• อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 Comments 0 Shares 347 Views 0 Reviews
  • 27-29 มกราคม 2568 เทศกาลตรุษจีน 新正如意 新年發財 新正如意 新年发财

    "ตรุษจีน" หรือ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เป็นวันสำคัญที่ชาวจีนทั่วโลก ต่างเฝ้ารอด้วยความตื่นเต้น และเปี่ยมไปด้วยความสุข ในปีนี้ ตรุษจีนตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2568 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ความเป็นสิริมงคล และการรวมตัวของครอบครัว 🌟

    ตรุษจีน (Chinese New Year) เป็นเทศกาลที่มีความสำคัญที่สุด ในปฏิทินจีน ซึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินจันทรคติ โดยเริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งเป็นเทศกาลโคมไฟ ทั้งนี้ ตรุษจีนไม่ใช่แค่การเฉลิมฉลอง การเปลี่ยนปีใหม่ แต่ยังเป็นโอกาส ในการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในชีวิต

    เทศกาลตรุษจีน มีประวัติยาวนานนับพันปี โดยเริ่มต้นจาก ตำนานสัตว์ร้าย “เหนียน” (年) ที่จะออกมาสร้างความหวาดกลัว ให้กับผู้คนทุกปี ชาวบ้านจึงใช้วิธีจุดประทัด และตกแต่งบ้านด้วยสีแดง เพื่อขับไล่ปีศาจร้าย จนกลายมาเป็นประเพณี ที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน 🎆

    ตรุษจีนไม่ใช่แค่การเฉลิมฉลองปีใหม่ แต่ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้ง เช่น
    - การเริ่มต้นใหม่ที่ดี การทำความสะอาดบ้าน และตกแต่งด้วยสีแดง เพื่อขจัดโชคร้าย
    - ความรักและความสัมพันธ์ในครอบครัว การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี
    - ความมั่งคั่งและโชคลาภ ซองอั่งเปาและการไหว้เจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล

    ประเพณีตรุษจีนในไทย
    วันจ่าย
    28 มกราคม 2568 คือวันก่อนวันตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน จะออกไปซื้อของจำเป็น เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ ขนมมงคล และเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เพื่อเตรียมตัวสำหรับวันไหว้

    วันไหว้
    29 มกราคม 2568 เป็นวันสำคัญ ที่มีพิธีไหว้ใน 3 ช่วง ได้แก่
    - ช่วงเช้ามืด ไหว้เทพเจ้า เช่น เทพเจ้าผู้คุ้มครอง
    - ช่วงสาย ไหว้บรรพบุรุษ โดยมีอาหารที่ผู้ล่วงลับเคยชอบ เช่น หมู เป็ด ไก่ และขนมเข่ง
    - ช่วงบ่าย ไหว้ “ฮ่อเฮียตี๋” (วิญญาณพี่น้องที่ล่วงลับ) พร้อมจุดประทัดเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

    วันเที่ยว
    30 มกราคม 2568 หรือ “วันถือ” เป็นวันที่ชาวจีนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ ออกเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ และมอบส้มสีทอง เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง 🍊

    คำอวยพรตรุษจีนยอดนิยม
    ในช่วงเทศกาลตรุษจีน การส่งคำอวยพรเป็นสิ่งสำคัญ ที่สื่อถึงความปรารถนาดี ตัวอย่างคำอวยพร ที่ใช้กันบ่อย ได้แก่

    “新正如意 新年發財” (ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย) ขอให้ปีใหม่สมปรารถนาและร่ำรวยมั่งคั่ง
    “恭喜發財” (กงสี่ฟาไฉ) ขอให้ร่ำรวยเงินทอง
    “萬事如意” (ว่านซื่อหรูอี้) ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง

    ✨ การใช้ซองอั่งเปา (ซองสีแดง) เพื่อมอบเงินให้กับเด็ก หรือผู้ที่อายุน้อยกว่า ก็เป็นอีกหนึ่งการแสดงความปรารถนาดี

