทศที่มีอารยธรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่อยู่บนแผ่นดินนั้นที่อยู่ตามขอบมหาสมุทรอินเดีย เหรียญหอยก็เช่นกัน เหรียญหอยเป็นเหรียญที่ถูกทำในยุค ฟูนัน ทวารวดี และ ศรีเกษตร เป็นเหรียญที่เห็นเหมือนรูปหอยเท่านั้นเอง ทำไมเราเขียนแบบนั้น แล้วทำไมคนอ่านๆหรือเขียนที่ผ่านมามองแค่เหมือนหอย ทำไมไม่มองให้ละเอียดและมองทั้ง2ด้านของเหรียญ และฟูนัน เหรียญทวารวดี และ เหรียญศรีเกษตรก็ไม่ได้มีเหรียญหอยแบบเดียวมีเป็นร้อยๆเหรียญแต่ละเหรียญมี2ด้านก็ไม่เหมือนกัน และหอยเองก็มี3-4แบบแต่ละแบบก็มี2ด้านอธิบายบนเหรียญแตกต่างกัน เหรียญหอยด้านตัวหอย ภาพด้านบนของตัวหอยของเหรียญอธิบายบนเหรียญว่ามีการทำภาพเหมือนคลื่นวิทยุเป็น3-4ขีดบนตัวหอย จะถูกทำเป็นสัญลักษณ์แทนคลื่นแผ่นดินไหวไว้บนรูปภาพคล้ายหอยและบนเหรียญที่เหมือนรูปหอยและภาพแบบนี้ จะมีอยู่บนที่บนเหรียญรูปหอย ทุกๆเหรียญ ขอให้ดูภาพบนเหรียญที่มีรูปตัวหอยจะเข้าใจที่จริงรูปหอยจะเป็นแผ่นดินข้างบนเป็นเหมือนคลื่นวิทยุขอให้เข้าใจเขาสื่อว่าแผ่นดินที่เห็นกำลังไหว(สัญลักษณ์แผ่นดินไหว)คือแผ่นดินไหวส่วนข้างล่างของแผ่นดิน(ที่เว้าเข้าไปเป็นสึนามิกำลังฝ่า(พุ่งเข้าแผ่นดิน)แผ่นดินเข้าไปทำลายแผ่นดินส่วนใน ตัวหอย(แผ่นดิน)เวลาดูเหรียญหอยให้ดู2ด้านจะเป็นภาพคนละแบบแต่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เหรียญทวารวดี เป็นเหรียญที่บันทึกถึงเผ่าพันธุ์ที่อพยพหนีภัยภิบัติจากทะเลและได้ทำเป็นบันทึกไว้บนเหรียญ ว่าเกิดอะไรขึ้นบนแผ่นดินของเขา เมื่ออพยพมาปลอดภัย ใครขึ้นบกตรงไหนก็ผสมกับคนพื้นเมืองสร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นมาใหม่ เมื่อมีอาณาจักรก็ได้มีการทำบันทึกถึงบรรพบุรุษของพวกเขา ทำให้มีการพบเจอเหรียญ เหรียญฟูนัน เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร เหรียญทั้ง 3 แหล่งมีรูปแบบ แบบเดียวกัน แต่แตกต่างแค่ศิลป์เท่านั้น บนเหรียญมีการทำเป็นภาพ แทนเมืองแทนแผ่นดิน(ดูประกอบกับผังเมืองบนแผ่นหน้ากลองมโหระทึกโบราณ) แทนน้ำ (มวลน้ำขนาดใหญ่ที่เข้าไปทำลายเมืองตั้งแต่เริ่มต้น มวลน้ำที่ปัจจุบันเรียกว่าสึนามิ)อดีตคือน้ำท่วมโลก. บทความและนูปภาพโดย คุณทราวิฑะ นอกกกรอบ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 291 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS:

    เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา

    ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา

    ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้

    ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้

    ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ
    ---------------------------------------------------------
    อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก
    โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้
    การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด

    https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/



    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS: เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้ ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้ ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ --------------------------------------------------------- อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก
    .
    BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS

    โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด"
    .
    มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    .
    เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก
    .
    การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา
    .
    ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น
    .
    ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    .
    จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก . BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด" . มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว . เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก . การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา . ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น . ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ . จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ . อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1216 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตือนข่าวสด อย่าตกเป็นเครื่องมือตะวันตก
    ปั่นกระแส“ว้าแดงรุกล้ำ ปลุกไทยสู้รบ”
    .
    ข่าวการรุกล้ำดินแดนไทยของทหารว้าเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคเหนือของรัฐฉานกำลังเริ่มจะคลี่คลาย มีสัญญาณบวกเกิดขึ้นหลายสัญญาณ หลังจากที่จีนออกหน้าเป็นตัวกลางให้มีการเจรจาสันติภาพกันระหว่างกองทัพพม่า กับกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ที่สู้รบกันดุเดือดมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน
    .
    การมีการสู้รบทางภาคเหนือของรัฐฉาน เชื่อกันว่ามีอเมริกาและประเทศตะวันตกอยู่เบื้องหลัง เพราะพื้นที่สู้รบอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลักของระเบียงเศรษฐกิจจีน พม่า ที่จีนตั้งใจจะใช้เป็นทางออกทะเลสู่มหาสมุทรอินเดีย
    .
    กองทัพว้า เป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ของกองทัพทั้งสองที่กำลังรบอยู่กับกองทัพพม่า
    .
    กองทัพว้า มีความใกล้ชิดกับทั้งจีนและกองทัพพม่า ในกระบวนการเจรจาสันติภาพในภาคเหนือของรัฐฉานที่มีจีนเป็นตัวกลาง กองทัพว้ามีบทบาทร่วมกดดันให้กองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ยุติการสู้รบกับกองทัพพม่า โดยใช้วิธีตัดความช่วยเหลือทุกด้านที่กองทัพว้าเคยให้กับกองทัพทั้งสองตามคำร้องขอของจีน
    .
    เรื่องกองกำลังว้าแดงแถวแม่ฮ่องสอนรุกเข้ามาที่ไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เป็นเรื่องที่เราเคยล้ำเส้นเขา เขาล้ำเส้นเรา ว้าแดงคือคนพื้นที่ที่อยู่ตรงนั้นมานานแล้ว อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ใช้เทคโนโลยีจีน มีรถถัง มีขีปนาวุธ เพราะจีนหนุนว้าแดงเพื่อให้ปราบชนกลุ่มน้อยที่ไปเข้ายืนข้างทางตะวันตก แล้วหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ก็ตกเป็นเครื่องมือของทางตะวันตกอย่างเต็มตัว
    .
    ข่าวสด ครับ ฟังทางนี้นะครับ หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า วิทยุเอเชียเสรี เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ของรัฐบาลสหรัฐฯ นี่เอง แท้จริงแล้วไม่ใช่สื่อเสรี แต่เป็นสื่อทำตามธงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นั่นเอง
    .
    ในภาพใหญ่ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกใช้เพื่อดำเนินการกดดันและปิดล้อมการแผ่อิทธิพลของจีนอย่างแน่นอน โดยใช้ประเทศไทยเราเป็นหมากเบี้ย ปั่นให้เราทะเลาะกับว้านั่นเอง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ตกเป็นเครื่องมือของตะวันตกโดยไม่รู้ตัว
    เตือนข่าวสด อย่าตกเป็นเครื่องมือตะวันตก ปั่นกระแส“ว้าแดงรุกล้ำ ปลุกไทยสู้รบ” . ข่าวการรุกล้ำดินแดนไทยของทหารว้าเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคเหนือของรัฐฉานกำลังเริ่มจะคลี่คลาย มีสัญญาณบวกเกิดขึ้นหลายสัญญาณ หลังจากที่จีนออกหน้าเป็นตัวกลางให้มีการเจรจาสันติภาพกันระหว่างกองทัพพม่า กับกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ที่สู้รบกันดุเดือดมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน . การมีการสู้รบทางภาคเหนือของรัฐฉาน เชื่อกันว่ามีอเมริกาและประเทศตะวันตกอยู่เบื้องหลัง เพราะพื้นที่สู้รบอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลักของระเบียงเศรษฐกิจจีน พม่า ที่จีนตั้งใจจะใช้เป็นทางออกทะเลสู่มหาสมุทรอินเดีย . กองทัพว้า เป็นกองทัพขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อกองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ของกองทัพทั้งสองที่กำลังรบอยู่กับกองทัพพม่า . กองทัพว้า มีความใกล้ชิดกับทั้งจีนและกองทัพพม่า ในกระบวนการเจรจาสันติภาพในภาคเหนือของรัฐฉานที่มีจีนเป็นตัวกลาง กองทัพว้ามีบทบาทร่วมกดดันให้กองทัพโกก้าง และกองทัพตะอาง ยุติการสู้รบกับกองทัพพม่า โดยใช้วิธีตัดความช่วยเหลือทุกด้านที่กองทัพว้าเคยให้กับกองทัพทั้งสองตามคำร้องขอของจีน . เรื่องกองกำลังว้าแดงแถวแม่ฮ่องสอนรุกเข้ามาที่ไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เป็นเรื่องที่เราเคยล้ำเส้นเขา เขาล้ำเส้นเรา ว้าแดงคือคนพื้นที่ที่อยู่ตรงนั้นมานานแล้ว อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ใช้เทคโนโลยีจีน มีรถถัง มีขีปนาวุธ เพราะจีนหนุนว้าแดงเพื่อให้ปราบชนกลุ่มน้อยที่ไปเข้ายืนข้างทางตะวันตก แล้วหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ก็ตกเป็นเครื่องมือของทางตะวันตกอย่างเต็มตัว . ข่าวสด ครับ ฟังทางนี้นะครับ หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า วิทยุเอเชียเสรี เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ของรัฐบาลสหรัฐฯ นี่เอง แท้จริงแล้วไม่ใช่สื่อเสรี แต่เป็นสื่อทำตามธงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นั่นเอง . ในภาพใหญ่ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกใช้เพื่อดำเนินการกดดันและปิดล้อมการแผ่อิทธิพลของจีนอย่างแน่นอน โดยใช้ประเทศไทยเราเป็นหมากเบี้ย ปั่นให้เราทะเลาะกับว้านั่นเอง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ตกเป็นเครื่องมือของตะวันตกโดยไม่รู้ตัว
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าและสมาร์ทโฟนกำลังจะเข้ามาแทนที่หนังสือเดินทางแบบกระดาษในอนาคตครับ

