• 7 มกราคม 2568-รายงานข่าวเนชั่นทีวีระบุว่า มีรายงานว่า นายลิม กิมยา เดินทางมาจาก เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยรถบัส มาพร้อมกับภรรยาชาวฝรั่งเศส และลุงชาวกัมพูชา ได้มาลงตรงบริเวณที่เกิดเหตุ และมีคนร้ายขับรถ จยย. ไม่ทราบทะเบียน มาจอด และยิง ก่อนหลบหนีไปเบื้องต้นฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม พาภรรยาไปสอบปากคำที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อหาสาเหตุปมสังหาร อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา อย่างอุกอาจกลางกรุงสำหรับนายลิม กิมยา ผู้เสียชีวิต เป็นนักการเมืองกัมพูชา ขั้วตรงข้ามกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ประธานพฤฒสภาของกัมพูชา เป็นอดีต สส.ฝ่ายค้าน จากพรรค Cambodia National Rescue ที่มีผลงานโดดเด่น โดยเมื่อปี 2018 เขาได้อภิปรายเรื่องงบประมาณรัฐบาลอย่างหนัก โดยปัจจุบัน นายลิม กิมยา ถือสัญชาติ ฝรั่งเศส-กัมพูชารายงานข่าวว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.ชนะสงคราม ชุดสืบสวนนครบาลและ ชุดสืบสวนนครบาล 1 เร่งล่าตัวมือปืนผู้ก่อเหตุ ซึ่งหลบหนีไป มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปที่มา https://www.nationtv.tv/news/crime/378954029?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3Mc9xWHt0sCgNYdnBU24IoEr-Y-8_XuMg04Tc43GgZy7zWog0qmGrM3ME_aem_VsFP1guRTCe58IWSYccN8Q#m5ml6y27yfwju4yta39
    7 มกราคม 2568-รายงานข่าวเนชั่นทีวีระบุว่า มีรายงานว่า นายลิม กิมยา เดินทางมาจาก เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยรถบัส มาพร้อมกับภรรยาชาวฝรั่งเศส และลุงชาวกัมพูชา ได้มาลงตรงบริเวณที่เกิดเหตุ และมีคนร้ายขับรถ จยย. ไม่ทราบทะเบียน มาจอด และยิง ก่อนหลบหนีไปเบื้องต้นฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม พาภรรยาไปสอบปากคำที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อหาสาเหตุปมสังหาร อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา อย่างอุกอาจกลางกรุงสำหรับนายลิม กิมยา ผู้เสียชีวิต เป็นนักการเมืองกัมพูชา ขั้วตรงข้ามกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ประธานพฤฒสภาของกัมพูชา เป็นอดีต สส.ฝ่ายค้าน จากพรรค Cambodia National Rescue ที่มีผลงานโดดเด่น โดยเมื่อปี 2018 เขาได้อภิปรายเรื่องงบประมาณรัฐบาลอย่างหนัก โดยปัจจุบัน นายลิม กิมยา ถือสัญชาติ ฝรั่งเศส-กัมพูชารายงานข่าวว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.ชนะสงคราม ชุดสืบสวนนครบาลและ ชุดสืบสวนนครบาล 1 เร่งล่าตัวมือปืนผู้ก่อเหตุ ซึ่งหลบหนีไป มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปที่มา https://www.nationtv.tv/news/crime/378954029?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3Mc9xWHt0sCgNYdnBU24IoEr-Y-8_XuMg04Tc43GgZy7zWog0qmGrM3ME_aem_VsFP1guRTCe58IWSYccN8Q#m5ml6y27yfwju4yta39
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัมพูชาแบนเครื่องดื่มชูกำลังในโรงเรียน

    แม้ในประเทศไทย เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) จะจำกัดส่วนผสมคาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อ 1 ขวดหรือ 1 กระป๋อง และมีคำเตือนห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด โปรดสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง แต่ก็ไม่ได้จำกัดอายุผู้ซื้อ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำหรือร้านสะดวกซื้อ แต่สำหรับบางประเทศเริ่มมีมาตรการจำกัดผู้ซื้อ โดยเฉพาะเยาวชน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

    กระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและกีฬากัมพูชา ออกประกาศห้ามจำหน่าย บริโภค และโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังทั้งในและโดยรอบสถานศึกษาทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน หลังนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สั่งการให้ดูแลความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่มในโรงเรียนอย่างเข้มงวด เพราะกังวลจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวชาวกัมพูชา

    "เด็กบางคนดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากถึง 3 กระป๋องต่อวัน" นายฮุน มาเนต กล่าวในพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพในกรุงพนมเปญ สอดคล้องกับรายงานของรัฐบาลกัมพูชา ที่ระบุว่า ระหว่างปี 2560-2564 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วประเทศกว่า 90,000 ราย เสียชีวิตเกือบ 70 ราย และโรงพยาบาลเด็กคันธะโบภา (Kantha Bopha) ระบุว่าในปี 2566 เด็กเกือบ 700 คนวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รักษาตัวโรงพยาบาลในจังหวัดเสียมราฐและพนมเปญ

    นายฮัง ชวน นารอน รมว.ศึกษาธิการเยาวชนและกีฬากัมพูชา ยืนยันว่าประกาศดังกล่าวบังคับใช้กับสถาบันการศึกษาทั่วไปทั้งของรัฐและเอกชน รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ ยังให้โรงเรียนแต่ละแห่งให้ความรู้แก่นักเรียน ถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากเครื่องดื่มชูกำลัง พร้อมตรวจสอบและตรวจยึดเครื่องดื่มชูกำลังจากผู้ขายที่จำหน่ายภายในโรงเรียนและใกล้เคียง หากไม่ปฎิบัติตามจะถึงขั้นยกเลิกสัญญาเช่าแผงขายสินค้า

    ไม่ใช่แค่กัมพูชา แต่ประเทศตะวันตกอย่างโปแลนด์ ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 ส่วนสาธารณรัฐเช็ก เตรียมห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อเดือน พ.ย. 2567 ส่วนสหราชอาณาจักร พรรคแรงงานเคยหาเสียงว่าจะห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี แต่ก็มีผู้ค้าปลีกบางแห่งออกมาตรการจำกัดอายุผู้ซื้อด้วยตัวเอง

    #Newskit
    กัมพูชาแบนเครื่องดื่มชูกำลังในโรงเรียน แม้ในประเทศไทย เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มชูกำลัง (Energy Drink) จะจำกัดส่วนผสมคาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อ 1 ขวดหรือ 1 กระป๋อง และมีคำเตือนห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด โปรดสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง แต่ก็ไม่ได้จำกัดอายุผู้ซื้อ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำหรือร้านสะดวกซื้อ แต่สำหรับบางประเทศเริ่มมีมาตรการจำกัดผู้ซื้อ โดยเฉพาะเยาวชน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ กระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและกีฬากัมพูชา ออกประกาศห้ามจำหน่าย บริโภค และโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังทั้งในและโดยรอบสถานศึกษาทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน หลังนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สั่งการให้ดูแลความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่มในโรงเรียนอย่างเข้มงวด เพราะกังวลจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวชาวกัมพูชา "เด็กบางคนดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากถึง 3 กระป๋องต่อวัน" นายฮุน มาเนต กล่าวในพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพในกรุงพนมเปญ สอดคล้องกับรายงานของรัฐบาลกัมพูชา ที่ระบุว่า ระหว่างปี 2560-2564 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วประเทศกว่า 90,000 ราย เสียชีวิตเกือบ 70 ราย และโรงพยาบาลเด็กคันธะโบภา (Kantha Bopha) ระบุว่าในปี 2566 เด็กเกือบ 700 คนวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รักษาตัวโรงพยาบาลในจังหวัดเสียมราฐและพนมเปญ นายฮัง ชวน นารอน รมว.ศึกษาธิการเยาวชนและกีฬากัมพูชา ยืนยันว่าประกาศดังกล่าวบังคับใช้กับสถาบันการศึกษาทั่วไปทั้งของรัฐและเอกชน รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ ยังให้โรงเรียนแต่ละแห่งให้ความรู้แก่นักเรียน ถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากเครื่องดื่มชูกำลัง พร้อมตรวจสอบและตรวจยึดเครื่องดื่มชูกำลังจากผู้ขายที่จำหน่ายภายในโรงเรียนและใกล้เคียง หากไม่ปฎิบัติตามจะถึงขั้นยกเลิกสัญญาเช่าแผงขายสินค้า ไม่ใช่แค่กัมพูชา แต่ประเทศตะวันตกอย่างโปแลนด์ ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 ส่วนสาธารณรัฐเช็ก เตรียมห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อเดือน พ.ย. 2567 ส่วนสหราชอาณาจักร พรรคแรงงานเคยหาเสียงว่าจะห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี แต่ก็มีผู้ค้าปลีกบางแห่งออกมาตรการจำกัดอายุผู้ซื้อด้วยตัวเอง #Newskit
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 522 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 726 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109

    เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน

    1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส

    2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น

    3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย

    4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    7/11/67 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109 เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน 1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส 2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น 3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย 4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 659 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลักฐานสำคัญ ที่แสดงว่า "เกาะกูด" เป็นของไทย

    สมัยร.๕ ในยุคล่าอาณานิคมฝรั่งเศสบุกยึดเวียตนาม รบกันหลายครั้ง สยามยอมแพ้ จึงทำสนธิสัญญาต่อกัน บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม คศ.1907 มีใจความสำคัญว่า

    1. รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และ​ศรีโสภณ ให้ ฝรั่งเศส ตามกำหนดปักปันเขตแดนที่แนบท้ายสัญญาข้อที่ 1
    2. ฝรั่งเศสยอมยกเมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปถึงเกาะกูดให่แก่กรุงสยาม ตามกำหนดปักปันเขตแดนที่แนบท้ายสัญญาข้อที่ 2

    ลงนามโดย
    V.Collin de Plancy และ
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ


    อ้างอิง : https://www.persee.fr/doc/geo_0003-4010_1907_num_16_87_6973
    .
    .
    พัชรี ว่องไววิทย์
    October23, 2024
    Sausalito, California

    หลักฐานสำคัญ ที่แสดงว่า "เกาะกูด" เป็นของไทย สมัยร.๕ ในยุคล่าอาณานิคมฝรั่งเศสบุกยึดเวียตนาม รบกันหลายครั้ง สยามยอมแพ้ จึงทำสนธิสัญญาต่อกัน บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม คศ.1907 มีใจความสำคัญว่า 1. รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และ​ศรีโสภณ ให้ ฝรั่งเศส ตามกำหนดปักปันเขตแดนที่แนบท้ายสัญญาข้อที่ 1 2. ฝรั่งเศสยอมยกเมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปถึงเกาะกูดให่แก่กรุงสยาม ตามกำหนดปักปันเขตแดนที่แนบท้ายสัญญาข้อที่ 2 ลงนามโดย V.Collin de Plancy และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ อ้างอิง : https://www.persee.fr/doc/geo_0003-4010_1907_num_16_87_6973 . . พัชรี ว่องไววิทย์ October23, 2024 Sausalito, California
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • #รีวิว #ทัวร์ยุโรป #ทัวร์นอรเวย์ #สวีเดน #เดนมาร์ก คุณปริพันธ์ 2ท่าน เดินทาง 17-25ก.ย.67 ขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยวนะจ้ะ
    #รีวิว #review

    ติดต่อ Office Line ID : @navarich
    เบอร์สำนักงาน : 083-6995654
    HOT LINE พนักงานขาย
    093-629-6354, 061-624-9254, 061-626-3249, 063-593-5142, 065-324-6951, 061-626-9236
    เลขทะเบียน ททท. : 11/08116

    #รวมทัวร์ #ทัวร์ราคาถูก #ทัวร์ต่างประเทศ #ทัวร์ถูก #hotseat #โปรไฟไหม้ #ที่หลุด #ทัวร์ด่วน #ทัวร์วันปิดเทอม #ทัวร์วันจักรี #ทัวร์วันสงกรานต์ #ทัวร์วันแรงงาน #โกเบ #ทัวร์ทตโทริ
    #เทียนสิน #ซัวเถา #แต้จิ๋ว #ฟ่งหวง #เฉินตู #ทัวร์จิ่วจ้ายโกว #หวงหลง #เล่อซาน #ง้อไบ๊ #อู่หลู่มูฉี #จางเย่ #นองปิง #โป๋หลิน #พระใหญ่ #จูไห่ #เซินเจิ้น #พุกาม #เว้ #ดานัง
    #ทัวร์นครวัด #เสียมราฐ #ฮอยอัน #บานาฮิลล์
    #บุโรพุทโธ #แพ็คเกจมัลดีฟส์ #ล่องเรือสำราญ
    #รีวิว #ทัวร์ยุโรป #ทัวร์นอรเวย์ #สวีเดน #เดนมาร์ก คุณปริพันธ์ 2ท่าน เดินทาง 17-25ก.ย.67 ขอให้มีความสุขกับการท่องเที่ยวนะจ้ะ #รีวิว #review ติดต่อ Office Line ID : @navarich เบอร์สำนักงาน : 083-6995654 HOT LINE พนักงานขาย 093-629-6354, 061-624-9254, 061-626-3249, 063-593-5142, 065-324-6951, 061-626-9236 เลขทะเบียน ททท. : 11/08116 #รวมทัวร์ #ทัวร์ราคาถูก #ทัวร์ต่างประเทศ #ทัวร์ถูก #hotseat #โปรไฟไหม้ #ที่หลุด #ทัวร์ด่วน #ทัวร์วันปิดเทอม #ทัวร์วันจักรี #ทัวร์วันสงกรานต์ #ทัวร์วันแรงงาน #โกเบ #ทัวร์ทตโทริ #เทียนสิน #ซัวเถา #แต้จิ๋ว #ฟ่งหวง #เฉินตู #ทัวร์จิ่วจ้ายโกว #หวงหลง #เล่อซาน #ง้อไบ๊ #อู่หลู่มูฉี #จางเย่ #นองปิง #โป๋หลิน #พระใหญ่ #จูไห่ #เซินเจิ้น #พุกาม #เว้ #ดานัง #ทัวร์นครวัด #เสียมราฐ #ฮอยอัน #บานาฮิลล์ #บุโรพุทโธ #แพ็คเกจมัลดีฟส์ #ล่องเรือสำราญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 920 มุมมอง 0 รีวิว
  • ส่อง 7 เมืองอาเซียน เหมาะเที่ยวคนเดียว

    นักท่องเที่ยวคนเดียว (Solo Traveler) กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะคนโสด เพราะไม่ว่าจะทริปสั้นหรือทริปยาว ทริปเพื่อพักผ่อน หรือเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เรากำหนดและตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องมีแบบแผนยืดยาว แค่เตรียมความพร้อมหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก อ่านรีวิวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือโรงแรมเพื่อทำการบ้านแบบคร่าวๆ เท่านั้น

    บทความในเว็บไซต์ Lonely Planet หัวข้อ "7 of the best places in Southeast Asia for solo travelers" ที่เขียนโดย Morgan Awyong ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้ยก 7 เมืองที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักท่องเที่ยวคนเดียว โดยยกจุดเด่นของแต่ละเมืองในแต่ละหัวข้อ ดังนี้

    1. สิงคโปร์ เมืองที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เดินทางคนเดียวครั้งแรก เพราะโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยที่โดดเด่น คนในท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษ และสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงง่าย โดยแนะนำศูนย์อาหารริมถนนที่มีเมนูทั้งข้าวมันไก่ไหหนาน บักกุ๊ตเต๋ และอาหารท้องถิ่นอื่นๆ เดินทางได้ทั่วเกาะด้วยรถไฟฟ้า MRT พร้อมแนะนำวัดเทียนฮกเก๋ง ย่านปาร์ควิวสแควร์

    2. ปีนัง (มาเลเซีย) เมืองสตรีทฟู้ดมีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยมีย่านจอร์จทาวน์ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก้ ผสมผสานร้านกาแฟน่ารักและงานศิลปะที่แปลกใหม่ แผงขายอาหารย่าน New Lane, Kimberly St และ Chulia St เปิดเฉพาะเช้าและเย็น มีทั้งเกี๊ยวน้ำ และมื้อหนักอย่างปีนังลักซา คนที่ทานข้าวคนเดียว อิ่มอร่อยในราคาประหยัดเพียง 10 ริงกิตเท่านั้น

    3. ดานัง (เวียดนาม) เมืองที่หลีกหนีความวุ่นวายด้วยชายฝั่งงดงาม และประสบการณ์หลากหลาย ความวุ่นวายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลวง เดินทางสะดวกด้วยแกร็บที่ค่าโดยสารไม่แพง ห้องพักราคาเฉลี่ย 1 ล้านดอง ชายหาดเหมาะกับการเดินเล่นคนเดียว ได้เห็นชาวประมงพื้นบ้าน และมีร้านกาแฟมากมาย ที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวและดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad)

    4. เสียมราฐ (กัมพูชา) เมืองเล็กๆ เป็นส่วนตัว และการท่องเที่ยวเชิงจริยธรรม นอกจากจะมีนครวัด ปราสาทตาพรหมและปราสาทบันทายศรีแล้ว ยังมีตลาดงานฝีมือเล็กๆ ร้านอาหารริมถนนบรรยากาศสบายๆ มีย่านถนนกลางคืนอย่าง Pub Street และยังมีผู้ประกอบการที่ตอบแทนสังคม เช่น โรงเรียนละครสัตว์ Phare Circus ร้านอาหาร Haven และฟาร์มบัว Lotus Farm

    5. กรุงเทพฯ (ไทย) เมืองที่ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ระหว่างการจราจรในกรุงเทพฯ หาบเร่แผงลอย และห้างสรรพสินค้า ย่านถนนข้าวสารยังมีวัดที่เงียบสงบเช่นวัดโพธิ์และวัดอรุณ ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการนวด โรงแรมแข่งขันด้านราคาทำให้มีห้องพักราคาถูก และยืนหนึ่งด้านสิทธิ LGBTIQ+ ในภูมิภาค ความลับอยู่ที่ผู้คนที่อบอุ่น รอยยิ้มที่เรียบง่าย และจิตใจที่เปิดกว้าง

    6. ฮานอย (เวียดนาม) เมืองที่ผู้คนอยู่กันอย่างไม่โอ้อวด คำนึงถึงความยืดหยุ่น และวิถีทางที่ช้าแต่มั่นคง สามารถเดินเล่นในย่านเมืองเก่าอันมีเสน่ห์ พักสมองร้านกาแฟท้องถิ่น หรือสัมผัสบรรยากาศที่ทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม ที่มีกิจกรรมนันทนาการ และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปแหล่งท่องเที่ยวทางเวียดนามเหนือ เช่น อ่าวฮาลอง อ่าวลันฮา เมืองนิญบิ่ญ และเมืองหนาวอย่างซาปา

    7. บาหลี (อินโดนีเซีย) เมืองสำหรับสุขภาพองค์รวม ชายหาด และดิจิทัลนอร์แมด ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองสำหรับบำบัดสุขภาพทางเลือก มีกิจกรรมเรียนโยคะ บีชคลับและพูลวิลล่าที่หาดกูตา กิจกรรมเดินป่าผ่านนาข้าวในอูบุด พักผ่อนริมชายหาดกูตาตอนใต้ ปีนภูเขาบาตูร์ชมพระอาทิตย์ขึ้น ชาวดิจิทัลนอร์แมดมักรวมตัวที่ Canggu สร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพได้อย่างง่ายดาย

    ป.ล. ดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) คือ คนที่สามารถทำงานได้จากทุกแห่งในโลก โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ขอมีเพียงแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

    #Newskit #SoloTraveler #ASEAN
    ส่อง 7 เมืองอาเซียน เหมาะเที่ยวคนเดียว นักท่องเที่ยวคนเดียว (Solo Traveler) กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะคนโสด เพราะไม่ว่าจะทริปสั้นหรือทริปยาว ทริปเพื่อพักผ่อน หรือเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เรากำหนดและตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องมีแบบแผนยืดยาว แค่เตรียมความพร้อมหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก อ่านรีวิวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือโรงแรมเพื่อทำการบ้านแบบคร่าวๆ เท่านั้น บทความในเว็บไซต์ Lonely Planet หัวข้อ "7 of the best places in Southeast Asia for solo travelers" ที่เขียนโดย Morgan Awyong ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้ยก 7 เมืองที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักท่องเที่ยวคนเดียว โดยยกจุดเด่นของแต่ละเมืองในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 1. สิงคโปร์ เมืองที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เดินทางคนเดียวครั้งแรก เพราะโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยที่โดดเด่น คนในท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษ และสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงง่าย โดยแนะนำศูนย์อาหารริมถนนที่มีเมนูทั้งข้าวมันไก่ไหหนาน บักกุ๊ตเต๋ และอาหารท้องถิ่นอื่นๆ เดินทางได้ทั่วเกาะด้วยรถไฟฟ้า MRT พร้อมแนะนำวัดเทียนฮกเก๋ง ย่านปาร์ควิวสแควร์ 2. ปีนัง (มาเลเซีย) เมืองสตรีทฟู้ดมีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยมีย่านจอร์จทาวน์ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก้ ผสมผสานร้านกาแฟน่ารักและงานศิลปะที่แปลกใหม่ แผงขายอาหารย่าน New Lane, Kimberly St และ Chulia St เปิดเฉพาะเช้าและเย็น มีทั้งเกี๊ยวน้ำ และมื้อหนักอย่างปีนังลักซา คนที่ทานข้าวคนเดียว อิ่มอร่อยในราคาประหยัดเพียง 10 ริงกิตเท่านั้น 3. ดานัง (เวียดนาม) เมืองที่หลีกหนีความวุ่นวายด้วยชายฝั่งงดงาม และประสบการณ์หลากหลาย ความวุ่นวายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลวง เดินทางสะดวกด้วยแกร็บที่ค่าโดยสารไม่แพง ห้องพักราคาเฉลี่ย 1 ล้านดอง ชายหาดเหมาะกับการเดินเล่นคนเดียว ได้เห็นชาวประมงพื้นบ้าน และมีร้านกาแฟมากมาย ที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวและดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) 4. เสียมราฐ (กัมพูชา) เมืองเล็กๆ เป็นส่วนตัว และการท่องเที่ยวเชิงจริยธรรม นอกจากจะมีนครวัด ปราสาทตาพรหมและปราสาทบันทายศรีแล้ว ยังมีตลาดงานฝีมือเล็กๆ ร้านอาหารริมถนนบรรยากาศสบายๆ มีย่านถนนกลางคืนอย่าง Pub Street และยังมีผู้ประกอบการที่ตอบแทนสังคม เช่น โรงเรียนละครสัตว์ Phare Circus ร้านอาหาร Haven และฟาร์มบัว Lotus Farm 5. กรุงเทพฯ (ไทย) เมืองที่ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ระหว่างการจราจรในกรุงเทพฯ หาบเร่แผงลอย และห้างสรรพสินค้า ย่านถนนข้าวสารยังมีวัดที่เงียบสงบเช่นวัดโพธิ์และวัดอรุณ ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการนวด โรงแรมแข่งขันด้านราคาทำให้มีห้องพักราคาถูก และยืนหนึ่งด้านสิทธิ LGBTIQ+ ในภูมิภาค ความลับอยู่ที่ผู้คนที่อบอุ่น รอยยิ้มที่เรียบง่าย และจิตใจที่เปิดกว้าง 6. ฮานอย (เวียดนาม) เมืองที่ผู้คนอยู่กันอย่างไม่โอ้อวด คำนึงถึงความยืดหยุ่น และวิถีทางที่ช้าแต่มั่นคง สามารถเดินเล่นในย่านเมืองเก่าอันมีเสน่ห์ พักสมองร้านกาแฟท้องถิ่น หรือสัมผัสบรรยากาศที่ทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม ที่มีกิจกรรมนันทนาการ และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปแหล่งท่องเที่ยวทางเวียดนามเหนือ เช่น อ่าวฮาลอง อ่าวลันฮา เมืองนิญบิ่ญ และเมืองหนาวอย่างซาปา 7. บาหลี (อินโดนีเซีย) เมืองสำหรับสุขภาพองค์รวม ชายหาด และดิจิทัลนอร์แมด ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองสำหรับบำบัดสุขภาพทางเลือก มีกิจกรรมเรียนโยคะ บีชคลับและพูลวิลล่าที่หาดกูตา กิจกรรมเดินป่าผ่านนาข้าวในอูบุด พักผ่อนริมชายหาดกูตาตอนใต้ ปีนภูเขาบาตูร์ชมพระอาทิตย์ขึ้น ชาวดิจิทัลนอร์แมดมักรวมตัวที่ Canggu สร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพได้อย่างง่ายดาย ป.ล. ดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) คือ คนที่สามารถทำงานได้จากทุกแห่งในโลก โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ขอมีเพียงแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเท่านั้น #Newskit #SoloTraveler #ASEAN
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1434 มุมมอง 0 รีวิว