• รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ลาฟรอฟ และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รูบิโอ พบกันนอกรอบในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

    การพบกันครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียโจมตียูเครนครั้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์ ด้วยโดรนมากถึง 728 ลำ และขีปนาวุธอีกมากกว่า 20 ลูก รวมถึงขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง 6 ลูก ระหว่างคืนวันพุธถึงเช้าวันพฤหัสบดี

    ทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ถึงกับออกมาวิจารณ์ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และประกาศพร้อมจะกลับมาส่งอาวุธให้ยูเครนอีกครั้ง
    รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ลาฟรอฟ และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รูบิโอ พบกันนอกรอบในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย การพบกันครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากกองทัพรัสเซียโจมตียูเครนครั้งรุนแรงเป็นประวัติการณ์ ด้วยโดรนมากถึง 728 ลำ และขีปนาวุธอีกมากกว่า 20 ลูก รวมถึงขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง 6 ลูก ระหว่างคืนวันพุธถึงเช้าวันพฤหัสบดี ทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ถึงกับออกมาวิจารณ์ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และประกาศพร้อมจะกลับมาส่งอาวุธให้ยูเครนอีกครั้ง
    0 Comments 0 Shares 164 Views 0 0 Reviews
  • สถานีมีหอยเกือบตาย เมื่อคิดจะไปมาเลเซีย

    เมื่อวันก่อน สถานีมีหอย ร้านซีฟูดชื่อดังภายใต้การนำของสองหนุ่ม ดี-วีระศักดิ์ มะสะอาว นายแบบ เอ็มซีงานอีเวนต์ และ ว่าว-ศราวุธ ศิริเพชร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา นายแบบ ให้บริการวันแรกเมื่อ 2 เม.ย. 2559 ใช้เมนูหอยเป็นจุดขาย และใช้ความถนัดทางด้านสร้างสีสัน สร้างความบันเทิง ทำให้คนมีความสุข โดยมีจุดเด่นตรงที่มีพ่อค้าเซ็กซี่ คอยเอนเตอร์เทนลูกค้าอย่างสนุกสนาน เป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน กำลังจะปิดตำนานที่ตลาดหัวมุม ย่านเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ เพราะเดือน ก.ค.2568 จะให้บริการเป็นเดือนสุดท้าย และจะปิดตัวลงในเดือน ส.ค.2568 เนื่องจากตลาดหัวมุมสิ้นสุดสัญญาเช่า จึงต้องย้ายสถานที่ใหม่ หลังเปิดให้บริการมานานกว่า 9 ปี 4 เดือน

    แม้ไวรัลดังกล่าวคนไทยจะให้ความสนใจน้อย แต่กลายเป็นที่ฮือฮาของสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะตระกูล Foodie สื่อด้านอาหารของมาเลเซีย ในฐานะประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยเป็นอันดับสองรองจากจีน และชาวมาเลเซียบางคนก็เคยสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่มาแล้วเช่นกัน ที่ตื่นเต้นไปอีกก็คือ สองหนุ่มดีกับว่าว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "9 ปีในตลาดกลางคืนหัวมุมนั้นเหลือเชื่อมาก ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนทั้งหมดที่ทุกคนมอบให้ เรามีแผนที่ยิ่งใหญ่กว่าในใจ ตอนนี้สถานที่ในกรุงเทพฯ จะถูกเบรกไว้ก่อนจนกว่าจะได้สถานที่ใหม่ นอกจากนี้ ข่าวดีก็คือเราจะมองหาสถานที่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เรากำลังขยายไปยังกัวลาลัมเปอร์สถานที่แรก คุณพร้อมหรือยัง"

    หลังสื่อมาเลเซียเสนอข่าว กลายเป็นที่วิจารณ์ของชาวมาเลเซียทั้งตื่นเต้นและต่อต้าน ในฐานะประเทศที่มีชาวมุสลิมมากถึง 60% ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และมีกฎหมายลงโทษรุนแรงสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน

    สุดท้ายดีและว่าวต้องชี้แจงว่า จากที่พิจารณาจะเปิดร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พวกเราชอบมาเลเซียมาก แต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเปิดร้านอาหารแนวเต้นรำ แนวคิดเต้นรำนำความสุขมาสู่ลูกค้าของเราเมื่อพวกเขามาเยือนกรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่รับรองว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นที่มาเลเซีย ในประเทศไทย ร้านสถานีมีหอยจะยังคงดำเนินการต่อไป เมื่อได้สถานที่ที่เหมาะสม และในมาเลเซีย แนวคิดของเราคือการนำอาหารไทยแท้ที่มีชื่อเสียงมาเสิร์ฟในมาเลเซีย เนื่องจากดี (วีระศักดิ์) ชอบทำอาหารมาก จึงมีความฝันที่จะเปิดร้านอาหารในต่างประเทศเพื่อแบ่งปันอาหารไทยไปทั่วโลก และจุดหมายแรกคือกัวลาลัมเปอร์ เราเคารพวัฒนธรรมมาเลเซียในปัจจุบัน และจะรักมาเลเซียตลอดไป ดังนั้นโปรดมั่นใจว่า เราจะไม่ทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อเราหรือมาเลเซีย

    #Newskit
    สถานีมีหอยเกือบตาย เมื่อคิดจะไปมาเลเซีย เมื่อวันก่อน สถานีมีหอย ร้านซีฟูดชื่อดังภายใต้การนำของสองหนุ่ม ดี-วีระศักดิ์ มะสะอาว นายแบบ เอ็มซีงานอีเวนต์ และ ว่าว-ศราวุธ ศิริเพชร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา นายแบบ ให้บริการวันแรกเมื่อ 2 เม.ย. 2559 ใช้เมนูหอยเป็นจุดขาย และใช้ความถนัดทางด้านสร้างสีสัน สร้างความบันเทิง ทำให้คนมีความสุข โดยมีจุดเด่นตรงที่มีพ่อค้าเซ็กซี่ คอยเอนเตอร์เทนลูกค้าอย่างสนุกสนาน เป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน กำลังจะปิดตำนานที่ตลาดหัวมุม ย่านเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ เพราะเดือน ก.ค.2568 จะให้บริการเป็นเดือนสุดท้าย และจะปิดตัวลงในเดือน ส.ค.2568 เนื่องจากตลาดหัวมุมสิ้นสุดสัญญาเช่า จึงต้องย้ายสถานที่ใหม่ หลังเปิดให้บริการมานานกว่า 9 ปี 4 เดือน แม้ไวรัลดังกล่าวคนไทยจะให้ความสนใจน้อย แต่กลายเป็นที่ฮือฮาของสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะตระกูล Foodie สื่อด้านอาหารของมาเลเซีย ในฐานะประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยเป็นอันดับสองรองจากจีน และชาวมาเลเซียบางคนก็เคยสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่มาแล้วเช่นกัน ที่ตื่นเต้นไปอีกก็คือ สองหนุ่มดีกับว่าว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "9 ปีในตลาดกลางคืนหัวมุมนั้นเหลือเชื่อมาก ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนทั้งหมดที่ทุกคนมอบให้ เรามีแผนที่ยิ่งใหญ่กว่าในใจ ตอนนี้สถานที่ในกรุงเทพฯ จะถูกเบรกไว้ก่อนจนกว่าจะได้สถานที่ใหม่ นอกจากนี้ ข่าวดีก็คือเราจะมองหาสถานที่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เรากำลังขยายไปยังกัวลาลัมเปอร์สถานที่แรก คุณพร้อมหรือยัง" หลังสื่อมาเลเซียเสนอข่าว กลายเป็นที่วิจารณ์ของชาวมาเลเซียทั้งตื่นเต้นและต่อต้าน ในฐานะประเทศที่มีชาวมุสลิมมากถึง 60% ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และมีกฎหมายลงโทษรุนแรงสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน สุดท้ายดีและว่าวต้องชี้แจงว่า จากที่พิจารณาจะเปิดร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พวกเราชอบมาเลเซียมาก แต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเปิดร้านอาหารแนวเต้นรำ แนวคิดเต้นรำนำความสุขมาสู่ลูกค้าของเราเมื่อพวกเขามาเยือนกรุงเทพฯ ประเทศไทย แต่รับรองว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นที่มาเลเซีย ในประเทศไทย ร้านสถานีมีหอยจะยังคงดำเนินการต่อไป เมื่อได้สถานที่ที่เหมาะสม และในมาเลเซีย แนวคิดของเราคือการนำอาหารไทยแท้ที่มีชื่อเสียงมาเสิร์ฟในมาเลเซีย เนื่องจากดี (วีระศักดิ์) ชอบทำอาหารมาก จึงมีความฝันที่จะเปิดร้านอาหารในต่างประเทศเพื่อแบ่งปันอาหารไทยไปทั่วโลก และจุดหมายแรกคือกัวลาลัมเปอร์ เราเคารพวัฒนธรรมมาเลเซียในปัจจุบัน และจะรักมาเลเซียตลอดไป ดังนั้นโปรดมั่นใจว่า เราจะไม่ทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อเราหรือมาเลเซีย #Newskit
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 155 Views 0 Reviews
  • แอร์เอเชียช่วยเหลือเด็กน้อย แพ้ความสูงกะทันหัน

    เรื่องราวประทับใจของเที่ยวบินแอร์เอเชีย ที่มีชาวเน็ตแชร์กว่า 2 หมื่นครั้ง เกิดขึ้นเมื่อผู้โดยสารที่ใช้นามว่า จาซินธา ฟลอเรนติอุส (Jacyntha Florentius) ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ AK115 เส้นทางกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ชื่นชมนักบินและลูกเรือทุกคนในเที่ยวบินดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา

    เธอระบุว่า เด็กที่นั่งมาด้วยคือ นาตาชยา (Natashya) ลูกสาววัย 1 ขวบ 7 เดือน เมื่อเครื่องเทกออฟเวลา 05.55 น. ลูกได้หลับลง จากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งต่อมาลูกตื่นขึ้น เธอจึงให้นมลูก หลังจากนั้นก็ลุกขึ้นนั่งและมองไปรอบๆ ทันใดนั้นลูกดูกระสับกระส่าย ร้องไห้สักพัก แล้วก็เงียบไป จากนั้นใบหน้าและริมฝีปากลูกซีดลง และดูเหมือนว่าลูกกำลังดิ้นรนที่จะหายใจ อ่อนแอ และไม่ค่อยตอบสนอง

    ตนพยายามอุ้มลูก ตบหลัง ถูมือและเท้า พยายามทำให้ส่งเสียงร้องออกมา เพื่อดูว่าร่างกายตอบสนองหรือไม่ ในเวลาเดียวกัน จาซินธาร้องขอหน้ากากออกซิเจนจากลูกเรือ ซึ่งลูกเรือได้ประสานปล่อยหน้ากากออกซิเจนลงมา ก่อนที่จะให้ออกซิเจนแก่ลูก จากนั้นอาการเริ่มดีขึ้น ริมฝีปากเริ่มเป็นสีชมพูอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ลูกเรือประกาศบนเที่ยวบินตามหาผู้โดยสารที่เป็นแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ โชคดีที่มีแพทย์รายหนึ่งบนเที่ยวบินช่วยดูอาการให้

    ขณะที่ลูกเรือได้คุยกับนักบินเพื่อขอลดระดับความสูงลงมาเล็กน้อย ซึ่งนักบินก็ลดระดับความสูงให้ ไม่นานหลังจากนั้นอาการลูกดูคงที่ นักบินประกาศว่าเที่ยวบินนี้จะเปลี่ยนเส้นทางไปยังสนามบินที่ใกล้ที่สุด คือ สนามบินโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพื่อรับการรักษาพยาบาล ระหว่างการรอลงจอด 30 นาที ลูกเรือก็เข้ามาตรวจดูลูกอยู่เรื่อยๆ นวดมือ เท้า และตรวจชีพจร ทันทีที่เครื่องบินลงจอดที่สนามบินโฮจิมินห์ ทีมแพทย์ที่เตรียมพร้อมได้ขึ้นเครื่องบินเพื่อประเมินอาการ และตัดสินใจว่าควรลงจากเครื่องเพื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลในนครโฮจิมินห์

    ตนและลูกสาวพร้อมสามีลงจากเครื่องบิน สัมภาระถูกขนลงจากเครื่องอย่างรวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินก็พาไปที่รถพยาบาลทันที พร้อมอยู่ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ ลูกสาวได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน ภายในหนึ่งชั่วโมง ก็มีการตรวจร่างกายทั้งหมด รวมทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ และการเอกซเรย์ นอกจากนี้ เมื่อทำการรักษาจนอาการดีขึ้น แอร์เอเชีย ยังให้เที่ยวบินฟรีแก่ตน ลูกสาว และสามีเพื่อเดินทางกลับกรุงกัวลาลัมเปอร์อีกด้วย สำหรับสาเหตุ คาดว่าลูกสาวน่าจะป่วยด้วยอาการแพ้ความสูงอย่างกะทันหันขณะอยู่บนเครื่องบิน

    #Newskit
    แอร์เอเชียช่วยเหลือเด็กน้อย แพ้ความสูงกะทันหัน เรื่องราวประทับใจของเที่ยวบินแอร์เอเชีย ที่มีชาวเน็ตแชร์กว่า 2 หมื่นครั้ง เกิดขึ้นเมื่อผู้โดยสารที่ใช้นามว่า จาซินธา ฟลอเรนติอุส (Jacyntha Florentius) ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ AK115 เส้นทางกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ชื่นชมนักบินและลูกเรือทุกคนในเที่ยวบินดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา เธอระบุว่า เด็กที่นั่งมาด้วยคือ นาตาชยา (Natashya) ลูกสาววัย 1 ขวบ 7 เดือน เมื่อเครื่องเทกออฟเวลา 05.55 น. ลูกได้หลับลง จากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งต่อมาลูกตื่นขึ้น เธอจึงให้นมลูก หลังจากนั้นก็ลุกขึ้นนั่งและมองไปรอบๆ ทันใดนั้นลูกดูกระสับกระส่าย ร้องไห้สักพัก แล้วก็เงียบไป จากนั้นใบหน้าและริมฝีปากลูกซีดลง และดูเหมือนว่าลูกกำลังดิ้นรนที่จะหายใจ อ่อนแอ และไม่ค่อยตอบสนอง ตนพยายามอุ้มลูก ตบหลัง ถูมือและเท้า พยายามทำให้ส่งเสียงร้องออกมา เพื่อดูว่าร่างกายตอบสนองหรือไม่ ในเวลาเดียวกัน จาซินธาร้องขอหน้ากากออกซิเจนจากลูกเรือ ซึ่งลูกเรือได้ประสานปล่อยหน้ากากออกซิเจนลงมา ก่อนที่จะให้ออกซิเจนแก่ลูก จากนั้นอาการเริ่มดีขึ้น ริมฝีปากเริ่มเป็นสีชมพูอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ลูกเรือประกาศบนเที่ยวบินตามหาผู้โดยสารที่เป็นแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ โชคดีที่มีแพทย์รายหนึ่งบนเที่ยวบินช่วยดูอาการให้ ขณะที่ลูกเรือได้คุยกับนักบินเพื่อขอลดระดับความสูงลงมาเล็กน้อย ซึ่งนักบินก็ลดระดับความสูงให้ ไม่นานหลังจากนั้นอาการลูกดูคงที่ นักบินประกาศว่าเที่ยวบินนี้จะเปลี่ยนเส้นทางไปยังสนามบินที่ใกล้ที่สุด คือ สนามบินโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพื่อรับการรักษาพยาบาล ระหว่างการรอลงจอด 30 นาที ลูกเรือก็เข้ามาตรวจดูลูกอยู่เรื่อยๆ นวดมือ เท้า และตรวจชีพจร ทันทีที่เครื่องบินลงจอดที่สนามบินโฮจิมินห์ ทีมแพทย์ที่เตรียมพร้อมได้ขึ้นเครื่องบินเพื่อประเมินอาการ และตัดสินใจว่าควรลงจากเครื่องเพื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลในนครโฮจิมินห์ ตนและลูกสาวพร้อมสามีลงจากเครื่องบิน สัมภาระถูกขนลงจากเครื่องอย่างรวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินก็พาไปที่รถพยาบาลทันที พร้อมอยู่ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ ลูกสาวได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน ภายในหนึ่งชั่วโมง ก็มีการตรวจร่างกายทั้งหมด รวมทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ และการเอกซเรย์ นอกจากนี้ เมื่อทำการรักษาจนอาการดีขึ้น แอร์เอเชีย ยังให้เที่ยวบินฟรีแก่ตน ลูกสาว และสามีเพื่อเดินทางกลับกรุงกัวลาลัมเปอร์อีกด้วย สำหรับสาเหตุ คาดว่าลูกสาวน่าจะป่วยด้วยอาการแพ้ความสูงอย่างกะทันหันขณะอยู่บนเครื่องบิน #Newskit
    0 Comments 0 Shares 159 Views 0 Reviews
  • สกู๊ตเปิดเส้นทางใหม่ สิงคโปร์-โกตาบารู

    สกู๊ต (Scoot) สายการบินราคาประหยัดในเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ เตรียมกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางสิงคโปร์-โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ด้วยเครื่องบิน Embraer E190-E2 สัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. 2568 เป็นต้นไป ได้แก่ ขาไป เที่ยวบินที่ TR460 ออกจากสิงคโปร์ 20.40 น. ถึงโกตาบารู 21.55 น. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที และขากลับ TR461 ออกจากโกตาบารู 22.30 น. ถึงสิงคโปร์ 23.55 น. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 25 นาที

    โกตาบารู เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย มีท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา (KBR) ห่างจากด่านเป็งกาลันกูโบ ตรงข้าม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 37 กิโลเมตร และด่านรันเตาปันจัน ตรงข้าม อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส 50 กิโลเมตร เปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อ 1 พ.ค. 2567 มีเที่ยวบินให้บริการวันละกว่า 30 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี กำลังขยายอาคารผู้โดยสารและรันเวย์เพื่อรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 4 ล้านคนต่อปี

    ก่อนหน้านี้สกู๊ตเคยเปิดเส้นทางสิงคโปร์-โกตาบารู เมื่อปี 2562 ด้วยความถี่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่ได้ยกเลิกไป การเปิดเส้นทางบินใหม่ดังกล่าว จะทำให้สกู๊ตมีเที่ยวบินรวมกัน 115 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยัง 12 เมืองในมาเลเซีย