    หลายประเทศกำลังทดลองระบบการเดินทางที่ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เช่น ฟินแลนด์, แคนาดา, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, สหรัฐอเมริกา, และอินเดีย แนวคิดหลักคือการใช้ Digital Travel Credential (DTC) ซึ่งพัฒนาโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดย DTC ประกอบด้วยสองส่วนหลัก: ส่วนเสมือนที่เก็บข้อมูลในชิปหนังสือเดินทางแบบดั้งเดิม และส่วนที่เก็บในสมาร์ทโฟนของผู้เดินทาง. ส่วนเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงด้วยการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย

    แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดเวลาการตรวจสอบตัวตนที่สนามบิน แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่าระบบเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูล

    https://www.techspot.com/news/106123-facial-recognition-smartphones-set-replace-passports-airports-worldwide.html
    เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าและสมาร์ทโฟนกำลังจะเข้ามาแทนที่หนังสือเดินทางแบบกระดาษในอนาคตครับ หลายประเทศกำลังทดลองระบบการเดินทางที่ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เช่น ฟินแลนด์, แคนาดา, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, สหรัฐอเมริกา, และอินเดีย แนวคิดหลักคือการใช้ Digital Travel Credential (DTC) ซึ่งพัฒนาโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดย DTC ประกอบด้วยสองส่วนหลัก: ส่วนเสมือนที่เก็บข้อมูลในชิปหนังสือเดินทางแบบดั้งเดิม และส่วนที่เก็บในสมาร์ทโฟนของผู้เดินทาง. ส่วนเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงด้วยการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดเวลาการตรวจสอบตัวตนที่สนามบิน แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่าระบบเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูล https://www.techspot.com/news/106123-facial-recognition-smartphones-set-replace-passports-airports-worldwide.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Passports may soon become obsolete as facial recognition and smartphones take over
    In the coming years, the traditional paper passport, a document that has been a cornerstone of international travel for over a century, may soon become obsolete. In...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • EP5 นี้ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นด้านความปลอดภัยทางการบินที่ขอมุ่งเน้นไปทางด้านความปลอดภัยของเครื่องบินขณะทำการวิ่งขึ้นหรือกำลังวิ่งลงบนทางวิ่งที่สนามบินนะครับ

    จากข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย (Safety Report) ปี 2024 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้จำแนกเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องจัดการอย่างเร่งด่วนอยู่ 5 เหตุการณ์ คือ 1 การควบคุมอากาศยานเข้าสู่สภาพภูมิประเทศ (Controlled Flight Into Terrain: CFIT) 2 การสูญเสียการควบคุมขณะทำการบิน (Loss Of Control In-Flight: LOC-I) 3 การชนกันกลางอากาศ (Mid-Air Collision: MAC) 4 การเกิดอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion: RE) และ 5 การล่วงล้ำบนทางวิ่ง (Runway Incursion: RI)

    ที่จะขอพูดถึงในครั้งนี้ขอกล่าวถึงอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่งเป็นหลักเพื่อที่จะนำเข้าสู่หัวข้อและเนื้อหาการประชุมของ ICAO ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ( ICAO APAC) เมื่อต้นป 67 ที่ผ่านมา

    การไถลออกนอกทางวิ่ง ICAO ได้ให้นิยามไว้คือการที่เครื่องบินเบี่ยงเบนออกจากทางวิ่งหรือการวิ่งเลยออกปลายทางวิ่งในขณะที่ทำการบินลงหรือวิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันเรามักจะได้ยินข่าวจากต่างประเทศตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวนหรือมีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราก็มีกรณีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งเช่นเดียวกันที่จังหวัดเชียงรายซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงฉบับสุดท้าย (Final Aircraft Serious Incident Investigation Report) ที่จะแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นั้นว่าคืออะไร (โดยตามมาตรฐาน ICAO นั้น รายงานฉบับสุดท้ายควรออกมาภายใน 12 เดือนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์)

    การไถลออกนอกทางวิ่งบนพื้นที่ของสนามบินที่ออกแบบและสร้างได้ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานจะลดโอกาสการเกิดความเสียหายต่อตัวอากาศยานและการบาดเจ็บของผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องได้อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายๆกับการที่เราบังเอิญขับรถพุ่งออกจากถนนจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ แต่พอดีพื้นที่ด้านข้างหรือไหล่ถนนนั้นเป็นพื้นที่โล่งๆที่มีความยาวและความกว้างเพียงพอให้เราควบคุมรถยนต์ให้ค่อยๆหยุดลงได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ได้ปะทะหรือชนเข้ากับสิ่งใดเราก็ปลอดภัย แต่ถ้าหากพื้นที่ด้านข้างถนนแคบหรือมีน้อยแถมมีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า เกาะกลางถนนหรือเป็นคลองส่งน้ำชลประทานหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด เราก็ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากเท่านั้น แต่สำหรับสิ่งที่เราพูดถึงอยู่นี้เป็นอากาศยานหรือวัตถุที่มีขนาด มวล น้ำหนัก และความเร็วที่แตกต่างกันกับรถยนต์มาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงแตกต่างจากกรณีของรถยนต์อย่างสิ้นเชิง

    ในส่วนของพื้นที่ที่รองรับการออกนอกทางวิ่งของเครื่องบินเราเรียกว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันตามประเภทของทางวิ่งที่รองรับอากาศยานรวมทั้งทางหยุด (Stop Way) (ถ้ามี) ทั้งนี้ยังรวมถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็คือพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ที่เอาไว้สำหรับรองรับการวิ่งเลยปลายทางวิ่งออกไปและในกรณีที่เครื่องบินลงก่อนถึงจุดเริ่มต้นของหัวทางวิ่ง (Runway Threshold) ด้วยเช่นกัน (สามารถดาวน์โหลดข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) ฉบับที่ 37 ในเว็ปไซต์ กพท.หรือ ICAO Annex 14 Vol.1 ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อดูในรายละเอียดได้) พื้นที่เหล่านี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยในกรณีเกิด Runway excursion ขึ้น

    เราลองมาดูนิยามและมาตรฐานในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก่อนดีกว่า ความหมายของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 (อ้างอิงจากมาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations) กำหนดไว้ว่า “พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) หมายความว่า พื้นที่ที่กําหนดไว้ซึ่งรวมถึงทางวิ่งและทางหยุด (ถ้ามี) ที่กําหนดไว้เพื่อ (1) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่ง และ (2) ป้องกันอากาศยานที่บินอยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวระหว่างการปฏิบัติการวิ่งขึ้นหรือการบินลงของอากาศยาน
    2. ขนาดของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง
    ข้อ 145 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งต้องขยายต่อออกไปจากหัวทางวิ่งและยาวเลยปลายทางวิ่งหรือทางหยุดไม่น้อยกว่าระยะทาง ดังต่อไปนี้
    (1) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 2, 3 หรือ 4
    (2) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
    (3) สามสิบ (30) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน
    ข้อ 146 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบพรีซิชั่น (Precision) และทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น (Non-Precision) ต้องขยายไปทางด้านข้างแต่ละด้านของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ต่อขยายออกไปตลอดความยาวของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนั้นเป็นระยะทางอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
    (1) หนึ่งร้อยสี่สิบ (140) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4
    (2) เจ็ดสิบ (70) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 หรือ 2
    4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง
    ข้อ 152 เพื่อประโยชน์ในการรองรับเครื่องบินที่จะใช้ทางวิ่ง ในกรณีที่เครื่องบินวิ่งออกนอกทางวิ่ง สนามบินต้องปรับระดับ (Graded portion) ส่วนของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัด

    ประกอบการบิน อย่างน้อยภายในระยะจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ขยายออกไปดังต่อไปนี้
    (1) หนึ่งร้อยห้า (105) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 ตามรูปที่ 9
    (2) เจ็ดสิบห้า (75) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4
    (3) สี่สิบ (40) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นและทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1หรือ 2
    ข้อ 161 หากมีความจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่เหมาะสม สนามบินอาจจัดให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ที่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งได้ แต่ต้องวางตําแหน่งของรางระบายน้ำให้อยู่ห่างจากทางวิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้” อันนี้คือข้อมูลที่อยู่ในข้อกำหนด กพท.ฉบับ37

    สนามบินสุวรรณภูมิมีรหัสอ้างอิงของสนามบิน 4E (ตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 ส่วนที่ 4 รหัสอ้างอิงสนามบิน ข้อ 23, 24 และ25) คือมีความยาวของทางวิ่งเกิน 1800 เมตร และรองรับเครื่องบินที่มีระยะห่างระหว่างปลายปีก 65 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึง 80 เมตร ดังนั้นพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งด้านข้างที่วัดออกจากจุดเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจึงต้องมีขนาดอย่างน้อย 140 เมตรตลอดแนวความยาวของทางวิ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่ามีการใช้คำว่า “อย่างน้อย” นั้น ถ้ามากกว่าก็จะยิ่งดี

    สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินหลักของบ้านเราที่มีภาพประกอบวาระการประชุมของ ICAO Asia and Pacific (ICAO APAC) ที่จะได้กล่าวต่อไป ได้มีการติดตั้งรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งตามความยาวของทางวิ่งฝั่งตะวันออกห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ระยะ 120 เมตร (ข้อมูลจาก AIP Thailand) เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำสำหรับกรณีมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากอยู่บนทางวิ่งหรือพื้นที่โดยรอบ ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion of Runway Strip) หรือตั้งแต่ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นต้นไป (ตามข้อกำหนด กพท. 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 วงเล็บ 1)

    ขณะที่มาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition July 2022 หน้า 3-13 ข้อ 3.4.16 บันทึก (Note) 1 ได้ระบุว่า รางระบายน้ำแบบเปิดโล่งสามารถที่จะติดตั้งได้ในกรณีที่มีความจำเป็นต่อการระบายน้ำฝนจำนวนมากแต่จะต้องพิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับหรือพื้นที่ “Non-graded portion” ของทางวิ่ง (Note 1. - Where deemed necessary for proper drainage, an open-air storm water conveyance may be allowed in the non-graded portion of a runway strip and would be placed as far as practicable from the runway.) ดังนั้นการมีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งของสนามบินนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการติดตั้งที่ไม่สอดคล้องหรือผิดจากมาตรฐานการก่อสร้างแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตาม จากรายงานการประชุมครั้งที่ 5 ของ ICAO APAC ของคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force เมื่อวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 67 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศภาคีสมาชิก 14 ประเทศและองค์กรทางการบินระหว่างประเทศอีก 3 หน่วยงานรวม 62 คน ( The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force: AP-ADO/TF/5: Chiang Rai) ในหัวข้อวาระประชุมที่ 4 เรื่อง “การวางแผน การออกแบบ และการก่อสร้างสนามบิน” (Planning, Design and Construction of Aerodromes) นั้น มีการหยิบยกประเด็นของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งที่อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (OPEN-AIR STORM WATER CONVEYANCE IN RUNWAY STRIP) ขึ้นมาใหม่ซึ่งนำเสนอโดย ICAO-The Cooperative Development of Operational Safety and Continuing Airworthiness Programme – South East Asia (COSCAP-SEA) โดยระบุว่าการมีอยู่ของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) อาจนำมาซึ่งอันตรายต่างๆโดยเฉพาะกับเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่ง ยิ่งในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกและทางวิ่งเปียกลื่น การมีอยู่ของรางระบายน้ำนั้นอาจจะทำให้เหตุการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง(ที่ไปถึงบริเวณที่ติดตั้งรางระบายน้ำฯ) รุนแรงยิ่งขึ้น อันนี้เองอาจจะถือได้ว่าเป็นการเริ่มทบทวนมาตรฐานด้านกายภาพสนามบินของ ICAO ก็เป็นได้ และจากการนำเสนอข้อมูลในวาระนี้ก่อนที่จะสรุปอยู่ในรายงานในภาพรวมนั้นได้มีการนำรูปภาพตัวอย่างของกรณีการไถลออกนอกทางวิ่งในประเทศต่างๆ รวมทั้งตัวอย่างภาพของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งและหยุดอยู่ตรงหน้ารางระบายน้ำคอนกรีตเพียงไม่กี่เมตรมาแสดงด้วย

    มีข้อที่น่าสนใจและน่าสังเกตก็คือจากภาพที่มีการนำเสนอที่มีการไถลออกนอกทางวิ่งจากวาระการประชุมนี้รูปหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่สนามบินฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นมีการไถลออกจากทางวิ่งไปจนเกือบถึงขอบของ Runway Strip ซึ่งไม่โครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างใดหรือแม้แต่รางระบายน้ำคอนกรีตอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) นี้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีรางระบายน้ำอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ซึ่งตามมาตรฐานของ ICAO สามารถอยู่ได้เราคงพอจะนึกภาพออก และเมื่อไปดูข้อมูลด้านกายภาพของสนามบินฮิโรชิมานี้ใน AIP Japan (Aeronautical Information Publication, Japan) พบว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ของสนามบินนี้อยู่ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งซึ่งสูงกว่ามาตรฐานปัจจุบันซึ่งมีการก่อสร้างมานานแล้วนั่นหมายความว่าถ้าหากมีรางระบายน้ำหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนี้แม้มาตรฐานสากลจะยอมให้อยู่ได้ อากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงก็สามารถจะคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับสนามบินสมุยที่มีอาคาร Tower เก่าอยู่บน Runway Strip แล้วเครื่องไถลออกไปก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาแล้วเมื่อ 4 สิงหาคม 2552 หรือกรณีของสายการบิน One to Go ที่สนามบินภูเก็ตที่ผ่านมาหลายปีมาแล้วเช่นกันที่พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรองรับอากาศยาน

    ในที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force - ICAO APAC ยังได้มีการกล่าวถึงข้อมูลสถิติการศึกษาการออกนอกทางวิ่งของอากาศยานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ได้ทำไว้ โดยแสดงให้เห็นว่าในจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์ออกนอกทางวิ่ง 90 เปอร์เซ็นต์เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) บนขอบเขตของพื้นที่ปรับระดับ (Graded portion) คืออยู่ในระยะ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์จะเลย 105 เมตรออกไปถึงพื้นที่ที่ไม่ปรับระดับ (Non-graded portion) คือตั้งแต่ 105 เมตรขึ้นไปจนถึงขอบของ Runway strip ซึ่งจากสถิติข้อมูลการศึกษาอันนี้ในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้ในบางครั้งมีการไถลออกไปไกลถึง 152 เมตร และบางครั้งถึง 210 เมตรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างหนึ่งที่เครื่องบินไถลออกไปจากทางวิ่งไปถึง 219 เมตรที่ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2019 ก็มีมาแล้ว (มีภาพประกอบ)

    เนื้อหาข้อมูลใน Final Report ของที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force นี้ (ในหน้า 4-5) นี้ มีการระบุให้ข้อมูลว่ามีตัวอย่างของเอกสารคำแนะนำ (Advisory circular) AC150/5300-13B ของหน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) ว่าตำแหน่งของร่องน้ำหรือรางระบายน้ำหรือกำแพงป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่บริเวณนั้นแต่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามจะไม่มีการตั้งอยู่บนขอบเขตของพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งเลย โดยความกว้างของพื้นที่ปลอดภัยทางวิ่งของเขาจะอยู่ที่ 500 ฟุต หรือ152 เมตร
    “4.28 The WP/20 provided an example of the FAA advisory circular: AC150/5300-13B where it reads, “location of ditch, swale, or headwall depends on the site condition but in no case within the limits of runway safety area (RSA).” The width of the RSA, as specified in Appendix G of the AC is 500 feet (152m).”
    นอกจากนี้ผู้แทนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ออกมาให้การสนับสนุนประเด็นหัวข้อนี้และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากฎระเบียบด้านการบินของเกาหลีใต้ในหัวข้อที่เกี่ยวกับมาตรฐานพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของสนามบินนั้นออกข้อกำหนดไว้ว่าการก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งจะต้องก่อสร้างให้เลยจากพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ออกไปเท่านั้นและยังเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ พัฒนาคู่มือนโนบายและวิธีปฏิบัติในการที่จะยอมรับกายภาพที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของตนบนพื้นฐานจากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
    “4.31 The Republic of Korea supported the Working Paper and shared that their regulations required open air drains to be constructed beyond the non-graded portion of the runway strips and expressed the need for States to develop Policy and Procedures for accepting non-compliances based on safety risk assessment”.

