• จากเพจ เกร็ดประวัติศาสตร์ v 2

    พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระสุบินถึงสมเด็จพระนเรศวร
    เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีสังเวยดวงวิญญาณอดีตมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นี้ ได้เสด็จฯ ไปที่ ต.งาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จฯ มาตั้งค่ายพักแรม ณ ที่นี้ก่อนยกทัพเข้าไปตีเมือง ซึ่งยังปรากฏร่องรอยรั้วป้อมค่ายต่างๆ อยู่ และในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จนเรศวรมหาราชทรงช้างต้น และได้จำลองค่ายที่ประทับแรมจินตนาการ และร่องรอยที่ปรากฏอยู่ตามสภาพจริง
    หลังจากเสร็จพระราชพิธี เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ แล้วเสด็จฯ กลับประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในคืนนั้น ก่อนรุ่งสว่าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสุบินนิมิตว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จฯ มาปรากฏพระองค์ขึ้นที่หน้าพระแท่นบรรทม ในพระสุบินนิมิต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบถวายบังคมโดยที่ทรงทราบจากพระวรกายและฉลองพระองค์ทรงเครื่องออกศึกว่า คือ องค์พระนเรศวรมหาราช และได้มีกระแสพระดำรัสแก่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า พระองค์ท่านปัจจุบันนี้ ดวงพระวิญญาณยังอยู่ในประเทศไทย เพราะทรงเป็นห่วงบ้านเมือง ประชาชนคนไทย ยังไม่ได้ไปประสูติใหม่ ณ ที่ใดเลย และที่มาปรากฏในสุบินนิมิตนี้ ก็เพื่อจะทรงเตือนว่า ในอนาคตต่อจากนี้ไป บ้านเมืองไทยจะประสบกับความวุ่นวายยุ่งยาก และความมืดมนยิ่งขึ้นอย่างน่ากลัวอันตรายเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสมัยพระองค์ท่าน (อนาคตนั้นก็น่าจะเป็น สมัยนี้เอง -ผู้เรียบเรียง) ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นกำลังพระทัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเพื่อที่จะได้ทรงนำประชาชน และชาติไทยฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไปได้ และพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันจักเป็นผู้นำให้ชาติไทยและประชาชนชาวไทยผ่านพ้นห้วงวิกฤตินี้อย่างแน่นอน และพระองค์ท่านจะเสด็จฯ ติดตามช่วยเหลืออยู่ตลอดไป และขอให้ทั้งสองพระองค์ได้ทรงให้กำลังใจแก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ที่เขาเหล่านั้นไม่มีโอกาสเข้าใกล้ถวายงานโดยใกล้ชิด แต่เป็นประชาชนที่ยึดมั่นในพระองค์ท่าน โดยไม่เคยแสดงตัวออกมาให้ปรากฏเหมือนกับการทำบุญปิดทองหลังองค์พระปฏิมา และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะถวายชีวิตเพื่อพระองค์ท่านและชาติไทย จึงทรงขอให้รวบรวมชาวไทยผู้รักชาติเหล่านั้น และสนับสนุนให้เขาได้มีกำลังใจเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้
    ในพระสุบินนิมิตนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า พระองค์ทรงสะดุ้งพระองค์ตื่นจากที่บรรทม และทรงประทับนั่งก็ยังทรงทอดพระเนตรเห็นองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏอยู่ จึงทรงปลุกพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏให้ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นชั่วครู่ ก็เสด็จฯ ไปเมื่อทั้งสองพระองค์ได้ทรงถวายบังคมแล้ว
    จากพระสุบินนี้เอง ทั้งสองพระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงความฝันอันสูงสุดนี้ขึ้น และได้พิมพ์เพลงพระราชนิพนธ์นี้ พระราชทานแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยของชาติโดยทั่วหน้า และได้โปรดเกล้าฯ ให้คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และคุณจินตนา สุขสถิตย์ ร้องเพลงนี้ สอนให้แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นครั้งแรกที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา...

    เรียบเรียงบทความจาก เรื่องเล่าในข้าราชบริพาร โดยแอดมินเพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2
    จากเพจ เกร็ดประวัติศาสตร์ v 2 พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระสุบินถึงสมเด็จพระนเรศวร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ได้เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีสังเวยดวงวิญญาณอดีตมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นี้ ได้เสด็จฯ ไปที่ ต.งาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จฯ มาตั้งค่ายพักแรม ณ ที่นี้ก่อนยกทัพเข้าไปตีเมือง ซึ่งยังปรากฏร่องรอยรั้วป้อมค่ายต่างๆ อยู่ และในปัจจุบันนี้ รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จนเรศวรมหาราชทรงช้างต้น และได้จำลองค่ายที่ประทับแรมจินตนาการ และร่องรอยที่ปรากฏอยู่ตามสภาพจริง หลังจากเสร็จพระราชพิธี เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ แล้วเสด็จฯ กลับประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในคืนนั้น ก่อนรุ่งสว่าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสุบินนิมิตว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จฯ มาปรากฏพระองค์ขึ้นที่หน้าพระแท่นบรรทม ในพระสุบินนิมิต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้กราบถวายบังคมโดยที่ทรงทราบจากพระวรกายและฉลองพระองค์ทรงเครื่องออกศึกว่า คือ องค์พระนเรศวรมหาราช และได้มีกระแสพระดำรัสแก่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า พระองค์ท่านปัจจุบันนี้ ดวงพระวิญญาณยังอยู่ในประเทศไทย เพราะทรงเป็นห่วงบ้านเมือง ประชาชนคนไทย ยังไม่ได้ไปประสูติใหม่ ณ ที่ใดเลย และที่มาปรากฏในสุบินนิมิตนี้ ก็เพื่อจะทรงเตือนว่า ในอนาคตต่อจากนี้ไป บ้านเมืองไทยจะประสบกับความวุ่นวายยุ่งยาก และความมืดมนยิ่งขึ้นอย่างน่ากลัวอันตรายเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสมัยพระองค์ท่าน (อนาคตนั้นก็น่าจะเป็น สมัยนี้เอง -ผู้เรียบเรียง) ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นกำลังพระทัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเพื่อที่จะได้ทรงนำประชาชน และชาติไทยฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไปได้ และพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันจักเป็นผู้นำให้ชาติไทยและประชาชนชาวไทยผ่านพ้นห้วงวิกฤตินี้อย่างแน่นอน และพระองค์ท่านจะเสด็จฯ ติดตามช่วยเหลืออยู่ตลอดไป และขอให้ทั้งสองพระองค์ได้ทรงให้กำลังใจแก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ที่เขาเหล่านั้นไม่มีโอกาสเข้าใกล้ถวายงานโดยใกล้ชิด แต่เป็นประชาชนที่ยึดมั่นในพระองค์ท่าน โดยไม่เคยแสดงตัวออกมาให้ปรากฏเหมือนกับการทำบุญปิดทองหลังองค์พระปฏิมา และเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะถวายชีวิตเพื่อพระองค์ท่านและชาติไทย จึงทรงขอให้รวบรวมชาวไทยผู้รักชาติเหล่านั้น และสนับสนุนให้เขาได้มีกำลังใจเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้ ในพระสุบินนิมิตนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า พระองค์ทรงสะดุ้งพระองค์ตื่นจากที่บรรทม และทรงประทับนั่งก็ยังทรงทอดพระเนตรเห็นองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏอยู่ จึงทรงปลุกพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรากฏให้ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นชั่วครู่ ก็เสด็จฯ ไปเมื่อทั้งสองพระองค์ได้ทรงถวายบังคมแล้ว จากพระสุบินนี้เอง ทั้งสองพระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงความฝันอันสูงสุดนี้ขึ้น และได้พิมพ์เพลงพระราชนิพนธ์นี้ พระราชทานแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยของชาติโดยทั่วหน้า และได้โปรดเกล้าฯ ให้คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และคุณจินตนา สุขสถิตย์ ร้องเพลงนี้ สอนให้แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นครั้งแรกที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ก่อนที่จะแพร่หลายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา... เรียบเรียงบทความจาก เรื่องเล่าในข้าราชบริพาร โดยแอดมินเพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 288 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🙏🏼 🇹🇭💝 #พร อันประเสริฐ #พรปีใหม่ #เพลงพระราชนิพนธ์ #สวัสดีปีใหม่ #ในหลวง #รัชกาลที่๙ https://youtu.be/NFrR9XwoUvI
    🙏🏼 🇹🇭💝 #พร อันประเสริฐ #พรปีใหม่ #เพลงพระราชนิพนธ์ #สวัสดีปีใหม่ #ในหลวง #รัชกาลที่๙ https://youtu.be/NFrR9XwoUvI
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • 10/12/668

    10/12/67

    สันติ ลุนเผ่" ศิลปินแห่งชาติถึงแก่กรรมแล้ว สิริอายุ 88 ปี

    ร.ต.สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ขับร้อง) ประจำปี 2558 ถึงแก่กรรมเมื่อเวลาประมาณ 01.01 น. วันนี้(10 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 88 ปี
    .
    ร.ต.สันติ ลุนเผ่ นักร้องเสียงเทเนอร์ หรือเสียงโทนสูงของนักร้องชายระดับตำนานของไทย ฝากผลงานเพลงแนวรักชาติ เพลงคลาสสิกและเพลงประกอบภาพยนตร์ไว้มากมาย เช่น เพลง "หนักแผ่นดิน", "ทหารพระนเรศวร", "ดุจบิดามารดร", "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย" รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด"

    เรือตรี สันติ ลุนเผ่ มีชื่อเดิมว่า ไพศาล ลุนเผ่ มีชื่อเสียงในฐานะเป็นนักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย และมีน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในผลงานด้านเพลงปลุกใจ, เพลงคลาสสิก และเพลงประกอบภาพยนตร์

    ร.ต.สันติ ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกโดยวงดนตรีวายุบุตรคือเพลง "คมแสนคม" ผลงานของ เชาว์ แคล่วคล่อง เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง "คมแสนคม" ในปี พ.ศ. 2507 ต่อมามีผลงานอีกมากมายจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2558

    cr:New 1
    10/12/668 10/12/67 สันติ ลุนเผ่" ศิลปินแห่งชาติถึงแก่กรรมแล้ว สิริอายุ 88 ปี ร.ต.สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ขับร้อง) ประจำปี 2558 ถึงแก่กรรมเมื่อเวลาประมาณ 01.01 น. วันนี้(10 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 88 ปี . ร.ต.สันติ ลุนเผ่ นักร้องเสียงเทเนอร์ หรือเสียงโทนสูงของนักร้องชายระดับตำนานของไทย ฝากผลงานเพลงแนวรักชาติ เพลงคลาสสิกและเพลงประกอบภาพยนตร์ไว้มากมาย เช่น เพลง "หนักแผ่นดิน", "ทหารพระนเรศวร", "ดุจบิดามารดร", "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย" รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" เรือตรี สันติ ลุนเผ่ มีชื่อเดิมว่า ไพศาล ลุนเผ่ มีชื่อเสียงในฐานะเป็นนักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย และมีน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในผลงานด้านเพลงปลุกใจ, เพลงคลาสสิก และเพลงประกอบภาพยนตร์ ร.ต.สันติ ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกโดยวงดนตรีวายุบุตรคือเพลง "คมแสนคม" ผลงานของ เชาว์ แคล่วคล่อง เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง "คมแสนคม" ในปี พ.ศ. 2507 ต่อมามีผลงานอีกมากมายจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2558 cr:New 1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิ้นนักร้องเสียงทรงพลัง "สันติ ลุนเผ่" เสียชีวิตในวัย 88 ปี

    ร.ต.สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ขับร้อง) ประจำปี 2558 ถึงแก่กรรมในวัย 88 ปี

    ร.ต.สันติ เป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ หรือเสียงโทนสูงของนักร้องชายระดับตำนานของไทย ฝากผลงานเพลงแนวรักชาติ เพลงคลาสสิกและเพลงประกอบภาพยนตร์ไว้มากมาย เช่น เพลง "หนักแผ่นดิน", "ทหารพระนเรศวร", "ดุจบิดามารดร", "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย" รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" ที่นับเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตศิลปิน
    สิ้นนักร้องเสียงทรงพลัง "สันติ ลุนเผ่" เสียชีวิตในวัย 88 ปี ร.ต.สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ขับร้อง) ประจำปี 2558 ถึงแก่กรรมในวัย 88 ปี ร.ต.สันติ เป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ หรือเสียงโทนสูงของนักร้องชายระดับตำนานของไทย ฝากผลงานเพลงแนวรักชาติ เพลงคลาสสิกและเพลงประกอบภาพยนตร์ไว้มากมาย เช่น เพลง "หนักแผ่นดิน", "ทหารพระนเรศวร", "ดุจบิดามารดร", "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย" รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" ที่นับเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตศิลปิน
    Love
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • ในหลวง เสด็จฯไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณ ทหารราชวัลลภฯ พระราชินี ทรงดำรงตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม”

    วันนี้ (3 ธ.ค.) เมื่อเวลา 17.20 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 “ราชวัลลภ เทิดไท้จอมราชา72 พรรษามหามงคล” ณ พระลานพระราชวังดุสิต

    ในการนี้พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ทรงนำการสวนสนามของทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์สามเหล่าทัพในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม” พร้อมด้วยพลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมสวนสนาม ทรงม้านำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ ในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์“

    ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงเฝ้ารอเฝ้าฯรับเสด็จฯ ณ พลับพลาที่ประทับ

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ทางประตูภูธรลีลาศ ถึงยังพระลานพระราชวังดุสิต พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ที่ทรงดำรงตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม” ทรงสั่งกองผสมถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    จากนั้นองค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งจากแถวหน้า บก.กองผสม ไปยังจุดถวายความเคารพ องค์ผู้บังคับกองผสมถวายความเคารพ กราบบังคมทูลรายงาน และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯทรงตรวจพลสวนสนาม
    เมื่อองค์ผู้บังคับกองผสม กราบบังคมทูลรายงานจบแล้ว เสด็จฯไปยังรถยนต์พระที่นั่ง ประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่งตรวจพล

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่ง ทรงตรวจพลสวนสนามโดยรถยนต์พระที่นั่งจำนวน 4 กรม 10 กองพัน ซึ่งประกอบด้วย กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์, กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ, กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ , กองพันทหารอากาศโยธิน 3 กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน , กองพันทหารม้าที่ 25 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่21 รักษาพระองค์, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 และกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

    เมื่อทรงตรวจพลสวนสนามเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ ประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งชุมสาย

    พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งกลับมาประจำจุดยืนหน้าแถว บก.กองผสม และทรงสั่ง กองผสมเรียบ-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณเตรียมตัว 2 จบแล้ว องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสั่งกองผสมจัดแถวเตรียมสวนสนาม ทรงสั่งกองผสมแบก-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณหน้าเดิน 2 จบ ขณะนั้นวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชราชวัลลภ อันอันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2491 ชื่อ "ราชวัลลภ" และพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม แล้วองค์ผู้บังคับกองผสม และพลสวนสนามจึงเริ่มเดินพร้อมกัน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธี หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากองค์ผู้บังคับกองผสม ธงชัยเฉลิมพล และกำลังพลสวนสนาม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงร่วมประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธีหน้าพระที่นั่งชุมสาย

    พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสวนสนามผ่านพลับพลาที่ประทับ เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ แล้วประทับยืน ณ หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากแถวทหาร กรมสวนสนาม จำนวน 4 กรม 10 กองพัน ตามลำดับ

    พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์” ทรงม้า “Fürst Henry” (ฟรุ๊ต เฮนรี่) อายุ 14 ปี เพศผู้ตอน สีดำ สายพันธุ์ ดัตช์ วอร์มบลัด (KWPN) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ นำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพันเข้ามายังหน้าพลับพลาพิธี

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับพระราชอาสน์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลโทรัฐพล ธูปประสม เจ้ากรมสารบรรณทหาร เข้าเฝ้าฯทูเกล้าถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พันโทหญิงวลัยลักษณ์ อาวรณ์ หัวหน้าปรับปรุงโครงการ สำนักงานปลัดบัญชีทหาร เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายสูจิบัตร แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี

    สําหรับพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตน ของทหารรักษาพระองค์นั้น เป็นพิธีที่มีความหมายอย่างยิ่งต่อ ทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทัพ ที่จะเป็นโอกาสพิเศษใน การถวายความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจอมทัพไทย โดยได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พุทธศักราช 2496 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปพระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร ในโอกาสครบรอบ วันคล้ายวันสถาปนากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดําเนินทรงตรวจ พลสวนสนาม ทรงตรวจพลสวนสนาม รับการถวายความเคารพจาก ขบวนทหารจํานวน 4 กองพัน โดยทรงพระดําเนินในฉลองพระองค์ เครื่องแบบเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของ ทหารรักษาพระองค์ ที่จัดขึ้นเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่องนับแต่ นั้นมา

    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร-ตํารวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปีพุทธศักราช 2562 และวันกองทัพไทย ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นับเป็นครั้งแรกที่มีการสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนร่วมกัน ระหว่างกําลังพลของทหารและตํารวจ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ 6 รอบ จึงถือเป็นโอกาสอันสําคัญยิ่งของหน่วยทหารรักษาพระองค์ จากเหล่าทัพต่าง ๆ ที่พร้อมใจกันกระทําพิธีสวนสนามและถวาย สัตย์ปฏิญาณตนเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นการแสดงให้ประชาชน ชาวไทยได้ประจักษ์ว่า ทหารรักษาพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่ ดํารงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ และถวายพระเกียรติยศสูงสุด แด่พระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต

    #MGROnline #พิธีสวนสนาม #ถวายสัตย์ปฏิญาณ #ทหารราชวัลลภฯ
    ในหลวง เสด็จฯไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณ ทหารราชวัลลภฯ พระราชินี ทรงดำรงตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม” • วันนี้ (3 ธ.ค.) เมื่อเวลา 17.20 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 “ราชวัลลภ เทิดไท้จอมราชา72 พรรษามหามงคล” ณ พระลานพระราชวังดุสิต • ในการนี้พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ทรงนำการสวนสนามของทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์สามเหล่าทัพในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม” พร้อมด้วยพลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมสวนสนาม ทรงม้านำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ ในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์“ • ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงเฝ้ารอเฝ้าฯรับเสด็จฯ ณ พลับพลาที่ประทับ • เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ทางประตูภูธรลีลาศ ถึงยังพระลานพระราชวังดุสิต พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ที่ทรงดำรงตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับการกองผสม” ทรงสั่งกองผสมถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว • จากนั้นองค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งจากแถวหน้า บก.กองผสม ไปยังจุดถวายความเคารพ องค์ผู้บังคับกองผสมถวายความเคารพ กราบบังคมทูลรายงาน และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯทรงตรวจพลสวนสนาม เมื่อองค์ผู้บังคับกองผสม กราบบังคมทูลรายงานจบแล้ว เสด็จฯไปยังรถยนต์พระที่นั่ง ประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่งตรวจพล • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับยืนบนรถยนต์พระที่นั่ง ทรงตรวจพลสวนสนามโดยรถยนต์พระที่นั่งจำนวน 4 กรม 10 กองพัน ซึ่งประกอบด้วย กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์, กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ, กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ , กองพันทหารอากาศโยธิน 3 กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน , กองพันทหารม้าที่ 25 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่21 รักษาพระองค์, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 102 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์, กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 และกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน • เมื่อทรงตรวจพลสวนสนามเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ ประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งชุมสาย • พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงวิ่งกลับมาประจำจุดยืนหน้าแถว บก.กองผสม และทรงสั่ง กองผสมเรียบ-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณเตรียมตัว 2 จบแล้ว องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสั่งกองผสมจัดแถวเตรียมสวนสนาม ทรงสั่งกองผสมแบก-อาวุธ แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณหน้าเดิน 2 จบ ขณะนั้นวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชราชวัลลภ อันอันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2491 ชื่อ "ราชวัลลภ" และพระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม แล้วองค์ผู้บังคับกองผสม และพลสวนสนามจึงเริ่มเดินพร้อมกัน • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธี หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากองค์ผู้บังคับกองผสม ธงชัยเฉลิมพล และกำลังพลสวนสนาม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงร่วมประทับยืน ณ มุขพลับพลาพิธีหน้าพระที่นั่งชุมสาย • พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี องค์ผู้บังคับกองผสม ทรงสวนสนามผ่านพลับพลาที่ประทับ เสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับ แล้วประทับยืน ณ หน้าพระที่นั่งชุมสาย ทรงรับการถวายความเคารพจากแถวทหาร กรมสวนสนาม จำนวน 4 กรม 10 กองพัน ตามลำดับ • พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในตำแหน่ง “องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์” ทรงม้า “Fürst Henry” (ฟรุ๊ต เฮนรี่) อายุ 14 ปี เพศผู้ตอน สีดำ สายพันธุ์ ดัตช์ วอร์มบลัด (KWPN) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ นำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพันเข้ามายังหน้าพลับพลาพิธี • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับพระราชอาสน์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลโทรัฐพล ธูปประสม เจ้ากรมสารบรรณทหาร เข้าเฝ้าฯทูเกล้าถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พันโทหญิงวลัยลักษณ์ อาวรณ์ หัวหน้าปรับปรุงโครงการ สำนักงานปลัดบัญชีทหาร เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายสูจิบัตร แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี • สําหรับพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตน ของทหารรักษาพระองค์นั้น เป็นพิธีที่มีความหมายอย่างยิ่งต่อ ทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทัพ ที่จะเป็นโอกาสพิเศษใน การถวายความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจอมทัพไทย โดยได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พุทธศักราช 2496 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปพระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร ในโอกาสครบรอบ วันคล้ายวันสถาปนากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดําเนินทรงตรวจ พลสวนสนาม ทรงตรวจพลสวนสนาม รับการถวายความเคารพจาก ขบวนทหารจํานวน 4 กองพัน โดยทรงพระดําเนินในฉลองพระองค์ เครื่องแบบเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของ ทหารรักษาพระองค์ ที่จัดขึ้นเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่องนับแต่ นั้นมา • ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร-ตํารวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปีพุทธศักราช 2562 และวันกองทัพไทย ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี นับเป็นครั้งแรกที่มีการสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนร่วมกัน ระหว่างกําลังพลของทหารและตํารวจ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก • เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ 6 รอบ จึงถือเป็นโอกาสอันสําคัญยิ่งของหน่วยทหารรักษาพระองค์ จากเหล่าทัพต่าง ๆ ที่พร้อมใจกันกระทําพิธีสวนสนามและถวาย สัตย์ปฏิญาณตนเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นการแสดงให้ประชาชน ชาวไทยได้ประจักษ์ว่า ทหารรักษาพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่ ดํารงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ และถวายพระเกียรติยศสูงสุด แด่พระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต • #MGROnline #พิธีสวนสนาม #ถวายสัตย์ปฏิญาณ #ทหารราชวัลลภฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 529 มุมมอง 0 รีวิว