    อาหารมงคลในวันตรุษจีน
    อาหารถือเป็นส่วนสำคัญของตรุษจีน โดยมีเมนูที่มีความหมายมงคล เช่น
    - ปลา (鱼) ความอุดมสมบูรณ์
    - ขนมเข่งและขนมเทียน ความเจริญรุ่งเรือง
    - เกี๊ยว (饺子) ความมั่งคั่ง
    - เส้นหมี่ (长寿面) อายุยืนยาว

    การเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ ไม่ได้เพียงแค่ตามธรรมเนียม แต่ยังเป็นการเสริมสร้างกำลังใจ ในปีใหม่อีกด้วย

    เคล็ดลับเสริมโชคลาภช่วงตรุษจีน
    - ทำความสะอาดบ้านก่อนตรุษจีน เพื่อขจัดโชคร้าย แต่หลีกเลี่ยงการกวาดบ้าน ในวันปีใหม่
    - สวมใส่เสื้อผ้าสีแดง สีแดงถือเป็นสีแห่งความโชคดี
    - งดการพูดคำไม่ดี เพื่อเริ่มต้นปีใหม่อย่างเป็นมงคล
    - มอบส้มสีทอง เป็นการส่งมอบความมั่งคั่งให้แก่กัน

    ตรุษจีนปี 2568 ไม่ได้เป็นเพียงเทศกาล สำหรับชาวจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่ทุกคน สามารถมีส่วนร่วมในประเพณี ที่เต็มไปด้วยสีสัน และความหมายดี ๆ ลองร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ด้วยการเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ เพื่อเสริมสร้างความสุข และความมั่งคั่งให้กับตนเอง และครอบครัว