    สำหรับสนามบินหลักของบ้านเราที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ในส่วนที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) นี้นั้น ถ้าดูจากสถิติตามรายงานของที่ประชุมนี้แล้ว 90 เปอร์เซ็นของเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่งจะออกไปไม่ถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ หรือบริเวณที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตฯนี้ ยกเว้นเพียง 10 เปอร์เซ็นเท่านั้น อย่างไรก็ดีจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่รัฐหรือผู้ดำเนินการสนามบินจะนำเรื่องดังกล่าวมาทบทวนข้อมูลสถิติ จำนวนและชนิดของอากาศยานที่มาใช้บริการ โอกาสความเป็นไปได้ต่าง ๆ รวมทั้งทบทวนกฎระเบียบหรือทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกครั้งตามที่หน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ได้นำเสนอมาในรายงาน เพื่อลดโอกาสความรุนแรงจากการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ถ้าตัวเลขในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น จำนวนการไถลออกนอกทางวิ่งของทั้ง 90 เปอร์เซ็นและของ 10 เปอร์เซ็นก็น่าจะมากตาม คงไม่น่าจะมีใครอยากคิดว่าตนเองจะเป็นผู้ที่อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นนั้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากดูข้อมูลเหตุการณ์ของสายการบิน Asiana airlines ที่ออกนอกทางวิ่งสนามบินฮิโรชิมาของญี่ปุ่นที่มี Runway strip ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งโดยไถลไปไกลจนเกือบถึงขอบ Runway strip โดยไม่มีรางระบายน้ำฯหรือสิ่งปลูกสร้างใดบนพื้นที่บริเวณนี้แม้แต่น้อยตามที่กล่าวไว้ข้างต้นกับในขณะที่เหตุการณ์ของสุวรรณภูมิที่เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งจนไปเกือบถึงรางระบายน้ำแบบเปิดโล่ง แต่โชคดีที่คานยึดของฐานล้อเครื่องบินมีการครูดเป็นร่องลึกและเป็นทางยาวไปกับทางวิ่งประมาณเกือบ 400 เมตร (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน) ก่อนหยุดลง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้ก่อให้เกิดอากาศยานอุบัติเหตุแต่อย่างใด แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปได้ทุกครั้ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นเราต้องสูญเสียอะไรบ้างกับการไม่ได้ป้องกันกันแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาทบทวนดูหรือไม่

    โดยรวมแล้วการที่สนามบินมีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่ง (Open-Air Storm Water Conveyance) อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ(Non-Graded Portion) สามารถทำได้หรือจัดให้มีอยู่ได้โดยไม่ได้ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดจากมาตรฐานแต่อย่างใดเพราะ ICAO Annex 14 Vol. 1 เปิดไว้ให้ทำได้เพียงแต่ขอให้พิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดจากทางวิ่งซึ่งไม่ได้กำหนดว่าระยะเท่าไร ดังนั้นจึงอยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินหรือการดำเนินการของสนามบินในแต่ละประเทศที่จะพิจารณากันในมิติต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
    จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ซึ่งรวมถึงเนื้อหาในรายงานการประชุมของ ICAO ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า
    1. ประเทศบางประเทศอย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการพัฒนาให้มีกฎระเบียบหรือกฎหมายด้านความปลอดภัยทางการบินของตนเองที่สูงกว่ามาตรฐานของ ICAO โดยไม่ต้องมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานที่ชัดเจนของ ICAO Annex ออกมาแต่อย่างใด
    2. มาตรฐานที่ ICAO ออกมาในรูปแบบ Annex ต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปออกเป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับของตนเองนั้นยังมีช่องว่าง (Gap) ส่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นหรือปลอดภัยมากขึ้นอยู่เสมอ
    3. กรณีที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอีก โอกาสของ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เครื่องบินจะวิ่งเลยไปถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ยังมีอยู่หากยังไม่ได้ทำการประเมินความเสี่ยงและมีการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะสนามบินที่รองรับแบบอากาศยาน (Aircraft Code) ชนิดใหญ่ ๆ ได้
    4. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321ที่ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อ 8 กันยายน 2556 มีการระบุถึงการครูดของคานยึดฐานล้อหลักด้านขวาประมาณ 365 เมตร และวิ่งพ้นขอบทางวิ่งไปบนพื้นดินที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตรจึงหยุดนิ่ง กรณีเช่นนี้ถ้าหากไม่มีการครูดกับทางวิ่งด้วยระยะทางและความลึกตามรายงานดังกล่าว โอกาสที่อากาศยานอาจจะไปถึงรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งก็เป็นได้เมื่อลองเปรียบเทียบกับกรณีของสายการบิน Asiana Airlines ที่สนามบินฮิโรชิมา อย่างไรก็ตามรายงานผลการสอบสวนฯควรมีข้อแนะนำโดยตรงไปยัง ICAO (Safety recommendations to ICAO) ด้วยหรือไม่ถึงความเป็นไปได้ของสภาวะอันตรายนี้เพื่อให้ ICAO มีการพิจารณาหรืออาจจะทบทวนมาตรฐานกายภาพของทางวิ่งที่ยอมให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้

    ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่จะนำสรุปได้ว่าแต่ละประเทศที่มีลักษณะทางกายภาพทางวิ่งของสนามบินแบบนี้โดยเฉพาะประเทศเรานั้นจะดำเนินการไปในในทิศทางใด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเสนออีกครั้งการจะทำให้สมดุลกันระหว่างการลงทุนรายจ่ายการป้องกันด้านความปลอดภัย (Protection) กับการสร้างรายได้การดำเนินงาน (Production) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องจะเลือกวิธีแบบใด และแบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถมีส่วนร่วมได้หรือไม่

    ข้อมูลทั้งหมดเป็นทัศนคติส่วนบุคคลที่อ้างอิงจากเอกสารและรายงานที่เปิดเผยในเวปไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถค้นหาและสืบค้นได้โดยทั่วไป อาจมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึงและข้อมูลบางอย่างปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ผู้อ่านโปรดใช้ดุลยพินิจและพิจารณาอีกครั้ง

    เอกสารอ้างอิง(สามารสืบค้นได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต):
    1. ICAO Safety Report 2024Edition
    2. ICAO Annex 14 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition, July 2022
    3. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนฉบับที่ 37
    4. Aircraft Accident Investigation Report, Asiana Airlines INC. HL-7762, November 24,2016 - JTSB
    5. www.telegraph.co.uk/travel/news/asiana-plane-skids-off-runway-in-japan-leaving-20-injured/
    6. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TEFฯ โดยคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานประเทศไทย
    7. Agenda Item 4: Planning, Design and Construction of Aerodromes/ “Open-Air Strom Water Conveyance in Runway Strip” - The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024
    8. Final Report: The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024
    9. AIP Japan HIROSHIMA, RJOA AD2-6 (13/9/18)
    10. AIP Thailand, AD 2-VTBS-1-16, 28 NOV 24, VTBS AD2.12 RUNWAY PHYSICAL CHARACTERISTICS
    11. https://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok_Airways_Flight_266
    12. https://www.theguardian.com/world/2009/aug/04/thailand-plane-crash
    13. https://en.wikipedia.org/wiki/One-Two-Go_Airlines_Flight_269
    14. https://www.aviation-accidents.net/jet-airways-boeing-b737-800-vt-jbg-flight-9w2374/



