• อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1054
    ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    --เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
    สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ
    อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ

    (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ
    : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว,
    ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง,
    ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ,
    ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
    เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
    ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
    ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ.
    และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
    --เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว
    เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก.
    กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่
    ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
    --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
    : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
    “พึงตอบได้ , พระองค์ !”
    --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล
    จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ
    *--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.

    (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต
    ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า
    ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้.
    . . . . ฯลฯ . . . .
    กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่
    ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
    --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
    : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
    “พึงตอบได้ , พระองค์ !”
    --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล
    จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ

    (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า
    “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ,
    จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ,
    จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ

    --เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
    สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
    เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
    ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
    ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด,
    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต
    : คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
    เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
    “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
    การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
    ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
    เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
    โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
    ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
    มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
    ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
    มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
    ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
    เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว
    มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ

    --(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย
    จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร –
    สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ –
    การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้
    ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน –
    ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต –
    เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ
    และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
    อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง
    #อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )​
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น
    ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
    “นี้ทุกข์,
    นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์,
    นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”;
    และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า
    “เหล่านี้อาสวะ,
    นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
    ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”.
    เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
    ดังนี้.
    --เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
    คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
    เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
    เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า
    “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้
    หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”
    ดังนี้;
    ฉันใดก็ฉันนั้น.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    --เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1054 ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054 เนื้อความทั้งหมด :- --การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ --เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. --เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ *--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ. (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . . กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ --เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต : คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ. --เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ --(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง #อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )​ --เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. --เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. --เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.- http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242. http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    -การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์. (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์. (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . . กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่าน ๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ. จะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์. (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้า กระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ. เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. (ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วยจุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน - จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึงอาสวักขยญาณซึ่งมีข้อความว่า :-) เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่น ไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ให้เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง
    สัทธรรมลำดับที่ : 1043
    ชื่อบทธรรม : -เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง-ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1043
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง-ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว
    (ข้อปฏิบัติของกุลบุตรผู้บวชแล้ว ดำเนินมาตั้งแต่
    ถึงพร้อมด้วยศีล สันโดษ
    อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะสงัด
    ละนิวรณ์ห้า บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อจุตูปปาตญาณ
    )​
    --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว
    น้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
    เธอย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า

    “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ;
    เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิด อาสวะ,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ หนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ”
    ดังนี้

    : พราหมณ์ ! แม้ (อาสวักขยญาณ) นี้ เราก็เรียก
    ว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง,
    ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง,
    ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต”*--๑ บ้าง;
    แต่อริยสาวกนั้น ก็ยังไม่ถึงซึ่งความแน่ใจก่อนอยู่นั่นเอง
    แต่ กำลังจะถึงความแน่ใจ ว่า
    “พระผู้มีพระภาค เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ,
    พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ,
    สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ”
    ดังนี้.
    *--๑. สูตร(มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๓๓๒)​
    http://etipitaka.com/read/pali/12/347/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%92

    ตรัสเปรียบพระองค์เองด้วย #ช้างมหานาค ในป่า
    ซึ่งมีผู้ติดตามหาตามลำดับด้วยการปฏิบัติธรรมะมาตามลำดับ
    บรรลุธรรมตามลำดับ จนบรรลุอาสวักขยญาณ
    ซึ่งเปรียบด้วยการเห็นรอยเท้าที่พื้นดิน เห็นรอยสีตัวที่ต้นไม้ เห็นรอยแซะงาที่กิ่งไม้;
    และจะได้ พบตัวช้างคือพระองค์ในอันดับที่มีการหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว เท่านั้น.
    --เมื่ออริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
    จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ;
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว”
    ดังนี้;

    ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,
    กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว,
    กิจอื่นที่ต้องกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
    ดังนี้.
    : พราหมณ์ ! แม้ (ความหลุดพ้น) นี้ เราก็เรียก
    ว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง,
    ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง,
    ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต” บ้าง.
    : พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
    อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจ ว่า
    “พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ,
    http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สมฺมาสมฺพุทฺโธ+ภควา
    พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ,
    http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สฺวากฺขาโต+ภควตา+ธมฺโม
    สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ”
    http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สุปฏิปนฺโน+ภควโต+สาวกสงฺโฆ
    ดังนี้.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/243/338.
    http://etipitaka.com/read/thai/12/243/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๓๓๘.
    http://etipitaka.com/read/pali/12/347/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%98
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1043
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1043
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91
    ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ให้เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง สัทธรรมลำดับที่ : 1043 ชื่อบทธรรม : -เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง-ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1043 เนื้อความทั้งหมด :- --เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง-ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว (ข้อปฏิบัติของกุลบุตรผู้บวชแล้ว ดำเนินมาตั้งแต่ ถึงพร้อมด้วยศีล สันโดษ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะสงัด ละนิวรณ์ห้า บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อจุตูปปาตญาณ )​ --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว น้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. เธอย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ; เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิด อาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ หนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ” ดังนี้ : พราหมณ์ ! แม้ (อาสวักขยญาณ) นี้ เราก็เรียก ว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต”*--๑ บ้าง; แต่อริยสาวกนั้น ก็ยังไม่ถึงซึ่งความแน่ใจก่อนอยู่นั่นเอง แต่ กำลังจะถึงความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้. *--๑. สูตร(มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๓๓๒)​ http://etipitaka.com/read/pali/12/347/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%92 ตรัสเปรียบพระองค์เองด้วย #ช้างมหานาค ในป่า ซึ่งมีผู้ติดตามหาตามลำดับด้วยการปฏิบัติธรรมะมาตามลำดับ บรรลุธรรมตามลำดับ จนบรรลุอาสวักขยญาณ ซึ่งเปรียบด้วยการเห็นรอยเท้าที่พื้นดิน เห็นรอยสีตัวที่ต้นไม้ เห็นรอยแซะงาที่กิ่งไม้; และจะได้ พบตัวช้างคือพระองค์ในอันดับที่มีการหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว เท่านั้น. --เมื่ออริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่ต้องกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. : พราหมณ์ ! แม้ (ความหลุดพ้น) นี้ เราก็เรียก ว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต” บ้าง. : พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ, http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สมฺมาสมฺพุทฺโธ+ภควา พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สฺวากฺขาโต+ภควตา+ธมฺโม สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” http://etipitaka.com/read/pali/12/348/?keywords=สุปฏิปนฺโน+ภควโต+สาวกสงฺโฆ ดังนี้.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/243/338. http://etipitaka.com/read/thai/12/243/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๓๓๘. http://etipitaka.com/read/pali/12/347/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%98 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1043 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1043 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91 ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง--ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว
    -(ในสูตรอื่น (๒๑/๑๓๘/๑๐๓) ตรัสเปรียบลักษณะอาการสี่อย่างแห่งข้อความข้างบนนี้ ด้วย หม้อสี่ชนิด คือหม้อเปล่า – ปิด เปรียบด้วยภิกษุไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; หม้อเต็ม – เปิด คือรู้อริยสัจแต่ไม่มีสมณสารูป ; หม้อเปล่า – เปิด คือไม่รู้อริยสัจและไม่มีสมณสารูป ; หม้อเต็ม – ปิด คือรู้อริยสัจและมีสมณสารูป. ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๐/๑๐๔) ตรัสเปรียบด้วย ห้วงน้ำสี่ชนิด คือห้วงน้ำตื้น เงาลึก = ไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำลึก เงาตื้น = รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำตื้น เงาตื้น = ไม่รู้อริยสัจ และไม่มีสมณสารูป; ห้วงน้ำลึก เงาลึก = รู้อริยสัจและมีสมณสารูป. ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๒/๑๐๕) ตรัสเปรียบด้วย มะม่วงสี่ชนิด คือมะม่วงดิบ สีเหมือนสุก ได้แก่ ไม่ได้รู้อริยสัจ แต่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุก สีเหมือนดิบ ได้แก่ รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป; มะม่วงดิบ สีเหมือนดิบ ได้แก่ ไม่รู้อริยสัจและไม่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุก สีเหมือนสุก ได้แก่ รู้อริยสัจและมีสมณสารูป. ผู้สนใจในส่วนรายละเอียด ดูได้จากที่มานั้นๆ ). เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว (ข้อปฏิบัติของกุลบุตรผู้บวชแล้ว ดำเนินมาตั้งแต่ ถึงพร้อมด้วยศีล สันโดษ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะสงัด ละนิวรณ์ห้า บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อจุตูปปาตญาณ :-) ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว น้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. เธอย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ; เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิด อาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ หนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ” ดังนี้ : พราหมณ์ ! แม้ (อาสวักขยญาณ) นี้ เราก็เรียกว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต”๑ บ้าง; แต่อริยสาวกนั้น ก็ยังไม่ถึงซึ่งความแน่ใจก่อนอยู่นั่นเอง แต่ กำลังจะถึงความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้. เมื่ออริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่ต้องกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. พราหมณ์ ! แม้ (ความหลุดพ้น) นี้ เราก็เรียกว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะ ๑. สูตรนี้ตรัสเปรียบพระองค์เองด้วยช้างมหานาคในป่า ซึ่งมีผู้ติดตามหาตามลำดับด้วยการปฏิบัติธรรมะมาตามลำดับ บรรลุธรรมตามลำดับ จนบรรลุอาสวักขยญาณ ซึ่งเปรียบด้วยการเห็นรอยเท้าที่พื้นดิน เห็นรอยสีตัวที่ต้นไม้ เห็นรอยแซะงาที่กิ่งไม้; และจะได้พบตัวช้างคือพระองค์ ในอันดับที่มีการหลุดพ้นจากอาสวะแล้วเท่านั้น. งาแห่งตถาคต” บ้าง. พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 182 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1031
    ชื่อบทธรรม :- ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1031
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์ โดย ๑๖ ประการ

    ( ก. ภาวะไม่บริสุทธิ์สำหรับเปรียบเทียบ )