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281035 ม.ค. 2568

    #ตรุษจีน2568 #新正如意新年發財 #ChineseNewYear2025 #เทศกาลตรุษจีน #ประเพณีจีน #ตรุษจีนไทย #คำอวยพรตรุษจีน #อั่งเปา #อาหารมงคลตรุษจีน #โชคลาภตรุษจีน
    27-29 มกราคม 2568 เทศกาลตรุษจีน 新正如意 新年發財 新正如意 新年发财 "ตรุษจีน" หรือ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เป็นวันสำคัญที่ชาวจีนทั่วโลก ต่างเฝ้ารอด้วยความตื่นเต้น และเปี่ยมไปด้วยความสุข ในปีนี้ ตรุษจีนตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2568 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ความเป็นสิริมงคล และการรวมตัวของครอบครัว 🌟 ตรุษจีน (Chinese New Year) เป็นเทศกาลที่มีความสำคัญที่สุด ในปฏิทินจีน ซึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินจันทรคติ โดยเริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งเป็นเทศกาลโคมไฟ ทั้งนี้ ตรุษจีนไม่ใช่แค่การเฉลิมฉลอง การเปลี่ยนปีใหม่ แต่ยังเป็นโอกาส ในการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในชีวิต เทศกาลตรุษจีน มีประวัติยาวนานนับพันปี โดยเริ่มต้นจาก ตำนานสัตว์ร้าย “เหนียน” (年) ที่จะออกมาสร้างความหวาดกลัว ให้กับผู้คนทุกปี ชาวบ้านจึงใช้วิธีจุดประทัด และตกแต่งบ้านด้วยสีแดง เพื่อขับไล่ปีศาจร้าย จนกลายมาเป็นประเพณี ที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน 🎆 ตรุษจีนไม่ใช่แค่การเฉลิมฉลองปีใหม่ แต่ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้ง เช่น - การเริ่มต้นใหม่ที่ดี การทำความสะอาดบ้าน และตกแต่งด้วยสีแดง เพื่อขจัดโชคร้าย - ความรักและความสัมพันธ์ในครอบครัว การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี - ความมั่งคั่งและโชคลาภ ซองอั่งเปาและการไหว้เจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล ประเพณีตรุษจีนในไทย วันจ่าย 28 มกราคม 2568 คือวันก่อนวันตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน จะออกไปซื้อของจำเป็น เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ ขนมมงคล และเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เพื่อเตรียมตัวสำหรับวันไหว้ วันไหว้ 29 มกราคม 2568 เป็นวันสำคัญ ที่มีพิธีไหว้ใน 3 ช่วง ได้แก่ - ช่วงเช้ามืด ไหว้เทพเจ้า เช่น เทพเจ้าผู้คุ้มครอง - ช่วงสาย ไหว้บรรพบุรุษ โดยมีอาหารที่ผู้ล่วงลับเคยชอบ เช่น หมู เป็ด ไก่ และขนมเข่ง - ช่วงบ่าย ไหว้ “ฮ่อเฮียตี๋” (วิญญาณพี่น้องที่ล่วงลับ) พร้อมจุดประทัดเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย วันเที่ยว 30 มกราคม 2568 หรือ “วันถือ” เป็นวันที่ชาวจีนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ ออกเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ และมอบส้มสีทอง เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง 🍊 คำอวยพรตรุษจีนยอดนิยม ในช่วงเทศกาลตรุษจีน การส่งคำอวยพรเป็นสิ่งสำคัญ ที่สื่อถึงความปรารถนาดี ตัวอย่างคำอวยพร ที่ใช้กันบ่อย ได้แก่ “新正如意 新年發財” (ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย) ขอให้ปีใหม่สมปรารถนาและร่ำรวยมั่งคั่ง “恭喜發財” (กงสี่ฟาไฉ) ขอให้ร่ำรวยเงินทอง “萬事如意” (ว่านซื่อหรูอี้) ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง ✨ การใช้ซองอั่งเปา (ซองสีแดง) เพื่อมอบเงินให้กับเด็ก หรือผู้ที่อายุน้อยกว่า ก็เป็นอีกหนึ่งการแสดงความปรารถนาดี อาหารมงคลในวันตรุษจีน อาหารถือเป็นส่วนสำคัญของตรุษจีน โดยมีเมนูที่มีความหมายมงคล เช่น - ปลา (鱼) ความอุดมสมบูรณ์ - ขนมเข่งและขนมเทียน ความเจริญรุ่งเรือง - เกี๊ยว (饺子) ความมั่งคั่ง - เส้นหมี่ (长寿面) อายุยืนยาว การเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ ไม่ได้เพียงแค่ตามธรรมเนียม แต่ยังเป็นการเสริมสร้างกำลังใจ ในปีใหม่อีกด้วย เคล็ดลับเสริมโชคลาภช่วงตรุษจีน - ทำความสะอาดบ้านก่อนตรุษจีน เพื่อขจัดโชคร้าย แต่หลีกเลี่ยงการกวาดบ้าน ในวันปีใหม่ - สวมใส่เสื้อผ้าสีแดง สีแดงถือเป็นสีแห่งความโชคดี - งดการพูดคำไม่ดี เพื่อเริ่มต้นปีใหม่อย่างเป็นมงคล - มอบส้มสีทอง เป็นการส่งมอบความมั่งคั่งให้แก่กัน ตรุษจีนปี 2568 ไม่ได้เป็นเพียงเทศกาล สำหรับชาวจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่ทุกคน สามารถมีส่วนร่วมในประเพณี ที่เต็มไปด้วยสีสัน และความหมายดี ๆ ลองร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ด้วยการเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ เพื่อเสริมสร้างความสุข และความมั่งคั่งให้กับตนเอง และครอบครัว ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281035 ม.ค. 2568 #ตรุษจีน2568 #新正如意新年發財 #ChineseNewYear2025 #เทศกาลตรุษจีน #ประเพณีจีน #ตรุษจีนไทย #คำอวยพรตรุษจีน #อั่งเปา #อาหารมงคลตรุษจีน #โชคลาภตรุษจีน
    0 Comments 0 Shares 1469 Views 0 Reviews