    นอกจากนี้ สกู๊ตเตรียมเปิดเส้นทางสิงคโปร์-ดานัง และสิงคโปร์-ญาจาง ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานชางงีมีเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมกว่า 170 เมือง อีกทั้งสกู๊ตมีแผนเปิดเส้นทางใหม่ไปยังเมดาน ลาบวน ประเทศอินโดนีเซีย และโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางไปยังคลาร์ก ดาเวา มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หาดใหญ่ ประเทศไทย และเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อรองรับความต้องการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น

    สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ปัจจุบันมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งมีเที่ยวบินไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยสายการบินสกู๊ตเป็นประจำทุกวัน 1 เที่ยวบิน และมีไฟล์ตดึกทุกวันจันทร์ ศุกร์ และอาทิตย์ อีก 1 เที่ยวบิน จึงเป็นไปได้ว่าสกู๊ตต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวไปยังเมืองโกตาบารู ชมสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม และหมู่เกาะเปอร์เฮนเทียน (Pulau Perhentian) แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและดำน้ำยอดนิยมในรัฐตรังกานูมากกว่า ซึ่งจากสนามบินโกตาบารู เดินทางด้วยรถยนต์ไปอีก 60 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือกัวลาบูซุต (Kuala Besut) แล้วต่อด้วยเรือเฟอร์รี่เพื่อไปยังเกาะดังกล่าว

    #Newskit
    สกู๊ตเปิดเส้นทางใหม่ สิงคโปร์-โกตาบารู สกู๊ต (Scoot) สายการบินราคาประหยัดในเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ เตรียมกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางสิงคโปร์-โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ด้วยเครื่องบิน Embraer E190-E2 สัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. 2568 เป็นต้นไป ได้แก่ ขาไป เที่ยวบินที่ TR460 ออกจากสิงคโปร์ 20.40 น. ถึงโกตาบารู 21.55 น. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที และขากลับ TR461 ออกจากโกตาบารู 22.30 น. ถึงสิงคโปร์ 23.55 น. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 25 นาที โกตาบารู เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย มีท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา (KBR) ห่างจากด่านเป็งกาลันกูโบ ตรงข้าม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 37 กิโลเมตร และด่านรันเตาปันจัน ตรงข้าม อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส 50 กิโลเมตร เปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อ 1 พ.ค. 2567 มีเที่ยวบินให้บริการวันละกว่า 30 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี กำลังขยายอาคารผู้โดยสารและรันเวย์เพื่อรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 4 ล้านคนต่อปี ก่อนหน้านี้สกู๊ตเคยเปิดเส้นทางสิงคโปร์-โกตาบารู เมื่อปี 2562 ด้วยความถี่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่ได้ยกเลิกไป การเปิดเส้นทางบินใหม่ดังกล่าว จะทำให้สกู๊ตมีเที่ยวบินรวมกัน 115 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยัง 12 เมืองในมาเลเซีย นอกจากนี้ สกู๊ตเตรียมเปิดเส้นทางสิงคโปร์-ดานัง และสิงคโปร์-ญาจาง ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานชางงีมีเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมกว่า 170 เมือง อีกทั้งสกู๊ตมีแผนเปิดเส้นทางใหม่ไปยังเมดาน ลาบวน ประเทศอินโดนีเซีย และโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางไปยังคลาร์ก ดาเวา มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หาดใหญ่ ประเทศไทย และเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อรองรับความต้องการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ปัจจุบันมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งมีเที่ยวบินไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยสายการบินสกู๊ตเป็นประจำทุกวัน 1 เที่ยวบิน และมีไฟล์ตดึกทุกวันจันทร์ ศุกร์ และอาทิตย์ อีก 1 เที่ยวบิน จึงเป็นไปได้ว่าสกู๊ตต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวไปยังเมืองโกตาบารู ชมสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม และหมู่เกาะเปอร์เฮนเทียน (Pulau Perhentian) แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและดำน้ำยอดนิยมในรัฐตรังกานูมากกว่า ซึ่งจากสนามบินโกตาบารู เดินทางด้วยรถยนต์ไปอีก 60 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือกัวลาบูซุต (Kuala Besut) แล้วต่อด้วยเรือเฟอร์รี่เพื่อไปยังเกาะดังกล่าว #Newskit
    0 Comments 0 Shares 218 Views 0 Reviews
  • KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว

    ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ

    KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา

    MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026

    ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน

    อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย

    #Newskit
    KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026 ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย #Newskit
    0 Comments 0 Shares 264 Views 0 Reviews
  • เผยโฉมรถไฟ RTS Link ยะโฮร์บาห์รู-สิงคโปร์

    โครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนด่วนพิเศษ RTS Link (Rapid Transit System) ระหว่างย่านบูกิตชาการ์ (Bukit Chagar) เมืองยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย กับย่านวู้ดแลนด์นอร์ท (Woodlands North) ประเทศสิงคโปร์ มีความคืบหน้าแล้ว 56% ซึ่งตามแผนกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 1 ม.ค.2570 ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวรถไฟขบวนแรก จากทั้งหมด 8 ขบวน ซึ่งผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี จูโจว โลโคโมทีฟ (CRRC Zhuzhou Locomotive) ที่ศูนย์ทดสอบรถไฟสิงคโปร์ (SRTC) หลังขนส่งจากจีนมาถึงสิงคโปร์เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ส่วนขบวนที่ 2-5 กำลังประกอบที่โรงงานในเมืองบาตูกาจาห์ รัฐเประ มาเลเซีย ขบวนที่ 6-8 จะดำเนินการในภายหลัง

    โดยขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบไร้คนขับ มีทั้งหมด 8 ขบวน ขบวนละ 4 คัน ความยาวต่อขบวน 76 เมตร ลำตัวรถมีสีขาว แดง น้ำเงิน ซึ่งมาจากสีของธงชาติสิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย และธงรัฐยะโฮร์ เดินรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที ภายในห้องโดยสารมีเก้าอี้ปกติ 126 ที่นั่ง และเก้าอี้แบบพับได้ 16 ที่นั่ง เพื่อรองรับรถเข็นวีลแชร์ รถเข็นเด็ก หรือกระเป๋าเดินทาง และรองรับกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดกว่า 600 คนต่อขบวน พร้อมระบบ Hearing Loop สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ระบบสื่อสารไปยังศูนย์ปฎิบัติการและควบคุมการเดินรถ (OCC)

    โครงการ RTS Link เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กลุ่มพราซารานา (Prasarana) ของมาเลเซีย และกลุ่มเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ของสิงคโปร์ ก่อสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ แบ่งเบาการจราจรระหว่างยะโฮร์บาห์รู กับด่านวู้ดแลนด์ ให้บริการสูงสุด 10,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. โดยมีความถี่ให้บริการเร็วที่สุดในชั่วโมงเร่งด่วน 3.6 นาที รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 180,000 คนต่อวัน พร้อมกันนี้ ยังมีศูนย์ศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และกักกันโรค (CIQ) ที่สถานีวู้ดแลนด์นอร์ท ส่วนค่าโดยสารอยู่ในระหว่างศึกษาขั้นสุดท้าย ก่อนกำหนดราคาอย่างเป็นทางการต่อไป

    อีกด้านหนึ่ง บริการรถไฟ Shuttle Tebrau ระหว่างสถานี JB Sentral ถึงสถานี Woodlands ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กำลังจะปิดตำนาน เพราะมีแผนจะยุติให้บริการภายใน 6 เดือน หลังรถไฟ RTS Link เปิดให้บริการ รถไฟดังกล่าวขนส่งผู้โดยสารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา ค่าโดยสาร 5 ริงกิตต่อเที่ยวสำหรับชาวมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที มีขบวนรถไป-กลับตามเวลาที่กำหนดวันละ 31 ขบวน

    #Newskit
    เผยโฉมรถไฟ RTS Link ยะโฮร์บาห์รู-สิงคโปร์ โครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนด่วนพิเศษ RTS Link (Rapid Transit System) ระหว่างย่านบูกิตชาการ์ (Bukit Chagar) เมืองยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย กับย่านวู้ดแลนด์นอร์ท (Woodlands North) ประเทศสิงคโปร์ มีความคืบหน้าแล้ว 56% ซึ่งตามแผนกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 1 ม.ค.2570 ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวรถไฟขบวนแรก จากทั้งหมด 8 ขบวน ซึ่งผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี จูโจว โลโคโมทีฟ (CRRC Zhuzhou Locomotive) ที่ศูนย์ทดสอบรถไฟสิงคโปร์ (SRTC) หลังขนส่งจากจีนมาถึงสิงคโปร์เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ส่วนขบวนที่ 2-5 กำลังประกอบที่โรงงานในเมืองบาตูกาจาห์ รัฐเประ มาเลเซีย ขบวนที่ 6-8 จะดำเนินการในภายหลัง โดยขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบไร้คนขับ มีทั้งหมด 8 ขบวน ขบวนละ 4 คัน ความยาวต่อขบวน 76 เมตร ลำตัวรถมีสีขาว แดง น้ำเงิน ซึ่งมาจากสีของธงชาติสิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย และธงรัฐยะโฮร์ เดินรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที ภายในห้องโดยสารมีเก้าอี้ปกติ 126 ที่นั่ง และเก้าอี้แบบพับได้ 16 ที่นั่ง เพื่อรองรับรถเข็นวีลแชร์ รถเข็นเด็ก หรือกระเป๋าเดินทาง และรองรับกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดกว่า 600 คนต่อขบวน พร้อมระบบ Hearing Loop สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ระบบสื่อสารไปยังศูนย์ปฎิบัติการและควบคุมการเดินรถ (OCC) โครงการ RTS Link เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กลุ่มพราซารานา (Prasarana) ของมาเลเซีย และกลุ่มเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ของสิงคโปร์ ก่อสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ แบ่งเบาการจราจรระหว่างยะโฮร์บาห์รู กับด่านวู้ดแลนด์ ให้บริการสูงสุด 10,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. โดยมีความถี่ให้บริการเร็วที่สุดในชั่วโมงเร่งด่วน 3.6 นาที รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 180,000 คนต่อวัน พร้อมกันนี้ ยังมีศูนย์ศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และกักกันโรค (CIQ) ที่สถานีวู้ดแลนด์นอร์ท ส่วนค่าโดยสารอยู่ในระหว่างศึกษาขั้นสุดท้าย ก่อนกำหนดราคาอย่างเป็นทางการต่อไป อีกด้านหนึ่ง บริการรถไฟ Shuttle Tebrau ระหว่างสถานี JB Sentral ถึงสถานี Woodlands ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กำลังจะปิดตำนาน เพราะมีแผนจะยุติให้บริการภายใน 6 เดือน หลังรถไฟ RTS Link เปิดให้บริการ รถไฟดังกล่าวขนส่งผู้โดยสารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา ค่าโดยสาร 5 ริงกิตต่อเที่ยวสำหรับชาวมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที มีขบวนรถไป-กลับตามเวลาที่กำหนดวันละ 31 ขบวน #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 228 Views 0 Reviews
  • RWMF2025 เทศกาลดนตรีเรือธงรัฐซาราวัก

    เทศกาลดนตรี The Rainforest World Music Festival 2025 ที่หมู่บ้านวัฒนธรรมซาราวัก เมืองกูชิง รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลเรือธงของซาราวัก (Sarawak) รัฐที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ที่เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวหลักของรัฐ โดยในช่วงกลางวัน จะมีการจัดแสดงทางวัฒนธรรมและงานฝีมือ การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนในตอนค่ำจะมีการแสดงบนเวทีหลัก ท่ามกลางบรรยากาศของป่าในฤดูฝน และฉากหลังเขาซานตูบง งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 28 นับตั้งแต่การจัดงานครั้งแรกในปี 1998 โดยในปีนี้มีศิลปินจาก 20 ประเทศ 20 วงดนตรี และนักดนตรีกว่า 200 คน

    RWMF 2025 ในปีนี้คว้าศิลปินระดับตำนาน Earth, Wind & Fire Experience by Al McKay จากสหรัฐอเมริกา นำโดย อัล แมคเคย์ มือกีตาร์เจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ด เจ้าของเพลง September และ Let's groove พร้อมด้วยวง GAGA GUNDUL จากฝรั่งเศสและอินโดนีเซีย SEFFARINE จากโมรอกโก คิวบา สเปน สหรัฐอเมริกาและอิหร่าน OTYKEN จากไซบีเรียและรัสเซีย SEPPUKU PISTOLS จากญี่ปุ่น KULAIWI จากฮาวาย ROB RUHA จากเอาเตียรัว นิวซีแลนด์ MANHU จากจีน TAL FRY จากอินเดีย LA CHIVA GANTIVA จากโคลัมเบียและเบลเยียม และ N'FAMADY KOUYATE จากกินีและอังกฤษ

    ส่วนในอาเซียน มีทั้งพาราไดซ์ แบงคอก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล จากไทย และ KUNTAW MINDANAO จากฟิลิปปินส์ สลับกับวงดนตรีจากมาเลเซียและซาราวัก อาทิ MATHEW NGAU JAU with LAN E TUYANG, NAUNGAN, MERUKED, BUDDHA BEAT ft. SINARAN COLLECTIVE, KANCET AJAJ WARRIOR DANCE, BULOH BERKOCAK, AT ADAU โดยจำหน่ายบัตรเหมา 3 วันในราคา 635 ริงกิต (4,900 บาท) และบัตร 1 วัน ขายล่วงหน้าราคา 235-285 ริงกิต (1,813-2,200 บาท) และขายหน้างานราคา 333 ริงกิต (2,570 บาท) โดยมีรถรับส่งฟรีสำหรับผู้ซื้อบัตร จากตัวเมืองกูชิงถึงบริเวณหาดดาไม และมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวออกแพ็คเกจทัวร์ร่วมกับงาน RWMF 2025 แบบ 3 วัน 2 คืน หรือ 4 วัน 3 คืนพร้อมกิจกรรมอื่นๆ

    สำหรับซาราวักเป็นประตูสู่เกาะบอร์เนียว เชื่อมโยงกับมาเลเซียทางอากาศ โดยท่าอากาศยานกูชิง (KCH) มีเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) กว่า 140 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในปี 2568 รัฐซาราวักมีกิจกรรมตามปฎิทินท่องเที่ยวราว 250 กิจกรรม มีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ 5 ล้านคน จากปีที่แล้ว 4.8 ล้านคน ส่วนใหญ่จากประเทศบรูไน ประมาณเดือนละ 150,000 คน ขณะที่ชาวอินโดนีเซียก็สนใจอย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีงาน Sarawak Regatta การแข่งขันพายเรือประจำปีบนแม่น้ำซาราวักในช่วงปลายปีอีกด้วย

    #Newskit
    RWMF2025 เทศกาลดนตรีเรือธงรัฐซาราวัก เทศกาลดนตรี The Rainforest World Music Festival 2025 ที่หมู่บ้านวัฒนธรรมซาราวัก เมืองกูชิง รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลเรือธงของซาราวัก (Sarawak) รัฐที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ที่เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวหลักของรัฐ โดยในช่วงกลางวัน จะมีการจัดแสดงทางวัฒนธรรมและงานฝีมือ การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนในตอนค่ำจะมีการแสดงบนเวทีหลัก ท่ามกลางบรรยากาศของป่าในฤดูฝน และฉากหลังเขาซานตูบง งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 28 นับตั้งแต่การจัดงานครั้งแรกในปี 1998 โดยในปีนี้มีศิลปินจาก 20 ประเทศ 20 วงดนตรี และนักดนตรีกว่า 200 คน RWMF 2025 ในปีนี้คว้าศิลปินระดับตำนาน Earth, Wind & Fire Experience by Al McKay จากสหรัฐอเมริกา นำโดย อัล แมคเคย์ มือกีตาร์เจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ด เจ้าของเพลง September และ Let's groove พร้อมด้วยวง GAGA GUNDUL จากฝรั่งเศสและอินโดนีเซีย SEFFARINE จากโมรอกโก คิวบา สเปน สหรัฐอเมริกาและอิหร่าน OTYKEN จากไซบีเรียและรัสเซีย SEPPUKU PISTOLS จากญี่ปุ่น KULAIWI จากฮาวาย ROB RUHA จากเอาเตียรัว นิวซีแลนด์ MANHU จากจีน TAL FRY จากอินเดีย LA CHIVA GANTIVA จากโคลัมเบียและเบลเยียม และ N'FAMADY KOUYATE จากกินีและอังกฤษ ส่วนในอาเซียน มีทั้งพาราไดซ์ แบงคอก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล จากไทย และ KUNTAW MINDANAO จากฟิลิปปินส์ สลับกับวงดนตรีจากมาเลเซียและซาราวัก อาทิ MATHEW NGAU JAU with LAN E TUYANG, NAUNGAN, MERUKED, BUDDHA BEAT ft. SINARAN COLLECTIVE, KANCET AJAJ WARRIOR DANCE, BULOH BERKOCAK, AT ADAU โดยจำหน่ายบัตรเหมา 3 วันในราคา 635 ริงกิต (4,900 บาท) และบัตร 1 วัน ขายล่วงหน้าราคา 235-285 ริงกิต (1,813-2,200 บาท) และขายหน้างานราคา 333 ริงกิต (2,570 บาท) โดยมีรถรับส่งฟรีสำหรับผู้ซื้อบัตร จากตัวเมืองกูชิงถึงบริเวณหาดดาไม และมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวออกแพ็คเกจทัวร์ร่วมกับงาน RWMF 2025 แบบ 3 วัน 2 คืน หรือ 4 วัน 3 คืนพร้อมกิจกรรมอื่นๆ สำหรับซาราวักเป็นประตูสู่เกาะบอร์เนียว เชื่อมโยงกับมาเลเซียทางอากาศ โดยท่าอากาศยานกูชิง (KCH) มีเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) กว่า 140 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในปี 2568 รัฐซาราวักมีกิจกรรมตามปฎิทินท่องเที่ยวราว 250 กิจกรรม มีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ 5 ล้านคน จากปีที่แล้ว 4.8 ล้านคน ส่วนใหญ่จากประเทศบรูไน ประมาณเดือนละ 150,000 คน ขณะที่ชาวอินโดนีเซียก็สนใจอย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีงาน Sarawak Regatta การแข่งขันพายเรือประจำปีบนแม่น้ำซาราวักในช่วงปลายปีอีกด้วย #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 406 Views 0 Reviews
  • จากปีนังไปกัวลาลัมเปอร์ รถไฟเร็วกว่าเครื่องบิน?

    การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย เปิดตัวห้องรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) ที่ชื่อว่า รูบี้ เลาจน์ (Ruby Lounge) ที่สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2568 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารชั้นธุรกิจของบริการรถไฟ ETS พักคอยแยกจากห้องโถงผู้โดยสารรวม รองรับได้ 40 ที่นั่ง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งตู้กดน้ำดื่ม เครื่องดื่มร้อน ห้องน้ำแยกเฉพาะ ช่องปลั๊กไฟ โดยจะเปิดให้ผู้โดยสารชั้นธุรกิจเข้าใช้บริการก่อนเวลารถไฟออก 1 ชั่วโมง นับเป็นแห่งที่สองต่อจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์

    บริการถไฟ ETS ชั้นธุรกิจ (Business Class) ขบวน Platinum (EP) และ Express (EX) ไปยังปลายทางกรุงกัวลาลัมเปอร์ และสถานีเซกามัต รัฐยะโฮร์ แต่ละขบวนจะมีที่นั่งชั้นธุรกิจ 36 ที่นั่ง นอกจากผู้โดยสารจะได้ใช้บริการ Ruby Lounge แล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งที่นั่งกว้างขึ้น ไฟอ่านหนังสือ ช่องเสียบปลั๊กและยูเอสบี หน้าจอส่วนตัว โดยจ่ายในราคาที่สูงกว่าที่นั่งปกติ แต่ระหว่างการเดินทางมีอาหารและของว่างให้บริการตลอดการเดินทาง ปัจจุบันค่าโดยสารชั้นธุรกิจระหว่างบัตเตอร์เวิร์ธ ถึง KL Sentral ราคาเริ่มต้นที่ 167-176 ริงกิตต่อเที่ยว (1,286-1,355 บาท)

    ที่ผ่านมามีผู้โดยสารจากปีนังส่วนหนึ่งนิยมใช้บริการรถไฟ ETS แทนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะเมื่อเทียบกับการเดินทางไปสนามบินปีนัง การรอเที่ยวบินและพบปัญหาเที่ยวบินล่าช้า และการเดินทางจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) หรือสนามบินซูบัง (SZB) ไปยังใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์นั้นยุ่งยากและเสียเวลาพอกัน เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงเศษเท่านั้น นอกจากนี้ยังนั่งสบายกว่าเครื่องบิน ผู้โดยสารส่วนมากเป็นบุคคลวีไอพีและนักธุรกิจ

    นูรูล อัซฮา โมคมิน (Nurul Azha Mokmin) ผู้จัดการทั่วไปแผนกบริการ ETS และ Intercity ของ KTMB กล่าวกับสำนักข่าวเบอร์นามา ว่าจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟ ETS เพิ่มขึ้น 10% ต่อปี และยังคงมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งโครงการรถไฟทางคู่เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู กำลังจะแล้วเสร็จ ก่อนหน้านี้ KTMB ได้รับมอบขบวนรถไฟ ETS ใหม่จำนวน 2 ชุด จากทั้งหมด 10 ชุด มูลค่า 400 ล้านริงกิต เพื่อยกระดับคุณภาพและขีดความสามารถในการให้บริการ ขณะนี้อยู่ในระหว่างทดสอบการให้บริการ คาดว่าจะเริ่มให้บริการเส้นทางเกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bharu) ตั้งแต่ปี 2569 หลังจากนั้นจะเปิดเส้นทางใหม่ ยะโฮร์บาห์รู-บัตเตอร์เวิร์ธ และยะโฮร์บาห์รู-ปาดังเบซาร์อีกด้วย

    #Newskit
    จากปีนังไปกัวลาลัมเปอร์ รถไฟเร็วกว่าเครื่องบิน? การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย เปิดตัวห้องรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) ที่ชื่อว่า รูบี้ เลาจน์ (Ruby Lounge) ที่สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2568 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารชั้นธุรกิจของบริการรถไฟ ETS พักคอยแยกจากห้องโถงผู้โดยสารรวม รองรับได้ 40 ที่นั่ง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งตู้กดน้ำดื่ม เครื่องดื่มร้อน ห้องน้ำแยกเฉพาะ ช่องปลั๊กไฟ โดยจะเปิดให้ผู้โดยสารชั้นธุรกิจเข้าใช้บริการก่อนเวลารถไฟออก 1 ชั่วโมง นับเป็นแห่งที่สองต่อจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ บริการถไฟ ETS ชั้นธุรกิจ (Business Class) ขบวน Platinum (EP) และ Express (EX) ไปยังปลายทางกรุงกัวลาลัมเปอร์ และสถานีเซกามัต รัฐยะโฮร์ แต่ละขบวนจะมีที่นั่งชั้นธุรกิจ 36 ที่นั่ง นอกจากผู้โดยสารจะได้ใช้บริการ Ruby Lounge แล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งที่นั่งกว้างขึ้น ไฟอ่านหนังสือ ช่องเสียบปลั๊กและยูเอสบี หน้าจอส่วนตัว โดยจ่ายในราคาที่สูงกว่าที่นั่งปกติ แต่ระหว่างการเดินทางมีอาหารและของว่างให้บริการตลอดการเดินทาง ปัจจุบันค่าโดยสารชั้นธุรกิจระหว่างบัตเตอร์เวิร์ธ ถึง KL Sentral ราคาเริ่มต้นที่ 167-176 ริงกิตต่อเที่ยว (1,286-1,355 บาท) ที่ผ่านมามีผู้โดยสารจากปีนังส่วนหนึ่งนิยมใช้บริการรถไฟ ETS แทนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะเมื่อเทียบกับการเดินทางไปสนามบินปีนัง การรอเที่ยวบินและพบปัญหาเที่ยวบินล่าช้า และการเดินทางจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) หรือสนามบินซูบัง (SZB) ไปยังใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์นั้นยุ่งยากและเสียเวลาพอกัน เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงเศษเท่านั้น นอกจากนี้ยังนั่งสบายกว่าเครื่องบิน ผู้โดยสารส่วนมากเป็นบุคคลวีไอพีและนักธุรกิจ นูรูล อัซฮา โมคมิน (Nurul Azha Mokmin) ผู้จัดการทั่วไปแผนกบริการ ETS และ Intercity ของ KTMB กล่าวกับสำนักข่าวเบอร์นามา ว่าจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟ ETS เพิ่มขึ้น 10% ต่อปี และยังคงมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งโครงการรถไฟทางคู่เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู กำลังจะแล้วเสร็จ ก่อนหน้านี้ KTMB ได้รับมอบขบวนรถไฟ ETS ใหม่จำนวน 2 ชุด จากทั้งหมด 10 ชุด มูลค่า 400 ล้านริงกิต เพื่อยกระดับคุณภาพและขีดความสามารถในการให้บริการ ขณะนี้อยู่ในระหว่างทดสอบการให้บริการ คาดว่าจะเริ่มให้บริการเส้นทางเกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bharu) ตั้งแต่ปี 2569 หลังจากนั้นจะเปิดเส้นทางใหม่ ยะโฮร์บาห์รู-บัตเตอร์เวิร์ธ และยะโฮร์บาห์รู-ปาดังเบซาร์อีกด้วย #Newskit
    0 Comments 0 Shares 326 Views 0 Reviews
  • กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง

    สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป

    จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย

    ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา

    การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

    #Newskit
    กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที #Newskit
    0 Comments 0 Shares 404 Views 0 Reviews
  • เตโชแอร์พอร์ต สนามบินใหม่พนมเปญ

    แม้ท่าอากาศยานนานาชาติเตโช (Techo International Airport หรือ KTI) ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเลื่อนเปิดให้บริการออกไป เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ามีงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สนามบินแห่งใหม่ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังจะทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ซึ่งมีอายุกว่า 66 ปี บนพื้นที่ 400 เฮกตาร์ ใจกลางเมืองหลวงของกัมพูชา ด้วยความทันสมัยในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติระดับ 4F บนพื้นที่ 2,600 เฮกตาร์ ใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมกว่า 6 เท่า ซึ่งเฟสแรกรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 15 ล้านคนต่อปี

    โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชา โดยสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) กับบริษัท โอเวอร์ซีส์ แคมโบเดียน อินเวสต์เมนต์ คอร์ปฯ (OCIC Group) ของมหาเศรษฐีกัมพูชาเชื้อสายจีน ปง เคียวแซ (Pung Kheav Se) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางวิ่งหรือรันเวย์ 3 เส้น ยาว 4,000 เมตร ก่อสร้างโดย บริษัทเซี่ยงไฮ้ เป่าเย่ กรุ๊ป คอร์ปฯ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส A380-800 โบอิ้ง 747-800 พร้อมหอควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) สูง 118 เมตร

    สถาปัตยกรรมอาคารผู้โดยสาร ออกแบบโดย บริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ จากอังกฤษ ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า คอนสตรัคชัน เติร์ด เอนจิเนียริง บูโร ประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารส่วนกลาง พร้อมเสารูปทรงแอโรฟอยล์หรือปีกนก ที่อยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง มีประตูขึ้นเครื่อง 22 ประตู รองรับเครื่องบินขนาดกลางได้ 40 ลำ หลังคาโดมโครงสร้างเหล็ก สูง 36 เมตร พร้อมตะแกรงกรองแสงธรรมชาติและส่องสว่างในอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 1,000 แผง และศูนย์กลางระบบผลิตไฟฟ้า (Energy Center) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบปรับอากาศได้ 7,800 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 120 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ประมาณ 100,000 ตัน

    ในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (PNH) มีเที่ยวบินทั้งหมด 41,022 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 4,746,000 คน โดยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) มากที่สุด 88 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รองลงมาคือกว่างโจว ประเทศจีน (CAN) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (SGN) และสิงคโปร์ (SIN) หลังการย้ายสนามบินไปยังสถานที่แห่งใหม่ สนามบินเดิมรัฐบาลกัมพูชาจะเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ภายใต้การดูแลของ SSCA โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ยืนยันว่ายังไม่ขายให้แก่ผู้สนใจแต่อย่างใด

    #Newskit
    เตโชแอร์พอร์ต สนามบินใหม่พนมเปญ แม้ท่าอากาศยานนานาชาติเตโช (Techo International Airport หรือ KTI) ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเลื่อนเปิดให้บริการออกไป เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ามีงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สนามบินแห่งใหม่ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังจะทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ซึ่งมีอายุกว่า 66 ปี บนพื้นที่ 400 เฮกตาร์ ใจกลางเมืองหลวงของกัมพูชา ด้วยความทันสมัยในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติระดับ 4F บนพื้นที่ 2,600 เฮกตาร์ ใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมกว่า 6 เท่า ซึ่งเฟสแรกรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 15 ล้านคนต่อปี โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชา โดยสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) กับบริษัท โอเวอร์ซีส์ แคมโบเดียน อินเวสต์เมนต์ คอร์ปฯ (OCIC Group) ของมหาเศรษฐีกัมพูชาเชื้อสายจีน ปง เคียวแซ (Pung Kheav Se) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางวิ่งหรือรันเวย์ 3 เส้น ยาว 4,000 เมตร ก่อสร้างโดย บริษัทเซี่ยงไฮ้ เป่าเย่ กรุ๊ป คอร์ปฯ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส A380-800 โบอิ้ง 747-800 พร้อมหอควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) สูง 118 เมตร สถาปัตยกรรมอาคารผู้โดยสาร ออกแบบโดย บริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ จากอังกฤษ ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า คอนสตรัคชัน เติร์ด เอนจิเนียริง บูโร ประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารส่วนกลาง พร้อมเสารูปทรงแอโรฟอยล์หรือปีกนก ที่อยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง มีประตูขึ้นเครื่อง 22 ประตู รองรับเครื่องบินขนาดกลางได้ 40 ลำ หลังคาโดมโครงสร้างเหล็ก สูง 36 เมตร พร้อมตะแกรงกรองแสงธรรมชาติและส่องสว่างในอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 1,000 แผง และศูนย์กลางระบบผลิตไฟฟ้า (Energy Center) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบปรับอากาศได้ 7,800 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 120 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ประมาณ 100,000 ตัน ในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (PNH) มีเที่ยวบินทั้งหมด 41,022 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 4,746,000 คน โดยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) มากที่สุด 88 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รองลงมาคือกว่างโจว ประเทศจีน (CAN) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (SGN) และสิงคโปร์ (SIN) หลังการย้ายสนามบินไปยังสถานที่แห่งใหม่ สนามบินเดิมรัฐบาลกัมพูชาจะเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ภายใต้การดูแลของ SSCA โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ยืนยันว่ายังไม่ขายให้แก่ผู้สนใจแต่อย่างใด #Newskit
    0 Comments 0 Shares 394 Views 0 Reviews
  • นายกฯ เผย บทบาทไทยบนเวทีสำคัญของสามภูมิภาค “อาเซียน -อ่าวอาหรับ-จีน” ที่มีขนาดศก. 1 ใน 4 ของโลก แสดงวิสัยทัศน์เน้นย้ำกรอบ “3M” ขับเคลื่อนความร่วมมือพหุภาคี หนุนขนส่งรวดเร็วทุกมิติ ร่วมกันกำหนดทิศทางใหม่เพื่อรับมือความไม่แน่นอนศก.โลก เพื่อการเจริญเติบโตทางศก.ในสามภูมิภาคของโลก

    วันนี้ (27 พฤษภาคม 2568) เวลา 15.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งตรงกับเวลา 14.45 น.ในประเทศไทย ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 3 ศูนย์ประชุม Kuala Lumpur Convention Center (KLCC) ประเทศมาเลเซีย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ – จีน (ASEAN – GCC – China Summit) ประกอบไปด้วยผู้นำประเทศ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับประเทศจีน โดยนายหลี่ เฉียง (H.E. Mr. Li Qiang) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนและผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000049631

    #MGROnline #อาเซียน #อ่าวอาหรับ #จีน
    นายกฯ เผย บทบาทไทยบนเวทีสำคัญของสามภูมิภาค “อาเซียน -อ่าวอาหรับ-จีน” ที่มีขนาดศก. 1 ใน 4 ของโลก แสดงวิสัยทัศน์เน้นย้ำกรอบ “3M” ขับเคลื่อนความร่วมมือพหุภาคี หนุนขนส่งรวดเร็วทุกมิติ ร่วมกันกำหนดทิศทางใหม่เพื่อรับมือความไม่แน่นอนศก.โลก เพื่อการเจริญเติบโตทางศก.ในสามภูมิภาคของโลก • วันนี้ (27 พฤษภาคม 2568) เวลา 15.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งตรงกับเวลา 14.45 น.ในประเทศไทย ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 3 ศูนย์ประชุม Kuala Lumpur Convention Center (KLCC) ประเทศมาเลเซีย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ – จีน (ASEAN – GCC – China Summit) ประกอบไปด้วยผู้นำประเทศ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับประเทศจีน โดยนายหลี่ เฉียง (H.E. Mr. Li Qiang) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนและผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000049631 • #MGROnline #อาเซียน #อ่าวอาหรับ #จีน
    0 Comments 0 Shares 270 Views 0 Reviews
  • TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย

    การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้

    อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ

    วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added)

    #Newskit
    TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added) #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 627 Views 0 Reviews
  • No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย

    แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว

    แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป

    น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก

    สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท

    #Newskit
    No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 558 Views 0 Reviews
  • แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว

    แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ

    ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow

    ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้

    ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

    ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน

    #Newskit
    แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้ ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 605 Views 0 Reviews
  • ผมไม่ทราบว่าผู้นำชีอะห์ท่านนี้ ท่านซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี เป็นใคร มีความเป็นมาอย่างไร (อ่านบทความจากลิงก์ข้างล่าง) แต่ผมพูดบ่อยๆ ว่า ปัญหาผู้ก่อการร้าย จชต. โยงใยโดยกลไกจารชนตะวันตกที่ฝังตัวมานาน ในเวลาเดียวกับที่มีความพยายามมาโดยตลอดที่จะชักจูงชี้นำให้เชื่อโดยป้ายสีไปที่ชาติมุสลิมในอาหรับ โดยเฉพาะอิหร่าน
    .
    ขอบอกอีกครั้งว่า ไม่ใช่แค่ในบ้านเรา การป้ายสีแบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดกระแส Islamophobia ทั่วไปในโลก และกองโจรก่อการร้ายมุสลิมที่เป็นที่หวาดกลัวเช่น อัลเคด้า ตอลีบัน ไอสิส ในที่สุดถูกเปิดโปงว่าถูกสร้างขึ้น ได้รับการสนับสนุนเงินทุน ได้รับการฝึกฝนและติดอาวุธโดยรัฐบาลสหรัฐ
    .
    เบื้องลึกความขัดแย้งภายในประเทศต่างๆ ในโลก หลายต่อหลายครั้ง เกิดขึ้นจากแผนร้ายในการแทรกแซงทางการเมืองของตะวันตก โดยมีอำนาจการเมืองและทุนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ เช่น การแยกดินแดนของติมอร์.. ตะวันตกสนับสนุนเงินทุนทั้งฝ่ายเรียกร้องและฝ่ายต่อต้าน เมื่อการเคลื่อนไหวสุกงอมได้ที่ก็มีการสนับสนุนอาวุธเพื่อยกระดับความรุนแรงจากแค่การด่าทอและผลักกันไปมา จุดแตกหักมาถึงเมื่อนักศึกษาสาวแกนนำคนหนึ่งของฝ่ายเรียกร้องถูกข่มขืนฆ่า ความรุนแรงก็ระเบิดปะทุจนหยุดไม่อยู่ หลังการแยกดินแดนสำเร็จ สัมปะทานน้ำมันในติมอร์ตกอยู่ในมือตะวันตกทันที
    .
    กรณีของไทยก็ไม่ต่างกัน ทรัพยากรในภาคใต้และศักยภาพในภูมิภาคนั้นกำลังเป็นที่หมายปอง ลำพังแค่ความคิดในการตัดคลองหรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดอะไรทำนองนี้เพียงความคิดเดียว ก็บีบให้ทั้งคาบสมุทรมาเลย์ต้องดิ้นเร่าเป็นไส้เดือนถูกขี้เถ้า โดยเฉพาะเพื่อนบ้านตัวแสบอย่างมาเลเซียที่ผมบอกว่าไว้ใจไม่ได้และคอยลอบแทงเราข้างหลังตลอดเวลา.. ณ เวลานี้หากคุณไปเยือนมาเลเซียเพื่อเห็นด้วยตา คุณก็จะรู้ถึงความเสื่อมถอยของมาเลเซียทั้งบ้านเมืองและชีวิตผู้คนที่ไม่ได้ก้าวหน้าไปเท่าไหร่อย่างที่ควรเป็นในหลายปีมานี้ และยิ่งกว่านั้นโดยลึกๆ แล้วผู้บริหารประเทศมาเลเซียมีอคติมาโดยตลอด เห็นว่าไทยคือตัวการที่ดึงเอาความมั่งคั่งของภูมิภาคไป ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง แม้แต่เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งที่อยู่ติดจมูกของพวกเขาอย่างสิงคโปร์ พวกเขาก็ไม่อาจพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเทียบเคียงได้ เวลาที่มีข่าวประโคมอะไรก็ตามที่ด้อยค่าเราและมักเอาเราไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย จะพิสูจน์ให้เห็นง่ายๆ โดยการไปเยือนเมืองหลวงของเขาและลองใช้ชีวิตสักหนึ่งสัปดาห์
    .
    ผมมีสายสัมพันธ์กับคนมุสลิมเยอะ ทั้งเพื่อนฝูงและญาติ อย่างที่เคยเล่า คุณย่าผมเป็นมุสลิมอยุธยา มีความสัมพันธ์ฉันท์ญาติกับครอบครัวพี่ซัน มาโนช พุฒตาล พี่สาวแท้ๆ ของผมก็แต่งเข้าบ้านอิสลาม ผมมีช่วงเวลาหนึ่งนานนับปีที่แวะเวียนไปที่มัสยิดแห่งหนึ่งเพื่อสงบใจ ไปพูดคุยกับผู้คน ไปฟังเสียงสวดของน้องคนหนึ่งที่สวดพระคัมภีร์ได้ไพเราะจับใจเหลือเกิน.. คุณจะต้องเข้าใจว่า ความไพเราะของดนตรีและท่วงทำนองแบบตะวันตกนั้นเต็มไปด้วยสุ้มเสียงที่ชวนให้ลุ่มหลง ด้วยทำนองชวนเคลิบเคลิ้ม ด้วยเสียงประสานอันกลมกลืน ด้วยจังหวะอันสนุกสนานรื่นเริง.. แต่ทำนองในการสวดของมุสลิมนั้นต่างกันออกไป อิสลามปฏิเสธดนตรีที่เล้าโลมให้รู้สึกลุ่มหลงและท่วงทำนองเช่นนั้นเป็นสิ่งที่เป็นบาป... แล้วทำไมกันเมื่อเราฟังการสวดของอิสลามแล้วเราจึงรู้สึกไพเราะได้? ทั้งที่ถ้อยคำไม่ใช่ข้อความประโลมโลก แต่เป็นวลีอันศักดิ์สิทธิ์จากพระคัมภีร์ นี่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง คำตอบคือ สิ่งที่สัมผัสใจเราได้นั้นเป็นเพราะถ้อยคำเหล่านั้นเปล่งออกมาจากใจอันอ่อนโยน มาจากจิตวิญญาณอันสงบและศรัทธาอย่างแก่กล้า ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความรู้สึกจริงแท้นั้นจึงประทับใจเหลือประมาณ
    .
    เสียงเช่นนี้จะไม่มีวันเปล่งออกมาจากฆาตกรที่ฆ่าเด็ก ฆ่าผู้หญิง ฆ่าคนแก่ที่บริสุทธิ์อย่างแน่นอน ผมยืนยัน
    .
    https://www.facebook.com/thongdaw.thongaram.9/posts/1712738992940472
    ผมไม่ทราบว่าผู้นำชีอะห์ท่านนี้ ท่านซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี เป็นใคร มีความเป็นมาอย่างไร (อ่านบทความจากลิงก์ข้างล่าง) แต่ผมพูดบ่อยๆ ว่า ปัญหาผู้ก่อการร้าย จชต. โยงใยโดยกลไกจารชนตะวันตกที่ฝังตัวมานาน ในเวลาเดียวกับที่มีความพยายามมาโดยตลอดที่จะชักจูงชี้นำให้เชื่อโดยป้ายสีไปที่ชาติมุสลิมในอาหรับ โดยเฉพาะอิหร่าน . ขอบอกอีกครั้งว่า ไม่ใช่แค่ในบ้านเรา การป้ายสีแบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดกระแส Islamophobia ทั่วไปในโลก และกองโจรก่อการร้ายมุสลิมที่เป็นที่หวาดกลัวเช่น อัลเคด้า ตอลีบัน ไอสิส ในที่สุดถูกเปิดโปงว่าถูกสร้างขึ้น ได้รับการสนับสนุนเงินทุน ได้รับการฝึกฝนและติดอาวุธโดยรัฐบาลสหรัฐ . เบื้องลึกความขัดแย้งภายในประเทศต่างๆ ในโลก หลายต่อหลายครั้ง เกิดขึ้นจากแผนร้ายในการแทรกแซงทางการเมืองของตะวันตก โดยมีอำนาจการเมืองและทุนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ เช่น การแยกดินแดนของติมอร์.. ตะวันตกสนับสนุนเงินทุนทั้งฝ่ายเรียกร้องและฝ่ายต่อต้าน เมื่อการเคลื่อนไหวสุกงอมได้ที่ก็มีการสนับสนุนอาวุธเพื่อยกระดับความรุนแรงจากแค่การด่าทอและผลักกันไปมา จุดแตกหักมาถึงเมื่อนักศึกษาสาวแกนนำคนหนึ่งของฝ่ายเรียกร้องถูกข่มขืนฆ่า ความรุนแรงก็ระเบิดปะทุจนหยุดไม่อยู่ หลังการแยกดินแดนสำเร็จ สัมปะทานน้ำมันในติมอร์ตกอยู่ในมือตะวันตกทันที . กรณีของไทยก็ไม่ต่างกัน ทรัพยากรในภาคใต้และศักยภาพในภูมิภาคนั้นกำลังเป็นที่หมายปอง ลำพังแค่ความคิดในการตัดคลองหรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดอะไรทำนองนี้เพียงความคิดเดียว ก็บีบให้ทั้งคาบสมุทรมาเลย์ต้องดิ้นเร่าเป็นไส้เดือนถูกขี้เถ้า โดยเฉพาะเพื่อนบ้านตัวแสบอย่างมาเลเซียที่ผมบอกว่าไว้ใจไม่ได้และคอยลอบแทงเราข้างหลังตลอดเวลา.. ณ เวลานี้หากคุณไปเยือนมาเลเซียเพื่อเห็นด้วยตา คุณก็จะรู้ถึงความเสื่อมถอยของมาเลเซียทั้งบ้านเมืองและชีวิตผู้คนที่ไม่ได้ก้าวหน้าไปเท่าไหร่อย่างที่ควรเป็นในหลายปีมานี้ และยิ่งกว่านั้นโดยลึกๆ แล้วผู้บริหารประเทศมาเลเซียมีอคติมาโดยตลอด เห็นว่าไทยคือตัวการที่ดึงเอาความมั่งคั่งของภูมิภาคไป ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง แม้แต่เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งที่อยู่ติดจมูกของพวกเขาอย่างสิงคโปร์ พวกเขาก็ไม่อาจพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเทียบเคียงได้ เวลาที่มีข่าวประโคมอะไรก็ตามที่ด้อยค่าเราและมักเอาเราไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย จะพิสูจน์ให้เห็นง่ายๆ โดยการไปเยือนเมืองหลวงของเขาและลองใช้ชีวิตสักหนึ่งสัปดาห์ . ผมมีสายสัมพันธ์กับคนมุสลิมเยอะ ทั้งเพื่อนฝูงและญาติ อย่างที่เคยเล่า คุณย่าผมเป็นมุสลิมอยุธยา มีความสัมพันธ์ฉันท์ญาติกับครอบครัวพี่ซัน มาโนช พุฒตาล พี่สาวแท้ๆ ของผมก็แต่งเข้าบ้านอิสลาม ผมมีช่วงเวลาหนึ่งนานนับปีที่แวะเวียนไปที่มัสยิดแห่งหนึ่งเพื่อสงบใจ ไปพูดคุยกับผู้คน ไปฟังเสียงสวดของน้องคนหนึ่งที่สวดพระคัมภีร์ได้ไพเราะจับใจเหลือเกิน.. คุณจะต้องเข้าใจว่า ความไพเราะของดนตรีและท่วงทำนองแบบตะวันตกนั้นเต็มไปด้วยสุ้มเสียงที่ชวนให้ลุ่มหลง ด้วยทำนองชวนเคลิบเคลิ้ม ด้วยเสียงประสานอันกลมกลืน ด้วยจังหวะอันสนุกสนานรื่นเริง.. แต่ทำนองในการสวดของมุสลิมนั้นต่างกันออกไป อิสลามปฏิเสธดนตรีที่เล้าโลมให้รู้สึกลุ่มหลงและท่วงทำนองเช่นนั้นเป็นสิ่งที่เป็นบาป... แล้วทำไมกันเมื่อเราฟังการสวดของอิสลามแล้วเราจึงรู้สึกไพเราะได้? ทั้งที่ถ้อยคำไม่ใช่ข้อความประโลมโลก แต่เป็นวลีอันศักดิ์สิทธิ์จากพระคัมภีร์ นี่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง คำตอบคือ สิ่งที่สัมผัสใจเราได้นั้นเป็นเพราะถ้อยคำเหล่านั้นเปล่งออกมาจากใจอันอ่อนโยน มาจากจิตวิญญาณอันสงบและศรัทธาอย่างแก่กล้า ผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความรู้สึกจริงแท้นั้นจึงประทับใจเหลือประมาณ . เสียงเช่นนี้จะไม่มีวันเปล่งออกมาจากฆาตกรที่ฆ่าเด็ก ฆ่าผู้หญิง ฆ่าคนแก่ที่บริสุทธิ์อย่างแน่นอน ผมยืนยัน . https://www.facebook.com/thongdaw.thongaram.9/posts/1712738992940472
    0 Comments 0 Shares 558 Views 0 Reviews
  • พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนยังคงตะแบงอย่างข้างๆ คูๆ และดูเหมือนคำอธิบายที่ผมพยายามเขียนอยู่หลายครั้งก็ดูจะไม่ค่อยไปถึงไหนไกล นี่คือวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจโต้แย้ง และมีแต่ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะพ้องกับวิทยาศาสตร์นี้อย่างลงตัว
    .
    หนึ่งในเรื่องราวที่มีคนรู้น้อยมาก อันที่จริงต้องพูดว่าคนส่วนใหญ่ไม่แยแสสนใจ เป็นเรื่องของชาวเล หรือที่มีชื่อว่าโอรังลาโว้ย (บ้างเรียก อูรักลาโว้ย) เป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองเก่าแก่ที่เรียกว่า "โอรังอัสลิ" ที่ซึ่งอันที่จริงเป็นญาติข้างพี่จากสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของผู้คนในอุษาคเนย์และเกาะแก่งในอุษาสมุทรแทบทั้งหมด.
    .
    Orang หรือ โอรัง มาจากภาษามาเลย์ แปลว่า คน / Asli หรือ อัสลิ แปลว่า เก่าแก่ ดั้งเดิม. โอรังอัสลิ หมายถึง คนดั้งเดิม มีความหมายตามคำเช่นนั้นตามความเป็นจริง ในอุษาคเนย์ตอนกลางจนจรดคาบสมุทรมาเลย์และเกาะในอุษาสมุทร นอกจากพวกปาปัวและออสโตรอะบอริจิ้นแล้ว ไม่มีใครมีดีเอ็นเอเก่าแก่ไปกว่าพวกโอรังอัสลิ พวกที่มี time stamp ในดีเอ็นเอเก่าที่สุดเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในซาบาห์ เกาะบอร์เนียว
    .
    โอรังอัสลิประกอบด้วยชนเผ่ามากมาย ในประเทศไทยมีพวก โอรังลาโว้ย เซมัง มานิ.. อาศัยอยู่ในภาคใต้ ในประเทศมาเลเซีย มีพวกโอรังกัวลา โอรังคานาค จาคุน เตมูน เซเมไล...ฯ ชนพื้นเมืองหลายเผ่าปรับตัวเป็นคนเมืองเรียกรวมๆ ว่าเซนอย ซึ่งท้ายที่สุดกลายเป็นประชากรชาวมาเลย์ทั่วไป มีพวก เตมีอาร์ เชไม เซมัคบารี จาห์ฮัท มะห์เมรี...ฯ ในประเทศอินโดนีเซียมีพวก ดยัค...ฯ ในประเทศฟิลิปปินส์มีพวก บอนทอค อิฟูเกา...ฯ ในฟอร์โมซาหรือไต้หวันมีพวก อตายาล พูยูมะ...ฯ และที่คาดไม่ถึงคือบางส่วนบนเกาะโอกินาวา
    .
    ชนพื้นเมืองเก่าแก่ในประเทศไทยหลายพวกก็เป็นเชื้อสายอัสเลียน เช่น พวกมอญ พวกลั๊วะ (ข่าว้า, ละว้า) พวกข่าหลายเผ่าที่มีชื่อเรียกต่างกันไปเช่น กัมมุ มลาบรี..
    .
    ชนเผ่าพวกนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของคนเอเชียที่อาศัยในเมนแลนด์อุษาคเนย์อย่างเรา
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น ตอนที่บรรพบุรุษพวกนี้มาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นกว่าปีก่อน มีมนุษย์ที่เดินทางมาถึงก่อนแล้ว คือพวกอะบอริจิ้นิสท์ พวกนี้มาถึงซุนดาตั้งแต่เมื่อห้าหมื่นปีก่อน ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบผู้หญิงอะบอริจิ้นเลือกบรรพบุรุษอัสเลียนเป็นพ่อพันธุ์ บีบให้ผู้ชายอะบอริจิ้นกระจายออกจากเมนแลนด์ซุนดาไปสู่เกาะแก่งโดยรอบในอุษาสมุทร ด้วยเหตุที่คนเอเชียมีแม่พันธ์ใหญ่ถึงสี่สาแหรก ทำให้ประชากรชาวเอเชียขยายตัวไปมากกว่าสาแหรกครอบครัวใดในโลก เฉพาะมนุษย์ผู้ชาย มีจำนวนมากกว่า 75% ของชายชาวเอเชียในปัจจุบัน ใน 75% นี้ รวมถึงผู้ชายชาวจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกจำนวน 1400 ล้านคน ลองคิดดูว่าคนเอเชียจะมีจำนวนเท่าไหร่ในโลกนี้?
    .
    ที่อธิบายนี่ ต้องการให้เห็นภาพว่า
    ผู้คนในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ มีเชื้อทางพ่อเป็นโอรังอัสลิ และมีเชื้อทางแม่เป็นอะบอริจินิสท์ ดังนั้นหากมีคนใดก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามข่มเหงรังแกคนพื้นเมืองพวกนี้ ให้รู้ไว้เถอะว่า พวกแกกำลังรังแกโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแก
    .
    ผมยกเอาภาพจากหนังสือของอาจารย์ประทีป ชุมพล เรื่อง "เสียงเพรียกจากท้องน้ำ" มาโพสตรงนี้ ก็เพราะโศกนาฏกรรมที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นบรรพบุรุษเราพวกนี้ถูกรังแกและเหยียดหยามเรื่อยมาจนทุกวันนี้ และคนที่เรียกตนเองว่ามาเลย์นี่แหละ มีไม่น้อยที่มีส่วนในการข่มเหงนี้ อ.ประทีป เขียนหนังสือเล่มนี้ในลักษณะนิยายที่สะท้อนความจริงที่น่าเศร้าซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ตั้งแต่ราวรัชกาลที่หกมาถึงรัชกาลที่เจ็ดได้มีการจัดสรรที่ทำกินให้ชนเผ่าพวกนี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่จะต้องร่อนเร่อยู่กลางทะเล แต่ "คนเมือง" ที่ซึ่งผมได้เกริ่นไปแต่ต้นว่าที่จริงเป็นพี่น้องลูกหลานมาแต่ชนเผ่าเหล่านี้ทั้งนั้น กลับใช้เล่ห์กลเอาเปรียบและแย่งชิงที่ดินของพวกเขาไป ซึ่งมันได้นำพาไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด เมื่อชนพื้นเมืองพวกนี้กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งต้องคับแค้นใจจนพากันออกไปฆ่าตัวตายกลางทะเล อ.ประทีปได้กลั่นกรองความรู้สึกจากเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือชื่อ เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    .
    นี่คือเหตุที่ทำไมผมตั้งคำถามกับพวกโจรแยกดินแดนที่ซึ่งล้วนเป็นเซนอยที่มาจากโอรังอัสลิทั้งสิ้นว่า.. แทนที่จะมาทำตัวเป็นอาหรับพลัดถิ่นหรือคนมาเลเซียพลัดถิ่น ถามว่าพวกแกปฏิบัติเช่นไรกับโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแกเหล่านี้? พวกแกได้ดูถูกกดขี่เหยียดหยามแย่งที่ทำกินพวกเขาหรือไม่ เคยเป็นห่วงต่อสู้สิทธิในความเป็นมนุษย์และสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ดั้งเดิมของพวกเขาหรือไม่? ทำไมไม่เรียกร้อง..."คืนแผ่นดินให้เซมัง....คืนแผ่นดินให้มอเกน????"
    .
    ยังมีไอ้พวกโง่ตอแหลจากสำนักอีซิ่มพร พวกไอ้เฒ่าจิตตก ออกมาตีสำนวนอีกว่า ชาวมลายูอยู่มาก่อนสยาม โพสนี้ตอบคำถามทุกอย่างตามที่เล่า จงถอยกลับไปก่อนการมีประเทศมาเลเซียหรือแม้แต่เมืองท่ามะละกา เมืองท่าปัตตานี... บรรพบุรุษมนุษย์พวกหนึ่งที่จะพัฒนาเป็นคนในเมนแลนด์อุษาคเนย์และเกาะในอุษาสมุทร คนพวกนี้พูดภาษาอัสเลียน ผสมพันธุ์กับพวกออสโตรอะบอริจิ้น ทำให้แตกเป็นภาษาออสโตรนีเชียน และเป็นมาลาโยโพลีนีเชียนตามเกาะแก่ง.. ผสมพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ ในเมนแลนด์ตอนบนแตกแขนงเป็นออสโตเอเชียติกหรือมอญ-เขมร.. เป็นกรอบเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์ที่เรียกว่าคนมาเลย์หรือคนมาลายูเลย ฝรั่งเป็นคนตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่ามาลายาเมื่อเดินทางมาถึง ในห้วงเวลานั้นดินแดนแถบนั้นไม่มีชื่อหรอก เมื่อเขียนบนแผนที่ก็เลยเป็นที่มาให้เรียกพวกชนชาติแถบนี้รวมๆ ว่าคนมาลายา [แม้แต่จักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ในอดีตก็ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนว่า "จีน" พวกเขาเรียกดินแดนพวกเขาว่า จงกั๋ว (จงหยวน) แต่ฝรั่งเอาแซ่ราชวงศ์จิ๋น (ฉิน) ของจิ๋นซีหวงตี้มาเรียกเป็นชื่อว่าอาณาจักรจิ๋น แล้วเขียนบนแผนที่ทำให้ชาวโลกเรียกอาณาจักรจีนว่า China มาจนทุกวันนี้.. ที่จริงจีนใช้ตัวละตินเขียนว่า Qin แต่ออกเสียง ฉิน] โดยข้อเท็จจริงแล้วประวัติศาสตร์ไม่เคยมีประชาชนมาลายา-มาลายู หรือประเทศมาลายา-มาลายู ไปค้นประวัติศาสตร์ของทุกชาติในเอเชียได้ เช่น บันทึกจีนโบราณ เป็นต้น จะไม่มีบันทึกของชาติใดปรากฏชื่อที่มีสถานะเป็นอาณาจักรหรือประชาชนในชื่อมาลายา-มาลายูอยู่เลย (ใครเจอลองเอามาให้ดูหน่อย) นอกจากหัวเมืองชายแดนอันแยกกันเป็นเอกเทศหลายเมืองที่ล้วนเคยเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามมาก่อน ประเทศมาเลเซียเองเพิ่งปรากฏขึ้นในโลกหลังจากได้เอกราชจากการเป็นอิสระจากอาณานิคมอังกฤษ คนในพื้นที่คาบสมุทรนี้ในยุคก่อนมีราชอาณาจักรสยาม เรียกตัวเองว่า โอรังทั้งนั้น เช่นโอรังบูกิต โอรังเชไม โอรังจาฮัท ฯ... ฝรั่งมันไม่จำหรอก เยอะ.. มันเรียกง่ายๆ ว่าคนมาลายู (ดูแผนที่โบราณที่ผมโพสในคอมเม้นท์ข้างล่างแล้วอ่านคำอธิบาย) เพราะฉนั้น ไม่ใช่แค่คนในอินโด-มาเลเซียที่เป็นพวกอัสเลียน พวกที่เคยเป็นอาณาจักรศรีโพธิ์ อาณาจักรศรีวิชัย พวกศรีธรรมโศกราช พวกพริบพรี พวกละโว้ พวกทวารวดี (ซึ่งต่อมาเป็นพวกสยาม..) พวกมอญ พวกขอม พวกเขมร พวกจาม... ล้วนสืบเชื้อโอรังอัสลิและแม่อะบอริจิ้นมาทั้งนั้น คลานออกมาจากมดลูกเดียวกันทั้งคาบสมุทร!! (เบื่ออธิบายกับพวกแกจริงๆ)
    .
    จะบอกอะไรให้อย่างหนึ่ง ในอุษาคเนย์ มีชนพื้นเมืองพวกหนึ่งคือพวกข่าว้าหรือพวกลั๊วะ (บางทีเรียก ว้า ละว้า ล้า) จากผลตรวจดีเอ็นเอทุกชนเผ่าในมณฑลหยุนหนานโดยโปรเฟสเซอร์จินลี (นักวิทยาศาสตร์จีน) พวกข่าว้านี้มียีนเก่าที่สุด พอๆ กับพวกปู้ยี (จ้วงเหนือ). มีคำปรำปราอันหนึ่งของชนเผ่าไทกล่าวว่า "สางสร้างฟ้า ล้าสร้างเมือง" แปลว่า "เทวดาสร้างสวรรค์ พวกละว้าสร้างเมือง" ชนเผ่าไทยกย่องอย่างนี้ว่า ล้าสร้างเมือง... ตำนานน้ำเต้าปุงเล่าว่า สางบันดาลน้ำเต้าลูกมหึมาลงมา ปู่ลางเซิงเอาเหล็กแหลมแทงน้ำเต้าแล้วผู้คนก็ไหลกรูกันออกมา ข่าออกมาก่อน แล้วก็ลาว แล้วก็ไท นี่..ไทก็นับว่าข่าเป็นพี่ลาวเป็นพี่... มีตำนานไทอีกอันเรื่องข้าสี่แสนหมอนม้า ชนเผ่าไทโบราณรบกับพวกละว้าแล้วก็ยึดเมืองจากพวกละว้าได้ ทำให้มีประเพณีที่เมื่อจ้าวไททำพิธีขึ้นกินเมืองจะให้พวกละว้าขึ้นนั่งพระแท่นก่อน แล้วเจ้าไทจึงมาไล่ลง เสร็จแล้วค่อยนั่งครองพระแท่นแทน ธรรมเนียมนี้แสดงว่าคนไทยอมรับว่าล้าสร้างเมืองและเป็นใหญ่มาก่อน แต่เกือบพันปีที่ผ่านมาไม่เคยมีพวกละว้าขอแบ่งแยกดินแดนจากไท-ไทยเลยสักสมัย มีแต่พวกละว้าในพม่าที่เจรจาขอแยกจากการเป็นส่วนหนึ่งของพม่าตอนที่ทำสนธิสัญญาปางโหลงกับนายพลอองซาน. เรื่องของเรื่องก็คือ... ถอยไปอีก พวกนี้ก็มาจากโอรังอัสลิเช่นเดียวกับพวกเซนอยมาลายู แต่เก่ากว่าเป็นพันปี
    .
    เดินไปโรงพยาบาลแล้วขอตรวจดีเอ็นเอ ไอ้พวกโง่ แล้วแกจะได้เห็นว่าแกมีเชื้อเดียวกับเซมัง มอเกน. ในดีเอ็นเอมนุษย์มี time stamp อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า genetic marker มันบอกอายุของดีเอ็นเอได้ว่าใครเก่ากว่ากัน และจะโยงพวกแกไปยังบรรพบุรุษเดียวกันในแอฟริกา ถึงตอนนั้นพวกแกจะแปลกใจว่าแกไม่ใช่คนมาลายูแล้ว แต่พวกแกเป็นคน "กอยซาน!!" เข้าใจไหม? คนอย่างไอ้เฒ่าจิตตกนั่นมันไม่รู้สี่รู้แปดอะไรหรอก เคยไปเล่าให้มันฟังแม่งนั่งอ้าปากหวอ
    .
    อย่างที่กล่าว
    คำว่า โอรังอัสลิ เป็นคำในภาษามาเลย์ของพวกแก แปลว่า คนดั้งเดิม
    พวกแกทำไมไม่สู้เพื่อพวกเขาบ้าง? นี่ต่างหาก คนดั้งเดิม
    แต่ไปที่ไหนก็ยังเห็นพวกแกดูถูกพวกเขาอยู่เสมอ
    หรือว่าลืมกำพืด อยากเป็นสุลต่านกัน?
    ถ้าพวกแกมีจิตวิญญาณของนักรบจริง
    ที่กาซ่า พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์กำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยพวกยิว
    ในฐานะมุสลิมด้วยกัน ไปสิ จับอาวุธแล้วไปต่อสู้เพื่อพวกเขา กล้าพอไหม?
    ไปชวนพี่น้องแกในมาเลเซียด้วย ถ้าที่นั่นยังมีนักรบนะ
    จิตสำนึกมุสลิมอันยิ่งใหญ่มีอยู่ไหมในมาเลเซีย
    พระเจ้าจะสรรเสริญพวกแกและรับพวกแกไปสู่ญันนะฮฺเมื่อได้สละชีพ
    คงไม่หรอก เพราะพวกแกฆ่าได้แม้กระทั่งเด็กน้อยที่บริสุทธิ์
    ไม่ต่างอะไรกับพวกยิวอิสราเอล

    อัลลาฮฺอักบัร
    .
    #ปาตานี #แบ่งแยกดินแดน #คนมลายูอยู่มาก่อนสยาม #โอรังอัสลิ #โอรังลาโว้ย #เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนยังคงตะแบงอย่างข้างๆ คูๆ และดูเหมือนคำอธิบายที่ผมพยายามเขียนอยู่หลายครั้งก็ดูจะไม่ค่อยไปถึงไหนไกล นี่คือวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจโต้แย้ง และมีแต่ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะพ้องกับวิทยาศาสตร์นี้อย่างลงตัว . หนึ่งในเรื่องราวที่มีคนรู้น้อยมาก อันที่จริงต้องพูดว่าคนส่วนใหญ่ไม่แยแสสนใจ เป็นเรื่องของชาวเล หรือที่มีชื่อว่าโอรังลาโว้ย (บ้างเรียก อูรักลาโว้ย) เป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองเก่าแก่ที่เรียกว่า "โอรังอัสลิ" ที่ซึ่งอันที่จริงเป็นญาติข้างพี่จากสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของผู้คนในอุษาคเนย์และเกาะแก่งในอุษาสมุทรแทบทั้งหมด. . Orang หรือ โอรัง มาจากภาษามาเลย์ แปลว่า คน / Asli หรือ อัสลิ แปลว่า เก่าแก่ ดั้งเดิม. โอรังอัสลิ หมายถึง คนดั้งเดิม มีความหมายตามคำเช่นนั้นตามความเป็นจริง ในอุษาคเนย์ตอนกลางจนจรดคาบสมุทรมาเลย์และเกาะในอุษาสมุทร นอกจากพวกปาปัวและออสโตรอะบอริจิ้นแล้ว ไม่มีใครมีดีเอ็นเอเก่าแก่ไปกว่าพวกโอรังอัสลิ พวกที่มี time stamp ในดีเอ็นเอเก่าที่สุดเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในซาบาห์ เกาะบอร์เนียว . โอรังอัสลิประกอบด้วยชนเผ่ามากมาย ในประเทศไทยมีพวก โอรังลาโว้ย เซมัง มานิ.. อาศัยอยู่ในภาคใต้ ในประเทศมาเลเซีย มีพวกโอรังกัวลา โอรังคานาค จาคุน เตมูน เซเมไล...ฯ ชนพื้นเมืองหลายเผ่าปรับตัวเป็นคนเมืองเรียกรวมๆ ว่าเซนอย ซึ่งท้ายที่สุดกลายเป็นประชากรชาวมาเลย์ทั่วไป มีพวก เตมีอาร์ เชไม เซมัคบารี จาห์ฮัท มะห์เมรี...ฯ ในประเทศอินโดนีเซียมีพวก ดยัค...ฯ ในประเทศฟิลิปปินส์มีพวก บอนทอค อิฟูเกา...ฯ ในฟอร์โมซาหรือไต้หวันมีพวก อตายาล พูยูมะ...ฯ และที่คาดไม่ถึงคือบางส่วนบนเกาะโอกินาวา . ชนพื้นเมืองเก่าแก่ในประเทศไทยหลายพวกก็เป็นเชื้อสายอัสเลียน เช่น พวกมอญ พวกลั๊วะ (ข่าว้า, ละว้า) พวกข่าหลายเผ่าที่มีชื่อเรียกต่างกันไปเช่น กัมมุ มลาบรี.. . ชนเผ่าพวกนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของคนเอเชียที่อาศัยในเมนแลนด์อุษาคเนย์อย่างเรา . ไม่เพียงเท่านั้น ตอนที่บรรพบุรุษพวกนี้มาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นกว่าปีก่อน มีมนุษย์ที่เดินทางมาถึงก่อนแล้ว คือพวกอะบอริจิ้นิสท์ พวกนี้มาถึงซุนดาตั้งแต่เมื่อห้าหมื่นปีก่อน ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบผู้หญิงอะบอริจิ้นเลือกบรรพบุรุษอัสเลียนเป็นพ่อพันธุ์ บีบให้ผู้ชายอะบอริจิ้นกระจายออกจากเมนแลนด์ซุนดาไปสู่เกาะแก่งโดยรอบในอุษาสมุทร ด้วยเหตุที่คนเอเชียมีแม่พันธ์ใหญ่ถึงสี่สาแหรก ทำให้ประชากรชาวเอเชียขยายตัวไปมากกว่าสาแหรกครอบครัวใดในโลก เฉพาะมนุษย์ผู้ชาย มีจำนวนมากกว่า 75% ของชายชาวเอเชียในปัจจุบัน ใน 75% นี้ รวมถึงผู้ชายชาวจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกจำนวน 1400 ล้านคน ลองคิดดูว่าคนเอเชียจะมีจำนวนเท่าไหร่ในโลกนี้? . ที่อธิบายนี่ ต้องการให้เห็นภาพว่า ผู้คนในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ มีเชื้อทางพ่อเป็นโอรังอัสลิ และมีเชื้อทางแม่เป็นอะบอริจินิสท์ ดังนั้นหากมีคนใดก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามข่มเหงรังแกคนพื้นเมืองพวกนี้ ให้รู้ไว้เถอะว่า พวกแกกำลังรังแกโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแก . ผมยกเอาภาพจากหนังสือของอาจารย์ประทีป ชุมพล เรื่อง "เสียงเพรียกจากท้องน้ำ" มาโพสตรงนี้ ก็เพราะโศกนาฏกรรมที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นบรรพบุรุษเราพวกนี้ถูกรังแกและเหยียดหยามเรื่อยมาจนทุกวันนี้ และคนที่เรียกตนเองว่ามาเลย์นี่แหละ มีไม่น้อยที่มีส่วนในการข่มเหงนี้ อ.ประทีป เขียนหนังสือเล่มนี้ในลักษณะนิยายที่สะท้อนความจริงที่น่าเศร้าซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และยังคงดำเนินต่อไป . ตั้งแต่ราวรัชกาลที่หกมาถึงรัชกาลที่เจ็ดได้มีการจัดสรรที่ทำกินให้ชนเผ่าพวกนี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่จะต้องร่อนเร่อยู่กลางทะเล แต่ "คนเมือง" ที่ซึ่งผมได้เกริ่นไปแต่ต้นว่าที่จริงเป็นพี่น้องลูกหลานมาแต่ชนเผ่าเหล่านี้ทั้งนั้น กลับใช้เล่ห์กลเอาเปรียบและแย่งชิงที่ดินของพวกเขาไป ซึ่งมันได้นำพาไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด เมื่อชนพื้นเมืองพวกนี้กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งต้องคับแค้นใจจนพากันออกไปฆ่าตัวตายกลางทะเล อ.ประทีปได้กลั่นกรองความรู้สึกจากเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือชื่อ เสียงเพรียกจากท้องน้ำ . นี่คือเหตุที่ทำไมผมตั้งคำถามกับพวกโจรแยกดินแดนที่ซึ่งล้วนเป็นเซนอยที่มาจากโอรังอัสลิทั้งสิ้นว่า.. แทนที่จะมาทำตัวเป็นอาหรับพลัดถิ่นหรือคนมาเลเซียพลัดถิ่น ถามว่าพวกแกปฏิบัติเช่นไรกับโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแกเหล่านี้? พวกแกได้ดูถูกกดขี่เหยียดหยามแย่งที่ทำกินพวกเขาหรือไม่ เคยเป็นห่วงต่อสู้สิทธิในความเป็นมนุษย์และสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ดั้งเดิมของพวกเขาหรือไม่? ทำไมไม่เรียกร้อง..."คืนแผ่นดินให้เซมัง....คืนแผ่นดินให้มอเกน????" . ยังมีไอ้พวกโง่ตอแหลจากสำนักอีซิ่มพร พวกไอ้เฒ่าจิตตก ออกมาตีสำนวนอีกว่า ชาวมลายูอยู่มาก่อนสยาม โพสนี้ตอบคำถามทุกอย่างตามที่เล่า จงถอยกลับไปก่อนการมีประเทศมาเลเซียหรือแม้แต่เมืองท่ามะละกา เมืองท่าปัตตานี... บรรพบุรุษมนุษย์พวกหนึ่งที่จะพัฒนาเป็นคนในเมนแลนด์อุษาคเนย์และเกาะในอุษาสมุทร คนพวกนี้พูดภาษาอัสเลียน ผสมพันธุ์กับพวกออสโตรอะบอริจิ้น ทำให้แตกเป็นภาษาออสโตรนีเชียน และเป็นมาลาโยโพลีนีเชียนตามเกาะแก่ง.. ผสมพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ ในเมนแลนด์ตอนบนแตกแขนงเป็นออสโตเอเชียติกหรือมอญ-เขมร.. เป็นกรอบเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์ที่เรียกว่าคนมาเลย์หรือคนมาลายูเลย ฝรั่งเป็นคนตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่ามาลายาเมื่อเดินทางมาถึง ในห้วงเวลานั้นดินแดนแถบนั้นไม่มีชื่อหรอก เมื่อเขียนบนแผนที่ก็เลยเป็นที่มาให้เรียกพวกชนชาติแถบนี้รวมๆ ว่าคนมาลายา [แม้แต่จักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ในอดีตก็ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนว่า "จีน" พวกเขาเรียกดินแดนพวกเขาว่า จงกั๋ว (จงหยวน) แต่ฝรั่งเอาแซ่ราชวงศ์จิ๋น (ฉิน) ของจิ๋นซีหวงตี้มาเรียกเป็นชื่อว่าอาณาจักรจิ๋น แล้วเขียนบนแผนที่ทำให้ชาวโลกเรียกอาณาจักรจีนว่า China มาจนทุกวันนี้.. ที่จริงจีนใช้ตัวละตินเขียนว่า Qin แต่ออกเสียง ฉิน] โดยข้อเท็จจริงแล้วประวัติศาสตร์ไม่เคยมีประชาชนมาลายา-มาลายู หรือประเทศมาลายา-มาลายู ไปค้นประวัติศาสตร์ของทุกชาติในเอเชียได้ เช่น บันทึกจีนโบราณ เป็นต้น จะไม่มีบันทึกของชาติใดปรากฏชื่อที่มีสถานะเป็นอาณาจักรหรือประชาชนในชื่อมาลายา-มาลายูอยู่เลย (ใครเจอลองเอามาให้ดูหน่อย) นอกจากหัวเมืองชายแดนอันแยกกันเป็นเอกเทศหลายเมืองที่ล้วนเคยเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามมาก่อน ประเทศมาเลเซียเองเพิ่งปรากฏขึ้นในโลกหลังจากได้เอกราชจากการเป็นอิสระจากอาณานิคมอังกฤษ คนในพื้นที่คาบสมุทรนี้ในยุคก่อนมีราชอาณาจักรสยาม เรียกตัวเองว่า โอรังทั้งนั้น เช่นโอรังบูกิต โอรังเชไม โอรังจาฮัท ฯ... ฝรั่งมันไม่จำหรอก เยอะ.. มันเรียกง่ายๆ ว่าคนมาลายู (ดูแผนที่โบราณที่ผมโพสในคอมเม้นท์ข้างล่างแล้วอ่านคำอธิบาย) เพราะฉนั้น ไม่ใช่แค่คนในอินโด-มาเลเซียที่เป็นพวกอัสเลียน พวกที่เคยเป็นอาณาจักรศรีโพธิ์ อาณาจักรศรีวิชัย พวกศรีธรรมโศกราช พวกพริบพรี พวกละโว้ พวกทวารวดี (ซึ่งต่อมาเป็นพวกสยาม..) พวกมอญ พวกขอม พวกเขมร พวกจาม... ล้วนสืบเชื้อโอรังอัสลิและแม่อะบอริจิ้นมาทั้งนั้น คลานออกมาจากมดลูกเดียวกันทั้งคาบสมุทร!! (เบื่ออธิบายกับพวกแกจริงๆ) . จะบอกอะไรให้อย่างหนึ่ง ในอุษาคเนย์ มีชนพื้นเมืองพวกหนึ่งคือพวกข่าว้าหรือพวกลั๊วะ (บางทีเรียก ว้า ละว้า ล้า) จากผลตรวจดีเอ็นเอทุกชนเผ่าในมณฑลหยุนหนานโดยโปรเฟสเซอร์จินลี (นักวิทยาศาสตร์จีน) พวกข่าว้านี้มียีนเก่าที่สุด พอๆ กับพวกปู้ยี (จ้วงเหนือ). มีคำปรำปราอันหนึ่งของชนเผ่าไทกล่าวว่า "สางสร้างฟ้า ล้าสร้างเมือง" แปลว่า "เทวดาสร้างสวรรค์ พวกละว้าสร้างเมือง" ชนเผ่าไทยกย่องอย่างนี้ว่า ล้าสร้างเมือง... ตำนานน้ำเต้าปุงเล่าว่า สางบันดาลน้ำเต้าลูกมหึมาลงมา ปู่ลางเซิงเอาเหล็กแหลมแทงน้ำเต้าแล้วผู้คนก็ไหลกรูกันออกมา ข่าออกมาก่อน แล้วก็ลาว แล้วก็ไท นี่..ไทก็นับว่าข่าเป็นพี่ลาวเป็นพี่... มีตำนานไทอีกอันเรื่องข้าสี่แสนหมอนม้า ชนเผ่าไทโบราณรบกับพวกละว้าแล้วก็ยึดเมืองจากพวกละว้าได้ ทำให้มีประเพณีที่เมื่อจ้าวไททำพิธีขึ้นกินเมืองจะให้พวกละว้าขึ้นนั่งพระแท่นก่อน แล้วเจ้าไทจึงมาไล่ลง เสร็จแล้วค่อยนั่งครองพระแท่นแทน ธรรมเนียมนี้แสดงว่าคนไทยอมรับว่าล้าสร้างเมืองและเป็นใหญ่มาก่อน แต่เกือบพันปีที่ผ่านมาไม่เคยมีพวกละว้าขอแบ่งแยกดินแดนจากไท-ไทยเลยสักสมัย มีแต่พวกละว้าในพม่าที่เจรจาขอแยกจากการเป็นส่วนหนึ่งของพม่าตอนที่ทำสนธิสัญญาปางโหลงกับนายพลอองซาน. เรื่องของเรื่องก็คือ... ถอยไปอีก พวกนี้ก็มาจากโอรังอัสลิเช่นเดียวกับพวกเซนอยมาลายู แต่เก่ากว่าเป็นพันปี . เดินไปโรงพยาบาลแล้วขอตรวจดีเอ็นเอ ไอ้พวกโง่ แล้วแกจะได้เห็นว่าแกมีเชื้อเดียวกับเซมัง มอเกน. ในดีเอ็นเอมนุษย์มี time stamp อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า genetic marker มันบอกอายุของดีเอ็นเอได้ว่าใครเก่ากว่ากัน และจะโยงพวกแกไปยังบรรพบุรุษเดียวกันในแอฟริกา ถึงตอนนั้นพวกแกจะแปลกใจว่าแกไม่ใช่คนมาลายูแล้ว แต่พวกแกเป็นคน "กอยซาน!!" เข้าใจไหม? คนอย่างไอ้เฒ่าจิตตกนั่นมันไม่รู้สี่รู้แปดอะไรหรอก เคยไปเล่าให้มันฟังแม่งนั่งอ้าปากหวอ . อย่างที่กล่าว คำว่า โอรังอัสลิ เป็นคำในภาษามาเลย์ของพวกแก แปลว่า คนดั้งเดิม พวกแกทำไมไม่สู้เพื่อพวกเขาบ้าง? นี่ต่างหาก คนดั้งเดิม แต่ไปที่ไหนก็ยังเห็นพวกแกดูถูกพวกเขาอยู่เสมอ หรือว่าลืมกำพืด อยากเป็นสุลต่านกัน? ถ้าพวกแกมีจิตวิญญาณของนักรบจริง ที่กาซ่า พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์กำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยพวกยิว ในฐานะมุสลิมด้วยกัน ไปสิ จับอาวุธแล้วไปต่อสู้เพื่อพวกเขา กล้าพอไหม? ไปชวนพี่น้องแกในมาเลเซียด้วย ถ้าที่นั่นยังมีนักรบนะ จิตสำนึกมุสลิมอันยิ่งใหญ่มีอยู่ไหมในมาเลเซีย พระเจ้าจะสรรเสริญพวกแกและรับพวกแกไปสู่ญันนะฮฺเมื่อได้สละชีพ คงไม่หรอก เพราะพวกแกฆ่าได้แม้กระทั่งเด็กน้อยที่บริสุทธิ์ ไม่ต่างอะไรกับพวกยิวอิสราเอล อัลลาฮฺอักบัร . #ปาตานี #แบ่งแยกดินแดน #คนมลายูอยู่มาก่อนสยาม #โอรังอัสลิ #โอรังลาโว้ย #เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    4 Comments 0 Shares 783 Views 0 Reviews
  • ในท่ามกลางความตึงเครียดของการขึ้นภาษีของทรัมพ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะกับจีนที่ตามมาด้วยการตอบโต้อย่างถึงพริกถึงขิง
    เขาพูดกัน "นี่คือสงครามการค้า"
    เหล่าบรรดาข้าทาสผู้สวามิภักดิ์ใต้อุ้งตีนอเมริกาพากันถ่มถุย
    "จีนจะต้องย่อยยับในคราวนี้"......
    .
    พวกนี้ไม่ได้สำเหนียกในข้อเท็จจริงที่ว่า
    ประชากรจีนโพ้นทะเล กระจายไปในโลกตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปแล้ว
    ก่อนยุคการล่าอาณานิคม ประชากรจีนโพ้นทะเลก็อยู่ในทุกแห่งหน
    ทำงานหนักและขยันขันแข็ง อดทน ไม่เกี่ยงความลำบาก
    พรสวรรค์ในด้านการค้าขายเป็นที่ประจักษ์เพราะฝังรากลึกอยู่ในทุกดินแดน
    เส้นทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณคือเส้นทางสายไหมของจีน
    พวกเขาไม่ได้ไปด้วยการรุกราน ยึดครองดินแดนต่างๆ ด้วยแสนยานุภาพ
    แต่พวกเขาแพร่กระจายไปพร้อมกับแรงงานและการค้าขาย
    และมักตั้งตัวขึ้นมากลายเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่งกว่าชนชาติอื่นอยู่ในทุกทวีป
    .
    ก่อนการออกท่องสมุทรไปของพ่อค้าชาวยุโรปและอาหรับ
    นายพลเรือผู้หนึ่งของจีนนาม เจิ้งเหอ ออกเดินทางสมุทรยาตราด้วยกองเรือมหาสมบัติที่มีขนาดมหึมากว่าสามร้อยลำ ออกค้าขายไปทั่วทุกคาบสมุทร นักวิชาการหลายคนสันนิษฐานว่ากองเรือของเขาอาจไปถึงทวีปอเมริกาก่อนใคร แต่ไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์ดินแดนที่เขาเดินทางไปถึงก็ชัดเจนแจ่มแจ้งมากพอถึงความยิ่งใหญ่ของความรู้และพรสวรรค์ทางการค้า
    .
    ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1405 ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง.. เจิ้งเหอ ออกเดินทางเพื่อทำการค้าและสำรวจโลกทั้งสิ้น 7 ครั้ง ยาวนานและกินเวลาราว 28 ปี ไปถึงดินแดนต่างๆ ราว 37 ประเทศ ท่องมหาสมุทรไปมากกว่า 50,000 กิโลเมตร เรือสำเภา "เป่าฉวน" หรือที่เรียกว่าเรือมหาสมบัติของเขา ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง มันมีขนาดราว 400 ฟุต ใหญ่กว่าเรือซานตามาเรียของโคลัมบัสซึ่งยาวแค่ 85 ฟุตถึง 5 เท่า กองเรือของเขาประกอบด้วยเรือขนาดใหญ่ 60 ลำ และเรือขนาดเล็กอีก 255 ลำ ประมาณว่ามีลูกเรือทั้งหมดกว่า 27,870 คน เดินทางผ่านชายฝั่งฟุเกี้ยน ท่องไปยังอาณาจักรต่างๆ เช่น จามปา เสียนหลอ (สยาม) มะละกา สมุทรา ชวา สุมาตรา ลังกา กาลิกัต... ผ่านทะเลอันดามัน เลาะฝั่งทะเลตะวันออกของชมพูทวีปเพื่อซื้อขายเครื่องเทศ ไปจนถึงเปอร์เซียและแอฟริกา หลักฐานปรากฏให้เห็นจากบันทึก ภาพเขียน และจากเครื่องบรรณาการที่เขานำกลับไปถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งได้รวมเอา สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ ซึ่งเป็นสัตว์จากดินแดนเหล่านั้น
    .
    เจิ้งเหอ เดิมแช่หม่า เป็นมุสลิมเชื้อสายตระกูลขุนนางใหญ่จากอุซเบกที่อาศัยในยูนนาน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ ต่อมาจักรพรรดิหย่งเล่อพระราชทานแซ่เจิ้ง จากบันทึกประมาณเวลาว่าเขามาถึงอยุธยาราวรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แต่คนไทยรู้จักในอีกชื่อว่า เจ้าพ่อซำปอกง ซึ่ง ซำปอกง นี้เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา วัดที่มีชื่อว่าวัดซำปอกงหรือวัดพนัญเชิงวรวิหารในจังหวัดอยุธยานี้ เขาเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนั้นยังพบหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธด้วยการถวายพระสูตรให้แก่วัดเก้าแห่ง แต่กระนั้น เจิ้งเหอเมื่อวายชนม์ก็ยังมีสถานะเป็นมุสลิม เพราะมีสุสานอย่างมุสลิมอยู่บนภูเขาที่นานกิง เขาเสียชีวิตที่อินเดียในปี 1432 เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะทัศนคติที่เปิดกว้างทางศาสนาของเขา จึงทำให้เขาเข้าไปมีส่วนในการยุติความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างศาสนาอิสลามของพ่อค้าและศาสนาพื้นถิ่นตามเมืองท่าต่างๆ ที่เขาผ่านไปหลายแห่ง ทำให้เมืองท่าเหล่านั้นยอมรับในความหลากหลายทางศาสนามากขึ้น
    .
    เจิ้งเหอแม้จะเป็นขันที แต่พี่ชายของเขาได้ยกลูกชายและลูกสาวให้แก่เขา ปัจจุบันนี้มีทายาทในสกุลเจิ้งของเขาบางส่วนจากครอบครัวของทายาทรุ่นหลังที่ชื่อ เจิ้งชงหลิ่ง ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย พวกเขายังคงเป็นมุสลิม ในหลวงรัชกาลที่หกพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ เจิ้งชงหลิ่ง ว่า ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ ลูกหลานของเขาใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ
    .
    รูปปั้นหินที่เห็นจากภาพประกอบ เป็นอนุสาวรีย์ของเจิ้งเหอที่มะละกา ประเทศมาเลเซีย อย่างที่เคยเล่า มีหลักฐานว่าเมืองท่าโบราณแห่งนี้เขาเป็นคนตั้งขึ้น
    .
    เรื่องของเจิ้งเหอ ยังถูกหยิบมาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยนายพลเรือดำน้ำคนหนึ่งของราชนาวีอังกฤษ ชื่อ Gavin Menzies ที่ซึ่งปกติเรือดำน้ำของเขามีหน้าที่ลาดตระเวณไปทั่วโลกด้วยการดำอย่างเงียบเชียบ แต่คิดว่าเขาคงจะว่างมากนั่นแหละในภาวะที่โลกในช่วงนั้นไม่มีความตึงเครียด เขาจึงเปลี่ยนมาลอยลำวิ่งบนผิวน้ำแล้วเริ่มวิเคราะห์ทัศนียภาพชายฝั่งเทียบกับแผนที่โบราณต่างๆ ซึ่งต่อมามันนำมาด้วยสมมุติฐานของเขาที่เขย่าโลกว่า นักเดินเรือฝรั่งในยุคแรกๆ ของ Maritime เช่น วาสโกเดอกามา เจ้าชายเฮนรี่ โคลัมบัส..ฯ ล้วนเดินเรือด้วยแผนที่ที่คัดลอกมาจากแผนที่ของกองเรือเจิ้งเหอ เขาเขียนหนังสือยาว 500 หน้าชื่อ 1421 และแน่นอนว่า นี่เป็นการทำให้ประวัติศาสตร์การท่องสมุทรของชาวยุโรปเสื่อมเสียไปจากค่านิยมเดิม เกวิน เมนซีส์ถูกถล่มจากนักวิชาการตะวันตกแบบรุมสกรัม แต่น้าแกไม่สน หนังสือของแกติดอันดับขายดีมากอย่างรวดเร็ว และเขายักไหล่ใส่ "พวกคุณจะต่อต้านอย่างไรก็ว่าไป แต่ประชาชนอยู่กับผม..."
    .
    กลับไปที่จั่วหัว...
    อย่างที่เห็น พรสวรรค์ในด้านการค้าของจีนนั้น เป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์โลกนับพันปี ชาติยุโรปลืมข้อเท็จจริงว่านวัตกรรมมากมายที่พวกเขาใช้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน โดยเฉพาะแสนยานุภาพที่พวกฝรั่งนำไปใช้พิชิตชนชาติที่อ่อนแอกว่าอย่างเช่น ดินปืน ถ้าไม่มีดินปืน ก็ไม่มีปืน ไม่มีระเบิด นอกจากนั้นพวกตะวันตกยังโขมยความรู้จากจีนทุกวิถีทางตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล โขมยแม้กระทั่งใบชา และพวกยุโรปรู้ดีว่าไม่อาจเอาชนะจีนอย่างขาวสะอาดได้ จึงใช้กลยุทธอันต่ำช้าด้วยการมอมเมาจีนด้วยฝิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นบทเรียนที่จีนไม่เคยลืม และเตรียมตัวให้พร้อมมาตลอดนับสิบปีของการปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู
    .
    สงครามการค้าในตอนนี้ ที่ซึ่ง...
    - จีนถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่ 759,000 ล้านดอลลาร์
    - สหรัฐเป็นหนี้จีนอยู่อีกมหาศาลและไม่มีปัญญาใช้คืน
    - ซัพพลายเชนมากมายของสหรัฐมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่
    - แรงงานในสหรัฐแทบไม่มีเลย แถมราคาแพงและไม่มีคุณภาพ
    จะผลิตอะไรเองก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาทักษะอีกนาน
    -ใครจะมาลงทุนเปิดโรงงานในอเมริกา ในเมื่อค่าแรงจะแพงมากแต่ด้อยทักษะ ง่อยและทำอะไรเองไม่เป็นมานานแล้ว
    - ถ้าแกผลิตเองไม่ได้แต่เที่ยวโขกภาษีจากคู่ค้าชาติอื่น สิ่งของที่คนอเมริกันต้องใช้ จะต้องจ่ายแพงทบทวี แม้กระทั่งกระดาษเช็ดขี้ที่พวกเอ็งเคยชักดิ้นชักงอเมื่อมันขาดตลาดตอนช่วงโควิดระบาด
    - ไอ้เบื้อกพวกนี้คงจำไม่ได้ว่าช่วงโควิด จีนห้ามเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่า จนพวกนี้ไปออกันอยู่กลางทะเลหลายพันลำ เดือดร้อนชิบหายวายป่วง แต่จีนไม่เดือดร้อนอะไร
    - จีนมีประชากร 1400 ล้านคน เขาซื้อขายกันเองก็พอจะอยู่กันได้แล้ว แต่วันนี้จีนแบนไม่ให้หนังฮอลลีวู๊ดเข้าฉายในประเทศ ลูกค้า 1400 ล้านคนหายไปกับตา เดี๋ยวคงตามมาด้วยการแบนแบรนด์อื่นอย่าง KFC McDonald...
    - กลายเป็นว่า คนอเมริกันจะกลายเป็นผู้ใช้ iPhone ที่ต้องจ่ายแพงกว่าใครในโลก เพราะมันผลิตในจีน คิดว่าอินเดียจะพร้อมในการเปิดโรงงานใหม่ในปีนี้หรือ?
    - จีนผลิตไมโครชิพเองแล้ว มีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพและความเร็วเหนือกว่าชิพของตะวันตก
    - จีนมีระบบปฏิบัติการโมบายล์ของจีนเองที่ทำงานได้ดีกว่าแอนดรอยด์เรียกว่า ฮาร์โมนี่
    - จีนพัฒนาระบบเชื่อมต่อดาวเทียมเป๋ยโต่ที่ล้ำหน้ากว่าจีพีเอสของตะวันตกมาก
    - จีนพัฒนาระบบชื่อ Near Link ที่ล้ำหน้าระบบ Bluetooth ไปไกลกว่าหลายเท่า
    - เอไอจีนแซงเอไอของตะวันตกไปแล้วเช่นกัน
    - แสนยานุภาพจีนกำลังแซงตะวันตกทุกนาทีที่ผ่านไป
    - เส้นทางการค้าใหม่ที่เรียก One Belt One Road ครอบคลุมเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางที่สุดในโลก โดยที่จีนไม่จำเป็นต้องค้าขายกับอเมริกา
    - ความก้าวหน้าทางโลจิสติกของจีนแซงอเมริกาไปนานแล้ว ในโลกนี้ไม่มีใครมีระบบรถไฟความเร็วสูงที่ดีเท่าจีน
    - ตลาดรถไฟฟ้าในโลก จีนคืออันดับหนึ่ง
    - เทคโนโลยีอวกาศของจีนแซงนาซ่าไปแล้ว จีนมีสถานีอวกาศของตัวเองที่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตก ในเวลาเดียวกันนี้พวกเขากำลังสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ที่โลกไม่เคยมองเห็น
    blablablabla......
    .
    ที่ร่ายมานี่ สงครามนี้จะลงเอยยังไง คนไทยก็ซวยอยู่ดี ขอให้รู้ไว้เถอะ
    ยิ่งไปเลียมัน พวกแกก็ยิ่งเจ็บตัวหนัก
    แจกฟรีแล้วยังไม่ได้อะไรแบบเวียตนามเอาไหม
    เจ็บปวดหน่อย มันไม่ซื้อเรา ก็ไปขายคนอื่น
    ก็ให้มันเจ็บปวดบ้าง ด้วยการไม่ซื้อมัน
    เราตัวเล็ก ยักษ์ตีกันย่อมต้องโดนลูกหลง
    ต้องเอาความตัวเล็กมาเป็นความได้เปรียบ
    และเรามีความอุดมสมบูรณ์เป็นทรัพย์สมบัติ
    ใครมีไก่ มีไข่ มีผัก มีปลา คุณรอดแล้ว
    ให้พรุ่งนี้แม่งยิงปรมาณูกันก็เถอะ
    ส่วนไอ้พวกโง่ ไอ้พวกเด็กเมื่อวาน เชื่อแต่เรื่องไร้สาระ
    ไม่ดูแลป้องกันประเทศ ชักนำภัยเข้าสู่ชาติบ้านเมือง
    มึงตายแน่ มีสาเหตุให้มึงตายเป็นร้อยเหตุ
    ในท่ามกลางความตึงเครียดของการขึ้นภาษีของทรัมพ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะกับจีนที่ตามมาด้วยการตอบโต้อย่างถึงพริกถึงขิง เขาพูดกัน "นี่คือสงครามการค้า" เหล่าบรรดาข้าทาสผู้สวามิภักดิ์ใต้อุ้งตีนอเมริกาพากันถ่มถุย "จีนจะต้องย่อยยับในคราวนี้"...... . พวกนี้ไม่ได้สำเหนียกในข้อเท็จจริงที่ว่า ประชากรจีนโพ้นทะเล กระจายไปในโลกตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปแล้ว ก่อนยุคการล่าอาณานิคม ประชากรจีนโพ้นทะเลก็อยู่ในทุกแห่งหน ทำงานหนักและขยันขันแข็ง อดทน ไม่เกี่ยงความลำบาก พรสวรรค์ในด้านการค้าขายเป็นที่ประจักษ์เพราะฝังรากลึกอยู่ในทุกดินแดน เส้นทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณคือเส้นทางสายไหมของจีน พวกเขาไม่ได้ไปด้วยการรุกราน ยึดครองดินแดนต่างๆ ด้วยแสนยานุภาพ แต่พวกเขาแพร่กระจายไปพร้อมกับแรงงานและการค้าขาย และมักตั้งตัวขึ้นมากลายเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่งกว่าชนชาติอื่นอยู่ในทุกทวีป . ก่อนการออกท่องสมุทรไปของพ่อค้าชาวยุโรปและอาหรับ นายพลเรือผู้หนึ่งของจีนนาม เจิ้งเหอ ออกเดินทางสมุทรยาตราด้วยกองเรือมหาสมบัติที่มีขนาดมหึมากว่าสามร้อยลำ ออกค้าขายไปทั่วทุกคาบสมุทร นักวิชาการหลายคนสันนิษฐานว่ากองเรือของเขาอาจไปถึงทวีปอเมริกาก่อนใคร แต่ไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์ดินแดนที่เขาเดินทางไปถึงก็ชัดเจนแจ่มแจ้งมากพอถึงความยิ่งใหญ่ของความรู้และพรสวรรค์ทางการค้า . ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1405 ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง.. เจิ้งเหอ ออกเดินทางเพื่อทำการค้าและสำรวจโลกทั้งสิ้น 7 ครั้ง ยาวนานและกินเวลาราว 28 ปี ไปถึงดินแดนต่างๆ ราว 37 ประเทศ ท่องมหาสมุทรไปมากกว่า 50,000 กิโลเมตร เรือสำเภา "เป่าฉวน" หรือที่เรียกว่าเรือมหาสมบัติของเขา ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง มันมีขนาดราว 400 ฟุต ใหญ่กว่าเรือซานตามาเรียของโคลัมบัสซึ่งยาวแค่ 85 ฟุตถึง 5 เท่า กองเรือของเขาประกอบด้วยเรือขนาดใหญ่ 60 ลำ และเรือขนาดเล็กอีก 255 ลำ ประมาณว่ามีลูกเรือทั้งหมดกว่า 27,870 คน เดินทางผ่านชายฝั่งฟุเกี้ยน ท่องไปยังอาณาจักรต่างๆ เช่น จามปา เสียนหลอ (สยาม) มะละกา สมุทรา ชวา สุมาตรา ลังกา กาลิกัต... ผ่านทะเลอันดามัน เลาะฝั่งทะเลตะวันออกของชมพูทวีปเพื่อซื้อขายเครื่องเทศ ไปจนถึงเปอร์เซียและแอฟริกา หลักฐานปรากฏให้เห็นจากบันทึก ภาพเขียน และจากเครื่องบรรณาการที่เขานำกลับไปถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งได้รวมเอา สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ ซึ่งเป็นสัตว์จากดินแดนเหล่านั้น . เจิ้งเหอ เดิมแช่หม่า เป็นมุสลิมเชื้อสายตระกูลขุนนางใหญ่จากอุซเบกที่อาศัยในยูนนาน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ ต่อมาจักรพรรดิหย่งเล่อพระราชทานแซ่เจิ้ง จากบันทึกประมาณเวลาว่าเขามาถึงอยุธยาราวรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แต่คนไทยรู้จักในอีกชื่อว่า เจ้าพ่อซำปอกง ซึ่ง ซำปอกง นี้เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา วัดที่มีชื่อว่าวัดซำปอกงหรือวัดพนัญเชิงวรวิหารในจังหวัดอยุธยานี้ เขาเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนั้นยังพบหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธด้วยการถวายพระสูตรให้แก่วัดเก้าแห่ง แต่กระนั้น เจิ้งเหอเมื่อวายชนม์ก็ยังมีสถานะเป็นมุสลิม เพราะมีสุสานอย่างมุสลิมอยู่บนภูเขาที่นานกิง เขาเสียชีวิตที่อินเดียในปี 1432 เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะทัศนคติที่เปิดกว้างทางศาสนาของเขา จึงทำให้เขาเข้าไปมีส่วนในการยุติความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างศาสนาอิสลามของพ่อค้าและศาสนาพื้นถิ่นตามเมืองท่าต่างๆ ที่เขาผ่านไปหลายแห่ง ทำให้เมืองท่าเหล่านั้นยอมรับในความหลากหลายทางศาสนามากขึ้น . เจิ้งเหอแม้จะเป็นขันที แต่พี่ชายของเขาได้ยกลูกชายและลูกสาวให้แก่เขา ปัจจุบันนี้มีทายาทในสกุลเจิ้งของเขาบางส่วนจากครอบครัวของทายาทรุ่นหลังที่ชื่อ เจิ้งชงหลิ่ง ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย พวกเขายังคงเป็นมุสลิม ในหลวงรัชกาลที่หกพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ เจิ้งชงหลิ่ง ว่า ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ ลูกหลานของเขาใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ . รูปปั้นหินที่เห็นจากภาพประกอบ เป็นอนุสาวรีย์ของเจิ้งเหอที่มะละกา ประเทศมาเลเซีย อย่างที่เคยเล่า มีหลักฐานว่าเมืองท่าโบราณแห่งนี้เขาเป็นคนตั้งขึ้น . เรื่องของเจิ้งเหอ ยังถูกหยิบมาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยนายพลเรือดำน้ำคนหนึ่งของราชนาวีอังกฤษ ชื่อ Gavin Menzies ที่ซึ่งปกติเรือดำน้ำของเขามีหน้าที่ลาดตระเวณไปทั่วโลกด้วยการดำอย่างเงียบเชียบ แต่คิดว่าเขาคงจะว่างมากนั่นแหละในภาวะที่โลกในช่วงนั้นไม่มีความตึงเครียด เขาจึงเปลี่ยนมาลอยลำวิ่งบนผิวน้ำแล้วเริ่มวิเคราะห์ทัศนียภาพชายฝั่งเทียบกับแผนที่โบราณต่างๆ ซึ่งต่อมามันนำมาด้วยสมมุติฐานของเขาที่เขย่าโลกว่า นักเดินเรือฝรั่งในยุคแรกๆ ของ Maritime เช่น วาสโกเดอกามา เจ้าชายเฮนรี่ โคลัมบัส..ฯ ล้วนเดินเรือด้วยแผนที่ที่คัดลอกมาจากแผนที่ของกองเรือเจิ้งเหอ เขาเขียนหนังสือยาว 500 หน้าชื่อ 1421 และแน่นอนว่า นี่เป็นการทำให้ประวัติศาสตร์การท่องสมุทรของชาวยุโรปเสื่อมเสียไปจากค่านิยมเดิม เกวิน เมนซีส์ถูกถล่มจากนักวิชาการตะวันตกแบบรุมสกรัม แต่น้าแกไม่สน หนังสือของแกติดอันดับขายดีมากอย่างรวดเร็ว และเขายักไหล่ใส่ "พวกคุณจะต่อต้านอย่างไรก็ว่าไป แต่ประชาชนอยู่กับผม..." . กลับไปที่จั่วหัว... อย่างที่เห็น พรสวรรค์ในด้านการค้าของจีนนั้น เป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์โลกนับพันปี ชาติยุโรปลืมข้อเท็จจริงว่านวัตกรรมมากมายที่พวกเขาใช้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน โดยเฉพาะแสนยานุภาพที่พวกฝรั่งนำไปใช้พิชิตชนชาติที่อ่อนแอกว่าอย่างเช่น ดินปืน ถ้าไม่มีดินปืน ก็ไม่มีปืน ไม่มีระเบิด นอกจากนั้นพวกตะวันตกยังโขมยความรู้จากจีนทุกวิถีทางตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล โขมยแม้กระทั่งใบชา และพวกยุโรปรู้ดีว่าไม่อาจเอาชนะจีนอย่างขาวสะอาดได้ จึงใช้กลยุทธอันต่ำช้าด้วยการมอมเมาจีนด้วยฝิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นบทเรียนที่จีนไม่เคยลืม และเตรียมตัวให้พร้อมมาตลอดนับสิบปีของการปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู . สงครามการค้าในตอนนี้ ที่ซึ่ง... - จีนถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่ 759,000 ล้านดอลลาร์ - สหรัฐเป็นหนี้จีนอยู่อีกมหาศาลและไม่มีปัญญาใช้คืน - ซัพพลายเชนมากมายของสหรัฐมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ - แรงงานในสหรัฐแทบไม่มีเลย แถมราคาแพงและไม่มีคุณภาพ จะผลิตอะไรเองก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาทักษะอีกนาน -ใครจะมาลงทุนเปิดโรงงานในอเมริกา ในเมื่อค่าแรงจะแพงมากแต่ด้อยทักษะ ง่อยและทำอะไรเองไม่เป็นมานานแล้ว - ถ้าแกผลิตเองไม่ได้แต่เที่ยวโขกภาษีจากคู่ค้าชาติอื่น สิ่งของที่คนอเมริกันต้องใช้ จะต้องจ่ายแพงทบทวี แม้กระทั่งกระดาษเช็ดขี้ที่พวกเอ็งเคยชักดิ้นชักงอเมื่อมันขาดตลาดตอนช่วงโควิดระบาด - ไอ้เบื้อกพวกนี้คงจำไม่ได้ว่าช่วงโควิด จีนห้ามเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่า จนพวกนี้ไปออกันอยู่กลางทะเลหลายพันลำ เดือดร้อนชิบหายวายป่วง แต่จีนไม่เดือดร้อนอะไร - จีนมีประชากร 1400 ล้านคน เขาซื้อขายกันเองก็พอจะอยู่กันได้แล้ว แต่วันนี้จีนแบนไม่ให้หนังฮอลลีวู๊ดเข้าฉายในประเทศ ลูกค้า 1400 ล้านคนหายไปกับตา เดี๋ยวคงตามมาด้วยการแบนแบรนด์อื่นอย่าง KFC McDonald... - กลายเป็นว่า คนอเมริกันจะกลายเป็นผู้ใช้ iPhone ที่ต้องจ่ายแพงกว่าใครในโลก เพราะมันผลิตในจีน คิดว่าอินเดียจะพร้อมในการเปิดโรงงานใหม่ในปีนี้หรือ? - จีนผลิตไมโครชิพเองแล้ว มีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพและความเร็วเหนือกว่าชิพของตะวันตก - จีนมีระบบปฏิบัติการโมบายล์ของจีนเองที่ทำงานได้ดีกว่าแอนดรอยด์เรียกว่า ฮาร์โมนี่ - จีนพัฒนาระบบเชื่อมต่อดาวเทียมเป๋ยโต่ที่ล้ำหน้ากว่าจีพีเอสของตะวันตกมาก - จีนพัฒนาระบบชื่อ Near Link ที่ล้ำหน้าระบบ Bluetooth ไปไกลกว่าหลายเท่า - เอไอจีนแซงเอไอของตะวันตกไปแล้วเช่นกัน - แสนยานุภาพจีนกำลังแซงตะวันตกทุกนาทีที่ผ่านไป - เส้นทางการค้าใหม่ที่เรียก One Belt One Road ครอบคลุมเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางที่สุดในโลก โดยที่จีนไม่จำเป็นต้องค้าขายกับอเมริกา - ความก้าวหน้าทางโลจิสติกของจีนแซงอเมริกาไปนานแล้ว ในโลกนี้ไม่มีใครมีระบบรถไฟความเร็วสูงที่ดีเท่าจีน - ตลาดรถไฟฟ้าในโลก จีนคืออันดับหนึ่ง - เทคโนโลยีอวกาศของจีนแซงนาซ่าไปแล้ว จีนมีสถานีอวกาศของตัวเองที่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตก ในเวลาเดียวกันนี้พวกเขากำลังสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ที่โลกไม่เคยมองเห็น blablablabla...... . ที่ร่ายมานี่ สงครามนี้จะลงเอยยังไง คนไทยก็ซวยอยู่ดี ขอให้รู้ไว้เถอะ ยิ่งไปเลียมัน พวกแกก็ยิ่งเจ็บตัวหนัก แจกฟรีแล้วยังไม่ได้อะไรแบบเวียตนามเอาไหม เจ็บปวดหน่อย มันไม่ซื้อเรา ก็ไปขายคนอื่น ก็ให้มันเจ็บปวดบ้าง ด้วยการไม่ซื้อมัน เราตัวเล็ก ยักษ์ตีกันย่อมต้องโดนลูกหลง ต้องเอาความตัวเล็กมาเป็นความได้เปรียบ และเรามีความอุดมสมบูรณ์เป็นทรัพย์สมบัติ ใครมีไก่ มีไข่ มีผัก มีปลา คุณรอดแล้ว ให้พรุ่งนี้แม่งยิงปรมาณูกันก็เถอะ ส่วนไอ้พวกโง่ ไอ้พวกเด็กเมื่อวาน เชื่อแต่เรื่องไร้สาระ ไม่ดูแลป้องกันประเทศ ชักนำภัยเข้าสู่ชาติบ้านเมือง มึงตายแน่ มีสาเหตุให้มึงตายเป็นร้อยเหตุ
    0 Comments 0 Shares 937 Views 0 Reviews
  • ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568

    ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย

    การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว

    นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท

    #Newskit
    ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท #Newskit
    0 Comments 0 Shares 619 Views 0 Reviews
  • สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567

    ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น

    ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ

    ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก

    ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567 ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 633 Views 0 Reviews
  • เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand

    บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย

    เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่

    วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

    สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย

    ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่ วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 636 Views 0 Reviews
  • มาเลย์ถกไทย ทำรถไฟแพนเอเชีย

    หลังจากการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ล่าสุด นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย มีกำหนดพบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ในวันที่ 2 พ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย (PARN) และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาคการขนส่ง

    โดยโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานสุไหงโก-ลกแห่งที่ 2 ระหว่างด่าน ICQS รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่าน ICQS บูกิตกายูฮีตัม รัฐเคดะห์ กับด่านพรมแดนสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านปะลิสกับจังหวัดสตูล ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นในการพัฒนาทางรถไฟทั่วโลก โดยตระหนักถึงโอกาสสำคัญของทางรถไฟในแต่ละประเทศ และบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค

    การประชุมครั้งถัดไปจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความร่วมมือในภาคส่วนรถไฟระหว่างสองประเทศ ซึ่งขณะนี้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น แม้จะมีความร่วมมือระหว่างการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การยกระดับความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟเชิงยุทธศาสตร์เกิดขึ้นได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟระหว่างมาเลเซียและไทย จะสามารถเปิดเส้นทางข้ามอาเซียนและจีนได้ นำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลให้กับภูมิภาคอาเซียน

    มีรายงานว่า มาเลเซียกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าฮาลาลระหว่างมาเลเซียและจีน ระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ ยังสนับสนุนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปิดตลาดในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในภูมิภาคมองโกเลียใน ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียร่วมกับไทยและพันธมิตรจากจีน เปิดตัวโครงการ Asean Express นำร่องขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังเมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ผ่านประเทศไทยและลาว โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน

    สำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย มีจุดเริ่มต้นจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ 1. คุนหมิง–ต้าหลี่-รุ่ยลี่-ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ 2. คุนหมิง–ยวี่ซี-โม่หาน-เวียงจันทน์–กรุงเทพฯ 3. คุนหมิง–ยวี่ซี–เหอโขว่-ฮานอย-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ จากนั้นลงสู่ทางใต้ ผ่านประเทศมาเลเซีย ปลายทางประเทศสิงคโปร์

    #Newskit
    มาเลย์ถกไทย ทำรถไฟแพนเอเชีย หลังจากการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ล่าสุด นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย มีกำหนดพบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ในวันที่ 2 พ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย (PARN) และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาคการขนส่ง โดยโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานสุไหงโก-ลกแห่งที่ 2 ระหว่างด่าน ICQS รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่าน ICQS บูกิตกายูฮีตัม รัฐเคดะห์ กับด่านพรมแดนสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านปะลิสกับจังหวัดสตูล ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นในการพัฒนาทางรถไฟทั่วโลก โดยตระหนักถึงโอกาสสำคัญของทางรถไฟในแต่ละประเทศ และบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค การประชุมครั้งถัดไปจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความร่วมมือในภาคส่วนรถไฟระหว่างสองประเทศ ซึ่งขณะนี้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น แม้จะมีความร่วมมือระหว่างการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การยกระดับความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟเชิงยุทธศาสตร์เกิดขึ้นได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟระหว่างมาเลเซียและไทย จะสามารถเปิดเส้นทางข้ามอาเซียนและจีนได้ นำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลให้กับภูมิภาคอาเซียน มีรายงานว่า มาเลเซียกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าฮาลาลระหว่างมาเลเซียและจีน ระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ ยังสนับสนุนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปิดตลาดในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในภูมิภาคมองโกเลียใน ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียร่วมกับไทยและพันธมิตรจากจีน เปิดตัวโครงการ Asean Express นำร่องขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังเมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ผ่านประเทศไทยและลาว โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน สำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย มีจุดเริ่มต้นจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ 1. คุนหมิง–ต้าหลี่-รุ่ยลี่-ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ 2. คุนหมิง–ยวี่ซี-โม่หาน-เวียงจันทน์–กรุงเทพฯ 3. คุนหมิง–ยวี่ซี–เหอโขว่-ฮานอย-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ จากนั้นลงสู่ทางใต้ ผ่านประเทศมาเลเซีย ปลายทางประเทศสิงคโปร์ #Newskit
    0 Comments 0 Shares 724 Views 0 Reviews
  • คาดหมายอากาศทั่วไป
    ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน พ.ศ. 2568
    ในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทย สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย
    หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 26 – 28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลองช่วง

    ข้อควรระวัง
    ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วยตลอดช่วง
    สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
    ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
    ออกประกาศ 22 เมษายน 2568 12:00 น.
    คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน พ.ศ. 2568 ในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทย สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 26 – 28 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลองช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23 – 25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ออกประกาศ 22 เมษายน 2568 12:00 น.
    0 Comments 0 Shares 441 Views 0 Reviews
  • แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว

    ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน

    สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว

    ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย

    #Newskit
    แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย #Newskit
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 902 Views 0 Reviews
  • ไฟไหม้ท่อก๊าซ ชานเมืองมาเลเซีย

    วันที่ 1 เม.ย. ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมทั่วประเทศกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลฮารีรายออีดิลฟิตรี แต่สำหรับชาวบ้านในย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองอย่างปูตราไฮท์ส (Putra Heighs) ทางตอนใต้ของเมืองซูบังจายา รัฐสลังงอร์ ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 28 กิโลเมตร กลับต้องหวาดผวา เมื่อเวลา 08.10 น.ตามเวลาท้องถิ่น ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปิโตรนาส ก๊าซ เบอร์ฮัด ระเบิดและเกิดเพลิงลุกไหม้ขนาดใหญ่ขึ้น สูงกว่า 30 เมตร บริเวณถนนปูตราฮาร์โมนี่ ทำให้ชาวบ้านต่างพากันอพยพหนีตาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งแผลไฟไหม้ หายใจลำบาก การดับเพลิงใช้วิธีปิดวาล์วท่อก๊าซ 4 จุด ความยาว 32 กิโลเมตร เพื่อระงับการส่งก๊าซ ปล่อยให้ก๊าซที่ตกค้างค่อยๆ ลดลง และควบคุมเพลิงเอาไว้ได้เมื่อเวลา 15.45 น.

    หลังเพลิงสงบ พบหลุมขนาดใหญ่ประมาณ 70-80 ฟุต ลึก 32 ฟุต บ้านเรือนเสียหาย 235 หลัง ยานพาหนะ 399 คัน และทรัพย์สินเสียหายในรัศมี 500 เมตรจากจุดเกิดเหตุ มีผู้บาดเจ็บรวม 111 ราย อาการสาหัส 13 ราย ปานกลาง 55 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 43 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อีกทั้งมีผู้ประสบภัยอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวในมัสยิดต่างๆ รวม 485 คน และสภาเทศบาลเมืองซูบังจายา 44 คน นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศให้เงินช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 ริงกิต (38,300 บาท) แก่บ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และ 2,500 ริงกิต (19,200 บาท) แก่บ้านเรือนที่เสียหายบางส่วน

    ไวรัลบนโซเชียลมีเดียคาดว่าเกิดจากงานขุดดินเพื่อติดตั้งท่อส่งน้ำเสีย โครงการพัฒนาพื้นที่ใกล้กับจุดเกิดเหตุ แต่บริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) บริษัทจัดการน้ำเสียของมาเลเซียปฎิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง เป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาและผู้พัฒนาพื้นที่ สำหรับระบบท่อส่งก๊าซระยะทางกว่า 2,623 กิโลเมตร เริ่มต้นที่เมืองเกอร์เตะห์ รัฐตรังกานู เชื่อมต่อกับท่อก๊าซอีกเส้นหนึ่งที่เมืองเซกามัต รัฐยะโฮร์ ทอดยาวระหว่างรัฐเคดะห์ทางภาคเหนือ ถึงรัฐยะโฮร์ทางภาคใต้ และประเทศสิงคโปร์

    สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ความยาวรวม 4,255 กิโลเมตร โดยมีท่อบนบก ความยาว 2,119 กิโลเมตร เคยเกิดโศกนาฎกรรมท่อส่งก๊าซระเบิดที่ถนนหลวงแพ่ง ลาดกระบัง-ฉะเชิงเทรา ข้างสถานีตำรวจภูธรเปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2563 มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 52 ราย บ้านเรือนเสียหาย 9 หลัง รถจักรยานยนต์เสียหายกว่า 20 คัน ปตท. มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต รายละ 5 ล้านบาท บาดเจ็บสาหัส 5 แสนบาท รวมกว่า 26 ล้านบาท

    #Newskit
    ไฟไหม้ท่อก๊าซ ชานเมืองมาเลเซีย วันที่ 1 เม.ย. ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมทั่วประเทศกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลฮารีรายออีดิลฟิตรี แต่สำหรับชาวบ้านในย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองอย่างปูตราไฮท์ส (Putra Heighs) ทางตอนใต้ของเมืองซูบังจายา รัฐสลังงอร์ ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 28 กิโลเมตร กลับต้องหวาดผวา เมื่อเวลา 08.10 น.ตามเวลาท้องถิ่น ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปิโตรนาส ก๊าซ เบอร์ฮัด ระเบิดและเกิดเพลิงลุกไหม้ขนาดใหญ่ขึ้น สูงกว่า 30 เมตร บริเวณถนนปูตราฮาร์โมนี่ ทำให้ชาวบ้านต่างพากันอพยพหนีตาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งแผลไฟไหม้ หายใจลำบาก การดับเพลิงใช้วิธีปิดวาล์วท่อก๊าซ 4 จุด ความยาว 32 กิโลเมตร เพื่อระงับการส่งก๊าซ ปล่อยให้ก๊าซที่ตกค้างค่อยๆ ลดลง และควบคุมเพลิงเอาไว้ได้เมื่อเวลา 15.45 น. หลังเพลิงสงบ พบหลุมขนาดใหญ่ประมาณ 70-80 ฟุต ลึก 32 ฟุต บ้านเรือนเสียหาย 235 หลัง ยานพาหนะ 399 คัน และทรัพย์สินเสียหายในรัศมี 500 เมตรจากจุดเกิดเหตุ มีผู้บาดเจ็บรวม 111 ราย อาการสาหัส 13 ราย ปานกลาง 55 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 43 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อีกทั้งมีผู้ประสบภัยอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวในมัสยิดต่างๆ รวม 485 คน และสภาเทศบาลเมืองซูบังจายา 44 คน นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศให้เงินช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 ริงกิต (38,300 บาท) แก่บ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และ 2,500 ริงกิต (19,200 บาท) แก่บ้านเรือนที่เสียหายบางส่วน ไวรัลบนโซเชียลมีเดียคาดว่าเกิดจากงานขุดดินเพื่อติดตั้งท่อส่งน้ำเสีย โครงการพัฒนาพื้นที่ใกล้กับจุดเกิดเหตุ แต่บริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) บริษัทจัดการน้ำเสียของมาเลเซียปฎิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง เป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาและผู้พัฒนาพื้นที่ สำหรับระบบท่อส่งก๊าซระยะทางกว่า 2,623 กิโลเมตร เริ่มต้นที่เมืองเกอร์เตะห์ รัฐตรังกานู เชื่อมต่อกับท่อก๊าซอีกเส้นหนึ่งที่เมืองเซกามัต รัฐยะโฮร์ ทอดยาวระหว่างรัฐเคดะห์ทางภาคเหนือ ถึงรัฐยะโฮร์ทางภาคใต้ และประเทศสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ความยาวรวม 4,255 กิโลเมตร โดยมีท่อบนบก ความยาว 2,119 กิโลเมตร เคยเกิดโศกนาฎกรรมท่อส่งก๊าซระเบิดที่ถนนหลวงแพ่ง ลาดกระบัง-ฉะเชิงเทรา ข้างสถานีตำรวจภูธรเปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2563 มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 52 ราย บ้านเรือนเสียหาย 9 หลัง รถจักรยานยนต์เสียหายกว่า 20 คัน ปตท. มอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต รายละ 5 ล้านบาท บาดเจ็บสาหัส 5 แสนบาท รวมกว่า 26 ล้านบาท #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 682 Views 0 Reviews
  • 1 พ.ค.ต่างชาติต้องกรอก บัตรขาเข้าดิจิทัล TDAC

    หลังจากมาตรการยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวที่ด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มบัตรขาเข้าดิจิทัล (Thailand Digital Arrival Card) หรือ TDAC ทางออนไลน์ภายใน 3 วัน (รวมวันเดินทางมาถึง) ก่อนเข้าประเทศ แล้วนำอีเมลที่ได้รับพร้อมเอกสารการเดินทาง เช่น หนังสือเดินทาง ไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เพื่อยืนยันตัวตนก่อนเข้าประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2568 เป็นต้นไป

    แบบฟอร์ม TDAC กรอกได้ที่เว็บไซต์ https://tdac.immigration.go.th เท่านั้น โปรดระวังเว็บไซต์ปลอมหรือลอกเลียนแบบจากมิจฉาชีพ

    สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ให้เหตุผลว่า เพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยให้ทันสมัย และสอดคล้องกับกระแสโลกด้านเทคโนโลยีการเดินทางอัจฉริยะ โดยแบบฟอร์ม TDAC ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการเข้าประเทศของชาวต่างชาติ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่เจ้าหน้าที่ ตม. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนบัตรขาเข้าแบบกระดาษ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองเร็วขึ้น ใช้เอกสารน้อยลง และความปลอดภัยตามแนวชายแดนที่ดีขึ้น

    สำหรับวิธีการกรอกแบบฟอร์ม TDAC จะต้องกรอกล่วงหน้า 3 วันก่อนเดินทาง ให้กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อและนามสกุล สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล และข้อมูลหนังสือเดินทาง กับข้อมูลการเดินทาง ได้แก่ รหัสเที่ยวบิน (กรณีเดินทางด้วยเครื่องบิน) วัตถุประสงค์การเดินทาง ข้อมูลที่พำนักในประเทศไทย (เช่น ที่อยู่โรงแรม ที่อยู่บ้านพักอาศัย) และข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับบางประเทศ หลังจากกรอกแบบฟอร์มออนไลน์แล้วเสร็จ จะได้รับอีเมลตอบรับ ให้นำไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ ตม. พร้อมเอกสารการเดินทาง เมื่อมาถึงประเทศไทยเพื่อยืนยันตัวตน

    ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม TDAC ได้แก่ ชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านหรือเปลี่ยนเครื่องบินในประเทศไทย โดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง (Transfer / Transit) และชาวต่างชาติที่เข้าประเทศไทยโดยหนังสือผ่านแดน (Border Pass) อย่างไรก็ตาม บัตรขาเข้าดิจิทัลของประเทศไทยไม่ใช่วีซ่า หากนักท่องเที่ยวจากประเทศใด ไม่ได้รับการยกเว้นการขอวีซ่าเข้าประเทศไทย ให้ดำเนินการขอวีซ่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยกำหนดไว้

    อนึ่ง กระบวนการดังกล่าวคล้ายกับบัตรขาเข้าดิจิทัลบางประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ประเทศสิงคโปร์ Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ประเทศมาเลเซีย

    #Newskit
    1 พ.ค.ต่างชาติต้องกรอก บัตรขาเข้าดิจิทัล TDAC หลังจากมาตรการยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวที่ด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มบัตรขาเข้าดิจิทัล (Thailand Digital Arrival Card) หรือ TDAC ทางออนไลน์ภายใน 3 วัน (รวมวันเดินทางมาถึง) ก่อนเข้าประเทศ แล้วนำอีเมลที่ได้รับพร้อมเอกสารการเดินทาง เช่น หนังสือเดินทาง ไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เพื่อยืนยันตัวตนก่อนเข้าประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2568 เป็นต้นไป แบบฟอร์ม TDAC กรอกได้ที่เว็บไซต์ https://tdac.immigration.go.th เท่านั้น โปรดระวังเว็บไซต์ปลอมหรือลอกเลียนแบบจากมิจฉาชีพ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ให้เหตุผลว่า เพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยให้ทันสมัย และสอดคล้องกับกระแสโลกด้านเทคโนโลยีการเดินทางอัจฉริยะ โดยแบบฟอร์ม TDAC ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการเข้าประเทศของชาวต่างชาติ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่เจ้าหน้าที่ ตม. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทดแทนบัตรขาเข้าแบบกระดาษ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองเร็วขึ้น ใช้เอกสารน้อยลง และความปลอดภัยตามแนวชายแดนที่ดีขึ้น สำหรับวิธีการกรอกแบบฟอร์ม TDAC จะต้องกรอกล่วงหน้า 3 วันก่อนเดินทาง ให้กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อและนามสกุล สัญชาติ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล และข้อมูลหนังสือเดินทาง กับข้อมูลการเดินทาง ได้แก่ รหัสเที่ยวบิน (กรณีเดินทางด้วยเครื่องบิน) วัตถุประสงค์การเดินทาง ข้อมูลที่พำนักในประเทศไทย (เช่น ที่อยู่โรงแรม ที่อยู่บ้านพักอาศัย) และข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับบางประเทศ หลังจากกรอกแบบฟอร์มออนไลน์แล้วเสร็จ จะได้รับอีเมลตอบรับ ให้นำไปแสดงกับเจ้าหน้าที่ ตม. พร้อมเอกสารการเดินทาง เมื่อมาถึงประเทศไทยเพื่อยืนยันตัวตน ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม TDAC ได้แก่ ชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านหรือเปลี่ยนเครื่องบินในประเทศไทย โดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง (Transfer / Transit) และชาวต่างชาติที่เข้าประเทศไทยโดยหนังสือผ่านแดน (Border Pass) อย่างไรก็ตาม บัตรขาเข้าดิจิทัลของประเทศไทยไม่ใช่วีซ่า หากนักท่องเที่ยวจากประเทศใด ไม่ได้รับการยกเว้นการขอวีซ่าเข้าประเทศไทย ให้ดำเนินการขอวีซ่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยกำหนดไว้ อนึ่ง กระบวนการดังกล่าวคล้ายกับบัตรขาเข้าดิจิทัลบางประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ประเทศสิงคโปร์ Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ประเทศมาเลเซีย #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 849 Views 0 Reviews
More Results