• KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด

    การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป

    • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter

    • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow

    • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet

    • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay

    ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่

    หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น

    #Newskit #KTMB #GoCashless
    KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่ หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น #Newskit #KTMB #GoCashless
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 523 มุมมอง 0 รีวิว
  • (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน

    เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น.

    เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์

    ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ

    การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App

    ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ

    #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น. เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    Like
    Wow
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 961 มุมมอง 0 รีวิว
  • #จีน #ไร้เงินสด #บูรพาไม่แพ้
    ชอบรายการนี้ค่ะ ขอบคุณนะคะ Varit Lim
    https://youtu.be/CGX0rXB8u3o
    #จีน #ไร้เงินสด #บูรพาไม่แพ้ ชอบรายการนี้ค่ะ ขอบคุณนะคะ [varitlim] https://youtu.be/CGX0rXB8u3o
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 330 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด

    รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม

    โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ

    พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์

    ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด

    #Newskit #Penang #CashlessSociety
    ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด #Newskit #Penang #CashlessSociety
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 595 มุมมอง 0 รีวิว