บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม
กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง
1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘
2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ
3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง
4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
ดังข้อความว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า
5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
“ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
"พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์
6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
"อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8
๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
(วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)
วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
(๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)
7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
(ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)
8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ
9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
“อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด
10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
“ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
อธิบายความ
1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)
11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม
12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
(ที.มหา.10/134/78.)
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้
13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.
14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย
15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
(มี ต่อ 16-18)
อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง
1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘
2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ
3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง
4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
ดังข้อความว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า
5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
“ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
"พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์
6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
"อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8
๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
(วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)
วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
(๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)
7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
(ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)
8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ
9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
“อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด
10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
“ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
อธิบายความ
1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)
11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม
12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
(ที.มหา.10/134/78.)
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้
13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.
14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย
15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
(มี ต่อ 16-18)
อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม
กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง
1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘
2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ
3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง
4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
ดังข้อความว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า
5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
“ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
"พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์
6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
"อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8
๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
(วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)
วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
(๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)
7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
(ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)
8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ
9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
“อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด
10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
“ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
อธิบายความ
1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)
11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม
12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
(ที.มหา.10/134/78.)
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้
13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.
14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย
15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
(มี ต่อ 16-18)
อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
221 มุมมอง
0 รีวิว