    EP5 นี้ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นด้านความปลอดภัยทางการบินที่ขอมุ่งเน้นไปทางด้านความปลอดภัยของเครื่องบินขณะทำการวิ่งขึ้นหรือกำลังวิ่งลงบนทางวิ่งที่สนามบินนะครับ จากข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย (Safety Report) ปี 2024 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้จำแนกเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องจัดการอย่างเร่งด่วนอยู่ 5 เหตุการณ์ คือ 1 การควบคุมอากาศยานเข้าสู่สภาพภูมิประเทศ (Controlled Flight Into Terrain: CFIT) 2 การสูญเสียการควบคุมขณะทำการบิน (Loss Of Control In-Flight: LOC-I) 3 การชนกันกลางอากาศ (Mid-Air Collision: MAC) 4 การเกิดอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion: RE) และ 5 การล่วงล้ำบนทางวิ่ง (Runway Incursion: RI) ที่จะขอพูดถึงในครั้งนี้ขอกล่าวถึงอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่งเป็นหลักเพื่อที่จะนำเข้าสู่หัวข้อและเนื้อหาการประชุมของ ICAO ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ( ICAO APAC) เมื่อต้นป 67 ที่ผ่านมา การไถลออกนอกทางวิ่ง ICAO ได้ให้นิยามไว้คือการที่เครื่องบินเบี่ยงเบนออกจากทางวิ่งหรือการวิ่งเลยออกปลายทางวิ่งในขณะที่ทำการบินลงหรือวิ่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันเรามักจะได้ยินข่าวจากต่างประเทศตามสื่อต่างๆเกี่ยวกับเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวนหรือมีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยเราก็มีกรณีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งเช่นเดียวกันที่จังหวัดเชียงรายซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงฉบับสุดท้าย (Final Aircraft Serious Incident Investigation Report) ที่จะแจ้งให้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นั้นว่าคืออะไร (โดยตามมาตรฐาน ICAO นั้น รายงานฉบับสุดท้ายควรออกมาภายใน 12 เดือนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์) การไถลออกนอกทางวิ่งบนพื้นที่ของสนามบินที่ออกแบบและสร้างได้ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานจะลดโอกาสการเกิดความเสียหายต่อตัวอากาศยานและการบาดเจ็บของผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องได้อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คล้ายๆกับการที่เราบังเอิญขับรถพุ่งออกจากถนนจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ แต่พอดีพื้นที่ด้านข้างหรือไหล่ถนนนั้นเป็นพื้นที่โล่งๆที่มีความยาวและความกว้างเพียงพอให้เราควบคุมรถยนต์ให้ค่อยๆหยุดลงได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ได้ปะทะหรือชนเข้ากับสิ่งใดเราก็ปลอดภัย แต่ถ้าหากพื้นที่ด้านข้างถนนแคบหรือมีน้อยแถมมีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า เกาะกลางถนนหรือเป็นคลองส่งน้ำชลประทานหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด เราก็ยิ่งมีโอกาสได้รับอันตรายมากเท่านั้น แต่สำหรับสิ่งที่เราพูดถึงอยู่นี้เป็นอากาศยานหรือวัตถุที่มีขนาด มวล น้ำหนัก และความเร็วที่แตกต่างกันกับรถยนต์มาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงแตกต่างจากกรณีของรถยนต์อย่างสิ้นเชิง ในส่วนของพื้นที่ที่รองรับการออกนอกทางวิ่งของเครื่องบินเราเรียกว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันตามประเภทของทางวิ่งที่รองรับอากาศยานรวมทั้งทางหยุด (Stop Way) (ถ้ามี) ทั้งนี้ยังรวมถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็คือพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ที่เอาไว้สำหรับรองรับการวิ่งเลยปลายทางวิ่งออกไปและในกรณีที่เครื่องบินลงก่อนถึงจุดเริ่มต้นของหัวทางวิ่ง (Runway Threshold) ด้วยเช่นกัน (สามารถดาวน์โหลดข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) ฉบับที่ 37 ในเว็ปไซต์ กพท.หรือ ICAO Annex 14 Vol.1 ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อดูในรายละเอียดได้) พื้นที่เหล่านี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยในกรณีเกิด Runway excursion ขึ้น เราลองมาดูนิยามและมาตรฐานในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก่อนดีกว่า ความหมายของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 (อ้างอิงจากมาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations) กำหนดไว้ว่า “พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) หมายความว่า พื้นที่ที่กําหนดไว้ซึ่งรวมถึงทางวิ่งและทางหยุด (ถ้ามี) ที่กําหนดไว้เพื่อ (1) ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่ง และ (2) ป้องกันอากาศยานที่บินอยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวระหว่างการปฏิบัติการวิ่งขึ้นหรือการบินลงของอากาศยาน 2. ขนาดของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 145 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งต้องขยายต่อออกไปจากหัวทางวิ่งและยาวเลยปลายทางวิ่งหรือทางหยุดไม่น้อยกว่าระยะทาง ดังต่อไปนี้ (1) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 2, 3 หรือ 4 (2) หกสิบ (60) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (3) สามสิบ (30) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 และเป็นทางวิ่งแบบบินลงโดยไม่ใช้เครื่องวัดประกอบการบิน ข้อ 146 พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบพรีซิชั่น (Precision) และทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น (Non-Precision) ต้องขยายไปทางด้านข้างแต่ละด้านของเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ต่อขยายออกไปตลอดความยาวของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนั้นเป็นระยะทางอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งร้อยสี่สิบ (140) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 (2) เจ็ดสิบ (70) เมตร สําหรับทางวิ่งที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1 หรือ 2 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 เพื่อประโยชน์ในการรองรับเครื่องบินที่จะใช้ทางวิ่ง ในกรณีที่เครื่องบินวิ่งออกนอกทางวิ่ง สนามบินต้องปรับระดับ (Graded portion) ส่วนของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของทางวิ่งแบบบินลงด้วยเครื่องวัด ประกอบการบิน อย่างน้อยภายในระยะจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งและแนวเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ขยายออกไปดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งร้อยห้า (105) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 ตามรูปที่ 9 (2) เจ็ดสิบห้า (75) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 3 หรือ 4 (3) สี่สิบ (40) เมตร สําหรับทางวิ่งแบบพรีซิชั่นและทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่นที่มีรหัสตัวเลขเป็น 1หรือ 2 ข้อ 161 หากมีความจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่เหมาะสม สนามบินอาจจัดให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ที่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งได้ แต่ต้องวางตําแหน่งของรางระบายน้ำให้อยู่ห่างจากทางวิ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้” อันนี้คือข้อมูลที่อยู่ในข้อกำหนด กพท.ฉบับ37 สนามบินสุวรรณภูมิมีรหัสอ้างอิงของสนามบิน 4E (ตามข้อกำหนด กพท. ฉบับที่ 37 ส่วนที่ 4 รหัสอ้างอิงสนามบิน ข้อ 23, 24 และ25) คือมีความยาวของทางวิ่งเกิน 1800 เมตร และรองรับเครื่องบินที่มีระยะห่างระหว่างปลายปีก 65 เมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึง 80 เมตร ดังนั้นพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งด้านข้างที่วัดออกจากจุดเส้นกึ่งกลางทางวิ่งจึงต้องมีขนาดอย่างน้อย 140 เมตรตลอดแนวความยาวของทางวิ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่ามีการใช้คำว่า “อย่างน้อย” นั้น ถ้ามากกว่าก็จะยิ่งดี สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินหลักของบ้านเราที่มีภาพประกอบวาระการประชุมของ ICAO Asia and Pacific (ICAO APAC) ที่จะได้กล่าวต่อไป ได้มีการติดตั้งรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งตามความยาวของทางวิ่งฝั่งตะวันออกห่างจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งที่ระยะ 120 เมตร (ข้อมูลจาก AIP Thailand) เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยระบายน้ำสำหรับกรณีมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากอยู่บนทางวิ่งหรือพื้นที่โดยรอบ ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion of Runway Strip) หรือตั้งแต่ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่งเป็นต้นไป (ตามข้อกำหนด กพท. 4. การปรับระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง ข้อ 152 วงเล็บ 1) ขณะที่มาตรฐานของ ICAO Annex 14 Vol.1 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition July 2022 หน้า 3-13 ข้อ 3.4.16 บันทึก (Note) 1 ได้ระบุว่า รางระบายน้ำแบบเปิดโล่งสามารถที่จะติดตั้งได้ในกรณีที่มีความจำเป็นต่อการระบายน้ำฝนจำนวนมากแต่จะต้องพิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับหรือพื้นที่ “Non-graded portion” ของทางวิ่ง (Note 1. - Where deemed necessary for proper drainage, an open-air storm water conveyance may be allowed in the non-graded portion of a runway strip and would be placed as far as practicable from the runway.) ดังนั้นการมีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งของสนามบินนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการติดตั้งที่ไม่สอดคล้องหรือผิดจากมาตรฐานการก่อสร้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จากรายงานการประชุมครั้งที่ 5 ของ ICAO APAC ของคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force เมื่อวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 67 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศภาคีสมาชิก 14 ประเทศและองค์กรทางการบินระหว่างประเทศอีก 3 หน่วยงานรวม 62 คน ( The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force: AP-ADO/TF/5: Chiang Rai) ในหัวข้อวาระประชุมที่ 4 เรื่อง “การวางแผน การออกแบบ และการก่อสร้างสนามบิน” (Planning, Design and Construction of Aerodromes) นั้น มีการหยิบยกประเด็นของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งที่อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (OPEN-AIR STORM WATER CONVEYANCE IN RUNWAY STRIP) ขึ้นมาใหม่ซึ่งนำเสนอโดย ICAO-The Cooperative Development of Operational Safety and Continuing Airworthiness Programme – South East Asia (COSCAP-SEA) โดยระบุว่าการมีอยู่ของรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) อาจนำมาซึ่งอันตรายต่างๆโดยเฉพาะกับเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่ง ยิ่งในช่วงที่สนามบินมีสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกและทางวิ่งเปียกลื่น การมีอยู่ของรางระบายน้ำนั้นอาจจะทำให้เหตุการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง(ที่ไปถึงบริเวณที่ติดตั้งรางระบายน้ำฯ) รุนแรงยิ่งขึ้น อันนี้เองอาจจะถือได้ว่าเป็นการเริ่มทบทวนมาตรฐานด้านกายภาพสนามบินของ ICAO ก็เป็นได้ และจากการนำเสนอข้อมูลในวาระนี้ก่อนที่จะสรุปอยู่ในรายงานในภาพรวมนั้นได้มีการนำรูปภาพตัวอย่างของกรณีการไถลออกนอกทางวิ่งในประเทศต่างๆ รวมทั้งตัวอย่างภาพของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งและหยุดอยู่ตรงหน้ารางระบายน้ำคอนกรีตเพียงไม่กี่เมตรมาแสดงด้วย มีข้อที่น่าสนใจและน่าสังเกตก็คือจากภาพที่มีการนำเสนอที่มีการไถลออกนอกทางวิ่งจากวาระการประชุมนี้รูปหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่สนามบินฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นมีการไถลออกจากทางวิ่งไปจนเกือบถึงขอบของ Runway Strip ซึ่งไม่โครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างใดหรือแม้แต่รางระบายน้ำคอนกรีตอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) นี้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีรางระบายน้ำอยู่บนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ซึ่งตามมาตรฐานของ ICAO สามารถอยู่ได้เราคงพอจะนึกภาพออก และเมื่อไปดูข้อมูลด้านกายภาพของสนามบินฮิโรชิมานี้ใน AIP Japan (Aeronautical Information Publication, Japan) พบว่าพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งหรือ Runway Strip ของสนามบินนี้อยู่ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งซึ่งสูงกว่ามาตรฐานปัจจุบันซึ่งมีการก่อสร้างมานานแล้วนั่นหมายความว่าถ้าหากมีรางระบายน้ำหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งนี้แม้มาตรฐานสากลจะยอมให้อยู่ได้ อากาศยานอุบัติการณ์รุนแรงก็สามารถจะคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับสนามบินสมุยที่มีอาคาร Tower เก่าอยู่บน Runway Strip แล้วเครื่องไถลออกไปก็ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมาแล้วเมื่อ 4 สิงหาคม 2552 หรือกรณีของสายการบิน One to Go ที่สนามบินภูเก็ตที่ผ่านมาหลายปีมาแล้วเช่นกันที่พื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการรองรับอากาศยาน ในที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force - ICAO APAC ยังได้มีการกล่าวถึงข้อมูลสถิติการศึกษาการออกนอกทางวิ่งของอากาศยานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ได้ทำไว้ โดยแสดงให้เห็นว่าในจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์ออกนอกทางวิ่ง 90 เปอร์เซ็นต์เครื่องบินสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) บนขอบเขตของพื้นที่ปรับระดับ (Graded portion) คืออยู่ในระยะ 105 เมตรจากเส้นกึ่งกลางทางวิ่ง ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์จะเลย 105 เมตรออกไปถึงพื้นที่ที่ไม่ปรับระดับ (Non-graded portion) คือตั้งแต่ 105 เมตรขึ้นไปจนถึงขอบของ Runway strip ซึ่งจากสถิติข้อมูลการศึกษาอันนี้ในจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์นี้ในบางครั้งมีการไถลออกไปไกลถึง 152 เมตร และบางครั้งถึง 210 เมตรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างหนึ่งที่เครื่องบินไถลออกไปจากทางวิ่งไปถึง 219 เมตรที่ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2019 ก็มีมาแล้ว (มีภาพประกอบ) เนื้อหาข้อมูลใน Final Report ของที่ประชุมคณะทำงาน Aerodrome Design and Operations Task Force นี้ (ในหน้า 4-5) นี้ มีการระบุให้ข้อมูลว่ามีตัวอย่างของเอกสารคำแนะนำ (Advisory circular) AC150/5300-13B ของหน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) ว่าตำแหน่งของร่องน้ำหรือรางระบายน้ำหรือกำแพงป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่บริเวณนั้นแต่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตามจะไม่มีการตั้งอยู่บนขอบเขตของพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งเลย โดยความกว้างของพื้นที่ปลอดภัยทางวิ่งของเขาจะอยู่ที่ 500 ฟุต หรือ152 เมตร “4.28 The WP/20 provided an example of the FAA advisory circular: AC150/5300-13B where it reads, “location of ditch, swale, or headwall depends on the site condition but in no case within the limits of runway safety area (RSA).” The width of the RSA, as specified in Appendix G of the AC is 500 feet (152m).” นอกจากนี้ผู้แทนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ออกมาให้การสนับสนุนประเด็นหัวข้อนี้และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากฎระเบียบด้านการบินของเกาหลีใต้ในหัวข้อที่เกี่ยวกับมาตรฐานพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่งของสนามบินนั้นออกข้อกำหนดไว้ว่าการก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งจะต้องก่อสร้างให้เลยจากพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) ของพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ออกไปเท่านั้นและยังเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ พัฒนาคู่มือนโนบายและวิธีปฏิบัติในการที่จะยอมรับกายภาพที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของตนบนพื้นฐานจากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย “4.31 The Republic of Korea supported the Working Paper and shared that their regulations required open air drains to be constructed beyond the non-graded portion of the runway strips and expressed the need for States to develop Policy and Procedures for accepting non-compliances based on safety risk assessment”. สำหรับสนามบินหลักของบ้านเราที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway strip) ในส่วนที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-graded portion) นี้นั้น ถ้าดูจากสถิติตามรายงานของที่ประชุมนี้แล้ว 90 เปอร์เซ็นของเครื่องบินที่ไถลออกนอกทางวิ่งจะออกไปไม่ถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ หรือบริเวณที่มีรางระบายน้ำคอนกรีตฯนี้ ยกเว้นเพียง 10 เปอร์เซ็นเท่านั้น อย่างไรก็ดีจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่รัฐหรือผู้ดำเนินการสนามบินจะนำเรื่องดังกล่าวมาทบทวนข้อมูลสถิติ จำนวนและชนิดของอากาศยานที่มาใช้บริการ โอกาสความเป็นไปได้ต่าง ๆ รวมทั้งทบทวนกฎระเบียบหรือทำการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกครั้งตามที่หน่วยงานการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของสาธารณรัฐเกาหลีได้ได้นำเสนอมาในรายงาน เพื่อลดโอกาสความรุนแรงจากการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ถ้าตัวเลขในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น จำนวนการไถลออกนอกทางวิ่งของทั้ง 90 เปอร์เซ็นและของ 10 เปอร์เซ็นก็น่าจะมากตาม คงไม่น่าจะมีใครอยากคิดว่าตนเองจะเป็นผู้ที่อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นนั้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากดูข้อมูลเหตุการณ์ของสายการบิน Asiana airlines ที่ออกนอกทางวิ่งสนามบินฮิโรชิมาของญี่ปุ่นที่มี Runway strip ที่ 150 เมตรจากกึ่งกลางทางวิ่งโดยไถลไปไกลจนเกือบถึงขอบ Runway strip โดยไม่มีรางระบายน้ำฯหรือสิ่งปลูกสร้างใดบนพื้นที่บริเวณนี้แม้แต่น้อยตามที่กล่าวไว้ข้างต้นกับในขณะที่เหตุการณ์ของสุวรรณภูมิที่เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งจนไปเกือบถึงรางระบายน้ำแบบเปิดโล่ง แต่โชคดีที่คานยึดของฐานล้อเครื่องบินมีการครูดเป็นร่องลึกและเป็นทางยาวไปกับทางวิ่งประมาณเกือบ 400 เมตร (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน) ก่อนหยุดลง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้ก่อให้เกิดอากาศยานอุบัติเหตุแต่อย่างใด แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปได้ทุกครั้ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นเราต้องสูญเสียอะไรบ้างกับการไม่ได้ป้องกันกันแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาทบทวนดูหรือไม่ โดยรวมแล้วการที่สนามบินมีรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่ง (Open-Air Storm Water Conveyance) อยู่บนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) ตรงบริเวณที่เรียกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ(Non-Graded Portion) สามารถทำได้หรือจัดให้มีอยู่ได้โดยไม่ได้ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดจากมาตรฐานแต่อย่างใดเพราะ ICAO Annex 14 Vol. 1 เปิดไว้ให้ทำได้เพียงแต่ขอให้พิจารณาติดตั้งให้ไกลที่สุดจากทางวิ่งซึ่งไม่ได้กำหนดว่าระยะเท่าไร ดังนั้นจึงอยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินหรือการดำเนินการของสนามบินในแต่ละประเทศที่จะพิจารณากันในมิติต่าง ๆ อย่างรอบคอบ จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ซึ่งรวมถึงเนื้อหาในรายงานการประชุมของ ICAO ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า 1. ประเทศบางประเทศอย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการพัฒนาให้มีกฎระเบียบหรือกฎหมายด้านความปลอดภัยทางการบินของตนเองที่สูงกว่ามาตรฐานของ ICAO โดยไม่ต้องมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานที่ชัดเจนของ ICAO Annex ออกมาแต่อย่างใด 2. มาตรฐานที่ ICAO ออกมาในรูปแบบ Annex ต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปออกเป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับของตนเองนั้นยังมีช่องว่าง (Gap) ส่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นหรือปลอดภัยมากขึ้นอยู่เสมอ 3. กรณีที่มีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งอีก โอกาสของ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เครื่องบินจะวิ่งเลยไปถึงพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับ (Non-Graded Portion) ยังมีอยู่หากยังไม่ได้ทำการประเมินความเสี่ยงและมีการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะสนามบินที่รองรับแบบอากาศยาน (Aircraft Code) ชนิดใหญ่ ๆ ได้ 4. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321ที่ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อ 8 กันยายน 2556 มีการระบุถึงการครูดของคานยึดฐานล้อหลักด้านขวาประมาณ 365 เมตร และวิ่งพ้นขอบทางวิ่งไปบนพื้นดินที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของทางวิ่งระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตรจึงหยุดนิ่ง กรณีเช่นนี้ถ้าหากไม่มีการครูดกับทางวิ่งด้วยระยะทางและความลึกตามรายงานดังกล่าว โอกาสที่อากาศยานอาจจะไปถึงรางระบายน้ำคอนกรีตแบบเปิดโล่งก็เป็นได้เมื่อลองเปรียบเทียบกับกรณีของสายการบิน Asiana Airlines ที่สนามบินฮิโรชิมา อย่างไรก็ตามรายงานผลการสอบสวนฯควรมีข้อแนะนำโดยตรงไปยัง ICAO (Safety recommendations to ICAO) ด้วยหรือไม่ถึงความเป็นไปได้ของสภาวะอันตรายนี้เพื่อให้ ICAO มีการพิจารณาหรืออาจจะทบทวนมาตรฐานกายภาพของทางวิ่งที่ยอมให้มีรางระบายน้ำแบบเปิดโล่งบนพื้นที่ที่ไม่ต้องปรับระดับนี้ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่จะนำสรุปได้ว่าแต่ละประเทศที่มีลักษณะทางกายภาพทางวิ่งของสนามบินแบบนี้โดยเฉพาะประเทศเรานั้นจะดำเนินการไปในในทิศทางใด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเสนออีกครั้งการจะทำให้สมดุลกันระหว่างการลงทุนรายจ่ายการป้องกันด้านความปลอดภัย (Protection) กับการสร้างรายได้การดำเนินงาน (Production) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องจะเลือกวิธีแบบใด และแบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถมีส่วนร่วมได้หรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดเป็นทัศนคติส่วนบุคคลที่อ้างอิงจากเอกสารและรายงานที่เปิดเผยในเวปไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถค้นหาและสืบค้นได้โดยทั่วไป อาจมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึงและข้อมูลบางอย่างปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ผู้อ่านโปรดใช้ดุลยพินิจและพิจารณาอีกครั้ง เอกสารอ้างอิง(สามารสืบค้นได้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต): 1. ICAO Safety Report 2024Edition 2. ICAO Annex 14 - Aerodrome Design and Operations, 9 edition, July 2022 3. ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนฉบับที่ 37 4. Aircraft Accident Investigation Report, Asiana Airlines INC. HL-7762, November 24,2016 - JTSB 5. www.telegraph.co.uk/travel/news/asiana-plane-skids-off-runway-in-japan-leaving-20-injured/ 6. รายงานฉบับสุดท้ายการสอบสวนอากาศยานแบบ Airbus A330-321 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TEFฯ โดยคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยานประเทศไทย 7. Agenda Item 4: Planning, Design and Construction of Aerodromes/ “Open-Air Strom Water Conveyance in Runway Strip” - The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024 8. Final Report: The Fifth Meeting of the Asia/Pacific Aerodrome Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF/5) Chaing Rai, Thailand 30 January – 2 February 2024 9. AIP Japan HIROSHIMA, RJOA AD2-6 (13/9/18) 10. AIP Thailand, AD 2-VTBS-1-16, 28 NOV 24, VTBS AD2.12 RUNWAY PHYSICAL CHARACTERISTICS 11. https://en.wikipedia.org/wiki/Bangkok_Airways_Flight_266 12. https://www.theguardian.com/world/2009/aug/04/thailand-plane-crash 13. https://en.wikipedia.org/wiki/One-Two-Go_Airlines_Flight_269 14. https://www.aviation-accidents.net/jet-airways-boeing-b737-800-vt-jbg-flight-9w2374/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 492 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇮🇳 อินเดียกำลังพิจารณาปรับลดภาษีเงินได้สำหรับบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน ๑.๕ ล้านรูปี (๑๗,๕๙๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อปี
    .
    JUST IN: 🇮🇳 India is considering cutting income tax for individuals making up to 1.5 million rupees ($17,590) a year.
    .
    1:14 PM · Dec 27, 2024 · 157.5K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1872526442149654689
    🇮🇳 อินเดียกำลังพิจารณาปรับลดภาษีเงินได้สำหรับบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน ๑.๕ ล้านรูปี (๑๗,๕๙๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อปี . JUST IN: 🇮🇳 India is considering cutting income tax for individuals making up to 1.5 million rupees ($17,590) a year. . 1:14 PM · Dec 27, 2024 · 157.5K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1872526442149654689
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 357 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇮🇳 อินเดียจะเป็นผู้นำการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก, โดยเพิ่มเกือบ ๒ ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงปี ๒๐๓๕
    .
    🇮🇳 India to lead global oil demand growth, adding nearly 2 million barrels per day through 2035.
    .
    6:22 AM · Dec 27, 2024 · 120.4K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1872422715053027756
    🇮🇳 อินเดียจะเป็นผู้นำการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก, โดยเพิ่มเกือบ ๒ ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงปี ๒๐๓๕ . 🇮🇳 India to lead global oil demand growth, adding nearly 2 million barrels per day through 2035. . 6:22 AM · Dec 27, 2024 · 120.4K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1872422715053027756
    Like
    Wow
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 145 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇮🇳🇨🇦 แผนกการศึกษาของอินเดียพบว่า วิทยาลัยในแคนาดา ๒๖๒ แห่ง มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายค้ามนุษย์ในอินเดีย
    .
    JUST IN: 🇮🇳🇨🇦 Indian ED finds 262 Canadian colleges linked to human trafficking networks in India.
    .
    3:50 PM · Dec 26, 2024 · 231K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1872203289200406554
    🇮🇳🇨🇦 แผนกการศึกษาของอินเดียพบว่า วิทยาลัยในแคนาดา ๒๖๒ แห่ง มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายค้ามนุษย์ในอินเดีย . JUST IN: 🇮🇳🇨🇦 Indian ED finds 262 Canadian colleges linked to human trafficking networks in India. . 3:50 PM · Dec 26, 2024 · 231K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1872203289200406554
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 164 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇮🇳 นายกรัฐมนตรีอินเดีย โมดี กล่าวว่า อินเดียกำลังกลายเป็นศูนย์กลางการค้าโลก
    .
    🇮🇳 Indian Prime Minister Modi says India is becoming a hub for global trade.
    .
    10:06 AM · Dec 26, 2024 · 162.6K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1872116709219598455
    🇮🇳 นายกรัฐมนตรีอินเดีย โมดี กล่าวว่า อินเดียกำลังกลายเป็นศูนย์กลางการค้าโลก . 🇮🇳 Indian Prime Minister Modi says India is becoming a hub for global trade. . 10:06 AM · Dec 26, 2024 · 162.6K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1872116709219598455
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘นายกฯ’ มอบ ‘พีระพันธุ์’ นั่งหัวโต๊ะประชุม ‘บอร์ด กพช.’ ก่อนเคาะชะลอเซ็นสัญญาซื้อ ‘ไฟฟ้าสีเขียว’ 3.6 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ ‘สภาผู้บริโภค-เครือข่าย’ ออกแถลงการณ์จี้ ‘กกพ.’ ยุติโครงการฯ ชี้ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 25 ปี

    ......................................

    เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 14.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุม กพช. โดยมีวาระพิจารณาที่สนใจ คือ การพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2567-2573 (ไฟฟ้าสีเขียว) จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW)

    นายพีระพันธุ์ เปิดเผยหลังการประชุม กพช. ว่าตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ นั้น

    ที่ประชุม กพช. จึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ปริมาณรวม 3,668.5 MW ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง

    รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน (25 ธ.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายด้านพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ที่ใช้วิธีคัดเลือกแทนการประมูล เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวจะสร้างภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสูงถึง 65,000 ล้านบาท นาน 25 ปี ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และลมลดลงอย่างรวดเร็ว

    สำหรับแถลงการณ์ฯดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็น ก) พลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งพื้นบนดิน จำนวน 1,580 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์หรือขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2569-2573 และ ข) กังหันลมจำนวน 565.4 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2571-2573 รวม 2,145.5 เมกะวัตต์ โดยไม่มีการประมูล

    แต่ใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งใช้ราคารับซื้อที่กำหนดโดยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คือ 2.17 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และราคา 3.10 บาทต่อหน่วยสำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยที่ราคารับซื้อดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี นั้น

    เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มีความก้าวหน้าและราคาลดต่ำลง อย่างรวดเร็วมาก โดยลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม แต่อัตราการลดลงของราคาจะช้ากว่าเล็กน้อย

    ดังนั้น การที่ กกพ. ใช้ราคาตามมติ กพช. ในปี 2565 ที่ไปกำหนดราคาที่ซื้อขายกันจริงของโซลาร์เซลล์ในปี 2569 หรืออีกประมาณ 4 ปีหลังจากนั้น จึงส่งผลให้ราคาสูงกว่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นถึง 20-30% ส่วนกรณีของพลังงานลมซึ่งจะมีการซื้อขายกันจริงในปี 2571 จะช้ากว่าวันกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ถึง 6 ปี

    นอกจากการกำหนดราคาที่เรียกได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าวข้างต้นแล้ว การไม่เปิดให้มีการแข่งขันโดยวิธีการประมูลราคาเพื่อหาราคาที่เหมาะที่สุด ก็จะเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงไปนานถึง 25 ปี

    ผลการศึกษาขององค์กร IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (เรื่อง Renewable Power Generation Costs in 2023) ชี้ให้เห็นว่า ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด โครงการ (LCOE) (ซึ่งเป็นการศึกษาจากทั่วโลก) จะมีราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโลกจากโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในปี 2566 เท่ากับ 1.53 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และหากมีการซื้อขายในปี 2569 ตามที่ กกพ. ประกาศ ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะน้อยกว่า 1.53 บาทต่อหน่วยอีก

    เพื่อเป็นการยืนยันว่าผลการศึกษาของ IRENA มีแนวโน้มที่ถูกต้องและเป็นไปได้จริง พบว่ารัฐบาลอินเดีย โดย SECI (Solar Energy Corporation of India) ได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับการเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน) ในราคา 1.44 บาทต่อหน่วย ในขณะที่โครงการของประเทศไทยที่กำลังดำเนินการนี้ไม่มีแบตเตอรี่

    เมื่อนำข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาคำนวณอย่างเป็นระบบ (ตามข้อมูลในภาพและตารางแนบท้าย) และสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นคิดเป็นมูลค่า ตลอดอายุสัญญา 25 ปี อย่างน้อยรวม 65,000 ล้านบาท (หกหมื่นห้าพันล้านบาท)

    สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก กกพ. แต่ประการใด ดังนั้น ในวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายซึ่งได้ร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องให้ กกพ. และรัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อไป

    พร้อมกันนี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP2024) ซึ่งได้ดำเนินการมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ

    ทั้งนี้ ในการจัดทำแผน PDP2024 หรือ PDP2025 ต้องเน้น การพึ่งตนเองของชาติ ภายใต้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และต้องเน้นให้ผู้บริโภค สามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายไฟฟ้า (Prosumer) เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่ว่า

    “รัฐบาลจะยึดมั่นในหลักนิธิธรรม ความโปร่งใส สร้างความชอบธรรมในการบริหาร ราชการแผ่นดินโดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ...จะสนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ใช้ในครัวเรือนและมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินกว่าความต้องการคืนให้รัฐ...จะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค”
    ‘นายกฯ’ มอบ ‘พีระพันธุ์’ นั่งหัวโต๊ะประชุม ‘บอร์ด กพช.’ ก่อนเคาะชะลอเซ็นสัญญาซื้อ ‘ไฟฟ้าสีเขียว’ 3.6 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ ‘สภาผู้บริโภค-เครือข่าย’ ออกแถลงการณ์จี้ ‘กกพ.’ ยุติโครงการฯ ชี้ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 25 ปี ...................................... เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 14.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุม กพช. โดยมีวาระพิจารณาที่สนใจ คือ การพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2567-2573 (ไฟฟ้าสีเขียว) จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW) นายพีระพันธุ์ เปิดเผยหลังการประชุม กพช. ว่าตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ นั้น ที่ประชุม กพช. จึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ปริมาณรวม 3,668.5 MW ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน (25 ธ.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายด้านพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ที่ใช้วิธีคัดเลือกแทนการประมูล เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวจะสร้างภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสูงถึง 65,000 ล้านบาท นาน 25 ปี ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และลมลดลงอย่างรวดเร็ว สำหรับแถลงการณ์ฯดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็น ก) พลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งพื้นบนดิน จำนวน 1,580 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์หรือขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2569-2573 และ ข) กังหันลมจำนวน 565.4 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2571-2573 รวม 2,145.5 เมกะวัตต์ โดยไม่มีการประมูล แต่ใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งใช้ราคารับซื้อที่กำหนดโดยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คือ 2.17 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และราคา 3.10 บาทต่อหน่วยสำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยที่ราคารับซื้อดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี นั้น เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มีความก้าวหน้าและราคาลดต่ำลง อย่างรวดเร็วมาก โดยลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม แต่อัตราการลดลงของราคาจะช้ากว่าเล็กน้อย ดังนั้น การที่ กกพ. ใช้ราคาตามมติ กพช. ในปี 2565 ที่ไปกำหนดราคาที่ซื้อขายกันจริงของโซลาร์เซลล์ในปี 2569 หรืออีกประมาณ 4 ปีหลังจากนั้น จึงส่งผลให้ราคาสูงกว่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นถึง 20-30% ส่วนกรณีของพลังงานลมซึ่งจะมีการซื้อขายกันจริงในปี 2571 จะช้ากว่าวันกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ถึง 6 ปี นอกจากการกำหนดราคาที่เรียกได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าวข้างต้นแล้ว การไม่เปิดให้มีการแข่งขันโดยวิธีการประมูลราคาเพื่อหาราคาที่เหมาะที่สุด ก็จะเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงไปนานถึง 25 ปี ผลการศึกษาขององค์กร IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (เรื่อง Renewable Power Generation Costs in 2023) ชี้ให้เห็นว่า ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด โครงการ (LCOE) (ซึ่งเป็นการศึกษาจากทั่วโลก) จะมีราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโลกจากโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในปี 2566 เท่ากับ 1.53 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และหากมีการซื้อขายในปี 2569 ตามที่ กกพ. ประกาศ ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะน้อยกว่า 1.53 บาทต่อหน่วยอีก เพื่อเป็นการยืนยันว่าผลการศึกษาของ IRENA มีแนวโน้มที่ถูกต้องและเป็นไปได้จริง พบว่ารัฐบาลอินเดีย โดย SECI (Solar Energy Corporation of India) ได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับการเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน) ในราคา 1.44 บาทต่อหน่วย ในขณะที่โครงการของประเทศไทยที่กำลังดำเนินการนี้ไม่มีแบตเตอรี่ เมื่อนำข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาคำนวณอย่างเป็นระบบ (ตามข้อมูลในภาพและตารางแนบท้าย) และสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นคิดเป็นมูลค่า ตลอดอายุสัญญา 25 ปี อย่างน้อยรวม 65,000 ล้านบาท (หกหมื่นห้าพันล้านบาท) สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก กกพ. แต่ประการใด ดังนั้น ในวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายซึ่งได้ร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องให้ กกพ. และรัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อไป พร้อมกันนี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP2024) ซึ่งได้ดำเนินการมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้ ในการจัดทำแผน PDP2024 หรือ PDP2025 ต้องเน้น การพึ่งตนเองของชาติ ภายใต้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และต้องเน้นให้ผู้บริโภค สามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายไฟฟ้า (Prosumer) เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่ว่า “รัฐบาลจะยึดมั่นในหลักนิธิธรรม ความโปร่งใส สร้างความชอบธรรมในการบริหาร ราชการแผ่นดินโดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ...จะสนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ใช้ในครัวเรือนและมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินกว่าความต้องการคืนให้รัฐ...จะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค”
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts