• Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 82 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่ออิสราเอลรายงานว่า ไฟป่าที่กำลังลุกลามจนควบคุมไม่ได้ในอิสราเอลขณะนี้ นับเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดใน “ประวัติศาสตร์อิสราเอล”

    กองกำลังอิสราเอลประกาศอพยพผู้คนออกจากนิคม 5 แห่ง และมีคำสั่งปิดทางหลวงระหว่างเยรูซาเล็มและเทลอาวีฟ
    สื่ออิสราเอลรายงานว่า ไฟป่าที่กำลังลุกลามจนควบคุมไม่ได้ในอิสราเอลขณะนี้ นับเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดใน “ประวัติศาสตร์อิสราเอล” กองกำลังอิสราเอลประกาศอพยพผู้คนออกจากนิคม 5 แห่ง และมีคำสั่งปิดทางหลวงระหว่างเยรูซาเล็มและเทลอาวีฟ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 224 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ท่ามกลางบรรยากาศหรูหราและนางแบบสาวสวยในงานมหกรรมรถยนต์ในนครเซี่ยงไฮ้ ชายคนหนึ่งกลับปรากฏตัวโดยสวมเสื้อยีนส์ขาดๆ กางเกงธรรมดา และรองเท้าเก่าๆ ดูเหมือนคนหลงเข้ามาในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหรูหรา

    แต่เบื้องหลังรูปลักษณ์ซอมซ่อของเขา ชายผู้นี้คือหนึ่งในผู้ถือหุ้นของ Peace Hotel โรงแรมหรูเก่าแก่ระดับตำนานบนถนนนานกิงในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานและได้รับการยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราในจีน

    เสื้อยีนส์ที่ดูเหมือนจะขาดเกินรับได้นั้น เป็นสินค้าแฟชั่น Balenciaga แบรนด์เก่าแก่ร้อยกว่าปีของสเปน โดยเป็นรุ่น "乞丐装" หรือ "เสื้อสไตล์ขอทาน" ที่ผลิตเพียงสิบตัวทั่วโลก ตัวที่ชายผู้นี้สวมใส่มีราคาสูงถึง 250,000 หยวน (ประมาณ 1,250,000 บาท) ขณะเดียวกันป้ายห้อยเสื้อที่ดูเหมือนเป็นเพียงของตกแต่งธรรมดา กลับมีมูลค่ามหาศาลถึง 3,000,000 หยวน (ประมาณ 15,000,000 บาท)

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://m.mgronline.com/china/detail/9680000040062

    #MGROnline #Balenciaga
    เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ท่ามกลางบรรยากาศหรูหราและนางแบบสาวสวยในงานมหกรรมรถยนต์ในนครเซี่ยงไฮ้ ชายคนหนึ่งกลับปรากฏตัวโดยสวมเสื้อยีนส์ขาดๆ กางเกงธรรมดา และรองเท้าเก่าๆ ดูเหมือนคนหลงเข้ามาในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหรูหรา • แต่เบื้องหลังรูปลักษณ์ซอมซ่อของเขา ชายผู้นี้คือหนึ่งในผู้ถือหุ้นของ Peace Hotel โรงแรมหรูเก่าแก่ระดับตำนานบนถนนนานกิงในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานและได้รับการยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราในจีน • เสื้อยีนส์ที่ดูเหมือนจะขาดเกินรับได้นั้น เป็นสินค้าแฟชั่น Balenciaga แบรนด์เก่าแก่ร้อยกว่าปีของสเปน โดยเป็นรุ่น "乞丐装" หรือ "เสื้อสไตล์ขอทาน" ที่ผลิตเพียงสิบตัวทั่วโลก ตัวที่ชายผู้นี้สวมใส่มีราคาสูงถึง 250,000 หยวน (ประมาณ 1,250,000 บาท) ขณะเดียวกันป้ายห้อยเสื้อที่ดูเหมือนเป็นเพียงของตกแต่งธรรมดา กลับมีมูลค่ามหาศาลถึง 3,000,000 หยวน (ประมาณ 15,000,000 บาท) • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://m.mgronline.com/china/detail/9680000040062 • #MGROnline #Balenciaga
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 187 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำนานประวัติศาสตร์ EP.1: Little Round Top กลยุทธ์พลิกเกมของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์

    เรื่องราวเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1863 (พ.ศ.2406) ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา วันที่สองของสมรภูมิเก็ตตี้เบิร์ก ยุทธการนองเลือดที่จะตัดสินชะตากรรมของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณเนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของพันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลน (Joshua Lawrence Chamberlain) ได้เข้ามาตั้งรับในบริเวณปีกซ้ายสุดของกองทัพโพโต (Army of Potomac) แมคภายใต้การนำของนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด (George Gordon Meades) หากเสียที่มั่นตรงนี้ไป กองทัพโพโตแมคที่เหลือจะถูกกวาดล้างโดยกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ (Army of Northern Virginia) แห่งสมาพันธรัฐภายใต้การนำของนายพลโรเบิร์ต อี. ลี (Roberts E. Lee) ผู้เป็นตำนาน

    ในการสู้รบของวันนั้นกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของเขาได้เผชิญหน้ากับกรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 ภายใต้การนำของพันเอกวิลเลี่ยม ซี. โอทส์ (William C. Oates) พวกเขาต่อสู้กับทหารข้าศึกจนกระสุนเริ่มร่อยหรอลง จนหมดลงในที่สุด ในทีแรกนายทหารคนสนิทของเขา…ร้อยเอกเอลลิส สเปียร์ (Ellis Spear) จะขอให้เขาถอนกำลัง แต่พวกเขาคือที่มั่นสุดท้ายแล้ว เพราะหากพวกเขาถอยทัพและกองทัพฝ่ายเหนือทั้งหมดถูกกวาดล้าง กองทัพฝ่ายใต้จะเคลื่อนพลสู่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

    พันเอกแชมเบอร์เลนจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารที่เหลือทั้งหมดติดดาบปลายปืนเพื่อเตรียมเข้าชาร์จศัตรู โดยเขาได้นำหลักตรรกะศาสตร์ที่เขาถนัดมาใช้ด้วยเขาเรียกว่า “กลยุทธ์บานพับประตู” โดยให้กองร้อยปีกซ้ายภายใต้การนำของร้อยเอกสเปียร์โจมตีจากทางด้านข้าง (Flanking Maneuver) ขณะที่เขาและน้องชายของเขา…ร้อยโทโธมัส เดวี่ แชมเบอร์เลน (Thomas Davee Chamberlain) ได้นำกองร้อยปีกขวาโจมตีข้าศึกจากด้านหน้า (Frontal Assault)

    สาเหตุที่พันเอกแชมเบอร์เลนใช้วิธีนี้เพราะว่ากองทหารข้าศึกที่เข้าโจมตีพวกเขานั้นรบติดพันกับพวกเขามาทั้งวันและน่าจะเหนื่อยจากการเดินทัพขึ้นเนินเข้ามาตีพวกเขา (ตามบันทึกประวัติศาสตร์จากยุทธการเก็ตตี้เบิร์ก กรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 เดินทางมาถึงสนามรบในวันที่สองของการรบและถูกส่งเข้าตีปีกซ้ายของกองทัพสหภาพในทันทีตามคำสั่งของนายพลลี โดยที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้แม้แต่เติมน้ำดื่มก่อนออกรบเลย) ผลของการรบ…กรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 สามารถขับไล่กองทหารฝ่ายใต้ออกไปได้และสามารถจับเชลยศึกที่ตกตะลึงกับการบุกและหมดแรงเกินกว่าจะหนีได้เป็นจำนวนมาก ในช่วงของการบุกพันเอกแชมเบอร์เลนเกือบถูกยิงด้วยปืนลูกโม่จากนายทหารฝ่ายใต้นายนึง สุดท้ายเขาจับนายทหารคนนั้นและยึดปืนของเขามาได้

    จากวีรกรรมของเขาในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับทหารที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและระดับสูงสุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจเป็นการปูนบำเหน็จเพื่อยกย่องแก่ทหารในกองทัพสหรัฐที่มีชื่อเสียงโดดเด่น

    ภายหลังสงครามจบลง แชมเบอร์เลนออกจากกองทัพ และด้วยชื่อเสียงของเขา เขาได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเมน เขาชนะการเลือกตั้งถึงสี่สมัย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1866-1869 (พ.ศ.2409-2412) โดยเขาสังกัดพรรครีพับลิกัน และในปี ค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) เขาได้กลายมาเป็นอธิการบดีแห่งวิทยาลัยโบว์ดินที่เขาเคยสอนอยู่

    พันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลนเสียชีวิตลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในวัย 85ปี ที่เมืองพอร์ทแลนด์, รัฐเมน, สหรัฐฯ เป็นอันปิดตำนานของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์

    เรื่องราวของเขาและน้องชายของเขาได้ถูกนำไปตีแผ่ลงในนิยายเรื่อง The Killer Angels (1974) โดยนักเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นาม…ไมเคิล ชารา ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง Gettysburg (1993) และอีกครั้งในนวนิยายเรื่อง God and Generals (1996) ที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2003 ในชื่อเดียวกัน ทั้งสองเรื่องนักแสดงผู้รับบทพันเอกแชมเบอร์เลนคือ เจฟ แดเนียล

    (เพิ่มเติม: ฉากการต่อสู้ที่เนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปในภาพยนตร์ Gettysburg 1993 แอดบอกได้เลยว่าสนุกมาก)
    ตำนานประวัติศาสตร์ EP.1: Little Round Top กลยุทธ์พลิกเกมของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์ เรื่องราวเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1863 (พ.ศ.2406) ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา วันที่สองของสมรภูมิเก็ตตี้เบิร์ก ยุทธการนองเลือดที่จะตัดสินชะตากรรมของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณเนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของพันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลน (Joshua Lawrence Chamberlain) ได้เข้ามาตั้งรับในบริเวณปีกซ้ายสุดของกองทัพโพโต (Army of Potomac) แมคภายใต้การนำของนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด (George Gordon Meades) หากเสียที่มั่นตรงนี้ไป กองทัพโพโตแมคที่เหลือจะถูกกวาดล้างโดยกองทัพเวอร์จิเนียเหนือ (Army of Northern Virginia) แห่งสมาพันธรัฐภายใต้การนำของนายพลโรเบิร์ต อี. ลี (Roberts E. Lee) ผู้เป็นตำนาน ในการสู้รบของวันนั้นกรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 ภายใต้การนำของเขาได้เผชิญหน้ากับกรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 ภายใต้การนำของพันเอกวิลเลี่ยม ซี. โอทส์ (William C. Oates) พวกเขาต่อสู้กับทหารข้าศึกจนกระสุนเริ่มร่อยหรอลง จนหมดลงในที่สุด ในทีแรกนายทหารคนสนิทของเขา…ร้อยเอกเอลลิส สเปียร์ (Ellis Spear) จะขอให้เขาถอนกำลัง แต่พวกเขาคือที่มั่นสุดท้ายแล้ว เพราะหากพวกเขาถอยทัพและกองทัพฝ่ายเหนือทั้งหมดถูกกวาดล้าง กองทัพฝ่ายใต้จะเคลื่อนพลสู่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พันเอกแชมเบอร์เลนจึงตัดสินใจสั่งให้ทหารที่เหลือทั้งหมดติดดาบปลายปืนเพื่อเตรียมเข้าชาร์จศัตรู โดยเขาได้นำหลักตรรกะศาสตร์ที่เขาถนัดมาใช้ด้วยเขาเรียกว่า “กลยุทธ์บานพับประตู” โดยให้กองร้อยปีกซ้ายภายใต้การนำของร้อยเอกสเปียร์โจมตีจากทางด้านข้าง (Flanking Maneuver) ขณะที่เขาและน้องชายของเขา…ร้อยโทโธมัส เดวี่ แชมเบอร์เลน (Thomas Davee Chamberlain) ได้นำกองร้อยปีกขวาโจมตีข้าศึกจากด้านหน้า (Frontal Assault) สาเหตุที่พันเอกแชมเบอร์เลนใช้วิธีนี้เพราะว่ากองทหารข้าศึกที่เข้าโจมตีพวกเขานั้นรบติดพันกับพวกเขามาทั้งวันและน่าจะเหนื่อยจากการเดินทัพขึ้นเนินเข้ามาตีพวกเขา (ตามบันทึกประวัติศาสตร์จากยุทธการเก็ตตี้เบิร์ก กรมทหารราบรัฐอะแลบามาที่ 15 เดินทางมาถึงสนามรบในวันที่สองของการรบและถูกส่งเข้าตีปีกซ้ายของกองทัพสหภาพในทันทีตามคำสั่งของนายพลลี โดยที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้แม้แต่เติมน้ำดื่มก่อนออกรบเลย) ผลของการรบ…กรมทหารราบรัฐเมนที่ 20 สามารถขับไล่กองทหารฝ่ายใต้ออกไปได้และสามารถจับเชลยศึกที่ตกตะลึงกับการบุกและหมดแรงเกินกว่าจะหนีได้เป็นจำนวนมาก ในช่วงของการบุกพันเอกแชมเบอร์เลนเกือบถูกยิงด้วยปืนลูกโม่จากนายทหารฝ่ายใต้นายนึง สุดท้ายเขาจับนายทหารคนนั้นและยึดปืนของเขามาได้ จากวีรกรรมของเขาในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สำหรับทหารที่มีชื่อเสียงเกียรติยศและระดับสูงสุดในสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจเป็นการปูนบำเหน็จเพื่อยกย่องแก่ทหารในกองทัพสหรัฐที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ภายหลังสงครามจบลง แชมเบอร์เลนออกจากกองทัพ และด้วยชื่อเสียงของเขา เขาได้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐเมน เขาชนะการเลือกตั้งถึงสี่สมัย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1866-1869 (พ.ศ.2409-2412) โดยเขาสังกัดพรรครีพับลิกัน และในปี ค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) เขาได้กลายมาเป็นอธิการบดีแห่งวิทยาลัยโบว์ดินที่เขาเคยสอนอยู่ พันเอกโจชัวร์ ลอว์เรน แชมเบอร์เลนเสียชีวิตลงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในวัย 85ปี ที่เมืองพอร์ทแลนด์, รัฐเมน, สหรัฐฯ เป็นอันปิดตำนานของพันเอกอาจารย์มหาวิทยาลัยสายวาทศาสตร์ เรื่องราวของเขาและน้องชายของเขาได้ถูกนำไปตีแผ่ลงในนิยายเรื่อง The Killer Angels (1974) โดยนักเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นาม…ไมเคิล ชารา ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง Gettysburg (1993) และอีกครั้งในนวนิยายเรื่อง God and Generals (1996) ที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2003 ในชื่อเดียวกัน ทั้งสองเรื่องนักแสดงผู้รับบทพันเอกแชมเบอร์เลนคือ เจฟ แดเนียล (เพิ่มเติม: ฉากการต่อสู้ที่เนินลิตเติ้ลราวด์ท็อปในภาพยนตร์ Gettysburg 1993 แอดบอกได้เลยว่าสนุกมาก)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ สตับบ์ (Alexander Stubb) ประธานาธิบดีฟินแลนด์ แนะเซเลนสกีว่า ถึงเวลาอาจต้องยอมสูญเสียดินแดน เพื่อรับประกันความอยู่รอดของยูเครน และเพื่อต่อรองกับการแลกการสนับสนุนทางทหารจากยุโรป

    สตับบ์ได้ยกตัวอย่างประวัติศาสตร์อันแสนเศร้าของฟินแลนด์ เขาเท้าความซึ่งเข้าร่วมนาซีเยอรมนี รุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 เพื่อทวงคืนดินแดนที่พวกเขาสูญเสียไปในช่วงสงครามฤดูหนาวก่อนหน้านั้น แต่ผลลัพธ์ไม่เป็นดังหวัง พวกเขาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามอีกครั้ง ทำให้ฟินแลนด์ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านการทหารต่างๆนานา และต้องวางตัวเป็นกลางระหว่างสงครามเย็น จนกระทั่งเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2023

    สตับบ์ พยายามชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยังที่ได้จากรัสเซีย นับว่าดีกว่าฟินแลนด์มาก โดยกล่าวว่า "ถ้าเราได้อย่างน้อยๆ 2 ใน 3 สำหรับยูเครน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เยี่ยมแล้ว"
    ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ สตับบ์ (Alexander Stubb) ประธานาธิบดีฟินแลนด์ แนะเซเลนสกีว่า ถึงเวลาอาจต้องยอมสูญเสียดินแดน เพื่อรับประกันความอยู่รอดของยูเครน และเพื่อต่อรองกับการแลกการสนับสนุนทางทหารจากยุโรป สตับบ์ได้ยกตัวอย่างประวัติศาสตร์อันแสนเศร้าของฟินแลนด์ เขาเท้าความซึ่งเข้าร่วมนาซีเยอรมนี รุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 เพื่อทวงคืนดินแดนที่พวกเขาสูญเสียไปในช่วงสงครามฤดูหนาวก่อนหน้านั้น แต่ผลลัพธ์ไม่เป็นดังหวัง พวกเขาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามอีกครั้ง ทำให้ฟินแลนด์ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านการทหารต่างๆนานา และต้องวางตัวเป็นกลางระหว่างสงครามเย็น จนกระทั่งเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2023 สตับบ์ พยายามชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยังที่ได้จากรัสเซีย นับว่าดีกว่าฟินแลนด์มาก โดยกล่าวว่า "ถ้าเราได้อย่างน้อยๆ 2 ใน 3 สำหรับยูเครน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เยี่ยมแล้ว"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 209 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🎉 เที่ยวโรมาเนีย-บัลแกเรีย กับเทศกาลกุหลาบสุดโรแมนติก 🌹
    #ROSEFestival 11 วัน 8 คืน

    ✈️ โดยสายการบิน Qatar Airways (QR)
    📅 เดินทาง 3-13 มิ.ย. 68
    💸 ราคาเพียง 109,900.-

    🌍 เส้นทางไฮไลต์:
    🏰 ปราสาทเปเลส & ปราสาทบราน
    🌆 เที่ยวเมืองโบราณซิบิว บราซอฟ และโซเฟีย
    🕌 ชมอารามรีล่า มรดกโลกยูเนสโก
    🌹 ร่วมงานเทศกาลดอกกุหลาบที่คาซานลัค
    🏛️ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบัลแกเรีย

    📌 ครบทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และเทศกาลสุดพิเศษ!


    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e45146

    ดูทัวร์ยุโรปทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/7e5d16

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์ยุโรป #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #บัลแกเรีย #โรมาเนีย #เทศกาลดอกกุหลาบ #RoseFestival2025 #เที่ยวกับเรา #QRสายการบินหรู #ทัวร์ยุโรปตะวันออก #เที่ยวหน้าร้อน #SummerTrip #รีล่าอาราม #PelesCastle #BranCastle 🌷
    🎉 เที่ยวโรมาเนีย-บัลแกเรีย กับเทศกาลกุหลาบสุดโรแมนติก 🌹 #ROSEFestival 11 วัน 8 คืน ✈️ โดยสายการบิน Qatar Airways (QR) 📅 เดินทาง 3-13 มิ.ย. 68 💸 ราคาเพียง 109,900.- 🌍 เส้นทางไฮไลต์: 🏰 ปราสาทเปเลส & ปราสาทบราน 🌆 เที่ยวเมืองโบราณซิบิว บราซอฟ และโซเฟีย 🕌 ชมอารามรีล่า มรดกโลกยูเนสโก 🌹 ร่วมงานเทศกาลดอกกุหลาบที่คาซานลัค 🏛️ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบัลแกเรีย 📌 ครบทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และเทศกาลสุดพิเศษ! ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e45146 ดูทัวร์ยุโรปทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/7e5d16 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์ยุโรป #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #บัลแกเรีย #โรมาเนีย #เทศกาลดอกกุหลาบ #RoseFestival2025 #เที่ยวกับเรา #QRสายการบินหรู #ทัวร์ยุโรปตะวันออก #เที่ยวหน้าร้อน #SummerTrip #รีล่าอาราม #PelesCastle #BranCastle 🌷
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🎉 เที่ยวโรมาเนีย-บัลแกเรีย กับเทศกาลกุหลาบสุดโรแมนติก 🌹
    #ROSEFestival 11 วัน 8 คืน

    ✈️ โดยสายการบิน Qatar Airways (QR)
    📅 เดินทาง 3-13 มิ.ย. 68
    💸 ราคาเพียง 109,900.-

    🌍 เส้นทางไฮไลต์:
    🏰 ปราสาทเปเลส & ปราสาทบราน
    🌆 เที่ยวเมืองโบราณซิบิว บราซอฟ และโซเฟีย
    🕌 ชมอารามรีล่า มรดกโลกยูเนสโก
    🌹 ร่วมงานเทศกาลดอกกุหลาบที่คาซานลัค
    🏛️ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบัลแกเรีย

    📌 ครบทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และเทศกาลสุดพิเศษ!


    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e45146

    ดูทัวร์ยุโรปทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/7e5d16

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์ยุโรป #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #บัลแกเรีย #โรมาเนีย #เทศกาลดอกกุหลาบ #RoseFestival2025 #เที่ยวกับเรา #QRสายการบินหรู #ทัวร์ยุโรปตะวันออก #เที่ยวหน้าร้อน #SummerTrip #รีล่าอาราม #PelesCastle #BranCastle 🌷
    🎉 เที่ยวโรมาเนีย-บัลแกเรีย กับเทศกาลกุหลาบสุดโรแมนติก 🌹 #ROSEFestival 11 วัน 8 คืน ✈️ โดยสายการบิน Qatar Airways (QR) 📅 เดินทาง 3-13 มิ.ย. 68 💸 ราคาเพียง 109,900.- 🌍 เส้นทางไฮไลต์: 🏰 ปราสาทเปเลส & ปราสาทบราน 🌆 เที่ยวเมืองโบราณซิบิว บราซอฟ และโซเฟีย 🕌 ชมอารามรีล่า มรดกโลกยูเนสโก 🌹 ร่วมงานเทศกาลดอกกุหลาบที่คาซานลัค 🏛️ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบัลแกเรีย 📌 ครบทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และเทศกาลสุดพิเศษ! ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e45146 ดูทัวร์ยุโรปทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/7e5d16 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์ยุโรป #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #บัลแกเรีย #โรมาเนีย #เทศกาลดอกกุหลาบ #RoseFestival2025 #เที่ยวกับเรา #QRสายการบินหรู #ทัวร์ยุโรปตะวันออก #เที่ยวหน้าร้อน #SummerTrip #รีล่าอาราม #PelesCastle #BranCastle 🌷
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินเดียลงนามข้อตกลงมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์ (63,000 ล้านรูปี) กับฝรั่งเศสเพื่อซื้อเครื่องบินรบ Rafale-M จำนวน 26 ลำ ซึ่งถือเป็นสัญญาด้านกลาโหมมูลค่าสูงสุดสัญญาหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ

    การลงนามสัญญาเกิดขึ้นที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดียในกรุงนิวเดลี ราเจช กุมาร์ ซิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเป็นตัวแทนประเทศของตนในการลงนาม

    เครื่องบิน Rafale-M จำนวน 26 ลำ ที่อินเดียทำสัญญาสั่งซื้อครั้งนี้ เป็นเครื่องบินที่นั่งเดี่ยว 22 ลำ และเครื่องบินที่นั่งคู่ 4 ลำ

    หลังการส่งมอบ เครื่องเหล่านี้จะปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ของอินเดีย

    ในสัญญาการสั่งซื้อจะรวมแพ็คเกจสนับสนุนเต็มรูปแบบ: การบำรุงรักษา การฝึกอบรม โลจิสติกส์ และการสนับสนุนการผลิตในประเทศ

    การสั่งซื้อเครื่องบินดังกล่าว ทำให้ฝูงบิน Rafale ของอินเดียมีทั้งหมด 62 ลำ นับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญสำหรับการบินทางทะเลของอินเดีย!
    อินเดียลงนามข้อตกลงมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์ (63,000 ล้านรูปี) กับฝรั่งเศสเพื่อซื้อเครื่องบินรบ Rafale-M จำนวน 26 ลำ ซึ่งถือเป็นสัญญาด้านกลาโหมมูลค่าสูงสุดสัญญาหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ การลงนามสัญญาเกิดขึ้นที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดียในกรุงนิวเดลี ราเจช กุมาร์ ซิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเป็นตัวแทนประเทศของตนในการลงนาม เครื่องบิน Rafale-M จำนวน 26 ลำ ที่อินเดียทำสัญญาสั่งซื้อครั้งนี้ เป็นเครื่องบินที่นั่งเดี่ยว 22 ลำ และเครื่องบินที่นั่งคู่ 4 ลำ หลังการส่งมอบ เครื่องเหล่านี้จะปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ของอินเดีย ในสัญญาการสั่งซื้อจะรวมแพ็คเกจสนับสนุนเต็มรูปแบบ: การบำรุงรักษา การฝึกอบรม โลจิสติกส์ และการสนับสนุนการผลิตในประเทศ การสั่งซื้อเครื่องบินดังกล่าว ทำให้ฝูงบิน Rafale ของอินเดียมีทั้งหมด 62 ลำ นับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญสำหรับการบินทางทะเลของอินเดีย!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 192 มุมมอง 0 รีวิว
  • อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่

    ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย

    ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้

    ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง

    ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย)

    ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา

    ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก

    ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน)

    ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว!

    เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html
    https://lujuba.cc/709629.html
    http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html
    https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531
    https://www.52lishi.com/article/47277.html
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
    อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่ ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้ ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย) ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน) ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว! เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html https://lujuba.cc/709629.html http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531 https://www.52lishi.com/article/47277.html http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693 #สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
    ENT.SINA.CN
    《梦华录》导演杨阳专访:不走套路,不做行活
    《梦华录》导演杨阳专访:不走套路,不做行活
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 284 มุมมอง 0 รีวิว
  • **มหากาพย์ข้ามภพ: สายธารแห่งธรรม*

    ---

    ### **บทที่ 5: เงาสะท้อนจากกาลเวลา**

    ราเชศยืนอยู่หน้าห้องเก็บของเก่า มือสั่นเทาขณะเปิดสมุดโบราณที่เพิ่งค้นพบ
    "บันทึกของสุทัตตะ...?"

    ตัวอักษรจารึกบนใบลานเริ่มเลือนราง แต่ความรู้สึกกลับชัดเจนราวกับมีใครมาเขียนเพิ่มในใจเขา:

    _"วันนี้ นันทาเถียงเรื่องฉันให้ผ้าแม่ชีจนร้านขาดทุน...
    แต่ในสายตาเธอ ฉันเห็นความกลัวว่าเราจะจนเหมือนตอนเด็ก"_

    นันดินีที่แอบมองอยู่สะดุ้ง
    "นั่น...นั่นคือความคิดของฉันตอนเห็นแม่ป่วยเพราะไม่มีเงินรักษาตัว!"

    แสงแดดยามเช้าส่องผ่านหน้าต่างโบสถ์เก่า
    ร่างเงาของทั้งคู่บนพื้น ปรากฏเป็นภาพ **สุทัตตะกับนันทาในชุดโบราณ**

    ---

    ### **บทที่ 6: ศิษย์ลึกลับแห่งเวฬุวัน**

    **อาจารย์ปกรณ์** นักประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ผู้ตามหาตำราสูญหาย
    เปิดเผยความลับให้ทั้งคู่ฟัง:

    "ผ้าผืนนั้นทอโดยพระนางพิมพา (พระมารดาของราหุล)
    มีอักขระธารณีปักไว้ด้วยเส้นผมของพระพุทธเจ้า..."

    แต่สิ่งที่ทำให้ทุกคนตะลึงคือ
    **ลายมือในสมุดบันทึกของสุทัตตะ กับของราเชศ...เหมือนกันทุกเส้น!**

    นันดินีจับมือราเชศไว้แน่น
    "นี่ไม่ใช่แค่ความบังเอิญ...เราถูกชักนำให้มาพบกัน"

    ---

    ### **บทที่ 7: ปริศนาธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์**

    กลางดึก ทั้งคู่หลับไปใต้ต้นโพธิ์หลังวัด
    และพบกับ **สุทัตตะกับนันทาในยุคปัจจุบัน**

    **นันทา (ในร่างนักธุรกิจหญิง):**
    "ชาติก่อนเราทะเลาะกันเพราะต่างไม่เข้าใจ...
    แต่ชาตินี้ ฉันเรียนรู้ที่จะฟังก่อนพูด"

    **สุทัตตะ (ในร่างอาจารย์มหาวิทยาลัย):**
    "ความเงียบของฉันไม่ใช่การหนีปัญหา...
    แต่คือการรอให้เธอพร้อมจะรับฟัง"

    ปรากฏการณ์ **"การพบกันของ 4 จิตวิญญาณ"**
    ทำให้ต้นโพธิ์โบราณผลิดอกออกช่อ
    ทั้งที่ควรจะเหี่ยวแห้งไปนานแล้ว

    ---

    ### **บทที่ 8: สายน้ำสามสายรวมเป็นหนึ่ง**

    ในพิธีมอบผ้าไหมให้พิพิธภัณฑ์
    **เส้นด้ายทั้งสามเริ่มแยกจากกัน:**

    1. สายทอง (ความทรงจำ) → กลายเป็นแสงส่องทาง
    2. สายแดง (กรรมเก่า) → ละลายเป็นน้ำมนต์
    3. สายขาว (การเริ่มใหม่) → ห่อหุ้มหัวใจทั้งสอง

    ราเชศเขียนจดหมายถึงนันดินี:
    _"ไม่สำคัญว่าเราเคยเป็นใคร...
    สำคัญว่าเราจะใช้บทเรียนนี้สร้างอะไร"_

    นันดินีตอบกลับด้วยการวาดภาพ
    **ร้านขายผ้าเก่า ที่มีเด็กๆ นั่งฟังธรรมใต้ต้นไม้ใหญ่**

    ---

    ### **บทส่งท้าย: ดวงประทีปแห่งสาวัตถี**

    ปีต่อมา บนถนนสายเก่าในสาวัตถี
    มี **ศูนย์การเรียนรู้ "สามสายธาร"**

    - **ห้องสมุดจิตวิทยาพุทธศาสตร์** โดยราเชศ
    - **สตูดิโอศิลปะบำบัด** ของนันดินี
    - **ร้านชาสมุนไพร** ของอาจารย์ปกรณ์

    ทุกเย็นวันพระ ทั้งสามจะนั่งร่วมวงเสวนา
    ใต้ต้นโพธิ์ที่ผลิใบใหม่...
    **มหากาพย์ข้ามภพ: สายธารแห่งธรรม* --- ### **บทที่ 5: เงาสะท้อนจากกาลเวลา** ราเชศยืนอยู่หน้าห้องเก็บของเก่า มือสั่นเทาขณะเปิดสมุดโบราณที่เพิ่งค้นพบ "บันทึกของสุทัตตะ...?" ตัวอักษรจารึกบนใบลานเริ่มเลือนราง แต่ความรู้สึกกลับชัดเจนราวกับมีใครมาเขียนเพิ่มในใจเขา: _"วันนี้ นันทาเถียงเรื่องฉันให้ผ้าแม่ชีจนร้านขาดทุน... แต่ในสายตาเธอ ฉันเห็นความกลัวว่าเราจะจนเหมือนตอนเด็ก"_ นันดินีที่แอบมองอยู่สะดุ้ง "นั่น...นั่นคือความคิดของฉันตอนเห็นแม่ป่วยเพราะไม่มีเงินรักษาตัว!" แสงแดดยามเช้าส่องผ่านหน้าต่างโบสถ์เก่า ร่างเงาของทั้งคู่บนพื้น ปรากฏเป็นภาพ **สุทัตตะกับนันทาในชุดโบราณ** --- ### **บทที่ 6: ศิษย์ลึกลับแห่งเวฬุวัน** **อาจารย์ปกรณ์** นักประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ผู้ตามหาตำราสูญหาย เปิดเผยความลับให้ทั้งคู่ฟัง: "ผ้าผืนนั้นทอโดยพระนางพิมพา (พระมารดาของราหุล) มีอักขระธารณีปักไว้ด้วยเส้นผมของพระพุทธเจ้า..." แต่สิ่งที่ทำให้ทุกคนตะลึงคือ **ลายมือในสมุดบันทึกของสุทัตตะ กับของราเชศ...เหมือนกันทุกเส้น!** นันดินีจับมือราเชศไว้แน่น "นี่ไม่ใช่แค่ความบังเอิญ...เราถูกชักนำให้มาพบกัน" --- ### **บทที่ 7: ปริศนาธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์** กลางดึก ทั้งคู่หลับไปใต้ต้นโพธิ์หลังวัด และพบกับ **สุทัตตะกับนันทาในยุคปัจจุบัน** **นันทา (ในร่างนักธุรกิจหญิง):** "ชาติก่อนเราทะเลาะกันเพราะต่างไม่เข้าใจ... แต่ชาตินี้ ฉันเรียนรู้ที่จะฟังก่อนพูด" **สุทัตตะ (ในร่างอาจารย์มหาวิทยาลัย):** "ความเงียบของฉันไม่ใช่การหนีปัญหา... แต่คือการรอให้เธอพร้อมจะรับฟัง" ปรากฏการณ์ **"การพบกันของ 4 จิตวิญญาณ"** ทำให้ต้นโพธิ์โบราณผลิดอกออกช่อ ทั้งที่ควรจะเหี่ยวแห้งไปนานแล้ว --- ### **บทที่ 8: สายน้ำสามสายรวมเป็นหนึ่ง** ในพิธีมอบผ้าไหมให้พิพิธภัณฑ์ **เส้นด้ายทั้งสามเริ่มแยกจากกัน:** 1. สายทอง (ความทรงจำ) → กลายเป็นแสงส่องทาง 2. สายแดง (กรรมเก่า) → ละลายเป็นน้ำมนต์ 3. สายขาว (การเริ่มใหม่) → ห่อหุ้มหัวใจทั้งสอง ราเชศเขียนจดหมายถึงนันดินี: _"ไม่สำคัญว่าเราเคยเป็นใคร... สำคัญว่าเราจะใช้บทเรียนนี้สร้างอะไร"_ นันดินีตอบกลับด้วยการวาดภาพ **ร้านขายผ้าเก่า ที่มีเด็กๆ นั่งฟังธรรมใต้ต้นไม้ใหญ่** --- ### **บทส่งท้าย: ดวงประทีปแห่งสาวัตถี** ปีต่อมา บนถนนสายเก่าในสาวัตถี มี **ศูนย์การเรียนรู้ "สามสายธาร"** - **ห้องสมุดจิตวิทยาพุทธศาสตร์** โดยราเชศ - **สตูดิโอศิลปะบำบัด** ของนันดินี - **ร้านชาสมุนไพร** ของอาจารย์ปกรณ์ ทุกเย็นวันพระ ทั้งสามจะนั่งร่วมวงเสวนา ใต้ต้นโพธิ์ที่ผลิใบใหม่...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 175 มุมมอง 0 รีวิว
  • สนามบินพาโร ภูฏาน ปัจจุบันมีเพียงนักบิน 50 คนทั่วโลกที่ได้รับการฝึกอบรมและได้ใบอนุญาตพิเศษให้นักบินสามารถ landing และ take off

    สนามบินพาโร (Paro International Airport
    เป็นสนามบินนานาชาติแห่งเดียวของประเทศภูฏาน อยู่ห่างจากตัวเมืองพาโรประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงทิมพูประมาณ 54 กิโลเมตร
    สนามบินนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาลึกริมแม่น้ำพาโรชู (Paro Chhu) ที่ระดับความสูงประมาณ 7,332 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล หรือเกือบเท่ากับดอยอินทนนท์ที่สูง 8,415 ฟุต และมีความยาวเพียง 7,431 ฟุตเท่านั้น (สนามบินดอนเมืองมีรันเวย์ยาว 12,139 ฟุต)

    สนามบินพาโรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสนามบินที่ท้าทายและอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากล้อมรอบด้วยภูเขาสูงถึง 5,500 เมตร (18,000 ฟุต) ลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและการไม่มีระบบนำร่องอัตโนมัติ (Instrument Landing System, ILS) ทำให้การบินขึ้นและลงต้องอาศัยการบินด้วยสายตา (Visual Flight Rules, VFR) เท่านั้น นักบินที่สามารถลงที่สนามบินนี้ได้ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและได้รับใบอนุญาตพิเศษ โดยในปี 2024 มีนักบินเพียง 50 คนทั่วโลกที่ได้รับการรับรองให้ทำการบินลงที่สนามบินพาโร

    การบินเข้าสู่สนามบินพาโรเป็นความท้าทายสำหรับนักบินและเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำอย่างที่สุดของผู้โดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเที่ยวบินประวัติศาสตร์นี้ นับว่าเป็นพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านการบินของทั้งสองพระองค์ และนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญและพิเศษที่สุดในชีวิตของผู้โดยสารเกียรติยศในครั้งนี้ครับ

    พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร
    ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

    เครดิตคลิปวิดีโอจากเพจ เชียร์ลุง2
    https://web.facebook.com/share/v/1EKtinGXmz/
    สนามบินพาโร ภูฏาน ปัจจุบันมีเพียงนักบิน 50 คนทั่วโลกที่ได้รับการฝึกอบรมและได้ใบอนุญาตพิเศษให้นักบินสามารถ landing และ take off สนามบินพาโร (Paro International Airport เป็นสนามบินนานาชาติแห่งเดียวของประเทศภูฏาน อยู่ห่างจากตัวเมืองพาโรประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงทิมพูประมาณ 54 กิโลเมตร สนามบินนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาลึกริมแม่น้ำพาโรชู (Paro Chhu) ที่ระดับความสูงประมาณ 7,332 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล หรือเกือบเท่ากับดอยอินทนนท์ที่สูง 8,415 ฟุต และมีความยาวเพียง 7,431 ฟุตเท่านั้น (สนามบินดอนเมืองมีรันเวย์ยาว 12,139 ฟุต) สนามบินพาโรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสนามบินที่ท้าทายและอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากล้อมรอบด้วยภูเขาสูงถึง 5,500 เมตร (18,000 ฟุต) ลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อนและการไม่มีระบบนำร่องอัตโนมัติ (Instrument Landing System, ILS) ทำให้การบินขึ้นและลงต้องอาศัยการบินด้วยสายตา (Visual Flight Rules, VFR) เท่านั้น นักบินที่สามารถลงที่สนามบินนี้ได้ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางและได้รับใบอนุญาตพิเศษ โดยในปี 2024 มีนักบินเพียง 50 คนทั่วโลกที่ได้รับการรับรองให้ทำการบินลงที่สนามบินพาโร การบินเข้าสู่สนามบินพาโรเป็นความท้าทายสำหรับนักบินและเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำอย่างที่สุดของผู้โดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเที่ยวบินประวัติศาสตร์นี้ นับว่าเป็นพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านการบินของทั้งสองพระองค์ และนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญและพิเศษที่สุดในชีวิตของผู้โดยสารเกียรติยศในครั้งนี้ครับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เครดิตคลิปวิดีโอจากเพจ เชียร์ลุง2 https://web.facebook.com/share/v/1EKtinGXmz/
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 273 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 212 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้ไม่ปฏิเสธว่ายูเครนไม่มีอาวุธมากพอที่จะทำสงครามเพื่อแย่งไครเมียกลับคืนมาจากรัสเซียได้ อย่างที่ทรัมป์กล่าวไว้เมื่อวันก่อน

    แต่การจะนำไครเมียกลับคืนสู่ยูเครนได้ ด้วยความช่วยเหลือจากการคว่ำบาตรและแรงกดดันทางการทูต ซึ่งจะทำให้รัสเซียจำยอมต้องหันหน้ามาเจรจา

    "แต่ต้องหลังจากการหยุดยิงโดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น"

    👉ดูเหมือนว่าขณะนี้ทั้งยุโรปและเซเลนสกีกำลังกดดันให้รัสเซียหยุดยิง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ และจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของยูเครน การกดดันให้รัสเซียหยุดยิง มีเป้าหมายเดียวคือ "การเติมอาวุธจากตะวันตก"

    เซเลนสกี้ไม่ปฏิเสธว่ายูเครนไม่มีอาวุธมากพอที่จะทำสงครามเพื่อแย่งไครเมียกลับคืนมาจากรัสเซียได้ อย่างที่ทรัมป์กล่าวไว้เมื่อวันก่อน แต่การจะนำไครเมียกลับคืนสู่ยูเครนได้ ด้วยความช่วยเหลือจากการคว่ำบาตรและแรงกดดันทางการทูต ซึ่งจะทำให้รัสเซียจำยอมต้องหันหน้ามาเจรจา "แต่ต้องหลังจากการหยุดยิงโดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น" 👉ดูเหมือนว่าขณะนี้ทั้งยุโรปและเซเลนสกีกำลังกดดันให้รัสเซียหยุดยิง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ และจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของยูเครน การกดดันให้รัสเซียหยุดยิง มีเป้าหมายเดียวคือ "การเติมอาวุธจากตะวันตก"
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • 78 ปี วิสามัญ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ จากผู้ใหญ่บ้าน สู่ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อตำรวจน่ากลัวกว่าเสือ จึงถูกหลอกซ้ำซาก ล่อติดคุก-ลวงยิงทิ้ง 🐅

    เมื่อผู้ใหญ่บ้าน กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่รัฐกลัวที่สุด ย้อนตำนาน “เสือฝ้าย” จอมโจรผู้เลื่องชื่อแห่งเมืองสุพรรณ กับบทสรุปที่กลายเป็นปริศนา เสือจริงหรือตำรวจคือภัยร้ายกว่า?

    เรื่องราวของ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้กล้าท้าทายอำนาจรัฐ ด้วยเหตุแห่งความอยุติธรรม กลายเป็นตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวบ้านรัก และตำรวจหวาดกลัว 🕵️‍♂️🔥

    เมื่อความอยุติธรรม สร้างตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ หากพูดถึง "เสือ" ในตำนานไทย หลายคนอาจนึกถึง “เสือใบ”, “เสือดำ” หรือ “เสือมเหศวร” แต่มีอีกหนึ่งชื่อ ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยคือ “เสือฝ้าย” 🐯 จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นโจร แต่กลับกลายเป็นตำนาน ด้วยความเจ็บแค้นที่ถูกระบบรังแก

    "เสือฝ้าย" หรือ "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเดิมบาง เป็นนักรบเสรีไทย และเป็นผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง ที่อยากทำดีเพื่อบ้านเกิด แต่เมื่อความดี ถูกตอบแทนด้วยความอยุติธรรม จึงเลือกหนทางของ "เสือ"

    “เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!” เสือฝ้าย กล่าวไว้ หลังพ้นโทษจำคุก 8 ปี

    😇👉😈 "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2431 ที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกของชาวนา ครอบครัวมีพี่น้อง 8 คน เติบโตมาอย่างเรียบง่าย กระทั่งช่วงวัย 20 ต้น ๆ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าใหญ่ หมู่ที่ 5”

    ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง เสือฝ้ายมีบทบาทสำคัญใน “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านทหารญี่ปุ่น และได้รับฉายา “จอมพลฝ้าย” จากประชาชน

    แต่เรื่องราวกลับเปลี่ยนไป เมื่อถูกใส่ร้ายจากหลานเขย ผู้มีสายสัมพันธ์กับตำรวจ ถูกตัดสินให้ติดคุกถึง 8 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด นี่คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง 🧨

    ✊ เสือฝ้ายผู้รักความยุติธรรม แม้จะถูกตราหน้าว่าเป็น “โจร” แต่เสือฝ้ายไม่เหมือนโจรทั่วไป

    สิ่งที่ “ปล้น” ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวยส่วนตัว เสือฝ้ายตั้งเป้าเล่นงานเฉพาะ “ผู้มีอำนาจที่ฉ้อโกง” ไม่ปล้นคนจน ไม่แตะต้องชาวบ้าน แจกจ่ายทรัพย์สินที่ปล้นมา ให้กับผู้ยากไร้ในชุมชน

    🔥 ชาวบ้านจึงเปรียบเสือฝ้ายเสมือน “ฮีโร่” มากกว่า “ผู้ร้าย” ❤️

    “ชาวบ้านรักเสือฝ้าย เพราะไม่เคยทำร้ายใครที่ไม่มีอำนาจ”

    🏴‍☠️ ชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เสือฝ้ายไม่ใช่โจรเดี่ยว นำกองกำลังชุมโจรที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ไทยเคยมี สมุนไม่ต่ำกว่า 100-200 คน เทียบกับกลุ่มโจรทั่วไปในยุคนั้น ที่มีเพียง 10-20 คน

    เสือฝ้ายใช้เส้นทางป่าในเขตเดิมบางนางบวช ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าทึบ เป็นที่หลบซ่อนและตั้งฐานปฏิบัติการ

    “บางคนว่าทั้งสุพรรณบุรี คือบ้านของเสือฝ้าย เพราะทุกคนต่างพร้อมใจ ให้การช่วยเหลือ”

    🌆 เมืองสุพรรณยุคโจรครองเมือง 🧧 ย้อนกลับไปในยุคต้นรัชกาลที่ 6 เมืองสุพรรณฯ เต็มไปด้วยข่าวปล้น คนจีนอพยพมาตั้งตลาด หอดูโจรถูกสร้างไว้ทั่วเมือง

    จนมีคำพูดติดปากว่า “ใครไปรับราชการที่สุพรรณฯ ต้องเตรียมหม้อใส่กระดูกกลับบ้าน”

    สุพรรณกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแง่ลบ แต่ก็เป็นบ้านของวีรบุรุษนอกกฎหมาย ที่ชาวบ้านศรัทธา

    📜 การลวงฆ่าเสือฝ้าย ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผยอย่างเป็นทางการ 🔫 วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก...

    ตำรวจกองปราบหลอกเสือฝ้ายว่า จะพาไปรับรางวัลที่กรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปพักที่โรงแรมศรีธงชัย ปัจจุบันคือธนาคารกรุงศรีฯ แต่รุ่งเช้ากลับมีข่าวว่า เสือฝ้ายถูกยิงตายที่ป่าช้าบ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยอ้างว่า “กระโดดน้ำหนี” ❌

    แต่ชาวบ้านไม่เชื่อ เพราะ “ไม่มีทางที่เสือฝ้ายจะหนี ทั้งที่เชื่อว่ากำลังจะได้รางวัล”

    😰 ปากคำชาวบ้าน ตำรวจน่ากลัวกว่าโจร

    “ตำรวจกองปราบน่ากลัวกว่าเสือเสียอีก พวกเขาอำพรางข่าว หลอกลวง และฆ่าคนบริสุทธิ์” ยายเกียด ทรัพย์จีน กล่าวไว้

    เธอเผยว่าเคยต้องปลอมตัว เอาโคลนทาทั่วตัว เพื่อส่งเสบียงให้ชุมโจรแบบลับ ๆ

    🧘‍♂️ เสือฝ้ายกับขุนพันธ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมรับสินบน ⚖️ เสือฝ้ายเคยพยายามติดสินบน “ขุนพันธ์” นายตำรวจผู้ปราบโจรในตำนาน แต่ขุนพันธ์ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า "ไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบ" และไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตำรวจ ด้วยการรับสินบนจากโจร

    🐯 เสือฝ้ายในโลกภาพยนตร์ 🎬 เสือฝ้ายยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาพยนตร์ "ขุนพันธ์ ภาค 2" แสดงโดย ผู้พันเบิร์ด "พันโทวันชนะ สวัสดี" เพิ่มความเหนือธรรมชาติ เช่น วิชานะจังงัง, รอยสักยันต์ช้างเอราวัณ และยันต์ท้าวเวสสุวรรณ

    🔥 ความตายที่กลายเป็นตำนาน แม้เสือฝ้ายจะถูกฆ่าตาย แต่ตำนานของเขายังอยู่...

    เสือฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกระบบกดขี่ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้ เป็นเสียงของผู้ไร้เสียง และเป็นเสือที่ถูกฆ่าโดย “สัตว์ที่ร้ายกว่า”

    คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓

    ใครสั่งวิสามัญเสือฝ้ายจริง ๆ?

    ตำรวจเพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือมีเจตนาแอบแฝง?

    ทำไมข่าวถูกกลบอย่างรวดเร็ว?

    🐾 เสือที่ยังคงคำรามในประวัติศาสตร์ 📚 เรื่องราวของเสือฝ้าย ไม่ใช่เพียงเรื่องของโจร หรือเรื่องของตำรวจ
    แต่คือ “ภาพสะท้อนของสังคม” ที่ยังคงเป็นจริงแม้ผ่านไป 78 ปี

    เสือฝ้ายคือผู้ที่ระบบผลักให้กลายเป็นโจร แต่ชาวบ้านกลับยกย่องว่า “วีรบุรุษ” และตราบใดที่ความอยุติธรรมยังมีอยู่ เสียงคำรามของ “เสือฝ้าย” ก็ยังดังก้องในใจของคนรุ่นหลัง ✊

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251009 เม.ย. 2568

    📢 #เสือฝ้าย #ตำนานเสือสุพรรณ #จอมโจรไทย #ประวัติศาสตร์โจร #ขุนพันธ์ #เสรีไทย #วิสามัญฆาตกรรม #สุพรรณบุรี #วีรบุรุษโจร #เสือฝ้ายผู้ยิ่งใหญ่
    78 ปี วิสามัญ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ จากผู้ใหญ่บ้าน สู่ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อตำรวจน่ากลัวกว่าเสือ จึงถูกหลอกซ้ำซาก ล่อติดคุก-ลวงยิงทิ้ง 🐅 เมื่อผู้ใหญ่บ้าน กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่รัฐกลัวที่สุด ย้อนตำนาน “เสือฝ้าย” จอมโจรผู้เลื่องชื่อแห่งเมืองสุพรรณ กับบทสรุปที่กลายเป็นปริศนา เสือจริงหรือตำรวจคือภัยร้ายกว่า? เรื่องราวของ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้กล้าท้าทายอำนาจรัฐ ด้วยเหตุแห่งความอยุติธรรม กลายเป็นตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวบ้านรัก และตำรวจหวาดกลัว 🕵️‍♂️🔥 เมื่อความอยุติธรรม สร้างตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ หากพูดถึง "เสือ" ในตำนานไทย หลายคนอาจนึกถึง “เสือใบ”, “เสือดำ” หรือ “เสือมเหศวร” แต่มีอีกหนึ่งชื่อ ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยคือ “เสือฝ้าย” 🐯 จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นโจร แต่กลับกลายเป็นตำนาน ด้วยความเจ็บแค้นที่ถูกระบบรังแก "เสือฝ้าย" หรือ "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเดิมบาง เป็นนักรบเสรีไทย และเป็นผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง ที่อยากทำดีเพื่อบ้านเกิด แต่เมื่อความดี ถูกตอบแทนด้วยความอยุติธรรม จึงเลือกหนทางของ "เสือ" “เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!” เสือฝ้าย กล่าวไว้ หลังพ้นโทษจำคุก 8 ปี 😇👉😈 "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2431 ที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกของชาวนา ครอบครัวมีพี่น้อง 8 คน เติบโตมาอย่างเรียบง่าย กระทั่งช่วงวัย 20 ต้น ๆ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าใหญ่ หมู่ที่ 5” ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง เสือฝ้ายมีบทบาทสำคัญใน “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านทหารญี่ปุ่น และได้รับฉายา “จอมพลฝ้าย” จากประชาชน แต่เรื่องราวกลับเปลี่ยนไป เมื่อถูกใส่ร้ายจากหลานเขย ผู้มีสายสัมพันธ์กับตำรวจ ถูกตัดสินให้ติดคุกถึง 8 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด นี่คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง 🧨 ✊ เสือฝ้ายผู้รักความยุติธรรม แม้จะถูกตราหน้าว่าเป็น “โจร” แต่เสือฝ้ายไม่เหมือนโจรทั่วไป สิ่งที่ “ปล้น” ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวยส่วนตัว เสือฝ้ายตั้งเป้าเล่นงานเฉพาะ “ผู้มีอำนาจที่ฉ้อโกง” ไม่ปล้นคนจน ไม่แตะต้องชาวบ้าน แจกจ่ายทรัพย์สินที่ปล้นมา ให้กับผู้ยากไร้ในชุมชน 🔥 ชาวบ้านจึงเปรียบเสือฝ้ายเสมือน “ฮีโร่” มากกว่า “ผู้ร้าย” ❤️ “ชาวบ้านรักเสือฝ้าย เพราะไม่เคยทำร้ายใครที่ไม่มีอำนาจ” 🏴‍☠️ ชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เสือฝ้ายไม่ใช่โจรเดี่ยว นำกองกำลังชุมโจรที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ไทยเคยมี สมุนไม่ต่ำกว่า 100-200 คน เทียบกับกลุ่มโจรทั่วไปในยุคนั้น ที่มีเพียง 10-20 คน เสือฝ้ายใช้เส้นทางป่าในเขตเดิมบางนางบวช ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าทึบ เป็นที่หลบซ่อนและตั้งฐานปฏิบัติการ “บางคนว่าทั้งสุพรรณบุรี คือบ้านของเสือฝ้าย เพราะทุกคนต่างพร้อมใจ ให้การช่วยเหลือ” 🌆 เมืองสุพรรณยุคโจรครองเมือง 🧧 ย้อนกลับไปในยุคต้นรัชกาลที่ 6 เมืองสุพรรณฯ เต็มไปด้วยข่าวปล้น คนจีนอพยพมาตั้งตลาด หอดูโจรถูกสร้างไว้ทั่วเมือง จนมีคำพูดติดปากว่า “ใครไปรับราชการที่สุพรรณฯ ต้องเตรียมหม้อใส่กระดูกกลับบ้าน” สุพรรณกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแง่ลบ แต่ก็เป็นบ้านของวีรบุรุษนอกกฎหมาย ที่ชาวบ้านศรัทธา 📜 การลวงฆ่าเสือฝ้าย ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผยอย่างเป็นทางการ 🔫 วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก... ตำรวจกองปราบหลอกเสือฝ้ายว่า จะพาไปรับรางวัลที่กรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปพักที่โรงแรมศรีธงชัย ปัจจุบันคือธนาคารกรุงศรีฯ แต่รุ่งเช้ากลับมีข่าวว่า เสือฝ้ายถูกยิงตายที่ป่าช้าบ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยอ้างว่า “กระโดดน้ำหนี” ❌ แต่ชาวบ้านไม่เชื่อ เพราะ “ไม่มีทางที่เสือฝ้ายจะหนี ทั้งที่เชื่อว่ากำลังจะได้รางวัล” 😰 ปากคำชาวบ้าน ตำรวจน่ากลัวกว่าโจร “ตำรวจกองปราบน่ากลัวกว่าเสือเสียอีก พวกเขาอำพรางข่าว หลอกลวง และฆ่าคนบริสุทธิ์” ยายเกียด ทรัพย์จีน กล่าวไว้ เธอเผยว่าเคยต้องปลอมตัว เอาโคลนทาทั่วตัว เพื่อส่งเสบียงให้ชุมโจรแบบลับ ๆ 🧘‍♂️ เสือฝ้ายกับขุนพันธ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมรับสินบน ⚖️ เสือฝ้ายเคยพยายามติดสินบน “ขุนพันธ์” นายตำรวจผู้ปราบโจรในตำนาน แต่ขุนพันธ์ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า "ไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบ" และไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตำรวจ ด้วยการรับสินบนจากโจร 🐯 เสือฝ้ายในโลกภาพยนตร์ 🎬 เสือฝ้ายยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาพยนตร์ "ขุนพันธ์ ภาค 2" แสดงโดย ผู้พันเบิร์ด "พันโทวันชนะ สวัสดี" เพิ่มความเหนือธรรมชาติ เช่น วิชานะจังงัง, รอยสักยันต์ช้างเอราวัณ และยันต์ท้าวเวสสุวรรณ 🔥 ความตายที่กลายเป็นตำนาน แม้เสือฝ้ายจะถูกฆ่าตาย แต่ตำนานของเขายังอยู่... เสือฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกระบบกดขี่ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้ เป็นเสียงของผู้ไร้เสียง และเป็นเสือที่ถูกฆ่าโดย “สัตว์ที่ร้ายกว่า” คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓ ใครสั่งวิสามัญเสือฝ้ายจริง ๆ? ตำรวจเพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือมีเจตนาแอบแฝง? ทำไมข่าวถูกกลบอย่างรวดเร็ว? 🐾 เสือที่ยังคงคำรามในประวัติศาสตร์ 📚 เรื่องราวของเสือฝ้าย ไม่ใช่เพียงเรื่องของโจร หรือเรื่องของตำรวจ แต่คือ “ภาพสะท้อนของสังคม” ที่ยังคงเป็นจริงแม้ผ่านไป 78 ปี เสือฝ้ายคือผู้ที่ระบบผลักให้กลายเป็นโจร แต่ชาวบ้านกลับยกย่องว่า “วีรบุรุษ” และตราบใดที่ความอยุติธรรมยังมีอยู่ เสียงคำรามของ “เสือฝ้าย” ก็ยังดังก้องในใจของคนรุ่นหลัง ✊ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251009 เม.ย. 2568 📢 #เสือฝ้าย #ตำนานเสือสุพรรณ #จอมโจรไทย #ประวัติศาสตร์โจร #ขุนพันธ์ #เสรีไทย #วิสามัญฆาตกรรม #สุพรรณบุรี #วีรบุรุษโจร #เสือฝ้ายผู้ยิ่งใหญ่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 348 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานจาก Verizon Business ในปี 2025 เปิดเผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคิดเป็น 30% ของการโจมตีทั้งหมด การโจมตีเหล่านี้มักใช้บุคคลที่สามเป็นช่องทางในการเข้าถึงระบบของเป้าหมาย เช่น การโจมตีซัพพลายเชนและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่ง 81% ของการโจมตีบุคคลที่สามเกี่ยวข้องกับการเจาะระบบของเหยื่อ

    ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการโจมตี SolarWinds ในปี 2020 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยผู้โจมตีได้แทรกโค้ดที่เป็นอันตรายลงในซอฟต์แวร์ Orion ของ SolarWinds และกระจายไปยังลูกค้าประมาณ 18,000 ราย การโจมตีนี้ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง

    นักวิจัยเตือนว่าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ควรตรวจสอบโค้ดอย่างละเอียดก่อนใช้งาน โดยเฉพาะโค้ดจากแหล่งโอเพ่นซอร์ส เช่น GitHub ซึ่งมักเป็นเป้าหมายของผู้โจมตี

    ✅ การเพิ่มขึ้นของการโจมตีบุคคลที่สาม
    - การโจมตีบุคคลที่สามเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
    - คิดเป็น 30% ของการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมด

    ✅ ตัวอย่างการโจมตีที่สำคัญ
    - การโจมตี SolarWinds ในปี 2020 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุด
    - ผู้โจมตีแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายลงในซอฟต์แวร์ Orion และกระจายไปยังลูกค้า

    ✅ คำแนะนำสำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
    - ตรวจสอบโค้ดอย่างละเอียดก่อนใช้งาน
    - ระมัดระวังโค้ดจากแหล่งโอเพ่นซอร์ส เช่น GitHub

    ✅ ผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน
    - การโจมตีซัพพลายเชนและพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มขึ้น

    https://www.techradar.com/pro/security/cyberattacks-surged-in-2025-with-third-party-attacks-seeing-a-huge-rise
    รายงานจาก Verizon Business ในปี 2025 เปิดเผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคิดเป็น 30% ของการโจมตีทั้งหมด การโจมตีเหล่านี้มักใช้บุคคลที่สามเป็นช่องทางในการเข้าถึงระบบของเป้าหมาย เช่น การโจมตีซัพพลายเชนและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่ง 81% ของการโจมตีบุคคลที่สามเกี่ยวข้องกับการเจาะระบบของเหยื่อ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการโจมตี SolarWinds ในปี 2020 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยผู้โจมตีได้แทรกโค้ดที่เป็นอันตรายลงในซอฟต์แวร์ Orion ของ SolarWinds และกระจายไปยังลูกค้าประมาณ 18,000 ราย การโจมตีนี้ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง นักวิจัยเตือนว่าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ควรตรวจสอบโค้ดอย่างละเอียดก่อนใช้งาน โดยเฉพาะโค้ดจากแหล่งโอเพ่นซอร์ส เช่น GitHub ซึ่งมักเป็นเป้าหมายของผู้โจมตี ✅ การเพิ่มขึ้นของการโจมตีบุคคลที่สาม - การโจมตีบุคคลที่สามเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า - คิดเป็น 30% ของการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมด ✅ ตัวอย่างการโจมตีที่สำคัญ - การโจมตี SolarWinds ในปี 2020 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุด - ผู้โจมตีแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายลงในซอฟต์แวร์ Orion และกระจายไปยังลูกค้า ✅ คำแนะนำสำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ - ตรวจสอบโค้ดอย่างละเอียดก่อนใช้งาน - ระมัดระวังโค้ดจากแหล่งโอเพ่นซอร์ส เช่น GitHub ✅ ผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน - การโจมตีซัพพลายเชนและพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มขึ้น https://www.techradar.com/pro/security/cyberattacks-surged-in-2025-with-third-party-attacks-seeing-a-huge-rise
    WWW.TECHRADAR.COM
    Cyberattacks surged in 2025, with third party attacks seeing a huge rise
    Third-party attacks have doubled in recent months, study finds
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..ฝ่ายมืดต้องครอบครองก็ว่า,อเมริกาใช้มุกฆ่าซัดดัมก็เพื่อปล้นสิ่งนี้คือตัวหลัก และชาติอื่นๆด้วยหากพวกมันพบเจอหรือรู้ว่ามี.

    ..มีประตูมิติอยู่มากมายทั่วโลก อารยธรรมโบราณไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์และไม่จำเป็นต้องทำลายธรรมชาติเพื่อเปิดทางให้กับถนน พวกเขามักใช้ยานพาหนะแม่เหล็กไฟฟ้าและประตูมิติในการเดินทางระหว่างเมือง เมืองใหญ่ทุกเมืองมีประตูมิติ นี่คือสาเหตุที่นักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไม่ทราบว่าเมืองโบราณเหล่านี้สร้างขึ้นบนยอดเขาได้อย่างไร เนื่องจากไม่พบถนน มีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่อาจขนขึ้นภูเขาได้แม้แต่ตามมาตรฐานในปัจจุบัน โดยใช้เครนและเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากมีน้ำหนักมากและภูเขามีความลาดชันมาก ประตูมิติถูกพบทั่วโลกและส่วนใหญ่ถูกทำลายเนื่องจากปรสิตไม่ทราบวิธีเปิดใช้งานประตูมิติ ประตูมิติหลายแห่งยังพบในตะวันออกกลาง ในภูมิภาคอิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย ลิเบีย และอียิปต์ 🍿🐸🇺🇸
    ..ฝ่ายมืดต้องครอบครองก็ว่า,อเมริกาใช้มุกฆ่าซัดดัมก็เพื่อปล้นสิ่งนี้คือตัวหลัก และชาติอื่นๆด้วยหากพวกมันพบเจอหรือรู้ว่ามี. ..มีประตูมิติอยู่มากมายทั่วโลก อารยธรรมโบราณไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์และไม่จำเป็นต้องทำลายธรรมชาติเพื่อเปิดทางให้กับถนน พวกเขามักใช้ยานพาหนะแม่เหล็กไฟฟ้าและประตูมิติในการเดินทางระหว่างเมือง เมืองใหญ่ทุกเมืองมีประตูมิติ นี่คือสาเหตุที่นักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไม่ทราบว่าเมืองโบราณเหล่านี้สร้างขึ้นบนยอดเขาได้อย่างไร เนื่องจากไม่พบถนน มีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่อาจขนขึ้นภูเขาได้แม้แต่ตามมาตรฐานในปัจจุบัน โดยใช้เครนและเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากมีน้ำหนักมากและภูเขามีความลาดชันมาก ประตูมิติถูกพบทั่วโลกและส่วนใหญ่ถูกทำลายเนื่องจากปรสิตไม่ทราบวิธีเปิดใช้งานประตูมิติ ประตูมิติหลายแห่งยังพบในตะวันออกกลาง ในภูมิภาคอิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย ลิเบีย และอียิปต์ 🍿🐸🇺🇸
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 127 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 317 มุมมอง 0 รีวิว
  • 63 ปี "ครูรวม วงศ์พันธ์" จากลูกชาวนา สู่เป้าประหารชีวิต “คอมมิวนิสต์” คนแรกของไทย 🔥

    ย้อนไปสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ยังคงสะเทือนใจคนรุ่นหลัง “ครูรวม วงศ์พันธ์” ครูผู้ใฝ่รู้ ผู้กลายเป็นนักโทษคอมมิวนิสต์คนแรกที่ถูกยิงเป้า ประหารชีวิตตามคำสั่งมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

    🟦 จากลูกชาวนาแห่งสุพรรณบุรี สู่ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์คนแรกของไทย ที่ถูกประหารชีวิต เรื่องราวสะท้อนยุคสมัย ที่อุดมการณ์นำมาสู่ชะตากรรม อันน่าเศร้า

    🔶 ช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย ในยุคสงครามเย็น มีบุคคลหนึ่งที่ชื่อ “รวม วงศ์พันธ์” ถูกจารึกไว้ว่าเป็น “ผู้กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์” คนแรกที่ถูกประหารชีวิต ตามกฎหมายมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรปี พ.ศ. 2502 ✍️

    จะพาย้อนกลับไป 63 ปี ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาทั้งชีวิตของครูรวม เบื้องหลังคำสั่งประหาร และบริบทของการเมืองไทยยุคนั้น 🕯️

    🟤 จากลูกชาวนา...สู่ครูใหญ่โรงเรียนจีน 👨‍🏫 “รวม วงศ์พันธ์” เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่บ้านมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายของนายอยู่ และนางไร มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวชาวนาธรรมดา แต่เต็มไปด้วยความใฝ่เรียน 📚

    เรียนหนังสือจากโรงเรียนวัดเล็กๆ ใกล้บ้าน ต่อมาได้เข้าเรียนโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ อย่างสวนกุหลาบวิทยาลัย และพาณิชยการพระนคร ก่อนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในยุคนั้น ถือเป็นแหล่งเพาะบ่มความคิดเสรี ของนักศึกษาไทย 🇹🇭

    ความรักในการเรียน รักในการสอน ครูรวมเริ่มต้นอาชีพครูในโรงเรียนจีน “กวงกงสวย” ก่อนก้าวขึ้นเป็นครูใหญ่ฝ่ายไทย เป็นที่เคารพรักของนักเรียน และครูร่วมงานจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้แต่งงานกับ "ครูประดิษฐ์ สุทธิจิตร์" คู่ชีวิตผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ในชีวิตอุดมการณ์ 💞

    🟥 สถานการณ์โลกกับภัยคอมมิวนิสต์ 🌍 ช่วงปี 2460–2500 โลกกำลังเผชิญกับ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อรัสเซียกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ จีนถูกยึดครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดย "เหมา เจ๋อตง" และในหลายประเทศอุดมการณ์นี้แผ่ขยายเข้าสู่ สังคมชนบทและแรงงาน 🛠️

    ความกลัวในสายตารัฐ ประเทศไทยในยุคนั้น อยู่ภายใต้ความตื่นกลัวต่อภัย “แดง” หรือภัยคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศ รัฐบาลในหลายยุค รวมถึงยุคของ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" จึงเลือกใช้มาตรการเด็ดขาด เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ⛔

    🟩 แม้รัฐจะมีกฎหมายควบคุมแนวคิดคอมมิวนิสต์ มาตั้งแต่ปี 2476 แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการแพร่กระจายได้ โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นแรงงาน ชาวนา และครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยตรง 👩‍🌾

    ครูรวมเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เชื่อ ในอุดมการณ์ความเท่าเทียม และใช้วิธีการพูดคุย แบ่งปันความรู้กับชาวบ้านในชนบท รวมถึงสร้าง “ไร่รวม” ที่กาญจนบุรี เพื่อเป็นโรงเรียนการเมืองอย่างลับๆ 🏕️

    🟦 การจับกุม คำพิพากษา และคำสั่งประหาร ⚖️ ในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลจับกุมครูรวม จากการสืบสวน และคำให้การของพยานร่วมกลุ่ม กล่าวหาว่า เป็นผู้นำเครือข่ายคอมมิวนิสต์ ลอบรับคำสั่งจากต่างชาติ และพยายามล้มล้างสถาบันชาติ

    จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจตาม “มาตรา 17” สั่งให้ประหารชีวิตทันที โดยไม่ต้องขึ้นศาล ⛓️

    🕕 ค่ำวันอังคารที่ 24 เมษายน 2505 เวลา 18.00 น. ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครูรวมถูกยิงเป้าจนเสียชีวิต นับเป็นครั้งแรก ที่มีการประหารผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭⚰️

    🟨 วิเคราะห์คดีครูรวม ในบริบทสังคมไทย “ฮีโร่” หรือ “กบฏ”? กรณีของครูรวม สะท้อนถึงยุคสมัยที่ “ความเชื่อ” อาจถูกตีความว่าเป็น “ภัย” การกระทำของครูรวมในสายตารัฐ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง แต่ในสายตาของชาวบ้าน และนักศึกษาในยุคต่อมา คือผู้จุดประกายความคิด เพื่อเสรีภาพ 🕊️

    🟪 มรดกแห่งความทรงจำ กว่า 33 ปีหลังการประหาร ศพของครูรวมเพิ่งถูกพบ ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยไร้ป้ายบอกชื่อ เป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายคำถาม ที่สะท้อนว่า... เรื่องราวนี้ อาจไม่ได้รับความยุติธรรมเท่าที่ควร ❗

    แม้จะเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่ชื่อของ “ครูรวม วงศ์พันธ์” ยังคงเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับคนรุ่นใหม่ ที่เชื่อในอุดมการณ์ เสรีภาพ และความเสมอภาค

    🧭 ครูรวมไม่ใช่แค่ครูธรรมดา แต่เป็นบุคคลหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตอย่างแน่วแน่ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม แม้จะต้องแลกด้วยชีวิต

    ✊ แม้ถูกประหารในฐานะ “คอมมิวนิสต์” แต่ยังคงเป็น “ครูของประชาชน” ในความทรงจำของผู้คนมากมาย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241115 เม.ย. 2568

    🔖 #ครูรวมวงศ์พันธ์ #คอมมิวนิสต์ไทย #คดีประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #มาตรา17 #ยุคสงครามเย็น #การศึกษากับอุดมการณ์ #ครูไทยในอดีต #ประหารชีวิต #วีรบุรุษประชาชน
    63 ปี "ครูรวม วงศ์พันธ์" จากลูกชาวนา สู่เป้าประหารชีวิต “คอมมิวนิสต์” คนแรกของไทย 🔥 ย้อนไปสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ยังคงสะเทือนใจคนรุ่นหลัง “ครูรวม วงศ์พันธ์” ครูผู้ใฝ่รู้ ผู้กลายเป็นนักโทษคอมมิวนิสต์คนแรกที่ถูกยิงเป้า ประหารชีวิตตามคำสั่งมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 🟦 จากลูกชาวนาแห่งสุพรรณบุรี สู่ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์คนแรกของไทย ที่ถูกประหารชีวิต เรื่องราวสะท้อนยุคสมัย ที่อุดมการณ์นำมาสู่ชะตากรรม อันน่าเศร้า 🔶 ช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย ในยุคสงครามเย็น มีบุคคลหนึ่งที่ชื่อ “รวม วงศ์พันธ์” ถูกจารึกไว้ว่าเป็น “ผู้กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์” คนแรกที่ถูกประหารชีวิต ตามกฎหมายมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรปี พ.ศ. 2502 ✍️ จะพาย้อนกลับไป 63 ปี ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาทั้งชีวิตของครูรวม เบื้องหลังคำสั่งประหาร และบริบทของการเมืองไทยยุคนั้น 🕯️ 🟤 จากลูกชาวนา...สู่ครูใหญ่โรงเรียนจีน 👨‍🏫 “รวม วงศ์พันธ์” เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่บ้านมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรชายของนายอยู่ และนางไร มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวชาวนาธรรมดา แต่เต็มไปด้วยความใฝ่เรียน 📚 เรียนหนังสือจากโรงเรียนวัดเล็กๆ ใกล้บ้าน ต่อมาได้เข้าเรียนโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ อย่างสวนกุหลาบวิทยาลัย และพาณิชยการพระนคร ก่อนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในยุคนั้น ถือเป็นแหล่งเพาะบ่มความคิดเสรี ของนักศึกษาไทย 🇹🇭 ความรักในการเรียน รักในการสอน ครูรวมเริ่มต้นอาชีพครูในโรงเรียนจีน “กวงกงสวย” ก่อนก้าวขึ้นเป็นครูใหญ่ฝ่ายไทย เป็นที่เคารพรักของนักเรียน และครูร่วมงานจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้แต่งงานกับ "ครูประดิษฐ์ สุทธิจิตร์" คู่ชีวิตผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ในชีวิตอุดมการณ์ 💞 🟥 สถานการณ์โลกกับภัยคอมมิวนิสต์ 🌍 ช่วงปี 2460–2500 โลกกำลังเผชิญกับ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อรัสเซียกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ จีนถูกยึดครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดย "เหมา เจ๋อตง" และในหลายประเทศอุดมการณ์นี้แผ่ขยายเข้าสู่ สังคมชนบทและแรงงาน 🛠️ ความกลัวในสายตารัฐ ประเทศไทยในยุคนั้น อยู่ภายใต้ความตื่นกลัวต่อภัย “แดง” หรือภัยคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศ รัฐบาลในหลายยุค รวมถึงยุคของ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" จึงเลือกใช้มาตรการเด็ดขาด เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ⛔ 🟩 แม้รัฐจะมีกฎหมายควบคุมแนวคิดคอมมิวนิสต์ มาตั้งแต่ปี 2476 แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการแพร่กระจายได้ โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นแรงงาน ชาวนา และครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยตรง 👩‍🌾 ครูรวมเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เชื่อ ในอุดมการณ์ความเท่าเทียม และใช้วิธีการพูดคุย แบ่งปันความรู้กับชาวบ้านในชนบท รวมถึงสร้าง “ไร่รวม” ที่กาญจนบุรี เพื่อเป็นโรงเรียนการเมืองอย่างลับๆ 🏕️ 🟦 การจับกุม คำพิพากษา และคำสั่งประหาร ⚖️ ในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลจับกุมครูรวม จากการสืบสวน และคำให้การของพยานร่วมกลุ่ม กล่าวหาว่า เป็นผู้นำเครือข่ายคอมมิวนิสต์ ลอบรับคำสั่งจากต่างชาติ และพยายามล้มล้างสถาบันชาติ จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจตาม “มาตรา 17” สั่งให้ประหารชีวิตทันที โดยไม่ต้องขึ้นศาล ⛓️ 🕕 ค่ำวันอังคารที่ 24 เมษายน 2505 เวลา 18.00 น. ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครูรวมถูกยิงเป้าจนเสียชีวิต นับเป็นครั้งแรก ที่มีการประหารผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭⚰️ 🟨 วิเคราะห์คดีครูรวม ในบริบทสังคมไทย “ฮีโร่” หรือ “กบฏ”? กรณีของครูรวม สะท้อนถึงยุคสมัยที่ “ความเชื่อ” อาจถูกตีความว่าเป็น “ภัย” การกระทำของครูรวมในสายตารัฐ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง แต่ในสายตาของชาวบ้าน และนักศึกษาในยุคต่อมา คือผู้จุดประกายความคิด เพื่อเสรีภาพ 🕊️ 🟪 มรดกแห่งความทรงจำ กว่า 33 ปีหลังการประหาร ศพของครูรวมเพิ่งถูกพบ ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยไร้ป้ายบอกชื่อ เป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายคำถาม ที่สะท้อนว่า... เรื่องราวนี้ อาจไม่ได้รับความยุติธรรมเท่าที่ควร ❗ แม้จะเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่ชื่อของ “ครูรวม วงศ์พันธ์” ยังคงเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับคนรุ่นใหม่ ที่เชื่อในอุดมการณ์ เสรีภาพ และความเสมอภาค 🧭 ครูรวมไม่ใช่แค่ครูธรรมดา แต่เป็นบุคคลหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตอย่างแน่วแน่ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม แม้จะต้องแลกด้วยชีวิต ✊ แม้ถูกประหารในฐานะ “คอมมิวนิสต์” แต่ยังคงเป็น “ครูของประชาชน” ในความทรงจำของผู้คนมากมาย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241115 เม.ย. 2568 🔖 #ครูรวมวงศ์พันธ์ #คอมมิวนิสต์ไทย #คดีประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #มาตรา17 #ยุคสงครามเย็น #การศึกษากับอุดมการณ์ #ครูไทยในอดีต #ประหารชีวิต #วีรบุรุษประชาชน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 461 มุมมอง 0 รีวิว
  • โจ๊ก-ดร.นิด ศีลเสมอกัน เอี่ยวทำวิทยานิพนธ์
    .
    คดีโกงสอบครั้งประวัติศาสตร์ ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักวิชาการระดับดอกเตอร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตกเป็นผู้ต้องหา ส่อเค้าจะยาวเป็นหนังชีวิต

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038316

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    โจ๊ก-ดร.นิด ศีลเสมอกัน เอี่ยวทำวิทยานิพนธ์ . คดีโกงสอบครั้งประวัติศาสตร์ ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักวิชาการระดับดอกเตอร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตกเป็นผู้ต้องหา ส่อเค้าจะยาวเป็นหนังชีวิต อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038316 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Angry
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 653 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9 ปี สิ้น “บรรหาร ศิลปอาชา” 🐉 มังกรสุพรรณ นายกฯ ผู้สร้างเมืองด้วยมือปลาไหลใส่สเก็ต รวยอันดับสอง รองจากทักษิณ ชายผู้พลิกเมือง “สุพรรณบุรี” จนกลายเป็น “บรรหารบุรี”

    📅 เช้าตรู่วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 แวดวงการเมืองไทย ต้องพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อ “นายบรรหาร ศิลปอาชา” อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ รวมอายุได้ 83 ปี 247 วัน

    แม้เวลาจะผ่านมา 9 ปี แต่ชื่อของบรรหารก็ยังคงดังก้อง ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในฐานะนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพล นายกฯ ที่สู้จนได้เป็นผู้นำประเทศ และ “เจ้าพ่อเมืองสุพรรณ” ผู้ปั้นเมืองทั้งเมืองด้วยความตั้งใจ และสายสัมพันธ์ทางการเมืองอันแน่นหนา

    🧠 จะพาคุณย้อนรอยชีวิต และผลงานของชายผู้ได้ฉายาว่า “ปลาไหลใส่สเก็ต” อย่างบรรหาร พร้อมเจาะลึกทุกมิติที่ควรรู้ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมรดกที่ทิ้งไว้ให้เมืองสุพรรณบุรี 🇹🇭

    👦 ชีวิตวัยเด็กของ "เต็กเซียง แซ่เบ๊" เด็กชายแห่งท่าพี่เลี้ยง บรรหารเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีชื่อเดิมว่า “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (馬德祥)

    👨‍👩‍👧‍👦 เป็นบุตรคนที่ 4 จากทั้งหมด 6 คน ของครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ทำธุรกิจร้านขายสิ่งทอชื่อ “ย่งหยูฮง” พ่อแม่คือ "เซ่งกิม" และ "สายเอ็ง แซ่เบ๊" ซึ่งปลูกฝังความขยันขันแข็ง และแนวคิดแบบพ่อค้า ให้แก่บรรหารตั้งแต่วัยเยาว์

    แม้จะเรียนถึงแค่ระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ต้องหยุดเรียนเพราะสงครามโลก ครั้งที่สอง จึงเลือกเดินทางสายนักธุรกิจ สร้างฐานะด้วยตนเองจากงานรับเหมาก่อสร้าง จนในที่สุดกลายเป็นนักธุรกิจใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทมากมาย เช่น

    🏗️ บริษัทสหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด
    ⚗️ บริษัทบี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    🧪 บริษัทคอสติกไทย จำกัด จำหน่ายเคมีภัณฑ์

    จากเด็กชายในเมืองเล็ก ๆ สู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ และผู้นำประเทศ บรรหารถือเป็นตัวอย่าง ของคนที่สร้างทุกอย่างจากศูนย์ 💪

    🏛️ ก้าวแรกสู่การเมือง จากเทศบาลเมือง สู่สภาผู้แทนราษฎร เส้นทางการเมืองของบรรหาร เริ่มต้นในฐานะ “สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี” จากการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 และลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรีในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเขาชนะทุกครั้งที่ลงสมัคร รวมทั้งสิ้น 11 สมัย! 🗳️

    🏆 จากพลังแห่งความนิยมในพื้นที่สุพรรณบุรี บรรหารก้าวขึ้นสู่เวทีใหญ่ เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 🚆

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🏢

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 🌾

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 💰

    บรรหารได้รับสมญานามว่า “มังกรสุพรรณ” ด้วยพลังในการควบคุมพื้นที่อย่างแน่นหนา และ “ปลาไหลใส่สเก็ต” ด้วยสไตล์ทางการเมือง ที่ลื่นไหลยืดหยุ่น

    👑 สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 📌 ปี พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

    🎯 ผลงานสำคัญที่เกิดขึ้นในรัฐบาลบรรหาร ได้แก่ ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540, เป็นเจ้าภาพ ASEM และ ASEAN Summitm การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่, การจัดงานเกษตรอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 และการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

    แม้การบริหารของบรรหาร ถูกฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างหนัก จนต้องยุบสภาในปี พ.ศ. 2539 แต่ผลงานจำนวนมาก ก็ยังถูกพูดถึงจนถึงปัจจุบัน

    💸 รวยจริง ไม่ต้องโชว์ บรรหารกับทรัพย์สินมหาศาล 📈 จากรายงานของสำนักข่าวอิศรา “บรรหาร” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “นายกรัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุด เป็นอันดับ 2” รองจาก “ทักษิณ ชินวัตร” โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจาก

    ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 🏗️

    ธุรกิจเคมีภัณฑ์ 📦

    อสังหาริมทรัพย์ทั้งในเมือง และต่างจังหวัด 🏢

    ของสะสม เช่น พระเครื่อง นาฬิกาหรู รถยนต์หรู ⌚🚗

    แต่สิ่งที่ทำให้บรรหาร ได้รับความเคารพคือ “การใช้เงินเป็น” ไม่ใช่ “โชว์หรู” ใช้ทรัพย์สินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพลักษณ์

    🌸 มรดกที่ทิ้งไว้ "บรรหารบุรี" เมืองต้นแบบของจังหวัดนิยม เมืองสุพรรณบุรีในวันนี้ กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบ “จังหวัดนิยม” (Provincial Identity) ซึ่งนักวิชาการญี่ปุ่น "Yoshinori Nishizaki" อธิบายไว้ชัดเจนว่า

    “บรรหารสามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้เมือง ผ่านโครงการต่างๆ ที่จับต้องได้จริง จนกลายเป็นแรงศรัทธาทางการเมือง”

    🧱 ตัวอย่างผลงานในสุพรรณบุรี เช่น หอคอยเมืองสุพรรณ, ถนนคุณภาพระดับประเทศ, โรงเรียนบรรหารแจ่มใส, โรงพยาบาล, ศูนย์ราชการรวมศูนย์, พิพิธภัณฑ์, หอเกียรติยศ และศาลหลักเมือง

    สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้คนมองเห็นว่า “นักการเมืองที่ดี” คือคนที่ “พัฒนาชุมชน” ไม่ใช่แค่พูดสวยหรูบนเวที

    📌 บทเรียนจากชีวิตบรรหาร สัจจะ และกตัญญู หากถามถึงคุณธรรมสำคัญในชีวิตของบรรหาร มีอยู่ 2 คำ ที่บรรหารยึดมั่นเสมอ คือ

    “สัจจะ” คำพูดต้องรักษาให้ได้

    “กตัญญู” ต่อบ้านเกิด และผู้มีพระคุณ

    นี่คือสิ่งที่ทำให้ชื่อของบรรหาร ยังถูกพูดถึงแม้เวลาผ่านไปหลายปี และยังเป็นแบบอย่างให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ ได้ศึกษาเรียนรู้

    📜 มังกรสุพรรณ ผู้ล่องด้วยสัจจะ "บรรหาร ศิลปอาชา" ไม่ใช่แค่ “อดีตนายกรัฐมนตรี” แต่คือชายที่หล่อหลอมเมืองสุพรรณบุรี ให้กลายเป็นพื้นที่พิเศษ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 🐉

    จากชายที่เกิดในครอบครัวพ่อค้า สู่ผู้พัฒนาจังหวัดด้วยวิสัยทัศน์

    จากนักธุรกิจที่สร้างตัวเอง สู่ผู้นำที่เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย 🇹🇭

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231016 เม.ย. 2568

    🔖 #บรรหารศิลปอาชา #นายกรัฐมนตรีไทย #มังกรสุพรรณ #บรรหารบุรี #ปลาไหลใส่สเก็ต #สุพรรณบุรี #การเมืองไทย #พัฒนาท้องถิ่น #จังหวัดนิยม #บุคคลสำคัญ
    9 ปี สิ้น “บรรหาร ศิลปอาชา” 🐉 มังกรสุพรรณ นายกฯ ผู้สร้างเมืองด้วยมือปลาไหลใส่สเก็ต รวยอันดับสอง รองจากทักษิณ ชายผู้พลิกเมือง “สุพรรณบุรี” จนกลายเป็น “บรรหารบุรี” 📅 เช้าตรู่วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 แวดวงการเมืองไทย ต้องพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อ “นายบรรหาร ศิลปอาชา” อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ รวมอายุได้ 83 ปี 247 วัน แม้เวลาจะผ่านมา 9 ปี แต่ชื่อของบรรหารก็ยังคงดังก้อง ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในฐานะนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพล นายกฯ ที่สู้จนได้เป็นผู้นำประเทศ และ “เจ้าพ่อเมืองสุพรรณ” ผู้ปั้นเมืองทั้งเมืองด้วยความตั้งใจ และสายสัมพันธ์ทางการเมืองอันแน่นหนา 🧠 จะพาคุณย้อนรอยชีวิต และผลงานของชายผู้ได้ฉายาว่า “ปลาไหลใส่สเก็ต” อย่างบรรหาร พร้อมเจาะลึกทุกมิติที่ควรรู้ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมรดกที่ทิ้งไว้ให้เมืองสุพรรณบุรี 🇹🇭 👦 ชีวิตวัยเด็กของ "เต็กเซียง แซ่เบ๊" เด็กชายแห่งท่าพี่เลี้ยง บรรหารเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีชื่อเดิมว่า “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (馬德祥) 👨‍👩‍👧‍👦 เป็นบุตรคนที่ 4 จากทั้งหมด 6 คน ของครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ทำธุรกิจร้านขายสิ่งทอชื่อ “ย่งหยูฮง” พ่อแม่คือ "เซ่งกิม" และ "สายเอ็ง แซ่เบ๊" ซึ่งปลูกฝังความขยันขันแข็ง และแนวคิดแบบพ่อค้า ให้แก่บรรหารตั้งแต่วัยเยาว์ แม้จะเรียนถึงแค่ระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ต้องหยุดเรียนเพราะสงครามโลก ครั้งที่สอง จึงเลือกเดินทางสายนักธุรกิจ สร้างฐานะด้วยตนเองจากงานรับเหมาก่อสร้าง จนในที่สุดกลายเป็นนักธุรกิจใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทมากมาย เช่น 🏗️ บริษัทสหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด ⚗️ บริษัทบี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 🧪 บริษัทคอสติกไทย จำกัด จำหน่ายเคมีภัณฑ์ จากเด็กชายในเมืองเล็ก ๆ สู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ และผู้นำประเทศ บรรหารถือเป็นตัวอย่าง ของคนที่สร้างทุกอย่างจากศูนย์ 💪 🏛️ ก้าวแรกสู่การเมือง จากเทศบาลเมือง สู่สภาผู้แทนราษฎร เส้นทางการเมืองของบรรหาร เริ่มต้นในฐานะ “สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี” จากการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 และลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรีในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเขาชนะทุกครั้งที่ลงสมัคร รวมทั้งสิ้น 11 สมัย! 🗳️ 🏆 จากพลังแห่งความนิยมในพื้นที่สุพรรณบุรี บรรหารก้าวขึ้นสู่เวทีใหญ่ เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 🚆 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🏢 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 🌾 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 💰 บรรหารได้รับสมญานามว่า “มังกรสุพรรณ” ด้วยพลังในการควบคุมพื้นที่อย่างแน่นหนา และ “ปลาไหลใส่สเก็ต” ด้วยสไตล์ทางการเมือง ที่ลื่นไหลยืดหยุ่น 👑 สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 📌 ปี พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🎯 ผลงานสำคัญที่เกิดขึ้นในรัฐบาลบรรหาร ได้แก่ ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540, เป็นเจ้าภาพ ASEM และ ASEAN Summitm การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่, การจัดงานเกษตรอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 และการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แม้การบริหารของบรรหาร ถูกฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างหนัก จนต้องยุบสภาในปี พ.ศ. 2539 แต่ผลงานจำนวนมาก ก็ยังถูกพูดถึงจนถึงปัจจุบัน 💸 รวยจริง ไม่ต้องโชว์ บรรหารกับทรัพย์สินมหาศาล 📈 จากรายงานของสำนักข่าวอิศรา “บรรหาร” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “นายกรัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุด เป็นอันดับ 2” รองจาก “ทักษิณ ชินวัตร” โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจาก ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 🏗️ ธุรกิจเคมีภัณฑ์ 📦 อสังหาริมทรัพย์ทั้งในเมือง และต่างจังหวัด 🏢 ของสะสม เช่น พระเครื่อง นาฬิกาหรู รถยนต์หรู ⌚🚗 แต่สิ่งที่ทำให้บรรหาร ได้รับความเคารพคือ “การใช้เงินเป็น” ไม่ใช่ “โชว์หรู” ใช้ทรัพย์สินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ 🌸 มรดกที่ทิ้งไว้ "บรรหารบุรี" เมืองต้นแบบของจังหวัดนิยม เมืองสุพรรณบุรีในวันนี้ กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบ “จังหวัดนิยม” (Provincial Identity) ซึ่งนักวิชาการญี่ปุ่น "Yoshinori Nishizaki" อธิบายไว้ชัดเจนว่า “บรรหารสามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้เมือง ผ่านโครงการต่างๆ ที่จับต้องได้จริง จนกลายเป็นแรงศรัทธาทางการเมือง” 🧱 ตัวอย่างผลงานในสุพรรณบุรี เช่น หอคอยเมืองสุพรรณ, ถนนคุณภาพระดับประเทศ, โรงเรียนบรรหารแจ่มใส, โรงพยาบาล, ศูนย์ราชการรวมศูนย์, พิพิธภัณฑ์, หอเกียรติยศ และศาลหลักเมือง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้คนมองเห็นว่า “นักการเมืองที่ดี” คือคนที่ “พัฒนาชุมชน” ไม่ใช่แค่พูดสวยหรูบนเวที 📌 บทเรียนจากชีวิตบรรหาร สัจจะ และกตัญญู หากถามถึงคุณธรรมสำคัญในชีวิตของบรรหาร มีอยู่ 2 คำ ที่บรรหารยึดมั่นเสมอ คือ “สัจจะ” คำพูดต้องรักษาให้ได้ “กตัญญู” ต่อบ้านเกิด และผู้มีพระคุณ นี่คือสิ่งที่ทำให้ชื่อของบรรหาร ยังถูกพูดถึงแม้เวลาผ่านไปหลายปี และยังเป็นแบบอย่างให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ ได้ศึกษาเรียนรู้ 📜 มังกรสุพรรณ ผู้ล่องด้วยสัจจะ "บรรหาร ศิลปอาชา" ไม่ใช่แค่ “อดีตนายกรัฐมนตรี” แต่คือชายที่หล่อหลอมเมืองสุพรรณบุรี ให้กลายเป็นพื้นที่พิเศษ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 🐉 จากชายที่เกิดในครอบครัวพ่อค้า สู่ผู้พัฒนาจังหวัดด้วยวิสัยทัศน์ จากนักธุรกิจที่สร้างตัวเอง สู่ผู้นำที่เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย 🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231016 เม.ย. 2568 🔖 #บรรหารศิลปอาชา #นายกรัฐมนตรีไทย #มังกรสุพรรณ #บรรหารบุรี #ปลาไหลใส่สเก็ต #สุพรรณบุรี #การเมืองไทย #พัฒนาท้องถิ่น #จังหวัดนิยม #บุคคลสำคัญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • ChatGPT รุ่น GPT-4.5 ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วยการผ่าน Turing Test ซึ่งเป็นการทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถของเครื่องจักรในการเลียนแบบมนุษย์ โดยในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก พบว่า 73% ของผู้เข้าร่วมการทดลองเชื่อว่า AI เป็นมนุษย์หลังจากสนทนาเป็นเวลา 5 นาที ซึ่ง GPT-4.5 ยังสามารถทำได้ดีกว่าผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์บางคนที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็น AI

    ✅ GPT-4.5 ผ่าน Turing Test ด้วยความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์
    - AI ถูกออกแบบให้มีบุคลิกเป็นคนหนุ่มสาวที่มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ตและมีอารมณ์ขันแบบแห้ง
    - การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ AI ในการสร้างบทสนทนาที่เหมือนมนุษย์

    ✅ ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างเมื่อไม่มีการตั้งค่าบุคลิกภาพ
    - เมื่อ AI ไม่มีการตั้งค่าบุคลิกภาพ ความสามารถในการหลอกลวงลดลงเหลือ 36%

    ✅ Turing Test ไม่ได้วัดความรู้สึกหรือความตระหนักรู้ของ AI
    - GPT-4.5 เป็นเพียงโมเดลภาษาที่ทำงานตามคำสั่งและไม่ได้มีความรู้สึกหรือความตระหนักรู้

    ✅ ผลกระทบต่อการพัฒนา AI ในอนาคต
    - การผ่าน Turing Test อาจกระตุ้นการพัฒนา AI ที่มีความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์มากขึ้น

    https://www.techradar.com/computing/artificial-intelligence/chatgpt-crosses-a-new-ai-threshold-by-beating-the-turing-test
    ChatGPT รุ่น GPT-4.5 ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วยการผ่าน Turing Test ซึ่งเป็นการทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถของเครื่องจักรในการเลียนแบบมนุษย์ โดยในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก พบว่า 73% ของผู้เข้าร่วมการทดลองเชื่อว่า AI เป็นมนุษย์หลังจากสนทนาเป็นเวลา 5 นาที ซึ่ง GPT-4.5 ยังสามารถทำได้ดีกว่าผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์บางคนที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็น AI ✅ GPT-4.5 ผ่าน Turing Test ด้วยความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์ - AI ถูกออกแบบให้มีบุคลิกเป็นคนหนุ่มสาวที่มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ตและมีอารมณ์ขันแบบแห้ง - การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ AI ในการสร้างบทสนทนาที่เหมือนมนุษย์ ✅ ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างเมื่อไม่มีการตั้งค่าบุคลิกภาพ - เมื่อ AI ไม่มีการตั้งค่าบุคลิกภาพ ความสามารถในการหลอกลวงลดลงเหลือ 36% ✅ Turing Test ไม่ได้วัดความรู้สึกหรือความตระหนักรู้ของ AI - GPT-4.5 เป็นเพียงโมเดลภาษาที่ทำงานตามคำสั่งและไม่ได้มีความรู้สึกหรือความตระหนักรู้ ✅ ผลกระทบต่อการพัฒนา AI ในอนาคต - การผ่าน Turing Test อาจกระตุ้นการพัฒนา AI ที่มีความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์มากขึ้น https://www.techradar.com/computing/artificial-intelligence/chatgpt-crosses-a-new-ai-threshold-by-beating-the-turing-test
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • สามจังหวัดชายแดนใต้ ของไทย เป็นดินแดนพุทธศาสนา และพราหมณ์มาก่อน ..หลีกฐานทางประวัติศาสตร์มีครบสมบูรณ์
    ลังกาสุกะเป็นนครรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 รุ่งเรืองยาวนานถึง 1,400 ปี จึงเสื่อมสลายไป[3] ไม่ใช่เพราะถูกอำนาจใดเข้าตี หากแต่ทะเลถอยห่างตัวเมืองออกไปทุกที จนผู้คนพากันทิ้งเมือง ซ้ำโดนน้ำท่วมโคลนถมทับตัวเมืองแทบหมด เพิ่งขุดเจอซากไม่นานมานี้ เชื่อกันว่าคนในหมู่บ้านกาแลจิน อ.เมืองปัตตานีปัจจุบันคือผู้สืบเชื้อสายชาวเมืองลังกาสุกะ ที่เป็นลูกครึ่งชาวจีนกับคนพื้นเมืองที่ต้องทิ้งเมืองเก่ามาอยู่ในปัตตานีเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้ว

    อาณาจักรโบราณยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่ามีพื้นที่คลุมไปถึงตอนเหนือมาเลเซีย เพราะพบสิ่ง ก่อสร้างโบราณ แบบเดียวกับที่พบในปัตตานีแถวริมฝั่งแม่น้ำบูจังและปาดังลาวาส (ปากแม่น้ำลาวาส) ในรัฐเคดาห์ หนังสือเหล่านั้นเรียกอย่างจืดชืดไม่ดึงดูดใจสักนิดว่า "เมืองโบราณยะรัง" เพราะซากเมืองเก่าพบที่ อ.ยะรัง ทั้งที่มีความเก่าแก่รุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรทวาราวดีตั้ง 500 ปี ศรีวิชัยและทวาราวดีตั้งในพุทธศตวรรษที่ 12 ลังกาสุกะเป็นนครรัฐที่โลกตะวันตกตะวันออก รู้จักกันแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เมืองโบราณยะรังจึงไม่ใช่เมืองเก่าธรรมดา หากแต่เป็นเมืองท่านครรัฐยิ่งใหญ่ สมัยโบราณเก๋ากึ๊กในภูมิภาคนี้โดยแท้

    เมืองโบราณที่ กรมศิลปากร กำลังขุดแต่งอยู่ที่ อำเภอยะรัง ในขณะนี้คือ ศูนย์การปกครอง อาณาจักรลังกาสุกะ ในเมื่อบันทึก ชาวอินเดียและ ชาวอาหรับ ที่เรียกเมืองนี้ว่า "ลังกาสุกะ" กับบันทึก ของชาวจีนที่เรียก "หลาง หย่า ซุ่ย" ล้วนระบุทิศทางและ ที่ตั้งตรงกันหมด น.ส.พรทิพย์ พันธุโกวิท หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โบราณคดี ผู้ควบคุมการขุดแต่งและ บูรณะมาตั้งแต่แรกถึง 16 ปี อธิบายว่า ปัตตานีวันนี้คือ ดินแดนเกิดใหม่ เมื่อทะเลถอย ห่างฝั่งออกไปทุกที ลังกาสุกะเลยกลายเป็น เมืองภายในแผ่นดิน อยู่ห่างชายฝั่งทะเล ในวันนี้เกือบ 25 กม. ชายฝั่งบริเวณท่าเรือใหญ่ครั้งโน้น ปัจจุบันนี้คือ คลองปาเละหมู่บ้านกาแลบูซา (ท่าเรือใหญ่) หมู่บ้านเทียระยา (หมู่บ้านเสากระโดงเรือ) ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง ปัตตานี

    ร่องรอยทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเป็นเมืองเรียงกันถึง 3 เมืองด้วยกัน ได้แก่ เมืองที่กำลังขุดอยู่ที่บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านปราแว (พระราชวัง) อำเภอยะรัง บ้านปราแวอยู่ริมทะเล มีลักษณะ ค่ายคูประตูหอรบตามมุมเมือง คาดว่าน่าจะเป็นประชาคม 3 แห่ง ที่อยู่ร่วมกันมากกว่าเมือง โดยรวมแล้วพื้นที่ดังกล่าวนี้ พบร่องรอยทางโบราณคดีถึงกว่า 40 แห่ง ลงมือขุดไปเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ชิ้นใหญ่ ๆ ที่กำลังขุดอยู่เป็นศาสนสถานใน ศาสนาพราหมณ์และ พุทธศาสนา ทั้งพบคำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณและภาษาสันสกฤตด้วย บ่งบอกอย่างเด่นชัด แรกเริ่มนั้นชาวลังกาสุกะนับถือศาสนาพราหมณ์ เปลี่ยนมาถือพุทธ แล้วเปลี่ยนมาเป็นอิสลามตามลำดับ

    ลังกาสุกะเฟื่องเนื่องมาจากที่ตั้งเป็นกึ่งกลางเส้นทางค้าขายโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศูนย์ค้าเครื่องเทศสินค้าสำคัญของภูมิภาคนี้ ที่ดังที่สุด ได้แก่ไม้หอม และกำยาน ซึ่งอินเดีย อาหรับยันยุโรปต่างต้องการอย่างมาก น่าเชื่อว่ากำยานชั้นดีที่สุดเป็นกำยานลังกาสุกะ เพราะเครื่องหอมทำจากกำยานที่โลกอาหรับ และชาติมุสลิมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเครื่องหอม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจือปนไม่ผิด หลักทางศาสนาที่ชื่อว่า "ไซมีส เบนโซอีน" ที่ยังใช้กันมาจนทุกวันนี้ ลังกาสุกะเป็นท่าเรือ ส่งออกที่ใหญ่มาก

    ลังกาสุกะอาจเป็นอาณาจักรเดียวในโลกที่ล่มสลายไปไม่ใช่เพราะการสงครามหรือโรคระบาด หากเกิดจากทะเลถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ เมื่อไม่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม ผู้คนก็อพยพทิ้งบ้านทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่นกันหมด พร้อม ๆ กับอาณาจักรอื่นใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่
    สามจังหวัดชายแดนใต้ ของไทย เป็นดินแดนพุทธศาสนา และพราหมณ์มาก่อน ..หลีกฐานทางประวัติศาสตร์มีครบสมบูรณ์ ลังกาสุกะเป็นนครรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 รุ่งเรืองยาวนานถึง 1,400 ปี จึงเสื่อมสลายไป[3] ไม่ใช่เพราะถูกอำนาจใดเข้าตี หากแต่ทะเลถอยห่างตัวเมืองออกไปทุกที จนผู้คนพากันทิ้งเมือง ซ้ำโดนน้ำท่วมโคลนถมทับตัวเมืองแทบหมด เพิ่งขุดเจอซากไม่นานมานี้ เชื่อกันว่าคนในหมู่บ้านกาแลจิน อ.เมืองปัตตานีปัจจุบันคือผู้สืบเชื้อสายชาวเมืองลังกาสุกะ ที่เป็นลูกครึ่งชาวจีนกับคนพื้นเมืองที่ต้องทิ้งเมืองเก่ามาอยู่ในปัตตานีเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้ว อาณาจักรโบราณยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่ามีพื้นที่คลุมไปถึงตอนเหนือมาเลเซีย เพราะพบสิ่ง ก่อสร้างโบราณ แบบเดียวกับที่พบในปัตตานีแถวริมฝั่งแม่น้ำบูจังและปาดังลาวาส (ปากแม่น้ำลาวาส) ในรัฐเคดาห์ หนังสือเหล่านั้นเรียกอย่างจืดชืดไม่ดึงดูดใจสักนิดว่า "เมืองโบราณยะรัง" เพราะซากเมืองเก่าพบที่ อ.ยะรัง ทั้งที่มีความเก่าแก่รุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรทวาราวดีตั้ง 500 ปี ศรีวิชัยและทวาราวดีตั้งในพุทธศตวรรษที่ 12 ลังกาสุกะเป็นนครรัฐที่โลกตะวันตกตะวันออก รู้จักกันแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เมืองโบราณยะรังจึงไม่ใช่เมืองเก่าธรรมดา หากแต่เป็นเมืองท่านครรัฐยิ่งใหญ่ สมัยโบราณเก๋ากึ๊กในภูมิภาคนี้โดยแท้ เมืองโบราณที่ กรมศิลปากร กำลังขุดแต่งอยู่ที่ อำเภอยะรัง ในขณะนี้คือ ศูนย์การปกครอง อาณาจักรลังกาสุกะ ในเมื่อบันทึก ชาวอินเดียและ ชาวอาหรับ ที่เรียกเมืองนี้ว่า "ลังกาสุกะ" กับบันทึก ของชาวจีนที่เรียก "หลาง หย่า ซุ่ย" ล้วนระบุทิศทางและ ที่ตั้งตรงกันหมด น.ส.พรทิพย์ พันธุโกวิท หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โบราณคดี ผู้ควบคุมการขุดแต่งและ บูรณะมาตั้งแต่แรกถึง 16 ปี อธิบายว่า ปัตตานีวันนี้คือ ดินแดนเกิดใหม่ เมื่อทะเลถอย ห่างฝั่งออกไปทุกที ลังกาสุกะเลยกลายเป็น เมืองภายในแผ่นดิน อยู่ห่างชายฝั่งทะเล ในวันนี้เกือบ 25 กม. ชายฝั่งบริเวณท่าเรือใหญ่ครั้งโน้น ปัจจุบันนี้คือ คลองปาเละหมู่บ้านกาแลบูซา (ท่าเรือใหญ่) หมู่บ้านเทียระยา (หมู่บ้านเสากระโดงเรือ) ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง ปัตตานี ร่องรอยทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเป็นเมืองเรียงกันถึง 3 เมืองด้วยกัน ได้แก่ เมืองที่กำลังขุดอยู่ที่บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านปราแว (พระราชวัง) อำเภอยะรัง บ้านปราแวอยู่ริมทะเล มีลักษณะ ค่ายคูประตูหอรบตามมุมเมือง คาดว่าน่าจะเป็นประชาคม 3 แห่ง ที่อยู่ร่วมกันมากกว่าเมือง โดยรวมแล้วพื้นที่ดังกล่าวนี้ พบร่องรอยทางโบราณคดีถึงกว่า 40 แห่ง ลงมือขุดไปเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ชิ้นใหญ่ ๆ ที่กำลังขุดอยู่เป็นศาสนสถานใน ศาสนาพราหมณ์และ พุทธศาสนา ทั้งพบคำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณและภาษาสันสกฤตด้วย บ่งบอกอย่างเด่นชัด แรกเริ่มนั้นชาวลังกาสุกะนับถือศาสนาพราหมณ์ เปลี่ยนมาถือพุทธ แล้วเปลี่ยนมาเป็นอิสลามตามลำดับ ลังกาสุกะเฟื่องเนื่องมาจากที่ตั้งเป็นกึ่งกลางเส้นทางค้าขายโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศูนย์ค้าเครื่องเทศสินค้าสำคัญของภูมิภาคนี้ ที่ดังที่สุด ได้แก่ไม้หอม และกำยาน ซึ่งอินเดีย อาหรับยันยุโรปต่างต้องการอย่างมาก น่าเชื่อว่ากำยานชั้นดีที่สุดเป็นกำยานลังกาสุกะ เพราะเครื่องหอมทำจากกำยานที่โลกอาหรับ และชาติมุสลิมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเครื่องหอม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจือปนไม่ผิด หลักทางศาสนาที่ชื่อว่า "ไซมีส เบนโซอีน" ที่ยังใช้กันมาจนทุกวันนี้ ลังกาสุกะเป็นท่าเรือ ส่งออกที่ใหญ่มาก ลังกาสุกะอาจเป็นอาณาจักรเดียวในโลกที่ล่มสลายไปไม่ใช่เพราะการสงครามหรือโรคระบาด หากเกิดจากทะเลถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ เมื่อไม่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม ผู้คนก็อพยพทิ้งบ้านทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่นกันหมด พร้อม ๆ กับอาณาจักรอื่นใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 229 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น)

    เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲)

    ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้
    “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร)

    หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ

    บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี

    หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก)

    หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076

    บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1
    https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433
    https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/王安石/127359
    https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120
    https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from=
    https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html

    #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น) เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲) ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้ “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร) หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก) หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076 บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1 https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433 https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/王安石/127359 https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120 https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from= https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    ENT.IFENG.COM
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 398 มุมมอง 0 รีวิว
  • 48 ปี ประหาร “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ นักโทษกบฏคนสุดท้าย ที่ตายด้วยการยิงเป้า 🇹🇭⚖️ เสียงปืนสุดท้าย ของการปฏิวัติ ที่ไม่สำเร็จ

    ย้อนรอยคดีประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ที่สะท้อนทั้งความหวัง ความกล้า และการถูกลืม

    🧭 บทเรียนจากอดีต ที่ไม่อาจมองข้าม บ่ายวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลา 15.24 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง เสียงปืนชุดหนึ่ง ดังก้องสะท้อนในความเงียบสงบ เป็นการสิ้นสุดชีวิตของ “เสธ. หลาด” หรือ "พลเอกฉลาด หิรัญศิริ" นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิต ในข้อหากบฏ

    เสธ.หลาดเป็นคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารด้วยการยิงเป้า โดยคำสั่งตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งเปิดช่องให้รัฐบาลในเวลานั้น สามารถออกคำสั่งให้ประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องผ่านศาล 👁️‍🗨️

    จะพาเจาะลึกตั้งแต่ชีวประวัติของ "พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ" เหตุการณ์รัฐประหารที่ล้มเหลว การตัดสินโทษ และคำถามที่ยังไร้คำตอบว่า... “ทำไมเสธ.หลาดต้องถูกประหาร?” 🤔

    👤 จากทหารกล้า สู่ผู้นำกบฏ "พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ" ถือกำเนิดในยุคสงครามโลก ครั้งที่สอง เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2483 ที่อุดรธานี มีชีวิตในวงการทหารมายาวนาน ผ่านสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ทหารนักรบของจริง” 🪖

    เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อย เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทย ในเวียดนามใต้ (ผลัด 2) และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

    ชื่อเสียงของเสธ.หลาดในสนามรบ เป็นที่เลื่องลือ ถึงขนาดได้รับประกาศเกียรติคุณ จากประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 🎖️

    อย่างไรก็ตาม เส้นทางในกองทัพ กลับไม่เป็นไปตามฝัน เมื่อการเมืองเข้ามาแทรกแซง ส่งผลให้ความทะเยอทะยานของเสธ.หลาด ในการก้าวสู่ตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารบก" ต้องพังทลายลง

    ⚔️ ปฏิบัติการยึดอำนาจ 26 มีนาคม 2520 ความพยายามที่สิ้นสุดด้วยการล้อม เมื่อการเมืองไม่เอื้อ เสธ.หลาดเลือกเส้นทาง ของการก่อรัฐประหาร โดยในวันที่ 26 มีนาคม 2520 พล.อ. ฉลาด พร้อมพวก เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก “สวนรื่นฤดี” โดยมีลูกชายของเขา "พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ" เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง

    แผนการดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่กลับถูกฝ่ายรัฐบาล ควบคุมสถานการณ์ได้ ในเวลาไม่นาน โดยมี "พ.ต. สุรยุทธ์ จุลานนท์" เป็นตัวกลางในการเจรจาให้ยอมแพ้ และเสนอให้ลี้ภัยไปไต้หวัน

    แต่ข้อตกลงนี้ กลับไม่สำเร็จ เมื่อการเดินทางไปไต้หวันล้มเหลว และผู้นำรัฐประหารทั้งหมด ถูกจับกุมทันที

    🔥 ทำไมต้องประหาร? คำถามที่ยังไร้คำตอบ การใช้ มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 คือประเด็นที่ถกเถียงมากที่สุดในกรณีนี้ เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการศาลปกติ แต่เป็นอำนาจตรงจากรัฐบาลในเวลานั้น

    นายกรัฐมนตรี "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" กล่าวภายหลังว่า “ไม่เห็นควรใช้มาตรา 21 อย่างพร่ำเพรื่อ”

    แต่เสียงของนายกฯ แพ้เสียงทหาร ในที่ประชุมร่วมรัฐบาล-คณะปฏิรูป เพราะคะแนนเสียงห่างกัน 16 ต่อ 26 ทำให้คดีนี้ถูกนำไปสู่การตัดสินโทษประหารทันที

    ✨ ข้อสังเกตจาก "สุธรรม แสงประทุม" นักโทษการเมือง ฝ่ายทหารหวาดกลัวว่า เสธ.หลาด จะหลบหนี ดพราะเชื่อว่ายังมีอิทธิพลภายใน รวมถึงกังวลว่า จะถูกเปิดโปงภายในกองทัพ

    นี่คือการ "กำจัด" มากกว่าการ "ยุติธรรม"?

    🕊️ ช่วงสุดท้ายของชีวิต “เสธ. หลาด”
    เวลา 14.00 น. เสธ.หลาดถูกเบิกตัวจากแดนพิเศษ ไปยังห้องควบคุม เขาถามเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงว่า “ญาติมาเยี่ยมหรือ เขาอนุญาตให้เยี่ยมแล้วใช่ไหม?”

    ไม่มีคำตอบ เขารู้ในใจว่าชะตากำลังจะมาถึง

    เวลา 14.20 น. เสธ.หลาดฟังคำสั่งประหารอย่างสงบ พร้อมเซ็นชื่อรับทราบ แล้วเขียนพินัยกรรม 4 แผ่น ✍️ ปฏิเสธอาหารมื้อสุดท้าย และขอดื่มเพียง น้ำส้ม 1 ขวด

    เวลา 14.50 น. พระมหาเจียมเทศนาเรื่องกรรม เสธ.หลาดกล่าว "สาธุ" และก้มกราบ 3 ครั้ง พร้อมประเคนเงินจำนวน 100 บาท และนาฬิกาโอเมกา🙏

    เวลา 15.24 น. เสียงปืนจบชีวิต "เสธ.หลาด" ตรงศาลาแปดเหลี่ยม ในเรือนจำบางขวาง

    คำพูดสุดท้าย "ถ้าพร้อมแล้ว จะบอกนะ"

    จากนั้น...มือของเสธ.หลาดสั่นเบา ๆ เพื่อ "เขย่าดอกไม้ในมือ" เป็นสัญญาณให้เพชฌฆาตเหนี่ยวไก

    🪦 เสธ. หลาดในความทรงจำ ของนักโทษการเมือง "สุธรรม แสงประทุม" เล่าว่า เสธ.หลาด หรือ “ลุงหลาด” อยู่ตึกเดียวกันในบางขวาง โดย “ลุงหลาด” มักชอบพูดเสมอว่า

    “ลุงถูกหักหลัง” ใครคือผู้หักหลัง? ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด... หรืออาจรู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด

    เสธ.หลาดยังถามสุธรรมซ้ำ ๆ ว่า "การต่อสู้ของลุง สมควรแก่เหตุหรือเปล่า?"

    สุธรรมตอบว่า "ก็พอสมควรแก่เหตุครับ"

    🧩 เสธ. หลาดในหน้าประวัติศาสตร์: วีรบุรุษ? กบฏ? หรือเหยื่อการเมือง? สิ่งที่ควรถามในวันนี้ไม่ใช่แค่ว่า “เขาผิดหรือไม่?”

    แต่คือ “เขาได้รับความยุติธรรมหรือเปล่า?”

    การประหารชีวิต ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการศาล

    การเจรจาที่หลอกให้เขายอมแพ้

    การกล่าวหาว่า เขามีอิทธิพลเกินไป

    ทั้งหมดนี้คือคำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบ และอาจไม่เคยมีวันหนึ่ง ที่คำตอบเหล่านั้นจะถูกเปิดเผย...

    🔚 เสียงสะท้อนจากกระสุนในวันนั้น เรื่องราวของ “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของคน คนหนึ่ง แต่มันสะท้อนถึง โครงสร้างอำนาจของไทยในอดีต สะท้อนถึงความเปราะบางของ “ความยุติธรรม” เมื่อ “อำนาจ” มาแทนที่ 📜⚖️

    48 ปี ผ่านไป คำถามยังคงอยู่...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221706 เม.ย. 2568

    📱 #เสธหลาด #ฉลาดหิรัญศิริ #กบฏ2520 #ประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีดังไทย #รัฐประหาร #การเมืองไทย #บางขวาง #มาตรา21
    48 ปี ประหาร “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ นักโทษกบฏคนสุดท้าย ที่ตายด้วยการยิงเป้า 🇹🇭⚖️ เสียงปืนสุดท้าย ของการปฏิวัติ ที่ไม่สำเร็จ ย้อนรอยคดีประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ที่สะท้อนทั้งความหวัง ความกล้า และการถูกลืม 🧭 บทเรียนจากอดีต ที่ไม่อาจมองข้าม บ่ายวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 เวลา 15.24 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง เสียงปืนชุดหนึ่ง ดังก้องสะท้อนในความเงียบสงบ เป็นการสิ้นสุดชีวิตของ “เสธ. หลาด” หรือ "พลเอกฉลาด หิรัญศิริ" นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิต ในข้อหากบฏ เสธ.หลาดเป็นคนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารด้วยการยิงเป้า โดยคำสั่งตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งเปิดช่องให้รัฐบาลในเวลานั้น สามารถออกคำสั่งให้ประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องผ่านศาล 👁️‍🗨️ จะพาเจาะลึกตั้งแต่ชีวประวัติของ "พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ" เหตุการณ์รัฐประหารที่ล้มเหลว การตัดสินโทษ และคำถามที่ยังไร้คำตอบว่า... “ทำไมเสธ.หลาดต้องถูกประหาร?” 🤔 👤 จากทหารกล้า สู่ผู้นำกบฏ "พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ" ถือกำเนิดในยุคสงครามโลก ครั้งที่สอง เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2483 ที่อุดรธานี มีชีวิตในวงการทหารมายาวนาน ผ่านสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ทหารนักรบของจริง” 🪖 เคยดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองร้อย เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทย ในเวียดนามใต้ (ผลัด 2) และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ชื่อเสียงของเสธ.หลาดในสนามรบ เป็นที่เลื่องลือ ถึงขนาดได้รับประกาศเกียรติคุณ จากประธานาธิบดีเวียดนามใต้ 🎖️ อย่างไรก็ตาม เส้นทางในกองทัพ กลับไม่เป็นไปตามฝัน เมื่อการเมืองเข้ามาแทรกแซง ส่งผลให้ความทะเยอทะยานของเสธ.หลาด ในการก้าวสู่ตำแหน่ง "ผู้บัญชาการทหารบก" ต้องพังทลายลง ⚔️ ปฏิบัติการยึดอำนาจ 26 มีนาคม 2520 ความพยายามที่สิ้นสุดด้วยการล้อม เมื่อการเมืองไม่เอื้อ เสธ.หลาดเลือกเส้นทาง ของการก่อรัฐประหาร โดยในวันที่ 26 มีนาคม 2520 พล.อ. ฉลาด พร้อมพวก เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก “สวนรื่นฤดี” โดยมีลูกชายของเขา "พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ" เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง แผนการดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่กลับถูกฝ่ายรัฐบาล ควบคุมสถานการณ์ได้ ในเวลาไม่นาน โดยมี "พ.ต. สุรยุทธ์ จุลานนท์" เป็นตัวกลางในการเจรจาให้ยอมแพ้ และเสนอให้ลี้ภัยไปไต้หวัน แต่ข้อตกลงนี้ กลับไม่สำเร็จ เมื่อการเดินทางไปไต้หวันล้มเหลว และผู้นำรัฐประหารทั้งหมด ถูกจับกุมทันที 🔥 ทำไมต้องประหาร? คำถามที่ยังไร้คำตอบ การใช้ มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 คือประเด็นที่ถกเถียงมากที่สุดในกรณีนี้ เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการศาลปกติ แต่เป็นอำนาจตรงจากรัฐบาลในเวลานั้น นายกรัฐมนตรี "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" กล่าวภายหลังว่า “ไม่เห็นควรใช้มาตรา 21 อย่างพร่ำเพรื่อ” แต่เสียงของนายกฯ แพ้เสียงทหาร ในที่ประชุมร่วมรัฐบาล-คณะปฏิรูป เพราะคะแนนเสียงห่างกัน 16 ต่อ 26 ทำให้คดีนี้ถูกนำไปสู่การตัดสินโทษประหารทันที ✨ ข้อสังเกตจาก "สุธรรม แสงประทุม" นักโทษการเมือง ฝ่ายทหารหวาดกลัวว่า เสธ.หลาด จะหลบหนี ดพราะเชื่อว่ายังมีอิทธิพลภายใน รวมถึงกังวลว่า จะถูกเปิดโปงภายในกองทัพ นี่คือการ "กำจัด" มากกว่าการ "ยุติธรรม"? 🕊️ ช่วงสุดท้ายของชีวิต “เสธ. หลาด” เวลา 14.00 น. เสธ.หลาดถูกเบิกตัวจากแดนพิเศษ ไปยังห้องควบคุม เขาถามเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงว่า “ญาติมาเยี่ยมหรือ เขาอนุญาตให้เยี่ยมแล้วใช่ไหม?” ไม่มีคำตอบ เขารู้ในใจว่าชะตากำลังจะมาถึง เวลา 14.20 น. เสธ.หลาดฟังคำสั่งประหารอย่างสงบ พร้อมเซ็นชื่อรับทราบ แล้วเขียนพินัยกรรม 4 แผ่น ✍️ ปฏิเสธอาหารมื้อสุดท้าย และขอดื่มเพียง น้ำส้ม 1 ขวด เวลา 14.50 น. พระมหาเจียมเทศนาเรื่องกรรม เสธ.หลาดกล่าว "สาธุ" และก้มกราบ 3 ครั้ง พร้อมประเคนเงินจำนวน 100 บาท และนาฬิกาโอเมกา🙏 เวลา 15.24 น. เสียงปืนจบชีวิต "เสธ.หลาด" ตรงศาลาแปดเหลี่ยม ในเรือนจำบางขวาง คำพูดสุดท้าย "ถ้าพร้อมแล้ว จะบอกนะ" จากนั้น...มือของเสธ.หลาดสั่นเบา ๆ เพื่อ "เขย่าดอกไม้ในมือ" เป็นสัญญาณให้เพชฌฆาตเหนี่ยวไก 🪦 เสธ. หลาดในความทรงจำ ของนักโทษการเมือง "สุธรรม แสงประทุม" เล่าว่า เสธ.หลาด หรือ “ลุงหลาด” อยู่ตึกเดียวกันในบางขวาง โดย “ลุงหลาด” มักชอบพูดเสมอว่า “ลุงถูกหักหลัง” ใครคือผู้หักหลัง? ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด... หรืออาจรู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เสธ.หลาดยังถามสุธรรมซ้ำ ๆ ว่า "การต่อสู้ของลุง สมควรแก่เหตุหรือเปล่า?" สุธรรมตอบว่า "ก็พอสมควรแก่เหตุครับ" 🧩 เสธ. หลาดในหน้าประวัติศาสตร์: วีรบุรุษ? กบฏ? หรือเหยื่อการเมือง? สิ่งที่ควรถามในวันนี้ไม่ใช่แค่ว่า “เขาผิดหรือไม่?” แต่คือ “เขาได้รับความยุติธรรมหรือเปล่า?” การประหารชีวิต ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการศาล การเจรจาที่หลอกให้เขายอมแพ้ การกล่าวหาว่า เขามีอิทธิพลเกินไป ทั้งหมดนี้คือคำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบ และอาจไม่เคยมีวันหนึ่ง ที่คำตอบเหล่านั้นจะถูกเปิดเผย... 🔚 เสียงสะท้อนจากกระสุนในวันนั้น เรื่องราวของ “เสธ.หลาด” พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของคน คนหนึ่ง แต่มันสะท้อนถึง โครงสร้างอำนาจของไทยในอดีต สะท้อนถึงความเปราะบางของ “ความยุติธรรม” เมื่อ “อำนาจ” มาแทนที่ 📜⚖️ 48 ปี ผ่านไป คำถามยังคงอยู่... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221706 เม.ย. 2568 📱 #เสธหลาด #ฉลาดหิรัญศิริ #กบฏ2520 #ประหารชีวิต #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีดังไทย #รัฐประหาร #การเมืองไทย #บางขวาง #มาตรา21
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 379 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..บทความจากข่าว,เท็จจริงมิทราบ,แต่ไม่สมควรให้ชาวโลกรอนานไปแล้ว,ควรจบตั้งแต่หลังยุคโควิดแล้วโน้น.2019,2020&จบ2021,ไม่ควรปล่อยวุ่นวายถึง2025เลย.
    ..
    ..

    การตื่นขึ้นไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็น โซ่ตรวนแห่งมายาภาพกำลังขาดออก และโลกที่เรารู้จักกำลังเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์

    • รัฐบาลกำลังถูกเปิดโปงว่าเป็นหุ่นเชิดของวาระที่ยิ่งใหญ่กว่า
    • ระบบต่างๆ ที่เราพึ่งพา (การแพทย์ การศึกษา ระบบยุติธรรม) กำลังเปิดเผยแก่นแท้อันทุจริตของพวกเขา
    • เสียงกระซิบของเรื่องราวที่ถูกปิดบังกำลังกลายเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้

    ถึงเวลาแล้วที่ต้องเอาชนะความกลัวและโอบรับพลังแห่งจิตสำนึก
    • กำลังเกิดชุมชนที่ปฏิเสธคำโกหกและสร้างเครือข่ายที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
    • ความรู้ที่ถูกฝังไว้มานานกำลังถูกขุดค้นขึ้นมา ช่วยให้มวลชนสามารถทวงอำนาจอธิปไตยของตนกลับคืนมาได้
    • ผู้พิทักษ์คนเก่าเกาะติดการควบคุมอย่างสิ้นหวัง แต่การยึดเกาะของพวกเขาก็อ่อนลงทุก ๆ ช่วงเวลาที่ผ่านไป

    สังเกตสัญญาณต่างๆ รอบตัวคุณ:
    • การลาออกจำนวนมากของผู้ที่ไม่อาจทำหน้าที่ตามวาระได้อีกต่อไป
    • คลื่นแห่งการเปิดเผยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งสั่นคลอนรากฐานของสังคม
    • ความเข้าใจร่วมกันว่าความสามัคคี ไม่ใช่ความแตกแยก ถือเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อแผนการของพวกเขา

    นี่คือช่วงเวลาที่มนุษยชาติกำลังรอคอย: การล่มสลายของโลกเก่าและการถือกำเนิดของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ยืนหยัด เชื่อมั่นในกระบวนการ และจงรู้ว่าเมื่อความจริงถูกเปิดเผยแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้

    รุ่งอรุณกำลังส่องแสง และไม่มีอะไรสามารถหยุดยั้งสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

    cr.นายพูล
    ..บทความจากข่าว,เท็จจริงมิทราบ,แต่ไม่สมควรให้ชาวโลกรอนานไปแล้ว,ควรจบตั้งแต่หลังยุคโควิดแล้วโน้น.2019,2020&จบ2021,ไม่ควรปล่อยวุ่นวายถึง2025เลย. .. .. การตื่นขึ้นไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็น โซ่ตรวนแห่งมายาภาพกำลังขาดออก และโลกที่เรารู้จักกำลังเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ • รัฐบาลกำลังถูกเปิดโปงว่าเป็นหุ่นเชิดของวาระที่ยิ่งใหญ่กว่า • ระบบต่างๆ ที่เราพึ่งพา (การแพทย์ การศึกษา ระบบยุติธรรม) กำลังเปิดเผยแก่นแท้อันทุจริตของพวกเขา • เสียงกระซิบของเรื่องราวที่ถูกปิดบังกำลังกลายเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ถึงเวลาแล้วที่ต้องเอาชนะความกลัวและโอบรับพลังแห่งจิตสำนึก • กำลังเกิดชุมชนที่ปฏิเสธคำโกหกและสร้างเครือข่ายที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ • ความรู้ที่ถูกฝังไว้มานานกำลังถูกขุดค้นขึ้นมา ช่วยให้มวลชนสามารถทวงอำนาจอธิปไตยของตนกลับคืนมาได้ • ผู้พิทักษ์คนเก่าเกาะติดการควบคุมอย่างสิ้นหวัง แต่การยึดเกาะของพวกเขาก็อ่อนลงทุก ๆ ช่วงเวลาที่ผ่านไป สังเกตสัญญาณต่างๆ รอบตัวคุณ: • การลาออกจำนวนมากของผู้ที่ไม่อาจทำหน้าที่ตามวาระได้อีกต่อไป • คลื่นแห่งการเปิดเผยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งสั่นคลอนรากฐานของสังคม • ความเข้าใจร่วมกันว่าความสามัคคี ไม่ใช่ความแตกแยก ถือเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อแผนการของพวกเขา นี่คือช่วงเวลาที่มนุษยชาติกำลังรอคอย: การล่มสลายของโลกเก่าและการถือกำเนิดของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ยืนหยัด เชื่อมั่นในกระบวนการ และจงรู้ว่าเมื่อความจริงถูกเปิดเผยแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้ รุ่งอรุณกำลังส่องแสง และไม่มีอะไรสามารถหยุดยั้งสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ cr.นายพูล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 207 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts