• พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย

    วันนี้ (9 เมษายน 2568) เวลา 08.30 น. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    .
    สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นองค์กรเกษตรกร ที่มีสมาชิกกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ขอแสดงจุดยืนใน การคัดค้านการที่รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เข้าสู่การพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากภายในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้มีการเปิดบ่อนการพนันหรือ กาสิโนอย่างถูกกฎหมาย โดยอ้างเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หารายได้ให้ประเทศ

    นายนคร ศรีวิพัฒน์ เลขาธิการ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย กล่าวว่า "สิ่งที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกำลังรีบเร่งดำเนินการ ดูเป็นการกระทำแบบลุกลี้ลุกลน ละเลยการ เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านและจริงจัง อีกทั้งไม่มีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดต่อ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การล่มสลายของครอบครัวที่มีผู้ติดการพนัน การละเมิดศีลธรรม ฯลฯ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดต่อประชาชนและสังคม ว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างที่รัฐบาลอ้างหรือไม่ เพียงใด"

    สมัชชาเกษตรกรรายย่อย จึงขอประกาศว่า "จะต่อสู้อย่างถึงที่สุดให้รัฐบาลยุติการผลักดันให้เกิด บ่อนพนันถูกกฎหมาย มิใช่เพียงแค่การเลื่อนการนำเสนอร่างนี้ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อย่างที่นายกรัฐมนตรีเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา"

    "สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ขอเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ เข้าร่วมกับมวลมิตรใน สังคมไทย คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างถึงที่สุด"

    พร้อมกันนี้ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ได้แถลงการณ์ว่า "ตามที่พรรคได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจ สถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. กฎหมายมีเรื่องบ่อนการพนัน หรือ การให้มีกาสิโนอยู่ด้วย รวมทั้งการคัดค้านแก้กฎเกณฑ์เพื่อให้การพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย ประกอบกับกระแสเสียงของ สังคมทั้งภาควิชาการ สถาบันการศึกษา องค์การของขบวนการสหภาพแรงงาน องค์การนักศึกษา สื่อสาร องค์การศาสนาทุกศาสนาต่างแสดงจุดยืนคัดค้านกันทั่วประเทศ แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจต่อเสียง คัดค้านจากภาคส่วนต่าง ๆ อ้างเพียงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้วประมาณ 80,000 คน แสดงความคิดเห็นและมีคนเห็นด้วยประมาณ 57,000 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้แสดง ความคิดเห็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากการลงลายมือชื่อของประชาชนผ่านองค์กรต่าง ๆ ของภาคประชาชน ที่มีหลายแสนรายชื่อและเสียงคัดค้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แม้กระทั่ง แต่รัฐบาลยังยืนกรานเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายอัปยศนี้โดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 และเร่งบรรจุร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 เมษายน 2568 แต่เมื่อฝ่ายประชาชนทราบเรื่องต่างก็ ทําแดงพลังด้วยการร่วมกันคัดค้านที่หน้ารัฐสภา จนต้องเลื่อนพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 4 เมษายน 2568 ทวนกระแสคัดค้านของสังคมอย่างน่าละอาย ไม่สนใจแม้กระทั่งการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกถล่ม (เหตุเกิดวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ มีคนจำนวนมากกล่าว ว่าเป็นอาเพศของแผ่นดิน) มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดของประเทศ

    พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ก.) จึงขอตอกย้ำถึงจุดยืนที่จะคัดค้าน ร่างกฎหมายการ คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ที่มีเรื่องบ่อนการพนันกาสิโนที่ซุกซ่อนอยู่ในกฎหมายและ คัดค้านการทำพนันออนไลน์ให้ถูกกฎหมาย ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวรัฐบาลมิได้ดำเนินการให้ประชาชน มีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็ไม่เคยแสดง นโยบายต่อประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาแต่อย่างใด การ ดำเนินการอย่างเร่งรีบของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ หลักการที่ถูกต้องในระบอบ ประชาธิปไตย และยังขัดกับจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2564 และยังขัดต่อหลักการสำคัญของ ศาสนาพุทธ และทุกศาสนา ที่สำคัญศาสนาพุทธบัญญัติว่า “การพนันคือหนทางการนำมาซึ่งการเสื่อมเสีย ความวิบัติต่อมนุษยชาติ” โดยหลักที่ถูกต้องในสถานการเช่นนี้รัฐบาลควรปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของชาติ แก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เร่งศึกษาหาทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่ เกิดขึ้นจากการขึ้นภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นสำคัญ พรรคประจำจังหวัดและสมาชิกพรรค ได้ช่วยกันรณรงค์ต่อต้าน คัดค้าน ร่าง ด้วยเหตุนี้

    จึงขอให้สาขาพรรค ตัวแทน พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ........ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศแสดงพลังหยุดกาสิโน หยุดการพนันออนไลน์ หยุดหายนะประเทศ ที่เป็นพิษภัยร้ายแรงของชาติ ที่จะกระทบต่อลูกหลานไทย ในอนาคตให้กว้างขวางที่สุด
    พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย วันนี้ (9 เมษายน 2568) เวลา 08.30 น. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา . สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นองค์กรเกษตรกร ที่มีสมาชิกกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ขอแสดงจุดยืนใน การคัดค้านการที่รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เข้าสู่การพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากภายในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้มีการเปิดบ่อนการพนันหรือ กาสิโนอย่างถูกกฎหมาย โดยอ้างเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หารายได้ให้ประเทศ นายนคร ศรีวิพัฒน์ เลขาธิการ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย กล่าวว่า "สิ่งที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกำลังรีบเร่งดำเนินการ ดูเป็นการกระทำแบบลุกลี้ลุกลน ละเลยการ เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านและจริงจัง อีกทั้งไม่มีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดต่อ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การล่มสลายของครอบครัวที่มีผู้ติดการพนัน การละเมิดศีลธรรม ฯลฯ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดต่อประชาชนและสังคม ว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างที่รัฐบาลอ้างหรือไม่ เพียงใด" สมัชชาเกษตรกรรายย่อย จึงขอประกาศว่า "จะต่อสู้อย่างถึงที่สุดให้รัฐบาลยุติการผลักดันให้เกิด บ่อนพนันถูกกฎหมาย มิใช่เพียงแค่การเลื่อนการนำเสนอร่างนี้ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อย่างที่นายกรัฐมนตรีเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา" "สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ขอเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ เข้าร่วมกับมวลมิตรใน สังคมไทย คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างถึงที่สุด" พร้อมกันนี้ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ได้แถลงการณ์ว่า "ตามที่พรรคได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจ สถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. กฎหมายมีเรื่องบ่อนการพนัน หรือ การให้มีกาสิโนอยู่ด้วย รวมทั้งการคัดค้านแก้กฎเกณฑ์เพื่อให้การพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย ประกอบกับกระแสเสียงของ สังคมทั้งภาควิชาการ สถาบันการศึกษา องค์การของขบวนการสหภาพแรงงาน องค์การนักศึกษา สื่อสาร องค์การศาสนาทุกศาสนาต่างแสดงจุดยืนคัดค้านกันทั่วประเทศ แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจต่อเสียง คัดค้านจากภาคส่วนต่าง ๆ อ้างเพียงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้วประมาณ 80,000 คน แสดงความคิดเห็นและมีคนเห็นด้วยประมาณ 57,000 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้แสดง ความคิดเห็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากการลงลายมือชื่อของประชาชนผ่านองค์กรต่าง ๆ ของภาคประชาชน ที่มีหลายแสนรายชื่อและเสียงคัดค้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แม้กระทั่ง แต่รัฐบาลยังยืนกรานเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายอัปยศนี้โดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 และเร่งบรรจุร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 เมษายน 2568 แต่เมื่อฝ่ายประชาชนทราบเรื่องต่างก็ ทําแดงพลังด้วยการร่วมกันคัดค้านที่หน้ารัฐสภา จนต้องเลื่อนพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 4 เมษายน 2568 ทวนกระแสคัดค้านของสังคมอย่างน่าละอาย ไม่สนใจแม้กระทั่งการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกถล่ม (เหตุเกิดวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ มีคนจำนวนมากกล่าว ว่าเป็นอาเพศของแผ่นดิน) มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดของประเทศ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ก.) จึงขอตอกย้ำถึงจุดยืนที่จะคัดค้าน ร่างกฎหมายการ คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ที่มีเรื่องบ่อนการพนันกาสิโนที่ซุกซ่อนอยู่ในกฎหมายและ คัดค้านการทำพนันออนไลน์ให้ถูกกฎหมาย ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวรัฐบาลมิได้ดำเนินการให้ประชาชน มีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็ไม่เคยแสดง นโยบายต่อประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาแต่อย่างใด การ ดำเนินการอย่างเร่งรีบของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ หลักการที่ถูกต้องในระบอบ ประชาธิปไตย และยังขัดกับจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2564 และยังขัดต่อหลักการสำคัญของ ศาสนาพุทธ และทุกศาสนา ที่สำคัญศาสนาพุทธบัญญัติว่า “การพนันคือหนทางการนำมาซึ่งการเสื่อมเสีย ความวิบัติต่อมนุษยชาติ” โดยหลักที่ถูกต้องในสถานการเช่นนี้รัฐบาลควรปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของชาติ แก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เร่งศึกษาหาทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่ เกิดขึ้นจากการขึ้นภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นสำคัญ พรรคประจำจังหวัดและสมาชิกพรรค ได้ช่วยกันรณรงค์ต่อต้าน คัดค้าน ร่าง ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สาขาพรรค ตัวแทน พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ........ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศแสดงพลังหยุดกาสิโน หยุดการพนันออนไลน์ หยุดหายนะประเทศ ที่เป็นพิษภัยร้ายแรงของชาติ ที่จะกระทบต่อลูกหลานไทย ในอนาคตให้กว้างขวางที่สุด
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 346 Views 0 Reviews
  • 199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง

    ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️

    📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย

    📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว

    🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์

    เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩

    ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย

    แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย

    🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน

    🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา

    ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯

    นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม

    🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน

    สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน

    📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง

    วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭

    แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ

    🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦

    ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน

    🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568

    📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️ 📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย 📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว 🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์ เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩 ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย 🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน 🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯 นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม 🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน 📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭 แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ 🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦 ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน 🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568 📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    0 Comments 0 Shares 841 Views 0 Reviews
  • “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์

    วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์

    แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม

    เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย

    สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย

    สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา

    ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น

    #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์ วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 1317 Views 0 Reviews