    --“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว
    พระผู้มีพระภาคยังจะกล่าวถึงอุปกิเลสมีอย่างต่างๆ
    แห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?”
    --๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ
    ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์
    (เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ).
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $พอใจด้วยตบะว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา @ยกตนข่มขู่ผู้อื่นด้วยตบะ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ $ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
    เขาพอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ
    ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
    เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
    เขาเมาลาภ หลงลาภ $ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะ
    และเสียงสรรเสริญ นั้น
    แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา”
    ดังนี้.
    เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย;
    เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ
    $ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา ๆ.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า
    พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์
    ทั้งหลายจักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกราน
    สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า
    “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง
    ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด
    และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า”
    ดังนี้
    $ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า.
    +--นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ
    ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย
    ก็ มีความคิดว่า
    “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่
    ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ
    ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข*--๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย”
    ดังนี้
    เขา $เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมาด้วย อาการอย่างนี้.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    [*--๑ ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง
    เป็นคำแปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจากความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น
    กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม
    ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิตแบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช
    ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง.
    ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไปในภายหน้าด้วย.]​
    --๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ $ชอบนั่งแสดงตัวตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน).
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง)
    เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า
    “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน”
    ดังนี้ เป็นต้น.
    ±--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด
    เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม
    ก็กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
    $เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ
    ดังนี้.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ, $เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่,
    เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยาย
    ที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ $เป็นคนขี้โกรธมักผูกโกรธ.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ
    เป็นคน ลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน
    เป็นคน ริษยา ตระหนี่
    เป็นคน โอ้อวด มีมายา
    เป็นคน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน
    เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ
    เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก.
    +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.
    --นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    : การเกียดกันกิเลส ด้วยตบะในรูปแบบอย่างที่ว่ามานี้ (ทุกข้อ)
    เป็นอุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลสเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเหล่านี้
    เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้
    ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้ว
    ทำไมจะไม่ ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่าง ๆ เล่า”.

    (ข. ภาวะบริสุทธิ์ที่สำหรับถือเป็นหลัก)

    --๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้
    ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้ว
    ตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู).
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น
    นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น.
    +-+นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น
    --๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะไม่หลงตบะ $ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น
    ด้วยเหตุผลนี้ แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจ $ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา
    ไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น
    ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    $เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
    เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา
    ไม่ยกตน $ไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    $เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้น
    เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา
    ไม่ เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมาสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย
    ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้
    เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้าแสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสีย
    เขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น มองเห็นโทษ
    มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่.
    ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่
    เขาไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย
    จักสักการะเรา $เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ว่า
    “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง
    ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด
    และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า”
    ดังนี้
    ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใด ๆ
    ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย
    เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า
    “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณะพราหมณ์นี้
    ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย
    แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา
    อยู่ในตระกูลทั้งหลาย”
    ดังนี้
    เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมา อย่างนี้.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน).
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ
    จะไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง)
    เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็นคนจริงและเปิดเผย)
    ประกาศอยู่ ว่า
    “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน”
    ดังนี้ เป็นต้น.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำ สิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด
    เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าไม่ควร
    กล่าวสิ่งที่ควรกล่าวว่าควร ไม่เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ
    ดังนี้.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ,
    เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่,
    เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้.
    +--นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ
    ไม่เป็นคนขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธ.
    +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ผู้บำเพ็ญตบะ
    ไม่เป็นคนลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่
    ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก
    ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก
    ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ
    ไม่เป็นคนลูบคลำสิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน
    ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย.
    ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
    --นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    : เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า ?
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้
    มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่
    ทั้งยังเป็นการบรรลุถึงยอดถึงแก่นอีกด้วย พระเจ้าข้า !”
    --นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น
    เป็นเพียงถึงเปลือกแห้งๆ เท่านั้น.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/30 - 36/24 - 25.
    http://etipitaka.com/read/thai/11/30/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๔๔ - ๕๐/๒๔ - ๒๕.
    http://etipitaka.com/read/pali/11/44/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1031
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=89&id=1031
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=89
    ลำดับสาธยายธรรม : 89 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_89.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1031 ชื่อบทธรรม :- ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1031 เนื้อความทั้งหมด :- --ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์ โดย ๑๖ ประการ ( ก. ภาวะไม่บริสุทธิ์สำหรับเปรียบเทียบ ) --“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคยังจะกล่าวถึงอุปกิเลสมีอย่างต่างๆ แห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?” --๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ (เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ). +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $พอใจด้วยตบะว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ. --๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา @ยกตนข่มขู่ผู้อื่นด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ $ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาพอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา $ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเมาลาภ หลงลาภ $ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้. เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย; เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ $ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา ๆ. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลายจักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ $ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. +--นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย ก็ มีความคิดว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข*--๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย” ดังนี้ เขา $เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมาด้วย อาการอย่างนี้. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. [*--๑ ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง เป็นคำแปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจากความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิตแบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง. ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไปในภายหน้าด้วย.]​ --๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ $ชอบนั่งแสดงตัวตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. ±--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร $เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, $เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยาย ที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ $เป็นคนขี้โกรธมักผูกโกรธ. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน เป็นคน ริษยา ตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด มีมายา เป็นคน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก. +--นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. --นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : การเกียดกันกิเลส ด้วยตบะในรูปแบบอย่างที่ว่ามานี้ (ทุกข้อ) เป็นอุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลสเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้ว ทำไมจะไม่ ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่าง ๆ เล่า”. (ข. ภาวะบริสุทธิ์ที่สำหรับถือเป็นหลัก) --๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้ว ตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู). +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. +-+นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น --๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะไม่หลงตบะ $ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น ด้วยเหตุผลนี้ แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจ $ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ยกตน $ไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมาสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ $เขาไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้ เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้าแสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสีย เขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย จักสักการะเรา $เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใด ๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณะพราหมณ์นี้ ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย” ดังนี้ เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมา อย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ จะไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็นคนจริงและเปิดเผย) ประกาศอยู่ ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำ สิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวสิ่งที่ควรกล่าวว่าควร ไม่เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้. +--นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธ. +--นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ ไม่เป็นคนลูบคลำสิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. --นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า ? --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่ ทั้งยังเป็นการบรรลุถึงยอดถึงแก่นอีกด้วย พระเจ้าข้า !” --นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น เป็นเพียงถึงเปลือกแห้งๆ เท่านั้น.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/30 - 36/24 - 25. http://etipitaka.com/read/thai/11/30/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๔๔ - ๕๐/๒๔ - ๒๕. http://etipitaka.com/read/pali/11/44/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1031 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=89&id=1031 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=89 ลำดับสาธยายธรรม : 89 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_89.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
    -ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์ โดย ๑๖ ประการ ( ก. ภาวะไม่บริสุทธิ์สำหรับเปรียบเทียบ ) “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคยังจะกล่าวถึงอุปกิเลสมีอย่างต่างๆแห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?” ๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ (เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา พอใจด้วยตบะว่า บริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ. ๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มขู่ผู้อื่นด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาพอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้. เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย; เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา ๆ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจาก ข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย ก็ มีความคิดว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย” ดังนี้ เขา เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมาด้วย อาการอย่างนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๐. ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง เป็นคำแปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจากความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิตแบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง. ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไปในภายหน้าด้วย. ๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ชอบนั่งแสดงตัว ตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยาย ที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ขี้โกรธ มักผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. ๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน เป็นคน ริษยา ตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด มีมายา เป็น คน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ. นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : การเกียดกันกิเลส ด้วยตบะในรูปแบบอย่างที่ว่ามานี้ (ทุกข้อ) เป็นอุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลสเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้ว ทำไมจะไม่ ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่าง ๆ เล่า”. (ข. ภาวะบริสุทธิ์ที่สำหรับถือเป็นหลัก) ๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น ด้วยเหตุผลนี้ แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจ ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมาสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขา ไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้ เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้าแสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสีย เขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใด ๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณะพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา อยู่ในตระกูล ทั้งหลาย” ดังนี้ เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมา อย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ จะไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็นคนจริงและเปิดเผย) ประกาศอยู่ ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำ สิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวสิ่งที่ควรกล่าวว่าควร ไม่เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้. นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. ๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ ไม่เป็นคนลูบคลำสิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น. นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่ ทั้งยังเป็นการบรรลุถึงยอดถึงแก่นอีกด้วย พระเจ้าข้า !” นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น เป็นเพียงถึงเปลือกแห้งๆ เท่านั้น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 191 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​​อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิดตถาคต
    สัทธรรมลำดับที่ : 986
    ชื่อบทธรรม :- อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด ตถาคตและสุคตวินัย
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=986
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด

    ก. เกิดความปรากฏแห่งตถาคต
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
    แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตแห่งอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
    แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่) #ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=อรหโต+สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ

    ข. เกิดสุคตวินัย
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการ อย่างไรเล่า ?
    แปดประการ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.
    แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล บริสุทธิ์ ขาวผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว
    ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
    ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) #สุคตวินัย.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=สุคตวินยา
    --- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘-๑๙/๕๒, ๕๔, ๕๓, ๕๕.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%92

    --อัฏฐังคิกมรรคเพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ
    --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ
    ---
    ๑.เพื่อการรู้ยิ่ง .... ๒.เพื่อการรู้รอบ .... ๓.เพื่อการสิ้นไปรอบ ....
    ๔.เพื่อการละ .... ๕.เพื่อความสิ้นไป ....๖.เพื่อความเสื่อมไป ....
    ๗.เพื่อความจางคลาย .... ๘.เพื่อความดับ .... ๙.เพื่อความสละทิ้ง ....
    ๑๐.เพื่อความสลัดคืน ....
    ---
    ๑.ซึ่งราคะ .... ๒.ซึ่งโทสะ .... ๓.ซึ่งโมหะ .... ๔.ซึ่งโกธะ ....
    ๕.อุปนาหะ .... ๖.มักขะ .... ๗.ปลาสะ .... ๘.อิสสา ..... ๙.มัจฉริยะ .... ๑๐.มายา ....
    ๑๑.สาเถยยะ .... ๑๒.ถัมภะ ..... ๑๓.สารัมภะ .... ๑๔.มานะ .... ๑๕.อติมานะ ....
    ๑๖.มทะ .... ๑๗.ปมาทะ .

    แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดประการคือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคล พึงเจริญ
    ---
    เพื่อการรู้ยิ่ง ...ฯลฯ ...(๑๐)
    ---
    ซึ่งราคะ ...ฯลฯ ...(๑๗)
    แล.-
    http://etipitaka.com/read/pali/23/360/?keywords=ราคสฺส

    (ข้อความทั้งหมดนี้ ในบาลีประสงค์จะให้แยกเป็นสูตรๆ เป็นเรื่องๆ
    ตามความแตกต่าง แห่งกิริยาอาการ เช่นการรู้ยิ่ง ก็สูตรหนึ่ง;
    และแยกตามชื่อของกิเลสที่ต้องละ กิเลสชื่อหนึ่ง ก็สูตรหนึ่ง
    เช่นรู้ยิ่งซึ่งราคะเป็นต้น ก็สูตรหนึ่ง;
    รวมกันเป็น ๑๗๐ สูตร
    คือมีกิริยาอาการสิบ มีชื่อกิเลสที่ต้องละสิบเจ็ดชื่อ
    คูณกันเข้าเป็น ๑๗๐x๑๐​x๑๗​ สูตร-อาการ-ชื่อ
    ในที่นี้นำมาทำเป็นสูตรเดียว เพื่อง่ายแก่การศึกษาและประหยัดเวลา
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/281, 284/201, 204.
    http://etipitaka.com/read/thai/23/281/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%91
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๕๙, ๓๖๑/๒๐๑, ๒๐๔
    http://etipitaka.com/read/pali/23/359/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%91
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=986
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=84&id=986
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=84
    ลำดับสาธยายธรรม : 84 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_84.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​​อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิดตถาคต สัทธรรมลำดับที่ : 986 ชื่อบทธรรม :- อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด ตถาคตและสุคตวินัย https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=986 เนื้อความทั้งหมด :- --อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด ก. เกิดความปรากฏแห่งตถาคต --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตแห่งอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) #ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=อรหโต+สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ ข. เกิดสุคตวินัย --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) #สุคตวินัย. http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=สุคตวินยา --- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘-๑๙/๕๒, ๕๔, ๕๓, ๕๕. http://etipitaka.com/read/pali/19/18/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%92 --อัฏฐังคิกมรรคเพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ --ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ --- ๑.เพื่อการรู้ยิ่ง .... ๒.เพื่อการรู้รอบ .... ๓.เพื่อการสิ้นไปรอบ .... ๔.เพื่อการละ .... ๕.เพื่อความสิ้นไป ....๖.เพื่อความเสื่อมไป .... ๗.เพื่อความจางคลาย .... ๘.เพื่อความดับ .... ๙.เพื่อความสละทิ้ง .... ๑๐.เพื่อความสลัดคืน .... --- ๑.ซึ่งราคะ .... ๒.ซึ่งโทสะ .... ๓.ซึ่งโมหะ .... ๔.ซึ่งโกธะ .... ๕.อุปนาหะ .... ๖.มักขะ .... ๗.ปลาสะ .... ๘.อิสสา ..... ๙.มัจฉริยะ .... ๑๐.มายา .... ๑๑.สาเถยยะ .... ๑๒.ถัมภะ ..... ๑๓.สารัมภะ .... ๑๔.มานะ .... ๑๕.อติมานะ .... ๑๖.มทะ .... ๑๗.ปมาทะ . แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคล พึงเจริญ --- เพื่อการรู้ยิ่ง ...ฯลฯ ...(๑๐) --- ซึ่งราคะ ...ฯลฯ ...(๑๗) แล.- http://etipitaka.com/read/pali/23/360/?keywords=ราคสฺส (ข้อความทั้งหมดนี้ ในบาลีประสงค์จะให้แยกเป็นสูตรๆ เป็นเรื่องๆ ตามความแตกต่าง แห่งกิริยาอาการ เช่นการรู้ยิ่ง ก็สูตรหนึ่ง; และแยกตามชื่อของกิเลสที่ต้องละ กิเลสชื่อหนึ่ง ก็สูตรหนึ่ง เช่นรู้ยิ่งซึ่งราคะเป็นต้น ก็สูตรหนึ่ง; รวมกันเป็น ๑๗๐ สูตร คือมีกิริยาอาการสิบ มีชื่อกิเลสที่ต้องละสิบเจ็ดชื่อ คูณกันเข้าเป็น ๑๗๐x๑๐​x๑๗​ สูตร-อาการ-ชื่อ ในที่นี้นำมาทำเป็นสูตรเดียว เพื่อง่ายแก่การศึกษาและประหยัดเวลา ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/281, 284/201, 204. http://etipitaka.com/read/thai/23/281/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%91 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๕๙, ๓๖๑/๒๐๑, ๒๐๔ http://etipitaka.com/read/pali/23/359/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%91 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=986 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=84&id=986 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=84 ลำดับสาธยายธรรม : 84 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_84.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด :
    -อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด : ก. เกิดความปรากฏแห่งตถาคต ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตแห่งอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. ข. เกิดสุคตวินัย ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘ - ๑๙/๕๒, ๕๔, ๕๓, ๕๕. อัฏฐังคิกมรรคเพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง .... เพื่อการรู้รอบ .... เพื่อการสิ้นไปรอบ .... เพื่อการละ .... เพื่อความสิ้นไป ....เพื่อความเสื่อมไป .... เพื่อความจางคลาย .... เพื่อความดับ .... เพื่อความสละทิ้ง .... เพื่อความสลัดคืน .... ซึ่งราคะ .... ซึ่งโทสะ .... ซึ่งโมหะ .... ซึ่งโกธะ .... อุปนาหะ .... มักขะ .... ปลาสะ .... อิสสา ..... มัจฉริยะ .... มายา .... สาเถยยะ .... ถัมภะ ..... สารัมภะ .... มานะ .... อติมานะ .... มทะ .... ปมาทะ .แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคล พึงเจริญเพื่อการรู้ยิ่ง ฯลฯ ซึ่งราคะ ฯลฯ แล.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 618
    ชื่อบทธรรม :- ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=618
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์
    --มหาราช ! ....
    ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสาวักขยญาณ.
    เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    “นี้ ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”
    และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    “เหล่านี้ อาสวะ,
    นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”
    ดังนี้.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก
    กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
    ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”.
    เธอรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
    ดังนี้.

    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
    คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
    เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง
    อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
    เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า
    ”ห้วงน้ำ นี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้
    หยุดอยู่บ้างว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”,
    “ข้อนี้เป็นฉันใด ;
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
    "นี้ ทุกข์,
    นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”
    และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    “เหล่านี้ อาสวะ,
    นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
    นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ",
    ดังนี้.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก
    กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
    ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า
    “#จิตหลุดพ้นแล้ว”.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/112/?keywords=จิตฺตํ+วิมุจฺจติ
    เธอรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
    ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกัน.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/77/138.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/77/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%93%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๑๐/๑๓๘.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/110/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%93%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=223
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=42&id=618
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=42
    ลำดับสาธยายธรรม : 42 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_42.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์ สัทธรรมลำดับที่ : 618 ชื่อบทธรรม :- ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=618 เนื้อความทั้งหมด :- --ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์ --มหาราช ! .... ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสาวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ” ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า ”ห้วงน้ำ นี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้างว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”, “ข้อนี้เป็นฉันใด ; --ภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า "นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ", ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “#จิตหลุดพ้นแล้ว”. http://etipitaka.com/read/pali/9/112/?keywords=จิตฺตํ+วิมุจฺจติ เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกัน.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/77/138. http://etipitaka.com/read/thai/9/77/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%93%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๑๐/๑๓๘. http://etipitaka.com/read/pali/9/110/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%93%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=223 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=42&id=618 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=42 ลำดับสาธยายธรรม : 42 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_42.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - (อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายสมุทัย ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขสมุทยอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย” ที่หน้า ๓๖๘; ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไปกระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้).
    -(อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายสมุทัย ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขสมุทยอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย” ที่หน้า ๓๖๘; ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไปกระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้). ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจ และการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์ มหาราช ! ....ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสาวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ” ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า”ห้วงน้ำ นี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้างว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”, “ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกัน.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 254 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์
    สัทธรรมลำดับที่ : 973
    ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด

    ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้
    ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    --มาณพ !
    ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง
    สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า
    เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
    ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
    ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด,
    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
    +--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
    ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
    เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า
    “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง;
    การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
    เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
    ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ
    ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”,
    ดังนี้.
    +--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่
    และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด
    ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
    +--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้
    เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &​ถึงพร้อมด้วยศีล
    ....
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
    --มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้
    เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว
    มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่
    ....ฯลฯ ....
    (ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า
    เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน
    .... ไปจนถึงคำว่า
    .... (จบอริยสีลขันธ์)
    ....
    ).

    ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน
    ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว)
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ;
    อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
    จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด,
    เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา
    ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
    +--(ในกรณีแห่ง
    อินทรีย์คือหู
    อินทรีย์คือจมูก
    อินทรีย์คือลิ้น
    อินทรีย์คือกาย และ
    อินทรีย์คือ ใจ
    ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).
    ....
    --มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ
    ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง,
    การแลดู การเหลียวดู,
    การคู้ การเหยียด,
    การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,
    การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
    การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
    เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด,
    การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.
    ....
    +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ?
    +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่)
    ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
    ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.
    +--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น
    : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
    ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.
    ....
    +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)​ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    (การเจริญสมาธิ)
    --ภิกษุนั้น
    ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย
    ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว,
    เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
    ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง),
    ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว
    เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
    ....ฯลฯ....
    (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว
    มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า ....
    (จบอริยสมาธิขันธ์)
    ...
    )​ .

    ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด
    --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! #อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า
    http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ
    ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน
    ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”
    --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
    เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ.
    เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่
    มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด
    ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา,
    แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น;
    (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว
    แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง,
    ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง,
    บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้
    เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว
    สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง.
    ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน.
    แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
    ....ฯลฯ....
    (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า
    ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว
    เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.
    เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้
    .... ไปจนถึงคำว่า
    .... (จบอริยปัญญาขันธ์)
    ).-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83
    ลำดับสาธยายธรรม : 83​ ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3
    อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ลักษณะแห่งสิกขาสามอันได้แก่สีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ สัทธรรมลำดับที่ : 973 ชื่อบทธรรม :- ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973 เนื้อความทั้งหมด :- --ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสีลขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=อริโย+สีลกฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” --มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. +--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. +--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. +--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ &​ถึงพร้อมด้วยศีล .... --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? --มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ .... (ข้อความต่อจากที่กล่าวนี้ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ). ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! #อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/255/?keywords=อริโย+สมาธิกฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ) --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. +--(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และ อินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). .... --มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล. --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด, การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง. .... +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล. --มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? +--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ. +--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้. .... +--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ(สันตุฏฐิ)​ด้วยอาการอย่างนี้แล. (การเจริญสมาธิ) --ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว, เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวก ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า .... (จบอริยสมาธิขันธ์) ... )​ . ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด --“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! #อริยปัญญาขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า http://etipitaka.com/read/pali/9/263/?keywords=อริโย+ปญฺญากฺขนฺโธ ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” --ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา, แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น; (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง, ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง. ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์) ).- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/284 - 304/318 - 337. http://etipitaka.com/read/thai/9/284/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗. http://etipitaka.com/read/pali/9/252/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%91%E0%B9%98 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83&id=973 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=83 ลำดับสาธยายธรรม : 83​ ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_83.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
    -(ข้อความข้างบนนี้ เป็นคำของธัมมทินนาเถรี กล่าวตอบแก่วิสาขอุบาสก ครั้นอุบาสกนำข้อความนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วิสาขะ ! ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก; ถ้าเธอถามข้อความนั้นกะเรา เราก็จะพยากรณ์กะเธอเช่นเดียวกับที่ธัมมทินนาภิกษุณีพยากรณ์แล้วแก่เธอ เธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้.” ดังนั้นเป็นอันว่า ข้อความของธรรมทินนาเถรีมีค่าเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในหนังสือนี้ ในลักษณะเช่นนี้). ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด ๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสีลขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้ง หลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล .... มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ .... (ข้อความต่อไปนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๔๑ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๑). ๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสมาธิขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ) มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). .... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล. มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด, การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง. .... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล. มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ. มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้. .... มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล. (การเจริญสมาธิ) ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว, เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกหน้า ๑๕๕๓ แห่งหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า .... (จบอริยสมาธิขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๘). ๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด “ท่านอานนท์ผู้เจริญ! อริยปัญญาขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา, แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น; (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง, ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, บุรุษ ผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง. ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๕๙ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์)., ที่หน้า ๑๕๖๔).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 517 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง
    สัทธรรมลำดับที่ : 944
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=944
    ชื่อบทธรรม :- จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง
    เนื้อความทั้งหมด :-

    --จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่,
    เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต.
    ด้วยการรักษากาย, รักษาวาจา, รักษาจิต, ตั้งสติไว้มั่น,
    และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย,
    เธอได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวมถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว)
    ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วน ๆ;
    อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคล
    ผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด
    เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น
    ย่อมรักษา อินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.
    (ในกรณีแห่ง
    อินทรีย์คือหู...
    อินทรีย์คือจมูก...
    อินทรีย์คือลิ้น...
    อินทรีย์คือกาย... และ
    อินทรีย์ คือใจ...
    ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).
    --ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว
    ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด
    คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).
    เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
    ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอ
    ละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌา อยู่;
    ละ พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท
    เป็นผู้กรุณาจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง
    ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่;
    ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
    มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่;
    ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่;
    ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร”
    ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่.
    --ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ
    อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต และ
    ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว,
    เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง
    ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
    เข้าถึง
    ทุติยฌาน ....
    ตติยฌาน ....
    จตุตถฌาน ....
    แล้วแลอยู่.
    (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มี &​รูปฌานทั้งสี่ ).
    --เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว
    ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ #อาสวักขยญาณ.
    -​http://etipitaka.com/read/pali/22/114/?keywords=อาสวานํ
    เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์,
    นี้เหตุให้เกิดทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์;

    และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ,
    นี้เหตุให้เกิดอาสวะ,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปเหลือแห่งอาสวะ.
    เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
    จิตก็หลุดพ้นทั้งจากามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ;

    ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว.
    เธอ ย่อมรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
    ดังนี้.-

    #สัมมาสมาธิ
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/86 - 87/76.
    http://etipitaka.com/read/thai/22/86/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๓ - ๑๑๔/๗๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/22/113/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=944
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80&id=944
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80
    ลำดับสาธยายธรรม : 80 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_80.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง สัทธรรมลำดับที่ : 944 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=944 ชื่อบทธรรม :- จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง เนื้อความทั้งหมด :- --จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต. ด้วยการรักษากาย, รักษาวาจา, รักษาจิต, ตั้งสติไว้มั่น, และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย, เธอได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวมถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วน ๆ; อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษา อินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. (ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู... อินทรีย์คือจมูก... อินทรีย์คือลิ้น... อินทรีย์คือกาย... และ อินทรีย์ คือใจ... ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). --ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอ ละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌา อยู่; ละ พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณาจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่; ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่; ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่; ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่. --ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต และ ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เข้าถึง ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่. (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มี &​รูปฌานทั้งสี่ ). --เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ #อาสวักขยญาณ. -​http://etipitaka.com/read/pali/22/114/?keywords=อาสวานํ เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปเหลือแห่งอาสวะ. เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นทั้งจากามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ; ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว. เธอ ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.- #สัมมาสมาธิ​ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/86 - 87/76. http://etipitaka.com/read/thai/22/86/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๓ - ๑๑๔/๗๖. http://etipitaka.com/read/pali/22/113/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%96 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=944 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80&id=944 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=80 ลำดับสาธยายธรรม : 80 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_80.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ๑.บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ” จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง
    -(ข้อความนั้น มีลักษณะแห่ง การเจริญสมาธิที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ อาจจะใช้เป็นคำอธิบายแห่งคำว่า “อุปสุมานุสสติ” แห่งอนุสสติสิบ ได้ดี ดีกว่าที่อธิบายกันอยู่อย่างคลุมเครือ. ยิ่งกว่านั้นยังมีความวิเศษตรงที่ว่า ง่ายสำหรับทุกคนที่จะแยกจิตออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง มากำหนดอยู่เฉพาะสิ่งที่เป็นอสังขตะนี้เพียงสิ่งเดียว ทำให้แสวงหาความสุขหรือความเย็นจากพระนิพพานได้ง่ายขึ้น). ๑.บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”. จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง ภิกษุ ท. ! ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต.ด้วยการรักษากาย, รักษาวาจา, รักษาจิต, ตั้งสติไว้มั่น, และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย, เธอได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวมถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วน ๆ; อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษา อินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา. (ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌา อยู่; ละ พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณาจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่; ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่; ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่; ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่. ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต และทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.เข้าถึง ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มีรูปฌานทั้งสี่ เช่นที่หน้า ๑๒๗๘ แห่งหนังสือเล่มนี้). เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ. เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปเหลือแห่งอาสวะ. เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นทั้งจากามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ; ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิชชา ๓

    1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
    2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์
    3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    อภิญญา ๖

    1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้
    2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา
    3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้
    5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต
    6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป


    วิโมกข์ ๘
    1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
    2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
    3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม
    4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
    7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
    8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ



    วิชชา ๘

    1 วิปัสสนาญาณ
    จิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนช่างเจียรใน ที่เจียรแก้วอัน งามสมส่วนบริสุทธิ์ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ

    2 มโนมยิทธิญาณ
    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ นิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดว่า นี้ดาบ นี้ฝัก

    3 อิทธิวิธญาณ
    มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนช่างทองจะขึ้นรูปแบบใดก็ทำได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่หวั่น ไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด

    4 ทิพยโสตญาณ
    หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้

    5 เจโตปริยญาณ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี โทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป ว่าในภพโน้นเรามีโคตรอย่างนั้น

    7 จุตูปปาตญาณ
    ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรกหรือสววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

    8 อาสวักขยญาณ
    รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    วิชชา ๓ 1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้ 2. จุตูปปาตญาณ -ความรู้การจุติ(เคลื่อน-การเกิด) และการอุบัติของสัตว์ 3. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป อภิญญา ๖ 1. อิทธิวิธิ - มีฤทธิ์ เช่น หายตัว เหาะได้ เดินบนน้ำ ดำดินได้ 2. ทิพพโสต - มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา 3. เจโตปริยญาณ - รู้ใจผู้อื่น รู้ความคิดผู้อื่นได้ 4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ - ระลึกชาติย้อนไปในอดีตได้ 5. ทิพพจักขุ - มีตาทิพย์ เห็นภพของสัตว์ในอนาคต 6. อาสวักขยญาณ - รู้การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป วิโมกข์ ๘ 1. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป 2. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก 3. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณ เป็นของงาม 4. ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ 5. ผู้ที่บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ 6. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร 7. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ 8. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ วิชชา ๘ 1 วิปัสสนาญาณ จิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนช่างเจียรใน ที่เจียรแก้วอัน งามสมส่วนบริสุทธิ์ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสนะ 2 มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ นิรมิตรูป คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดว่า นี้ดาบ นี้ฝัก 3 อิทธิวิธญาณ มีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนช่างทองจะขึ้นรูปแบบใดก็ทำได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่หวั่น ไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ คนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด 4 ทิพยโสตญาณ หูทิพย์ ได้ยินเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ไม่มีประมาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ 5 เจโตปริยญาณ เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่น คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี โทสะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตเป็นจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น 6 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้อดีตชาติไม่มีประมาณ รู้อายุแต่ละภพ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ชาติหนึ่ง.. แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป ว่าในภพโน้นเรามีโคตรอย่างนั้น 7 จุตูปปาตญาณ ทิพย์จักษุ-เห็นการจุติและอุบัติ หรือตกทุกข์ เข้าถึงนรกหรือสววรค์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ตั้งมั่น ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ 8 อาสวักขยญาณ รู้ชัดซึ่งทุกข์ สมุทัยนิโรธ รู้ว่าจิตหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 511 มุมมอง 0 รีวิว
  • #อุปกิเลส
    #อุปกิเลส
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว